Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ตอบคุณนารีเรื่องสิทธิทำใบขับขี่ตามกฎหมายไทยของหญิงที่เกิดในไทยจากบุพการีมาจากพม่า


บันทึกคำตอบปัญหาประชาชนเกี่ยวกับการจัดการประชากรในประเทศไทย โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร มื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕

คุณนารี [IP: 27.55.1.103] ได้เข้ามาเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๐๐.๕๒ น. ในบันทึกเรื่อง “คนที่ถือบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน (คนบัตรเลข ๐) : มีสิทธิทำใบขับขี่ตามกฎหมายไทยหรือไม่ ?” ของอาจารย์แหวว บน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/360755 เพื่อตั้งคำถาม อ.แหววว่า “หนูมีบัตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางเบียนเลข ๐ จะทำาบัตรขับขี่ได้มั้ยคะ หนูเปงคนพม่าคะเเต่เกิดที่ไทยพ่อเเม่ก็เปงคนพม่าเขาทำบัตรไม่เปงตอนหนูเรยไม่อะไนอกจากบัตรที่ไมสถานะทางเบียนคะ เเร้วตอนนี้หนูกำลังจะเเต่งงานกับคนไทย เเต่หนูเรียนจบม.๖ เเร้วกำลังจะเรียนต่อคะ

---------

คำตอบ

---------

อาจารย์แหววตอบคุณนารีไปแล้วเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๒๓.๐๔ น. แล้วดังนี้ค่ะ  “ก็อ่านความเห็นต่างๆ ที่มีมาก่อนคำถามของคุณเถอะค่ะ กฎหมายและการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นคนละเรื่องกันค่ะ ถ้าคุณจะสู้เพื่อสิทธิ ก็ไปร้องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือศาลปกครองเลยค่ะ”

---------

ความในใจ

---------

อยากทราบเหมือนกันว่า คุณนารีจะตอบกลับมาไหม ?

สำหรับความเห็นของอาจารย์แหวว โดยหลักกฎหมายการทำงานใบขับขี่นั้นเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ที่ประสงค์จะขับขี่รถยนต์

ในประการแรก การทำใบขับขี่ย่อมเป็น “สิทธิที่มนุษย์จะร้องขอ” ให้รัฐยอมรับการพิสูจน์ศักยภาพในการขับขี่รถยนต์ซึ่งน่าจะมี ๔ ประการหลัก กล่าวคือ (๑) มีอายุตามสมควรที่จะขับรถได้ ซึ่งโดยทั่วไป ก็คือ อายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ (๒) ต้องผ่านการทดสอบความสามารถที่จะขับขี่และแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการขับขี่ (๓) มีความรู้ในกฎหมายจราจรทางบกระดับที่จะเข้าใจกฎเกณฑ์ในการใช้ถนนร่วมกับบุคคลอื่น และ (๔) มีสุขภาพที่เอื้อต่อการขับรถยนต์อย่างปลอดภัย

ในประการที่สอง การทำใบขับขี่ย่อมเป็น “หน้าที่ของมนุษย์ที่จะร้องขอ” ให้รัฐยอมรับการพิสูจน์ศักยภาพในการขับขี่รถยนต์ซึ่งน่าจะมี ๔ ประการหลักดังกล่าวมาแล้ว เพื่อป้องการความปลอดภัยบนท้องถนน

แต่ทางปฏิบัติในตอนนี้ในประเทศไทยในเรื่องนี้ ค่อนข้างแปลก เพราะกรมการขนส่งทางบกไม่ยอมยืนยันหน้าที่ในการทำใบขับขี่ของคนที่ประสงค์จะขับขี่ กรมนี้กลับปฏิเสธที่จะทำใบอนุญาตขับขี่ให้แก่คนต่างด้าวไร้สัญชาติในทะเบียนราษฎรไทยบางจำพวก โดยเฉพาะพวกที่ถูกบันทึกในทะเบียนประวัติประเภทบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (ท.ร.๓๘ ก) ซึ่งมีเลขประจำตัว ๑๓ หลักขึ้นต้นด้วยเลข ๐ ซึ่งมิใช่ชาวมอแกน (ในพื้นที่ภัยพิบัติสึนามิ)

ดังนั้น หากคุณนารีไปร้องขอทำใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายไทย เจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกก็คงปฏิเสธ ซึ่งหากคุณนารีจะต่อสู้ต่อไป คุณนารีก็อาจร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือศาลปกครองเพื่อให้องค์กรดังกล่าวบังคับการตามสิทธิที่มี

---------

 

 

หมายเลขบันทึก: 489997เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

“หน้าที่ของมนุษย์ที่จะร้องขอ”....เป็นสิงที่ดี...ดีกว่าขับรถแล้วไม่มีใยขับขี่

นั่นซิคะ แนวคิดเรื่องความปลอดภัยในท้องถนนน่าจะนำมาพิจารณาด้วยนะคะ การห้ามมิให้มนุษย์เดินทางนั้น เป็นการห้ามที่ไร้ผล เพราะเดินทางนั้นหมายถึง "หนทาง" ไปสู่เรื่องอื่น โดยเฉพาะการทำมาหาเลี้ยงชีพ ปัญหานี้เรื้อรังมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท