ชีวิตที่พอเพียง : ๑๕๒๑. ก้าวสู่ปีที่ ๕ ของ R2R ประเทศไทย


          เผลอพริบตาเดียว R2R ประเทศไทยย่างเข้าปีที่ ๕ แล้ว    โดยที่ปลายปีที่แล้วผมบันทึกความฝันเกี่ยวกับ R2R ประเทศไทยในอนาคตไว้ที่นี่  และเครือข่าย R2R ภาคตะวันออกได้นำจินตนาการของผมไปลงไว้ใน เว็บไซต์ ที่นี่  และอ่านหนังสือR2R : Routine to Research  สยบงานจำเจด้วยการวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ(ซึ่งเป็นหนังสือประกอบการประชุม ลปรร. “จากงานประจำสู่งานวิจัย” ปี 2551 ซึ่งเป็นปีแรก) ได้ที่นี่     อ่านหนังสือ สังเคราะห์ปัญญาเพื่อพัฒนา R2R(ซึ่งเป็นหนังสือประกอบการประชุม ลปรร. “จากงานประจำสู่งานวิจัย” ปี 2553) ได้ที่นี่อ่าน บล็อก R2R รพ. พระนั่งเกล้าได้ที่นี่
 
          จากบันทึกนี้ ช่วยให้ผมฟื้นความจำได้ว่า R2R ประเทศไทยเกิดจากข้อตกลงความร่วมมือระหว่างปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการ สปสช. คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ ผอ. สวรส. เป็นเวลา ๓ ปี จากปี ๒๕๕๑ ถึง ๒๕๕๔   จึงน่าที่จะทบทวนว่า จะมีข้อตกลงความร่วมมือระหว่างภาคีที่กว้างขวางขึ้นหรือไม่   เช่นเพิ่มภาคี สสส.  มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  สรพ. เป็นต้น   และระบุเป้าหมายของความร่วมมือที่ชัดเจนพุ่งเป้ายิ่งขึ้น   
 
          อ่านบันทึกจุดเริ่มต้นของ R2R ประเทศไทยที่นี่  บันทึกสะท้อนการวางรูปแบบการทำงานที่นี่, การขยายตัวในปี ๒๕๕๒ที่นี่
 
          อ่านการเคลื่อนไหวของ R2R จังหวัดหนองคายได้ที่ ,   และติดตามการขยายตัวของ R2R ประเทศไทย ผ่าน บล็อก ของ ดร. กะปุ๋ม ได้ที่นี่ติดตามความเคลื่อนไหวของ R2R ประเทศไทยทั้งหมดได้ที่นี่  มือใหม่อ่าน Ppt ของ อ. นพ. อัครินทร์ นิมมานนิตย์ ผู้จัดการงาน R2R ศิริราชได้ที่นี่
 
          ผมตีความจากสัมผัสหลากหลายจุด ว่า เวลานี้ R2R ประเทศไทยกำลังเคลื่อนตัวสู่สภาพที่กลุ่มผู้ดำเนินการ R2R เป็นเจ้าของ R2R ประเทศไทย มากขึ้นๆ   เป็น ownership จากฐานล่าง   ไม่ใช่จาก“ยอดพระเจดีย์”  
 
          ยิ่งได้อ่านรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ ๒ แผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำ เมื่อวันที่ ๓๑ ม.ค.๕๕   ผมยิ่งเห็นภาพชัดว่า INN ของ R2R ได้เข้ามาแสดงบทบาทเป็นเจ้าของ   ร่วมจัดการเครือข่าย   น่าชื่นใจอย่างยิ่ง
 
          ผมมองว่า มิติหนึ่งของผลงาน R2R ที่ดีคือการทำกิจกรรม R2R อย่างต่อเนื่อง ภายในหน่วยงานย่อยนั้นๆ   และในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง   ผมจึงอยากเห็นการให้รางวัลพิเศษต่อกิจกรรม R2R ที่มีการทำต่อเนื่องในมิติหน่วยงาน และมิติเชิงประเด็น   โดยมีการนำเสนอและอธิบายได้ว่า การดำเนินการต่อเนื่องนั้นก่อผลอย่างไรบ้างต่อคุณภาพงาน ต่อบรรยากาศหรือความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน และต่อตัวบุคคลที่เป็นสมาชิกของทีม   รวมทั้งการมีผลงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในคุณภาพ
 
          ก้าวต่อไปของ R2R ประเทศไทย อาจเน้นได้ ๒ ทาง   ทางแรกคือเน้นที่ Routine  ว่ากิจกรรม R2R ที่ควรได้รับการยกย่องคือกิจกรรมที่ยกระดับคุณภาพ ประสิทธิภาพ และบรรยากาศ Happy Workplace ของงานประจำ และยกระดับทักษะหรือขีดความสามารถของคนที่ทำงานประจำ
 
          ทางเลือกที่สอง คือ เน้นที่ Research  ว่ากิจกรรม R2R ที่ควรได้รับการยกย่องคือกิจกรรมที่นำไปสู่ ผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับยกย่อง
 
          สองทางเลือกนี้ไม่mutually exclusive คือทำร่วมกันไปทั้งสองทางได้   แต่ต้องไม่สับสน   และต้องไม่ทำให้ทางเลือกที่สองกลบทางเลือกที่หนึ่ง  
 
          ถ้าให้ผมเลือก ผมเลือกทั้งสองทาง ในสัดส่วนหรือน้ำหนัก ๖๐ : ๔๐   หรือ ๗๐ : ๓๐
 

 

วิจารณ์ พานิช
๗ มี.ค. ๕๕
 
 
หมายเลขบันทึก: 482783เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2012 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เปิดบันทึกนี้.. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ R2R เยอะเลยค่ะ

เห็นด้วยกับประโยคสุดท้ายค่ะ ๖๐ : ๔๐   หรือ ๗๐ : ๓๐

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท