เด็กนอกระบบ เพราะอะไร


นี่คือหนึ่งนวัตกรรมที่สะท้อนชัดเจนเป็นรูปธรรมว่า "การศึกษาไทยทำร้ายเด็ก"

ในบันทึกนี้

ครูวุฒิใคร่ขอนำเสนองานเขียนของคุณพลพิบูล เพ็งแจ่ม

จาก นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔

ในชื่อ "เด็กนอกระบบ เพราะอะไร?"

ซึ่งเป็นงานเขียนจากกระบวนการศึกษาวิเคราะห์และแก้ปัญหาสังคมในส่วนที่เกิดจาก "เด็กนอกระบบการศึกษา" ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

โดยมีรายละเอียดที่ครูวุฒิสแกนจากต้นฉบับที่ลิงค์ข้างล่างนี้

 เด็กนอกระบบ เพราะอะไร? ๑ ,  เด็กนอกระบบ เพราะอะไร? ๒

 (เป็นไฟล์ภาพขนาดใหญ่คลิกอ่านได้อย่างชัดเจนครับ)

+++++++++

ในทัศนส่วนตัวส่วนของครูวุฒิเอง

ขอชื่นชมในฐานคิดและกระบวนการดำเนินการของท่านนายกพีระพล พัฒนพีรเดช พร้อมทีมงานทุกฝ่าย

ที่เข้าใจอย่างถูกต้องถึงแก่นแท้และที่ไปที่มาของปัญหา

ตลอดถึงเทคนิควิธีและกระบวนการแก้ปัญหาพร้อมสร้างเสริมศักยภาพของเด็ก

แทนการซ้ำเติมปัญหาอย่างที่สังคมส่วนใหญ่กระทำ (ทั้งที่รู้และไม่รู้ตัว)

ซึ่งทั้งหลายทั้งหมด สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาว่า

"ระบบการศึกษา" เป็นต้นตอสำคัญของปัญหาดังกล่าว

ผิดหรือถูกอย่างไร?

ท่านที่สนใจลองดาวน์โหลดเอกสารอ่านรายละเอียดได้ตามลิงค์เลยขอรับ

++++++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 469533เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2011 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

*น่าสนใจมากค่ะ..ทุกวันนี้ คำว่า "ในระบบ" .."ในกรอบ"..กลายเป็นภาพลักษณ์ทางลบไปเสียแล้ว...ทั้งๆที่โดยนัยแห่งความหมายที่แท้จริง สะท้อนจุดประสงค์เพื่อสร้างรากฐานที่ดี เพื่อความเป็นระเบียบและความมั่นคงของการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมของมนุษย์ ทั้งในเชิงกลุ่มและปัจเจก

*ปัญหาที่พบเห็นโดยมากที่ผู้คนต่างหนีความทุกข์ออกไปสู่ "นอกระบบ".."นอกกรอบ"..อาจเป็นเพราะผู้สร้างระบบ และสร้างกรอบ มักมองและคิดจาก ข้างในออกไปข้างนอก มากกว่าการยอมรับความเป็นจริงจากข้างนอก เข้ามาพิจารณาข้างใน..

*แนวคิดของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 21 จึงให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงต่อระบบ และกรอบเดิมๆ..สำคัญอยู่ที่ว่า จะเริ่มขับเคลื่อนอย่างไร และโดยใครนะคะ

ขอบคุณครับคุณพี่ใหญ่

  • ท่านราษฎรอาวุโสเคยว่าไว้ว่า "ความไม่เป็นทางการมีมาก่อนความเป็นทางการ"
  • ดังนั้น "นอกกรอบ จึงน่าจะมาก่อน ในกรอบ" และ "ความไม่มีระบบ ก็จุงน่าจะมาก่อนความมีระบบ"
  • กระผมว่ามนุษย์เราน่าจะสร้าง "กรอบ/ระบบ/กติกา/ระเบียบ" ขึ้นมาเพื่อการ "ควบคุม/จัดระเบียบ/คัดเลือก/คัดแยก" ใดๆ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่เหมาะควรในระดับหนึ่ง
  • แต่ก็ไม่ควรลืมไปว่า "กรอบ/ระบบ/กติกา หรือ ระเบียบ"ใดๆ บางครั้งก็ไม่ควรใช้กับทุกคนในแบบเดียวกัน
  • เช่น "บังคับเรียน" ตามหลักสูตรที่ "ใครก็ไม่รู้เป็นผู้กำหนด" จนถึง ม.๓ อย่างที่ประเทศไทยใช้กันอยู่
  • เพราะสมอง ทัศนคติ และความต้องการของเด็กไทย ไม่น่าจะเหมือนกัน
  • จริงไหมครับ?

ครับ

  • ในส่วนของ *แนวคิดของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 21 จึงให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงต่อระบบ และกรอบเดิมๆ..สำคัญอยู่ที่ว่า จะเริ่มขับเคลื่อนอย่างไร และโดยใคร? นั้น
  • กระผมว่าต้องเริ่มที่ "ผู้มีอำนาจและหน้าที่" ในการกำหนดและวางระบบการศึกษา (ก.ศธ.) นั่นแหละ
  • โดยคงต้องเริ่มขาก "การรับฟังความคิดเห็น" ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย นั่นแหละครับ
  • สวัสดีครับ

....ยายธี..เคย..งงๆ..ตัวเอง.ตอน.มาอยู่เมืองนอกใหม่ๆ..ต้องใช้..ภาษาอังกฤษ..บ้างบางครั้ง..(ฝรั่ง)ถามว่าเรียนภาษาอังกฤษมาหรือ(ทำไมถึงพูดได้เลวอย่างนั้น)...ตอบฝรั่งว่า"ฉันเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กๆมีสอนในโรงเรียน..จนถึงมหาวิทยาลัย..เรียนมาแต่พูดไม่เป็นอ้ะ..."เดี๋ยวนี้เด็กๆคงพูดภาษากันปร๋อแล้วนะ.เห็นชอบเรียน"อังกิด"กันเป็นว่าเล่น..อ่าน ก เอ๋ย ก ไก่ เป็น กอ ชิคเก้น..(บางทีก็..ดีใจ..ที่ไม่ได้อยู่ในระบบ..แบบไทยๆ..อีกต่อไป..)..ออกมาได้..ก็ได้เห็นกระจกสองด้าน..เจ้าค่ะ...ยายธี

ขอบพระคุณมากๆครับคุณยายสุธี

  • ครูวุฒิยิ่งแล้วใหญ่ เรียนอังกิด ๑๖ ปี ฟุดฟิดฟอไฟ ได้ปร๋อพอๆกับนกแก้ว+นกขุนทองเท่านั้น
  • หลักสูตรของเขาสุดยอดจริงๆขอรับ
  • คิดถึงคุณยาย หนุ่มแผน และสวนป่าที่เมืองกาญจน์ เลยฝากรูปมาให้คุณยายดู
  • ทุกคนคงสบายดี ทั้งหลานน้อย (ลูกสาวหนุ่มแผน) และต้นไม้คงโตขึ้นอีกโข
  • ฝากความคิดถึงด้วยนะครับ
  • สวัสดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท