ขอเชิญเที่ยวงาน บุญบั้งไฟกระนวน 55 วันที่ 26-58 พฤษภาคม 2555 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น


เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน อีสานแหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม

ประเพณีบุณบั้งไฟอำเภอกระนวน

บุญเดือนหกตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน

"บุญบั้งไฟ" งานบุญที่เต็มไปด้วยความรื่นเริงสนุกสนานของชาวอีสาน การเซิ้งบั้งไฟ แห่บั้งไฟ และจุดบั้งไฟ ถือเป็นพิธีการบูชาพยาแถนเพื่อขอฝนก่อนฤดูการทำนา ซึ่งชาวอีสานเชื่อว่าจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวในนาอุดมสมบูรณ์ และผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข ความเชื่อนี้มาจากตำนานเรื่องราวพญาคันคาก(พระยาคางคก)ซึ่งสู้รบชนะพยาแถนเทวดาผู้ควบคุมบันดาลฝน ที่แกล้งให้ฝนไม่ตกนานถึง7เดือน จนชาวบ้านเดือดร้อนกันถั้วหน้า เมื่อพญาคันคากรบชนะแล้ว ทั้งสองมีสัญญาสงบศึกต่อกันว่า หากชาวบ้านจุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้เพญาแถนบันดาลให้ฝนตก จึงเกิดเป็นตำนานที่มาของงานบุญบั้งไฟที่ชาวอีสานถือปฏิบัติสืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน

งานบุญบั้งไฟอำเภอกระนวนหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "งานบั้งไฟแสน" เป็นงานบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่นโดยจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ อาทิตย์ ที่ 4 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี จุดเด่นบุญบั้งไฟอำเภอกระนวนอยู่ที่เอกลักษณ์ของศิลปะการทำลวดลายกนกอันวิจิตร งดงามที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เอกลักษณ์ที่ชาวกระนวนพร้อมที่จะสานต่อด้วยความภาคภูมิใจ ให้คงอยู่ประจักษ์แก่สายตาชนรุ่นหลังควบคู่กับประพเณีอันเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอีสาน  นั่นคือ"ประเพณีบุญบั้งไฟ" 

กว่าจะเป็นบั้งไฟ

     บั้งไฟประกอบด้วย ดินประสิว ถ่านไม้ และกระบอกไม้ไผ่ บริเวณโคนต้นที่มีลำปล้องเสมอกัน ปัจจุบันดัดแปลงมาใช้ท่อพีวีซีแทน เนื่องจากไม้ไผ่กลายเป็นวัสดุขาดแคลน สำหรับช่างในการทำบั้งไฟนั้นจะต้องเป็นช่างที่มีฝีมือในการคำนวณดินประสิวกับถ่านไม้ซึ่งจะมีผลต่อความสูงของบั้งไฟ

      บั้งไฟมีหลายขนาดตามน้ำหนักของดินประสิวที่บรรจุ ซึ่งได้แก่

    "บั้งไฟกิโล" หมายถึงน้ำหนักของดินประสิว 1 กิโลกรัม

   "บั้งไฟหมื่น" หมายถึงน้ำหนักของดินประสิว 12 กิโล

   "บั้งไฟแสน"  หมายถึงน้ำหนักของดินประสิว 10 หมื่น หรือ 120 กิโลกรัม 

   "บั้งไฟล้าน" หมายถึง น้ำหนักของดินประสิว 500 กิโกรัม ขึ้นไป

    บั้งไฟแต่ละอันจะถูกตกแต่งประดับประดาหรือเอ้บั้งไฟอย่างสวยงามด้วยลวดลายไทยสีทอง ศิลปะการตกแต่งบั้งไฟนี้นายช่างจะต้องจับและตัดลวดลายต่างๆไว้เป็นเวลาแรมเดือน แล้วจึงนำมาติดกาวกับลูกบั้งไฟเพื่อจะทำเป็นรูปทรงต่างๆ ส่วนมากนิยมทำเป็นหัวพญานาคอ้าปากแลบลิ้น พ่นน้ำได้ บ้างทำเป็นรูปอื่นๆ แต่ก็มีความหมายเข้ากับตำนานการขอฝนทั้งสิ้น ตัวบั้งไฟจะนำไปตั้งบนฐาน ใช้รถหรือเกวียนเป็นพาหนะนำมาเดินแห่ตามประเพณี

          กัลยาณมิตรทุกๆๆท่านคะ ปีนี้ยิ่งใหญ่อลังกว่าปีก่อน ไม่ว่ารถแห่บั้งไฟ บั้งไฟ คนฟ้อนรำ เสื้อผ้าที่สวมใส่ ผิดไปจากปีที่แล้ว และรู้สึกว่าลงทุนการแต่งตัว ขบวนแห่ การฟ้อนรำที่สวยงาม แห่ทั้งหมด 6 ขบวนคะความสวยงามแตกต่างกันออกไป มีคนมาทำข่าวมากกล้อง ทีวี คงจะออกช่องใดช่องหนึ่ง ชาวต่างชาติก็เข้ามาถ่ายทำคะ คงเห็นไปทั่วโลกแหละคะ

 ผู้เขียนไม่ได้ถ่ายรูปทุกอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด ด้วยน้องบรีมไปด้วย ช่วงเช้าอากาศยังไม่ร้อน จึงมีภาพ เพียงแค่เริ่มต้นมาให้ชมเท่านั้น เท่าที่ถ่ายได้ แล้วก็รีบกลับบ้าน ด้วยอากาศร้อนขึ้น กลัวบรีมไม่สบาย

 

  

 

  

 

ได้ภาพการฟ้อนรำ ชุมชนสุดท้าย เพราะมันค่ำแสงแดดไม่มาก พาน้องบรีมไปดูอีก และพอดูได้นิดเดียวฝนก็ตกลงมาคะ วิ่งหนีฝนกันชุลมุน

ผาแดง ก็ลงมาฟ้อนด้วย ฝนกำลังเริ่มตก ภาพรีบถ่าย จึงไม่ค่อยชัด

 

พี่น้องกัลยาณมิตรทุกท่านคะ คงจะได้ชมภาพแค่นี้นะคะ ส่วนข้างล่างก็เป็นภาพน้องบรีมคะ ในบริเวณงานก็จะมีของเด็กเล่นมาให้บริการ ปานงานวันเด็กคะ

 

 

  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/361661

 งานแห่บุญบั้งไฟปี 2553 

 ส่วนปี 2554 ปีที่แล้วไม่ทราบว่าได้บันทึกไว้หรือเปล่า

ดูปีนี้ไป แล้วให้คิดว่า ปี 2555 เด็ดกว่าปีที่แล้วๆๆนะคะ และการแห่บุญบั้งไฟประจำปี ของอำเภอกระนวน ได้บรรจุเข้าไป ใน ททท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไกลไปทั่วโลกคะ

หมายเลขบันทึก: 489125เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อิ่มใจไปกับมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมไทยครับ ยิ่งฟังเรื่องราว/ ตำนาน ยิ่งอิ่มสุข...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท