วาระแห่งชาติ: เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


สวัสดีครับชาว Blog

เมื่อวานนี้ (วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2555) ผมได้รับเกียรติจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์ มอบหมายให้ TMA -สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เชิญให้ไปร่วมอภิปรายในงานสัมมนา “วาระแห่งชาติ: เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ในเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน” ณ ห้อง Plennary Hall 2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งานนี้มีผู้เข้าสัมมนาจากทั่วประเทศมาร่วมงานกว่า 1,000 คน

ผมดีใจที่เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้เป็นวาระแห่งชาติ และได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน และจะเกิดผลดีมากยิ่งขึ้นถ้าคนไทยมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมที่จะสร้างโอกาสและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีอาเซียน หรือ การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทยในปี 2015 ที่กำลังจะมาถึงในเวลาอันใกล้นี้

ข้อมูลและสาระสำคัญของการสัมมนาในครั้งนี้ส่วนหนึ่งได้รวบรวมไว้ใน Blog นี้แล้ว

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 490958เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สรุปสาระสำคัญ

การเสวนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 และ ผลกระทบต่อธุรกิจของประเทศ

โดย

คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล

ประธานหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล

เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ดำเนินการเสวนาโดย

ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

CMO DC Consultants & Marketing Communications

................................................................................

มุมมองเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 และ ผลกระทบต่อธุรกิจของประเทศ

ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล

เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย

-          เรื่อง AEC ในภาคการเงินการธนาคารวันนี้ภาพยังไม่ชัด และหากจะเปิดเสรีก็ควรจะต้องมีการคัดคุณภาพ คือ ธนาคารที่จะเข้าไปตั้งในประเทศอื่นจะต้องเป็นธนาคารที่มีคุณภาพมากพอ (Qualified Bank)

-          เรื่องการเงินการธนาคารนั้นไม่เปิดเสรีก็คงไม่ได้ แต่ถ้าเสรีมากเกินไปจะมีปัญหามาก ดังนั้น ควรรออีก 2 – 3 ปีจาก 2015 ถึงจะมีความปลอดภัยมากขึ้น

-          ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สังคมต้องให้ความสนใจในการเปิดเสรีในครั้งนี้

-          ยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในระยะกลาง เห็นว่า ควรมองธุรกิจระดับกลาง เพราะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้น ภาครัฐต้องให้การส่งเสริม สนับสนุนอย่างเต็มที่ จริงจัง และยุทธวิธีแบบ Cluster น่าจะช่วยได้มาก

-          อุตสาหกรรมก่อสร้างในวันนี้ถือว่ามีศักยภาพที่จะสร้างโอกาสจาก AEC

-          และสำหรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในระยะยาว คือ

  • การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาซึ่งวันนี้ก็ยังทำไม่ได้ผลเท่าที่ควร และถ้าเราไม่พัฒนาคนเราจะเป็นผู้เสียเปรียบ
  • ในอนาคตคนไทย ธุรกิจไทยต้องสร้าง Value added ของตัวเอง เลิกเป็นแค่ผู้รับจ้างให้แก่บริษัทข้ามชาติ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

-          การทำงานในยุคต่อไปจะต้องเป็นการผนึกกำลังกัน มองทั้งโอกาสและการคุกคาม

-          ปัญหาที่ต้องระวัง คือ ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น และผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำ

-          การเปิดเสรีอาเซียน ต้องมอง 3 เสาหลัก คือ

(1)       ความมั่นคง การเมือง

(2)       เศรษฐกิจ การลงทุน

(3)       สังคมและวัฒนธรรม

-          เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำ คือ การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคนไทย และระบบการศึกษาของประเทศไทยควรจะต้องได้รับการพัฒนา

-          การเปิดเสรีอาเซียนครั้งนี้เป็นเหมือนกระจกบานใหญ่ให้เรามองเห็นตัวเอง

-          หลังจากฟังการสัมมนาในวันนี้ เก็บเกี่ยวสิ่งที่เป็น “Wisdom” ไปขยายผลต่อสู่การปฏิบัติและขยายวงให้กว้างและทั่วถึงทุกจุดของสังคมไทย

-          ข้อดีของการเปิดเสรีอาเซียนวันนี้ คือ เป็นแรงกดดันให้มาตรฐานการศึกษาของประเทศไทยดีขึ้น

-          ประเทศไทยควรจะใช้โอกาสของการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้กดดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทยด้วย

-          การเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้ สิ่งที่คนไทยจะต้องทำคือ

(1)       มีพลังที่จะเอาชนะอุปสรรคในอนาคต

(2)       สร้างจิตวิญญาณของคนไทย ความเป็นไทย

(3)        ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม

(4)       พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

-          2 ปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่สำคัญในวันนี้ (ซึ่งบางครั้งก็เป็นอุปสรรคที่สำคัญด้วย) คือ การเมืองและข้าราชการ ที่ควรจะต้องมองประโยชน์ระยะยาวของประเทศ

คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล

ประธานหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

-          เพื่อก้าวสู่ AEC 2015 – วันนี้ธุรกิจไทย/คนไทยจะต้อง

(1)       ค้นหาตัวเอง – จุดอ่อน จุดแข็งของเราอยู่ตรงไหน?

(2)       รู้เขา – รู้เรา

(3)       ปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง

-          ธุรกิจขนาดกลางต้องระมัดระวังความเสี่ยง พยายามลดต้นทุน รัฐบาลควรส่งเสริม สนับสนุน และประคับประคองให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโต แข่งขันได้ ขยายตลาดสู่อาเซียนได้ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กการขยายตลาดไปสู่อาเซียนอาจจะทำได้ยาก

ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล

เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย

-          วันนี้ธุรกิจขนาดกลางของไทยไปทำตลาดในอาเซียนกันแล้วจำนวนมาก ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การมองธุรกิจให้เป็นยุทธศาสตร์และศึกษาให้รอบคอบ เช่น การไปตั้งรกรากในประเทศนั้น ๆ เลยจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็ไม่ง่ายนักเพราะจะต้องศึกษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม กฏหมาย ฯลฯ ให้ดี นี่คือสิ่งที่ทำให้คนไทยจะต้องเป็นคนใฝ่รู้

-          อุตสาหกรรม – อยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นตลอดเวลา การขยายไปสู่ต่างประเทศช่วยให้เราหูตากว้างขึ้น ดังนั้น การลงทุนในต่างประเทศทำให้เราได้เรียนรู้ แต่เราต้องมีความพยายาม

-          ประชาคมอาเซียนไม่ใช่แค่เรื่องการค้าแต่เป็นเรื่องของการดึงทุน

-          อีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องระมัดระวัง คือ สินทรัพย์ หรือ สินค้าที่มีพิษ เช่น ที่ประเทศในยุโรปกำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น เราต้องหาความรู้ และเข้าใจ เกี่ยวกับ Product ใหม่ ๆ โดยเฉพาะทางด้านการเงินการธนาคาร คนไทยจึงควรศึกษาบทเรียนจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

-          ความรู้ของคนไทยเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในวันนี้นับว่าน้อยมาก

-          คนไทยเน้นปริญญาแต่เน้นมีปัญญา

-          สังคมไทยต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ซึ่งมาจากวัฒนธรรมของตัวเราเอง คือ จุดเริ่มต้น

-          เราต้องเรียนรู้ความหลากหลาย (Diversity) และจัดการกับมันให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น 1) เชื้อชาติ 2) วัฒนธรรม 3) ประเทศต่าง ๆ

-          วันนี้เราต้องพยายามให้คนไทยมองในมุมกว้าง

-          จุดแข็งของคนไทย ของประเทศไทย คือ

(1)       ความเป็นไทย (Thainess)

(2)       ทุนทางวัฒนธรรม

       การมองในสิ่งที่มองไม่เห็น (Invisibles) เป็นเรื่องที่สำคัญ

-          อาเซียนเสรีกับความสำเร็จของประเทศไทย คือ การวางแผนระยะยาว

(1)       ต้องเร่งสร้างคนไทยให้มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (จากความจริง)

(2)       ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ เรื่องการกีฬา เป็นเรื่องที่สามารถสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศไทยได้มาก เพราะฉะนั้น คนไทยต้องคิด ต้องแสวงหา Sector ใหม่ ๆ การเปิดเสรีอาเซียนครั้งนี้ทำให้คนไทยต้อง “ค้นหา” โอกาส แต่จะสามารถค้นหาได้เราต้องเป็นคนที่คิดเป็น มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม ฯลฯ

(3)       คนในในสังคมอาเซียนเสรี ต้อง

  • มองวัฒนธรรม
  • ความจงรักภักดี
  • การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ความสามัคคี
  • ฯลฯ

-          วาระแห่งชาติ คือ เอา WISDOM ที่เราคุยกันในวันนี้ ไปคิด ไปทำต่อ และกระจายความรู้ไปสู่สังคมในทุกระดับ ทุกภาคส่วน

ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล

เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย

-          คนไทยมีจุดแข็งหลายอย่าง แต่มีจุดอ่อน คือ

(1)       หลงตัวเอง

(2)       ชอบคิดว่าคนอื่นจะเหมือนเรา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

-          วาระแห่งชาติเรื่อง AEC วันนี้และก่อน 2015 คนไทยต้องคิดให้ดีว่าใครต้องทำอะไร? Stakeholders คือใคร?

-          การมีสถาบันทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติจะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยตอบโจทย์เรื่องคุณภาพของทุนมนุษย์รองรับการเจริญเติบโตและการแข่งขันของธุรกิจ  การเร่งสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นเรื่องที่ต้องเร่งทำ วันนี้รอเพียงกระทรวงศึกษาฯ หรือกระทรวงแรงงานเป็นคนทำคงไม่ทัน แต่ทั้ง 2 หน่วยงานก็ต้องเข้ามาร่วมกัน

-          Beyond 2015 การศึกษาของประเทศไทยจะต้องทำอะไรบ้าง

(1)       สร้างเด็กไทยให้คิดดี

(2)       สร้างเด็กไทยให้คิดเป็น

(3)       สร้างเด็กไทยให้ใฝ่รู้

-          สำหรับภาคธุรกิจ การพัฒนาทุนมนุษย์ขอแนะนำ 2 แนว

แนวแรก คือ

(1)       คุณธรรม

(2)       ปัญญา

(3)       มองไกล

      แนวที่สอง คือ เมื่อมีทั้ง 3 ข้อแรกแล้วจะต้องบวกมูลค่าเพิ่ม คือ เมื่อพื้นฐานดีแล้วต้องคิกนอกกรอบซึ่งจะต้องมี

(1)       ความคิดสร้างสรรค์

(2)       ความคิดเชิงนวัตกรรม

(3)       ทุนทางวัฒนธรรม

-          การมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะนำไปสู่ 5 เรื่องที่สำคัญของศักยภาพทางการแข่งขัน คือ

  1. Quality
  2. Standard
  3. Excellent
  4. Benchmark
  5. Best Practice

................................................................................

คำถามจากผู้ฟังในช่วงเช้า

  1. อยากทราบว่าหลังเปิด AEC 2015 คนไทยส่วนใหญ่จะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง

-          นายจ้างต้องผลักดันให้ลูกจ้างมีทักษะมากขึ้น  หากลูกจ้างมีความสามารถก็ควรสนับสนุนให้เขาขึ้นมาเป็นนายจ้าง

  1. ระบบแรงงานไทยส่วนมักจะด้อยคุณภาพ ทำไมนายจ้างจึงไม่จ่ายโบนัสเป็น Stock option เหมือนกับประเทศญี่ปุ่น

-          Stock option ไม่ได้ดีเสมอไป ข้อดี คือ เป็นการให้กำลังใจลูกจ้าง ข้อเสีย คือ ความสนใจในการทำงานจะเปลี่ยนไปเป็นการปั่นตัวเลขหุ้นให้สูงขึ้น เพื่อให้ได้กำไรจากหุ้น นานไปหากมีคนโกงก็ทำให้ธุรกิจล้ม แต่สิ่งที่แรงงานไทยควรปฏิบัติให้เหมือนญี่ปุ่นคือ การทำ Deming Cycle ซึ่งเป็นแนวคิด ของการพัฒนาคุณภาพงานขั้นพื้นฐาน และ ต้องมีการทำไคเซน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

  1. ทำอย่างไรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก จึงจะดำรงอยู่และสามารถต่อยอดธุรกิจใน AEC 2015 ได้

-          ควรมีหลักสูตรอบรม SME เพราะ SME มักจะไม่ค่อยมีการแยกบัญชีครอบครัวออกจากการเงิน การจัดอบรมควรจะเป็นวิธีการทำงบการเงิน  การดูRatio ต่างๆของการเงิน  และมีการ flow ของวัตถุดิบอย่างไร ทำอย่างไรเงินถึงจะไม่จม และสินค้าบางตัวที่ปล่อยออกได้ช้าควรจะมี inventory เท่าไหร่

-          ส่วนธุรกิจครอบครัว เป็นธุรกิจสมัยใหม่ ควรดึงคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมทุนด้วย จึงจะประสบผลสำเร็จ

-          SME ที่จะอยู่รอด และต่อยอดธุรกิจได้ จะต้องผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง และเลียนแบบได้ยาก

เรื่อง “ธุรกิจบริการไทย : เตรียมความพร้อมเพื่อเติบโต”

.ล. หทัยชนก กฤดากร กรรมการบริหาร Accor กรุ๊ป ธุรกิจท่องเที่ยว

                ประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่น จากความเป็นไทยด้วยการมีวัฒนธรรม ประเพณี อาหารไทยอันเลื่องชื่อ และเป็นที่นิยมสำหรับชาวต่างประเทศ อย่างเช่น Chicago มีร้านอาหารไทย 100 กว่าร้าน ซึ่งพูดได้ว่าอาหารไทยเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

            แต่ปัญหาของการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน คือ การขาด new tourism product  ซึ่งไม่มีอะไรใหม่ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง สิ่งที่สำคัญที่ต้องคิดและดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ ต้องหา product ใหม่ เพื่อตอบสนองกลุ่ม repeat customer เป็นวิธีที่จะสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี  

 

หากเปิด AEC ในปี 2015 สิ่งที่ประเทศไทยต้องปรับตัว มีอะไรบ้าง

            ควรมองเป็น 2 เรื่องใหญ่ ได้แก่ Investment กับ Manpower ซึ่งประเด็นในวันนี้ขอพูดถึงเรื่อง Manpower เป็นหลัก ประเทศที่มีศักยภาพต่ำกว่าประเทศไทย คือ ลาว พม่า และ กัมพูชา แต่ประเทศที่ควรน่าจับตามองในเรื่องของ Manpower คือ ประเทศฟิลิปปินส์ เพราะได้เรื่องของภาษา อันเนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นของสเปน และอเมริกา  ส่วนประเทศสิงคโปร์ ด้านภาษาอังกฤษก็แข็งกว่าประเทศไทย และถือได้ว่าคนของประเทศสิงคโปร์ เก่งกว่าประเทศไทยอยู่มาก

            หากมองด้านธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย ก็ถือว่ายังขาด Manpower อยู่มาก

            ต้องเน้นเรื่องภาษา ทัศนคติ และ บุคลิกภาพซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นกับบุคลากรของโรงแรม

            สรุปได้ว่า ในภาคธุรกิจท่องเที่ยวควรมี Manpower ให้สอดคล้องกับ Investment และควรพัฒนาศักยภาพของคน ด้วยการเน้นเรื่องภาษาสำหรับบุคลากรท่องเที่ยว

 

การเตรียมความพร้อมของการท่องเที่ยวต่อ AEC 2015

 

ทำอย่างไรประเทศไทยถึงจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นภายใน 3-5 ปี เริ่มต้นจากประเทศไทยควรเปิดกรอบความคิดของคนให้เข้าไปสู่ระดับรากหญ้า ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และเม็ดเงิน

กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นเรื่องของทุกคน ซึ่งแต่ละคนมีวิธีคิดเป็นของตัวเอง

ปัญหาสำคัญ คือ กระทรวงการท่องเที่ยวมีแต่ทฤษฎี แต่ขาดวิธีคิดที่จะเปลี่ยนเป็น Action Plan ควรมีการประชุมทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และที่สำคัญยังขาดมุมมองว่าต้องการอะไรในประเทศไทย

ประเทศมาเลเซีย ใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว คือ CEO ของบริษัทใหญ่ มาร่วมประชุม 360 องศา หรือ round table  เพื่อให้เกิด Action Plan ให้เกิดแผนการท่องเที่ยว เพื่อสร้าง tourism product

ประเทศเยอรมัน ประชุม round table เหมือนประเทศมาเลเซีย

Think Tank Group เป็นวิธีของสายการบิน การโรงแรม การท่องเที่ยว โดยประชุมแบบ Round Table ซึ่งไม่ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล  ให้ข้อมูลกับรัฐมนตรี และทำการ top down  เพื่อให้เกิดเป็น tourism product

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท