ถ้ารู้จะไม่อยากให้.....Hypoglycemia แบบไหนเลย


ในผู้ป่วยบางรายทานอาหารและน้ำตาลจำนวนมากเกินบ่อยๆ ร่วมกับเริ่มกินมากขึ้นเรื่อยๆแพทย์ก็ต้องปรับ insulin มากขึ้นตาม ยิ่งจะทำให้เกิด Hypoglycemiaได้ง่ายและรุนแรงมากขึ้น

          ในตอนท้ายของการนำเสนอ Journal club ของอาจารย์วรวิทย์ กิตติภูมิ ซึ่งนำเสนอในเรื่องของ Hypoglycemia in Type 2 Diabetes อาจารย์ได้พูดถึงการแบ่งกลุ่มของภาวะ Hypoglycemia ให้พวกเรารับทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว ซึ่งขอเดิมเคยบอกไว้ว่าต้องมีอาการ 2ใน3 ข้อนี้ จึงจะเรียกว่า "Hypoglycemia" คือ

         1) ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 50- 70 mg/dl

         2) มีอาการที่เข้าได้กับอาการ hypoglycemia

         3) เมื่อได้ Glucose แล้วอาการดังกล่าวดีขึ้น

      แต่ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนแปลงใหม่เป็น 5 แบบคือ

          1) Severe Hypoglycemia คือ กลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือโดยไม่ต้องมีผลระดับน้ำตาลมายืนยัน เนื่องจากมีอาการ BS ต่ำจาก neuropathic Dx ถ้าได้รับการแก้ไขน้ำตาลแล้วดีขึ้นก็ถือว่า Hypoglycemia ได้เลย

          2) Doceumented Symptomatic Hypoglycemia คือ กลุ่มที่มีอาการน้ำตาลต่ำ+เจาะBSยืนยัน  มากกว่าหรือเท่ากับ 70 mg/dl

          3) Asymtomatic Hypoglycemia คือ กลุ่มที่ี่ไม่มีอาการแสดง+เจาะ BS น้อยกว่าหรือเท่ากับ 60mg/dl

          4) Palpable Symtomatic Hypoglycemia คือกลุ่มที่ี่มีอาการใจสั่น กินน้ำตาลแล้วดีขึ้น +ไม่ต้องเจาะเลือดดู

          5) Relative Hypoglycemia คือกลุ่มที่มีอาการแสดง+เจาะ BS > 70 mg/dl +ไม่ต้องแก้ไขใดๆ สามารถหายได้เอง

          อ.เทพ หิมะทองคำ และอ.สมบุญ วงศ์กุลภัทร บอกว่าผู้ป่วยของเรายังมีการแก้ภาวะน้ำตาลต่ำกันไม่ถูกวิธี คือ    

     :  ในโรงพยาบาลพบว่ามีการฉีด Glucose 50 cc iv เลย ในการแก้ปัญหา Hypoglycemia ทุกครั้ง  

     : ส่วนในรายที่ยังทานแก้ไขได้จะกินจำนวนมากเกินบ่อยๆ และยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อ hypoglycemia ยิ่งบ่อย   

         ทำ ให้หลังการแก้ไขจะมีอาการ hyperglycemia ตามมาทุกที      แพทย์ก็ต้องปรับ insulin กันใหม่ตลอดเวลาและ มากขึ้นตาม ยิ่งจะทำให้เกิด Hypoglycemia เกิดได้ง่ายมากและอาการรุนแรงขึ้น     อาจารย์แนะเป็นแนวทางให้ดิฉันมองเห็นว่ามันเป็นบทบาทของเราทุกคนที่จะต้อง ให้ความรู้ที่ถูกวิธีในการเติม BSให้แค่พอดีไม่ว่าจะ่อยู่ในรูปอาหารหรือ BS ฉีดก็ตาม     ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการป้องกันไม่ให้้มีภาวะแทรกซ้อนจาก Hypoglycemia รุนแรงมากขึ้น

เล่าโดย คุณยุวดี มหาชัยราชัน

คำสำคัญ (Tags): #hypoglycemia
หมายเลขบันทึก: 46801เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท