Nutrition...การดูแลแบบองค์รวม


จริงๆ แล้วผู้ป่วยรายนี้ต้องการความช่วยเหลือมาก( need help ) ถ้าคนที่ใกล้ชิดทำให้เขาไว้วางใจได้จะสามารถเปลี่ยนแปลงเขาได้

          เมื่อ 17 สค. 49 ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการนำเสนอ case กรณีศึกษาของนักศึกษาปริญญาโท ที่ผ่านการฝึกปฏิบัตงาน 3 อาทิตย์ที่ ร.พ. เทพธารินทร์ โดยมีคณาจารย์หลายท่านเข้าร่วมรับฟัง ได้แก่ี้ ท่านอ.เทพ หิมะทองคำ อ.ชนิดา ปโชติการ อ.สุนาฎ เตชางาม อ.กฤษฎี โพทิทัต และ อ.ชนิกา  จรจำรัส ซึ่งมีรายหนึ่งที่ดิฉันอยากนำมาเล่าสู่กันฟังแบบสนุกๆ แบบมีสาระที่่ดีทีเดียว

          case นี้เป็นหญิงไทยโสดอายุ 57 ปี เป็นเบาหวานมา 10 กว่าปี คุมด้วยยากินปัจจุบันมีเพื่อนโรคคือ HT Fatty liver   Dyjlipidemia มีอาชีพเป็นข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร พักอยู่กับพี่สาวที่เป็นอัมพฤตจากล้มและหลานสาว 2 คน ซึ่งกำลังเรียนไม่มีเวลาช่วยดูแล นอกจากนี้หลังเลิกงานเธอยังต้องไปเรียนที่จุฬา ในสาขาปริญญาโทนิติศาสตร์อีกล่าสุดปัญหาสุขภาพก็มารุมเร้าอีก ตาเธอมัวลงจากเบาวหานขึ้นตา เธอเชื่อฝังใจคำที่หมอบอกห้ามออกกำลังกาย เลยกินกับนอนมากไม่ยอมยอมเดินกลัวหกล้ม เป็นอัมพฤตเหมือนพี่สาว  ความกังวลใจกับตาที่ใช้ได้แค่ 30% มากจึงยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการกินจากไม่กินผัก เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก เบื่อเนื้อหมูจึงงด แล้วหันมาเปลี่ยนเป็น

        มื้อเช้า:         ข้าวต้ม + ผัดผักบุ้งไฟแดงทุกเช้า     เพราะชอบผักบุ้ง

        มื้อกลางวัน:  ก๋วยเตี๋ยวแคะใส่ถั่วงอก(น้ำปลาทุกครั้ง) เพราะเชื่อว่าถั่วงอกในก๋วยเตี๋ยวแคะสะอาดและเป็นอาหารที่หาทานง่านร่วมกับตนเองชอบ

       มื้อเย็น:          สลัดจาก sisler หรือผัดไท ทุกเย็น เลือกผัดไทเพราะชอบใบกุยฉ่าย

       ก่อนนอน:       ผลไม้หรือขนมหวาน (จะอมบ๊วยเค็มทุกครั้งหลังอาหารทุกครั้ง)

          พบกันครั้งแรก น้องพริก (นักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติ) บอกว่าเธอรู้สึก up set มากเหมือนตนเองไม่มีความสามารถเพราะดูผู้ป่วยไม่เชื่อเธอเลย คาดว่า้คำแนะนำอะไรไปคงไม่เกิดประโยชน์ อาจเพราะเธออายุน้อยและดูเด็กในสายตาผู้ป่วย จากการได้พูดคุยทำให้รู้ว่าผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นค่อนข้างสูงมาก เธอต้องการที่จะมาให้หมอเทพรักษาและอยากมาหาคำตอบให้กับคำถามมากมายของเธอมากกว่าคำแนะนำใดๆ นอกจากนี้เธอยังมีความเชื่อต่างๆ มากมายคือ

               - เธอเข้าใจว่าตาเธอมัวลงจากไรฝุ่นที่เตียง มีหมากัดที่ท้ายทอยเธอ แล้วไปมีผลทำให้จอประสาทตาเสื่อม เธอแก้ไขโดยถ้านอนแล้วมีอาการคัน เธอจะตื่นขึ้นมาเอาเตารีดรีดบนผ้าปูที่นอนตอนตี 2-3 ทุกวัน เพี่อฆ่าไรฝุ่น

               - มีคนใกล้ชิดบอกเธอซัลเฟอร์ช่วยรักษาเรื่องตามัว เธอจึงหันมากินทุเรียนที่มีซัลเฟอร์ บอกว่ารู้สึกหลังกินแล้วตาสว่างขึ้น

               - เธอไม่กินไข่และไก่ เพราะกลัวไข้หวัดนก

               - จะไม่กินปลาที่เป็นตัว เพราะคิดว่าปลามันจ้องเธออยู่ ต้องหั่นเป็นชิ้นๆ จึงกินได้ แต่ช่วงนี้เบื่อปลาเนื่องจากเห็นที่สาวกินทุกมื้อ แต่จะกินเฉพาะปลาทูน่าในพายเท่านั้น

          หลังจากพบกันครั้งแรกน้องพริกใช้วิธีการโทรศัพท์ติดตามพูดคุยเป็นระยะพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีสัมพันธภาพดีขึ้นเรื่อยๆ มีการปรับเปลี่ยนบางส่วน เช่น น้ำเต้าหู้ที่ซื้อมีน้ำตาลก็เปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลืองกล่องพร่องน้ำตาลหรือข้าวโอ๊ต + นมวีซอย ส่วนการออกกำลังกายที่ อ.เทพแนะนำให้เดินหรือออกกำลังกายแบบไม่มีแรงกระแทก เธอก็เริ่มเดิน 100 ก้าวต่อวัน โดยเล่าว่าออกจากบ้านไปขึ้นรถ = 10 ก้าว จากรถถึงที่ทำงาน 10 ก้าว เข้าห้องน้ำ 4 รอบ 1 วัน = 40 ก้าว กับข้าวก็ฝากเพื่อนซึ่งมาให้ และกำลังรอรถจักรยานออกกำลังกาย จะมาส่งเร็วๆ นี้

          ล่าสุด FU ครั้งที่ 2 พริกเล่าแบบอมยิ้มดีใจว่า ผู้ป่วยรับฟังเธอและนำไปปฏิบัติมากขึ้น ถ้าเธอแสดงความห่วงใยเขาจะคุยมากขึ้น เหมือนเริ่มไว้วางใจเธอ แล้วเขายังชวนพริกไปทำงานด้วยบอกจะฝากงานให้   ครั้งนี้เธอมาปรึกษาพริกเรื่องควรจะเลือดบำเหน็จหรือบำนาญดี เพราะมีคนบอกว่าถ้าเป็นเบาหวานนานถึง 13 ปีจะตาย แถมพี่สาวและแม่ของเธอก็เสียชีวิตลงตอนอายุ 58 ปีเท่ากันเลย ซึ่งปีหน้าเธอก็จะมีอายุ 58 แล้ว เธอก็เลยกังวลเรื่องนี้ ครั้งนี้พริกไม่ได้แนะนำเรื่องอาหารเลย คุยเรื่อง support จิตใจผู้ป่วยเสียส่วนใหญ่ โดยบอกให้ผู้ป่วยคิดและทำแต่สิ่งที่ดีๆ

       ช่วงท้ายของการนำเสนอ อ.เทพ และ อ.ชนิดา ให้ข้อคิดที่ดิฉันคิดว่าดีแก่พวกเราี้ดังนี้ค่ะ

          อ.เทพสรุปตอนท้ายว่า พวกเราทุกคนต้องฝึกที่จะเป็น Practisioner ต้องมี Judgement ที่จะพูดให้ผู้ป่วยรู้สึกดี และทำให้เขาอยู่กับโรคของเขาได้ ไม่ใช่ทำให้เขาหวาดกลัวกับการเป็นโรค ซึ่งการพูดมี 3 แบบคือ

               1. พูดตาม Ideaของ เราโดย ไม่ฟังหรือ ไม่สนใจผู้ป่วย
               2. พูดตาม Idea ผู้ป่วย เราอาจจะหลงทาง เข้าป่าได้
               3. พูดคุยที่ดีต้องมีการแลกเปลี่ยนแบบ 2 ทาง และพยายามปรับ Idea ให้ผู้ป่วยเข้าใจถูกต้อง         

           อ.ชนิดา แนะนำให้เราดูเป็นองค์รวมว่า ผู้ป่วยรายนี้เราคง set goal ไม่ได้ในตอนนี้ เพราะผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นตนเองสูง ค่อนข้างดื้อ ผู้ป่วยมีพื้นฐานสภาพจิตใจที่ค่อนข้างแย่ มีคุณแม่และพี่สาวตายด้วยเบาหวาน พี่สาวอีกคนเป็นอัมพาต หลานสาว 2 คนไปเรียน ไม่มีเพื่อน ไม่มีความช่วยเหลือ ผู้ป่วยโสด มีแต่เพื่อนร่วมงานไม่กี่คน ที่ไปเรียนภาคค่ำเพราะอาจจะเบื่อสภาพแวดล้อมหรืออาจอยากไปหาเพื่อน จริงๆ แล้วผู้ป่วยรายนี้ต้องการความช่วยเหลือมาก( need help ) ถ้าคนที่ใกล้ชิดทำให้เขาไว้วางใจได้จะสามารถเปลี่ยนแปลงเขาได้ เพราะเขาจะเชื่อผู้ที่ใกล้ชิด เราต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดในผู้ป่วยก่อน จึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้

ยุวดี    มหาชัยราชัน 

คำสำคัญ (Tags): #nutrition
หมายเลขบันทึก: 46805เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท