ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 9.0 ความกลมกลืน ของธรรมชาติในเเปลงนา เเหนเเดง+เป็ด


เมื่อเลือกที่จะเข้าสู่ภาคการเกษตร แบบร่วมสมัยกับทุนนิยม ต้องไม่หยุด ที่จะเป็นเพียง "ผู้บริโภคในระบบเท่านั้น" ทำอย่างไรเราจะสามารถเป็นผู้ผลิต เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตในระบบได้ ???

เมื่อเลือกที่จะเข้าสู่ภาคการเกษตร แบบร่วมสมัยกับทุนนิยม

ต้องไม่หยุด ที่จะเป็นเพียง "ผู้บริโภคในระบบเท่านั้น"

ทำอย่างไรเราจะสามารถเป็นผู้ผลิต เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตในระบบได้ ???

ผู้บริโภคในที่นี้ คือการเป็นผู้อุดหนุนปัจจัยการผลิตต่างๆเพื่อนำเข้าสู่ เเปลงนา โดยส่วนใหญ่ ในวงจรนาข้าว ก็คือ

1.เมล็ดพันธุ์ 2.ปุ๋ยเคมี 3.ยาเคมี คุม+ปราบวัชพืช และศัตรูพืช (ชาวนาไม่สามารถกำหนดต้นทุนได้ด้วยตัวเอง ต้องรับราคาตลาดตามต้นทุน ที่เอกชนกำหนดขึ้น +กำไรพอสมควร)

ซึ่งชาวนา สามารถเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บริโภค ไปสู่การเป็นผู้ผลิตในระบบได้เอง เพื่อความมั่นคง โดยการเป็นผู้อำนวยการสร้าง สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการผลิตโดยธรรมชาติ

ทั้งนี้ต้องอาศัยความเข้าใจความสัมพันธุ์ทางชีววิทยาการอยู่ร่วมกันของพืชและสัตว์ในเเปลงนา

 

อย่างระบบ "เเหนเเดง และเป็ดในเเปลงนาดำ "

ธรรมชาติศัตรูของต้นข้าว

มีทั้งทัพบก(วัชพืช) ทัพเรือ(วัชพืช) ทัพอากาศ(แมลง) ถ้าต้องใช้เครื่องมือทรงพลานุภาพมาจัดการดูแล ก็ต้องเลือก สิ่งมีชีวิตที่สะเทินน้ำสะเทินบก รบได้ทั้งบนบก ใต้น้ำ และในอากาศ

ไม่มีอะไรดีไปกว่า "เป็ด" 

 กลไก ง่ายๆในระบบนี้....

1.เเหนเเดงมีโปรตีนสูง สามารถเป็นอาหารให้กับเป็ด (ยืมธรรมชาติเลี้ยงดูเป็ด)

2.โดยตัวเเหนเเดง มีความสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเป็นปุ๋ยให้กับรากข้าวได้ (ปุ๋ย)

3.เเหนเเดงปิดคลุมหน้าผิวน้ำพลางแสงไม่ให้หญ้าใต้น้ำเกิด

4.เป็ดกินเเหนเเดงเป็นอาหาร และถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าวได้

5.เป็ดกินเเมลงในเเปลงนาเป็นอาหาร และก็ถ่ายเป็นปุ๋ยให้กับต้นข้าว ก็จะได้ทั้งฟอสฟอรัส และไนโตรเจน ให้กับต้นข้าว ในระยะแตกกอ

6.การว่ายน้ำของเป็ด ก็จำต้องใช้อุ้งเท้าที่มีพังผืด พุ้ยน้ำให้ตัวไปข้างหน้า ทำให้เกิดการพรวนดิน กวนน้ำให้ขุ่น พรางแสงไม่ให้หญ้าใต้น้ำเกิด และเติมออกซิเจนให้กับต้นข้าว

7.เป็ดเป็นตัวกระตุ้นการเเตกกอของต้นข้าว เพิ่มจำนวนลำ จำนวนรวง มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตข้าว ... 

หมายเลขบันทึก: 466902เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2011 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท