บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

รำกระทบไม้


ยั่วยวนใจชมอภิรมย์เริงใจ

          

             "รำกระทบไม้" เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นเครื่องประกอบจังหวะ พร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากับจังหวะ แต่เดิมคงเป็นจังหวะตำข้าวในลักษณะยืนตำ 2 คน ต่อมาจึงลากไม้สากมาวางตามยาว มีคนจับปลายสาก หัว ท้าย ข้างละคน พร้อมทั้งใช้ไม้หมอนรองเคาะเป็นจังหวะภายหลังกรมศิลปากรได้ศึกษาการละเล่นชนิดนี้ และนำมาปรับปรุงจัดระเบียบแบบแผนเรียงลำดับท่ารำขึ้น โดยไม่ทิ้งเค้าแบบแผนเดิม และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2500 เนื่องในงานแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับราชอาณาจักรลาวในการปรับปรุงครั้งนั้น เนื่องจากบทร้องของเก่าไม่เหมาะสมที่จะรำได้สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ขอให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งบทร้อง และท่านผู้หญิงหม่อม แผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำ นอกจากไม้เคาะจังหวะประกอบการร่ายรำแล้ว ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้นำวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ บรรเลงลำนำ ทำนองเพลงให้ไพเราะด้วย

        บทร้อง มีความหมายในการละเล่นในยามค่ำคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง มีการร่ายรำของหนุ่มสาวมีการเกี้ยวพาราสีกัน ตามเนื้อร้องดังนี้

         แสงรัชนี                    ส่องสีนวล                              

ชื่นใจชวน                           ยั่วยวนใจชมอภิรมย์เริงใจ                   

เคล้าคู่เคียงไป                     ฟ้อนกรายร่ายรำ

หนุ่มวอนกลอนกล่าว              เว้าสาวหวานฉ่ำ

จันทร์งามยามค่ำ                   เป็นสายนำดวงใจ

ยามเดือนลอยเด่น                  เหมือนดังเป็นใจให้

สาวหนุ่มพลอดกัน                   กรีดกรายร่ายรำ สำเริงรื่น

 แสนชื่นชอบเชิง                     เริงรำ ทำทางกั้น

สับเปลี่ยนเวียนผัน                   กันสำราญ

ร่ายรำท่ามกลาง                       แสงเดือนเด่น

เยือกเย็นน้ำค้าง                       ช่างซาบซ่าน

สาวรำนำหนุ่ม                          ชุ่มชื่นบาน

ต่างสุขศานต์                           แสนงามยามค่ำคืน

ที่มาของภาพ:วิพิธทัศนา กรมศิลปากร

อุปกรณ์

         แต่เดิมวางไม้สากตามความยาว 2 อัน ให้ไม้หมอนรองหัวและท้ายไม้ทั้ง 2 ด้าน ปลายสากจะมีคน 2 คน จับปลายเพื่อกระทบกัน ภายหลังกรมศิลปากรปรับปรุง และจัดลำดับท่ารำให้เป็นระเบียบขึ้นแต่ยังคงรักษาเค้าแบบแผนเดิม โดยปรับ ปรุงเป็นไม้ไผ่ 2 ลำ ขนาดเท่ากันยาวประมาณ2 - 4  เมตร และใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นหมอนวางรองทั้งสองปลาย ผู้กระทบนั่งกับพื้นจับปลายทั้งสองคนเพื่อจะได้ตีกระทบกัน

การแต่งกาย

       การแต่งกาย  แต่งได้ 2 แบบ คือ
            1. การแต่งกายแบบพื้นเมือง
ชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น มีผ้าคาดเอว และผ้าคาดไหล่
หญิง นุ่งผ้าซิ่นป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอก คอปิดห่มสไบทับเสื้อ ปล่อยผมทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับพองาม มีสร้อยคอ ต่างหู
            2. การแต่งกายแบบกรมศิลปากร
ชาย นุ่งกางเกงขาสามส่วน หลากสี วามเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว และผ้าโพกศีรษะ
หญิง นุ่งซิ่นมีเชิง ป้ายข้างยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมหรือคอปิด ห่มสไบเฉียง เข็มขัดทับเสื้อ สวมสร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้

วิธีเล่นกระทบไม้

  1. วางไม้ไผ่ตันไว้กับพื้นให้ห่างกันพอที่จะวางไม้ไผ่สีสุกลง แล้วเหลือปลายไว้ใช้จับประมาณ 2 คืบ 
  2. ผู้เล่น ( 2 คน ) จับไม้ยาวเคาะเป็นจังหวะ โดยรั้งให้ไม้ยาวมากระทบกัน 1 ครั้ง แล้วจึงยกไม้ยาวแยกห่างกันออก เคาะไปที่ไม้สั้น 2 ครั้ง สลับกันไปตามจังหวะเพลง ช่วงระยะเคาะไม้สั้นจะเว้นช่องว่างระหว่างไม้ยาวประมาณ ครึ่งศอก เพื่อให้ผู้รำชาย - หญิง ได้หย่อนเท้าก้าวลงไปในช่องนั้น แล้วยกออกตามจังหวะเพลงได้อย่างสวยงาม และถ้าผู้รำเผลอก้าวพลาดผิดจังหวะ ไม้ไผ่คู่นั้นจะกระทบเท้าผู้รำทันที 

จังหวะกระทบไม้จะเป็นจังหวะ 8 จังหวะ แล้วย้อนกลับไปใหม่เรื่อยๆ ดังนี้

     จังหวะที่

1

2

3

4

5

6

7

8

    จังหวะไม้

ชิด

ห่าง

ห่าง

-

ห่าง

ห่าง

ชิด

-

ที่มาของภาพ:วิพิธทัศนา กรมศิลปากร

ท่ารำ-กระบวนท่ารำ

            2.1 รำท่าสอดสร้อยมาลา ย่ำเท้าตามจังหวะเพลง

            2.2 รำตามเนื้อร้องตีบทตามความหมายของเพลง

            2.3 ผู้แสดงชายทั้ง 4 คนแสดงในจังหวะที่รวดเร็วเพื่อเป็นการอวดฝีมือแก่ฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงรำอยู่ด้านหลัง เปรียบเสมือนการให้กำลังใจแก่ฝ่ายชาย

            2.4 ผู้แสดงฝ่ายหญิงเปลี่ยนออกมาแสดงอย่างสนุกสนาน ฝ่ายชายเปลี่ยนกลับไปรำอยู่ด้านหลัง

            2.5 ทั้งชายและหญิงออกมาจับคู่รำเหมือนเดิมร่ายรำผ่านการกระทบไม้ทั้ง4คู่เน้นการใช้เท้าและความพร้อมเพรียงกันอย่างสนุกสนาน

            2.6 แสดงการแตะไหล่ในการประกอบจังวะอย่างพร้อมเพรียงแสดงถึงความสามัคคีของผู้แสดงทั้งหมด

            2.7 ผู้กระทบไม้ เปลี่ยนไม้วางเป็นลักษณะรูปเครื่องหมายกากบาท ผู้แสดงการร่ายรำทั้ง 8 แสดงโดยให้ฝ่ายหญิงอยู่วงในและฝ่ายชายอยู่วงนอกมีการควงสลับคู่กันอย่างสนุกสนาน

 

หมายเลขบันทึก: 485019เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2012 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูอ้อยมาหา มาบอกว่า คิดถึงน้องเสมอ

สวัสดีครับ คิดถึงทุกคนเช่นกันครับผม พอดีช่วงนี้เรียนต่ออยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท