ปัญหาภัยธรรมชาติไร้พรมแดน


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2555

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล้างนี้ครับ

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

ปัญหาภัยธรรมชาติไร้พรมแดน (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 
ผมเขียนอยู่ที่เชียงใหม่ มาประชุม เป็นวิทยากรของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อเตรียมตัวให้ไทยเข้าสู่การท่องเที่ยวในกลุ่ม GMS และในที่สุดก็ระดับ ASEAN

ปัจจุบันการท่องเที่ยวของไทยมีหน่วยงานดูแลหลักอยู่ 4-5 หน่วยงาน

TAT การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เกิดขึ้นสมัยจอมพล สฤษฏ์ ธนะรัตน์ โดยมีพลเอกเฉลิมชัย จารุวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ มีคนเก่งทำงานมากซึ่งการตลาด สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย เป็น Brand ของโลก

ต่อมาระยะหลังๆ มีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมางานทุกชนิดที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ไม่ใช่การตลาดอยู่ที่นี่

- การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของการท่องเที่ยว

- การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาการท่องเที่ยวแบยั่งยืน

แต่เป็นที่น่าเสียดายงบประมาณมีจำกัด บุคลากรการท่องเที่ยวของกระทรวง และบุคลากร ขาดขวัญกำลังใจและขาดความรู้ที่จำเป็นโดยเฉพาะเรื่องภาษา การบริหารจัดการ

ผมมีโอกาสได้เห็นปัญหาและศักยภาพทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะท่องเที่ยวระดับจังหวัดในช่วงที่ผมเป็นวิทยากร

การพัฒนาบุคลากรในการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมต้องมีมากขึ้นและต่อเนื่อง

ภาควิชาการและภาคประชาชนอย่างผมที่มีความมุ่งมั่นโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการในกระทรวงแห่งนี้

ในการแสดงความคิดเห็นของผม เรื่องปัจจัยในการท้าทายของท่องเที่ยวจังหวัดกับการทำงานใน GMS คือ

1. Global / Local เริ่มมองการท่องเที่ยวในความเชื่อมโยงระหว่างประเทศมากขึ้น

2. ศึกษาเรื่องรู้เขารู้เรา ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง ของประเทศอื่น ปรับทันคติให้เป็นบวก คิดวิเคราะห์เป็น มีทุนทางปัญญามากขึ้น

3. มีความใฝ่รู้ อยากรู้ เกี่ยวกับประเทศต่างๆในมุมมองที่หลากหลาย เช่น

- วัฒนธรรม

- วิถีชีวิต

- อื่นๆ

4. มีการสร้าง Network ให้กว้างมากขึ้น ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อผนึกกำลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่ที่เชียงใหม่ครั้งนี้ได้เรียนรู้ว่า

ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เกิดในประเทศไทยแต่เกิดอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่าและลาว

การแก้ปัญหาหมอกควันต้องเริ่มเจรจาร่วมกับเพื่อนบ้าน เป็นเพราะพฤติกรรมของชาวบ้านใน 3 ประเทศยังนิยมการเผาป่า โชคดีที่ตอนผมเดินทางมามีฝนตกอย่างตอเนื่อง อากาศเลยดีขึ้น เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็เป็นเรื่องระหว่างประเทศไปหมด

ผมขอส่งความปรารถนาดีมายังลูกศิษย์ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต EGAT ทั้ง 32 คน ซึ่งผมอยู่กับพวกเขาได้ 2 วัน ก็ต้องขอตัวมาทำงานที่เชียงใหม่

หลักสูตร รุ่น 8 ของผมครั้งนี้แบ่งเป็น 4 แนว

- แนวแรกสร้างผู้นำยุคใหม่ทศวรรษหน้าของ EGAT

- มีความสมดุลให้แก่ Body & Mind เพื่อ ทำงานและมีความสุขมากขึ้น

- ศึกษาชุมชนโดยจะไปค้างคืน 2 วันที่กาญจนบุรีกับชาวบ้าน

- สร้าง EGAT ให้เป็น Learning Society

ผมขอบคุณผู้บริหาร คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ , คุณวิรัช กาญจนพิบูลย์ , คุณภาวนา อังคณานุวัฒน์ และทีมงานฝ่าย HR ให้เกียรติผมทำงานร่วมกันใกล้ชิด

ช่วงแรก ในการเปิดตัวเรื่องผู้นำ EGAT ยุคใหม่รุ่น 8 นี้ ผมเห็นว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีผู้นำและผู้บริหาร EGAT ทุกระดับ จะเกษียณอายุจากการทำงานเป็นพันๆคน การเตรียมผู้นำอย่างไร ในอนาคตจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ผมได้ยกตัวอย่างข้อเขียนของผมเกี่ยวกับกรณีศึกษาของประเทศจีน ในปัจจุบันจีนมีผู้นำ 5 รุ่น

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976) เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ

- รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก

- ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมาก

- ต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่น ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคล

- เศรษฐกิจ คือ รัฐเป็นคนกำหนด

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992) คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

- เป็นช่วงที่การเมืองนิ่งแล้ว แต่ระบบเศรษฐกิจรัฐเป็นผู้กำหนด จะไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชาติได้ เพราะประชากรมาก - คาดหวังสูง จึงต้องมีเติ้งเสี่ยวผิงมาเป็นผู้นำ

- เน้นทฤษฎีไปสู่ Practical เป็นผู้ที่พูดว่า "แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูเป็น" คือ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ นำเอาทุนนิยมเข้ามา - เชิญต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้จีนขยายตัวทางเศรษฐกิจเร็ว เพราะคนจีนขยันเคยทำการค้ามาก่อน วันนี้จีนเติบโตมากกลายเป็นมหาอำนาจ

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003) คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

- เป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก

- เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก

- จัดประชุม APEC 2003 ในจีน

- นำจีนเข้า WTO

- เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้น

- ส่งความช่วยเหลือไป แอฟริกาและประเทศด้อยพัฒนา


เมาเซตุง (Mao Tse-tung)



เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)



เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)



หู จิ่นเทา (Hu Jintao)



สิ จินผิง (Xi Jinping)


รุ่นที่ 4 (2003 - 2013) คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)

- เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ

- แต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ

รุ่นที่ 5 (2013 - 2023) คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)

- ผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน

ได้มีการวิเคราะห์โดยรุ่น 8 ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็มีผู้นำ 4 รุ่น

1. รุ่นบุกเบิก คุณเกษม จาติกวณิช และพลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์

2. รุ่น 2 จัดการกับการขยายตัวของความต้องการพลังงาน คือเอาเอกชนมาร่วมผลิตพลังงานไฟฟ้า

3. รุ่นแปรรูปจะเข้าตลาด เพื่อลดการพึ่งพางบประมาณของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

4. รุ่นปัจจุบัน จะต้องการจัดการกับชุมชนและบริหารน้ำมันที่แพงและก๊าซธรรมชาติที่เหลือใช้อีกแค่ 15 ปี

บรรยากาศพิธีเปิดและการฝึกอบรม โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า EGAT Assistant Director Development Program (EADP) รุ่นที่ 8 โดยมีคุณวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการบริหารของ กฟผ.ให้เกียรติมากล่าวในพิธีเปิดโครงการฯ ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม - 22 มิถุนายน 2555 ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย



สัมมนาแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวตามกรอบความร่วมมือ GMS ระหว่างวันที่ 13- 15 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา



5. รุ่นต่อไป มีการทำ workshop วิเคราะห์ว่าผู้นำใน 10 ปีข้างหน้า จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

-ต้องจัดการกับ Diversity (ความหลากหลาย)และการเปลี่ยนแปลงให้ได้

-เข้าใจต่างประเทศและชุมชนมากขึ้น

-ต้องเข้าใจการบริหารคนที่เก่งและอายุที่แตกต่างให้ได้

-การบริหารและการใช้พลังงานจากต่างประเทศ

-ต้องมีพลังงานทดแทนที่พอเพียง

-ต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยเป็นหลัก เป็นที่พึ่งของสังคมไทย ทำมากกว่าการผลิตไฟฟ้า

ผมภูมิใจมากที่มาถึงรุ่น 8 ประเด็นก็คือแรงบันดาลใจมี 2 ฝ่าย

-ฝ่ายผมและทีมงานก็ต้องปรับการทำงานให้ดีขึ้นและเป็นเลิศกว่าเดิม

-ฝ่าย EGAT ก็ต้องเรียนเพื่อพัฒนาผู้นำ ซึ่งใฝ่รู้ต้องปรับ Mind set ให้ทันกับเหตุการณ์

"องค์กรอื่นๆไม่ทำเรื่องการเตรียมผู้นำก็จะมีวิกฤติได้ในอนาคตแน่ครับ"

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 482477เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2012 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท