Best Practice เป็นคำตอบของการทำ KM จริงหรือ ?


"บริบท" ที่ไม่เหมือนกันจะทำให้ประสบความสำเร็จเหมือนกันได้อย่างไร ?

แวดวงองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงคนทำ KM คงเคยได้ยินได้ฟังจนคุ้นชินกับคำว่า  Best Practice กันบ้าง จะว่าไปแล้ว Best Practice เหมือนกับการ(แอบ)ไปเรียนรู้จากองค์กรที่เขาประสบความสำเร็จมาแล้ว อาจดูเหมือนเป็นการนำองค์กรไปเทียบเคียง หรือ Benchmarking กับองค์กรที่ดำเนินกูรกิจหรือกิจกรรมที่คล้ายคลังกัน ความเป็นจริงแล้วเป็นอย่างไร แล้วทำไมการพัฒนาองค์กรด้วยการใช้ KM จึงต้องเรียนรู้จากองค์กรอื่นโดยมองหา Best Pratice จากองค์กรอื่นเสมอไปหรือไม่


ความหมาย
 Best practice มีนักวิชาการและองค์กรหลายแห่งได้ให้คำนิยามเอาไว้มากมาย

- SPRING : Best Practice เป็นวิธีการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีส่วนในการสนับสนุนให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างเป็นเลิศ
วิธีการดังกล่าวสามารถพบได้ในทุกกระบวนการขององค์กรซึ่งมีผลที่ดีต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า   
ดังนั้น องค์กรแต่ละองค์กรต้องพิจารณาว่ามีวิธีการอะไรบ้างที่โดดเด่นจากที่เคยทำอยู่เป็นประจำ และถ้านำมาประยุกต์ใช้หรือดำเนินการจะทำให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นเลิศได้
 
- สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ : ให้คำนิยามว่า Best Practice เป็นวิธีปฎิบัติในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งมีส่วนอย่างยิ่งในการทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยผลลัพธ์ในการดำเนินการที่เป็นเลิศ สร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร

- ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม : สคส.) : กล่าวว่า ในความหมายที่เป็น “Tacit Knowledge” ก็แสดงว่า ไม่ได้มีวิธีการ “ที่ดีที่สุด” เพียงวิธีเดียวเท่านั้น ไม่มีวิธีการที่เป็น “The Best” หรือ “คำตอบสุดท้าย” อย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่เป็นการใช้คำว่า “Best” ในเชิงที่ว่า “Best” สำหรับเหตุการณ์หรือกรณีนั้นๆ

สรุป  Best Practice เป็นการเรียนรู้และการสั่งสมประสบการณ์ในกระบวนการทำงานหรือดำเนินธุรกิจขององค์กร ผ่านกระบวนการ ระยะเวลาที่เหมาะสม จนกระทั่งแน่ใจว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทำให้เกิดประสิทธิผลและบรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างยั่งยืนได้

       การที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งคิดจะใช้ หรือ ใช้ KM จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม (สมัครใจหรือโดนบังคับ) เพื่อนำมาพัฒนาขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่เป้าหมายได้นั้น หากมองที่ประเด็นการเรียนรู้จากองค์กรอื่นด้วยวิธี Best practice เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาองค์กร ในสังคมโลกสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีการแข่งขัน และปรับเปลี่ยนที่รวดเร็ว  Best Practice ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจริง มีหลักฐานสนับสนุน (อย่างการทำระบบประกันคุณภาพต่างๆ) และอันตราย อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเข้าใจผิด ที่สำคัญมั่นหมายว่า Best Practice เป็นการทำการประชาสัมพันธ์องค์กร  

ดังนั้น Best practice จึงไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาขององค์กร แต่ Best Practice เป็นแนวทางของการสร้างสรรค์ในการปรับปรุงองค์กร เป็นการประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะความต้องการโดยเฉพาะ ที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์กรอย่างน่าตื่นใจ นำไปสู่การลดเวลา ลดต้นทุน การปรับปรุงคุณภาพ ที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด สิ่งที่จำทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ด้วยการใช้กระบวนการ KM คำตอบอาจไม่ใช่เพียงการนำ Best Practice เพราะนั้นหมายความว่าเป็นการ "เดินตามรอยที่องค์กรหรือคนอื่นเขาทำไว้" ดังภาษิต "เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง" นอกจากจะเดินตาม (หรือขี้ตามช้าง) แล้วยังเหมือนเป็นการขีดเส้นหรือตีกรอบความคิด (ที่สร้างสรรค์) อีกด้วยว่า จะต้องเดินตามเขาแล้วจึงจะประสบความสำเร็จเหมือนเขา โดยที่ลืมนึกไปว่า "บริบท" ที่ไม่เหมือนกันจะทำให้ประสบความสำเร็จเหมือนกันได้อย่างไร ?

...แต่โลกนี้คงไม่ได้เลวร้ายไปเสียหมด ขอนำข้อธรรมของท่านพุทธทาส ภิกขุ มาให้ผู้อ่านท่านได้พิจารณาประกอบ ...

มองแต่แง่ดีเถิด...



เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯ

พุทธทาสภิกขุ

---------------------------
วิชิต ชาวะหา
28 ก.พ. 55

หมายเลขบันทึก: 480344เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน อ.ขจิต

  • ผมไม่หายไปไหนหรอกครับ
  • ขอบคุณสำหรับแนะนำหนังสือเล่มนี้ (ผมมีเล่มนี้ตั้งแต่ออกมาวางแผงใหม่ๆ แล้วครับ)


ขอบคุณครับ วิชิต

Best Practice ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจริง...

เอาเพลงมาฝากครับ

http://www.youtube.com/watch?v=xNwXjzmSZh0

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ อ.ขจิต / อ.นุ สำหรับเพลงจาก "จีวัน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท