คำเป็น คำตาย


กบด ต้องตายก่อน อายุสั้นถึงตายตาม

คำเป็น  คำตาย

                คำเป็น  คำตาย  เป็นการจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน  ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน  มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน  ตัวอย่างเช่น  คา  เป็นอักษรต่ำ  คำเป็น  พื้นเสียง*  เป็นเสียงสามัญ

ส่วน  คะ  เป็นอักษรต่ำคำตาย  เสียงสั้น  พื้นเสียงเป็นเสียงตรี

                คำเป็น  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้

๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงยาวในแม่  ก  กา  เช่น  มา  ดู  ปู  เวลา  ปี  ฯลฯ

๒.  คำที่พยัญชนะประสมกับสระ  –ำ    ใ -  ไ -  เ – า  เช่น  จำ  น้ำ  ใช่  เผ่า  เสา  ไป  ฯลฯ

๓.  คำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว  เช่น  จริง  กิน  กรรม  สาว  ฉุย  ฯลฯ

                คำตาย  ได้แก่  คำที่มีลักษณะ  ดังต่อไปนี้

๑.   คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงสั้นในแม่  ก  กา  เช่น  กะทิ  เพราะ  ดุ  แคะ  ฯลฯ

๒.  คำที่มีตัวสะกดในแม่  กก  กบ  กด  เช่น  บทบาท  ลาภ  เมฆ  เลข  ธูป  ฯลฯ

 สรุป

                วิธีพิจารณา

                                ๑)    ให้สังเกตที่ตัวสะกดเป็นหลัก  ถ้าคำที่ต้องการพิจารณามีตัวสะกดให้ดูที่ตัวสะกดไม่ต้องคำนึงถึงสระเสียงสั้นยาว  ดูว่าคำนั้นมีตัวสะกดหรือไม่  ถ้ามีให้ขีดเส้นใต้ตัวสะกด

                                ๒)  ดูว่าตัวสะกดนั้นเป็น  กบด  หรือไม่  ( แม่  กก  กบ  กด )  ถ้าใช่  คำนั้นจะเป็นคำตาย  ถ้าไม่ใช่  กบด คำนั้นจะเป็นคำเป็น

                                ๓)  ในกรณีที่ไม่มีตัวสะกด  ให้ดูว่าคำนั้นประสมด้วยสระเสียงสั้น  หรือเสียงยาว  ถ้าอายุสั้น

( เสียงสั้น )  ต้องตาย  ถ้าอายุยาว  ( เสียงยาว )  จึงเป็น

กลวิธีในการจำคำเป็น  คำตาย

คำตาย

คำเป็น

-  พวกที่เป็น  กบด  ต้องตายก่อน  (สะกดด้วยแม่  กก  กบ  กด)

-  อายุสั้นต้องตายตาม  (ประสมด้วยสระเสียงสั้น)

-  สะกดด้วยแม่  กง  กน  กม  เกย  เกอว

-  อายุยาวเป็น  (ประสมด้วยสระเสียงยาว)

 

                ให้จำในส่วนของคำตายให้ได้เพราะจำง่าย  คือ  กบด  ต้องตายก่อน  และอายุสั้นต้องตายตาม  กล่าวคือ  สะกดด้วยแม่

กก  กบ  กด  (กรณีมีตัวสะกด)  และประสมด้วยสระเสียงสั้น  (กรณีไม่มีตัวสะกด)  เป็นคำตาย  นอกเหนือจากนี้เป็นคำเป็นทั้งหมด

                ***  ดังนั้นสรุปได้ว่า  คำที่ประสมด้วยสระ  –ำ    ใ -  ไ -  เ – า  เป็นคำเป็น  เพราะนับว่ามีตัวสะกด ในมาตรา แม่กม  แม่เกย และ แม่เกอว ตามลำดับ


* พื้นเสียง  หมายถึง  เสียงที่ปรากฏประจำคำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์  หากมีเสียงวรรณยุกต์ใด  ก็ถือว่าคำนั้นมีพื้นเสียงนั้น  เช่น  คา  ไม่มีรูป

วรรณยุกต์กำกับ  แต่มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ  จึงนับว่า  คา  ซึ่งเป็นอักษรต่ำคำเป็น  มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ

หมายเลขบันทึก: 482031เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2012 09:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ดีมากกกกกกกกกกกกกก

สุดยอดมากเลยค่ะดีมากกกกกกกกกกกกกกกก

ด.ช.ธนกร สุจจิตรจูล

สุดยอดเลยคลับ


ด.ญ สาหธิดา บุญโสดากร

ดีมากๆๆเรยค่ะขอบคุณมากน่ะค่ะอ่านเเล้วเข้าใจมากเรยค่ะขอขอบคุณจริงๆค่ะและที่สำคัญทำไห้หนูเขียนรายงานได้ด้วยค่ะขอบคุณมากกกกกกกกกกกกค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลคับ

กำลังทำรายงานหาคำเป็นคำตายยุค่ะ ขอบคุนมากเลยน่ะค่ะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


เหมือนกัน "ไม่เข้าใจ" ภาษาไทยยากมากกกก

คงตอ้งใช้เวลาทำความเข้าใจ

ขอบคุณครับ

สุดยอดมากครับสอนดีมากครับ


  • ผมได้ไทยแค่เกรด4ัเอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท