kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

อบรม KM ศูนย์อนามัยที่ 8 ปี 55 : การเรียนรู้การถอดบทเรียน


ทำอย่างไรให้ผู้เรียนเรียนรู้ และเข้าใจว่าการถอดบทเรียนเป็นอย่างไร ต่างจากการสรุปบทเรียนตรงไหน

          ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้จัดอบรม KM หน้าใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ใหม่หรือเก่าที่คิดว่าความรู้เข้ากรุไปหมดแล้ว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555

 

         เริ่มจากการให้ความรู้พื้นฐานเรื่อง KM เช่น โมเดลปลาทู , การฟัง การเล่า การลิขิต , กระบวนการจัดการความรู้ (KMP), กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CMP) และการถอดบทเรียน

          ในช่วงบ่ายมีการทำ Workshop เรียนรู้รู้เรื่องการถอดบทเรียน  โดยมีวิธีการดังนี้

1. จัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มหลัก กลุ่มละไม่เกิน 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม

2. อุปกรณ์ที่ใช้คือ ลูกหิน 8 ลูก , ลูกแก้ว 8 ลูก , และ ไม้สี่เหลี่ยมขนาดกว้างxยาว ไม่เกิน 1 นิ้ว 5 ชิ้น

3. ตั้งโจทย์ให้เรียงอุปกรณ์ทั้งหมดบนพื้นโต๊ะให้ได้สูงที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยให้ผู้เรียนออกมาทำละกลุ่มย่อยพร้อมกันทั้ง 3 กลุ่มหลัก 

4. เมื่อทำครบทั้ง 3 กลุ่มย่อยแล้ว ให้กลุ่มหลักแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าวิการเรียนเรียงอย่างไร กลุ่มย่อยไหนทำได้สูงสุด และให้ตัดสินใจเลือกเอาวิธีที่ดีที่สุด 

5. ให้ตัวแทนกลุ่มหลักออกมาเรียงให้คณะกรรมการดู แล้ววัดว่าของกลุ่มหลักไหนที่เรียงได้สูงที่สุด

6. จากนั้นให้แต่ละกลุ่มทำการถอดบทเรียนว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการเรียนได้สูงที่สุด

7. จากนั้นวิทยากรจะทำการสรุปบทเรียนการจัดกิจกรรมทั้งหมด

           จะเห็นได้ว่าในครั้งแรกที่กลุ่มย่อยเรียงวัสดุจะใช้ความรู้จากประสบการณ์เดิมในการเรียง ต่อมาเมื่อกลุ่มย่อยได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะเกิดความรู้ใหม่ ๆ หรือความรู้ที่ได้มีการสังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อการจัดเรียงให้สูงตามต้องการ

           แต่อย่างไรก็ตามความรู้ที่ได้คือวิธีการเรียงวัสดุ เมื่อทำไประยะหนึ่งความรู้ก็จะหยุดอยู่กับที่ ซึ่งในกระบวนการได้ต่อยอดหมุนเกลียวความรู้โดยให้กลุ่มทำการถอดบทเรียนปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งจะได้ปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับวิธีการเรียงวัสดุ เช่นเรื่องสิ่งแวดล้อม (ความลาดเอียงของโต๊ะ ลักษณะของผิวโต๊ะ),บุคลากรคนเรียง,พื้นผิวของวัสดุ,ระยะเวลาในการเรียง,การรบกวนสมาธิในการเรียง ฯลฯ   ซึ่งทำให้ความรู้เกิดต่อไปอีก ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียงได้สูงมากขึ้นไปอีก

          ซึ่งกิจกรรมการถอดบทเรียนดังกล่าวช่วยให้ผู้รับการอบรมเข้าใจกระบวนการถอยบทเรียนที่ใช้ในการจัดการความรู้ และสามารถนำไปใช้การการทำงานในงานประจำของตนเองได้

        

  

หมายเลขบันทึก: 478670เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พนักงานเปล ขอมาเรียนรู้ด้วยครับ กับการถอดบทเรียน เพียรค้นหา ความรู้

กิจกรรมนี้คนที่ทำได้คนแรกเป็น พขร.ของเรานะค่ะ  สุดยอดเลย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท