dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

กิจกรรมก่อนที่จะเริ่มเขียน


กิจกรรมก่อนที่จะเริ่มเขียน

กิจกรรมเตรียมเด็กก่อนที่จะเริ่มเขียน

                การที่จะให้เด็กได้เขียนตามที่ผู้ใหญ่ต้องการนั้นเป็นสิ่งที่ยากสำหรับเด็กปฐมวัย เด็กเล็กๆยังไม่มีความพร้อมในหลายๆด้าน การที่จะเริ่มให้เด็กเขียนพยัญชนะหรือสระในภาษาไทยเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กแต่ผู้ใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆจึงเคี่ยวเข็ญให้เด็กเขียนให้ได้ ก่อนอื่นเราจึงควรทำความเข้าใจกับผู้ใหญ่เป็นประการแรกว่า เราจะต้องหากิจกรรม สื่อวัสดุอุปกรณ์และเตรียมร่างกาย จิตใจของเด็กเพื่อการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนที่จะเริ่มเขียนอย่างเป็นทางการ สำหรับด้านจิตใจจะต้องให้เด็กมีความสุขในการเขียน หรืออยากเขียนและสนุกสนานต่อการเขียน ส่วนด้านอื่นๆนั้นควรเตรียมความพร้อมให้กับเด็กดังนี้

-                   เตรียมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการฝึกกล้ามเนื้อและการประสานงานของตาและมือเพื่อให้เด็กเกิด

ความอยากที่จะเขียน

-                   ให้เด็กได้สัมผัสหรือการจัดเกม กิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับตัวอักษร พยัญชนะ

สระ คำ ให้เด็กเริ่มด้วยการเขียนตามครูในอากาศพร้อมๆกันทั้งห้อง เป็นต้น

-                    ให้เด็กได้ฝึกการสังเกตลักษณะต่างๆของรูปภาพหรือตัวอักษร ครูจะต้องเตรียมสื่อ วัสดุ

อุปกรณ์ให้พร้อม

-                    บริหารร่างกายเพื่อฝึกกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเขียนดังนี้

                               ยกแขนขึ้นเสมอไหล่แล้วกำมือทั้ง 2 ข้างให้รู้สึกตึงไปทั้งแขนแล้วก็กางมือออก ให้กำและแบสลับกันไป

                              กดนิ้วทีละนิ้วลงบนฝ่ามือโดยเริ่มตั้งแต่นิ้วหัวแม่มือก่อน ทำจนครบทั้ง 5 นิ้ว และทำพร้อมกันทั้ง 2 มือ

                              ยกมือขึ้นเสมอไหล่แล้วปล่อยให้ข้อมือพับลงมาข้างหน้าอย่างเร็วและแรงจนมีความรู้สึกกระตุ้นที่ข้อมือ

                             ใช้นิ้วหัวแม่มือกดอย่างแรงกับปลายนิ้วข้างเดียวกันจนครบทุกนิ้ว

-                    ฝึกเรียงลำดับสิ่งต่างๆ ในด้านขนาด จำนวน ตัวเลข พยัญชนะ รวมถึงการเรียงลำดับเรื่องราว

ที่เกิดขึ้นก่อน-หลัง

-                   ฝึกให้เด็กมีความสนใจและรับรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น คำศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์

สิ่งของ สถานที่ ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น และฝึกการรับรู้ลักษณะของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้อง เช่น สี รูปร่าง ขนาด ระยะ ตำแหน่ง ทิศทาง น้ำหนัก เนื้อวัสดุ ฯลฯ

-                   ให้เล่นเครื่องเล่นที่ต้องใช้มือ นิ้วมือ เช่น เล่นใส่ของลงในกรอบ การเล่นเปลี่ยนเสื้อตุ๊กตา

การรูดซิป ติดกระดุม การผูกเชือกรองเท้า การหยอดรูปทรงต่างๆลงในกล่อง การเล่นกรอกน้ำ เป็นต้น

-                   ให้ทำงานศิลปะ เช่น การวาดภาพด้วยสีเทียน- สีน้ำ การร้อยลูกปัด การทำงานประดิษฐ์ การ

ฉีก ปะกระดาษ การตัดด้วยกรรไกร เป็นต้น

-                    ให้เล่นเครื่องดนตรีสำหรับเด็ก เช่น การตีกลอง ตีระนาด ตีฉิ่ง ตีฉาบ การเขย่าลูกแซค

-                    ให้ทำท่าประกอบตามเนื้อเพลง คำคล้องจอง หรือการใช้มือ นิ้วมือ ประกอบการเล่านิทาน

                กิจกรรมดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างของกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมก่อนการเขียน ผู้ใหญ่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับเด็ก หรือตาม เวลา สถานที่ สถานการณ์ที่สอดคล้องและเอื้ออำนวยในแต่ละครั้ง เพราะงานการที่จะให้เด็กเขียนได้นั้นเป็นงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆมากมาย ทั้งตัวผู้ใหญ่เองและความพร้อมของเด็ก ซึ่งจะต้องรู้สภาพความแตกต่างของเด็กเป็นรายบุคคลด้วย การทำให้เด็กเขียนได้จริงๆจึงจะประสบความสำเร็จ 

หมายเลขบันทึก: 481037เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2012 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 05:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท