คบเพลิง กับงู
สมาคมลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ลูกจ้างสาธารณสุขทุกประเภท สิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย

ประชุมเชิงปฎิบัตการ


รพ.มหาราช

ดาวน์โหลดเข้าประชุมได้ืัที่นี้>>http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/812/607/original_doc13.doc

 

ขออภัยที่ไม่สามารถดาวน์โหลดได้

คำสำคัญ (Tags): #ประชุม
หมายเลขบันทึก: 491057เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยความคืบหน้าการแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรของสาธารณสุข โดยขอ ก.พ. บรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการพลเรือนกว่า 31,000 อัตรา ปลัดสธ. คาดรู้ผลขอ ก.พ.บรรจุลูกจ้างชั่วคราวกว่า 31,000 อัตราเป็นข้าราชการ ในเดือนสิงหาคมนี้

         ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยความคืบหน้าการแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรของสาธารณสุข โดยขอ ก.พ. บรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการพลเรือนกว่า 31,000 อัตรา ในจำนวนนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพกว่า 17,000 อัตรา คาดรู้ผลในเดือนสิงหาคม 2555 นี้ และจัดทำระเบียบพนักงานกระทรวงสาธารณสุข รองรับลูกจ้างชั่วคราว          ไว้เป็นทางเลือกที่มั่นคง เงินเดือนสูงกว่าราชการ 15 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกองทุนบำเหน็จฯ ดำรงชีพหลังเกษียณ

วันนี้ (12 มิถุนายน 2555) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมชัย นิจพานิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบตัวแทนพยาบาลวิชาชีพที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวของโรงพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศกว่า 500 คน ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี เพื่อชี้แจงแนวทางแก้ไขปัญหากำลังคนของกระทรวงฯและความคืบหน้าการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการพลเรือน

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวว่า ในการแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชน และจัดบริการด้านสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.บุคลากร 2.การจัดการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง และ3.การพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นปัญหาที่เร่งด่วนคือเรื่องบุคลากร ซึ่งเป็นกลไกหลักการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข มีหน่วยบริการสุขภาพครอบคลุมทุกพื้นที่กว่า 10,000 แห่ง ดูแลผู้ป่วย 24 ชั่วโมง มีบุคลากรทั้งหมด 340,000 คน แต่เป็นลูกจ้างชั่วคราวมากถึง 120,000 คน ส่วนใหญ่เป็นพยาบาลวิชาชีพ และมีความเสี่ยงการสูญเสียออกจากระบบตลอดเวลา อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งขณะนี้จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจาก 110 ล้านครั้ง เป็น 150 ล้านครั้งต่อปี

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาบุคลากรได้วางแผนไว้ 3 แนวทางประกอบด้วย 1.การขอบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่ทำหน้าที่ให้บริการรักษาพยาบาลให้เป็นข้าราชการพลเรือน ในปี 2555 นี้ จำนวน 31,914 อัตรา ในจำนวนนี้เป็นตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 17,000 อัตรา แนวทางที่ 2 คือ การจัดทำร่างระเบียบพนักงานกระทรวงสาธารณสุข บรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่เหลืออีกประมาณ 90,000 อัตรา ซึ่งจะได้รับเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ ประมาณ 15เปอร์เซ็นต์ มีสิทธิอบรมพัฒนาความรู้ความชำนาญในสายวิชาชีพ และมีกองทุนบำเหน็จบำนาญคล้าย กบข. เมื่อเกษียณอายุจะได้รับเงินกองทุนสำหรับดำรงชีพ ขณะนี้ร่างระเบียบเรียบร้อยแล้ว และแนวทางที่ 3 การออกจาก ก.พ. จากการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. แนวทางที่มีความเป็นไปสูง คือแนวทางที่ 1 และ 2 ซึ่งจะเดินควบคู่กัน

ทั้งนี้ ตำแหน่งที่ขอ ก.พ. จำนวน 31,914 ตำแหน่งนั้น ได้มอบให้นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะหารือกับ ก.พ. จะรู้ผลในเดือนสิงหาคม 2555 นี้ ในการบรรจุ หากได้พร้อมกันทั้งหมดตามจำนวนที่ขอไป ก็สามารถดำเนินการบรรจุได้ทันที แต่หากเป็นการทยอยบรรจุเป็นรายปีไม่พร้อมกัน ก็จะต้องจัดทำหลักเกณฑ์การบรรจุเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในกลุ่มของพยาบาลวิชาชีพจะพิจารณาตามปีที่จบการศึกษา และปีที่เริ่มทำงานในสถานบริการสาธารณสุข ไม่เกี่ยวกับโควตาของโรงพยาบาล ************************************ 12 มิถุนายน 2555 (ขอบคุณ ข้อมูลจากคุณ รัฐวุฒิ สุริยะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาล มหาสารคาม)

ครม.ขอเพิ่มอัตราข้าราชการใหม่ ตั้งแต่ปี 2555-2560 รวมกว่า 76,900 อัตรา เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวงานบริการสาธารณสุข “วิทยา” ยาหอมกลุ่มตัวแทนพยาบาลวิชาชีพ หลังยื่นหนังสือขอบรรจุเป็นข้าราชการ เล็งเสนอ ครม.ขอเพิ่มอัตราข้าราชการใหม่ ตั้งแต่ปี 2555-2560 รวมกว่า 76,900 อัตรา เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวงานบริการสาธารณสุข พร้อมขอปรับเพิ่มค่าครองชีพให้ด้วย

วันนี้ (19 มิ.ย.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นายแพทย์ โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี รับมอบหนังสือการขอบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนของกลุ่มตัวแทนพยาบาลวิชาชีพ ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 25 คน ที่โรงแรมรอยัลคลิป บีช พัทยา ในการประชุม ครม.สัญจร ในขณะที่พยาบาลวิชาชีพอีก 2,000 คน รวมตัวกันทำเนียบรัฐบาลเพื่อยืนหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน นายวิทยา ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขาดแคลนกำลังคนของกระทรวงสาธารณสุข ว่า ขณะนี้สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขกังวลที่สุด และให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ก็คือ เรื่องกำลังคนในระบบ ซึ่งมีบุคลากรสายวิชาชีพ 4 สาขาหลัก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และสายสนับสนุนรวมทั้งหมด 21 สายงาน ปฏิบัติงานในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศมากถึง 129,458 คน ไม่สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้ เนื่องจากมติของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ หรือ คปร.ทำให้กระทบต่องานบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขเป็นอันมาก และแนวโน้มการสูญเสียกำลังคนกลุ่มนี้เป็นไปได้สูง ผลการวิจัยของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศพบตัวอย่างชัดเจนว่า ลูกจ้างชั่วคราวที่เป็นพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 49 จะลาออกปีแรกที่เริ่มทำงาน และลาออกต่อไปอีกร้อยละ 26 ในปีที่ 2 และแทบจะไม่เหลือเลยหลังปีที่ 5 เพราะขาดความมั่นคง โดยเฉพาะพื้นที่ทุรกันดารจะมีการลาออกอย่างรุนแรง เช่น น่าน ซึ่งสวนทางกับจำนวนความต้องการการบริการสุขภาพของสายงานที่มีเพิ่มขึ้น หากยังปล่อยสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่องานบริการผู้เจ็บป่วยแน่นอน เพราะงานบริการคนป่วยเป็นงานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงาน บวกด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ ใช้เทคโนโลยีทดแทนไม่ได้ นายวิทยา กล่าวต่อว่า แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวง สาธารณสุขจะได้นำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติการแก้ปัญหาขาดแคลนกำลังคนของกระทรวง 2 เรื่อง ได้แก่ 1.การขอกรอบอัตราข้าราชการใหม่ และ 2.การขอปรับเพิ่มค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างชั่วคราวจากฐานค่าจ้างเดิมทุก ตำแหน่ง สำหรับการขอกรอบอัตราข้าราชการใหม่จะเน้นทั้งระบบทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะ ยาว โดยระยะเร่งด่วนขอให้เพิ่มตำแหน่งข้าราชการให้กระทรวง เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างปฎิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2549-2555 และขอกำหนดกรอบอัตรากำลังคนเป็นรายปี รวมในอีก 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2556-2560 ดังนี้ 1.ในปี งบประมาณ 2555 เสนอขอเพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่จบการศึกษาตั้งแต่ปี 2549-2550 จำนวน 7,521 อัตรา ใช้งบประมาณจำนวน 1,202,445,720 บาท 2.ในปีงบประมาณ 2556 เสนอขอ 10,030 อัตรา บรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่จบการศึกษาปี 2551-2552 ใช้เงิน 1,633,844,160 บาท 3.ในปีงบประมาณ 2557 เสนอขอ 9,276 อัตรา บรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่จบการศึกษาในปี 2553-2554 ใช้งบประมาณ 1,475,292,960 บาท 4.ในปีงบประมาณ 2558 เสนอขอ 14,093 อัตรา บรรจุลูกจ้างชั่วคราวที่จบการศึกษาปี 2555-2556 5. ปีงบประมาณ 2559 เสนอขอ 18,024 อัตรา บรรจุผู้ที่จบการศึกษาในปี 2557-2558 6. ปีงบประมาณ 2560 เสนอขอ 18,024 อัตรา บรรจุผู้ที่จบการศึกษาในปี 2559-2560 ทั้งนี้ ในการบรรจุพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งเป็นสายงานที่จำเป็นต่อบริการสุขภาพ และค้างบรรจุมากที่สุดจำนวน 31,914 อัตรา จะใช้ 3 หลักเกณฑ์ โดยจะพิจารณาจากปีที่เริ่มจ้าง จากพื้นที่ทุรกันดาร และจากผลการปฏิบัติงาน นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า สำหรับการปรับเงินช่วยค่าครอง ชีพให้แก่ลูกจ้างชั่วคราวทุกตำแหน่ง ซึ่งใช้เงินบำรุงของแต่ละสถานพยาบาล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจะขอปรับเพิ่มในอัตรา 700 บาท เช่น เภสัชกร ค่าจ้างเมื่อแรกบรรจุ 11,030 บาท จะได้รับเป็น 11,730 บาท รวมทั้ง 21 สายงาน ต้องใช้เงินเพิ่มเดือนละ 90,620,600 บาท ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2555 รวม 9 เดือน เป็นเงิน 815,585,400 บาท ทั้งนี้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่ที่ทำงานด้วยความเสียสละ เพื่อประชาชน

จาก www.manager.co.th

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้พยาบาล www.gotunurse.com

(ขอบคุณ ข้อมูลจากคุณ ณัฐวุฒิ สุริยะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาล มหาสารคาม)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท