ทนไม่ไหว: เว็บไซด์วัดพระสิงห์


บันทึกนี้ ขออนุญาตแรง ด้วยความทนไม่ไหว

แต่ต้องเรียนผู้อ่านและชาวเชียงใหม่ทุกท่าน ว่าผมเขียนด้วยความเคารพ ไม่มีเจตนาลบหลู่ใดๆ และคิดอยู่นานว่า จะโพสต์ดีหรือไม่ หลังจากได้โพสต์บันทึกนำร่องมาแล้ว คิดแล้วคิดอีก รู้สึกว่า หากไม่โพสต์บันทึกนี้ น่าจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี

อย่างไรก็ตาม หากมีความไม่ดี ผิดพลาดประการใด ผมยินดีรับผิดทุกประการ


ผมมาเที่ยวเชียงใหม่ช่วงตรุษจีน ก็จะหาข้อมูลไว้ก่อนแบบวันต่อวัน ถ้าพอจะมีเวลาทำได้ ซึ่งวิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุดตอนนี้ คือ ค้นจากเว็บ

ผมจะไป วัดพระสิงห์ วัดที่ผมมีความผูกพันมาก เพราะผมเริ่มต้นนับหนึ่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่วัดแห่งนี้ ตามบันทึกนี้

ผมค้นข้อมูลในเน็ต นอกจากจะพบวิกิพีเดียที่คนทั่วๆไปช่วยกันใส่ข้อมูล ก็พบเว็บไซด์ที่ดูเหมือนจะเป็นเว็บทางการของวัด ตรงลูกศรแดงในภาพข้างล่าง เพราะดูชื่อแล้ว น่าเชื่อถือ ดู URL แล้วก็เริ่มต้นด้วย ww.chiangmai.go.th/

http://www.chiangmai.go.th/cmweb/temple/prasingha/index.html

ผมจึงเข้าไปดูเว็บนี้ก่อน เพราะถ้าเทียบชั้นกัน เว็บต้นฉบับน่าจะให้ข้อมูลถูกต้องมากกว่าวิกิพีเดีย หรือเว็บที่ลอกตามๆกันมาโดยไม่สนใจใส่แหล่งข้อมูลอ้างอิง

แล้วก็ผิดหวัง ของขึ้น เกิดอาการทนไม่ไหว


ผมไม่ทราบว่า เว็บนี้เป็นเว็บทางการของวัดจริงหรือไม่ หรือทางจังหวัดจัดทำให้ หรือทางวัด/จังหวัดจ้างบริษัทไหนทำ หรือเป็นเว็บทดลองทำของนักเรียนในโรงเรียนวัดหรือเณรในวัด ซึ่งผมภาวนาว่าขอจะเป็นกรณีหลังสุด ที่ผมพอจะให้อภัยได้

ดูเนื้อหานะครับ นี่คือหนึ่งในหน้าเว็บไซด์ ผมเอามาให้ดูเป็นตัวอย่าง

แค่ชื่อวัดตรงหัวเว็บก็ผิดมหันต์แล้ว วัดพระสิงห์วรวิหาร อยู่ดีๆก็ไปลดชั้นพระอารามหลวง ซึ่งที่ถูกต้องคือ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถ้ามองย้อนกลับไปในภาพข้างบน จะเห็นว่า เว็บไซด์อื่น เขาถูกกันเกือบหมด ยกเว้นเว็บประเภทลอกเขามาซื่อๆ

ข้อต่อมา ในรูปข้างล่างบรรยายถึง วิหารจตุรมุข อันนี้ต้องบอกว่า คนทำเว็บไอเดียคงจะบรรเจิิดมาก คิดได้ไง

ผมว่าถ้าเป็นวิหารจริง ก็ไม่เห็นจะมีจตุรมุขตรงไหน ทางขึ้นประตูมีแค่สองด้านคือ ทางทิศเหนือกับใต้ จะเรียกว่า วิหารจตุรมุข อย่างวัดภูมินทร์ที่น่าน ได้อย่างไร  ถึงแม้ว่าจะมีมณฑปสี่ทิศประดิษฐานอยู่ภายในก็ตาม

และที่สำคัญ ผมคิดว่า อาคารอันทรงคุณค่าหลังนี้ คือ พระอุโบสถ ไม่ใช่ วิหาร เพราะจะเห็น ใบเสมาปักแสดงขอบเขตไว้ชัดเจนว่าเป็นสถานที่สำหรับกระทำสังฆกรรม

ส่วนพระวิหาร ที่ใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญๆของวัด และมีชาวบ้านประชาชนเข้าไปร่วมกิจกรรมจำนวนมากๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดเล็กอย่าง วิหารลายคำ ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ หรือใหญ่กว่าพระอุโบสถมากอย่าง วิหารหลวง ที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกตรงหน้าวัด ที่ผมคิดว่ามีคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพระอุโบสถ เพราะปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำกิจกรรมต่างๆของวัดไปแล้ว

ข้างบนนั้นคือตัวอย่างเท่านั้น

ถ้าท่านผู้อ่านลองเข้าไปดูเนื้อหาในเว็บดังกล่าว จะเห็นความผิวเผินของเนื้อหาและการลงรูปประกอบ ผมจึงภาวนาอย่างข้างบนนะครับ ขอให้เป็นเว็บหัดทำสำหรับนักเรียนเถอะ..สาธุ

ผมคงไม่ร้องเรียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่คงต้องฝากชาวเชียงใหม่ใน G2K ว่า จะปล่อยให้เว็บไม่ตรวจสอบคุณภาพแบบนี้ลอยนวล เป็นแหล่งอ้างอิงของลูกหลานของท่านต่อไปอีกหรือ ส่วนจะดำเนินการอย่างไร ก็ตามแต่เห็นสมควรนะครับ


ผมแอบไปดูเว็บต่างชาติที่เขียนเกี่ยวกับวัดพระสิงห์ ลองเดาสิครับว่า ข้อมูลเขาจะถูกหรือผิด

หมายเลขบันทึก: 476575เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2012 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

เห็นด้วยกับข้อความข้อมูลเกือบทั้งหมด แต่จะเห็นต่างนิดหน่อยเรื่องวิหารกับอุโบสถ เพราะคนโบราณทางเหนือจะเหมารวมวิหารกับอุโบสถเข้าด้วยกัน ถ้าเป็นพระหรือผู้แก่เรียนอยู่วัดก็แยกเรื่องอุโบสถออกจากวิหาร แต่ถ้าเป็นชาวบ้านก็เหมารวมกันครับ และเรียกวิหารว่า ผะหาร อีกต่างหาก เช่น พะเจ้าในผะหาร (พระพุทธรูปในวิหาร) ส่วนคำว่าอุโบสถนั้นเป็นภาษาบาลีชาวบ้านไม่ค่อยใช้ และส่วนใหญ่คนภาคกลางหรือรับอารยธรรมไทยกลางก็ไปแยกการเรียกภายหลัง

อื่น ๆ เห็นด้วยกับการสร้างเว็บไซต์แหล่งข้อมูลควรที่จะมีการค้นคว้าหาข้อมูลให้มากกว่านี้ และต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลที่แพร่กระจาย คือ เป็นสื่อที่มีความรับผิดชอบด้วย

Ico48

  • ขอบคุณคุณโยธินินนะครับ ที่มาทำความกระจ่างเรื่อง อุโบสถ กับ วิหาร ในมุมมองชาวบ้าน
  • G2K ควรเป็นพื้นที่ที่มีการถกเถียง โต้แย้งแบบนี้ครับ และผมก็ยังหวังว่า จะมีผู้รู้จริง อีกหลายท่านเข้ามาให้ความเห็นใน บันทึกล่อเป้า ของผมบันทึกนี้

อ่ะ ... อาจารย์หมอเต็ม เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี ล่อเป้า ;)...

"...

เว็บไซต์ http://www.chiangmai.go.th

จัดทำโดย

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อาคารอำนวยการ ชั้น 3 ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ โทร +66 5311 2713 , e-mail : [email protected]

ดังนั้น ลิงค์ภายในเว็บไซต์ดังกล่าวอาจจะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไม่แน่ใจว่า จ้างทำ หรือ ทำโดยเจ้าหน้าที่เอง ครับ

ส่วนข้อมูลที่ได้มานั้น ก็ไม่แน่ใจว่า รับกันมากี่ต่อ เพราะข้อมูลไม่ถูกต้อง

ส่วน พระ เณร ที่วัดพระสิงห์ฯ นั้น ที่เห็นมีเรียนหนังสือกัน เป็นไกด์ประจำวัดกัน ส่วนเว็บไซต์นั้น ผมว่า น่าจะมีบ้างเช่นกัน เพราะท่านเหล่านี้หลายรูปจบปริญญาตรี ปริญญาโทกันแล้วครับ

กล่าวตามประสบการณ์ที่ได้สัมผัสจากสิ่งต่าง ๆ ในการอยู่เชียงใหม่มานานเกิน ๑๐ ปีครับ

ล่อเป้าอ่ะ 555

  • มาเชียร์ครับ
  • แบบนี้อาจมีการลอก 555
  • แต่ผมโดนขโมยเลย
  • บันทึกนี้ครับ
  • 555
  • อาจารย์ was ว่าล่อเป้า
  • เต็มๆๆ

Ico48

  • สำหรับอาจารย์ Was ผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพ ผมอยากจะ แหย่ ให้อาจารย์ช่วยให้ความเห็น บรรดาภาพประกอบในเว็บดังกล่าว เป็นกรณีพิเศษ ด้วยขอรับ
  • ผมอยากให้ผู้จัดทำเว็บดังกล่าว ถ้าไม่รู้จะหารูปประกอบมานำเสนออะไรในเว็บ กรุณาไปนำรูปที่แสดงไว้ใน วิหารจตุรมุข เอ้ย พระอุโบสถ มาสแกนงามๆ แล้วนำมาให้ชมเป็นตัวอย่างในเว็บ ผมว่าแค่นี้ คนแวะมาอ่านก็ตาลุกวาวด้วยความตื่นตาตื่นใจแล้วครับ
  • เอ่อ.. อาจารย์ Was บอกเบอร์และที่อยู่ไว้เสร็จ นี่กะจะให้ผมโทรฯไปเองเลยหรือครับ

Ico48

  • เรื่องลอกผลงานเนี่ย ผมก็แจ้งเจ้าตัวโดยตรงครับ แล้วดูปฏิกิริยา ถ้าตอบสนองอย่างดี ก็จะให้อภัย ถ้าเป็นครั้งแรก แต่จะไม่ยอมให้เกิดซ้ำ

เบอร์โทร "ชี้เป้า" ตรงตัวเลยครับ อาจารย์หมอเต็ม ;)...

การที่ไป Copy รูปของคนอื่นมาลงไว้ในเว็บของตัวเองนี่ สงสัยจะ "ไม่ค่อยชอบลงทุน" มั้งครับ เอาง่าย ๆ เข้าว่า เสียชื่อเว็บจังหวัดเชียงใหม่หมด ;)...

อยากให้มีแหล่งกลางที่เราสามารถจะแจ้งข้อมูลบนเน็ตที่เราพบว่าผิดพลาดได้จังนะคะ รัฐบาลหรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องของเราเขามีหรือเปล่าไม่รู้นะคะ อ.เต็มฯ เพราะนับวันก็จะพบแหล่งข้อมูลที่ทำกันแบบลวกๆ ไม่สืบค้นข้อมูลหรือมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้มากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งแบบที่ดูเหมือนเป็นแหล่งข้อมูลโดยตรงอย่างที่อาจารย์ยกมานี้ก็มีไม่น้อยนะคะ ที่มีอะไรให้เราไม่อยากเชื่อหรือผิดจังๆมาให้เราเสียความรู้สึกกันอยู่บ่อยๆ ถ้ามีที่ให้เราแจ้ง มีหน่วยงานช่วยตรวจสอบแก้ไขน่าจะดี นอกจากจะแจ้งไปที่แหล่งต้นตออย่างที่อาจารย์วัสให้ที่อยู่มา 

อ.เต็มบอกว่าบันทึกนี้จะแรง ขอบอกว่า ยังไม่แรงเลยค่ะ ยังคงสุภาพเรียบร้อยเหมือนเจ้าของบันทึกอยู่ดี 

ก่อนเรียนเรื่องวัด ยังมิเคยทราบว่ามี แยกเป็น วร มหา วิหาร อาราม ชั้นเอก ชั้นโท อะไรเลยนะคะ

พอได้มาเรียนเจาะลึก ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ จตุรมุข หน้าบัน เริ่มละเลียดความงามอันวิจิตรในศิลปะไทย เราค่ะ

คำถามสุดท้าย ขอตอบฟันเสาเอก ว่า ถูกต้องค่ะ เพราะการสืบข้อมูลของเค้า เรียกว่า ต้องแม่นยำ ทวนซ้ำ จนแน่ใจ

บันทึกนี้ยังใช้กลวิธี แยบยล ชี้ช่องแบบนักการทูต เจ้าค่ะ เชียร์ๆ ว่าต้องสังคายนา แบบเปิดใจ รอชมบันทึกมนต์เมืองเหนืออีกเน่อเจ้า

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์หมอ,

คงเพราะ feedback นี้มังคะ ตอนนี้ website ที่กล่าวถึงไม่ทำงานเลยค่ะ สงสัยกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงให้ข้อมูลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องขอบคุณท่านอาจารย์แทนคนเชียงใหม่ด้วยค่ะ ที่จะได้มีโอกาสปรับปรุงสิ่งที่มีให้ดีขึ้น ;)

ไม่อาจคอมเมนท์ในชื่อของวิหารจตุรมุขค่ะ เพราะความรู้ที่มีก็สั้นกว่าหางอึ่ง แต่เดาเอาว่าคนทำเวปไซด์คงจะเรียกชื่อวิหารนี้ตามมณฑปปราสาท ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ ในพระอุโบสถนี้ และเป็นที่น่าสังเกตว่า ตามปกติแล้วพระอุโบสถทางเหนือจะห้ามมิให้สุภาพสตรีเข้าไปย่างกราย แต่ตอนนี้เห็นมีสาวสวยเข้าไปถ่ายรูปได้ด้วยจากรูปในบางเวปไซด์ จากอุโบสก็เลยมองดูคล้ายวิหารไป

นโยบายใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการเน้นถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า คุณภาพของข้อมูลต้องเป็นที่น่าเชื่อถือด้วยค่ะ

ถ้ามีโอกาสจะสอบถามผู้รู้ให้กระจ่างอีกทีค่ะ แล้วจะนำมาแบ่งปันค่ะ ขอบคุณค่ะ

ก่อนเข้าเฝ้าพระอินทร์ :)

มาชวนอาจารย์หมอเต็ม คลายร้อน  ไปเดินเล่น อีกแล้วค่ะ

 

Ico48

  • เอ๋...มีเรื่อง copy รูปภาพในเว็บดังกล่าวด้วยหรือครับ ผมไม่ทันสังเกต
  • ถ้ามีการ copy รูปด้วย อันนี้ไม่นาให้อภัยใหญ่เลยนะครับ

Ico48

  • ผมว่า ปกติ ตามเว็บมาตรฐาน ก็ควรมี email หรือที่ที่ให้เราติดต่อ แต่เว็บดังกล่าวไม่มีครับ
  • ผมจึงสงสัยว่า เป็นของนักเรียนหัดทำ

Ico48

  • ผมไม่ได้คิดว่า ฝรั่งดีกว่าคนไทย นะครับน้องปู
  • เว็บฝรั่งห่วยๆก็มีมาก วิกิพีเดียผิดก็เยอะ แต่ที่ต้องไม่ผิดและควรใช้คำที่เป็นทางการ คือ เว็บทางการของแต่ละสถานที่หรือหน่วยงาน เพราะถ้ามีการอ้างอิงต่อๆกันไป ก็จะผิดกันเป็นขบวน

Ico48

  • ถ้าถูกทักท้วงแล้วแก้ไข ผมคิดว่า คงต้องขอบคุณและยกย่องผู้รับผิดชอบ นะครับ ผมจะขออนุโมทนาด้วย 
  • เพิ่งทราบว่า ผู้หญิงห้ามเข้าพระอุโบสถ ถ้าอย่างนั้น ก็แสดงว่า ชาวบ้านจะต้องแยกว่าอาคารใดเป็นพระอุโบสถ หรือ วิหาร ให้ได้ ผมว่ายากเหมือนกันนะครับ สมัยนี้

มิได้ครับ อาจารย์หมอเต็ม ...

เวลาผมเห็นส่วนใหญ่ในเว็บไซต์ลักษณะการท่องเที่ยวนี้ มักจะชอบ Copy ข้อมูลและภาพมาพร้อมกัน แต่ยังมิยืนยันสำหรับเว็บไซต์ที่เรากล่าวถึงครับ

อ่ะ ;)...

Ico48

  • ค่อยยังชั่วหน่อยครับ
  • เว็บเขาเข้าไม่ได้แล้วจริงๆด้วย ขอให้ปิดปรับปรุงจริงๆเถิด สาธุ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท