Idea วันที่ 12 ธันวาฯ 54 - กฏ 8 ข้อของการบริหารความขัดแย้งของ ดร.จีระ


อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้ทีมไม่เวิร์ค คือ ความขัดแย้ง (Conflict)

สวัสดีครับชาว Blog

วันพรุ่งนี้.. ผมได้รับเกียรติจากศาลจังหวัดสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาเชิญให้ไปบรรยายพิเศษเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของศาลฯ เป็นโจทย์ที่น่าสนใจ และผมได้เลือกหัวข้อ TEAM WORK:รหัสลับสู่ความเป็นเลิศของศาลจังหวัดสีคิ้ว ซึ่งทราบว่าเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานในยุคปัจจุบันของทุก ๆ องค์กร และครั้งนี้ผมได้ไอเดียในการจัดการกับความขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ทีมไม่เวิร์คด้วยจึงนำมาแบ่งปันกับทุก ๆ คนครับ

อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้ทีมไม่เวิร์ค คือ ความขัดแย้ง (Conflict)

กฏ 8 ข้อของการบริหารความขัดแย้งของ ดร.จีระ

1) ความขัดแย้งไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายทุกเรื่อง  บางครั้งความขัดแย้งเพื่อให้เกิดความคิดเห็นที่ไปสู่ความสำเร็จก็มี อาจจะเรียกว่า  “การขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์”

2) แต่ความขัดแย้งที่ไปสู่ความล้มเหลวต่างหากที่เป็นปัญหา เช่น

  • ความขัดแย้งเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาฯ
  • ความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงในปัจจุบัน
  • ความขัดแย้งเรื่องน้ำท่วม /น้ำน้อย เมื่อเร็ว ๆ นี้

3) ดังนั้น ประเด็นก็คือ เมื่อเข้าใจปัญหาและสาเหตุก็ต้องหาทางแก้ไขแต่เนิ่น ๆ ให้ไปสู่ความปรองดอง ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดในระดับโลก คือ ความขัดแย้งระหว่างผิวขาว/ผิวดำ ในแอฟริกาใต้ และในที่สุดก็มี Nelson Mandela เป็นผู้แก้ปัญหา คือ ให้อภัย ไม่นึกถึงการล้างแค้น นึกถึงแต่ทางออก  ทั้ง ๆ ที่ Mandela ต้องติดคุกถึง 27 ปี เขาได้ความคิดเรื่องการปรองดองมาได้อย่างไร?

4) อย่างในกรณีของสีคิ้ว หากจะวิเคราะห์ถึงปัญหาเรื่องความขัดแย้งอาจจะมองเป็น 2 ระดับ

  • ระดับองค์กร
  • ระดับบุคคล
  • ส่วนระดับชุมชน (เอาไว้ทีหลัง)

ระดับองค์กร

  • ผู้นำไม่ยุติธรรม
  • ขาดธรรมาภิบาล
  • ผลประโยชน์ทับซ้อน แย่งชิงทรัพยากร
  • ดูแลทุนมนุษย์ไม่ทั่วถึง ขาดคุณธรรมจริยธรรม
  • ขาดขวัญกำลังใจ
  • ปล่อยให้ปัญหาเล็ก ๆ บานปลาย
  • บางกลุ่มได้ บางกลุ่มไม่ได้
  • มีระบบอุปถัมภ์ ขาดความยุติธรรม
  • ไม่มีการปรับความเข้าใจกัน
  • ไม่มีผู้นำที่ดี
  • ไม่มีคนกลาง

ระดับบุคคล

  1. บริหารความหลากหลายไม่ได้ เช่น

       เพศ

      อายุ

       ค่านิยม

       ทัศนคติ

   2. ผลประโยชน์ไม่ลงตัว

   3. อื่น ๆ (ต้องหาสาเหตุที่แท้จริง)

5) ดังนั้น ในวันนี้จึงจะระดมสมองโดยเน้น..

(1) ค้นหาตัวเอง

(2) ค้นหาสาเหตุของความขัดแย้ง

(3) หาทางออก

  • ระดับบุคคล
  • ระดับองค์กร

6)    จุดอ่อนของความขัดแย้ง ก็คือ..

        1) ความขัดแย้งทำให้เกิดความล้มเหลวในงาน / ประชาชนเสียหาย

        2) ลดความขัดแย้งจะช่วยทำให้คุณภาพของงานจะดีขึ้น    

7)      การลดหรือบริหารความขัดแย้ง น่าจะต้องใช้ทฤษฎี 2 R’s

  •  
    • Reality – มองความจริง
    • Relevance – ตรงประเด็น

           Reality หรือ การมองความจริงนั้น ต้องเน้นเรื่องสังคมไทย ค่านิยมของคนไทย+ค่านิยมองค์กรหรือวัฒนธรรมองค์กรที่เรากำลังพูดถึง

ค่านิยมในสังคมไทย..

  • อิจฉาริษยา
  • ไม่ค่อยจะดูตัวเอง
  • ไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่า
  • ไม่ค้นหาตัวเอง
  • มองกลุ่มตัวเองสำคัญมากกว่ามองภาพใหญ่
  • จะทำอะไรลับหลัง ไม่ทำตรง ๆ

       Relevance คือ เมื่อมีปัญหาแล้วต้องแก้ให้ตรงประเด็น.. ใครควรจะเป็นผู้แก้?

  • ตัวเองต้องสำรวจตัวเอง
  • ต้องปรับปรุงทุนทางอารมณ์
  • ต้องมองประโยชน์ของส่วนรวม มีจิตสาธารณะ.. ต้องห่วงใยว่าองค์กรจะไปรอดหรือไม่?
  • ต้องภูมิใจที่เป็นคนที่มีทัศนคติในด้านบวก

8. ตัวละครที่จะมาช่วย

  • ผู้นำองค์กรต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ต้องสนใจและมีความสามารถในการบริหารทุนมนุษย์
  • ผู้นำต้องสร้างทีม HR ที่เก่งในการช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว
  • จัดกิจกรรมแบบนี้บ่อย ๆ โดยใช้ Facilitator ที่เป็นคนนอก ใช้มุมมองจาก Outside-in เป็นกลาง
  • ทุกคนในองค์กร (Non-HR) ต้องช่วยด้วย

 จีระ หงส์ลดารมภ์?

 

หมายเลขบันทึก: 471066เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2011 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท