3 ก (กิเลส กีฬา การแข่งขัน)


เราจะสั่งสอนเด็กๆ ของเราอย่างไร? ให้ใช้กีฬาให้เกิดความสมดุล ระหว่างความแข็งแรงของร่างกาย และจิตใจที่ละกิเลสลงบ้างแม้ว่าเขาต้องแข่งขันกัน?

เราส่งเสริมให้เยาวชน หรือประชาชนหันมาสนใจการเล่นกีฬา  แล้วก็สนับสนุนให้เกิดการแข่งขัน  มีการแข่งขันตั้งแต่ระดับเด็กประถม  เรื่อยมาจนเป็นกีฬาเยาวชน  และที่เพิ่งจบไปคือกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 40 “ขอนแก่นเกมส์”  เรา (ผู้ใหญ่) เอากีฬาที่เราบอกว่าเป็น ยาวิเศษ มาใช้ก่อให้เกิด กิเลส (ทั้งคนเล่นและคนดู) กันหรือเปล่า??? 

                ตัวนักกีฬา:  แสดงออกกันอย่างชัดเจนถึง กิเลสที่เกิดขึ้น อย่างกีฬาบาสเกตบอล นักกีฬาใช้ทักษะส่วนตัวในการยิงลูก กระโดดรับลูก การหมุนตัว การส่งบอล ฯลฯ   แต่เหล่านี้ก็มีการผสมผสานกลเม็ดการแกล้งคู่ต่อสู้ หรือบางคนถึงขั้นทำร้ายด้วยการตั้งใจเลยทีเดียว  บางคนกำลังเลี้ยงลูกอยู่  จะส่งให้เพื่อนในทีม แต่ก่อนส่งก็จะดันก้นตัวเองให้โดนฝ่ายตรงข้ามจนกระเด็นไปก็มี   บางคนอาศัยช่วงกรรมการไปสนใจคนมีลูกบาสฯในมือ  ก็แอบดึง แอบยกศอกให้ฝ่ายตรงข้ามเจ็บตัวบ้างก็มี (กรรมการไม่เห็นแต่คนดูเห็น)

                ด้านผู้ชม:  เสียงตะโกนด่าทอเมื่อนักกีฬาทำไม่ได้ดั่งใจ  บางคนทำใจไม่ได้ถึงขนาดขว้างปาสิ่งของลงสนาม  ยังมีบางพวกที่เข้าชมพร้อมกับโพยการเล่นพนันในมือ

                เกิดอะไรขึ้นกับการกีฬา    เราจะสั่งสอนเด็กๆ ของเราอย่างไร?   ให้ใช้กีฬาให้เกิดความสมดุล ระหว่างความแข็งแรงของร่างกาย และจิตใจที่ละกิเลสลงบ้างแม้ว่าเขาต้องแข่งขันกัน?   

คำสำคัญ (Tags): #สมดุล#เรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 481894เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2012 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท