ตอบข้อหารือเครื่องแบบปฏิบัติราชการและบัตรประจำตัวของพนักงานราชการ


ตอบข้อหารือเครื่องแบบปฏิบัติราชการและบัตรประจำตัวของพนักงานราชการ

ตอบข้อหารือเครื่องแบบปฏิบัติราชการและบัตรประจำตัวของพนักงานราชการ


เนื่องจากมีน้อง ๆ ที่เป็นพนักงานราชการ ได้ส่งไฟล์ในการตอบข้อหารือเครื่องแบบปฏิบัติราชการและบัตรประจำตัวของพนักงานราชการ ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งเรื่องการตอบข้อหารือ ฯ ที่ นร ๐๑๐๖/๒๑๓๗ ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕ มาให้กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ได้ทราบ แล้วนั้น

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติของส่วนราชการที่ถูกต้อง ผู้เขียนจึงขอนำเรื่องมาแจ้งให้กับพนักงานราชการทุกท่านได้ทราบและถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป...นี่คือ ช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงสำหรับปัญหาในการปฏิบัติงานของฝ่ายปฏิบัติที่จะต้องทราบถึงระเบียบ กฎหมายที่แท้จริง เพราะไม่เช่นนั้น ถ้าส่วนราชการใดออกระเบียบให้พนักงานราชการถือปฏิบัติแล้ว ถ้าถูกต้องก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าผิดระเบียบก็จะทำให้เกิดปัญหาต่อการแก้ไขระเบียบนั้น ๆ... สิ่งสำคัญ...คือ การเสียความรู้สึกและหมดศรัทธาในการเป็นผู้บริหารของส่วนราชการนั้น ๆ ตลอดจนการใส่ใจ + การดูแลเอาใจใส่พนักงานราชการ... เพราะการที่เราจะเข้าใจกฎหมายนั้น ๆ แล้ว ตัวเราต้องเข้าใจอย่างท่องแท้ จึงสามารถนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องได้...

เนื่องจาก ผู้เขียนเห็นว่า มีส่วนราชการบางส่วนที่น้อง ๆ พนักงานราชการแจ้งเข้ามาแล้วปฏิบัติไม่ถูกต้อง ไม่ได้เป็นไปตามที่หนังสือของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแจ้งมาให้ทราบด้านล่างนี้... โดยเฉพาะไม่สามารถนำอินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของเครื่องแบบปฏิบัติราชการของข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือเครื่องแบบปฏิบัติงานของลูกจ้างประจำไปใช้กับเครื่องแบบปกติในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการได้

ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ส่วนราชการสามารถกำหนดการแต่งกายและเครื่องแบบปกติในการปฏิบัติงานให้กับพนักงานราชการได้ ตามข้อ ๒๐ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย พนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่จักต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องแบบของข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งซึ่งมีกฎหมายรับรองสิทธิในการแต่งเครื่องแบบไว้...


ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้จากไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...


ตอบข้อหารือเครื่องแบบปฏิบัติราชการและบัตรประจำตัวของพนักงานราชการ

หมายเลขบันทึก: 490574เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เสียความรู้สึก + หมดความศรัทรา ตรงนี้สำตัญมากๆ ค่

  • ค่ะ คุณ Somsri Blank
  • ความรู้สึก กับ ความศรัทธา เป็นสิ่งที่อยู่ภายในใจของทุกคน การที่เราจะมีความรู้สึก + ศรัทธาที่ดีต่อคนอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราเสียความรู้สึกและศรัทธากับคนอื่นแล้ว เป็นสิ่งที่เรียกกลับมาได้ยาก เพราะมันจะไม่สามารถสร้างความเชื่อถือให้กลับมาดีเช่นเดิมได้เลย เสมือนแก้วที่ร้าวแล้ว ยากต่อการที่จะประสานให้สนิทได้เช่นเดิมค่ะ
  • การเป็นผู้บริหารก็เช่นกัน ยิ่งต้องระวังให้มาก ๆ เพราะยิ่งสมัยนี้ด้วยแล้ว ข่าวสารเร็วมาก เพราะเป็นโลกแห่งการสื่อสาร พวกพนักงานราชการสามารถที่จะเรียนรู้ได้จากทาง Internet เพราะโลกยุคนี้เป็นโลกของพวกเขาจริง ๆ ผิดกับข้าราชการ (บางคน) ที่ไม่ไขว่คว้าในโลก IT แต่พอเมื่อรู้แล้วกลับนิ่งไม่ยอมบอกพวกน้อง ๆ ทำให้เข้าใจแบบไม่ถูกต้อง เลยทำให้สังคมวุ่นวาย ทำให้พวกเขาเข้าใจไปในทางที่ไม่ถูกต้องไปด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท