จุดเริ่มต้นของการเรียนจบการศึกษา


จุดเริ่มต้นของการเรียนจบการศึกษา

 

 

 

จุดเริ่มต้นของการเรียนจบการศึกษา

 

       เมื่อทุกคนจบการศึกษา ไม่ว่าในระดับใดแล้ว ซึ่งเป็นจุดที่ทุกคนต่างก็ต้องเสาะแสวงหางานทำเป็นอันดับแรก เพื่อการดำรงชีพของตนให้อยู่บนโลกใบนี้ได้ แม้ตนเองก็ไม่สามารถทราบได้ว่าจะได้หรือไม่ แต่ขอให้ได้สมัครงานไว้ก่อน สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การหาแหล่งที่จะสมัครงาน ถ้าแหล่งงานนั้นเข้าตา ตนเองก็เข้าไปสมัครงาน สิ่งแรกที่ผู้เขียนต้องการแจ้งให้ผู้จบการศึกษาทราบ นั่นคือ

       1. ให้ท่านอ่านประกาศการรับสมัครงานให้ละเอียด รอบคอบเสียก่อนและต้องทำความเข้าใจกับประกาศที่หน่วยงานต้องการรับสมัคร

       2. ให้ดูวัน เวลา สถานที่สอบในประกาศให้ละเอียด

       3. ให้ดูว่ามีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัครหรือไม่

       4. ให้ดูว่าหน่วยงานที่รับสมัครนั้นจะดำเนินการสอบหรือคัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร เมื่อใด

       5. ให้ดูว่าหน่วยงานต้องการเอกสารใดบ้าง โดยที่ผู้สมัครงานจะต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ไปให้หน่วยงานผู้รับสมัครตรวจสอบ ให้ครบถ้วน เพราะไม่เช่นนั้น ท่านจะเสียโอกาสในการรับสมัครงาน เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะปฏิบัติตามประกาศที่หน่วยงานรับสมัครงาน เพราะประกาศ คือ กฎ กติกาที่เป็นการปฏิบัติร่วมกันในกรณีที่คนเราอยู่ร่วมกันในสังคม (เนื่องจากผู้เขียนเคยสังเกตจากผู้มาสมัครงาน เมื่อมาสมัครงานแล้วไม่ดำเนินการตามขั้นตอนที่ผู้เขียนบอกข้างต้น จึงทำให้เกิดการเจรจาต่อรอง และเกิดความไม่พอใจกันเกิดขึ้น...

        สุดท้ายหน่วยงานก็ไม่สามารถยืดหยุ่นได้และก็เสียโอกาสที่ตนเองจะได้แสดงความสามารถให้หน่วยงานได้ประจักษ์ไปในที่สุด เพราะนี่คือ...ความบกพร่องของตัวคุณเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ที่คุณจะต้องกระทำ ไม่ใช่ให้หน่วยงานที่รับสมัครคอยช่วยเหลือ (สำหรับหน่วยงานจะช่วยได้ก็เฉพาะเรื่องที่พออนุโลมได้เท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้น หน่วยงานจะไม่ประกาศให้ทราบในกระบวนการข้างต้นเป็นแน่) คือ ต้องเป็นหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้สมัครเอง ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ต้องเข้าใจในลักษณะของการทำงาน เพราะหน่วยงานบางแห่ง ให้เจ้าหน้าที่รับสมัครไม่ใช่รับสมัครในเรื่องนั้นเรื่องเดียว เจ้าหน้าที่ 1 คน มีภาระงานมากกว่าที่จะต้องมานั่งรับสมัครในเรื่องเดียว

        แต่ถ้าท่านใดปฏิบัติตามเช่นกระบวนการข้างต้น ก็แสดงถึงบรรยากาศที่ Happy กันทั้งสองฝ่าย เพราะทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎ กติกาที่หน่วยงานได้วางไว้ ทำให้เห็นว่า พฤติกรรมของคนที่จะแสดงความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนเองต้องทราบนั้นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เห็นได้ว่า คนประเภทแรก เมื่อเข้ามาอยู่ในหน่วยงานแล้ว ก็มีแต่สร้างปัญหา อ้างโน่น อ้างนี่อยู่เรื่อย เพราะไม่เข้าใจว่าตนเองมีหน้าที่อะไรและจะต้องทำอย่างไรบ้าง? พอเมื่อไม่ถูกใจก็เที่ยวโทษคนนั้น...คนนี้...ลืมดูความผิดของตนเอง...เรียกว่า “โทษของตนแค่หยิบเดียว แต่โทษของคนอื่นนั้น มหันต์”...ตนเองไม่ผิด แต่คนอื่นผิดอย่างเดียว...

       บางคนก็จะชอบอ้างอิงผู้บริหารท่านนั้น ท่านนี้ให้มาสมัคร โดยที่ไม่ได้ดูว่าคุณสมบัติของตนเองนั้นได้หรือไม่ เรียกว่า "ใช้เส้น" ซึ่งในระบบของการบริหารงานบุคคลจะเน้นเรื่อง ระบบคุณธรรมมากกว่าระบบอุปถัมภ์ เพราะปัจจุบันการคัดเลือกคนเข้าทำงานก็ต้องดูที่ความสามารถ ความรู้ คุณภาพของคนที่เข้ามาทำงาน มิใช่ดูที่ว่าเป็นเด็กของใคร...เหมือนกับว่า คนประเภทนี้จะไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องกระบวนการของการบริหารงานบุคคลมากนัก...(บางครั้งก็รู้ + เข้าใจ...แต่ก็ยังทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่า...)

        ในฐานะที่ผู้เขียนเคยทำงานในด้านบุคคลนี้ เคยเกิดความคิดขึ้นมาเหมือนกันว่า เมื่อสมัยที่ผู้เขียนเรียนนั้น ผู้เขียนจะได้เรียนวิชา หน้าที่พลเมือง + ศีลธรรม มาตลอด ซึ่งในความคิดของผู้เขียนในสมัยนั้น คิดว่า เป็นวิชาที่น่าเบื่อมาก แต่มา ณ ปัจจุบันทำให้ทราบว่า วิชาดังกล่าวมันติดตัวของผู้เขียนมา ทำให้ตัวเราทราบว่า เรามีหน้าที่อะไร มีความรับผิดชอบที่จะต้องทำอะไร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมอะไรบ้าง?...จะไม่โทษคนอื่น นำเหตุและผลมาไตร่ตรองว่าเราผิดหรือเขาผิด ถ้าเราผิด เราจะยอมรับว่าเราผิดและหาทางแก้ไข...ถ้าเขาผิด เราก็ต้องชี้แจงเหตุผลและขอทราบเหตุผล...แต่ก็ไม่ทราบว่า ปัจจุบันนี้ ยังมีหลักสูตรของวิชานี้อยู่อีกหรือไม่ เพราะสังเกตจากบุคคลที่เข้าสมัครงานที่หน่วยงาน น้อยคนนักที่จะดำเนินการตามเอกสารข้างต้น แล้วก็จะชอบโยนว่าหน่วยงานไม่อะลุ่มอล่วย ไม่ยืดหยุ่นให้...

        ก็น่าแปลกดีเหมือนกันว่า “คุณภาพของคน” อยู่ที่ตรงไหนกันแน่...เพราะในสมัยก่อนที่ผู้เขียนไปสมัครงาน ผู้เขียนจะอ่านประกาศให้ละเอียด แล้วก็เตรียมเอกสารให้ครบตามที่ประกาศการรับสมัคร ...แต่ถ้าตัวเราเตรียมไปไม่ครบ เราจะไม่สมัคร เพราะถือว่าเป็นความบกพร่องของตัวเราเอง จะไม่โยนความผิดไปให้คนอื่น หรือไปเจรจาต่อรองกับเจ้าหน้าที่ที่รับสมัคร เพราะประกาศ ก็คือ การที่คนเราต้องปฏิบัติร่วมกันนั่นเอง...

   

 

หมายเลขบันทึก: 474215เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2012 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"งานที่ออกมาจะดีได้ คนที่ลงมือทำต้องดีก่อน" "คุณภาพคนชี้วัดคุณภาพองค์กร" "Monozukuri is Hitozukuri" สวัสดีครับท่านอาจารย์บุษยมาศ

มุมมองของผมต่อเรื่องคน ผมมองในสายงานการพัฒนาคนครับ ต้องเรียนท่านอาจารย์ว่าบันทึกที่ท่านอาจารย์เขียนมันทำให้ผมกลับมาคิดทบทวนเรื่องนี้อีกครั้ง ในสภาวะที่ผมกำลังจะหลุดออกจากความเป็น "มนุษย์เงินเดือน" ในไม่นานนี้ แต่ผมไม่เคยคิดว่าจะหยุดทำงานด้านนี้เลย ผมรู้สึกมีความสุข และรับรู้ได้ในสุนทรียของงานพัฒนาคน

อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ได้ "สร้างตัว" แต่เป็นอาชีพที่ "สร้างคน" สร้างคนให้มีความเป็นคนโดยเข้าใกล้ความสมบูรณ์ที่สุด ก่อนที่พวกเขาทั้งหลายจะออกมาเป็นกำลังหลัก กำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป ไม่ว่าเขาจะไปอยู่ในภาคส่วนไหนก็ตาม ก็ถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน

ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ครับ หลายเรื่องราวในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในบ้านเรายังมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการได้มาซึ่ง "บุคลากรที่มีคุณค่า" ตอบแทนให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ระบบอุปถัมภ์ ค้ำชู" ถ้าอุปถัมภ์ ค้ำชูกันในเรื่องที่ดีงามก็ดีไป แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย

"เรามีหน้าที่อะไร มีความรับผิดชอบที่จะต้องทำอะไร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมอะไรบ้าง?...จะไม่โทษคนอื่น นำเหตุและผลมาไตร่ตรองว่าเราผิดหรือเขาผิด ถ้าเราผิด เราจะยอมรับว่าเราผิดและหาทางแก้ไข...ถ้าเขาผิด เราก็ต้องชี้แจงเหตุผลและขอทราบเหตุผล..." ผมชอบประโยคนี้ของท่านอาจารย์ แต่ท่านอาจารย์เชื่อไหมครับสิ่งที่ผมพยายามชี้แจงเหตุผล กับเขามันกลับกลายเป็น "ข้อแก้ตัว" ของผมในความคิดของเขาไป และในขณะที่ผมขอทราบเหตุผลของเขา มันทำให้ผมกลับกลายเป็น "คนเรื่องมาก มากเรื่อง เป็นคนเจ้าปัญหา" กับองค์กรทันที เราก็เลยกลายเป็น "แกะดำ" ในฝูง "แกะขาว" ^_^

แต่ช่างเขาเถอะครับ ผมไม่เก็บเรื่องเหล่านี้มารกสมองแล้ว อโหสิกรรมให้หมดแล้วด้วยความจริงใจ มานั่งคิดทบทวนดูผมยังต้องขอบคุณพวกเขาเหล่านั้นด้วยที่ทำให้ผมได้เห็น ได้รับรู้ใน "สัจธรรม" ท่านอาจารย์มีจรรยาในอาชีพอย่างสมบูรณ์จริงๆครับ ขอชื่นชมจากใจจริง การทำงานกับคน ทำให้เราเข้าใจคนได้ดียิ่งๆขึ้นจริงๆ

ขอบพระคุณสำหรับการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผม

ขอบคุณค่ะ คุณธนากรณ์ ...

และขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจด้วยค่ะ

* ค่ะ ในเมื่อเราเรียน เราได้ศึกษา เรารู้ในเชิงทฤษฎี และสามารถแยกแยะออกว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี เราก็ควรนำมาปฏิบัติ เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับคนรุ่นหลัง ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ย่อมได้ แต่ไหนเลยจะทำให้กฎ กติกาสังคมเป็นที่น่าเชื่อถือได้...ยิ่งทำงานด้านบุคคล ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างกับคนในส่วนราชการ เพราะทุกคนกำลังเพ่งมองดูเราอยู่ หากตัวเราทำพลาดเพียงนิดเดียว มันเหมือนตราบาปที่ติดตัวเราไปตลอดชีวิตของการทำงานเลยละค่ะ...ตัวผู้เขียนจึงต้องยอมทำ ทำเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างกับคนรุ่นน้อง ๆ เพราะไม่เช่นนั้น บ้านเมืองก็ไร้คุณภาพ ใครใคร่ทำอะไรก็ทำ ยิ่งทำให้เสื่อมเสียไปกันใหญ่ แม้ว่าคนอื่นจะมองเราว่า "ตรง" เกินไป แต่เราก็ควรยึดระเบียบ กติกาของสังคม เพราะไม่เช่นนั้นก็เป็นอย่างที่บอก...และเราก็จะไม่มีเกาะกำบังเรา เมื่อเกิดอะไรขึ้น ตัวเราก็จะได้รับโทษโดยที่คนอื่น รวมทั้งผู้บริหารก็ไม่อาจที่จะช่วยตัวเราเองได้ค่ะ

* ตามที่อาจารย์บอก ผู้เขียนไม่คิดว่า เป็นเรื่องแปลกนะคะ คนที่แปลก คือ พวกตรงข้ามกับเรามากกว่า...กรณีที่เกิดกับท่าน ผู้เขียนก็เคยโดนเหมือนกัน แต่ไม่ใส่ใจ เพราะเราเติบโตมาด้วยเหตุผล การเรียนที่เราได้รับได้รู้จากอาจารย์ จากตำรา เป็นคนสอนเราให้เราทำดี มีเหตุผล ผู้เขียนจึงคิดว่าไม่ใช่ความผิดของเรา และก็ไม่แปลก ไม่ใช่นำความรู้สึกของแต่ละคนมาใช้ปฏิบัติ เพราะเราอยู่ในสังคม เราก็ต้องมีกฎ กติกาของสังคม เช่น การเล่นฟุตบอล หรือกีฬาประเภทต่าง ๆ เขาก็ยังมีกฎ กติยา มารยาท ในการเล่น เช่นเดียวกันกับการทำงานก็เหมือนกันค่ะ เพราะเราทำงานกับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปไงค่ะ

* ยิ่งระบบอุปถัมภ์ ยังไม่หมดไปจากสังคมไทยง่าย ๆ หรอกค่ะ มันแฝงอยู่ในทุก ๆ ที่ ที่คนจะนำมาใช้ เพียงแต่ว่าจะใช้ระบบอุปถัมภ์ในทางทิศใดที่จะไม่ให้โน้มน้าวจนน่าเกียจเกินไป เพราะสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ระบบสังคมเมืองไทยอยู่ได้และมีคุณภาพ นั่นคือ ระบบคุณธรรม ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับคนทุกคนในหมู่มาก

* ค่ะ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่เราจะนำจรรยาบรรณ จริยธรรมที่เราเคยได้เรียนมานำมาใช้ด้วยหรือไม่ นั่นคือ "การอภัย" "การอโหสิกรรม" ให้กับคนที่ทำกับเราไงค่ะ ก็ไม่ทราบว่า ทุกคนที่ได้เล่าเรียนมาแล้วได้นำมาใช้กับชีวิตการทำงานหรือไม่ แต่ผู้เขียนก็มีจรรยาบรรณในวิชาชีพของตนเอง ซึ่งก็สอดคล้องกับการทำงานภาครัฐในปัจจุบันให้ข้าราชการยึดในจรรยาบรรณของตนเอง ซึ่งผู้เขียนก็ยังถือว่า "ตัวเองก็เป็นหนึ่งคนในการทำงานของบุคคล ได้ยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรรณในวิชาชีพของตนเอง

* ขอเป็นกำลังใจให้กับอาจารย์ธนากรณ์ และคนทำงานที่ได้ปฏิบัติตามกฎ กติกาของสังคม และยึดถือระเบียบ จรรยาบรรรณวิชาชีพทุก ๆ ท่านค่ะ ประเทศไทยจะพัฒนาได้และมีคนทำงานที่มีคุณภาพได้ก็เพราะคนที่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของสังคมนะคะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

ขอบคุณค่ะ คุณธนากรณ์ ...

และขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจด้วยค่ะ

(ครั้งแรก ตอบ โดยไม่ได้เข้าระบบค่ะ ต้องขอโทษด้วยค่ะ)...

* ค่ะ ในเมื่อเราเรียน เราได้ศึกษา เรารู้ในเชิงทฤษฎี และสามารถแยกแยะออกว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี เราก็ควรนำมาปฏิบัติ เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับคนรุ่นหลัง ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ย่อมได้ แต่ไหนเลยจะทำให้กฎ กติกาสังคมเป็นที่น่าเชื่อถือได้...ยิ่งทำงานด้านบุคคล ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างกับคนในส่วนราชการ เพราะทุกคนกำลังเพ่งมองดูเราอยู่ หากตัวเราทำพลาดเพียงนิดเดียว มันเหมือนตราบาปที่ติดตัวเราไปตลอดชีวิตของการทำงานเลยละค่ะ...ตัวผู้เขียนจึงต้องยอมทำ ทำเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างกับคนรุ่นน้อง ๆ เพราะไม่เช่นนั้น บ้านเมืองก็ไร้คุณภาพ ใครใคร่ทำอะไรก็ทำ ยิ่งทำให้เสื่อมเสียไปกันใหญ่ แม้ว่าคนอื่นจะมองเราว่า "ตรง" เกินไป แต่เราก็ควรยึดระเบียบ กติกาของสังคม เพราะไม่เช่นนั้นก็เป็นอย่างที่บอก...และเราก็จะไม่มีเกาะกำบังเรา เมื่อเกิดอะไรขึ้น ตัวเราก็จะได้รับโทษโดยที่คนอื่น รวมทั้งผู้บริหารก็ไม่อาจที่จะช่วยตัวเราเองได้ค่ะ

* ตามที่อาจารย์บอก ผู้เขียนไม่คิดว่า เป็นเรื่องแปลกนะคะ คนที่แปลก คือ พวกตรงข้ามกับเรามากกว่า...กรณีที่เกิดกับท่าน ผู้เขียนก็เคยโดนเหมือนกัน แต่ไม่ใส่ใจ เพราะเราเติบโตมาด้วยเหตุผล การเรียนที่เราได้รับได้รู้จากอาจารย์ จากตำรา เป็นคนสอนเราให้เราทำดี มีเหตุผล ผู้เขียนจึงคิดว่าไม่ใช่ความผิดของเรา และก็ไม่แปลก ไม่ใช่นำความรู้สึกของแต่ละคนมาใช้ปฏิบัติ เพราะเราอยู่ในสังคม เราก็ต้องมีกฎ กติกาของสังคม เช่น การเล่นฟุตบอล หรือกีฬาประเภทต่าง ๆ เขาก็ยังมีกฎ กติยา มารยาท ในการเล่น เช่นเดียวกันกับการทำงานก็เหมือนกันค่ะ เพราะเราทำงานกับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปไงค่ะ

* ยิ่งระบบอุปถัมภ์ ยังไม่หมดไปจากสังคมไทยง่าย ๆ หรอกค่ะ มันแฝงอยู่ในทุก ๆ ที่ ที่คนจะนำมาใช้ เพียงแต่ว่าจะใช้ระบบอุปถัมภ์ในทางทิศใดที่จะไม่ให้โน้มน้าวจนน่าเกียจเกินไป เพราะสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ระบบสังคมเมืองไทยอยู่ได้และมีคุณภาพ นั่นคือ ระบบคุณธรรม ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับคนทุกคนในหมู่มาก

* ค่ะ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่เราจะนำจรรยาบรรณ จริยธรรมที่เราเคยได้เรียนมานำมาใช้ด้วยหรือไม่ นั่นคือ "การอภัย" "การอโหสิกรรม" ให้กับคนที่ทำกับเราไงค่ะ ก็ไม่ทราบว่า ทุกคนที่ได้เล่าเรียนมาแล้วได้นำมาใช้กับชีวิตการทำงานหรือไม่ แต่ผู้เขียนก็มีจรรยาบรรณในวิชาชีพของตนเอง ซึ่งก็สอดคล้องกับการทำงานภาครัฐในปัจจุบันให้ข้าราชการยึดในจรรยาบรรณของตนเอง ซึ่งผู้เขียนก็ยังถือว่า "ตัวเองก็เป็นหนึ่งคนในการทำงานของบุคคล ได้ยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรรณในวิชาชีพของตนเอง

* ขอเป็นกำลังใจให้กับอาจารย์ธนากรณ์ และคนทำงานที่ได้ปฏิบัติตามกฎ กติกาของสังคม และยึดถือระเบียบ จรรยาบรรรณวิชาชีพทุก ๆ ท่านค่ะ ประเทศไทยจะพัฒนาได้และมีคนทำงานที่มีคุณภาพได้ก็เพราะคนที่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของสังคมนะคะ...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท