ชวนคิดเชิงอนาคต : สังคมในวันหน้า บนพื้นฐานการศึกษา


มีคำคำหนึ่งในพุทธศาสนาที่สนับสนุนกระบวนการคิดไม่ว่าจะในลักษณะใดคือคำว่า “ปัจจุบันธรรม” 

 

คำนี้ เรามักเข้าใจว่าหมายถึงการอยู่กับ “ขณะปัจจุบัน” โดยไม่คิดถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต ซึ่งอันที่จริง การอยู่กับขณะปัจจุบันโดยไม่คิดนำอดีตมาพิจารณาเพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข หรือการไม่กำหนดเป้าหมาย หรือวางแผนอนาคตบนพื้นฐานความเป็นจริงในปัจจุบัน และดำเนินการตามแผนนั้น คือการอยู่อย่างประมาท 

 

ข้อแตกต่างของการคิดที่เป็นปัจจุบันธรรม กับความคิดแบบฟุ้งซ่าน 
คือ การคิดฟุ้งซ่านนั้น ซ่านไปตามตัณหา ทิฏฐิ มานะ ของตน จึงอาจนำเรื่องอดีตมาคิดอย่างหวนละห้อย อาลัยหา หรือคิดถึงอนาคตอย่างฝันเฟื่อง แต่การคิดแบบปัจจุบันธรรม คือ การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุปัจจัยในปัจจุบัน จึงนำเรื่องของอดีต หรือ อนาคต มาพิจารณาก็ได้ เช่น การคิดถึงอดีตด้วยโยนิโสมนสิการ การคิดถึงอนาคตด้วยการตั้งอธิษฐานจิต เป็นต้น (อธิษฐานจิตนี้ ก็เป็นคำที่ชาวพุทธไทยเข้าในผิดว่าเป็นการตั้งอธิษฐานเพื่อการขอสิ่งที่ต้องการ ในความเป็นจริง อธิษฐานจิต คือ การตั้งเป้าหมายที่ต้องการในอนาคต แล้วสร้างเหตุปัจจัยให้คล้อยตาม ดำเนินการจนกระทั่งประสบความสำเร็จในที่สุด เป็นสมาธิในรูปแบบหนึ่ง)

 

การคิดถึงอนาคตจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในพุทธศาสนา และเป็นหนึ่งในกระบวนการคิดที่มีเหตุผลอีกกระบวนการคิดหนึ่ง

(ดร.สุวิทย์ คำมูล ครบเครื่องเรื่องการคิด)

จากแผนภาพนี้คงอธิบายได้ว่า การคิดเชิงอนาคตคืออะไร ทำไมเราต้องคิดเชิงอนาคต และการคิดเชิงอนาคตมีประโยชน์อย่างไร

(ดร.สุวิทย์ คำมูล ครบเครื่องเรื่องการคิด)

ดังเช่น เราอาจนำนโยบายการศึกษาแห่งชาติมาคิดในเชิงอนาคต อันเป็นหนึ่งในกระบวนการคิดหลายหลากกระบวนการ ว่าจะส่งผลต่อสังคมในภายหน้าอย่างไรบ้าง โดยไม่เรียกว่าเป็นการคิดแบบฟุ้งซ่าน

 

อยากจะเชิญชวนทุกท่านช่วยกันคิดว่า หากการศึกษาไม่เน้นการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ว่าจะส่งผลต่อเด็กและสังคมอย่างไร สังคมจะมีหน้าตาอย่างไรในอนาคต ช่วยกันขยายผล เพื่อให้เกิดการตื่นตัวในสังคม

 

ขอเริ่มตั้งหัวข้อว่า “สังคมในวันหน้า บนพื้นฐานการศึกษาที่ขาดการส่งเสริมจริยธรรมในปัจจุบัน”

 

ท่านใดประสงค์จะร่วมกันคิดบ้างคะ

 

หมายเลขบันทึก: 476660เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2012 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากคะ

ได้ความกระจ่างเรื่องการคิด

การอยู่กับปัจจุบันขณะ มิใช่หมายถึงไม่คิดถึงอดีต อนาคตเลย หากเป็น

"การคิดถึงอดีตด้วยโยนิโสมนสิการ (= reflection?)

การคิดถึงอนาคตด้วยการตั้งอธิษฐานจิต ( goal setting?)"

ขออนุญาตอ้างอิง นำข้อความนี้ของอาจารย์ ไปสอน นักศึกษาแพทย์นะคะ

ชลิดา เกาประดิษฐ์

เป้นความรู้ที่ดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท