การไหลเทของข้อมูลอย่างเชื่อมโยง : เปิดประตูสู่อาเซียน แม๊! คำนี้ช่างน่ากลัวจริงๆ


"อีกหน่อยต้นยางคงไปโผล่เยอะแยะที่ประเทศพม่าเพราะตอนนี้คนงานสวนยางส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศพม่า" เราคงมีคู่แข็งที่น่ากลัวเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เปิดประตูสู่อาเซียน แม๊! คำนี้ช่างน่ากลัวจริงๆ

เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ถึง ๑ พฤษภาคม ๕๕ ได้เดินทางมาที่ ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ในฐานะทีมวิชาการเพื่อทำกระบวนการเช็คต้นทุนศักยภาพของพื้นที่ต้นแบบใน ๑๐๐ พื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ของแผนงานพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (เป็นความร่วมมือขององค์กรส.ต่างๆ กับ WHO, รัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก) สำหรับพวกเราทีมวิชาการก็เพื่อเรียนรู้ชุมชน และช่วยพัฒนาทักษะของนักวิจัยชุมชน สำหรับพื้นที่ต้นแบบก็เพื่อพัฒนาทักษะ เพื่อต่อยอดการพัฒนาและขยายผลตำบลให้เป็นตำบลจัดการตนเอง และตำบลสุขภาวะต่อไป ..

ในช่วงเช้าๆ ของทุกวัน ณ บ้านพักที่เรียกว่าโฮมสเตย์ อดีตครูเก่าและภรรยาซึ่งเออรี่รีไทน์มาจากการเป็นคุณครูเช่นเดียวกัน หันมาทำบ้านพัก และโรงเรียนในระดับอนุบาลจนถึงระดับประถม ที่ไม่เคยคิดทำสวนยางเหมือนคนอื่นๆ ในที่ทางของตนก็จะมานั่งคุยกับพวกเราในฐานะเจ้าของบ้าน ..

อดีตคุณครูเล่าให้พวกเราฟังขณะทานอาหารเช้าร่วมกันที่บ้านพักโฮมสเตย์ว่า ใครที่ทำงานสวนยางแล้วต้องจ้างคนอื่นเขา มักจะถูกโกง จะโกงเล็กโกงน้อยก็เรียกว่าถูกโกงหล่ะ เพราะฉะนั้นควรจะทำสวนยางด้วยตัวเองจะดีกว่า เหนื่อยแต่ก็ไม่ต้องถูกโกง ..

ท่านเล่าถึงว่าทำไมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบันมีสวนยางไปแพร่หลายมาก ก็เพราะว่าในช่วงหนึ่งที่คนงานที่จ้างมาทำงานส่วนใหญ่จะมาจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อกลับบ้านไปก็นำความรู้เรื่องสวนยางกลับไปลองปลูกที่บ้านบ้าง ซึ่งในปัจจุบันราคายางก็ดีเอามากๆ การทำนาข้าวจึงค่อยๆ ลดลงไป แต่น้ำยางคงมีคุณภาพไม่ดีไปกว่าน้ำยางทางภาคใต้ไปได้

ท่านบอกกับพวกเราก่อนที่พวกเราจะต้องเดินทางไปลงพื้นที่เพื่อทำกระบวนการเช็คต้นทุนศักยภาพของพื้นที่ต้นแบบต่อไปว่า "อีกหน่อยต้นยางคงไปโผล่เยอะแยะที่ประเทศพม่าเพราะตอนนี้คนงานสวนยางส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศพม่า" เราคงมีคู่แข็งที่น่ากลัวเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เปิดประตูสู่อาเซียน แม๊! คำนี้ช่างน่ากลัวจริงๆ

----------------------------------------- 
ณัฐพัชร์ ทองคำ
๑ พฤษภาคม ๕๕ (วันแรงงาน)

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาวะชุมชน
หมายเลขบันทึก: 486874เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียนอาจารย์ ณัฐพัชร์ ตำบลควนรู อยู่ไม่ไกลจากตำบลปากพะยูนที่ผมอาศัย

ที่นี้ผมเคยไปเรียนรู้เรื่องการเฝ้าระวังภัยยาเสพติด เห็นกระบวนการเฝ้าระวังโดยทีมงาน อปพร. ติดตามดูคนที่เข้าออกในชุมชนทุกระยะ ที่นี้ เป็นชุมชนที่มีการเรียนรู้กระบวนการด้วยกันมาตั้งแต่ครั้งทำแผนชีวิตชุมชนกันมา

หลายคนคุ้นชินกัน

แวะมาเยี่ยมปากพะยูนบ้างน่ะหากมีเวลา

การเคลื่อนย้ายแรงงานและการอยู่อาศัยอย่างมีความหมายมากกว่าการเป็นแรงงานข้ามชาติของกันและกัน ระหว่างสังคมวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน รวมทั้งการสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิต กิจกรรมเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ ตลอดจนสุขภาวะของส่วนรวม คงมีความเป็นสังคมแบบข้ามวัฒนธรรมในกรอบของกลุ่มประเทศในอาเซียน ซึ่งก็คงต้องเรียนรู้ความเป็นตัวของตัวเองและเตรียมตนเองด้วยสำนึกต่อความเป็นหน่วยสังคมเดียวกัน รวมทั้งต้องเห็นความสำคัญของการจัดความสัมพันธ์ที่พอดีระหว่างการแข่งขันกับความร่วมมือ การช่วยเหลือกันกับการช่วงชิงการได้เปรียบจากกัน การเคารพนับถือตนเองกับเพื่อนบ้าน และอีกหลายอย่าง ยิ่งเรื่องสุขภาพชุมชนนี่ คงมีแง่มุมที่ทำให้ได้ทำงานในแนวทางที่มีลักษณะเฉพาะที่ท้าทายและน่าสนใจมากอย่างยิ่งเลยนะครับ  

ขอบพระคุณทุกท่านสำหรับดอกไม้ค่ะ ^^

Ico48  Ico48  Ico48  Ico48

สวัสดีค่ะบัง

  • เรื่องของ อปพร. ทำให้นึกถึงการพักที่โฮมสเตย์ในคืนแรก (กว่าจะทำงานเสร็จจนเข้าที่พักเอาดึกพอสมควร) ได้รับกุญแจมาเรียบร้อย เลี้ยวโค้งเข้าที่พัก พบชายหนุ่มเกือบ ๑๐ คนนั่งอยู่มุมของสวนยางในเขตใกล้ๆ กันก็ตกใจค่ะเพราะทุกคนถือปืนแบบที่เรียกแบบคนไม่รู้จักก็คล้ายๆ เอ็ม ๑๖ เชียวค่ะ ตอนแรกที่เห็นก็ชักไม่แน่ใจว่าตกลงฉันจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยดี ^^" ก็คงจะเป็นพี่ อปพร.มาช่วยดูแลความปลอดภัยให้กับทีมที่มาเรียนรู้ร่วมกันประมาณเกือบ ๔๐๐ ท่านจากทุกภาคของท้องถิ่น ซึ่งกระจายไปพักตามหมู่บ้านในควนรูค่ะ 
  • แหม ถ้าทราบแต่แรกว่าไม่ไกลกันมาก ควนรู-ปากพะยูนอาจได้แวะไปเยี่ยมยามกันบ้างนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์วิรัตน์

  • เวลาลงพื้นที่ชุมชนแล้วก็นึกถึงอาจารย์ค่ะ เพราะืื่คนที่จะเก็บเกี่ยวเรื่องราวของชุมชนและมีวิธีเล่าเรื่องที่ให้ความหมายที่มากกว่าสิ่งที่มองเห็นค่ะผนวกไปด้วยวิธีวิทยาของการทำงานกับชุมชนแล้วทำให้มีคุณค่าเกิดขึ้นอีกมากมายเห็นจะมีอยู่ไม่กี่ท่านกับคนทำงานชุมชนเท่าที่รู้จักนะคะ คนทำงานที่คิดเชิงบวกตลอดเวลา add value to people จะนึกถึงอาจารย์หมอกระแส และอาจารย์ค่ะ ^^
  • กำลังจะเปิดบล๊อคใหม่ที่จะพยายามตกผลึกสิ่งเหล่านั้นและย่อยออกมาหล่ะค่ะ^^

ขอบคุณค่ะ ^^
สมาชิกที่ให้กำลังใจ: Ico48 อาจารย์ umi และ Ico48 อาจารย์ Dr.Pop

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท