ครูปฐมวัยศึกษาตามแนวพุทธ


โดย ม.ล.ผกามาลย์ เกษมศรี

                   http://gotoknow.org/file/adekdee/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A201.jpg

                   ครูปฐมวัยศึกษาตมแนวพุทธ คือ ครูที่แก้ความทุกข์ คือการเรียนของเด็กด้วยการมุ่งพัฒนาเด็กโดยใช้แนวการปฏิบัติที่สะท้อนทฤษฎีประยุกต์ให้เข้ากับท้องถิ่นอย่างมีคุณธรรมได้ทั้งความรู้และความสุขให้กับเด็ก

                    การศึกษาปฐมวัยมีรากฐานมาจากวัด วัดคือแหล่งเริ่มการศึกษาของสังคมไทย พระจะเป็นผู้สอนภาษา การคิด และสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก ซึ่งต่อมาภาระหน้าที่ด้านการศึกษาจึงเป็นหน้าที่ของครู

http://gotoknow.org/file/adekdee/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2.jpg

                   การปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ของครู คือการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูต้องสามารถจัดการเรียนการสอนที่เรียนจากชีวิตจริง ตัวหนังสือ แล้วจึงเข้าหาการจัดกิจกรรมอย่างชาญฉลาด คือ ทั้งความเชี่ยวชาญ และอย่างมีปัญญา ครูอาจจะใช้วิธีการสอนอ่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

    • การสอนภาษาโดยเน้นพื้นฐานประสบการณ์ (whole language) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ จากประสบการณ์ของเด็กที่เคยพบเห็นด้วยการประสมประสานการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเข้าด้วยกัน ในการสร้างเสริมการเรียนรู้ที่เด็กได้พบได้เห็นมา

    • การสอนโดยเน้นปัญญา (problem based learning หมายถึง การสอนที่เด็กช่วยกันตั้งปัญหาขึ้นมาเพื่อช่วยกันหาคำตอบ

    • การสอนโดยเน้นสมรรถนะ (Competency – based learning) เป็นการสอนในสิ่งที่มุ่งหวังให้เด็กเกิดการพัฒนาสมรรถนะทางด้านความรู้ ทักษะ หรือเจตคติในสิ่งที่ต้องการให้เด็กพัฒนา

    • การสอนโดยเน้นวัฒนธรรม (Cultural learning) การเสริมสร้างการเรียนรู้ที่เน้นวัฒนธรรมจะมุ่งการจัดกิจกรรมสาระสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องด้วยวัฒนธรรมและการประพฤติปฏิบัติที่ดี

                หลักการสำคัญในการปฏิบัติการเรียนการสอนของครูปฐมวัย คือ ครูที่แท้จริงต้องเป็นนักปฏิบัติที่ศึกษาทฤษฎี และสามารถประยุกต์ให้เข้ากับภูมิปัญญาองถิ่นได้ ใช้สื่อ แนวคิดและข้อความรู้ของท้องถิ่นในการพัฒนาเด็ก สนับสนุนให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เน้นให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วม

 http://gotoknow.org/file/adekdee/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A202.jpg

               การสอนเน้นปฏิบัติการททางวิชาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะตั้งแต่ปฐมวัย ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูต้องมองนักเรียนเป็นมนุษย์ เขามีจิตใจ มีความคิด มีความรู้สึกและอารมณ์ ครูต้องสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน การที่ครูไม่สนใจต่ออารมณ์เด็ก ทำให้การเรียนมีความยุ่งยาก ไม่สนุก ไม่สบายใจ เป็นการเพิ่มคอร์ติซอล (Cortisol) ในสมองทำให้ความสามารถทางปัญญาเสื่อมไป ตกอยู่ในภาวะเครียด ครูควรเพิ่มสุขในการเรียน ซึ่งหมายถึง การเพิ่มสารสุข (Endophine) ที่ทำให้จิตเด็กผ่องใส และมคามพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างพอใจ

              โดยนัยแล้ว แนวพุทธแห่งหลักการสอนการศึกษาปฐมวัย คือ การสอนที่เน้นการปฏิบัติที่สะท้อนทฤษฎีและประยุกต์ให้เข้าท้องถิ่น สิ่งที่ครูปฐมวัยต้องตระหนักอยู่เสมอ คือ การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เน้นการให้ความรู้คู่คุณธรรม

 

 

อ้างอิง

วารสารการศึกษาปฐมวัย ปีที่ 2 หน้า 40.

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาปฐมวัย
หมายเลขบันทึก: 46887เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท