การศึกษาหนึ่งเดียวกับชีวิต


การศึกษาไทยทั้งที่ผ่านมาและในปัจจุบัน จะตัดสินว่าใครจิ้มข้อ ก. ข. ค. ง. จ. หรือ a. b. c. d. e. ถูกมากที่สุด ถือว่า "เก่ง" ส่วนคนที่จิ้มถูกน้อยๆ ก็จะถูกตราหน้าและตัดสินว่า "โง่" ทันที

 

++++++

ภาพสแกนข้อความข้างบนนี้

ครูวุฒิสแกนจากหนังสือเล่มเล็กๆชื่อ "ปฏิรูปประเทศไทย รายการเรื่องที่ควรปฏิรูป"

เขียนโดยท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส

ที่จัดพิมพ์และเผยแพร่โดยสำนักงานปฏิรูป (สปร.)

ซึ่งที่ครูวุฒินำมาโพสต์ขึ้นพร้อมความคิดเห็นในบันทึกนี้ ก็เพราะอยากร่วมยืนยันว่า

"ระบบการศึกษาไทยคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญๆที่ทำให้ชาติไทยเราอ่อนแอ

และพร้อมนี้ก็อยากร่วมเรียกร้องให้ "เกิดการปฏิรูปการศึกษาที่ถูกทาง"

แทนการ "วิ่งหลงทางเข้าป่าเข้าดง เข้าพงเข้าพฤกษ์ จนลึกสุดประมาณ" (เพราะความมืดบอด) เช่นปัจจุบัน

ซึ่งครูวุฒิมักเรียกการศึกษาแบบปัจจุบันและที่ผ่านมาว่า การศึกษาแบบ "จำ-จิ้ม"

เพราะเน้นการ "จำๆๆๆ แล้วก็จิ้มๆๆๆ" ข้อ ก. ข. ค. ง. จ. ข้อใดข้อหนึ่งให้ถูกให้มากที่สุดเท่านั้น

ใครจิ้มถูกมากที่สุด ถือว่า "เก่ง"

ส่วนคนที่จิ้มถูกน้อยๆ ก็จะถูกตราหน้าและตัดสินว่า "โง่" ทันที

จนประเทศไทยเต็มไปด้วยคนโง่!!!

เพราะเด็กๆเดาใจผู้ออกข้อสอบ O-NET ไม่ถูก เลยจิ้มไม่ค่อยตรง (หรือบางคนก็ขี้เกียจอ่านคำถาม เลยจิ้มแบบส่งๆ) สังคมไทยจึงตราหน้าว่าเด็กไทย "โง่"!!!!(ฮา....)

+++++++++++

ณ บันทึกนี้

ครูวุฒิอยากให้ทุกท่านลองร่วมพิจารณาบทโอดครวญหวนระห้อยของครูวุฒิ

ในชื่อ “เสียงครวญจากผู้ใช้หลักสูตรฯ”

ที่เค้นออกมาจากทั้งประสบการณ์และสายตาของความเป็นนักเรียน นักศึกษา ประชาชี(ช้ำ)

และความเป็นผู้ให้การศึกษา (ครูผู้สอน) กระทั่งเป็นผู้จัดการศึกษา (ผู้บริหารโรงเรียน) เช่นปัจจุบัน

ซึ่งนอกจากคำอธิบายและบทวิพากษ์ดังกล่าวแล้ว

ครูวุฒิยังลองจัดการศึกษาตามแนวชี้แนะของท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี มาแล้วในระยะหนึ่ง

ในชื่อ “การศึกษาหนึ่งเดียวกับชีวิต” ที่เน้นการปฏิบัติจริงพร้อมองค์ความรู้ที่สอดคล้องและใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิต

แทนความรู้งูๆปลาๆแบบจำ-จิ้ม (ที่เน้นการสร้างความเห็นแก่ตัวเป็นสำคัญ)

ซึ่งแนวการศึกษาดังกล่าวนี้ เป็นเพียงส่วนย่อยของหลักสูตรโรงเรียนฯ พ.ศ. ๒๕๕๓ (หลักสูตรสถานศึกษา)

และพร้อมนั้น ครูวุฒิก็พยายามชักชวนพี่น้องชุมชนทั้งท้องถิ่น-ท้องที่ ทุกภาคส่วนและทุหมู่บ้านของตำบลโคกเพชร

เข้ามามีบทบาทและใช้สิทธิในการจัดการศึกษาสำหรับลูกหลานอย่างเต็มไม้เต็มมือ (แทนการที่ใครก็ไม่รู้มาจัดให้อย่างในปัจจุบัน)

เช่น การประชุมสภาองค์กรชุมชนและเยาวชนตำบลโคกเพชร เมื่อวันที่ ๑๙ ก.ย. และ ๒๐ พ.ย. ๕๔ ที่ผ่านมา

ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับ "การศึกษาเรียนรู้เพื่อการเข้าถึงซึ่ง ความจริง ความดี และ ความงาม" (ตามแนวคิดของท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี) ของตำบลโคกเพชรในอนาคต

++++++

แนวคิดและตัวอย่างการจัดการศึกษาเรียนรู้แบบดังกล่าวนี้

ผิด-ถูก, ตรง-เพี้ยน หรือไม่อย่างไร?

ครูวุฒิขอคำชี้แนะด้วยนะขอรับ

 ++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 469255เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2011 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เพียงรอหนาวคราวก่อนให้ย้อนกลับ
  • แต่ไปลับเหมือนคราวลมหนาวผ่าน
  • เย็นสายลมทุกคราวจึงร้าวราน
  • เมื่อวันวานอาวรณ์ไม่ย้อนคืน

 

 

Ico48
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆครับ

...คุณครูวุฒิ..เจ้าคะ..ถ้า..การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นที่แค่คุณครูคิดและทำ"เลี่ยงระบบ"ได้..อนาคตบ้านเรา.เด็ก.คงจะไม่เป็นโรคเอ๋อ..กันอย่างเดี๋ยวนี้..เพราะต้นเหตุคือ จำ จิ้ม (แถมเดา..เผื่อถูก..อ้ะๆๆ..เคยทำบ่อยเมื่อเด็กๆ..อ้ะ)...มาเป็นกำลังใจเจ้าค่ะ..รักษาสุขภาพค่ะ..ยายธี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท