สุรากับสุขภาวะของเด็ก


สุขภาวะ สุรา สุขภาพเด็ก

Ico64_alcohole

              วันที่ 18 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ได้นำเสนอข่าวเด็กชายชั้นป.1 อายุเพียง 6 ปี ดื่มเหล้าจนช็อค หมดสติ นอนจมกองอุจจาระและปัสสาวะ ที่กุฎิวัด ซึ่งสอบสวนทราบว่าเด็กชายร่วมวงดื่มเหล้ากับเด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่ 7 – 12 ปี ในหมู่บ้านรวม 7 คนและ 1 ในนั้นมีสามเณร 1 รูป ขณะข้างวัดมีงานฉลองผ้าป่าของวัด เด็กๆ ต่างให้การซัดทอดกันเองนัวเนีย ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำเหล้า หรือไปซื้อจากร้านที่ไหน ผู้สูงอายุในหมู่บ้านกล่าวว่า ในหมู่บ้านห้ามดื่มเหล้าช่วงเทศกาลงานประเพณีคงไม่ได้ เมื่อมีการดื่มจะไม่ให้เด็กเห็นก็ยาก เพราะต้องสนุกสนาน ร้องรำทำเพลงกัน ดังนั้นผู้ปกครอง พ่อ-แม่เด็กควรดูแลเอาใจใส ว่ากล่าวตักเตือนลูกตัวเอง  เป็นที่น่าจับตาว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์ คือ พรบ. ควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ 2551  ระบุอย่างชัดเจนว่า วัด สถานศึกษา สถานพยาบาล สวนสาธารณะ ล้วนเป็นสถานที่ห้ามดื่มแอลกอฮอล์  และ ห้ามมิให้ขายสุราแก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี รวมถึงกำหนดเวลาขาย ให้ขายได้ในเวลา 11.00-14.00 น. และ 17.00-24.00 น. ห้ามโฆษณา ห้ามขายแบบลดแลกแจกแถม ห้ามขายให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามขายในวันสำคัญทางศาสนา ทางกฎหมายมีข้อบังคับมากมายที่น่าจะช่วยได้ แต่สามารถบังคับใช้ได้จริงหรือไม่เมื่อประชาชนยังเห็นว่าการมีเทศกาลและงาน ประเพณีต้องมีการดื่มเครื่องดื่มแอลลอฮอล์ การสนุกสนานของผู้ใหญ่ต้องมีสุราเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเด็กและเยาวชนเหมือนผ้าขาวที่เราแต่งแต้มเติมสีซึมซับสิ่งที่เห็น เมื่อผู้ใหญ่มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เด็กก็ซึมซับเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งปัจจุบันผลการศึกษาเบื้องต้นในเรื่องของการสูญเสียสุขภาวะ ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย พบว่า การสูญเสียสุขภาวะจากแอลกอฮอล์พบตั้งแต่ ในกลุ่มเด็กอายุ 5 – 14 ปี ได้แสดงให้เห็นถึงภาระโรคหรือปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากการ การดื่มแอลกอฮอล์ แยกตามรายโรคจาก 110 โรค พบในกลุ่มเด็กชายอายุ 5-14 ปี เท่ากับ 3,775 ปี (ร้อยละ 2 ของภาระโรคจากทุกสาเหตุในกลุ่มเพศชาย) ซึ่งทั้งหมดเป็นการสูญเสียจากการเจ็บป่วยพิการ เทียบกับกลุ่มเด็กหญิงที่สูญเสียปีสุขภาวะจากการดื่มแอลกอฮอล์ไป 3,115  ปี (ร้อยละ 3 ของภาระโรคจากทุกสาเหตุในกลุ่มเพศหญิง) ติดอันดับอยู่ ใน 10 อันดับของโรคที่ทำให้สูญเสียสุขภาวะมากที่สุด  ซึ่งเป็นการสูญเสียจากการเจ็บป่วยพิการ ทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เด็กสูญเสียการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมี สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งภาวะทางจิตใจและร่างกาย ถึงเวลาหรือยังที่ พ่อแม่ผู้ปกครอง และคนในสังคม ต้องหันมามองว่าการดื่มสุราในงานรื่นเริงสนุกสนาน ที่ว่าเป็นเรื่องธรรมดานั้นกลับไม่ธรรมดาและส่งผลต่อเด็กอย่างไร หากช่วงชีวิตที่ต้องเติบโตต้องอยู่อย่างไม่สมบูรณ์แข็งแรง การเอาจริงเอาจังในด้านการบังคับใช้กฎหมายมีเพียงพอหรือไม่  หรือจะปล่อยให้เยาวชนไทยต้องสูญเสียสุขภาวะจากแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นต่อไป

 

•ขอบคุณข้อมูลจาก

••ผลการศึกษาเบื้องต้น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทย

••http://www.dailynews.co.th/thailand/22868

••http://www.cocktailthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538665195&Ntype=5

Ico64_alcohole

หมายเลขบันทึก: 487586เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท