ครูแดร์ D.A.R.E. ในดวงใจ


ครูแดร์ รณรงค์ แพร่ระบาด สารเสพติด

 

                  ครูแดร์( D.A.R.E )ในดวงใจ

 

               ครูแดร์ คือใคร? ทำหน้าที่อะไร? คำว่าครูแดร์      เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่อาจจะไม่รู้จักและที่สำคัญครูแดร์   จะทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในโรงเรียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรครูแดร์ ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติดของรัฐบาล โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้อง  เรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกทางวิชาการตามแบบฉบับหนังสือแปลของสหรัฐอมริกา และต้องเรียนรู้ทักษะความเป็นครูแดร์ ที่ถูกต้อง ตามเนื้อหาที่กำหนด โดยมีวิทยากรที่ผ่านการอบรมการเป็นครูแดร์มาแล้วถ่ายทอดความรู้ก่อนลงพื้นที่ไปหน้าที่ตามโรงเรียนต่างๆอย่างสมบูรณ์โดยเน้นเด็กตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงมัธยมที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกชักจูงเป็นหลัก

                ครูแดร์ มาจากอักษรย่อว่า D.A.R.E. หรือโครงการ Drug   Abuse Resistance ซึ่งเป็นโครงการด้านการป้องกันการแพร่ระบาด ยาเสพติดในเด็กนักเรียนของสหรัฐอเมริกา ที่หลายประเทศทั่วโลกนำไปใช้ หลังพบว่าเป็นโครงการที่มีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน ในการแก้ปัญหายาเสพติดและวันนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็นำมาใช้ในปัจจุบัน สนง.ตำรวจแห่งชาติยังมุ่งเน้นผลิตครูแดร์เพิ่มให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยเน้นอำเภอที่มีสภาพปัญหายาเสพติดสูง เพื่อให้ครูแดร์ทำหน้าที่ป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติด เชิงรุกในโรงเรียนอย่างจริงจัง โดยได้ดำเนินการตามโครงการ "การศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน" หรือที่เรียกว่า โครงการ D.A.R.E. เข้าไปสอนเด็กในโรงเรียนเพื่อแนะนำให้ความรู้ และเสริมทักษะที่จำเป็นกับเด็กนักเรียนให้เข้าใจถึงวิธีการหลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติด และความรุนแรง โดยเน้นการให้ข้อมูลที่เที่ยงตรงเกี่ยวกับยาเสพติด สอนให้เด็กมีทักษะในการตัดสินใจและเสนอทางเลือกอื่นๆ อีกทั้งเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างตำรวจ เด็กนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครองและสมาชิกในชุมชน จัดทำโครงการครูแดร์ให้เป็นโรงเรียนสีขาว เข้าทำการอบรม ให้ความรู้ เพื่อต่อต้านพลังเอาชนะยาเสพติดในสถานศึกษา เป็นการแก้ไขแนวทางการดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ เนื้อหาและหลักสูตรมุ่งเน้นไปที่ ๔ หลักใหญ่ๆ

           ๑.ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุราและยาเสพติด

           ๒.ให้เด็กรู้จักใช้ทักษะในการตัดสินใจ

           ๓.ให้เด็กรู้จักวิธีต่อต้านแรงกดดันของกลุ่มเพื่อน

           ๔. ให้เด็กรู้จักใช้ทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้ยาเสพติดและความรุนแรง

                        

               ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต รณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลด้วย

 

 

ายบุญเทียม อังสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ มอบให้กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาดำเนินการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษา ทุกรูปแบบ จัดฝึกอบรมสร้างความตระหนักถึงโทษ ภัยร้ายแรงจากสิ่งเสพติด ดำเนินการตรวจปัสสาวะนักเรียนในสังกัดช่วงชั้นที ๒ ขึ้นไป ปรากฏผลว่านักเรียนปลอดสารเสพติด ๑๐๐% นอกจากนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ ยังส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการรณรงค์ ป้องกัน แก้ไขและปราบปรามยาเสพติด จากทุกหน่วยงาน องค์กร อีกด้วย

                จะเห็นว่า การรณรงค์ป้องกัน การแพร่ระบาดยาเสพติดในโรงเรียน นั้นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่โยนให้เป็นภารกิจของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง จึงจะประสบความสำเร็จ

            

             "ลงทางเสียเวลา......หลงติดยาเสียอนาคต"

หมายเลขบันทึก: 482800เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2012 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณคุณราชิตสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ

ขอสนับสนุนแนวคิดร่วมด้วยช่วยกัน ป้องกันภัยยาเสพติดเช่นนี้ค่ะ..

หลงทางเสียเวลา  หลงชาดา เอ้ย ไม่ใช่.. หลงติดยา เสียอนาคต....

เห็นข่าวยาเสพติดแต่ละวันแล้ว เศร้าใจค่ะ

  • สวัสดีค่ะท่านนงนาท
  •  ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ
  • ยาเสพติดทุกวันนี้ยิ่งปราบยิ่งมีนะคะ
  •  ต้องอาศัยจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ให้มากๆ
  • ขอบคุณคุณชาดาค่ะ
  • หลงยาเสพติดเสียอนาคตจริงๆ
  •  แต่หลงชาดานี่น่าจะมีแต่ความสุขนะคะ
  • ขอบคุณท่านอาจารย์ JJ และครูอ้อย
  • ที่ให้กำลังใจค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท