GNH ชุมชนท้องถิ่น : เวทีการติดตามความคืบหน้า การใช้เป้าหมาย/ตัวชี้วัดขับเคลื่อนความสุขมวลรวม (GNH) ระดับชุมชนท้องถิ่น(2)


15 ก.พ. 55 ผม อยู่บ้านสวนทิพย์บ้านสวนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  ถ.ติวานนท์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรีร่วมเวที  การใช้เป้าหมาย/ตัวชี้วัดขับเคลื่อนความสุขมวลรวม (GNH) ระดับชุมชนท้องถิ่น

 

          

 

งานนี้ ท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้ปรึกษาหารือถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานกับชุมชน มีชาวบ้านที่มีประสบการณ์การทดลองใช้ การใช้เป้าหมาย/ตัวชี้วัดขับเคลื่อนความสุขมวลรวม (GNH) ระดับชุมชนท้องถิ่นจาก 3 ตำบล บันทึกตอน 2 ครับ

 

 

 

คุณศิวโรจน จิตนิยม บอกว่า ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
เป็นตำบลหนึ่งที่มีการใช้เป้าหมาย/ตัวชี้วัดการพัฒนา ในการสรุปบทเรียน การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุข(GNH)พบว่าด้วยที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้ ในหลายๆเรื่องปีๆหนึ่งมีคณะที่อบต./เทศบาลพามาศึกษาดูงานกว่า300คณะ(คิดเป็นเงินต้นทุนกว่า 70ล้านบาทต่อปี) คนมาดูประทับใจ แต่ไม่รู้นำไปทำได้จริงสักเท่าไหร่ทำอย่างไร ให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ จำง่าย ใช้คล่อง ได้ผล คนรู้สึกสนุก เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาร่วมกันต่อไปครับ

 

อาจารย์วิโรจน์ พรหมอ่อน    นักวิชาการอิสระ จาก จังหวัดกาญจนบุรี บอกว่าบทบาทของผู้สนับสนุนควรเริ่มด้วยการไปดู ไปให้กำลังใจ นำเอานวัตกรรมจากที่ดีๆ ไปเล่า นำเรื่องเล่าไปแลกเปลี่ยน จุดเริ่มต้นที่ดีเกิดขึ้นจากแกนนำที่มีจิตอาสามีความฝัน มีอุดมการณ์ อันยิ่งใหญ่  ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้กระบวนการจัดทำเป้าหมาย/ตัวชี้วัด สำเร็จผลได้ คือ ต้องเริ่มต้น จากคนที่มีใจ มีลักษณะที่ดี มีระเบียบวินัย เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือเปิดกว้างต่อสิ่งใหม่ ไม่ข่องติดคิดเชื่อมโยงเรื่องต่างๆได้ คนจะต้องมีพื้นที่ในการพูดคุย เปลี่ยนวัฒนธรรมการนินทา ให้เป็นกระบวนการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ความคิดที่ถูกต้องจะเกิดขึ้น จากนั้นพี่เลี้ยงนักวิชาการ จึงเข้าไปหนุนเสริม มีทักษะเชิงกระบวนการนับจากนั้นความคิดที่พูดคุยกัน  ก็จะเป็นรูปเป็นร่าง ทำกันอย่างมีระบบ

 

 

   


ท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้ให้แง่คิดในช่วงท้ายของเวทีว่า กระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ผ่านมา อาจจะกล่าวได้ว่า ชุมชนส่วนใหญ่ของสังคมไทย  ขาดเป้าหมายที่จะไปถึง  เมื่อขาดเป้าหมาย และเครื่องชี้วัดความก้าวหน้าที่ที่จะไปถึง  ชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ก็จะบอกไม่ได้ว่าตนเอง ได้ทำอะไรไปเพื่ออะไร จะนำพาผู้คนไปสู่ทิศทางไหน กิจกรรมที่ทำจึงไม่มีทิศทาง เข้าลักษณะ การทำกิจกรรมเพื่อกิจกรรม เท่านั้น  ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลายชุมชน ทำงานตามงบประมาณที่ ได้รับมาเท่านั้น และก็มีหลายชุมชนที่ทำกิจกรรม แค่ให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการก็เลิกกันไป ไม่สามารถจะเทียบวัดความสำเร็จได้ ว่าตนเองเดินทางมาถึงไหน และจะไปสู่เป้าหมายใด ที่สำคัญนั้น การกำหนดเป้าหมาย หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ  มักมาจากคนไม่กี่คน ที่มองเห็นโอกาส  แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้มีการถ่ายทอดหรือได้ ทำให้เกิดเป็นการตระหนักร่วมกันของคนในชุมชน ทำให้ความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลง ตกอยู่กับผู้นำชุมชน ไม่กี่คน  ขาดพลังที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนได้ ในขณะที่หน่วยงานภายนอกหรือคนอื่น ที่จะเข้ามาหนุนเสริม ก็ไม่สามารถจะเข้ามาเสริม ช่วยให้ตรงจุด ที่ชาวบ้านต้องการ  องค์กรภายนอกเหล่านั้น ก็เข้าไม่ถึงสิ่งที่ชุมชนต้องการจริง ๆ 

 

                      

 

 

            ดังนั้น หากชุมชนกำหนดความสุขของตัวเองได้ ความสุขจะกำหนดการพัฒนา การจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาหรือความสุขชุมชน จึงเป็นเครื่องมือของชุมชน ที่นำไปสู่เป้าหมายสำคัญ คือ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข ผู้คนอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” เพราะตัวชี้วัดการพัฒนาของชุมชนย่อมเท่ากับเป็นตัวชี้วัดความสุขของคนในชุมชนด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 478916เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2012 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท