รักจัง
นางสาว น.ส.ประภัสสร รักจัง เหล็กคำตู้

การศึกษาทางไกล


การศึกษาทางไกล : เรียนอย่างไรจึงจะสู่ความสำเร็จ

 โดย สุรนันท์ ศุภรรณกิจ

"การศึกษาทางไกล"   เป็นอีกรูปแบบการเรียนการสอนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล หรือขาดแคลนบุคลากรผู้สอน ผู้สอนจะถ่ายทอดวิชาส่งผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น ทางโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุ ซีดีรอม เทปรายวิชาต่างๆ แม้แต่หนังสือประกอบการเรียนไปยังผู้เรียนเป็นการเรียนการสอนรับส่งด้านเดียวไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่าง อาจารย์และนักเรียน การศึกษาในรูปแบบนี้ค่อนข้างอิสระ และสบาย เพราะผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเอง การเอาใจใส่ และกระตือรือร้นจึงมี น้อยกว่า เนื่องจากไม่มีอาจารย์คอยควบคุมใกล้ชิดมากนัก เทคนิคการเรียนจึงเป็นสิ่งแรกที่ "ผู้เรียน" ควรทำความรู้จักอันเป็น กุญแจนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการศึกษาทางไกล "เทคนิคการเรียน" คือ วิธีการเรียนที่จะให้ได้ผลการเรียนดีที่สุดโดยใช้ความพยายามน้อยที่สุด ถ้าคุณต้องการเข้าใจ เนื้อหา ก็ต้องศึกษาแบบเจาะลึกไม่ใช่เพียงผิวเผิน พยายามอ่าน ทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำ ซึ่งวิธีการเรียน แบบนี้ แต่ละคนจะมีวิธีการเรียนของตัวเอง สำหรับผู้เรียนการศึกษาทางไกล ลองพิจารณาข้อเสนอแนะต่อจากนี้ แล้วลองปฏิบัติ ดูอาจเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองก็เป็นได้ เริ่มจากเมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าจะเรียนอะไรแล้วสิ่งที่นึกถึงจากนั้น คือ "สื่อ" ที่คุณมีอยู่ เช่น เอกสาร ตำรา ครู เพื่อนร่วมงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นซีดี โทรศัพท์ และวิดีทัศน์ อันดับต่อมา คือ ตัวคุณเอง และเวลาในการศึกษาซึ่งหมายถึงผู้เรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและศึกษาด้วยตนเอง ตามแบบการศึกษาทางไกล บทบาทของ ผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดผู้เรียนจะต้องพัฒนาความเป็นผู้ใฝ่รู้ในขณะที่ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยผู้เรียนจะต้องตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นว่า มีจุดประสงค์อย่างไรและต้องทำอะไรบ้าง ต้องรู้ว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร ประเมินความก้าวหน้าการเรียนอย่างไรต้องติดต่อกับผู้สอนทางไกลตลอดเวลาเพื่อจะได้รู้ว่าผลการสอนจะเน้นอย่างไร การเรียน เป็นงานที่หนักยิ่งของผู้เรียนและต้องเตรียมความพร้อมเพียงใดการเตรียมตัวที่ดีความสำเร็จย่อมมีมากก่อนตัดสินใจที่จะเรียนจะพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณ เช่น สภาพแวดล้อมส่วนตัวเป็นอย่างไร มีครอบครัว หรือยัง มีลูกเล็กๆ หรือเปล่า ทำงานเต็มเวลาหรือบางเวลาจะเรียนเต็มเวลาหรือบางเวลาที่บ้านมีคนอยู่มากหรือไม่จะต้องทำงานที่โต๊ะอาหาร โดยมีสมาชิกในครอบครัวหลายคน แต่ทำอย่างไรเราจึงจะมีสมาธิกับการเรียนได้ที่เรียนถ้าบ้านของคุณแออัดจนหาที่เงียบๆ ไม่ได้ห้องสมุดหลังศูนย์การเรียนอาจเป็นทางเลือกที่จะให้คุณได้ใช้ศึกษาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณในเรื่องของการช่วยเรียน ได้ หรือคุณอาจศึกษาจากผู้เรียนอื่นๆ ซึ่งการพูดคุยกับผู้เรียนคนอื่นก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีในเรื่องของการเรียนรู้ได้ เปลี่ยนนิสัย ชีวิตผู้ใหญ่ในสังคมเป็นชีวิตที่มีภาระมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาเวลาทำทุกอย่างได้ การจะจัดเวลาทำ การบ้าน การดูแลบ้าน พาลูกไปโรงเรียน ทำกิจกรรม ดูโทรทัศน์ หรือทำงานประจำอื่นๆ เป็นเรื่องยากที่จะเพิ่มเรื่องการเรียนเข้า ไป ทำให้บางครั้งต้องตัดกิจกรรมบางอย่างออกไป คิดดูว่าจะสามารถตัดอะไรได้บ้าง การวางแผนเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะตัวและ ผู้เรียนเท่านั้นที่จะพิจารณาว่าจะทำอย่างไรถ้าต้องเรียน อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำการบ้าน แทนที่จะทำอย่างอื่นที่สนุกกว่าอย่าคิดเช่นนั้น การตัดสินใจเรียนอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดในชีวิตอาจจะได้พบสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน การเรียนอาจเปลี่ยนแปลงชีวิต หรือสามารถให้โอกาสชีวิตใหม่ๆ ก็เป็นได้ วิธีการ เมื่อผู้เรียนสมัครเรียนทางไกลจะได้พบผู้สอน/ อาจารย์ที่ปรึกษาจากสถาบันและได้รับเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรและขอบเขตของหลักสูตรก่อนอื่นควรดูเอกสารต่างๆ และลองจัดเวลาดูว่าจะต้องใช้เวลาเรียนอาทิตย์ละกี่ชั่วโมงถ้าเห็นว่าเวลาว่างน้อยแสดงว่าต้องใช้เวลามากขึ้น ในแต่ละวันการเรียนต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องน่าเบื่อ อย่างน้อยต้องหา เวลาพักหรือได้เดินเล่นบ้าง การศึกษาเอกสารก่อนจะทำให้คำนวณได้อย่างคร่าวๆ ว่ามีหลักสูตรอะไรบ้างจากสื่อ การเรียนไปแต่ ละหน่วยจะค่อยๆ เริ่มจากง่ายไปหายากบ้าง ผู้เรียนต้องศึกษาให้เข้าใจไปทีละน้อยตามลำดับ ความเครียด ความเครียดเป็นผลร้ายต่อการเรียน วิธีหลีกเลี่ยงความเครียดที่ดีที่สุด คือ วางแผนและฝึกจิตใจ ปฏิบัติ ตามแผนที่วางไว้และทำงานทุกวัน หลีกเลี่ยงการทำงานที่คั่งค้างส่งงานตามเวลาแต่ถ้าทำไม่ได้คุยหรืออธิบายสถานการณ์ให้ ผู้สอนเสริมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาทราบ แทนที่จะรู้สึกเครียดหรือหงุดหงิด ติดต่อกับเพื่อผู้เรียนคนอื่นบ้างถ้ามี เพราะการที่มี เพื่อนที่อยู่สถานการณ์เดียวกันจะเป็นที่ปรึกษาที่ดีซึ่งกันและกันได้ อธิบายให้ครอบครัวและเพื่อนเข้าใจว่าเหตุใดจึงไม่ค่อยมี เวลาให้ เริ่มทำความเข้าใจกับเอกสารอย่างกว้าง ค่อยๆ อ่านทีละหน้า ดูภาพและอ่านคำบรรยาย เขียนหัวข้อและประเด็นสำคัญๆ บันทึกขีดเส้นใต้ข้อความเรื่องที่สำคัญจับประเด็นสำคัญและย่อความด้วยคำพูดตัวเอง ถามคำถามเพื่อตรวจสอบว่าตนเองเข้าใจ เรื่องที่อ่านมากน้อยแค่ไหน ศึกษากับเพื่อนที่มี ตั้งคำถามช่วยกันคิด ทบทวนเอกสารก่อนที่จะบันทึกรายละเอียดและหัวข้อ การ จะพยายามอ่านและเขียนทุกๆ เรื่องเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จึงต้องรู้จักจับประเด็นที่สำคัญ เพื่อประหยัดเวลาและได้ความรู้ พยายามหาวิธีของตนเอง การเรียนไม่จำกัดที่ต้องอยู่ที่โต๊ะเสมอไป หรืออาจเขียนโน๊ตย่อ ไม่จำเป็นต้องบันทึกเสมอไป อาจบันทึกเทปไว้ฟังเวลาขับรถ ทำกับข้าวหลังล้างชาม เขียนคำ หรือ วลียากๆ ไว้แล้วไปติดในที่เด่นๆ รอบบ้าน เพื่อจะได้เน้นตลอดเวลาและทำให้จำได้ ก่อนนอนอ่านตำราเล็กน้อย ถึงจะอ่านได้น้อย กว่าแต่อาจนับว่าได้อะไรบ้าง ตอบคำถามในตำราแต่ละตอน แล้วลองตั้งคำถามเองบ้าง เมื่อรู้สึกล้าลองให้รางวัลตัวเองบ้าง การ ส่งการบ้านเป็นช่วงๆ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและส่งให้ตามกำหนด หากติดขัดในการเรียนหากมีปัญหาก็ให้ทิ้งงานนั้นไว้ก่อนแล้วทำงานอื่นแทนหลังจากนั้น 2-3 วันค่อยกลับมาดูใหม่ บ่อยครั้งจะแก้ปัญหาได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ลองติดต่อกับผู้เรียน อาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อแก้ปัญหาได้แล้วควรทบทวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ ใจว่าเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ยอมรับคำตอบของคนอื่นเพื่อผละไป ที่สำคัญติดต่อกับผู้สอนตลอดเวลา ไม่ใช่รอจนมีปัญหาเกิดขึ้น ถึงแม้ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะการพูดคุยจะทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือทำให้รู้สึกดีเมื่อมีคนให้กำลังใจ

หมายเลขบันทึก: 47569เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท