วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน “ศูนย์การเรียนรู้”


           เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา (21-22 ม.ค. 55)  ณ โรงแรมรอยัล เจมส์  นครปฐม  พวกเรา เหล่าวิทยากรชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์    ได้มีโอกาสจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนให้ สภาการศึกษาทางเลือก  ในกลุ่มของ “ศูนย์การเรียนรู้”   ที่นัดมาเจอกัน 5-6 ศูนย์   สร้างความประทับใจอันดับแรกให้เรา คือ แต่ละคนเดินทางจากศูนย์พื้นที่มาร่วมเวทีอย่างตั้งใจ   เพราะเกือบทั้งหมดอยู่บนเขา ดอย ชายขอบประเทศ  บางแห่ง เช่น บ้านไล่โว่ พื้นที่ทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี   ทั้งมอเตอร์ไซด์ไม่มีเบรก  ต่อด้วยเดิน แล้วต่อรถ ใช้เวลาเป็นวันๆ ทั้งไปและกลับ

 

            เมื่อคุณครูผู้เข้าร่วมตั้งใจมา (แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า  “ครูเถื่อน”)    พวกเราก็ตั้งใจทำกระบวนการนี้ให้ได้ดีที่สุด   วงคราวนี้เน้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอด “หลักสูตร” การจัดกระบวนการเรียนของแต่ละศูนย์   

 

           ทุกที่ต้องทำการบ้านมาก่อนค่ะ   ต้องทบทวนการจัดการเรียนการสอนและรวบรวมโดยย่อมาก่อน  รวมทั้งพกเอาแผนการจัดการเรียนรู้, รูปกระบวนการเรียน หรืออื่นๆ มาเพื่อประกอบการเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ เห็นภาพ

 

             วันนั้นถือได้ว่าเป็นวงเรียนรู้ที่ได้เนื้อหาสาระ และคุณค่าทางจิตใจมากที่สุดวงหนึ่ง ที่พวกเราได้จัดมา  โดยวิธีการ เราดึงให้ คุณครูทั้งหลายเล่าเป็น Story ที่บอกถึงองค์ประกอบต่างๆ คือ

 

  • เป้าหมาย ทำไปเพื่ออะไร
  • เด็ก หรือผู้เรียนกลุ่มไหน
  • คิดและจัดกระบวนการเรียนให้อย่างไร
  • สุดท้ายเห็นผลลัพธ์ที่วัดได้อย่างไร

 

            วันที่สองแถมด้วยแต่ละคน แลกเปลี่ยนเรื่องเล่าความสำเร็จที่ได้จัดการ “อุปสรรคต่างๆ” ให้ผ่านไปได้อย่างไร (ตั้งแต่เริ่มตั้งศูนย์, การสร้างความไว้วางใจกับเด็ก, การทำความเข้าใจกับชุมชน,  ดึงชุมชนเข้ามาร่วม, การออกแบบการเรียนรู้ให้เด็ก และการปรับพฤติกรรม, ฯลฯ)  

 

           สิ่งมีค่าที่เราได้เห็นคือ  ความมุ่งมั่นของแต่ละคน ที่มีเป้าหมายขอเป็นส่วนเล็กๆ ของสังคม  ที่ได้สร้างการเรียนรู้ พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พยายามทำให้เด็กได้เรียนรู้บนฐานของชีวิตจริง การลงมือปฏิบัติ และเชื่อมโยงกับความรู้ วิชาสาระ

 

 

 

ตัวอย่าง VDO ศูนย์โจ๊ะมาลือโลหล่า (ครูนิด)

โรงเรียนวิถีชีวิตเพื่อการศึกษา ที่ไม่แยกห่างจากรากฐานวัฒนธรรมของตน (ปกากะญอ)

 

           จากที่ทำโครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์    หลายศูนย์ที่น่าประทับใจ  ฉันมองเห็น Action ที่มากับ Learning จริง ที่ไปด้วยกัน  เพราะบ่อยครั้งมักเห็นการออกแบบการเรียนรู้ที่ให้เด็ก Action เยอะ แต่ครูยังสร้าง Learning ไม่ได้มาก (เด็กสนุกกับการเล่นมากเกินไป)   และที่เห็นมากจนชิน คือ ครูพยายามให้เด็ก Learning โดยการสอน (บอกความรู้)  แต่เด็กกลับไม่ได้เรียนรู้  แต่จำได้แบบ จด และ จำ ไปสอบเท่านั้น 

 

หมายเลขบันทึก: 476372เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2012 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนคุณวรรณาที่นับถือ

  • "ครูพยายามให้เด็ก Learning โดยการสอน (บอกความรู้)  แต่เด็กกลับไม่ได้เรียนรู้  แต่จำได้แบบ จด และ จำ ไปสอบเท่านั้น" แบบนี้ ครูวุฒิเรียกว่าการศึกษาแบบ "จำ-จิ้ม" ครับ
  • การสอนแบบดังกล่าวนี้ให้เด็กได้แค่ความรู้แบบขยะเต็มสมอง แต่ใช้ประโยชน์ได้น้อย และมักใช้ "เพื่อการแข่งขันเอาชนะคนอื่น" เท่านั้น เมื่อชนะแล้วก็ทิ้งความรู้นั้นเลย (และมักพูดให้เก๋ไก๋ว่า "คืนครูหมดแล้ว") เป็นความชั่วประเดี๋ยวประด๋าวหามีประโยชน์เชิงสร้างสรรค์ไม่
  • ในส่วนของโรงเรียนบ้านโคกเพชร ตอนนี้ "โครงการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า" (หอมแดงเพื่อชีวิตเดิม) เกิดผลผลิตแล้ว และกำลังก้าวต่อๆไป เพื่อประโยชน์สุขของศิษย์และชุมชนทั้งมวล
  • เชิญคุณวรรณาเข้าทัศนาได้ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481410 ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท