จุดประกายเชื่อมโยงความรู้สู่ความรู้ด้วยยุทธศาสตร์น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ


ความรู้นั้นก็จะไม่มีวันตายเช่นกัน และยังสามารถพัฒนาต่อไปยังเรื่องการจัดการความรู้โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างสรรค์ ถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ อย่างเป็นระบบที่ยั่งยืน

 

จากบันทึกเรื่อง ชิมลางศาสตร์พระราชา “เกษตรสมดุลและการพึ่งพาตัวเอง” ที่ สวนธงไชย-ไร่ทักสม กับอ. ธงไชย คงคาลัย
(http://www.gotoknow.org/blogs/posts/476874) ที่ผมเขียนไว้เมื่อหลายเดือนก่อน ซึ่งผมได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “ได้เรื่องอย่างไรก็จะมาเล่าสู่กันฟังต่อไปครับ (โปรดติดตามตอนต่อไป)” จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีโอกาสได้สานต่องานที่ว่านี้เลย นั่นเป็นเพราะว่าการอบรมที่ผมได้จองไว้ยังไม่ได้เข้าไปอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย คือได้ไปร่วมแค่ครึ่งวันเท่านั้นเองเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักการและการใช้งานโดยภาพรวมของน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งก็ได้นำไปปฏิบัติด้วยตนเองต่อบ้าง แต่เรื่องที่ได้เรียนรู้มาก็ยังนำไปปฏิบัติได้เองยังไม่เต็มที่ ผมก็ยังไม่ค่อยมั่นใจเท่าใดนัก ก็เลยยังไม่กล้าที่จะนำมาเล่าแบ่งปัน

 

 

และจนกระทั่งเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ปี55 ที่ผ่านมานี้เองผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนรู้งานศาสตร์พระราชากับท่านอ.ยักษ์ (วิวัฒน์ ศัลยกำธร) ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (http://www.agrinature.or.th/) เป็นเวลา 5 วัน 4 คืน ระหว่างวันที่ 5-9 พฤษภาคม 2555 ในหลักสูตร “การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง" รุ่นที่ 339และได้นำมาปฏิบัติต่อด้วยความมั่นใจที่มากขึ้น จนวันนี้คิดว่าความรู้ต่างๆ น่าจะตกผลึกและเชื่อมโยงไปสู่ความรู้อื่นๆได้บ้างแล้ว จึงได้นำมาแบ่งปันกันในบันทึกนี้ครับ

 

 

เนื้อหาที่ไปอบรมกับศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องก็มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดดูที่ http://www.agrinature.or.th/node/102) แต่เรื่องที่ผมคิดว่าผมเรียนรู้ได้เร็วและทำได้ดี ก็เห็นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนรักษ์แม่ธรณี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็จะมีเรื่องน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพรวมอยู่ด้วย อาจจะเป็นเพราะผมมีพื้นฐานมาจากสวนธงไชย-ไร่ทักสม กับอ. ธงไชย คงคาลัย ก็เป็นได้ ผมคิดว่าภาพรวมกระบวนการใช้งานของน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพก็ไม่มีอะไรมาก มีหลักการใหญ่ๆแค่ การผลิต ขยาย ใช้ ตามผังข้างล่างนี้เท่านั้นเอง

 

 

ส่วนรายละเอียดอื่นๆเช่น อัตราส่วน การผลิต ขยาย การใช้งาน เวลา ต่างๆ ก็แล้วแต่สูตรของสำนักใด ซึ่งก็มีให้เลือกกันหลายร้อยสูตร ดังนั้นผู้ใช้งานควรเลือกใช้งานตามความเหมาะสมของบริบทที่เป็นอยู่ ทั้งนี้สามารถหาได้จากตัวอย่าง Link ต่างๆ เหล่านี้ครับ

 

Link แหล่งความรู้
เกษตรพอเพียง.คอม http://www.kasetporpeang.com/
บ้านไร่นาเรา http://sites.google.com/site/banrainarao/
ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์ http://www.surinorganic.com/index.php
บ้านเกษตร.คอม http://www.bankaset.com/
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ (คกช.) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ http://www.banboon.org/banboon_index.php
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ http://www.bhumirak.com/ez/
108 วัน มหัศจรรย์พอพียง http://www.ifarm.in.th/index.php?view=video&id=332&option=com_jomtube&Itemid=190
ครูป้า : น้ำหมัก น้ำยา สบู่ DIY  http://krupawana.igetweb.com/index.php
ศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดุลและการพึ่งพาตนเอง “สวนธงไชย-ไร่ทักสม” http://www.raitaksomlearningcenter.com/site/
เครือข่ายชุมชมเศรฐกิจพอเพียง http://www.porpeangnetwork.com/
บ้านสวนพอเพียง http://www.bansuanporpeang.com/
เกษตรสมบูรณ์ http://www.kasetsomboon.org/

 

เขียนมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านอาจจะยังสงสัยว่าเนื้อหาที่กล่าวมามันจะไปจุดประกายเชื่อมโยงความรู้สู่ความรู้ด้วยยุทธศาสตร์น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพได้อย่างไรกัน Keyword ก็คือ ความรู้ กับน้ำหมักจุลินทรีย์ ที่จะนำมาจุดประกายเชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกัน ซึ่งผมเปรียบความรู้นั้นหมายถึงจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดได้ทั้งคุณประโยชน์และโทษได้ถ้านำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม และก็มีวันหมดอายุได้ ความรู้ในวันนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับเรื่องในอนาคต ความรู้ในท้องถิ่นอื่นอาจจะใช้ไม่ได้กับท้องถิ่นของเรา เพราะสภาพแวดล้อมบริบทแตกต่างกัน โดยเฉพาะความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมหรือ Tacit Knowledge ที่ต้องสกัดออกด้วยวิธีการเฉพาะ เช่น การทำ Dialoge, Success Story Sharing, AAR (After Action Review) เป็นต้น เรื่องการนำไปใช้งานเรื่องของความรู้และจุลินทรีย์มีส่วนที่คล้ายกันก็คือ ถ้านำความรู้ไปใช้อย่างทื่อๆ อาจจะไม่ได้ผลและสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ดังนั้นเราจะต้องมีการขยายและประยุกต์การใช้ความรู้ไปใช้งานให้เหมาะสมเหมือนกับการขยายและประยุกต์การใช้จุลินทรีย์ ซึ่งก็ไม่ได้มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำไปใช้กับใคร ทำอะไร ที่ไหนเมื่อไร่ ทำไม อย่างไร เท่าไหร่ (5W2H)

 

 

ฉันใดฉันนั้นการขยายจุลินทรีย์จะมีหัวเชื้อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีน้ำตาลเป็นอาหารของจุลินทรีย์ และมีน้ำเป็นแหล่งพักพิงให้จุลินทรีย์ขยายตัว การขยายความรู้ก็เช่นกัน ทำอย่างไรจึงจะเกิดการเรียนรู้ได้ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการขยายความรู้ไม่ว่าจะเป็นครู ,กระบวนกร , วิทยากร หรืออะไรก็แล้วแต่สุดแท้จะเรียก จะต้องมีมุก กลยุทธ ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่จะทำให้ทุกคนเกิดการเรียนรู้ให้ได้ตามกรอบของ KUSA (Knowledge/Understand/Skill/Attitude) แต่ผมอยากให้เพิ่ม “M” เข้าไปอีก 1 ตัว กลายเป็น KUSAM ตัว “M” ที่ว่าจะมีอะไรเพิ่มลองเช้าไป ดู Link ที่ ผมเคยเขียนบันทึกเกี่ยวกับเรื่อง KUSAM ไว้ 3ตอน ตามม Link นี้ดูครับ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/463125http://www.gotoknow.org/blogs/posts/464060 และ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/466179 )

 

 

หลังจากที่เราได้มีการขยายจุลินทรีย์แล้ว เราจะพบว่ามันสามารถขยายออกไปได้หลายเท่าและไม่มีที่สิ้นสุด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย เปรียบเทียบกับความรู้ก็เช่นกันถ้าผู้ที่ทำหน้าที่ให้ผู้คนได้เกิดการเรียนรู้มีความชำนาญเชี่ยวชาญอย่างช่ำชองแล้ว ความรู้นั้นก็จะไม่มีวันตายเช่นกัน และยังสามารถพัฒนาต่อไปยังเรื่องการจัดการความรู้โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างสรรค์ ถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ อย่างเป็นระบบที่ยั่งยืนด้วย ลองเข้าไปอ่านเรื่องราว การจัดการความรู้ภาคพิศดารที่ผมได้เขียนไว้ตาม Linkนี้ดูครับ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/404025 )

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านคงจะพอมองภาพออกและคลายความสงสัยจากการจั่วหัวข้อเรื่องได้บ้างนะครับ และต่อไปนื้คือสิ่งที่ผมอยากจะให้ท่านผู้อ่านลองทำดูก็คือ อยากให้จุดประกายเหนี่ยวนำความรู้ในเรื่องนี้ไปยังเรื่องอื่นๆดูบ้างครับ เพราะนอกจากจะทำให้มองภาพออกได้มากขึ้นแล้วยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างสรรค์ ถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วย ได้ผลอย่างไรลองนำมาแบ่งปันกันครับ ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 488927เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท