การศึกษาทางไกล


การศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกล

ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในรูปแบบการศึกษาไร้พรมแดนเป็นการประสมประสานกันระหว่างการศึกษาในห้องเรียนและการศึกษาทางไกล และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่างๆสามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนและรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

การศึกษาไร้พรมแดนมี 3 ระบบ คือ

1. ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์

2. ระบบเนื้อหาและระบบหลักสูตร

3. ระบบสื่อ1.1 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ภาพ เสียง ตัวอักษรเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ

- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน

- เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน

- เพื่อใช้ข้อมูลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน1.2 ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล

เสียง ภาพ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยีการประชุมทางไกล เป็นวิธีการนำสื่อทางไกลทั้งภาพ และเสียง คือ การนำ เอาวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์มาใช้ในการให้การศึกษากับประชาชน ด้วยการจัดให้ผู้สอนสามารถมีการส่งสัญญาณสื่อสารกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์และวิทยุ จากสถานีแม่ที่ตั้งอยู่ห่างไกล ไปยังผู้เรียนที่รอรับสัญญาณอยู่ที่สถานีลูกหลายแห่งได้ ซึ่งในสถีลูกแต่ละแห่งก็มีการจัดการชั้นเรีย1.3 เครือข่ายอินเตอร์เนต

เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นระเครือข่ายเพื่อรับและส่งข้อมูล ให้กับสมาชิก โดยรวบรวมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันนี้มีเครือข่ายข้อมูลมากว่า 70,000 เครือข่าย ใน 152 ประเทศ และคาดว่าจะมีจำนวนเครือข่ายและสมาชิกผู้ซื้อบริการเครือข่ายเพื่มขึ้นเรื่อย และในปัจจุบันนี้มีการจัดการศึกษาผ่านอินเตอร์เนตแล้ว ทั้งในลักษณะของการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย และ มหาวิทยาลัยเสมือนจริงจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้อย่างแพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน และรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยี และสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาให้กว้างขวางมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญรุดหน้าพร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ยิ่งขึ้น

อินเทอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร

รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANETของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลกดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะอินเทอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?

เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น

1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก

2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น

3. สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี

4. สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น

5. สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ

6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น

1..4 ระบบเครือข่ายใยนำแสง ระบบสื่อตามประสงค์ VOD

2. ระบบหลักสูตร

2.1 มีความหลากหลายทั้งเนื้อหาและการเรียนการสอน จบลงในตัว

2.2 เนื้อหามีความยืดหยุ่น ไม่ตายตัว สามารถนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาประยุกต์ใช้ในวิชาการต่างๆได้

3. ระบบสื่อในระบบสื่อนั้นต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิตอล เป็นภาพที่มีการเคลื่อนไหว และมีเสียงที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านสื่อจากยังผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพการใช้สื่อ ประกอบด้วย สื่อหลักและสื่อเสริมสื่อหลัก ได้แก่

1.การสอนด้วยคอมพิวเตอร์ stand alone CBIได้แก่ สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ คู่มือการเรียนการที่ผู้สอนพบกับผู้เรียนเป็นครั้งคราวการเรียนรู้ผ่านห้องปฏิบัติการ assignment

2.การสอนด้วยระบบการประชุมทางไกลสื่อเสริม สิ่งพิมพ์ วีดีโออนดิมานด์3.การสอนด้วยระบบเครือข่าย WWW (WBI)สื่อเสริม สิ่งพิมพ์ โน๊ตย่อ การประชุมทางไกลหลักการเลือกใช้สื่อชนิดต่างๆ

- ศึกษาคุณสมบัติของสื่อแต่ละประเภท

- แสดงผลการสอนผ่านจอภาพ

- เหมาะสมกับเวลาและสถานที่

การศึกษาไร้พรมแดน  คือ  เป็นการผสมผสานระหว่าง  การศึกษาในห้องเรียน  และการศึกษาทางไกลโดยเครือข่ายสื่อสาร  อิเล็กทรอนิกส์และคมนาคม  ทุกรูปแบบในการสื่อสาร  และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้   ที่เรียกว่า  Just   in   Time   คือการตอบสนองต่อสังคมยุคปัจจุบัน   ทำให้บุคคลมีความรู้  ก้าวมั่น  ทันโลก  และก้าวล้ำนำโลก ระบบการศึกษาไร้พรมแดนมี  3  ระบบ  คือ1.ระบบการถ่ายทอดและปฏิสัมพันธ์-ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์-เสียง-ภาพ-ตัวอักษร-ระบบเครือข่ายการประชุมทางไกล-เสียง-ภาพ-คอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต-e-mail  www.ระบบเครือข่ายเส้นใยนำแสง-ระบบสื่อตามประสงค์2.ระบบเนื้อหาสาระและหลักสูตร-มีความหลากหลายจบในตัว-เนื้อหามีความยืดหยุ่น3.ระบบสื่อต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิตอล  เพื่อที่จะถ่ายโอน  ถ่ายทอด  การใช้สื่อ  จะมีสื่อหลัก  และสื่อเสริม


          "การศึกษาทางไกล" เป็นอีกรูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล หรือขาดแคลนบุคลากรผู้สอน ผู้สอนจะถ่ายทอดวิชาส่งผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น ทางโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุ ซีดีรอม เทปรายวิชาต่างๆ แม้แต่หนังสือประกอบการเรียนไปยังผู้เรียน เป็นการเรียนการ สอนรับส่งด้านเดียว ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง อาจารย์ และนักเรียน

          การศึกษาในรูปแบบนี้ค่อนข้างอิสระ และสบาย เพราะผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเอง การเอาใจใส่ และกระตือรือร้นจึงมี น้อยกว่า เนื่องจากไม่มีอาจารย์คอยควบคุมใกล้ชิดมากนัก เทคนิคการเรียนจึงเป็นสิ่งแรกที่ "ผู้เรียน" ควรทำความรู้จักอันเป็น กุญแจนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการศึกษาทางไกล

          "เทคนิคการเรียน" คือ วิธีการเรียนที่จะให้ได้ผลการเรียนดีที่สุดโดยใช้ความพยายามน้อยที่สุด ถ้าคุณต้องการเข้าใจ เนื้อหา ก็ต้องศึกษาแบบเจาะลึกไม่ใช่เพียงผิวเผิน พยายามอ่าน ทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำ ซึ่งวิธีการเรียน แบบนี้ แต่ละคนจะมีวิธีการเรียนของตัวเอง สำหรับผู้เรียนการศึกษาทางไกล ลองพิจารณาข้อเสนอแนะต่อจากนี้ แล้วลองปฏิบัติ ดูอาจเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองก็เป็นได้ เริ่มจากเมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าจะเรียนอะไรแล้วสิ่งที่นึกถึงจากนั้น คือ "สื่อ" ที่คุณมีอยู่ เช่น เอกสาร ตำรา ครู เพื่อนร่วมงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นซีดี โทรศัพท์ และวิดีทัศน์ อันดับต่อมา คือ ตัวคุณเอง และเวลาในการศึกษา ซึ่งหมายถึงผู้เรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและศึกษาด้วยตนเอง ตามแบบการศึกษาทางไกล บทบาทของ ผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้เรียนจะต้องพัฒนาความเป็นผู้ใฝ่รู้ ในขณะที่ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วย

          ผู้เรียนจะต้องตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นว่า มีจุดประสงค์อย่างไรและต้องทำอะไรบ้าง ต้องรู้ว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร ประเมินความก้าวหน้าการเรียนอย่างไร ต้องติดต่อกับผู้สอนทางไกลตลอดเวลาเพื่อจะได้รู้ว่าผลการสอนจะเน้นอย่างไร การเรียน เป็นงานที่หนักยิ่งของผู้เรียนและต้องเตรียมความพร้อมเพียงใด การเตรียมตัวที่ดีความสำเร็จย่อมมีมาก

          ก่อนตัดสินใจที่จะเรียนจะพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณ เช่น สภาพแวดล้อมส่วนตัวเป็นอย่างไร มีครอบครัว หรือยัง มีลูกเล็กๆ หรือเปล่า ทำงานเต็มเวลาหรือบางเวลาจะเรียนเต็มเวลาหรือบางเวลา ที่บ้านมีคนอยู่มากหรือไม่ จะต้อง ทำงานที่โต๊ะอาหาร โดยมีสมาชิกในครอบครัวหลายคน แต่ทำอย่างไรเราจึงจะมีสมาธิกับการเรียนได้

          ที่เรียน  ถ้าบ้านของคุณแออัดจนหาที่เงียบๆ ไม่ได้ ห้องสมุดหลังศูนย์การเรียนอาจเป็นทางเลือกที่จะให้คุณได้ใช้ศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณในเรื่องของการช่วยเรียน ได้ หรือคุณอาจศึกษาจากผู้เรียนอื่นๆ ซึ่งการพูดคุยกับผู้เรียนคนอื่นก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีในเรื่องของการเรียนรู้ได้

          เปลี่ยนนิสัย  ชีวิตผู้ใหญ่ในสังคมเป็นชีวิตที่มีภาระมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลาทำทุกอย่างได้ การจะจัดเวลาทำ การบ้าน การดูแลบ้าน พาลูกไปโรงเรียน ทำกิจกรรม ดูโทรทัศน์ หรือทำงานประจำอื่นๆ เป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มเรื่องการเรียนเข้า ไป ทำให้บางครั้งต้องตัดกิจกรรมบางอย่างออกไป คิดดูว่าจะสามารถตัดอะไรได้บ้าง การวางแผนเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวและ ผู้เรียนเท่านั้นที่จะพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ถ้าต้องเรียน อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำการบ้าน แทนที่จะทำอย่างอื่นที่สนุกกว่า อย่า คิดเช่นนั้น การตัดสินใจเรียนอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดในชีวิต อาจจะได้พบสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การเรียนอาจเปลี่ยน แปลงชีวิต หรือสามารถให้โอกาสชีวิตใหม่ๆ ก็เป็นได้

          วิธีการ  เมื่อผู้เรียนสมัครเรียนทางไกลจะได้พบผู้สอน/ อาจารย์ที่ปรึกษา จากสถาบันและได้รับเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับ หลักสูตร และขอบเขตของหลักสูตร ก่อนอื่นควรดูเอกสารต่างๆ และลองจัดเวลาดูว่าจะต้องใช้เวลาเรียนอาทิตย์ละกี่ชั่วโมง ถ้า เห็นว่าเวลาว่างน้อยแสดงว่าต้องใช้เวลามากขึ้น ในแต่ละวันการเรียนต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องน่าเบื่อ อย่างน้อยต้องหา เวลาพักหรือได้เดินเล่นบ้าง การศึกษาเอกสารก่อนจะทำให้คำนวณได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีหลักสูตรอะไรบ้างจากสื่อ การเรียนไปแต่ ละหน่วยจะค่อยๆ เริ่มจากง่ายไปหายากบ้าง ผู้เรียนต้องศึกษาให้เข้าใจไปทีละน้อยตามลำดับ

          ความเครียด  ความเครียดเป็นผลร้ายต่อการเรียน วิธีหลีกเลี่ยงความเครียดที่ดีที่สุด คือ วางแผนและฝึกจิตใจ ปฏิบัติ ตามแผนที่วางไว้และทำงานทุกวัน หลีกเลี่ยงการทำงานที่คั่งค้าง ส่งงานตามเวลา แต่ถ้าทำไม่ได้ คุยหรืออธิบายสถานการณ์ให้ ผู้สอนเสริมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาทราบ แทนที่จะรู้สึกเครียดหรือหงุดหงิด ติดต่อกับเพื่อผู้เรียนคนอื่นบ้างถ้ามี เพราะการที่มี เพื่อนที่อยู่สถานการณ์เดียวกัน จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีซึ่งกันและกันได้ อธิบายให้ครอบครัวและเพื่อนเข้าใจว่าเหตุใดจึงไม่ค่อยมี เวลาให้

          เริ่มทำความเข้าใจกับเอกสารอย่างกว้าง ค่อยๆ อ่านทีละหน้า ดูภาพและอ่านคำบรรยาย เขียนหัวข้อและประเด็นสำคัญๆ บันทึกขีดเส้นใต้ข้อความเรื่องที่สำคัญ จับประเด็นสำคัญและย่อความด้วยคำพูดตัวเอง ถามคำถามเพื่อตรวจสอบว่าตนเองเข้าใจ เรื่องที่อ่านมากน้อยแค่ไหน ศึกษากับเพื่อนที่มี ตั้งคำถามช่วยกันคิด ทบทวนเอกสารก่อนที่จะบันทึกรายละเอียดและหัวข้อ การ จะพยายามอ่านและเขียนทุกๆ เรื่องเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องรู้จักจับประเด็นที่สำคัญ เพื่อประหยัดเวลาและได้ความรู้ พยายามหาวิธีของตนเอง การเรียนไม่จำกัดที่ต้องอยู่ที่โต๊ะเสมอไป

          หรืออาจเขียนโน๊ตย่อ ไม่จำเป็นต้องบันทึกเสมอไป อาจบันทึกเทปไว้ฟังเวลาขับรถ ทำกับข้าวหลังล้างชาม เขียนคำ หรือ วลียากๆ ไว้แล้วไปติดในที่เด่นๆ รอบบ้าน เพื่อจะได้เน้นตลอดเวลาและทำให้จำได้ ก่อนนอนอ่านตำราเล็กน้อย ถึงจะอ่านได้น้อย กว่าแต่อาจนับว่าได้อะไรบ้าง ตอบคำถามในตำราแต่ละตอน แล้วลองตั้งคำถามเองบ้าง เมื่อรู้สึกล้าลองให้รางวัลตัวเองบ้าง การ ส่งการบ้านเป็นช่วงๆ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและส่งให้ตามกำหนด

          หากติดขัดในการเรียน  หากมีปัญหาก็ให้ทิ้งงานนั้นไว้ก่อนแล้วทำงานอื่นแทนหลังจากนั้น 2-3 วันค่อยกลับมาดูใหม่ บ่อยครั้งจะแก้ปัญหาได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ลองติดต่อกับผู้เรียน อาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อแก้ปัญหาได้แล้วควรทบทวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ ใจว่าเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ยอมรับคำตอบของคนอื่นเพื่อผละไป

          ที่สำคัญติดต่อกับผู้สอนตลอดเวลา ไม่ใช่รอจนมีปัญหาเกิดขึ้น ถึงแม้ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะการพูดคุยจะทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือทำให้รู้สึกดีเมื่อมีคนให้กำลังใจ

 

 

การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
          การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน                              
 
ความหมายของการศึกษาทางไกล (Distance Education) 
          การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา
          การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่
          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม                                                                                        < การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต          เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ วันของชาวโลกคือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ใน โลกเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (Protocol) อย่างเดียวกันที่เรียกว่า TCP/IP อินเทอร์ เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของคำว่า "โลกาภิวัฒน์" (Globalization) ที่เป็นรูปธรรม โลกทั้งโลกสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ในทางการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็นการเปิดกว้างของ การให้โอกาสในการศึกษาหาความรู้อย่างไม่เคยมีมาก่อน และเป็นการเปิดโอกาสที่ให้เกิดความเท่า เทียมสำหรับทุกคน ที่สามารถจะเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ลองนึกถึงความจริงที่ว่าเด็กไทยที่ อยู่บนดอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็สามารถหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้เท่าเทียมกันกับเด็กอเมริกัน ที่นิวยอร์ค และเท่ากับเด็กญี่ปุ่นที่โตเกียว อินเทอร์เน็ตเป็น          แหล่งสะสมความรู้หรือที่บางคนเรียกว่า "ขุมทรัพย์ความรู้"เพราะในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ต่อ เชื่อมอยู่กับอินเทอร์เน็ตนั้น ต่างก็มีข้อมูลสะสมไว้มากมาย และวิธีให้บริการบนอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ถ้าเจ้าของข้อมูลยอมเปิดให้เป็นข้อมูลสาธารณะ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเป็นข้อมูลที่ไม่มีการกลั่นกรอง ไม่มีการ รับรองความถูกต้อง ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และนำมาใช้เฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาในยุคอินเทอร์เน็ตนั้นคือ การเรียนรู้ที่จะแยกแยะและกลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจัดระบบขึ้นเป็นความรู้ ขณะนี้มีงานวิจัยซึ่งพยายามสร้างกระบวนการอัตโนมัติ (โดยใช้คอมพิวเตอร์) ของการค้นหาข้อมูล (จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) และนำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ผู้ใช้สามารถระบุได้ ศาสตร์ใหม่แขนงนี้มีชื่อเรียกว่า วิศวกรรมความรู้ (Knowledge Engineering) ซึ่งมีการบริการ World Wide Web (WWW.) เป็นวิธีการให้บริการข้อมูลแบบหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นวิธี การที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้ โดยอาศัยสมรรถนะที่สูงขึ้นมากของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ WWW . ใช้กฎเกณฑ์การรับส่งข้อมูลแบบ Hypertext Transfer Protocol (http) ซึ่งมีจุดเด่นที่ สำคัญอยู่ 2 ประการคือ          1. สามารถทำการเชื่อมโยงและเรียกข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาปรากฏได้ โดยวิธีการที่เรีย กว่า Hyperlink
          2. สามารถจัดการข้อมูลได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียง และวีดิทีศน์ เป็นต้น                       
 
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)    ความหมาย    ได้มีผู้ให้คำนิยามของการเรียนทางไกล (Distance learning) หรือการศึกษาทางไกล (distance education) ไว้หลายท่านด้วยกันดังนี้     เบิร์ก และฟรีวิน (E.R.Burge and CC Frewin ,1985 : 4515) ได้ให้ความหมายของการ เรียนการสอนทางไกลว่า หมายถึงกิจกรรมการเรียนที่สถาบันการศึกษาได้จัดทำเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่ได้เลือกเข้าเรียนหรือไม่สามารถจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนตามปกติได้กิจกรรมการเรียนที่จัด ให้มีนี้จะมีการผสมผสานวิธีการที่สัมพันธ์กับทรัพยากร การกำหนดให้มีระบบการจัดส่งสื่อการสอน และมีการวางแผนการดำเนินการ รูปแบบของทรัพยากรประกอบด้วย เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เรียนอาจเลือกใช้สื่อเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มได้ ส่วนระบบการจัด ส่งสื่อนั้นก็มีการใช้เทคโนโลยีนานาชนิด สำหรับระบบบริหารก็มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางไกล ขึ้น เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอน          โฮล์มเบิร์ก (Borje Holmber, 1989: 127 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 38) ได้ ให้ความหมายของการศึกษาทางไกล ว่าหมายถึงการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้มาเรียนหรือ สอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยใช้ระบบการสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม การเรียนการสอนทางไกลเป็นวิธีการสอนอันเนื่องมาจากการแยกอยู่ห่างกันของผู้เรียนและผู้สอน การปฏิสัมพันธ์ดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
          ไกรมส (Grimes) ได้ให้นิยามการศึกษาทางไกลว่า คือ "แนวทางทุก ๆ แนวทางของการเรียนรู้จากหลักสูตรการเรียนการสอนปกติที่เกิดขึ้น แต่ในกระบวนการเรียนรู้นี้ครูผู้สอนและนักเรียนอยู่คนละสถานที่กัน " นอกจากนี้ ไกรมส์ ยังได้อธิบายถึงเรื่อง การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ผ่านสื่อทางไกล โดยเขาได้ให้นิยามที่กระชัย เข้าใจง่ายสำหรับการศึกษาทางไกลสมัยใหม่ไว้ว่าคือ "การนำบทเรียนไปสู่นักเรียนโดยใช้เทคโนโลยีมากกว่าที่จะใช้เทคโนโลยีนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียน" และไกรมส์ยังได้ถอดความของคีแกน (Keehan) ซี่งได้กำหนดลักษณะเฉพาะของการเรียนการสอนทางไกลไว้ ดังนี้คือ                            1. เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนอยู่ต่างถานที่กัน
          2. สถาบันการศึกษาเป็นผู้กำหนดขอบเขตและวิธีการในการบริหารจัดการ (รวมทั้งการประเมินผลการเรียนของนักเรียน)
          3. ใช้กระบวนการทางสื่อในการนำเสนอเนื้อหาหลักสูตร และเป็นตัวประสานระหว่างครูกับนักเรียน
         4. สามารถติดต่อกันได้ทั้งระหว่างครูกับนักเรียนและหรือสถาบันการศึกษากับนักเรียน
          วิจิตร ศรีสอ้าน (2529 : 5 - 7) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนทางไกลว่าหมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่ สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการทางการศึกษา โดยมุ่งให้ผู้เรียนเรียนได้ ด้วยตนเองอยู่กับบ้าน ไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ การเรียนการสอนทางไกลเป็นการสอนที่ผู้ เรียนและผู้สอนจะอยู่ไกลกัน แต่สามารถมีกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้ โดยอาศัยสื่อประสม เป็นสื่อการสอน โดยผู้เรียนผู้สอนมีโอกาสพบหน้ากันอยู่บ้าง ณ ศูนย์บริการ การศึกษาเท่าที่จำเป็น การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสื่อประสมที่ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่สะดวก          สนอง ฉินนานนท์ (2537 : 17 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 7) ได้ให้ความหมาย ของการศึกษาทางไกลว่าเป็นกิจกรรมการเรียนสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนตามปกติได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ หรือเหตุผลทางเศรษฐกิจก็ตาม การเรียนการสอนลักษณะ นี้ผู้สอนกับผู้เรียนแยกห่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์โดยผ่านสื่อการเรียนการสอน การเรียนโดยใช้สื่อการเรียนทางไกลนั้น ใช้สื่อในลักษณะสื่อประสม (Multimedia) ได้แก่ สื่อเอกสาร สื่อโสตทัศน์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นรายการวิทยุ โทรทัศน์ เทปเสียง วีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์          วิชัย วงศ์ใหญ ( 2527 อ้างถึงในสารานุกรมศึกษาศาสตร์. 2539: 658 ) การสนทางไกล (distance teaching) หมายถึง ระบบของการจัดการศึกษาวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่ต้องมาทำ กิจกรรมในห้องเรียน กระบวนการเรียนการสอนจะยืดหยุ่นในเรื่องเวลา สถานที่ โดยคำนึงถึงความ สะดวกและความพร้อมของผู้เรียนเป็นหลัก รูปแบบของการเรียนจะใช้สื่อการเรียนประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ สื่อที่ติดต่อทางไปรษณีย์ สื่อทางวิทยุ สื่อทางโทรทัศน์และสื่อโสตทัศน์อุปกรณ์ประเภทอื่น รวมทั้งการพบกลุ่มโดยมีวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้หรือการสินเสริม เป็นต้น          โดยสรุป แล้วการศึกษาทางไกล หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นโดยที่ผู้เรียนไม่ จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนปกติ เป็นการเรียนการสอนแบบไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อต่าง ๆ ที่เรียกว่าสื่อ ประสม ได้แก่ เอกสาร สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงสื่อบุคคลช่วยในการจัดการ เรียนการสอน                                             
 หลักสำคัญของการศึกษาทางไกล          จากความหมายและปรัชญาของการเรียนการสอนทางไกลดังได้กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ ว่ามีลักษณะเฉพาะสำค
คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาทางไกล
หมายเลขบันทึก: 47065เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากทราบรายละเอียดวิธี และขั้นตอนการทำstreaming ครับ ช่วยกรุณาบอกผมด้วยครับ ผมทำสถานีวิทยุ อยากเอาภาพและเสียงออกอากาศครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ศรุต ดุจเพ็ญ

อยากได้ประโยชน์ของการศึกษาทางไกลครับ

อยากทราบว่า การขออนุญาต สกอ.มีหลักเกณฑ์อย่างไร คือ ดิฉันมีสถาบันการศึกษาระบบทางไกล ต่างประเทศ  Distance learning จะทำอย่างไร กฎหมายในประเทศไทย มีข้อไหนบังคับใช้บ้าง ระหว่างการดำเนินการทำให้ถูกต้องค่ะ 

 

ติดต่อประสานงานได้ที่ไหน 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท