เมฆาระรานฟ้า


ได้โปรดพูดเรื่องความเศร้าที่เกิดขึ้นในที่ที่ท่านจากมา

แล้วชายชราคนหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าของเคหะสถาน ก็กล่าในหมู่เราว่า "ได้โปรดพูดเรื่องความเศร้าที่เกิดขึ้นในที่ที่ท่านจากมา"

 

 

ใน หมู่เราก็รำพึงรำพันว่า ข้าไม่มีอะไรมอบสำหรับผู้ที่วางปากกาหรือผู้ที่เร่ง หยุดกงล้อชีวิตเพื่อมาหาเรา ภายใต้ฟ้าสีเทาๆนี้ ในตอนนี้เราเหมือนดั่งสายลมหายใจของผู้วิ่งฝ่าเม็ดฝน ที่พระองค์ทรงใช้เป่า ผ่านขลุ่ย

 

 

ด้วยหยาดฝน ปลอยฝน ละออง ฝน ล้วนมาจากฟากฟ้าไหลหลั่งรดลงกลบคราบนำ้ตาชนในหมูเรา แม้เขาจะรำ่ไห้ซ ักเพียงใดก็ตามผู้คนก็ไม่สนใจ เสียงฟ้าครืนๆ ระราวปวดลึกข้างในนักแม้ซักกะ ผีกก็ไม่หยุดระรานนามอันดังก้องในหัว แม้จะตะหวาดเช่นไรสังคมก็ยังไม่ได้ยิน ไม่ได้ยิน หรือแม้แต่เสียงข้าสะอื้นคงเช่นกัน คงเพียงได้แค่ปล่อยให้ฝนที่หลังไหลจากฟากฟ้าชะล้างภาพที่ติดตา ภาพแววตาและ ริมฝีปากที่อ่อนโยน ฝนที่ไหลซะถากเบ้าตาขอจงกลืนนำ้ตาแล้วไหลหลั่งต่อลงไป ละลายรูปรอยจูบทิ่ริมฝีปากที่ฝากไว้ดั่งน้ำทิพย์ที่รักษาบาดแผลด้วยความ บริสุทธิ์

 

 

ด้วยวิธีการอธิบายอันโดด เดี่ยวเหล่านี้ล้วนเป็นคำพูด แต่ก็ยังมีอีกมากมายในใจที่เอ่ยเอื้อนออกมาไม่ ได้ ด้วยว่าความนึกคิดและประวัติศาตร์อันลำ้ลึกของตน ถ้อยคำต่างๆ จึงเพียง เคลื่อนออกไปใต้ฟ้าฝนแต่ลำพัง ดังเช่นสุนัขป่าเดินฝ่าพายุหิมะแต่ตนอันไม่ สามารถนำพารังติดตัวไปพร้อม

 

 

เพื่อ ที่ว่าจะให้มันอ้างว่างต่อไปดังเช่นเคย เช่นเดิมก่อนนั้นที่เคยเป็นมา ด้วย เพราะคนเดียวที่ต้องอยู่กับความรู้สึกทรมานแบบนี้คือ "ตัวของตัวเอง" หรือ ไม่จริง

 

เสียงหยดฝนสุดท้ายจางลง ชายชราได้เทแบ่งสุราชั้นเลิศลงในถ้วยแก้วใสใสและขอ ให้เราร้องเพลงในดวงใจให้แด่ทุกถ้วยทุกจอกและทุกความหมาย ในขณะร่ำ่ร้องก็ขอให้นำความทรงจำในช่วงฟ้าใส แสงแดดอันอบอุ่น ความสุข สงบ มอบผ่านแด่เราทุกคน

 

 

บทนี้ได้มาการถ่มจินตนาการของตัวเอง จากบทเพลง "Tristan und Isolde" ของ Richard Wagner และภาพประกอบในยูทูป

ผมสะเดาะออกมาตามจินตนาการและภาษา ลองอ่านพร้อมกับฟังเพลงประกอบไปด้วยก็ได้นะครับ ถ้าหนทางและคำตอบไม่เหมือนกันคงเป็นเรื่องปกติ

ทริสทาน อุนท์ อิโซลเดอ (เยอรมัน: Tristan und Isolde) ทำนองโดยริชาร์ด วากเนอร์
เรื่องกล่าวถึงเรื่องราวในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เกี่ยวกับความรักต้องห้ามของ ทริสทาน อัศวินหนุ่ม กับอิโซล เจ้าสาวของกษัตริย์มาร์กแห่งคอร์นวอลล์ผู้เป็นลุง เป็นตำนานเคลต์ที่เล่าขานกันยุโรป และคาดว่ามีอิทธิพลต่อเรื่องราวเชิงโรแมนซ์ของลันซล็อตกับกุยนิเวียร์ ในเรื่องตำนานกษัตริย์อาเธอร์

หมายเลขบันทึก: 468936เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2011 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท