หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 1


สวัสดีครับชาวบล็อคทุกท่าน

เช้าวันนี้ 14 มิถุนายน 2555 เป็นวันเปิดหลักสูตรวันแรกของโครงการ การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 1 ซึ่งจะเรียนกันทุกวันพฤหัส ศุกร์ เสาร์ ตั้งแต่วันที่ 14-30 มิถุนายน 2555

 

ติดตามความคืบหน้า ร่วมแสดงความคิดเห็น และชมภาพบรรยากาศได้ในบลอคนี้ครับ 

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

ภาพบรรยากาศวันที่ 14 มิถุนายน 2555

 

 อาจารย์ประกาย ชลหาญ

วันที่ 15 มิถุนายน 2555

     

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และคุณกิตติ เพ็ชรสันทัด กรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ภาพวันที่ 16 มิถุนายน 2555

ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คุณอรุณี พูลแก้ว จากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์   คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล และอาจารย์ทำนอง ดาศรี

ภาพบรรยากาศวันที่ 21 มิถุนายน 2555

ภาพวันที่ 28 มิถุนายน 2555

หมายเลขบันทึก: 491135เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (324)

วิสัยทัศน์การเคหะในประเทศต่างๆอยู่ในลิ้งค์นี้

ประเทศสิงคโปร์

http://www.hdb.gov.sg/fi10/fi10320p.nsf/w/AboutUsVisionMission?OpenDocument

เขตปกครองพิเศษฮ่องกง

http://www.housingauthority.gov.hk/en/about-us/housing-authority/corporate-vision/index.html

ประเทศฟิลิปปินส์

http://www.nha.gov.ph/articles/mission_vision.html

 

ผลการวิเคราะห์ผู้นำแต่ละรุ่นของ กฟผ.

ใช้ทฤษฏีผู้นำ 5 รุ่น ของจีนเป็นแบบอย่างวิเคราะห์ว่า

1. ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย

2. ท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า..

ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

3. ผู้นำรุ่นใหม่ของกฟผ. ใน 10ปีข้างหน้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

โดยเน้น 4 คุณลักษณะ คือ

  • § Character – ความเป็นตัวตน
  • § Skill – ทักษะที่จำเป็น
  • § Process – ขบวนการผู้นำ
  • § Value – คุณค่าของการเป็นผู้นำ

4.เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

กลุ่ม 2

ใช้ทฤษฏีผู้นำ 5 รุ่น ของจีนเป็นแบบอย่างวิเคราะห์ว่า

1. ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย

น่าจะมี 4 ยุค คือ 1. ยุคแรก ยุคบุกเบิก เริ่มจากพลังงานมีไม่พอ ตั้งแต่ท่านผู้ว่าฯ เกษม พอลงทุนมาก ๆ รัฐบาลเริ่มอึดอัด กู้เงินจากWorld Bank มา ยุคที่ 2. ให้เอกชนเริ่มเข้ามาลงทุนมากขึ้น รุ่นคุณสมบูรณ์ ยุคที่ 3 ยุคแปรรูป เริ่มขายเข้าตลาด ยุคผู้ว่าฯ สิทธิพร ผู้ว่าฯไกรสีห์ ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน ยุคคุณสมบัติถึงผู้ว่าฯปัจจุบัน ยุคความอยู่รอด หาแหล่งผลิตและเพิ่มการเจริญเติบโต

2. ท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า..

ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

ปัจจัยลบ ทำไม่ค่อยต่อเนื่องขาดการปะติดปะต่อ

โอกาสเนื่องจากมีการเกษียณ ดังนั้นคนห้องนี้มีโอกาสท้าทาย

3. ผู้นำรุ่นใหม่ของกฟผ. ใน 10ปีข้างหน้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

1. ความเป็นตัวตนคือ เป็นคนดี มีคุณธรรรม ใฝ่เรียนรู้ อ่อนน้อมถ่อมตน

2. ทักษะที่จำเป็น มีทักษะเรื่องปรานีปรานอม ภาษา วัฒนธรรม และบริหารความหลากหลาย การเรียนรู้ ต่าง ๆ แม้กระทั่งกลไก NGO

3. ขบวนการผู้นำ อบรมพัฒนาให้สอดคล้อง ให้มีการผ่านงานหลาย ๆ ด้านให้เพียงพอ

อาจารย์จีระ ให้คิดเรื่องทุนมนุษย์อย่างน้อย 40 %อยากให้ผู้นำในห้องนี้เอาจริงเรื่องคน และถึงเวลาที่ต้องปฏิรูป HR Department

4. คุณค่าความเป็นผู้นำต้องได้รับทั้งภายในและภายนอก

อาจารย์จีระ อยากให้มี Social Trust มากขึ้น

4.เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เริ่มที่กลุ่มเป้าหมายแล้วพัฒนาให้ต่อเนื่อง มีการติดตามประเมินผลต่อเนื่อง มีคณะกรรมการกลางทำการคัดกรองอีกทีหนึ่ง

อาจารย์จีระบอกว่าอยากให้ผู้นำในห้องนี้วางแนวไว้ แล้วมีการประคับประคองให้ได้

กลุ่ม 3

ใช้ทฤษฏีผู้นำ 5 รุ่น ของจีนเป็นแบบอย่างวิเคราะห์ว่า

1. ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย

ยุค 1 ยุคกู้เงินมาลงทุน

ยุค 2 ลดเพดานหนี้

ยุค 3 ระดมทุน และลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แปรรูปจากตลาดหลักทรัพย์

ยุค 4 การสร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง เป็นการนำรายได้มาขาย

2. ท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า..

ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

+ คือ ความเชี่ยวชาญทาง Operation สูง วัฒนธรรมสูง

- คือ บุคลากรมีความต่อเนื่องของผู้นำลดลง

โอกาส มี EGAT Inter เกิด AEC 2015 มีทีมงานที่เข้มแข็งมาก

อุปสรรค คือการเมืองการประท้วง กฏหมายมาคุมมากขึ้น ทั้งสายส่ง การค้า ความปลอดภัย

3. ผู้นำรุ่นใหม่ของกฟผ. ใน 10ปีข้างหน้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

โดยเน้น 4 คุณลักษณะ คือ

  • § Character – ความเป็นตัวตน กล้าตัดสินใจว่าจะเป็นอย่างไร มีความเป็นผู้นำสูง มี Connector กับการเมือง วิสัยทัศน์กว้าง มีคุณธรรม
  • § Skill – ทักษะที่จำเป็น พื้นฐานด้านวิศวะ แล้วเติมเต็มด้านการเงิน การบริหาร CSR
  • § Process – ขบวนการผู้นำ Networking ทั้งหลายที่ต้องมี ทุกคนต้องยอมรับทั้งภายใน ภายนอก ต่างประเทศ การยอมรับในประชาคมโลก
  • § Value – คุณค่าของการเป็นผู้นำ ไม่มีเงินทุกอย่างก็ไปไม่ได้ ดังนั้นงบต้องมา

4.เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เริ่มตั้งแต่ระบบการสรรหาคนเข้ามา พัฒนาต่อยอดในการเรียนรู้ ให้สิ่งจำเป็นสำหรับเขาจริง ๆ ไม่มั่ว กลุ่มที่จะให้เรียนรู้ในภาพกว้าง ต้องไป ให้โอกาสรุ่นใหม่ มีการทำFast Track มีโควต้าในอนาคตบนพื้นฐานที่พัฒนา การสร้าง Career Pathในอนาคต ผู้นำ ผู้บริหารมาทำแผนเอง

(ดร.จีระ เสนอว่าขาด Execution)

กลุ่ม 4

ใช้ทฤษฏีผู้นำ 5 รุ่น ของจีนเป็นแบบอย่างวิเคราะห์ว่า

1. ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย

ยุคที่ 1 ยุคบุกเบิก สร้างกฏเกณฑ์มีกฏเกณฑ์มากขึ้น

ยุค 2 ขยายกำลังการผลิต เร่งสร้างโรงไฟฟ้า

ยุค 3 วิกฤตนโยบาย รัฐให้เอกชนร่วมลงทุน

ยุค 4 รุ่นปรับสมดุล ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. ท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า..

ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

- โอกาส มีโอกาสไปลงทุนต่างประเทศ เช่นพม่า ลาว แต่น่าจะทำมานานแล้ว , มีทรัพยากรบุคคล มีความรู้ เช่น OM กฟผ.เก่งมาก บริษัทเอกชนคงสู้ไม่ได้

- อุปสรรค คือ ขยายกำลังการผลิตลำบาก เผชิญกับการต่อต้านของมวลชน ,ถูกลดบทบาทของกิจการพลังงาน ต้องรักษากำลังผลิตให้ได้ 15%

3. ผู้นำรุ่นใหม่ของกฟผ. ใน 10ปีข้างหน้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

โดยเน้น 4 คุณลักษณะ คือ

  • § Character – มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส มีคุณธรรม
  • § Skill – ประสานกับผลประโยชน์ชาวบ้าน
  • § Process – มีวิสัยทัศน์ในการคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้ดี
  • § Value – เป็นตัวอย่างที่ดีเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กร

4.เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

แนวคิดในการสร้างผู้นำ ต้องมี Succession Plan อย่างใน กฟผ.ลำบากเนื่องจากมีระบบ Senior เข้ามา ต้องหาดาวรุ่งโดยให้โอกาสดาวรุ่งไม่สนใจ Seniority มากมาย

กลุ่ม 1

ใช้ทฤษฏีผู้นำ 5 รุ่น ของจีนเป็นแบบอย่างวิเคราะห์ว่า

1. ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย

ยุค 1 มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากมายไม่พอ

ยุค 2 การพัฒนาตามแผนการผลิตไฟฟ้า รุ่นผู้ว่าฯ สมบูรณ์

ยุค 3 ปัญหาการเงิน การก่อหนี้เริ่มมีปัญหา การแปรรูปกฟผ. ผู้ว่าฯ วีรวัฒน์ และผู้ว่าไกรสีห์

ยุค 4 ปัญหาเรื่องชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าสมบัติ และสุทัศน์

2. ท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า..

ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

- บวกคือ ด้านรายได้ มีเงินทุนเหลืออยู่ มีบุคลากรมีประสิทธิภาพ

- ลบ การขยายตัวลำบาก มี Tax 50%

- โอกาส คือการลงทุนตลาดเปิดกว้าง ขยายเพียงพอ

- อุปสรรค คือ การต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้ามาก กรอบความคิดของคนรุ่นเก่าในกฟผ.ยึดติดกรอบเดิมอยู่ แนวการทำธุรกิจมีความขัดแย้งในตัวเอง ธุรกิจเดินรูปแบบไหนไม่มีความชัดเจน

3. ผู้นำรุ่นใหม่ของกฟผ. ใน 10ปีข้างหน้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

โดยเน้น 4 คุณลักษณะ คือ

- Character – รอบรู้กว้างขวาง กล้าตัดสินใจ

- Skill – บริหารการเปลี่ยนแปลง ความรู้ในการเจรจาต่อรอง

- Process – มีวิสัยทัศน์ และมีความคิดอย่างเป็นระบบ มีแนวคิดเรื่องการบริหารความเสี่ยงตลอดเวลา

- Value – สร้างศรัทธาให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีความเชื่อมั่น ซื่อสัตย์ ยุติธรรม

4.เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สร้างผู้นำ เน้นเรื่อง Job Rotationให้มีการผ่านงานหลายด้านเพื่อการทำงานในอนาคต

กลุ่ม 5

ใช้ทฤษฏีผู้นำ 5 รุ่น ของจีนเป็นแบบอย่างวิเคราะห์ว่า

1. ผู้ว่าการ ของ กฟผ.ที่ผ่านมาจะแบ่งเป็นกี่รุ่น?เหตุผลในการแบ่งคืออะไร? อธิบาย

ยุค 1 ผู้ว่าเกษมฯ มองว่าท่านให้ความสำคัญทุกคน

ยุค 2 รุ่นเปลี่ยนแปลง เหมือนกัน

ยุค 3 สังคมและความอยู่รอดของกฟผ. ผู้ว่าไกรสีห์ สร้างความเข้มแข็งให้ได้ 50% อย่างไร ในประเทศไทยจะทำอย่างไร

ยุค 4 นโยบายเร่งด่วนเรื่อง CSRสร้างองค์กรให้เป็นที่ยอมรับต่อชุมชน ผู้นำถอดแบบผู้ว่าฯ 11 ท่าน

2. ท่านกำลังจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่ใน 10 ปีข้างหน้า..

ปัจจัยที่เป็นทั้ง + และ – ทั้งโอกาสและอุปสรรค คืออะไร?

ผู้นำรุ่นใหม่ ใน 10 ปีข้างหน้า เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

ปัจจัยบวก คือมีการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทำในบทบาทไหนทำบทบาทนั้น

องค์กรมีการเปลี่ยนแปลง

ปัญหาอุปสรรค คือเรื่อง Mindset Attitude จากองค์กรภายใน

3. ผู้นำรุ่นใหม่ของกฟผ. ใน 10ปีข้างหน้าต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

โดยเน้น 4 คุณลักษณะ คือ

- ผู้นำรุ่นใหม่มีคุณสมบัติอย่างไร อ่อนนอก แข็งใน มีความเข้มแข็งทางวิชาการ คน สังคม

- ทักษะที่จำเป็น ภาษากาย ใจ สื่อสาร ความหลากหลาย

- ขบวนการ มองการณ์ไกล มีวิสัยทัศน์ มี Role Model จากผู้ว่าฯ เปรียบเทียมกับองค์กรอื่นเช่น ปตท.

- Value ความศรัทธา สร้างผู้นำ และถ่ายทอดเป็นสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง

4.เสนอแนวคิดที่เป็นรูปธรรมว่าจะสร้างผู้นำในอนาคตของกฟผ.ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ทุนของทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างหรือ Career Path ทำอย่างไรให้มีทีมเวอร์ก เป็นผู้ตามที่ดี มีเรื่องชุมชนสังคม สิ่งแวดล้อม CSR in Process และ CSR after Process

• ดร.จีระ เสนอว่าสิ่งที่ผู้นำต้องมีคือ เอาชนะอุปสรรค ความเจ็บปวด ไม่ท้อถอยต่อปัญหา มีความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคในหลาย ๆ เรื่อง

ที่มา: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481480/comments?page=1

 

Learning Forum & Workshop ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้นำ

  • เน้นที่คน
  • Trust
  • ระยะยาว
  • What , Why
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • เน้นนวัตกรรม
  • Change การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงต้องใส่เข้าไปในวัฒนธรรมองค์กร
  • ผู้นำต้องรู้สภาพแวดล้อมของตนเอง รู้ให้จริงแล้วฉกฉวยโอกาส
  • ผู้นำต้องมี Networking
  • Trust
    • Self Trust ตัวเราเองต้องภูมิใจในตนเอง ไม่ว่าสถานการณ์ภายนอกจะเป็นอย่างไร เราสร้างบ้านที่มีคุณภาพก็ได้
    • Relationship Trust ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในองค์กร
    • Organization Trust ต้องเป็นองค์กรที่คนยอมรับ มององค์กรเราดี เป็นหน่วยงานด้านความรู้ (เรื่องบ้าน)
    • Social Trust สังคมยอมรับ
    • ต้องมี Methodology ในการกำหนดวิสัยทัศน์
    • ต้องคิดลึกและไกลกว่าตำแหน่งของคุณ
    • ผู้นำต้องสอนคนอื่นด้วย

คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”

1. ผู้นำต้องมีความรู้

2. ผู้นำต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ

3. ผู้นำต้องสร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

4. ผู้นำต้องรู้จักมอบหมายงาน

5. ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ

6. ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม

7. ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

กรณีศึกษาผู้นำจีน 5 รุ่นประยุกต์กับการเคหะฯ

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976)

  • เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ
  •  รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก
  •  ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมาก
  • ต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่น   
    • ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคล

เศรษฐกิจ คือ รัฐเป็นคนกำหนด

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992)  

คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

  • เป็นช่วงที่การเมืองนิ่งแล้ว แต่ระบบเศรษฐกิจแบบรัฐเป็นผู้กำหนด จะไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชาติได้ เพราะประชากรมาก – คาดหวังสูง จึงต้องมีเติ้งเสี่ยวผิงมาเป็นผู้นำ
  • เน้นทฤษฎีไปสู่ Practical เป็นผู้ที่พูดว่า “แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูเป็น” คือ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ นำเอาทุนนิยมเข้ามา – เชิญต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้จีนขยายตัวทางเศรษฐกิจเร็ว เพราะคนจีนขยันและเคยทำการค้ามาก่อน วันนี้จีนเติบโตมากกลายเป็นมหาอำนาจ

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003)  

คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

  • เป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก
  • เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก
  • จัดประชุม APEC 2003 ในจีน
  • นำจีนเข้า WTO
  • เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้น
  • ส่งความช่วยเหลือไป Africaและประเทศด้อยพัฒนา

รุ่นที่ 4 (2003 – 2013) 

  • คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)
  • เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ
  • แต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ

รุ่นที่ 5 (2013 – 2023) 

  • คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)
  • ผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน

ช่วงสรุป

ลาวัณย์ มณีสุธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายการบัญชี การเคหะแห่งชาติ

  • วันนี้ได้ความรู้เพิ่ม
  • ความเป็นผู้จัดการเรามีแล้ว เห็นความแตกต่างระหว่างผู้จัดการกับผู้นำ และทราบการฝึกฝนเป็นผู้นำ

Workshop

กลุ่ม 1

  • ผู้นำการเคหะ
  • รุ่น 1 จัดตั้งการเคหะ ปี 2516-2530
  • ผู้ว่าช่วงแรกได้แก่ ท่านวทัญญู ประสิทธิ์ อร่าม ดำรง ยุทธศักดิ์ สุเชษฐ์
  • ผู้ว่าช่วงแรกมากการเมือง ประสิทธิ์จากพรรคพลังใหม่ ต่อมาท่านดำรงมาจากประชาธิปัตย์
  • ลอกแบบมาจากสิงคโปร์ ทุบสลัมสร้างแฟลต
  • รุ่น 2 Social trust 2531-2545
  • สมัยผู้ว่า รตยา ปราศรัย ปรีดิ์ สมพงษ์ พิชัย สุกรี
  • มีการกันนักการเมืองออก
  • มีปรับปรุงคุณภาพชุมชน ทำ credit union
    • รุ่น 3 สร้างบ้านเอื้ออาทร 2545-2549
    • สร้างมากที่สุด
    • ยุคผู้ว่า ชวนพิศ และพรศักดิ์
      • รุ่น 4 พลิกฟื้นองค์กร ตั้งแต่ปี 50 เป็นต้นมา
      • ยุคผู้ว่าสุชาติ วิฑูรย์
      • เน้นชุมชนเข้มแข็ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เราจะเห็นวิวัฒนาการแต่แรก
  • ยุค 2 น่าจะรุ่งเรือง
  • ตนเองเข้มแข็งแล้ว องค์กรก็จะได้ประโยชน์

 

 

 

กลุ่ม 2

ปัจจัยบวกภาวะผู้นำ

ปัจจัยลบภาวะผู้นำ

การมีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกจะส่งเสริมให้ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้าง

การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม

บุคลากรต้องรู้เรื่ององค์กรให้มากขึ้น

การขาดการเรียนรู้เชิงสังคม   เศรษฐกิจและการเมือง

IT การเปลี่ยนแปลง

 

 

โอกาส

อุปสรรค

เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่แสดงความสามารถ

ต้องเพิ่มพันธมิตร เช่น สำนักงบประมาณ   และกระทรวงการคลัง

คนรุ่นเก่าสกัดกั้นคนรุ่นใหม่

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ต้องเชิญสำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังมาเรียนด้วย
  • หนังสือ Outline บอกว่า คนยุคปัจจุบันต้องมีศักยภาพคือใฝ่รู้
  • ต้องมี Network
  • มีความต่อเนื่อง
  • มีจังหวะเวลาที่เหมาะสม
  • ในอนาคต ต้องนำปัจจัยบวกมาช่วยและลดปัจจัยลบ
  • ต้องมีเครื่องมือปกป้องเรา
  • ต้องเข้าใจการเมือง ถ้าเรามีความรู้ การเมืองต้องมาพึ่งเรา แต่เราต้องแนะนำว่าอะไรคือประโยชน์สูงสุดของประชาชน
  • การเคหะมีปัจจัยบวกคือ ความหลากหลายทางวิชาการ ฐานคือประชาชน
  • Networking ต้องเปลี่ยนเป็น Action ทำงานเป็นทีมด้วย
  • ต้องให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องการเคหะ
  • ยุคหลังจากนี้เป็นยุคของความไม่แน่นอน

กลุ่ม 3

  • การเคหะในอีก10 ปีข้างหน้า
  • มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น AEC
  • กำกับดูแลที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ดูแลชุมชน

 

Character

ตัวอย่างที่ดี

ยอมรับความคิดเห็น

รอบรู้

กล้าตัดสินใจ

เมตตา

ยืดหยุ่น

ซื่อสัตย์

คิดบวก

Skills

ภาษาต่างประเทศหลากหลาย

เจรจาต่อรอง

สร้างทีม

บริหารความขัดแย้ง

มีความคิดใหม่

นวัตกรรม

ไอที

Process

เข้าใจพันธกิจ

สร้างความเข้าใจร่วมกัน

นำแผนไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มององค์กรทะลุ

Value

สร้างขวัญกำลังใจ

สร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ควรเปลี่ยนบทบาทจาก Local เป็น Global
  • เน้นให้คนดีและเก่ง
  • Skill สร้างได้
  • การสร้างบรรยากาศของภาษาต่างประเทศ ให้คนอยากเรียนรู้

กลุ่ม 4

Roadmap

  • ทำให้ Star เป็นที่ยอมรับโดยสร้างกรอบ
  • คัดเลือก Star มาพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับ มีประเมินผล สนับสนุนให้เขาอยู่ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • บางทีเร่ง Star มากเกินไป บางทีก็ไม่ประสบความสำเร็จ
  • Star ต้องบวกปัจจัยอื่นด้วย
  • ต้องมีนโยบายสร้างผู้นำที่ชัดเจนในทุกระดับ
  • ต้องปกป้องไม่ให้ถูกการเมืองมีอิทธิพลในการเข้าสู่ตำแหน่ง
  • ต้องศึกษาผู้นำในอดีตมี Profile
  • ต้องปลูกฝังประสบการณ์ให้ได้ เด็กรุ่นหลังต้องมีประสบการณ์ที่เข้มข้น ถ้ามอบงานยาก คุณปกป้องเขาได้ไหม
  • อยากให้มี Training ทุกปี งบประมาณต้องมี Benchmark เน้นความเป็นเลิศ
  • ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้คนมีส่วนร่วม สร้างความคิดใหม่ๆในองค์กร

 

Learning Forum and Workshop การบริหารการเปลี่ยนแปลง (1) ช่วงแรก

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

  • ทำอย่างไรถึงจะมีการเปลี่ยนแปลง และทัศนคติต้องเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
  • การเคหะมียอดขายหมื่นกว่าล้านบาทถือว่าใหญ่
  • ปตทซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมียอดขายปีละ 2 ล้านล้านบาทต่อปีเท่ากับขนาดงบประมาณประเทศไทย ดังนั้นการบริหารปตท.กับประเทศไทยงบเท่าๆกันเพราะฉะนั้นต้องใช้คนเก่งมากๆ
  • บริษัทวอลมาร์ทเป็นบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกมียอดขาย 4 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 12 ล้านล้านบาท ดังนั้นผู้บริหารต้องเก่งมาก
  • โทมัส เอดิสันเป็นเจ้าของบริษัทจีอี(General Electric)
  • แจ็ค เวลซ์เก่งมาก มีเทคนิคบริหาร เวลาที่เขามาเยี่ยมบริษัทในประเทศไทย เขาให้เวลากับคนในองค์กร เช่นไปพบผู้บริหารปตท. การบินไทย ผู้ว่ากฟผ. นั่งคุยกับผู้บริหารองค์กรที่ให้ข้อคิดในการบริหารองค์กร
  • ธุรกิจการเคหะเกี่ยวกับคน
  • ชีวิตก็ประกอบด้วยคนทั้งนั้น คนเท่านั้นสำคัญที่สุด เช่น หัวหน้า ลูกน้อง คนในชุมชน
  • การเป็นผู้นำต้องดูแลคนให้ได้
  • บริหารคนในองค์กรให้เหมือนบริหารลูก ไม่ว่ามีลูกน้องมากหรือน้อย การบริหารคนก็ยังมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
  • คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทยถือว่าทุนมนุษย์สำคัญที่สุด
  • หน้าที่หลักขององค์กรคือต้องสร้างให้มี Performance (ผลงาน) นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้แต่ละคนอยู่ในองค์กรได้
  • ผลงานของลูกน้องทำให้คุณมีผลงาน เพราะฉะนั้นต้องทำให้ลูกน้องมีผลงาน
  • จะมีผลงานได้ ก็ต้องมี Competency (ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อองค์กร) พร้อมที่จะทำงานและ Motivation (แรงจูงใจ เช่น เงินเดือน โบนัส ตำแหน่ง คำชม ชื่อเสียง ความสุขในการทำงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงานดี เครื่องมือดี Passion)
  • ผู้นำต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกน้องทำงาน
  • ทฤษฎีมาสโลว์บอกว่า แรงจูงใจเริ่มจากปัจจัยสี่ขึ้นไปสู่การได้บรรลุในสิ่งที่ตนเองอยากเป็น
  • เวลาคิดระบบ ต้องดูว่า ระบบนั้นเพิ่ม Competency และ Motivation ให้คนมีผลงานในองค์กรหรือไม่
  • วิธีการประเมินผลงานได้โดยวัดให้ยุติธรรมที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ปัญหาคือก็มีโควตา แม้ผลงานดีแต่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • ต้องมีความชัดเจนในการวัดผลงานทำได้โดยเริ่มจากเป้าหมาย แต่ก็ทำได้ยากโดยเฉพาะงานที่ไม่เกี่ยวกับตัวเลข
  • ต้องมีการควบคุมดูแลสนับสนุนลูกน้อง
  • ถ้าลูกน้องทำงานสำเร็จ ก็ต้องยกย่องชมเชยให้รางวัล
  • ถ้ามีความแตกต่างระหว่างเป้าหมายและผลงาน หัวหน้าต้องเข้าไปสอนเพื่อช่วยให้ลูกน้องสู่ความสำเร็จ ต้องวินิจฉัยปัญหา (Diagnose) ก่อนโดยซักถาม อย่าด่วนสรุป
  • แจ็ค เวลช์ กล่าวว่า เปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน มิฉะนั้นมันจะสายเกินไป
  • คนที่เก่งการบริหารการเปลี่ยนแปลงต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงเก่ง
  • การเคหะได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น การเมือง นโยบาย ลูกค้า AEC คู่แข่ง อัตราดอกเบี้ย กฎหมาย
  • องค์ประกอบภายในที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเคหะคือ นโยบาย ผู้นำ โครงสร้าง เทคโนโลยี

วิสัยทัศน์การเคหะในประเทศต่างๆเพิ่มเติมอยู่ในลิ้งค์นี้

ประเทศมาเลเซีย

http://www.kpkt.gov.my/kpkt_en/main.php?Content=vertsections&SubVertSectionID=26&VertSectionID=4&CurLocation=4&IID=&Page=1

ประเทศอินโดนีเซีย

V I S ION
"Every Family Indonesia Occupy The Livable Home"
M I S ION

To realize the vision, the mission of the Ministry of Housing formulated Year 2010-2014 as follows:
A. Favorable climate and improve coordination of housing and settlement policies.
2. Increase the availability of affordable and appropriate housing in a safe and healthy environment, supported by the infrastructure, facilities and utilities are adequate.
3. Develop long-term housing finance system that is efficient, accountable and sustainable.
4. Increase the utilization of resources in an optimal housing and settlements.         

5. Enhance the role of local governments and other stakeholders in the development of housing and settlements.

http://www.kemenpera.go.id/?op=profil&act=index&profil_id=2

 
 

Learning Forum and Workshopการบริหารการเปลี่ยนแปลง (1)ช่วงหลัง

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1.ต้องยอมรับว่าองค์กรของท่านซับซ้อน ประกอบด้วยคนซึ่งเป็นสิ่งที่ยากจะจัดการ

2.เข้าใจว่า องค์กรถูกผลักดันในกระบวนการการทำงานมากกว่าโครงสร้าง จึงจะโตได้เร็ว เพราะกระบวนการที่ดีช่วยลดความผิดพลาดและประหยัดเวลา

3.ต้องเข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆต่อไป

4.การเรียนรู้ในองค์กรต้องบูรณาการกันไปในทิศทางเดียวกัน

5.ต้องใช้เหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ให้เป็นประโยชน์

6.ต้องยอมรับความเป็นมืออาชีพของหัวหน้า

ปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ

1.อย่าภูมิใจในองค์กรเสียจนไม่ทำอะไรเลย อย่าเป็นเหยื่อของความสำเร็จขององค์กรคุณ ต้องมีความตื่นตัวพัฒนาตลอด

2.ทำอะไรต้องวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องสนับสนุนและตอบสนองเขาให้ได้

3.ต้องสร้าง Commitment ในองค์กร

4.เรียนรู้ที่จะทำสิ่งที่ทำง่ายได้ผลเร็วก่อน Keep it simple (KISS)

5. เปลี่ยนแปลงอะไรต้องมีแผน Roadmap ให้ชัด

6. การใช้การพัฒนาองค์กร (เช่น เปลี่ยนระบบงานและเปลี่ยนโครงสร้าง) สำคัญมาก

ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1. ปรับตัวได้ดี

2. คิดเชิงกลยุทธ์ ทำงานที่ตอบสนองต่อทิศทางขององค์กร ต้องรู้จัก Work out (เลิกทำงานที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร เช่น รายงานที่หัวหน้าที่ไม่ใช้หรือไม่มีคนอื่นใช้ประโยชน์)

3. เน้นผลงาน อย่าให้ค่าแก่คนขยัน แต่ให้ค่าผลงานดีกว่า

4.ทำงานเป็นทีม

5.เปิดใจ เข้าใจกัน

6.ส่งเสริมการเรียนรู้

การเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ สิ่งที่อยากให้เกิด และสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดแต่มันจะเกิด

กระบวนการทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของจีอีมี 3 ขั้น

1.ก่อนการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างความต้องการร่วมกันให้ได้แล้วทุกคนก็จะช่วย ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์ให้คนอื่นเห็น สร้างความร่วมมือ

2.ระหว่างการเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงสำคัญที่จะจัดการมันได้ ระยะเวลาขึ้นกับความซับซ้อนของแต่ละเรื่อง ต้องรู้จักบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

3.ผลการเปลี่ยนแปลง ดูผลการเปลี่ยนแปลง ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืนโดยเปลี่ยนระบบและโครงสร้าง

  • ถ้าเปลี่ยนความคิด คุณก็จะเปลี่ยนความเชื่อ
  • ถ้าเปลี่ยนความเชื่อ คุณก็จะเปลี่ยนความคาดหวัง
  • ถ้าเปลี่ยนความคาดหวัง คุณก็จะเปลี่ยนทัศนคติ
  • ถ้าเปลี่ยนทัศนคติ คุณก็จะเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ถ้าเปลี่ยนพฤติกรรม คุณก็จะเปลี่ยนผลงาน
  • ถ้าเปลี่ยนผลงาน คุณก็จะเปลี่ยนชีวิต
นายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

ชั่วโมงแรกของการเรียนรู้ เรื่องภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ รู้สึกว่าต้องปรับการรับรู้ และต้องตั้งสมาธิมากเพราะน่าสนใจ แต่มีภาษาอังกฤษมาก และศัพท์แปลก ๆ มาก แต่การยกตัวอย่างบุคคลเยี่ยมมาก (ยังตั้งหลักไม่ทันกับการเป็นนักเรียน) การทำWorkShop ไม่น่าเชื่อว่าการทำ Work Shop แต่ละกลุ่มสอดคล้อง และต่อเนื่องกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ น่าจะเป็นความสามารถในการถ่ายทอดของวิทยากร + ความตั้งใจของผู้อบรม การบริหารการเปลี่ยนแปลง วิทยากร ยอดเยี่ยม ถ่ายทอดได้ดี ยกตัวอย่างได้ดี ความรู้มาก ตอบข้อซักถามได้ดี ตัวอย่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงของ G.E. ถือเป็น MODEL ที่ดี (อาจาร์ย ประการ ชลหาญ)

วันนี้ ได้ทราบความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ กล่าวคือ ผู้นำเน้นคน (Human Capital) ศรัทธา (Trust) Long Term มองอนาคต เน้นนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง (Change) ในขณะที่ผู้จัดการเน้นระบบ การควบคุม Short Term กำไรขาดทุน จึงทำให้เมื่อเวลาเพิ่มขึ้นผลงานของผู้นำจะมากกว่าผู้จัดการ เกิด Gap มากขึ้น ดังนั้น หากจะเตรียมความพร้อมให้กับผู้นำในองค์กรในอีก 10 ปีข้างหน้า วันนี้จะต้องเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนมีการสัมมนาการทำงานเป็นทีม เป็นต้น เพื่อให้ได้ผู้นำที่เป็นคนเก่งและดี โตไปไม่โกง เป็นที่ยอมรับของสังคม

วรรณภา พิลังกาสา

นายสุรสิทธิ์ ตรีเพชร
     การเข้ารับการอบรมวันนี้เหมือนดูกระจก ได้เห็นตัวตนที่เข้าเป็นผู้บริหาร บางอย่างยังไม่ครบถ้วนบางอย่างยังมีข้อบกพร่อง ทำให้ทราบว่ามียังมีอะไรหลายอย่างที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม หากได้นำเนื้อหามาประยุกต์ปรับเปลี่ยนจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด                                                                                                     
     ผลการเรียนรู้ไม่เพียงเฉพาะจะสามารถนำมาปรับกับตัวเองได้เท่านั้น ยังประโยชน์หากจะได้จัดให้มีกระบวนการพัฒนาบุคคลให้มีคุณสมบัติในภาวะผู้นำที่มีคุณภาพในอนาคตที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรยอมรับได้จะเป็นผลดียิ่งขึ้น 

                                                               สุรสิทธิ์ ตรีเพชร                                                   

     วันนี้ในภาคเช้าโดยท่านอาจารย์จีระ เป็นการเรียนที่สนุกและได้ความรู้อย่างมาก ได้เห็นถึงภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในลักษณะต่างๆกัน ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้และสามารถฝึกฝนได้ และผู้นำในอนาคตที่จะเป็น Model of Effective Leadership จะต้องมีลักษณะแต่ละบุคคล และคุณสมบัติเฉพาะตัวอย่างไร ตลอดจนมีทักษะและกระบวนการเป็นภาวะผู้นำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้สำเร็จอย่างไร การเรียนรู้เรื่องผู้นำจากท่านอาจารย์ สามารถนำมาวิเคราะห์ผู้นำของการเคหะแห่งชาติ ในแต่ละยุคได้เป็นอย่างดี และสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปรับใช้ในการจะเป็นผู้นำ จะต้องดีและเก่งอย่างไร เพื่อนำพาองค์กรให้ยั่งยืน สำหรับภาคบ่ายไม่ง่วงเลย ท่านอาจารย์ประกายสอนได้ดีเช่นเดียวกัน การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) Jack Welch ให้ความสำคัญกับคน คนเท่านั้นที่สำคัญที่สุด การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีความสำคัญกับบทบาทการเป็นผู้นำ สิ่งต่างๆที่ได้รับสามารถนำมาใช้ในการเคหะแห่งชาติได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ก่อนที่จะมีการบังคับให้เราเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะสายเกินไป ///ยุบล พิศิษฐวานิช ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานชุมชน2

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

วันนี้ได้รับความรู้ใน 2 เรื่อง คือ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์จาก อ.จีระ ซึ่งเน้นคุณลักษณะสำคัญ 4 ประการในด้านความเป็นตัวตน ทักษะที่จำเป็น กระบวนการผู้นำ และคุณค่าของการเป็นผู้นำ(Trust) โดยนำมาเชื่อมโยงกับผู้นำที่ควรจะเป็นของการเคหะในอีก 10 ปีข้างหน้าซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาผู้นำของการเคหะในอนาคตต่อไป ในส่วนของ อ.ประกาย ได้กล่าวถึงคนว่ามีความสำคัญกับองค์กรเพราะมีผลงานให้องค์กร ซึ่งสิ่งสำคัญในการสร้างผลงาน คือ ความสามารถเชิงสมรรถนะและแรงจูงใจ นอกจากนั้นยังเน้นว่าการเป็นผู้นำต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีแรงผลักดันจากภายในและภายนอกองค์กร โดยมีปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง เช่น ต้องตื่นตัวในการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ให้ทำสิ่งที่ง่ายและได้ผลเร็วก่อน การเปลี่ยนแปลงจะต้องมีแผนและ Road map ให้ชัดเจน โดยความรู้ที่ได้รับในวันนี้จะนำไปพัฒนาและปรับปรุงตัวเองเพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุดต่อไป >>>ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน<<<

พูนศรี ว่องวิจิตรศิลป์

วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

ประทับใจวิธีการสอนของอจ.จีระ ที่ไม่เหมือนทั่วๆไปที่เอาแต่เปิดตำราสอน  แต่อจ.ทำให้เราได้ค้นหาตัวเอง

ชอบกราฟที่แสดงความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร เห็นเป็นภาพชัดเจนดี

ได้เห็นตัวอย่างผู้นำแบบต่างๆมากมายและวิธีการสร้างผู้นำ

ประทับใจสีหน้า แววตา ความตั้งใจและความสามารถในการนำเสนอของเพื่อนร่วมรุ่นของเราด้วย

วิชา Change Management

ได้ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากการเปลี่ยนความคิด ทำให้เปลี่ยนความเชื่อ เปลี่ยนความคาดหวัง เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนการทำงาน และเปลี่ยนแปลงชีวิตในที่สุด

การChange ที่ยั่งยืน ต้องเปลี่ยนโครงสร้าง เปลี่ยนระบบ และกระบวนการทำงานด้วย

 

  การอบรมวันแรก ทำให้เข้าใจได้ว่า การที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการเรียนรู้ เและฝึกฝนตนเอง ดังนั้น การอบรมครั้งนี้จะเป็นเครื่องมือช่วยให้เราสามารถค้นหาตัวเองได้เจอ ในเบื้องต้น ได้เข้าใจถึงความแตกต่างของผู้บริหารและผู้นำ ชนิดของผู้นำการสร้างความศรัทธาของการเป็นผู้นำ การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้จากตำราเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอ เราสามารถศึกษาวิถีความเป็นผู้นำหลาย ๆ แบบ จากผู้นำทั่วโลก ศึกษาสิ่งที่โดเด่น แล้วเลือกว่าเราต้องการเป็นผู้นำแบบใด เพราะผู้นำเป็นผู้ที่มองทิศทางและสร้างพลัีงขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปในทิศทางที่ดีที่สุด อันจะส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติต่อไป

อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

ได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ความแตกต่างของผู้นำกับผู้บริหาร
ชนิดของผู้นำ การสร้างศรัทธา (Trust) บทบาทผู้นำ การสร้างผู้นำ คุณสมบัติผู้นำ
การทำ Workshop กรณีศึกษาของการเคหะฯ และเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ความสำคัญของทุนมนุษย์ ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนการเร่ง การเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขตามสภาวะแวดล้อมที่เป็นจริงและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทั้งกรณีที่คาดการณ์ได้และไม่ได้

มรัญสิตา ตีระศิริสิน

การเรียนรู้ในวันนี้ เป็นการเรียนรู้ที่แปลกและแตกต่างจากทุกครั้ง เนื่องจากมีวิธีการสอนที่ค่อนข้างจะอบอุ่น และเป็นกันเองจากท่านอาจารย์ทั้งสองท่าน ทำให้จิตใจและสมองเปิดรับข้อมูลได้อย่างจดจ่อและติดตาม ความรู้ที่ได้รับพอสรุปประเด็นสำคัญๆ คือ (๑) ความแตกต่างระหว่างภารกิจของ "ผู้จัดการ" และ "ผู้นำ" ซึ่งผู้นำที่ดีในยุคโลกาภิวัฒน์ควรมีคุณลักษณะ ๔ ประการคือ CHARACTER, SKILL, PROCESS และ VALUE ในเชิงบวกหลากหลายประการ (๒) ให้ความสำคัญกับการบริหาร "คน" ซึ่งเป็น "ทุนมนุษย์" ที่สมควรจะได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (๓) “การบริหารการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งจะต้องเรียนรู้และรู้จักการคาดการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับมือและจัดการให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด หรือทำให้เกิดผลสำเร็จสูงสุดเท่าที่จะทำได้ในแต่ละเรื่องที่เผชิญ มรัญสิตา ตีระศิริสิน

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ ( ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ ) ๑. องค์กรจำเป็นต้องมีผู้นำ ๒. องค์กรต้องเตรียมการสร้างทายาทเพื่อดำรงตำแหน่งผู้บริหารในทุกระดับ ๓. ผู้นำต้องมีคุณลักษณะหลายประการ เช่น มีความรู้ ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความศรัทธาและเคารพ ให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ซื่อสัตย์สุจริต กอปรด้วยคุณธรรม พร้อมนำองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง พร้อมจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ๔. การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติในองค์กรที่ต้องการความดำรงอยู่ ให้ยอมรับและ ปรับตัวให้สอดคล้องกับภาวการณ์ อันหมายรวมถึงคนส่วนใหญ่ในองค์กรด้วย
ส่วนผู้ยังไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ต้องทำความเข้าใจ ชักจูง โน้มน้าวให้ยอมรับ เพื่อร่วมมือกันทำงาน หรือ ปฏิบัติงานให้ภารกิจขององค์กรสำเร็จ

พิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม

วันนี้ 14 มิถุนายน 2555 ได้เรียนกับท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ นักคิด นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในวิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ได้รู้จักกับคำว่า “ทุนมนุษย์” (Human Capital) โดยเฉพาะการพัฒนาทุนมนุษย์ในการเป็นผู้นำในองค์กร ความแตกต่างระหว่าง “ผู้นำ” กับ “ผู้บริหาร” ผู้นำ เป็นผู้นำคน คนต้องยอมรับ จึงเรียกว่าผู้นำ ต้องสร้างความศรัทธาจากคนในองค์กร เป็นที่ไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งได้ทั้งในช่วงวิกฤติ และสามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ยังประโยชน์ให้คนในองค์กรทำงานอย่างมีความสุข สิ่งที่ผู้นำต้องมี 4 ประการคือ Character - ชอบเรียนรู้ / มีทัศนคติเป็นบวก/ มีคุณธรรม จริยธรรม Leadership skill – การตัดสินใจ/ การเจรจาต่อรอง/การทำงานเป็นทีม/ Get things done Leadership process – มี Vision และมองอนาคตให้ออก Leadership value – สำคัญคือ Trust ได้รับความศรัทธา อุปสรรคต่อการพัฒนาความเป็นผู้นำ 1. ระบบ Command-Control 2. วัฒนธรรมองค์กร 3. Authority มากไป 4. ฝึกอบรมเน้น How to ไม่เน้น Execution “ผู้นำสร้างได้ในองค์กรของเรา (การเคหะแห่งชาติ) และยังไม่ช้าเกินไป ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านก้าวสู่ความเป็นผู้นำที่ดีและเก่งในอนาคตอันใกล้นี้ค่ะ”

สุกัญญา แย้มเกศร์หอม

ขอแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์เป็นภาษาไทยค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555  เวลาขณะนี้ 17.16 น. 

          ความรู้ในวันนี้เป็นการส่องภาพและกระจกให้ผู้เข้าอบรมได้พิจารณาอย่างเป็นระบบว่า

-ท่านควรจะเป็นผู้นำที่ดีให้องค์กร และผู้ร่วมงาน ผู้เกี่ยวข้องได้อย่างไร

-ท่านควรปรับความคิดที่สะสมมาร่วม 30 ปีอย่างไร เพราะเวลาที่ยาวนานมันทำให้เราเกิดหินปูนเกาะติดในพฤติกรรมการเป็นเจ้าขุนมูลนายกันไปมาก

          ตลอดเวลา 39 ปีการจัดตั้งการเคหะแห่งชาติ การเคหะฯจะมองการบริหารจัดการและการวางแผนของประเทศสิงค์โปร์เป็นสำคัญ  เรายอมรับวิธีคิด เราไปศึกษาดูงานของสิงค์โปร์มานับครั้งไม่ครบ จำนวนพนักงานนับไม่ถ้วน  แตวันนี้แม้เพียงจำนวนผลผลิตที่สามารถตอบสนองปัญหาความขาดแคลนที่อยู่อาศัยผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย เราก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้มากนัก

          การเคหะฯสิงค์โปร์วันนี้ก้าวข้ามไปสู่คุณภาพการอยู่อาศัยและสร้างการยอมรับ ความร่วมมือจากชุมชน โดยยังยึดมั่นที่จะจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประชาชนในทุกกลุ่ม  และการบริการชุมชนโดยชุมชนเข้ามีส่วนร่วมกับการเคหะฯสิงค์โปร์   

            การส่งเสริมบทบาทให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการ  สามารถพิสูจน์ได้จากรายการท่องเที่ยวในประเทศสิงค์โปร์จะมีการนำนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมชุมชน เดินไปตามแฟลตต่างๆ  และผู้อยู่อาศัยในแฟลตจะออกมากล่าวต้อนรับและแนะนำ เชื้อเชิญให้นักท่องเที่ยวเข้าชมชุมชน  แผ่นพับแจกจ่ายนักท่องเที่ยวจะเสนอแนะรายการเยี่ยมชมชุมชนต่างๆเสมือนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่สิงค์โปร์ภาคภูมิใจ

 

 

สุกัญญา  แย้มเกศร์หอม

                  

เรียนอาจารย์จิระ

ผมขอส่งการบ้านประจำวันที่ 14 มิถุนายน 2555

                    ด้วยความนับถือ
                   ถวัลย์ สุนทรวินิต

กราบเรียนท่านอาจารย์จีระที่เคารพ

          ผมจิระ อุณหปาณี รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล วันนี้ (14 มิ.ย.55) ได้รับการบรรยายจากท่านอาจารย์ ทำให้มีความรู้ในเรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1)

          Change Management และ Innovation คือ หัวใจของการอบรมนี้

          อาจารย์ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง Manager กับ Leadership คือ Thing Right กับ Right Thing

Manager จะทำเพียงแค่ Thing Right คือทำให้สำเร็จและถูกฎหมายแต่

Leadership จะทำ Right Thing  คือทำในสิ่งที่ถูกต้องและถูกจริยธรรม

ผู้นำที่ดี (Leadership) ต้องมองที่ภาพกว้างอย่ามองเฉพาะเพียงองค์กรของตัวเองเท่านั้น เช่นต้องรู้ในเรื่องของโลกาภิวัตน์และผลกระทบ อันได้แก่ การค้าเสรี บทบาทของต่างประเทศเรื่องโลกร้อน เป็นต้น

ผู้นำต้องมี Trust ต้องมีความภูมิใจในตัวเอง Trust จะเกิดขึ้นจากภายในตัวของเรา ที่สำคัญต้องมี Social Trust คือการยอมรับของสังคม

ผู้นำต้องมี 4 วิธีคือ

1.Character ตัวตนของเรา

2.Leadership Skill ทักษะที่จำเป็น การตัดสินใจอย่ารีบร้อน ทำให้สำเร็จตามกำหนด

3.Leadership Process การมองทุกอย่างเป็นอนาคต มี Vision

4. Leadership Value คนมีคุณภาพสูง Trust ศรัทธาในผู้นำ

  • กคช. ต้องอยู่กับการเมืองให้ได้ นักการเมืองมีงบประมาณ แต่เรามีความรู้ จำเป็นต้องไปด้วยกัน
  • ต้องมี networking เครือข่ายหน่วยงานที่จะมาช่วยเหลือองค์กรของเรา ต้องมีการจัดการ organize ที่ดีในทุกๆเรื่อง
  • การพัฒนาผู้นำ ควรมีทั้งการพัฒนาคน (อบรม ให้ความรู้)และ Talent พิจารณาคนเก่ง คนมีความสามารถ Star
  • ควรศึกษาผู้นำของเราในอดีต ประสบการณ์ของแต่ละท่านเป็นสิ่งสำคัญ
  • ต้องทำองค์กรของเราให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้ Social Knowledge ต้องให้เกิดขึ้น

สิ่งที่ได้รับการสอนจากท่านอาจารย์ในวันนี้ ทำให้ผมได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผู้นำได้ดียิ่งขึ้นครับ และในวันต่อๆไปที่ท่านอาจารย์จะได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม ผมเชื่อว่า จะได้ความรู้เพิ่มให้จากท่านอาจารย์มากยิ่งขึ้นครับ ซึ่งความรู้ที่ได้นี้ ผมจะนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน การวางตนและการนำผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นผู้นำที่ดีในการพัฒนาองค์กร กคช. ต่อไป ซึ่งจะทำให้ กคช.ได้รับแต่สิ่งดีๆเพื่อพัฒนาองค์กรครับ

กราบสวัสดีท่านอาจารย์ครับ

จิระ

          ปล.ในส่วนของท่านอาจารย์ประกาย ชลหาญนั้นได้รับความรู้ในเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management ท่านอาจารย์ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดของ Jack Welch และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ว่า คนเท่านั้นที่สำคัญที่สุด ทุนมนุษย์เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดในองค์กร

คนจะต้องมี 2 สิ่งคือ

1.Competency ความรู้ความสามารถ ทัศนคติที่ดี

2.Motivation จะต้องมีแรงจูงใจในการทำงาน

          ทั้ง 2 สิ่งจะต้องไปด้วยกัน ผลงานจึงจะดี ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผลงานจะล้มเหลว

          ในเรื่องผลงาน Performance หากทำดีให้ชื่นชมและให้กำลังใจลุกน้อง หากทำงานผิดพลาด ให้ซักถามก่อนถึงสาเหตุและให้คำแนะนำที่ถูกต้อง อย่ารีบตำหนิ

  • สิ่งสำคัญที่สุดของการบริหารความเปลี่ยนแปลงคือ

1.ต้องเข้าใจว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วจะมีผลกระทบต่อไปในหลายส่วน

2.ต้องมีความเข้าใจในเรื่องIntegrate บูรณาการ

3.ยอมรับให้ได้ในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ให้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

4.ยอมรับในความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร

5.กำจัดความคิดว่า เราดีแล้ว แต่ต้องพัฒนาตลอดเวลา

6. “Quick Win ”อย่าคิดอะไรที่ซับซ้อนเกินไป

7.อย่าให้อะไรเกิดขึ้นตามบุญตามกรรม แต่เราต้องเข้าไปจัดการบริหารคนให้เหมือนบริหารลุกของเรา ต้องมีความรักและความเข้าใจ จึงจะประสบความสำเร็จ

 

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์
          ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ความแตกต่าง ระหว่างผู้นำ กับผู้จัดการตลอดจนความเห็น มุมมองผู้นำ

ของกคช.ในอนาคต ควรเป็นอย่างไร ทั้งนี้สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุด คือ เรื่อง จริยธรรมของผู้นำ ตลอดจนความสามารถของผู้นำที่จะ balance การเมืองกับการบริหารจัดการในองค์กร เพื่อขวัญกำลังของผู้ปฏิบัติงาน

สำหรับพนักงาน กคช. เรามีการประเมินและเตรียมพร้อมกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงเสมอ พนักงานมี Competency แต่ขาด Motivation ซึ่งต้องอาศัยผู้บริหารระดับที่เหนือกว่าขึ้นไป

14 มิ.ย. 55 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

การจะเป้นผู้นำที่ดี ต้องมองภาพกว้าง อย่างมองเฉพาะองค์กรของตัวเอง ต้องมององค์กรอื่นๆด้วย ผู้นำและผู้จัดการมีความแตกต่างกัน การที่จะเป็นผู้นำที่ดี ต้องสร้าง Trust หรือศรัทธา ซึ่งไม่ได้สร้างได้ทุกคน และสร้างได้ง่ายๆ แต่จะสร้างศรัทธาได้อย่างไร อยู่ที่ตัวของเราเอง ต้องทำให้เป็นแบบอย่างที่ดี จึงจะให้คนอื่นยอมรับและปฏิบัติตาม

วิไล มณีประสพโชค ประโยชน์ที่ได้รับจากวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ 14 มิถุนายน 2555 ได้รู้ว่าปัจจุบันโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆมากมาย เช่น ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การค้าเสนรี ภัยธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้น องค์กรจะต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำ แตกต่างจากผู้จัดการ เนื่องจากผู้นำเน้นที่คน ได้รับการยอมรับ มองอนาคตในระยะยาว ดังนั้นองค์กรสามารถสร้างผู้นำโดยใช้ทฤษฎี 5 E ได้แก่ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation และผู้นำจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้ 1. Character หรือคุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น ชอบเรียนรู้ มีทัศนคติเป็นบวก มีคุณธรรม จริยธรรม 2. Leadership Skill เช่น การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง การทำงานเป็นทีม 3. Leadership Process การมี Vision และมองอนาคตให้ออก 4. Leadership Value คือ Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้นๆ การนำความรู้ปรับใช้กับกคช.

นำความรู้วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ มาใช้ในการบริหารการบุคคลของกคช. ในการพัฒนาบุคคลากรที่เตรียมจะสืบทอดตำแหน่งผู้นำขององค์กรในอนาคต และเป็นผู้นำที่สามารถทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับของสังคม

ประโยชน์ที่ได้รับจากวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆมากมาย เช่น ด้านเทคโนโลยี การค้าเสรี  การเงินเสรี  ภัยธรรมชาติ  เป็นต้น  ดังนั้น  องค์กรจะต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งมีปัจจัยดังนี้

  1. ให้ตื่นตัวกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง อย่าคิดว่างองค์กรไม่ต้องปรับปรุงอะไร
  2. เข้าใจ และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ผู้ถือหุ้น
  3. เปลี่ยนแปลงทัศนคติเป็นบวก
  4. เรียนรู้งาน
  5. จัดทำขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน
  6. พัฒนาองค์กร เช่น เปลี่ยนระบบงาน การนำความรู้ ปรับใช้กับกคช. นำความรู้วิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง มาปรับใช้กับบุคลากรและองค์กรให้ทราบ และตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เพื่อให้บุคคลได้ปฏิบัติงานที่ตอบสนองทิศทางขององค์กร
สมชาย เทวะเศกสรรค์

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

  • ต้องยอมรับและปรับเปลี่ยนตัวเองด้วยเพื่อทำให้เรามีเวลาเตรียมตัว
  • ต้องควบคุมการเปลี่ยนแปลง(กระบวนการ) โดยเข้าร่วมในการดำเนินการด้วย
  • ต้องไม่ปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามยถากรรม
  • ต้องอย่าด่วนสรุป

ความแตกต่างกันระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร

ผู้นำ

  • คน
  • ศรัทธา
  • มองภาพกว้าง
  • ระยะยาว
  • เทคโนโลยี
  • เรื่องการเปลี่ยนแปลง
  • อะไร อย่างไร

ผู้บริหาร

  • ระบบ
  • มองระยะสั้น
  • กำไร ขาดทุน
  • เรื่องการจัดการประสิทธิภาพ
  • เมื่อไหร่ อย่างไร

สำหรับการเคหะ

  • ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองในเรื่องการเปลี่ยนแปลง เตรียมพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง ต่างที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต
  • ทำให้มองตัวอย่างได้ว่าปัจจุบันอยู่ในฐานะอย่างไร ควรจะจัดการอย่างไรกับงาน

สิ่งที่ได้ในวันนี้ (14 มิ.ย.55) คือ ทำให้เรารู้ว่า ผู้นำกับผู้จัดการ (ผู้บริหาร) แตกต่างกันอย่างไร ที่เราเป็นอยู่คือในองค์กรทุกวันนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นแค่ผู้จัดการเท่านั้น แต่เมื่อฟังจากวิธีการสร้างภาวะผู้นำแล้ว ก็มีหลายอย่างที่ไม่ไกลเกินเอื้อม รู้ว่าผู้นำต้องให้ความสำคัญกับ คน เพราะคนเป็นต้นทุนที่สำคัญมากๆ เราต้องมีศรัทธาโดยเฉพาะต้องศรัทธาในตัวเองก่อนถึงจะไปสร้างศรัทธากับผู้อื่น ต้องมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล ยังได้รับรู้ตัวอย่างของผู้นำของไทยและของต่างประเทศ ในการทำ Work Shop ก็ทำให้เราได้หันมามองตัวเอง ย้อนไปทบทวนอดีตขององค์กรผ่านยุคสมัยของผู้นำ และมองอนาคตขององค์กรผ่านการสร้างภาวะผู้นำ สิ่งที่ได้รับรู้อีกเรื่องคือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราจะถูกบังคับให้เปลี่ยน
ปัจจัยของความสำเร็จของการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีหลายประการ ที่สำคัญอย่ามัวแต่หลงใหลได้ปลื้มกับตัวเองและองค์กรของเรา จนไม่คิดที่จะทำอะไรเลย เพราะการเปลี่ยนแปลงมีทั้งที่เราอยากให้เกิดและที่ไม่อยากให้เกิด ที่ไม่อยากให้เกิดก็จะยากกับการบริหาร เพราะเราไม่ได้เตรียมรับมือ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป แต่ถ้าดีก็ต้องให้ดีถึงที่สุด แต่ถ้าแย่ก็ของให้น้อยทีสุด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของเรา อย่าให้มันเกิดขึ้นตามบุญตามกรรม

การได้ฟังวิทยากรทั้ง 2 ท่านในวันนี้  หลายอย่างเราก็ปฏิบัติในชีวิตการทำงานอยู่บ้างแล้ว    แต่อาจยังไม่บูรณาการ  ไม่เป็นระบบ  โดยเฉพาะการปฏิบัติตัวกับผู้ใต้บังคับบัญชา  จึงเป็นการ Confirm  ว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันก็เป็นไปตามแนวทางของการสร้างภาวะผู้นำอยู่เหมือนกัน  หลังจากนี้  คงจะได้นำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมไปเติมเต็มให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น   

-      ขอบคุณลูกศิษย์ รุ่น 1 ที่กรุณาสนใจการเรียนรู้ในวันแรก

-      ผมประทับใจในความสามารถของลูกศิษย์รุ่น 1  และต้องส่งเสริมความเป็นเลิศออกมาจากทุกๆคน

-      ศักยภาพของทุกท่าน  น่าประทับใจมาก

-      ผมหวังว่าหลายๆท่านคงจะอื่นหนังสือมากขึ้น และแบ่งปันกันมากขึ้น

-      หาความรู้เพิ่มเติมในช่วง 8 วัน

-      นำเสนอโครงการใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไป

-      ขอบคุณที่ให้เกียรติผม ให้ผมเข้ามาร่วมงานครับ

ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

จากที่ดร.จีระ บรรยายในเรื่อง Leadership ทำให้เห็นความแตกต่างของผู้นำที่องค์กรต้องการ และผู้นำที่โลกไม่พึงประสงค์ดังนี้

ผู้นำที่ดี (โลกต้องการ)
1. ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ
2. เป็นคนดีที่เก่ง
3. ชอบการเปลี่ยนแปลง
4. ปรับตัวเข้ากับ Technology อยู่เสมอ
5. มีเมตตา โอบอ้อมอารี เอื้ออาทร
6. สร้างจิตวิญญาณในการทำงานเป็นทีม
7. รู้จักมอบหมายงาน อย่างถูกต้องไม่ใช่ถูกใจ
8. ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารักและเคารพ
9. มีความใฝ่รู้ และใฝ่เรียนอยู่เสมอ
10. เป็นคนที่มีเหตุผล

ผู้นำที่ตรงกันข้าม (โลกไม่ต้องการ)
1. ไม่รับฟัง ไม่ให้เกียรติ ผู้ใต้บังคับบัญชามีความเป็นเผด็จการอยู่สิ้นเชิง
2. เป็นคนเก่ง แต่ไม่มีคุณธรรมจริยธรรม
3. ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
4. ไม่ปรับตัวกับ High Technology ที่เข้ามาอยู่เสมอ ยังใช้วิธีเดิม
5. ไม่มีเมตตา โอบอ้อมอารี เอื้ออาทร
6. ไม่พยายามให้เกิด Team Work
7. มอบหมายงานตามใจ (กิเลส) ไม่ใช่ความถูกต้อง
8. ไม่เป็นที่รักของผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน
9. ไม่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
10. เป็นคนที่ไร้เหตุผล

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

  • ภาวะผู้นำไมได้มาจากพรสวรรค์ แต่ต้องมาจากพรแสวง โดยการเรียนรู้และฝึกฝน
  • ผู้นำต้องเป็นนักคิดและสร้าง Network ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง
  • ผู้นำต้องมีคุณสมบัตินักบริหารจัดการบวกกับ “การนำ” จึงจะครบถ้วน
  • ภาวะผู้นำต้องมีองค์ประกอบ 5E’s และมีคุณสมบัติด้านบุคลิกภาพ ด้านทักษะ ด้านกระบวนการนำและด้านความศรัทธา

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  • คนที่บริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดี ต้องเป็นคนที่ประเมินสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่จะประสบความสำเร็จต้องมีปัจจัยดังนี้

1.กำจัดความคิดในเรื่อง “สบายๆ” ออกไป

2.เข้าใจและวิเคราะห์ Stakeholder ตอบสนองให้ได้

3.สร้าง Commitment กับทุกคนในองค์กรได้

4.เรียนรู้ในการทำสิ่งที่ง่ายก่อน (ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่อง่าย)

5.รู้จักทำ Roadmap ในการเปลี่ยนแปลง

6.ใช้ OD Approach ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เปลี่ยนระบบงาน

15 มิถุนายน 2555

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

โดย ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

      กรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

      โดย คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • การเคหะดูแลปัจจัยสี่ที่สำคัญ
  • การเคหะต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง

วีดิทัศน์ ชนเผ่าบุชแมนและคนเมือง

  • ชนเผ่าบุชแมนอยู่อย่างพอเพียงในทะเลทรายกาลาฮารี ขุดหาอาหาร มีความรู้ว่าอย่างไหนกินได้ รู้วิธีหาน้ำ เช่น น้ำค้าง น้ำบนใบหญ้า
  • เขาเชื่อว่า เทวดาส่งสิ่งมีประโยชน์ ไม่มีอะไรชั่วร้าย ไม่มีการลงโทษใคร เด็กจึงเป็นเด็กดี
  • มีการละเล่นสร้างสรรค์
  • ความแตกต่างคือ เขาไม่รู้สึกความเป็นเจ้าของสิ่งใด
  • ไม่มีนาฬิกามากำหนดให้เขาทำอะไร
  • วันหนึ่งมีขวดแก้ว 1 ขวดตกมา เขาก็นำมาใช้ยืดหนังงู ทำของเล่น เครื่องดนตรี ทุกคนอยากใช้มันจึงไม่ยอมแบ่งให้ใคร เกิดความอิจฉาริษยา จึงโยนคืนเทวดา แต่เทวดาไม่รับคืน ตกลงมาโดนคนบาดเจ็บ จึงเอาขวดไปฝัง แต่ไฮยีน่าขุดขึ้นมา ทำให้เด็กมาเล่น แล้วทะเลาะกัน จึงหารือกันระหว่างคนในหมู่บ้าน
  • เปรียบเทียบกับเมืองที่เจริญแล้ว
  • คนเมืองปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเขา เพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น
  • เช้าวันจันทร์ต้องรีบ และต้องไปทำงานให้ทัน
  • ต้องปรับตัวให้เข้าสิ่งแวดล้อมใหม่ตลอดเวลา

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ประเทศไทยเหมือนโดนขวดโคล่าโยนใส่
  • ธรรมชาติของชีวิตจะมีขวดโคล่าโยนใส่อยู่เรื่อยๆ เหมือนกับความเปลี่ยนแปลง
  • การบริหารความเปลี่ยนแปลงก็เหมือนการบริหารขวดโคล่า
  • บทเรียนจากวีดีทัศน์ หัวหน้าเผ่าต้องบริหารขวดโคล่า (ความเปลี่ยนแปลง) ที่หล่นใส่
  • บางทีผู้บริหารก็โยนขวดโคล่าใส่เอง หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงเอง
  • สังคมเมืองถูกขวดโคล่าโยนเข้ามา จึงออกกฎต่างๆ ทำให้คนในเมืองเรียนหนังสือนานจึงเอาตัวรอดได้
  • ความท้าทาย
  • บริหารความเปลี่ยนแปลงอย่างไรที่มาเองจากภายนอก
  • บริหารความเปลี่ยนแปลงที่เราสร้างความเปลี่ยนแปลงเอง

คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

  • ผมทำงานกฟผ.มา 26 ปี ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของกฟผ.
  • ได้เรียนกับอาจารย์จีระ ทราบว่า HRD ใช้ความรู้บริหารความเปลี่ยนแปลงเป็นความยั่งยืนกว่า
  • ทุกคนมักมองความสำเร็จส่วนตัวจึงเกิดความสำเร็จของทีมยาก
  • กฟผ.เป็น Stakeholder ของการเคหะ สร้างที่พักก็ต้องใช้ไฟฟ้าไปบริการ
  • กฟผ.มีบทบาทในการบริหารจัดการพลังงาน
  • ทุกคนอยากเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดี
  • จะดี ต้องเปลี่ยนอนาคตเพื่อความยั่งยืนของมนุษยชาติ
  • แต่การเปลี่ยนแปลง มีปัญหาเพราะมีการแย่งชิง ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การเมือง
  • การเปลี่ยนแปลงบางอย่างมาจากธรรมชาติ บางอย่างมาจากมนุษย์
  • ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ต้องสร้างแรงบันดาลใจ
  • ตอนนี้ต้องดูว่าเราอยู่ที่ไหนและจะเปลี่ยนไปที่ไหน
  • กฟผ.เปลี่ยนแปลงมาจากการรวมมีบริษัทลูกหลายๆบริษัท
  • เราต้องปรับตัวได้ แต่ต้องมีความยั่งยืน
  • ในกฟผ. ทุกคนต้องการเป็นที่ 1 การขึ้นไปไม่ง่าย แต่การรักษาสถานะก็ไม่ง่าย
  • ต้องรับการเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม
  • การเปลี่ยนแปลงก็มีความเสี่ยงเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน
  • มีหลายความเปลี่ยนแปลงมารุมเร้าภายใต้กฎที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง
  • กฟผ.สูญเสียสถานะ First Choice Energy Provider
  • เมื่อเปิด AEC ต้องมีการวางยุทธศาสตร์
  • เปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนต้องใช้ศักยภาพสูง
  • SOD กฟผ.จะมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือหาแหล่งพลังงาน ซึ่งต้องหาจากต่างประเทศแล้ว อาจต้องเปลี่ยนตามรัฐบาล นวัตกรรมเทคโนโลยี วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  • กรอบยุทธศาสตร์กฟผ.สนองเป้าธุรกิจหลักคือหาแหล่งพลังงาน แต่ไม่ได้เปลี่ยน Mindset ของผู้บริหารระดับสูง
  • กฟผ.มีวิสัยทัศน์ เปลี่ยนแปลงเป็นผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย
  • ผู้นำต้องสนับสนุน
  • ต้องดูความจริงว่า เราอยู่ตำแหน่งไหน อนาคตลำบากเพราะมีความต้องการพลังงานสูงมาก ต้องเปลี่ยนแผนแล้วสร้างสมดุลให้ราบรื่น
  • เราเปลี่ยนแนวคิดจากการสร้างโรงไฟฟ้า แต่เทคโนโลยีก็จำกัด ทรัพยากรก็มีจำกัด เราอาจจะเป็นผู้นำแหล่งพลังงานไม่ได้
  • สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ก็เป็นข้อจำกัดสูงมาก
  • กฟผ.ไม่ได้ถูกสร้างให้เป็นนักธุรกิจ
  • ถ้าเราจะวางกรอบการเปลี่ยนแปลง ต้องคิดให้มาก
  • ผู้นำเป็นผู้อนุมัติยุทธศาสตร์
  • แต่ประชาคมโลกมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงแล้วก็น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีได้ กฟผ.ต้องมองภาพประชาคมโลกและการแก้ไขสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
  • อุณหภูมิโลกสูงเป็นข้อจำกัดในการผลิตพลังงาน ทำให้ loss มากขึ้น
  • มีการรุนแรงกระแสฟ้าผ่าสูงขึ้น ต้องปรับปรุงเทคโนโลยี
  • การเปลี่ยนแปลงในโลกมีผลกระทบในประเทศไทยมากมาย แล้วจัดการอย่างไร
  • มีการพัฒนาเทคโนโลยี มี Smart Grid (เทคโนโลยีสนับสนุนการใช้พลังงานที่มีประสิทฺธิภาพสูง ปลอดภัย มั่นคง)
  • กระแสโลกร้อนเปลี่ยนแปลงการทำงานกฟผ.และการเคหะ การปลูกบ้านต้องตอบสนองอยู่ใกล้ธรรมชาติให้มากที่สุด
  • ต้องสร้างสมดุลระหว่าง Demand และ Supply
  • สิ่งสำคัญคือต้องมีการสร้าง Knowledge Power มีการ share และ learn จะได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
  • การเคหะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นกรอบการบริหารจัดการที่อยู่อาศัย
  • SCG สร้างสมดุลการเปลี่ยนแปลงได้ดีเจอผลกระทบโลกร้อนเหมือนกฟผ.
  • SCG พยายามพัฒนาวัสดุสร้างบ้านลดโลกร้อน
  • การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องใหญ่ เราต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เร็วโดยเฉพาะ Mindset ใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการเปลี่ยนแปลง
  • ต้องมีผู้นำที่มี Knowledge Power และเครือข่ายความรู้ร่วมขับเคลื่อน
  • การเปลี่ยน Performance ของคนไม่ง่าย แต่ถ้าเขายอมรับการเปลี่ยนแปลง Human Mindset จะทำให้เป็นไปอย่างราบรื่น ต้องเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ
  • กฟผ.พยายามเปลี่ยน Next Generation เป็นคนเก่ง เอื้ออาทร ไว้ใจได้
  • นำ Executive Coaching มาใช้พัฒนาผู้นำ
  • กฟผ.พัฒนาภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • กฟผ.ยืนหยัดได้ด้วยความรู้ในคนโดยเฉพาะการติดตามเทคโนโลยีในระดับโลก การสร้างความเชื่อมั่น Mindset ความสำเร็จเป็นทีม
  • กฟผ.ให้ความสำคัญแก่ความสุขของคนไทยและประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ได้มองตนเป็น First Choice Energy

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ต้องพัฒนาคน
  • ต้องเสนอให้รัฐบาลยอมรับให้ได้
  • กฟผ. เน้น Smart with big heart ดูแลชุมชนด้วย

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามาอย่างมากโดยเฉพาะจากต่างชาติ
  • ธนาคารไทยก็รวมกับธนาคารต่างชาติ ทำให้ต่างชาติมี Business Intelligence รู้ว่าที่ไหนของประเทศไทยควรทำอะไร
  • แรงงานไปไหลตายที่ต่างประเทศ
  • แรงงานความรู้ดีๆก็ไปทำงานบริษัทข้ามชาติ
  • การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง
  • ต้องตั้งสติให้ดี หารือกัน โดยมองไปข้างนอกว่า เกิดอะไรขึ้น
  • มองข้างในองค์กรว่ามีจุดอ่อนหรือจุดแข็งอะไร จะเกิดความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์
  • ต้องพยายามมองว่าจะทำอะไรต่อไป (Do the right thing) ทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยวางยุทธศาสตร์
  • ต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กร
  • ท่านบริหารการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว แต่รัฐวิสาหกิจทำตามที่รัฐบาลกำหนด
  • เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (เซป้า)
  • เซป้ากำหนดให้รัฐวิสากิจมองความท้าทายที่สำคัญภายนอก
  • ถ้ามีความท้าทายเช่น หนี้สิน และ AEC แล้วเซป้ากำหนดให้ผู้นำให้ความสำคัญ ก็ต้องนำการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์
  • เซป้ากำหนดให้รับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก
  • เซป้ากำหนดให้มีการวัดแล้วมีการบริหารจัดการความรู้ ใช้ปัญญาใส่เข้าไปจึงเกิดมูลค่าเพิ่ม
  • วางคนให้เหมาะกับงาน
  • นำผลการเปลี่ยนแปลงมา Share กัน
  • ทำตามแนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา (ระเบิดจากข้างใน)” ต้องมีการตามดูผลเรื่อยๆ

Workshop

การเคหะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีการบริหารจัดการอย่างไร

กลุ่ม 1

  • การเคหะได้รับอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจากภายนอก
  • ปี 2546-2547 รัฐบาลมีนโยบายให้ทำบ้านเอื้ออาทรจำนวนมาก ผู้บริหารเรามีการระดมสมองว่าจะรับมืออย่างไร เราดูแลก่อสร้าง บริหารชุมชน เดิมจะซื้อที่เองและออกแบบเอง ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบเทิร์นคีย์ เอกชนมาทำ
  • การบริหารชุมชน ต้องมีการตั้งสำนักงาน มีพนักงาน เรามีนโยบายบริหารชุมชน 5 ปีแล้วให้เขาบริหารกันเอง ทำให้เปลี่ยนวิธีทำงานจากเดิมทำเองมาเป็น Outsource
  • ต่อมา เปลี่ยนรัฐบาล สร้างเสร็จแล้วขายไม่ได้ ถ้ามีคำว่าเอื้ออาทร ก็จะถูกตัดงบ ผู้บริหารต้องหารือกับนักการเมืองทำให้เกิดความเข้าใจและได้รับความช่วยเหลือเพราะการเคหะทำเพื่อประชาชน ทำให้ได้เป็นเจ้าของบ้านและมีความมั่นคงในชีวิต
  • วันนี้ขอชื่นชมคุณกิตติที่นำเสนอกรณีศึกษาและดร.จีระก็มาช่วยเรา ท่านก็ช่วยให้กฟผ.ได้ตั้งหลักเหมือนกัน
  • อยากจะขอเสนอต่อผู้บริหารให้เชิญดร.จีระมาเป็นที่ปรึกษาเราต่อไป

กลุ่ม 4

  • ตั้งแต่ปี 2554-2558 มีคนเกษียณไป 500 คน
  • ปัญหาคือ บางสายงานโตไม่ทัน
  • ฝ่าย HR จึงจัด Succession Plan มีการคัดกรองผู้เข้ารับการอบรม เพื่อเตรียมรองเป็นรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ
  • ฝ่าย HR แก้กฎให้ดำรงตำแหน่งได้สั้นลง เพดานเงินเดือนลดลงเพื่อให้มีคู่แข่ง
  • จ้างคนมีความรู้เฉพาะด้านมาดำรงตำแหน่งกองเป็นต้นไป

กลุ่ม 5

  • โครงการเอื้ออาทรทำให้ได้บทเรียนการก่อสร้าง ผลดี ผลเสีย ทำให้ตระหนักว่าทำอะไรอย่าซ้ำรอยเดิม
  • เรายังทำโครงการเอื้ออาทรยังไม่เสร็จ
  • เราเริ่มมองว่า ถ้าไม่มีโครงการเอื้ออาทร จะทำอะไร
  • เราต้องทำเรื่อง EVM วิเคราะห์โครงการ วัดองค์กรด้วยค่า EP แต่พนักงานเราไม่รู้จัก จึงไปหาที่ปรึกษามาสอน กว่าจะเข้าใจแล้วนำไปใช้ ก็ยากมาก ไม่ถึง 10% ของพนักงานเข้าใจ
  • เราต้องศึกษา EVM ที่กำหนดว่า วิเคราะห์แล้วต้องมีการติดตามประเมินผล
  • เราต้องพยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์แล้วนำไปปฏิบัติจริง
  • เราต้องทำเซป้า
  • ผู้บริหารต้องตระหนักและให้ความรู้ EVMและ เซป้า
  • ต้องพัฒนาคนให้ตื่นตัว มีพร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม 6

  • เราต้องทำเซป้า เราทำโดยตั้งกรรมการ
  • เรายังไม่มั่นใจว่า มีความรู้พอเรื่องเซป้า
  • จากความเห็นส่วนตัว เรานำหลักฝรั่งมาใช้ตลอด เขามีระบบคู่มือทำงานดี  การเคหะมีคู่มือประเมินแต่ไม่แน่ใจว่าใช้หรือไม่
  • อย่างไรก็อาจจะเดินตามฝรั่งได้ไม่ครบ

กลุ่ม 3

  • การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะรู้
  • เมื่อวานนี้ หารือกันเรื่องผู้นำ 4 รุ่น
  • ตั้งแต่ ผู้ว่าการวทัญญู กำหนดให้แต่งตัว โต๊ะสะอาดเรียบร้อย ไม่ขอค่าล่วงเวลาวันหยุด  ให้ทำงานอุทิศตน
  • หลังจากนั้นมา ความรู้เรื่องวัฒนธรรมองค์กรก็เลือนลาง
  • เมื่อ 2 ปีที่แล้วสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจนขึ้น เราจ้างที่ปรึกษาสำรวจความคิดเห็น จัดหมวดเป็นค่านิยม 6 มั่น แล้วจัดกลุ่มอีกเป็น 3S (Spirit, Service, Sustainability) คือ ยึดหลักธรรมาภิบาล บริการด้วยใจรัก รู้จักพัฒนา
  • แล้วมีการสื่อสาร อบรม ใช้สื่อวัฒนธรรมองค์กร
  • 96% เห็นด้วยกับวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม จริยธรรม จรรยาบรรณ แสดงว่าการสื่อสารทำให้รับทราบ

กลุ่ม 2

  • โครงการเอื้ออาทรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ทำให้มีประสบการณ์มากมาย
  • ซื้อที่ดินระบบใหม่ ก่อสร้างระบบเทิร์นคีย์
  • เปลี่ยนแปลงระบบ HR
  • บริหารชุมชนด้วยระบบ Outsource
  • ถ้ามี AEC เราต้องไม่สร้างเอง แต่ต้องกำกับดูแล

ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

  • อาจารย์วทัญญูรู้จักกับผมดี ผมเป็นที่ปรึกษาปลุกบ้านโดยใช้วัสดุธรรมชาติ
  • จากการมาฟังวันนี้ เป็นการเตรียมตัวที่ดี ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ มีเงิน 3 หมื่นล้าน ผมได้แนะนำให้ทำโครงการป้องกันน้ำท่วม แผ่นดินถล่ม
  • การเคหะควรดูเรื่องบ้านลอยน้ำ นิเวศวิทยา
  • แถวถนนสามัคคีทำแล้วระบบนิเวศวิทยาดีขึ้น
  • การพัฒนาบุคลากรต้องกระตุ้นให้เกิดการระเบิดออกจากภายใน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ทั้ง 6 กลุ่ม ตรงประเด็นและเน้นความจริง
  • ต้องจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้
  • นอกจากเข้าใจและปลูกฝังความรู้ แล้วต้องจับมือกัน
  • อยากให้มีวิจัย บทเรียนที่ดีและไม่ดีจากโครงการเอื้ออาทร
  • ต้องมีความสุขในการหาความรู้
  • การเคหะต้อง Balance อนาคตที่ยั่งยืน
  • เรียนแล้วต้องนำไปทำต่อ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  • อยากรู้จักและเป็นแนวร่วมกับทุกคน
  • เอื้ออาทรเป็นแนวคิดที่ดีแต่การเมืองมองว่าเป็นปัญหา เราควรรู้จักนักการที่ดีมีอิทธิพลต่อเขา เขาเสียเปรียบทักษะการวิเคราะห์

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • เทคนิคฝรั่งมีมาก เราก็ดัดแปลงเพี้ยนไป เราก็ยังหนีไม่พ้นเพราะเราต้องแข่งขันกับต่างชาติอยู่
  • เราสามารถดัดแปลงให้เข้ากับประเทศไทยได้
  • เราต้องทำเอื้ออาทรเป็นปิ่นโตเถาใหญ่ เราต้องนำงานที่มีคุณค่ามาทำ
  • ปัญหา Succession Plan จะหาคนใหม่มาทำงานอย่างไร ทำอย่างไรให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน
  • ทำเซป้า ต้องตั้งสติทำให้ดี จะได้วัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน

คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

  • ใช้สติมองนโยบายรัฐแล้วใช้ปัญญาจะปรับตัวสร้างงานได้
  • ดร.วรภัทร บริษัท ทริส บอกว่า เราแก้ปัญหาเพื่อให้มีการพัฒนา ทำให้เรารู้สถานะของตนเอง เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง
  • โอกาสด้านภารกิจการเคหะมีมาก เพราะภัยคุกคามคือประชากรโลกเพิ่มขึ้น ที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ ต้องมีอนาคตที่สร้างขึ้นมา
  • สิ่งที่เรามีแต่เราไม่เห็นสำคัญ แต่ไปมีความสำคัญที่อื่นก็มี
  • ต้องมีความสุขพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโดย balance และพลังปัญญา
  • Networking สำคัญมาก
  • ภารกิจการเคหะจะทำใช้ชาติไทยอยู่อย่างยั่งยืน
 วันนี้ ได้ดู วีดิทัศน์ความเป็นอยู่ของชนเผ่าที่มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย  ตามธรรมชาติ จริง ๆ แลชนเผ่าทุกคน ล้วนแต่มีความสุขตามอัตภาพ มีความรัก ความอบอุ่น มีความสาคัคคีกัน  ทุกวัน  จนกระทั่งวันหนึ่ง มีสิ่งประหลาดหล่นลงมาจากฟากฟ้า ได้แก่ขวดโคลา ชนเผ่ารู้แต่เพียงว่าฟ้าประทานสิ่งนี้มาให้ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง เจ้าวัตถุประหลาดชิ้นนี้ เป็นของที่ชนเผ่าลองผิดลองถูก โดยนำมาเป่าเป็น ปี่ ขลุ่ย  มีเสียง เกิดขึ้น  บ้างก็ลองเอาสิ่งค่าง ๆ มาเคาะ ก็เกิดเสียงที่แตกต่างกันไปตามแต่วัตถุนั้น ๆ    บ้างก็นำมาใช้เป็นของแข็งมาทุบรากไม้ใหญ่ ๆ ให้เป็นชิ้นเล็กตามที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดการแก่งแย่งชิงขวดไปใช้ทำงาน ก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนของชนเผ่า    สร้างความสะเทือนใจแก่ผู้นำชนเผ่า ที่เห็นลูกหลานต้องทะเลาะแก่งแย่งขวดโคล่าอย่างมาก จึงคิดที่จะกำจัดเจ้าขวดประหลาดนี้ออกไปจากชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิความสงบ และสันติดังเดิม  เรื่องราวดังกล่าวกินใจมาก ชนเผ่าเริ่มเกิดความนิยมชมชอบ ในวัตถุนิยม ซึ่งเป็นตัวกิเลส ทำให้ความรัก ความสามัคคีหดหาย เหลือแต่ความเห็นแก่ตัวและอัตตา อยากได้ของสิ่งนั้นมาครอบครองเป็นของตนแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่คำนึงในสิทธิเบื้องต้นของคนที่กำลังใช้ขวดทุบรากไม้ โดยกำลังเข้าแย่งชิง และทำร้ายกันในเวลาต่อมา ซึ่งผู้นำชนเผ่ามีวิสัยทัศน์มาก รู้ว่าถ้าขขวดนี้ยังอยู่ในหมู่บ้าน จะเกิดความไม่สงบ จึงตัดสินใจ เดินทางไปที่ขอบฟ้าเพื่อทิ้งไปให้ไกลที่สุด เพื่อไม่ให้กลับมาได้อีด เรื่องนี้สอรว่า   วัตถุนิยม ก่อให้เกิดกิเลส  ทำให้คนเกิดความโลภ โกรธ หลง ทุกวันนี้ คอร์รัปชั่นมีมากมาย เพราะเห็นคนมอื่นมี คฤหาสน์ มีรถหรู ทำให้อยากมีบ้าง ต้องการรวยเร็ว เพื่อสนองตัณหาของตน ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย มีแต่ตัวกูของกูเป็นที่ตั้ง                              
                                                                 วรรณภา พิลังกาสา

   ประทับใจ และรุ้สึกโชคดีที่ได้เข้ารับการอบรมรุ่นนี้    ช่วงแรก อาจารย์ จิระ ได้กระตุ้นให้เกิดความคิดจากบทเรียนรู้

ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คิดต่อเนื่อง และหาทางแก้ไขปัญหาที่เจอในงานทุกวันๆได้บ้าง

  ที่สำคัญน่าจะเป็นการกลับมามองตนเอง หยุดคิด ไตร่ตรองเป็นเรื่องๆ ปรับนิสัยตัวเองที่จะชอบทำงานเร็ว 

และมักจะขาดความรอบคอบที่จะเชื่อมโยงกับส่วนงานอื่น

สายันต์ ชาญธวัชชัย

จากการได้เข้าอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้นำระดับสูง” ในวันแรกทำให้เข้าใจความหมายของคำว่า Manager และ Leader มากขึ้น ทราบถึงความแตกต่างที่ชัดเจน เพราะการที่จะเป็นผู้นำได้นั้น ไม่ใช่จะเป็นแค่ผู้จัดการที่ขยันทำงานเท่านั้น แต่จะต้องมีคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม จริยธรรม ดูแลเมตตาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา นอกจากนี้ผู้ฟังจะต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และคิดหานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการดำเนินงาน

วันนี้เรียนแล้วจะได้อะไรบ้าง (14 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) ได้ความรู้ :-

           -  ความหมายของผู้นำจากผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน
           -  ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่
           -  ความแตกต่างของผู้นำกับผู้บริหาร
           -  ชนิดของผู้นำ      - มีศรัทธา
            - ทำตัวให้เป็นคนที่น่าสนใจ
            - มองสถานการณ์ข้างหน้าเป็นอย่างไร
            - ไม่ต้องพูดเก่งแต่ให้คิดมากๆ 
           -  การสร้างผู้นำ  ด้วยทฤษฎี 5 E’s
  Example       - เป็นตัวอย่างที่ดี
  Experience    - ถ่ายทอดประสบการณ์
  Education     - ให้ความรู้
  Environment   - สร้างบรรยากาศที่ดีจะทำให้ผู้นำเกิด
  Evaluation    - มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
           -  4 คุณลักษณะของผู้นำ
    1. Character    คุณลักษณะที่พึงปรารถนา
    2. Skill        การตัดสินใจ, เจราจาต่อรอง
    3. Process  มองทุกอย่างเป็นอนาคต
    4. Value    ความศรัทธาในผู้นำ

การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ

          1.  การสร้างผู้นำ ด้วย ทฤษฎี  5 E’s
          2.  คุณลักษณะของผู้นำ 4 อย่าง
ทั้งหมดจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดผู้นำที่ดี ให้แก่องค์กร

ช่วงบ่าย วิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ความรู้ :-

           -  กรอบความคิด คนจะทำงานได้ดีต้องมี
  1. Competency   - ความรู้/ทักษะและทัศนคติ
  2. Motivations     - แรงจูงใจ
           ดังนั้น คนเป็นหัวหน้างานต้องสร้างสิ่งเหล่านี้
           -  บทบาทสำคัญของผู้นำ คือ ต้องเข้าไปจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
           -  แรงผลักดันต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
           -  ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารความเปลี่ยนแปลง
  - ต้องพัฒนาตลอดเวลา
  - บริหารผู้มีส่วนได้เสีย
  - สร้างข้อตกลง
  - อย่าคิดซับซ้อน ทำที่ง่ายๆ ก่อน
  - จัดทำ Roadmap การบริหารความเปลี่ยนแปลง
  - ใช้การพัฒนาองค์กรที่สำคัญ
           - GE’s change Model : Change Acceleration Process (CAP)

การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ

          1.  ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
          2.  คนจะทำงานได้ดีต้องมี
           -  ความรู้/ทักษะ/ทัศนคติ
           -  แรงจูงใจ
        ทั้งหมดจะเป็นสิ่งที่คนเป็นหัวหน้างานจะต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา เพื่อให้สามารถทำงาน และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

ขอแสดงความยินดีกับประธานรุ่นที่ 1 ในหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง การเคหะ ประธานฝ่ายชายได้แก่ คุณชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์ และประธานฝ่ายหญิงได้แก่ คุณยุบล พิศิษฐวานิช ครับ

 

Learning Forum & Workshop หัวข้อ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ปัญหาของการเคหะคือ ถ้าไม่ต้องผ่านองค์กร ผลประกอบการก็จะเป็นเลิศ
  • ผลประกอบการคือเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • วิสัยทัศน์ได้มาโดย
  • สนใจความรู้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • อ่านหนังสือมากและหลายๆชนิด
  • รู้จักเรียนรู้จากงานที่ทำ
  • ช่างสังเกตแล้วนำไปปฏิบัติ
  • มีพันธมิตรทางปัญญามากๆ
  • เลือกดูรายการโทรทัศน์ที่ให้ประโยชน์
  • ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ
  • มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ KM ไม่ใช่ LO เพราะ KM คือการบริหารความรู้ แต่ LO บังคับให้เรามองอนาคต
  • เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

Workshop

กลุ่ม 1+6

ข้อ 1 วิเคราะห์ External Environment กับจุดอ่อนและจุดแข็งของการเคหะฯ

จุดแข็ง

จุดอ่อน

เศรษฐกิจสังคม

  • ประชากรโลกเพิ่มขึ้น กระทบที่อยู่อาศัย
  • การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
  • AEC
  • เราทำที่อยู่อาศัย
  • สังคมผู้สูงอายุ เราทำที่อยู่
  • ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น แยกครอบครัวออกไป
  • เศรษฐกิจอาเซียนดีขึ้น มีการเลือกที่หลากหลายขึ้น

 

  • คู่แข่งมากขึ้น
  • รู้จักสิทธิมนุษยชน ต้องมีกฎหมายรองรับชัดเจนมากขึ้น
  • กลุ่มวิชาชีพมีการเคลื่อนย้าย เกิดการแข่งขันมากขึ้น

 

จุดแข็ง

จุดอ่อน

เทคโนโลยี

  • พัฒนาวัสดุก่อสร้างดีขึ้น แต่ราคาถูกลง
  • Network ระหว่างประเทศ

 

  • ตามไม่ทัน
  • ต้องใช้เงินลงทุนเทคโนสูง
  • ภัยธรรมชาติ
  • ขาดแคลนทรัพยากร ทำให้ต้องปรับตัวโครงการที่ดำเนินการ เราวิจัยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์

 

จุดแข็ง

จุดอ่อน

การเมือง

  • นโยบายการเมืองสนับสนุน เพราะเป็นปัจจัยสี่

 

 

  • รัฐบาลเปลี่ยนบ่อย ต้องปรับตัวสูง
  • การก่อการร้าย ทำให้ชะลอการลงทุน

 

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • มีการระดมความคิดที่ดี
  • การจัดกลุ่มบางกลุ่มไม่ค่อยไปด้วยกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • นี่คือโมเดลของเฮย์ ต้องทำทั้งกระบวนการ เป็นการกระจายความรู้
  • มีความเข้าใจภาพรวมและภาพกว้างดี
  • ต้องใช้จุดแข็งสร้างโอกาสต่อไป ดังนั้นวิสัยทัศน์จึงเป็นไปได้ จึงมองโอกาสใน AEC ได้
  • อาจเรียนผู้ว่าการขอให้มี Study Group เรียนรู้แต่ละประเทศในอาเซียน การเคหะอาจจะเสนอโครงการ AEC ได้

 

 

กลุ่ม 2

ข้อ 2 วิเคราะห์ Internal Environment กับจุดอ่อนและจุดแข็งของการเคหะฯ

จุดแข็ง

จุดอ่อน

  • มีบุคลากรที่มีอาชีพหลากหลาย สามารถพาองค็กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ
  • มีความเป็นพี่น้องสูงมาก สามารถพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ
  • มีสำนักงานดูแล เป็นบริการหลังการขาย
  • เป็นผู้นำช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในสังคม

 

  • ผู้บริหารขาดช่วง ผู้บริหารรุ่นต่อไปที่จะมาทำงาน ก็มีประสบการณ์น้อย
  • โครงสร้างเปลี่ยนบ่อย
  • ขาดการพัฒนาของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
  • เราทำเป็นสงเคราะห์ ธุรกิจมีปัญหาไหม
  • หนี้สูง กู้มาทำบ้านเอื้ออาทรมาก
  • ขาดการใฝ่รู้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งที่มีวัฒนธรรมองค์กรดี
  • ภาษาสำหรับ AEC

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ลงลึกมากกว่าเมื่อวานนี้
  • ต้องหนีจุดอ่อน
  • การมีความหลากหลายเป็นจุดแข็งมากที่สุด แต่แรงบันดาลใจ ความภูมิใจในองค์กรขาดช่วงไปเล็กน้อย
  • จุดอ่อนอีกจุดคือความไม่ต่อเนื่องขององค์กร ต้องพัฒนา Succession Plan
  • ถ้าจะกำหนดวิสัยทัศน์ ก็ต้องดูศักยภาพของการเคหะด้วย แล้วไปเสริมให้ดีขึ้น อาจจะ Outsource ก็ได้
  • อาจจะต้องพัฒนาชุมชน ความเป็นอยู่ของคนมากกว่า Infrastructure
  • เป้าหมายธุรกิจไม่มีอะไรเป็นอุปสรรค
  • ต้องลงทุนเรื่องคน
  • ต้องคิดนอกกรอบ มีโครงการใหม่ๆ
  • ต้องสร้างเครือข่ายให้มากขึ้น เช่น ร่วมมือกับอบต.

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • โครงสร้างต้องเป็น Dynamic Organization รับโลกาภิวัตน์และต้องพัฒนาคนให้ทัน
  • ภาระหนี้ ปล่อยสินเชื่อให้คนมีรายได้ต่ำก็มีโอกาสเป็นหนี้ ควรตั้งเป้าว่าขาดทุนได้เท่าไร
  • ถ้าใฝ่รู้ไม่ทัน ก็จะปรับโครงสร้างไปไม่รอด

กลุ่ม 4

ข้อ 3

3.1 วิเคราะห์ Stakeholders ของการเคหะฯ คือใครบ้าง ยกตัวอย่าง

  • การเงิน เช่น ADB, World Bank, JBIC
  • เทคโนโลยี เช่น JICA เนเธอร์แลนด์
  • ประชาคม เช่น AEC APEC
  • กลุ่มลูกค้า
  • รัฐวิสาหกิจ เช่น ไฟฟ้า ประปา
  • เอกชน เช่น ผู้ประกอบการ ธนาคาร
  • ภาครัฐ เช่น สภาพัฒน์
  • อบต. อบจ.
  • NGOs
  • ผู้รับเหมาก่อสร้าง
  • สถาบันการศึกษา ในประเทศ ทำเกี่ยวกับวิจัยและ ในต่างประเทศ เกี่ยวกับความร่วมมือวิชาการ
  • นักการเมือง
  • อดีตพนักงานการเคหะ ที่ปรึกษาบริษัทต่างๆ
  • ศาสนา

3.2 อะไรที่เราทำได้ดีที่สุด เพราะอะไร

1.การพัฒนาเมืองและปรับปรุงชุมชนแออัด เช่น สนามบินหนองงูเห่า คลองเตย

2.ดูแลชุมชนและพัฒนาหลังการขาย

3.ออกแบบสิ่งก่อสร้างได้มาตรฐาน ไม่หนาแน่นเกินไป เน้นประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่ควรปรับปรุง

1.ติดตามหนี้ ทำโดย Outsource

2.จัดหาผู้รับเหมา ติดระบบประมูล จึงเลือกที่มีคุณภาพมาทำไม่ได้

3.แบบบ้านเหมือนกันหมด เพราะเป็นข้อจำกัดนโยบาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ดีมาก
  • ควรร่วมมือกับ World Bank, ADB, JBIC ทำโครงการให้ประเทศ GMS
  • ควรมองสื่อเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ตีโจทย์ดี
  • ดีที่มีการพูดถึงตนเอง
  • เนื้อหาครบ
  • เห็นด้วยในสิ่งที่ทำได้ดี
  • สิ่งที่ไม่ดี แต่ต้องปรับปรุง โดย Outsource

กลุ่ม 3

ข้อ 4

อีก 10 ปีข้างหน้า

วิสัยทัศน์การเคหะ

  • จะพัฒนาการอยู่อาศัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนเชื่อมโยงกับอาเซียน
  • เพิ่มเติมเรื่อง AEC และการบริหารจัดการน้ำท่วม

พันธกิจการเคหะ

  • การเผยแพร่ความรู้การพัฒนาที่อยู่อาศัยสู่อาเซียน
  • พัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับผู้ประสบภัยธรรมชาติในอาเซียน
  • เป็นผู้นำเครือข่ายในอาเซียนพัฒนาที่อยู่อาศัย

Core Values การเคหะ

  • นวัตกรรม
  • สร้างสรรค์
  • ความสุขในการทำงาน
  • มั่นคงและยั่งยืน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • โอกาสเรื่องต่างประเทศมาก
  • ควรฝึกภาษาต่างประเทศ
  • ทำเรื่อง Talent แล้วแต่ยังไม่พอ เพราะไม่ยั่งยืน
  • ควรทำงานเพราะมีความสุข
  • ต้องเปลี่ยนสมองเป็น Value ให้คนมาซื้อ
  • ต้องนำประสบการณ์ไปปะทะความจริง

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ต้อง Fit และ Proper นำคนมาบรรจุในตำแหน่งต้องมีความเหมาะสมด้วย
             ช่วงเช้าฟังบรรยายการบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อโดยท่านอาจารย์ปัณรส และตัวอย่างของ กฟผ. โดยอาจารย์กิตติ โดยเฉพาะวีดีโอคลิปชอบมาก ทำให้เข้าใจได้ดี เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง เราจะรับมืออย่างไรกับขวดโคล่าที่มีคนโยนมาให้ บางครั้งไม่ได้มาขวดเดียว มาเป็นร้อย ๆ ขวด นอกจากนั้นก็ได้ข้อคิดจากอาจารย์กิตติ เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง เราต้อง balance ให้เร็วที่สุด คือต้องเตรียมความพร้อมถือการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ มีความสุขกับการเปลี่ยนแปลงใช้พลังปัญญาในการบริหารการเปลี่ยนแปลง บ่าย โดยท่านอาจารย์จีระ “ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์”  ต่อ  ท่านแนะนำหนังสือดี 3 เล่ม คือ Mindset ข้อคิดของหนังสือคือ คนที่จะเปลี่ยนแปลงได้คือคนที่พร้อมจะเรียนรู้ตลอดเวลา เล่มที่ 2 คือ Mojo เน้นการค้นหาตัวเอง และถ้ามีปัญหาเราจะแก้อย่างไร เล่มสุดท้าย Saving the American Dream บทเรียนจากหนังสือเล่มนี้คือจะทำให้คนไทยหันมาดูประเทศของเรา จะนำเอาวิถีชีวิตเดิม ๆ ของคนไทยกลับมาอย่างไร ทำให้พวกเราได้ข้อคิดจากหนังสือทั้ง 3 เล่มเป็นอย่างมาก ต่อด้วยการบรรยาย Vision (วิสัยทัศน์) ที่ต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยและมีส่วนร่วมกำหนด และ Mission (ภารกิจ) จะทำเพื่อตอบสนอง Vision จบลงด้วยการทำ Workshop โดยวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของการเคหะฯ  ทั้งภายในและภายนอก วิเคราะห์ Stakeholders พวกเราลืม Stakeholders ที่สำคัญไป ท่านได้เพิ่มให้ คือ สื่อมวลชน   ซึ่งพวกเราเห็นด้วยอย่างยิ่ง จบลงโดยเราได้วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ Core Value ของการเคหะฯ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า  

สายันต์ ชาญธวัชชัย

จากการอบรมในวันที่ 15 มิ.ย.55

                การเปลี่ยนแปลงต่างๆจะเกิดขึ้นตลอดเวลาและมีผลกระทบทั้งในระดับบุคคล  ระดับองค์กร ระดับประเทศและระดับโลก  การเคหะฯเป็นองค์กรที่จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านจึงต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร  องค์กรจะปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นกับควานสามารถในการประเมินสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้แม่นยำเพียงไร   โครงสร้างองค์กรมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงและได้รับความร่วมมือจากคนในองค์กรหรือไม่
                การเขียนหรือกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรให้ได้ดี   จะต้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยโดยมีส่วนร่วมในการกำหนดและจะต้องมีข้อมูลใช้ประกอบการกำหนดวิสัยทัศน์หลายๆด้านเช่น  Core Value ขององค์กร    ผลการวิเคราะห์ SWOT ขององค์กร   ผลการวิเคราะห์ Stakeholders ขององค์กร   ในการกำหนดวิสัยทัศน์จะต้องยกระดับให้สูง  คิดให้ใหญ่  คิดให้ไกล  แต่ต้องสามารถทำจริงได้  ทั้งนี้ควรมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กรเป็นที่ปรึกษา

     -  การเป็นผู้นำที่ดี ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง และสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ จะต้องมองให้เห็นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงนี้ แล้วเลื่อกทำในสิ่งที่ถูกต้อง และจะทำอะไรก่อน หลัง ดูสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก ทำความเข้าใจกับทีมงาน ให้มีความไว้วางใจ มีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ถูกกำหนด
     -  ผู้นำต้องรู้จักตนเอง จุดอ่อน จุดแข็ง เช่นกันต้องรู้ว่าจะนำองค์กรไปในทิศทางใดและให้มีความยั่งยืน จุดอ่อน จุดแข็ง ขององค์กร การกำหนด VISION เพื่อนำไปสู่อนาคตขององค์กร

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์
  15 มิถุนายน วันนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง จาก อ.ปัณรสและกรณีศึกษาจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของอ.กิตติ  ได้บทเรียนจากวืดืทัศน์ว่าผู้นำต้องบริหารจัดการ ความเปลี่ยนแปลง ต่างๆที่หล่นใส่ ต้องตั้งสติให้ดี มองสถานการณ์ภายนอก และมองจุดอ่อนจุดแข็ง ภายในองค์กร  ผู้นำต้องสร้าง Mindset  มีความรู้ความเข้าใจ และใช้ประสบการณ์เพื่อที่จะ Balanceตนเองในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างที่ผู้นำจอดรถหันหลังดูลูกน้อง ชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจและเข้าถึงลูกน้อง ทำให้เกิดความไว้วางใจระหว่างกันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 
    ในช่วงบ่าย อาจารย์ จืระได้ให้ความรู้ในการกำหนด VISION MISSION และ CORE VALUE ซึ่งผู้นำต้องให้ความสนใจ  ช่างสังเกตและนำไปปฎิบัติ  มีพันธมิตรทางปัญญาหลายๆด้าน  มีการเรียนรู้ตลอดเวลา  และการมี VISION ที่ดีคนที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการกำหนด   ซึ่งความรู้ที่ ได้รับจะนำไปใช้ในการปรับปรุง ทบทวน VISION MISSION และ CORE VALUEขององค์กรเพี่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้          
                ณงก์เยาธ์  เพียรทรัพย์                                              

นายสุริยา ลือชารัศมี

สิ่งที่ได้จากการเรียนวันแรก 14 มิย. 2555 ในสังคมประกอบด้วยคน สาขาอาชีพต่างๆ มีความสัมพันธ์กันในระดับต่างๆกัน มาทำงานร่วมกัน อยู่ในองค์กรเดียวกัน องค์กรก็เหมือนสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้น เติบโตได้ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรื่องขององค์กรจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งสิ้น ผมเคยมีความคิดว่า คนคือทรัพยากรภายใน องค์กร วันนี้ความคิดได้เปลี่ยนไป ได้ความรู้มากขึ้นว่า คนทุกๆคนในองค์กร เปรียบเสมือน ทุนขององค์กร เป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุด ( ถ้าได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการที่ดี ) ถ้าเราต้องการพัฒนาองค์กรให้เจริญเติบโต และยั่งยืน เราต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาคน

 คนในองค์กรประกอบด้วย  คนในระดับปฎิบัติงาน  ระดับหัวหน้างาน ระดับผู้จัดการ  ผู้บริหารระดับต้น และผู้บริหารระดับสูง  ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำองค์กร
  ด้วยคุณสมบัติที่สำคัญ  ที่ผู้นำต้องมี  คือ มีวิสัยทัศน์  มองกว้างไกล   มีความรอบรู้ คาดการณ์อนาคตได้   ผู้บริหารระดับสูงด้วยตำแหน่งและหน้าที่  จึงมีโอกาสที่จะมองเห็นภาพในมุมที่กว้างกว่า   รู้สถานภาพ  สถานการณ์ขององค์กรได้มากกว่า  จึงถูกเรียกว่าผู้นำองค์กร     แต่การเป็นผู้นำที่ดียังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกที่สำคัญ   ซึ่งสามารถเรียนรู้  และฝึกฝนได้  ไม่เฉพาะแต่ในผู้บริหารระดับสูง   ผู้ปฎิบัติงานในระดับต่างๆก็สามารถเรียนรู้และมีได้  คือ  การเป็นผู้ใฝ่รู้ ติดตามหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ    มีความรับผิดชอบ   มีความซื่อสัตย์สุจริต    

มีจริยธรรม เมตตาธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ประนีประนอม เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น

 ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์ จิระ  ที่ว่า  ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์   แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้  และสามารถฝึกฝนได้

ส่วนการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ คน สังคม เศรษฐกิจ โลก เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราอยู่ในสังคมจึงต้องมีการปรับตัว องค์กรก็เกี่ยวข้องกับสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งในด้านภัยธรรมชาติ และการขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นของคนในปัจจุบัน คือพลังงานและอาหาร เมื่อองค์กรต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง คนในองค์กรต้องยอมรับและปรับตัวให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่มากระทบ การเปลี่ยนแปลงคนเป็นเรื่องที่ยากที่สุด ความรู้ที่ได้วันนี้ ให้เริ่มเปลี่ยนความคิดของคนก่อน  ให้เกิดความเชื่อที่ถูกต้อง เปลี่ยนความคาดหวัง เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงผลงานที่ดี และในที่สุดเปลี่ยนแปลงชีวิตให้มีความสุข…..

มรัญสิตา ตีระศิริสิน

วันที่15 มิย. 55 ได้รับความรู้เพิ่มเติมเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง ในมุมมองของ อจ.ปัณรสฯ คือการเคหะมีภารกิจด้านปัจจัยสี่ คือสร้างที่อยู่อาศัย ในระหว่างเส้นทางการดำเนินงาน จะต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกและภายใน ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ จึงเกิดความท้าทายที่จะต้องมีทักษะ เทคนิคทั้งเชิงรับและเชิงรุกเพื่อขับเคลื่อน และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น สำหรับอจ.กิตติ ได้นำกรณีศึกษาของ กฟผ. มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมองความสำเร็จของทีม สร้างความเชื่อมั่น ใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการเปลี่ยนแปลง ด้วยวิธี Balance ระหว่าง Demand กับ Supply เปลี่ยนทัศนคติ รู้ตัวตน และปรับตัว มีการสร้างKnowledge Power ที่มีทั้งการ share และ learn เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และเพื่อความยั่งยืนของมนุษยชาติ *** สุดท้าย อจ.จิระ สรุป ให้รู้จักBalance การเปลี่ยนแปลง อันดับแรกคือการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองก่อน อย่าหยุดการเรียนรู้ หมั่นดูข้อมูลทาง Internet ร่วมกันสร้าง Brand ขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น พร้อมมีแนวร่วมกัน รักสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน :-)

นายถวัลย์ สุนทรวินิต

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ ( ๑๕  มิถุนายน  ๒๕๕๕ )     โดย  นายถวัลย์  สุนทรวินิต

๑.     การเปลี่ยนแปลงต้องการผู้นำที่สามารถสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และพร้อมให้ความร่วมมือร่วมใจ

๒.    การเปลี่ยนแปลงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนทุกด้านทั้งภัยคุกคาม โอกาส จุดอ่อน และจุดแข็ง

๓.     เมื่อพิจารณาข้างต้นถี่ถ้วนแล้ว จึงเป็นการจัดสรรสรรพกำลัง เช่น บุคลากร เงินทุน รายงาน ข้อมูล ฯลฯ เข้าจัดการกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆให้บรรลุจุดประสงค์

๔.     ได้รับทราบตัวอย่างการดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ปรับตัวจากลักษณะงานสายวิศวกรรมเป็นหลัก สู่สายประชาสังคม เพื่อความอยู่รอดร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน

๕.     ได้รับโอกาสทดลองฝึกการคิดวิเคราะห์ในด้าน External/Internal Environment กับจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร  ในด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร กิจกรรมที่องค์กรมีความสามารถ/ถนัดที่สุด  กิจกรรมที่ไม่สันทัดแต่ยังต้องปฏิบัติ

๖.      เรียนรู้และทดลองการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างน้อย ๑๐ ปี

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ผศ.ปัณรส     มาลากุล  ณ  อยุธยา

 

ผู้บริหารต้องพิจารณาอะไรบ้างเพื่อที่บริหารการเปลี่ยนแปลง

-  มองข้างนอกดูด้วยกัน  ดูสภาพแวดล้อม  เราจะทำอะไรวันต่อไป  ต้องเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง

-  การเข้าใจด้วยกัน  จะเข้าถึงปัญหาขึ้น

-  มีความไว้วางใจ  จะเกิดความเชื่อมั่น

“การระเบิดจากข้างใน”  จะเกิดการพัฒนาขึ้น

กฟผ.    เป็นองค์กรตัวอย่างปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสุขของคนไทย  โดยมองลงมาข้างล่างมากขึ้น  เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด

คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา  โดยมี  “ปัญญา”  เป็นเครื่องนำทาง

 

                                                                                               

                                                                                               

วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์  (2)

ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์

 

Vision   ที่ดีให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย  และมีส่วนร่วมกำหนดด้วย  เพราะ  Vision  ไม่ใช่ ของคนๆ หนึ่ง

การเกิด  Vision  ของหน่วยงานเกิดจาก

-  ผู้นำที่ให้ความสนใจต่อ  Vision

-  มีการระดมความคิด  (ห้ามคิดเอง)  รับฟังความคิดที่แปลกใหม่  ต้องมีคนภายนอกเข้าไปช่วย

ใน  10  ปีข้างหน้า  “วิสัยทัศน์”  ของการเคหะแห่งชาติควรจะเป็นอย่างไร

                                                                                               

                                                                                               

วันที่สองได้รับความรู้ว่า ภายใต้โลกาภิวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดจากการที่เรากำหนดได้เอง หรือ เกิดจากที่เรากำหนดไม่ได้ ซึ่งทำอย่างไรเราจึงจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นศาสตร์ที่ต้องศึกษาเรียนรู้ มีกระบวนการที่เป็นระบบ โดยต้่องสร้างยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง ภายใต้ข้อจำกัดและความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ขององค์กรและที่สำคัญต้องมีผู้นำทีมีวิสัยทัศน์กว้างใกล มีการมีส่วนร่วมของผู้ปฎิบัติงาน รวมทั้งต้องคำนึงถึงผลกระทบ และปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งหลาย ต้องมีการทบทวนและปรับแผนยุทธศาสตร์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไปได้อย่างไม่มีอุปสรรค ดังนั้น การบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีการเตรียมพร้อมที่จุรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติ และรอบคอบจึงจะทำให้องค์กรดีขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงได้น้อยที่สุด

พิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2012  วันที่สองของการเรียนหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 1  เนื้อหาแน่นมาก  เช้าวันนี้เป็นเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง (2) โดย ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา เป็นการถ่ายทอดโดยภาพยนต์  และกรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  โดย คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด  การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งจากภายนอก และที่เราสร้างขึ้นเอง เป็นความท้าทายสำหรับผู้นำที่จะสามารถบริหารความเปลี่ยนแปลง •          การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงต้องตั้งสติให้ดี ต้องมีการปรึกษาหารือกัน โดยมองไปข้างนอกว่า เกิดอะไรขึ้น และมองข้างในองค์กรว่ามีจุดอ่อนหรือจุดแข็งอะไร จะเกิดความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ และต้องประเมินสถาณการณ์ว่าจะทำอะไรต่อไป (Do the right thing) ทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยมีการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์  ส่วนภาคบ่าย อาจารย์จีระ สอนเรื่องภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) แนะนำหนังสือดี ๆ 3 เล่ม ที่ควรบรรจุไว้ในทุนมนุษย์ในองค์กรของเราเป็นอย่างยิ่ง 1 Mindset 2 Mojo 3 Saving the American Dream และวิสัยทัศน์ได้มาโดยต้องสนใจเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อ่านหนังสือมากและหลายๆ ชนิด รู้จักเรียนรู้จากงานที่ทำ ช่างสังเกตแล้วนำไปปฏิบัติ มีพันธมิตรทางปัญญามากๆ  เลือกดูรายการโทรทัศน์ที่ให้ประโยชน์ ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ KM ไม่ใช่ LO เพราะ KM คือการบริหารจัดการองค์ความรู้  และเรียนรู้ตลอดชีวิต

“ความเปลี่ยนแปลงสร้างมูลค่าเพิ่มทางปัญญาให้ทุนมนุษย์เสมอ”

วันที่ 15 มิ.ย.55 ได้เรียนจากอาจารย์หลายท่าน วิชาการบริหารความเปลี่ยนแปลง(2)  ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(2) และยังมีกรณีศึกษาของ กฟผ. ได้รับความรู้อย่างมาก นำมาใช้ในการเคหะแห่งชาติได้อย่างดี การมองอนาคตการเคหะแห่งชาติในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก  ที่สำคัญต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่โลกาภิวัฒน์   AEC            โครงสร้างองค์กรต้องเป็น Dynamic Organization  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ซึ่งต้องเรียนรู้ตลอดเวลา  ทั้งการอ่าน การพัฒนาเน้นในลักษณะ Coaching นอกเหนือจาก Training และ Workshop

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

วันที่ 15 มิ.ย.55 ได้ระดมสมองเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์-พันธกิจของกคช. เตรียมพร้อมรับมือภารกิจในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยได้ Raise ปัจจัยที่มีผลทั้งภายนอก ภายใน Stakeholder มาหลายประการ

อยากให้นำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นตัวตั้งโดยเฉพาะที่เป็นจุดอ่อนต้องกำจัดออกไปโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์-กลุ่ม ในเรื่องการบริการ Change ภาวะผู้นำ มาใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไปด้วย

สมชาย เทวะเศกสรรค์

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจาก

1.จากภายนอกองค์กร เช่น ปัญหาจากนโยบายของรัฐ อุทกภัยต่างๆ ฯลฯ

2.จากภายในองค์กร เช่น การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง นโยบายของผู้นำในองค์กร ฯลฯ

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง การเคหะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ทำใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยถือว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ และปรับปรุงตัวเองก่อนและต้องเปลี่ยนแปลง ภายใต้กรอบนโยบายของรับบาล อะไรก็ตามที่เป็นความต้องการของพนักงานในการเปลี่ยนแปลง ต้องจับมือกันให้แน่น ใช้สติและพลังปัญญาให้มั่นคง ร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อปรับความต้องการและการให้บริการสมดุลกัน การเคหะแห่งชาติก็จะสามารถดำรงอยู่ได้

การอบรมครั้งนี้ วิทยากร ผู้จัด โดยเฉพาะท่านอาจารย์จีระ ให้ความเป็นกันเอง สร้างบรรยากาศที่อบอุุุ่่

 ระหว่าง อาจารย์- ลูกศิษย์ กระตุ้นความคิดให้ศิษย์ตลอดการอบรม.....แน่นอน นอกจากความรู้ ได้สิ่งที่ตามมาอีกมากมาย

 ที่จะเป็นฐานความคิดสร้างสรร ต่อยอดการทำงานของตัวเองต่อไป

นายอุดม เปลี่ยนรังสี

15 มิ.ย. 55

วันนี้ได้ฟังการบริหารการเปลี่ยนแปลงต่อในช่วงเช้า ฟังกรณีศึกษาของกฟผ.เป็นตัวอย่าง ทำให้ทราบว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด กลุ่มผม (3) ได้มีโอกาสเสนอกรณีตัวอย่างของกคช.บ้าง หัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร” ปัญหาที่ยังสงสัยว่า การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามต้องเปลี่ยนที่ Mindset แต่ไม่ทราบว่า มันสามารถหยั่งลึกลงไปถึงระดับจิตใต้สำนึกของทุกคนหรือไม่หากอยู่ในระดับจิตสำนึก ก็จะทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ยั่งยืน

ช่วงบ่ายดร.จีระได้นำเข้าสู่กระบวนการคิด การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ Core Value ใน 10 ปีข้างหน้าทำให้กระบวนการต่างๆที่แต่ละกลุ่มเสนอนำไปสู่วิธีคิดที่ง่ายขึ้น และมีเหตุมีผลเป็นรูปธรรม สามารถปฏิบัติได้ ไม่ใช่อยู่ในความฝัน

 

วันที่ 2 ของการเคหะ  ผมได้เห็นศักยภาพของผู้นำมากขึ้น

ช่วงเช้าได้รับเกียรติจากอาจารย์ปัณรส กับ คุณกิตติ ซึ่งทำหน้าที่ได้ทั้งคู่

อ.ปัณรสมีประสบการณ์มาก ในส่วนงานราชการและรัฐิสาหกิจ  ส่วนคุณกิตติเน้นกรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

อ.ทำนองก็เล่นบทผู้ดำเนินรายการได้ดีมากครับ

ช่วงบ่ายเป็นช่วงของผม เน้น vision ใน 10 ปี ข้างหน้า คาดไม่ถึงว่าการเคหะจะเน้น AEC และการดูแลน้ำท่วม ซึ่งทำให้ผมเห็นภาพว่า ถ้านำชุมชน +AEC +แก้น้ำท่วม การเคหะ จะมีบุคลากรพอหรือเปล่า: เพราะฉะนั้นทุนมนุษย์ต้องสร้างเร็ว และมีประสิทธิภาพครับ

 

  1. ในการเรียนรู้ต้องดึงเอา Trust ของสังคมกลับมา  ควรทำอย่างไร?
  2. ต้องมีวิธีการทีดี?
  3. การฝึกผู้นำครั้งนี้ เป็นจุดสำคัญ

สวัสดีครับอ.จีระ

                วันนี้ผมได้ฟังการบรรยายจาก อ.ปัณรส และอ.กิตติ

                 อ.ปัณรส ให้ดูวีดีทัศน์ “เทวดาท่าจะบ๊อง” ขวดโค๊ก ทำให้สังคมที่เคยสงบสุข กลับวุ่นวาย เปรียบได้กับสังคมไทยในปัจจุบัน หรือองค์กรในปัจจุบันที่วุ่นวาย เพราะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ทำให้เราในฐานะผู้บริหาร จะต้องพิจารณาการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นหัวข้อที่ท่านอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ได้ถ่ายทอดให้ฟัง

                อ.กิตติ  ได้พูดถึง กฝผ. Change ในปี 2512 มีบริษัทลูก 5 บริษัท สัดส่วนที่ กฟผ. บริหาร 47% ที่เหลือแบ่งเป็นสัดส่วนของ 5 บริษัท จากการเปลี่ยนแปลงของโลก กคช.ในอนาคตอาจต้องปรับเปลี่ยนการออกแบบบ้าน หรือวัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของโลก ในหลวงท่านทรงให้ความสำคัญกับคน “ปัญญาเป้นเครื่องนำทาง” ที่ผ่านมาองค์กรมักจะมองแต่ความสำเร็จ แต่ไม่มองTeam ซึ่งความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย team เท่านั้น

                อ.จีระ  ได้กล่าวถึงบทเรียนจากหนังสือดีๆ 3 เล่ม และได้บรรยาย “ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)” และได้ให้ผูอบรมทำ workshop จุดแข็ง – จุดอ่อน ของกคช. วิเคราะห์ Stakeholders ของการเคหะ  กำหนดวิสัยทัศน์-พันธกิจ และ Core Value ของการเคหะ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปี ข้างหน้า

                วันนี้ทำให้ผมได้รับความรูเพิ่มขึ้นครับ

                กราบขอบคุณอาจารย์ทั้ง 3 ครับ

วันนี้เรียนกับผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิชเรื่อง AEC ทำให้รู้สึกห่วงเมืองไทยมาก เพราะเหลือเวลาอีก 2 ปีครึ่งจะเข้าประชาคม ASEAN แล้ว แต่คนไทยยังตีกัน ทะเลาะกันไม่เสร็จเสียที ถ้ายังต้องเสียเวลาทะเลาะกันต่อไป ไทยคงไม่แคล้วถูกเวียดนามและสุดท้ายพม่า เขมรแซงหน้าเป็นแน่แท้ ใครจะช่วยให้คนไทยหยุดตีกัน แล้วกลับเข้าสู่บรรยากาศไทยนี้รักสงบได้เสียที ขอวิงวอนคนไทยทุกคนช่วยกันด้วยเพื่อลูกหลานของเรา จะได้มีอนาคตที่สดใสต่อไปและ (ปล.ไปเที่ยววัดอาซากุสะที่ญี่ปุ่น เมื่อช่วงสงกรานต์ได้เข้าไป Shopping ตั้งใจจะซื้อรองเท้าที่ Made in Japan เพราะเคยใช้คุณภาพดีและนิ่มสบายเท้า คู่แรกที่เลือก ปรากฏว่า Made in Cambodia!!!)

 

16 มิถุนายน 2555

Learning Forum & Workshop

การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) (1)

โดย ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช

      ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ    

      และ

      คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์    

      มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 

  • AEC เกี่ยวข้องกับทุกคน
  • ต่อไปประเทศไทยจะเปลี่ยนเป็นจังหวัดไปอยู่ในประเทศอาเซียน เรียนจบที่ไทยแต่สามารถไปลงทุนที่สิงคโปร์ไม่มีการกีดกั้น
  • AEC เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ยิ่งใหญ่
  • นักศึกษาที่เรียนที่ไทยก็สามารถโอนหน่วยกิตไปเรียนที่สิงคโปร์ได้ ตอนนี้กำลังปรับเวลาเปิดเทอมให้ตรงกัน กำลังทำมาตรฐานการศึกษาอาเซียนอยู่
  • AEC 2015 สิ่งที่เปลี่ยนทันที คือ ภาษีเป็น 0
  • 1 มกราคม 2558 เป็นวันที่เริ่มเปิดเสรีทุกอย่างในอาเซียน รวมทั้ง CLMV ด้วย
  • ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในอาเซียน คนไทยต้องพัฒนาภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน
  • 1 มกราคม 2553 เป็นวันที่เปิดเสรีประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ
  • อาเซียนมีประชากร 600 ล้านคน
  • หลังจาก1 มกราคม 2558 จะเป็นอาเซียน+1 (รวมจีน) จะเป็นอาเซียน+3 (รวมจีน เกาหลี ญี่ปุ่น)
  • อาเซียน+6 (รวมอินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ) อาเซียน+8 รวมสหรัฐ รัสเซีย (ยังไม่อนุมัติ แค่ประชุม)
  • ข้าวน่ากังวล เพราะอินโดนีเซียกีดกัน ไม่ให้นำเข้าก่อนอินโดนีเซียเก็บเกี่ยว เวลานำเข้าต้องนำเข้าไกลจาการ์ตา ภาษีสูงและทำให้ราคาแพง
  • ปี 58 มี Food Security Program แต่ละประเทศผลิตข้าวให้มากที่สุดจะได้ไม่นำเข้า
  • ทุกพืชของประเทศไทยถูกผลักให้เป็นพืชการเมือง นำเงินประชาชนไปซื้อ เกษตรกรจึงไปขายให้รัฐบาล
  • ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด แต่ถ้าเมียนม่าร์เปิดประเทศ ไทยจะเสียเปรียบ เมียนม่าร์ติดกับจีนและอินเดียแต่เกรงใจจีน
  • ท่าเรือทวายที่เมียนม่าร์เตรียมไว้ให้ไทยยังไม่มีความก้าวหน้า แต่ ท่าเรือชตะเวสำหรับอินเดียและท่าเรือจ้าวถิวสำหรับจีน พัฒนาไปไกลแล้วมีการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติส่งไป 2 ประเทศนี้แล้ว
  • อาเซียนมีกองทุนรัฐบาล 2 ประเทศคือ สิงคโปร์ (1 กอง) มาเลเซีย (3 กอง) มีหุ้นในบริษัทใหญ่ๆ ดังนั้นกองทุนเหล่านี้จึงไปได้สิทธิ์ในการแข่งขันในอาเซียน
  • สิงคโปร์ให้สิทธิ์บริษัทที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ได้สัญชาติสิงคโปร์และได้สิทธิ์อาเซียนด้วย
  • เวลาเปิดเสรี ภาษีนำเข้าเท่านั้นที่เป็นศูนย์
  • อย่าคิดที่จะขายในจังหวัดอย่างเดียว
  • เดือนนี้ เมียนม่าร์จะจัดสัมมนากฎหมายการลงทุนใหม่เพื่อดึงดูดนักลงทุนไปลงทุนในเมียนม่าร์
  • อสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาคบริการ ต้องดูข้อตกลงเปิดเสรีภาคบริการ ปรับลดอัตราภาษีไม่ได้ แค่ไปตั้งบริษัทในประเทศอื่นๆในอาเซียนได้ ถือหุ้นได้ 70%
  • ควรไปปลูกยางและปาล์มในทวาย มะริด เกาะสอง (เมียนม่าร์) ค่าที่ดิน 150 บาทต่อปีต่อไร่
  • ควรไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะโรงแรมในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ของเมียนม่าร์
  • ที่ย่างกุ้งค่าแรง 120 บาทต่อวัน ค่าห้องโรงแรมขึ้นเป็น 6,000 บาท มีคอนโดห้าดาว 13 แห่ง
  • มัณฑะเลย์มีประชากรมากที่สุด 5 ล้านคน
  • ควรไปลงทุนอินโดนีเซีย จะมีอัตรา GDP เพิ่มสูงสุด
  • ไปเกาะสุมาตรา ทำเกษตร (ปาล์มและยางพารา) และกาลิมันตันทำเหมือง
  • ควรไปลงทุนเวียดนาม จะมีอัตรา GDP เพิ่มสูงสุดเป็นอันดับที่สาม
  • การได้ภาษีเป็นศูนย์ ต้องมีแหล่งกำเนิดสินค้าในประเทศอาเซียน โดยมีวัตถุดิบอย่างน้อย 40% จากอาเซียน
  • ประเทศไทยกำหนดว่า สินค้าไม่ได้ภาษีเป็นศูนย์คือ ไม้ตัดดอก มันฝรั่ง กาแฟ เนื้อมะพร้าวแห้ง เพราะต้องการปกป้อง
  • ประเด็นสำคัญของ AEC Blueprint
  • การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน  เช่นเกษตร อุตสาหกรรม
  • มีนักธุรกิจไทยใช้สิทธิ์อาเซียนภาษีเป็น 0 แค่ 60%
  • การเปิดเสรีภาคบริการ ทุก sector ให้มาตั้งบริษัทได้
  • การลงทุน ให้มาลงทุนได้ในด้าน โรงงานอุตสาหกรรม เกษตร เหมืองแร่ ป่าไม้ ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องการผลิต
  • การเคลื่อนย้ายแรงงาน เฉพาะแรงงานฝีมือและระดับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น  7 สาขา แพทย์ พยาบาล นักสำรวจ สถาปนิก
  • ปัญหาหมอไทยไม่อยากไปต่างประเทศ (อาเซียน) เพราะว่า หมอไทยอยู่แนวหน้า อยากไปเรียนรู้ที่สหรัฐหรือยุโรปมากกว่า และสิงคโปร์ แต่สิงคโปร์เป็นเมืองที่อาหารไม่ค่อยอร่อย ชีวิตจำเจ
  • ประเทศไทยขาดแรงงานฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ
  • SMEs ยังไม่มีศักยภาพที่จะไป AEC
  • การเปิดเสรีแรงงานเข้ามา 2 ช่องทางคือการตั้งบริษัทและการเคลื่อนย้ายแรงงาน
  • 12 สาขาเร่งรัดร่วมมือทำมาตรฐานลดการกีดกันไม่ใช่ภาษี
  • ธุรกิจสปาต้องระวัง ต้องได้มาตรฐานอาเซียนมี 66 เกณฑ์
  • 1 ดอลลาร์ =818 จ๊าดพม่า
  • ในปี 2015 เมียนม่าร์จะมีตลาดหลักทรัพย์ บริษัทไดวา ของญี่ปุ่นไปช่วยตั้ง
  • พลาสติก อาหาร ก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมเด่นของอินโดนีเซีย
  • อุตสาหกรรมไทยเมื่อเปรียบเทียบอาเซียน
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ ไทยที่ 1 แต่อินโดนีเซียที่ 2 (คล้ายๆของไทยแต่ยังห่างชั้นแต่เขาประกาศจะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์อาเซียน)
  • ยางพารา ไทยผลิตมากสุด แต่ประสิทธิภาพต่ำกว่าอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซียประกาศตนเป็นศูนย์กลางการผลิตยางโลก เขาแปรรูปยางเป็นมูลค่าเพิ่ม
  • ไม้ จะมีปัญหาความขาดแคลน เมียนม่าร์ (ย่างกุ้งเป็นไม้สัก) และลาวมีไม้มาก
  • สิ่งทอ เวียดนามส่งออกเป็นที่ 1 รองลงมาคืออินโดนีเซีย มีกำลังซื้อจากประชากรที่เพิ่มขึ้นกัมพูชาที่ 3
  • สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยเป็นที่ 1ในอาเซียนคือ ชุดชั้นใน และชุดกีฬา
  • อาหารไทยเป็นที่ 1  คนอินโดนีเซียเน้นอาหารสุขภาพ มีคุณภาพ ราคาไม่เกี่ยง คนพม่านิยมอาหารไม่แพง รสชาติแบบอาหารจีนและอินเดีย
  • นิคมอุตสาหกรรมทวาย
  • นิคมอุตสาหกรรมทวายมีกฎหมายรองรับ เวลาลงทุนก็ปลอดภัยที่สุด มีโรงงานอุตสาหกรรม อาหารเสื้อผ้า เปิดให้ไปลงทุน
  • นั่งเครื่องบินจากย่างกุ้งไปสนามบินทวาย
  • ปลูกข้าวและยางพาราได้มาก
  • แถวมัณฑะเลย์ มีสินค้าจีนมาก
  • ถนนเมียนม่าร์ ดีสุดคือถนนจากย่างกุ้งไปมัณฑะเลย์ (ผ่านเนบิดอ)
  • สี พลาสติก อะไหล่รถยนต์ขายดีในเมียนม่าร์เพราะรถเสียบ่อย
  • ปตท.จะไปสำรวจน้ำมันที่เนบิดอ
  • เป้าหมายทวาย 14 ล้านตู้คอนเทนเนอร์
  • ทวายขาดเงิน ตอนนี้จีนกับสหรัฐแย่งชิงทวายอยู่
  • ถ้าทวายทำสำเร็จ ก็ไม่มีการส่งสินค้าไปแหลมฉบัง
  • ถ้าอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำเกิดที่ทวาย ไทยก็ได้ประโยชน์
  • ทวายขาดแผนการตลาด
  • ทวายมีบ่อน้ำมัน
  • ความเสี่ยงของทวาย
  • ประธานาธิบดีไม่มั่นใจศักยภาพทวาย
  • ปัญหาในพื้นที่
  • บริษัทพม่าถอนหุ้น
  • นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจ
  • ไทยตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่กาญจนบุรีเพื่อเชื่อมโยงกับทวาย
  • ที่ดินที่ทวาย ราคาเพิ่ม 400%
  • ที่ดินราคากาญจนบุรีราคาเพิ่ม 50%
  • ควรทำเกษตร และประมงในทวาย
  • ควรขายสินค้าอุตสาหกรรมในเมียนม่าร์
  • สินค้าเกษตรจะขายยากขึ้นในเมียนม่าร์เพราะผลิตได้
  • SMEs พม่า มีทุนจดทะเบียน 2 แสนบาท แต่เขาขาดเงินทุน ทักษะ
  • ทำอัญมณีที่มัณฑะเลย์ ไทยต้องเน้นฝีมือ
  • ควรไปทำธุรกิจท่องเที่ยวและสปาที่ประเทศลาว
  • อินโดนีเซียมีอนาคตที่สุด และจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ประเทศหนึ่งของโลกในปี 2025
  • CP, Thai Summit บ้านปู ปตท. Black Canyon, Coffee World ไปลงทุนที่อินโดนีเซีย
  • อันดับศักยภาพการผลิต ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซียตามลำดับ
  • อันดับขนาดเศรษฐกิจ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทยตามลำดับ
  • GDP ต่อหัว ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทยตามลำดับ
  • ไทยกับเวียดนามแข่งกันเป็นที่ 4
  • ควรลงทุนด้านเกษตร ในสุมาตรา
  • ควรลงทุนด้านอาหาร ในจาการ์ตา ชวา
  • ควรลงทุนด้านอาหาร เกษตรแปรรูป ในสุลาเวสี
  • ควรลงทุนด้านเหมืองแร่ ในกาลิมันตัน
  • ลำปุงในสุมาตรา จะมีสะพานแขวนเชื่อมเกาะสุมาตราและเกาะชวา มูลค่าสี่แสนล้านบาท
  • ควรทำประมงในเมียนม่าร์และอินโดนีเซีย มีปลามาก
  • ไทยส่งทุเรียนกับลำไยไปขายที่อินโดนีเซียแล้ว ควรจะขายมะม่วง กล้วย มังคุดด้วย ปัญหาคือแพคเกจไทยไม่สวย
  • คนไทยยังใช้สิทธิ์อาเซียนน้อย

 

นางวิไล  มณีประสพโชค

วันที่ 15 มิถุนายน 2555

  1. 1.      ประโยชน์ที่ได้รับจากวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง  - ผศ. ปัณรส  

ปัจจุบันองค์การต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์การต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ลูกค้า เทคโนโลยี และแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ ช่วยให้เห็นโอกาส และภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถปรับการดำเนินงานให้เป็นไปโดยราบรื่นต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดในกลยุทธ์ขององค์การด้วย ทั้งนี้ ได้มีกรณีศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลงของกฟผ.ซึ่งมีการพัฒนาบุคลากรให้มีมุมมองที่ดี โดยมีผู้นำที่ดี และไม่มุ่งหวังกำไรเป็นหลัก แต่เน้น ความสุขของประชาชน

การนำความรู้ไปปรับใช้กับ กคช.

กคช. สามารถนำวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ความรู้กับพนักงานทุกระดับให้มีมุมมองที่ดี เพื่อจะได้ปรับตัวได้ทันกับปัญหา และปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ

 

  1. 2.      ประโยชน์ที่ได้รับจากวิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (ดร.จีระ)

วิสัยทัศน์ คือทิศทางที่หน่วยงานจะไปแล้วทำให้อยู่รอด ซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย และมีส่วนร่วมกำหนดด้วย มีการกำหนดพันธกิจที่จะทำเพื่อตอบสนองเป้าหมายของวิสัยทัศน์นั้น ๆ

การนำความรู้ไปปรับใช้กับ กคช.

ได้เรียนรู้วิธีการคิดเพื่อทบทวน / กำหนดวิสัยทัศน์ของกคช.ในอนาคต เช่น ศึกษาจุดอ่อน,จุดแข็ง ของปัจจัยภายนอก /ภายใน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ต่อไป

 

 

น.ส.วัชรี  เกิดพิทักษ์

วันที่ 15 มิถุนายน 2555

  1. 1.      ประโยชน์ที่ได้รับจากวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง  - ผศ. ปัณรส  

ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังนั้นหน่วยงานต้องมีการบริหารเปลี่ยนแปลงที่ดี มีความสามารถในการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ลูกค้า ตลาด เป็นต้น สามารถปรับการดำเนินงานเพื่อคว้าโอกาสหรือจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างเหมาะสม และการดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปโดยราบรื่นและต่อเนื่อง

การนำความรู้ไปปรับใช้กับกคช.

จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับพนักงานทุกระดับเพื่อให้เข้าใจ มีมุมมองที่ดี และปรับตัวได้ทันกับปัญหา

 

  1. 2.      ประโยชน์ที่ได้รับจากวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (อ.จีระ)

วิสัยทัศน์ คือทิศทางที่องค์กรจะไปแล้วทำให้อยู่รอด ซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย และมีส่วนร่วมกำหนดด้วย มีการกำหนดพันธกิจที่จะทำเพื่อตอบสนองเป้าหมายของวิสัยทัศน์

การนำความรู้ไปปรับใช้กับ กคช.

          กคช.สามารถนำวิธีการคิดเพื่อทบทวนหรือกำหนดวิสัยทัศน์ของกคชในอนาคต เช่น ศึกษาจุดอ่อน –จุดแข็งของปัจจัยภายนอก-ภายในเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ของกคช.

 

 

Panel Discussion การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) (2)

โดย คุณอรุณี พูลแก้ว

ผู้อำนวยการ สำนักอาเซียน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

 

คุณอรุณี พูลแก้ว

เป้าหมายภายใต้ AEC

1.เป็นตลาดและฐานผลิตร่วม

  1.1มีการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า การลงทุน แรงงานฝีมือ

  • ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์
  • อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) ต้องหมดไป แต่ในความเป็นจริงกลับเพิ่มขึ้น
  • ต้องมีมาตรฐานอาเซียนร่วมกันและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐานโลก ตอนนี้ ทำแล้วกับเครื่องไฟฟ้าและเครื่องสำอาง
  • พิธีการทางศุลกากรทันสมัยขึ้น (ASEAN Single Windows) ส่งไปที่เดียวขออนุญาตทุกอย่าง แต่ยังไม่สำเร็จ ตอนนี้ทำในประเทศไทยก่อน มีการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเอง

1.2      อาเซียนสามารถถือหุ้นได้ถึง 70% ในธุรกิจบริการอาเซียน แต่โทรคมนาคมของไทยยังไม่เปิดเสรีเพราะเกี่ยวกับความมั่นคงและไทยยังไม่เก่งเรื่องนี้

  1.3 อาเซียนจะกลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนทั่วโลก

2.เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

3.พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

4.บูรณาการเข้าเศรษฐกิจโลก

  • ในแต่ละประเทศ มีช่องว่างให้เราไปทำธุรกิจ การเคหะสามารถนำวิศวกรไปทำงานด้วยก็ได้
  • สาขาท่องเที่ยวยังไม่ได้เปิดเสรี เพราะยังไม่มีมาตรฐาน จึงไม่มีอะไรมากีดกั้นคนเข้ามาทำงาน
  • การมีมาตรฐานเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาคุณภาพ

คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

  • การค้าบริการต้องเข้าใจ 4 หมวด
  • AEC เกี่ยวกับการเคหะ หมวด 3 การจัดตั้งธุรกิจ มีกฎระเบียบในประเทศ ไทยมี พ.ร.บ.โรงแรม กำหนดมาตรฐานโรงแรม ความปลอดภัย ผมจัดทำมาตรฐานสปาไทยสอดคล้องกับสากล เป็น Harmonization แต่ถ้าบางส่วนใช้กันไม่ได้ จึงบูรณาการระบบกันไม่ได้
  • มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขเรื่องสปา เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ เพราะไม่สามารถปิดกั้น จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยมีปัญหา
  • มาตรฐานภาครัฐของไทยนำไปใช้กับอาเซียนไม่ได้ ต้องมีการเจรจา
  • นักบริหารอสังหาริมทรัพย์ไทยก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้
  • ต้องหารือกับสถาบันการเคหะอีก 9 ประเทศในอาเซียนทำ MRA แล้วแจ้งรัฐ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ควรหารือว่า จากนี้ไป การเคหะจะปรับตัวอย่างไรเพื่อฉกฉวยโอกาสจาก AEC
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิจัยเกี่ยวกับ AEC แนะนำให้พัฒนา Professionalism, Internationalism และปรับ Mindset และ Attitude
  • การเคหะควรทำหลักสูตรบริหารจัดการชุมชน
  • ควรของบกระทรวงการต่างประเทศในการทำโครงการ
  • ควรจะร่วมมือกันทำหลักสูตรอาเซียนเสรี
  • การเคหะในฐานะประชาชนคนหนึ่งต้องรู้จริงและช่วยสังคมให้รู้มากขึ้น นำไปบูรณาการกับ AEC แล้วสร้างประโยชน์ในองค์กรของเรา
  • AEC ควรไปช่วยให้เราอยู่รอดในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในโลก
  • AEC คือการสร้างอำนาจต่อรอง
  • การเคหะควรสร้างความสัมพันธ์ด้านการเคหะ 10 ประเทศอาเซียนจะได้คุ้มค่า จะได้มี Benchmark การเคหะในระดับที่สูงขึ้น
  • อยากให้สรุป 5-6 เรื่องที่การเคหะจะทำต่อ
  • การเคหะมีธุรกิจอะไรหรือวิธีอะไรที่เข้าไปอยู่ใน AEC

คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

  • การบริหารธุรกิจในยุค AEC
  • ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องมองโลกออกมาเป็นจิ๊กซอว์ต่อกัน
  • ต้อง Lookout และ Outlook
  • ปัจจุบัน ซีกโลกตะวันออกมีบทบาทมากขึ้น เช่น จีน อินเดีย เกาหลี
  • อาเซียนกำลังดังในประเทศไทย แต่คนไทยมีความรู้อาเซียนเป็นอันดับที่ 10
  • ซีกโลกตะวันตกเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ต้องปรับตัวด้วยการประหยัดซึ่งประเทศเหล่านี้ไม่คุ้นเคย
  • มีการตั้งกองทุนหาประโยชน์ตอบแทนเป็นวินาที
  • ขอบเขตของการค้า
  • สินค้า
  • บริการ
  • ลงทุน
  • ทรัพย์สินทางปัญญา
  • การจัดหาภาครัฐ
  • ไม่ใช่แข่งขันเท่านั้นแต่ทำให้คู่แข่งเป็นพันธมิตรจะได้เกิด Value Added
  • Pascal Lamy ผู้อำนวยการองค์กรการค้าโลก (WTO) เน้นแนวคิด Made in the World หมายถึงคุณได้เท่าไรเราขอแบ่ง
  • อาเซียนมาจาก Platform ของ WTO ทั้งนั้น
  • Integration ไม่ใช่แค่ในอาเซียน แต่ครึ่งโลกเลย เป็น Trade Liberalization
  • Pascal Lamy บอกว่า ต้องกำจัด Non-Tariff Barrier ให้หมด
  • การเคหะเป็นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในบริการด้านการก่อสร้าง ซึ่งเป็น 1 ใน 12 สาขาบริการที่เปิดเสรี โดยมีเงื่อนไขกำหนดโดย AFAS (ASEAN Framework Agreement on Services)
  • การเคหะก็ดูแลชุมชนด้วย จึงอาจอยู่ในสาขาบริการด้านอื่นด้วย
  • อย่าคิดว่าการเคหะไม่มีคู่แข่งในอนาคต
  • ตามระเบียบ WTO บอกว่า ถ้าให้สิทธิ์สมาชิกรายหนึ่งแล้วก็ต้องให้รายอื่นๆด้วย ทำให้เกิดการเปิดเสรีให้ประเทศอื่นๆนอกอาเซียนที่เป็นสมาชิก WTO ด้วย
  • รูปแบบการเปิดเสรี

1.การให้บริการข้ามพรมแดน มีการเปิดเสรีอยู่แล้ว

2.การบริโภคในต่างประเทศ ไปรับบริการแล้วก็กลับประเทศ

3.การจัดตั้งธุรกิจ ไม่ใช่แค่เรื่องเงินทุน ต้องดูรายละเอียดด้วย

4.การเคลื่อนย้ายบุคคล ทำได้แต่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ภาคเอกชนต้องหารือกันแล้ว

นำมาแจ้งรัฐ

  • อย่าเป็น Protectionism ปกป้องยาก
  • ACIA ครอบคลุมการลงทุนในธุรกิจ Non-services
  • ประเทศไทยยังมีโอกาสใน AEC
  • Think Globally คิดให้รอบด้าน 360 องศา สามารถตอบปัญหาทุกมุมมองได้ นี่คือความเป็นมืออาชีพทุกบริบท
  • Act Locally ทำเรื่องยากๆให้ง่ายขึ้น
  • การเคหะต้องสำรวจห่วงโซ่อุปทานอยู่ตรงไหน สำคัญที่สุดคือความพึงพอใจของผู้บริโภคระดับโลกไม่ใช่แค่ชุมชนเท่านั้น
  • ดูตัวอย่างอุตสาหกรรมอาหาร ไก่ทอด ห่วงโซ่เริ่มที่มันสำปะหลังซึ่งเป็นอาหารไก่ 38 วัน ต้องใช้พลังงานและวัตถุดิบในการผลิตอาหารไก่เท่าไร ต้องสำรวจเชิงบัญชีว่าอยู่ตรงไหน
  • จากการศึกษาของดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เกี่ยวกับระดับศักยภาพการค้าภาคบริการ
  • สิงคโปร์เก่งการค้าบริการ คมนาคม เป็น ASEAN Food Channel มีอาหารทุกชาติในอาเซียนยกเว้นอาหารไทย เพราะสิงคโปร์กลัวไทย
  • ไทย มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามเก่งด้านผลิต แต่ไทยค่าแรงแพงกว่า
  • กัมพูชา ลาวและเมียนม่าร์ ขายทรัพยากรธรรมชาติอยู่ เช่นลาวสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขายไทย
  • ประเทศไทยยังมี Innovation Capacity Index ไม่ค่อยต่างกับประเทศอื่นๆในอาเซียน ดังนั้นต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น
  • การเคหะอาจจะร่วมคิดกับภาคเอกชนเพราะเขาหาลูกค้าเก่งกว่า และมีความเป็นอาชีพมากกว่า ต้องสร้างความร่วมมือทั้งในและนอกประเทศ มาตรฐานต้องเป็นสากล
  • ต้องรู้เขารู้เรา
  • อย่าเชื่อตามตำรามากเกินไป ต้องวิเคราะห์
  • ประเทศเป็น House คุณภาพชีวิตของคนเป็น Home
  • ต้องเลือกทิศทางให้ดี GDP ไม่ต้องสูง แต่คุณภาพชีวิตของคนต้องดี

ช่วงถาม-ตอบ

1.กรณีอียูกับอาเซียน อียูเคยรบกันมากเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา แต่รวมกันเป็นอียูได้ในปัจจุบัน

ไทยกับเมียนม่าร์ ก็มีความขัดแย้งในอดีต ความร่วมมือเสาวัฒนธรรมเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

  • AEC สามารถวัดกันได้ด้วยเชิงปริมาณ แต่เสาความมั่นคงและวัฒนธรรมขาดกันและกันไม่ได้
  • ถ้าเศรษฐกิจดี เราไม่เอาเปรียบเขา เรื่องอื่นๆก็จะดีตามมา
  • ความมั่นคงและวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบเสริมทำให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค

คุณอรุณี พูลแก้ว

  • เราไม่เคยยุ่งเกี่ยวความมั่นคงภายในซึ่งกันและกัน
  • เรายังไม่มีประธานอาเซียนที่พูดแทนกันได้ เพราะยังไม่ได้ถึงขนาดอียู
  • อียูมีเป้าหมายและขั้นตอนที่ชัดเจน

2.ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ถ้าสมาชิกไม่ปฏิบัติ มีบทลงโทษไหม

คุณอรุณี พูลแก้ว

  • ไม่ได้มีการระบุอะไรมาก

3.กระทรวงศึกษาเตรียมพร้อมเด็กๆอย่างไรเกี่ยวกับเรื่อง AEC ถ้าทำหนังเกี่ยวกับการสู้รบระหว่างประเทศ ก็ไม่สร้างสรรค์

คุณอรุณี พูลแก้ว

  • กระทรวงศึกษามีแผนและยุทธศาสตร์รองรับ AEC
  • กระทรวงศึกษาเน้นให้เรียนภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3

คุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

  • ภาคเอกชนในฐานะผู้ใช้ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยการผลิต น่าเป็นห่วงประเทศไทย
  • ความเป็นสากล ภาษาเป็นเพียงสื่อ
  • ความเป็นสากลยังรวมถึงสิ่งอื่นๆด้วย เช่นวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ทำอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจว่ามาด้วยเจตนาดี มาช่วยหาผลประโยชน์ให้เขา
     การเคหะแห่ชาติ ยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่จะดำเนินโครงการลงทุนใดๆ ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังในการใช้งบลงทุน หากหลักเกณท์เงื่อนไขยังถูกกำหนดในแบบเดิมๆ คิดว่าคงจะเข้าสู่ AEC ที่มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นไม่ได้  การจะไปลงทุนในต่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม.ก่อน เพราะปัจจุบัน การลงทุนทำโครงการยังต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒน์ฯ แล้วนำเสนอเข้า ครม.เห็นชอบ จึงจะทำโครงการได้   การไปลงทุนในต่างประเทศ อาจจะต้องเป็นแบบ G to G
     ในระยะเวลาอันใกล้ สิ่งที่การเคหะฯ ต้องเตรียมตัว น่าจะเป็นในเรื่องของการจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างที่มาจากต่างประเทศ การเคหะฯ ต้องเปลี่ยนหลักเกณฑ์เงื่อนไขเดิม จากผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนในประเทศไทย  เป็นจดทะเบียนในอาเซียน อาจจะเป็นสิ่งดีกับการเคหะฯ ที่มีผู้รับเหมามาให้เลือกมากขึ้น

      การเรียนในวันที่สาม เป็นเรื่องเกี่ยวกับ AEC วิทยากรให้ความรู้ในมุมมองทั้งด้านเอกชน ราชการ และนักวิชาการ ซึ่งจากเดิมเคยรับรู้เพียงเลือนลาง ทำให้ได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของกระแส AEC ในครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกแล้ว ยังส่งผลต่อประเทศต่าง ๆ อีกมมาย ทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ดังนั้น ผู้นำ/ผู้บริหารที่เตรียมพร้อมตั้งรับกับเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทันได้มากเพียงใด ย่อมสร้างความสามารถในการแข่งขันได้มากเท่านั้น สำหรับการเคหะฯ ซึ่งอยู่ในส่วนบริการด้านการก่อสร้าง ย่อมจะได้รับผลกระทบซึ่งมีทั้งโอกาสและอุปสรรคอย่างแน่นอน ผู้นำ/ผูบริหารจึงต้องเปลี่ยนวิธีคิด (ต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ ๆ) ต้องรู้จักคู่แข่ง คู่ค้า ลูกค้า และ พันธมิตร ที่จะต้องเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้

สายันต์ ชาญธวัชชัย
            การเข้าอบรมเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2555  ได้รับฟังการบรรยายเรื่องประชาคมเศรฐกิจอาเซียน (AEC) จาก อ. ทั้ง 3 ท่าน ทำให้มีความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรฐกิจอาเซียน (AEC) มากขึ้น  รู้จริงขึ้น จากที่เคยพอรู้แต่ไม่ได้ศึกษารายละเอียดเพราะไม่ให้ความสนใจอย่างจริงจังเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัวอีกตั้ง 3 ปี  เมื่อได้รับการอบรมแล้วความคิดเปลี่ยนไปมาก  การรวมอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวนั้นมีผลกระทบกับทุกคน  ทุกสังคมชุมชน  องค์กรต่างๆ ระดับประเทศ  ระดับภูมิภาคและระดับโลก  ทุกภาคส่วนจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทุกๆด้าน  ให้ยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืนในสภาวะที่มีการแข่งขัน  ประเทศไทยที่เคยคิดว่าตัวเองเป็นเบอร์หนึ่งในอาเซียน   คงต้องทบทวนและเร่งรีบพัฒนาทุนมนุษย์  ทุนประเทศอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ( อีก 2 ปี 6 เดือน )
                  การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรหนึ่งที่จะต้องคิดปรับวิสัยทัศน์และพันธกิจรองรับเพื่อให้องค์กรยืนหยัดอยู่ได้    ภารกิจหลักของการเคหะฯคือการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ดังนั้นเพื่อรองรับ AEC แนวความคิดในเบื้องต้นเห็นว่า
                1.  โครงการเชิงสังคม  การเคหะฯคงต้องคิดในเชิงรับเนื่องจากการเคหะฯจะต้องเปิดรับผู้ประกอบการต่างชาติ    เข้ามารับจ้างดำเนินการก่อสร้างในโครงการต่างๆของการเคหะฯ    แต่ถ้ามีการแก้ไขกฏหมาย  ข้อบังคับ  ระเบียบต่างๆและมีการมอบนโยบาย    การเคหะฯก็สามารถที่จะรับจ้างรัฐบาลประเทศต่างฯในอาเชียนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับเป็นสวัสดิการของผู้มีรายได้น้อยในประเทศนั้นๆได้
                 2. โครงการเชิงพาณิชย์  หากการเคหะฯคิดจะขยายกิจการสู่ภูมิภาคอาเชียนไม่ว่าจะด้านการก่อสร้าง   ด้านการบริหารชุมชนหรือด้านวิชาการ     การเคหะฯจะตัองคิดล่วงหน้าว่าเมื่อถึงวันนั้นจะไปทำอะไร  ที่ไหน    ต้องเตรียมการในเรื่องใดบ้าง   แต่ละกิจกรรมต้องดำเนินการเมื่อไหร่    ใครหรือหน่วยงานไหนเป็นผู้รับผิดชอบ   คำถามเหล่านี้คงยังไม่มีคำตอบ  แต่นับจากวันนี้ทุกคนในการเคหะฯจะต้องคิดและจะต้องช่วยกันทำให้สำเร็จ

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

วันที่ 16 มิ.ย. 55 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) จากอาจารย์ 3 ท่าน เห็นว่า AEC มีผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านบวกและลบ ซึ่งมีทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรหนึ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับ AEC โดยอยู่ในหมวดบริการด้านการก่อสร้าง ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการใหม่เป็นข้ามประเทศ เปลี่ยนยุทธวิธีในการดำเนินงาน เรียนรู้คู่แข่งใหม่ๆ ต้องหาแนวคิดในการใช้จุดแข็งที่มีอยู่สร้างโอกาสและปรับปรุงจุดอ่อนให้ดีขึ้นเพื่อหาแนวทางลดผลกระทบ นอกจากนี้ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างทัศนคติเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC ต่อไป >>ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์<<

ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

                โดย   ผศ.บัณรส มาลากุล ณ อยุธยา
                 คุณ กิตติ          เพ็ชรสันทัด

  • การใช้ VDO. PRESENTATION เรื่อง ขวด COKE เป็นตัวอย่าง ที่ดีมาก ในการให้เกิดปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากปัจจัยภายนอกและแนวทางแก้ไขปัญหาแบบชนเผ่า
  • ส่วนการยกกรณีศึกษา ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทำให้ทราบได้ว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของ กฟผ. มีหลายปัจจัยมากกว่าที่บุคคลภายนอก รับรู้ การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องต้องทำอย่างต่อเนื่อง และเน้นที่การพัฒนาบุคลากรให้ยอมรับ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดได้ โดยเน้น

                                                 “ CHANGE BETTER $ BETTER CHANGE
                                                                      FOR THE BETTER LIFE / LEADER”
    
    

    สรุปได้ว่า กฟผ. ได้พัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา น่าจะเป็นตัวอย่างในการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ “ การเคหะแห่งชาติ ควรเร่งพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ในเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

ศ.ดร จิระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้เข้าใจในเรื่องของ VISION , MISSION และ CORE VALVE อย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยง กับหัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง อย่างชัดเจน
สำหรับ WORKSHOP ทำให้คิดว่า การเคหะแห่งชาติจะต้องปรับ VISION และ MISSION อย่างแน่นอน เพราะมีปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลง หลายเรื่อง โดย เฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง (AEC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และปัญหาภัยธรรมชาติที่เกิดรุนแรงขึ้น

นายถวัลย์ สุนทรวินิต

สิ่งที่เรียนรู้วันนี้ ( ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ )  โดย นายถวัลย์  สุนทรวินิต

๑.     ธุรกิจในยุค AEC  ส่งผลให้ต้องปรับทัศนคติ มุมมอง ทำความเข้าใจให้มากพอ และเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่จะประดังเข้ามา ไม่เพียงกับประเทศไทย แต่กับการเคหะฯ เองก็มีผลกระทบ

๒.    ได้รับทราบข้อมูลบางส่วนของเพื่อนบ้านที่ อ.อัทธ์ฯนำมาแสดงซึ่งน่าสนใจ และติดตาม ไม่ว่าจะพม่า อินโดนีเซีย  เพียงแต่มีเวลาไม่มากทำให้ไม่มีโอกาสเห็นข้อมูลประเทศอื่นๆ

๓.    การเปิดเสรี ASEAN นี้ ส่งผลกระทบต่อ กคช. ในด้านการผลิต การให้สิทธิอยู่อาศัยสำหรับผู้เข้ามาทำงานจะเป็นไปในรูปแบบใด ซึ่งต้องหาทางออกเตรียมไว้

16 มิ.ย.55

สวัสดีครับท่านอ.จีระ

วันนี้ช่วงเช้า ได้ฟังบรรยายจาก ดร.อัทธ์ ซึ่งท่านเป็นผู้รอบรู้ในเรื่อง AEC ทำให้ได้ทราบว่า ASEAN+3 คืออะไร ASEAN+6 คืออะไร ได้ทราบว่า ที่ผ่านมามีบริษัทหลายแห่งในประเทศไทยที่มีทุนข้ามชาติเข้ามา Take over ทำให้ฟังแล้วรู้สึกตื่นตัวและคิดว่าประเทศของเราหากไม่มีการ Change ในหลายๆเรื่องแล้ว เราคงจะล้าหลังในอีกหลายประเทศเป็นแน่ ปัญหาแรงงานจะเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต เนื่องจากแรงงานไร้ฝีมือ (ต่างด้าว) อัตราจ้างจะสูงขึ้นกว่าเดิม และอาจหาได้ยากเนื่องจากมีตลาดแรงงานในหลายๆประเทศ ต่อไปภาษีนำเข้าตามชายแดนจะเป็น 0 พม่าเป็นประเทศที่น่าจับตามอง เนื่องจากแรงงานถูกและมีทรัพยากรธรรมชาติมาก

ในช่วงบ่าย เป็นการเสวนาเรื่อง การบริหารธุรกิจในยุค AEC ซึ่งท่านอ.จีระ ได้ให้แนวทางกับผู้ร่วมเสวนาว่า การเคหะฯจะไปในทิศทางใด AEC จะกระทบต่อการเคหะฯในอนาคตอย่างไร ท่านอ.อรุณี จากกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวว่า ASEAN รวมตัวกันในปี 2510 นับถึงขณะนี้ก็ 40 กว่าปีแล้ว แต่ก็เป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ จนในปี 2550 ได้มีธรรมนูญ ASEAN ทำให้ดูดีขึ้น แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ได้มีอะไรมากนัก และแต่ละประเทศจะไม่เข้าไปก้าวก่ายถึงปัญหาภายในของประเทศอื่นๆ

ท่านอ.ฉัตรชัยได้กล่าวถึง AEC จะมีผลกระทบกับประเทศไทยอย่างไร ซึ่งฟังดูแล้วออกจะเครียดๆและยังจับแนวทางอะไรไม่ได้มากนักครับ ส่วนผมคิดว่า AEC จะต้องมีผลกระทบต่อการเคหะฯ ในอนาคตอย่างแน่นอน อย่างน้อยแรงงานต่างด้าวอาจมาเป็นลูกค้าในอาคารเช่าของการเคหะฯ ก็ได้ครับ

สวัสดีครับ

จิระ

 

 

 

ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

วิชา    “   รู้ลึก รู้จริง ทันโอกาส และความท้าทายทางธุรกิจ  ”

               โดย ผศ. ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช           

 วิชานี้ผมต้องยอมรับ ความรู้ ของวิทยากรครับ ทำให้รู้สึกว่า

  1. เวลาวิชานี้น้อยเกินไป ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ชม.
  2. ที่รับรู้เรื่อง AEC ที่ผ่านมาถือว่าผิวเผินมาก วันนี้เข้าใจดีและมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่จะเป็นแหล่งลงทุนในอนาคต สำหรับนักธุรกิจไทย
  3. น่าห่วงประเทศไทย จะเสียเปรียบใน AEC เนื่องจากปัญกาการเมืองภายในประเทศ

การเคหะควรมอบฝ่ายวิชาการของ กคช. ศึกษาเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยในประเทศกำลังพัฒนามีอนาคตใน AEC  (พม่า , อินโดนีเซีย , กัมพูชา และลาว)  เพื่อหาช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วม ในการช่วยเหลือ

 

“  การบริหารธุรกิจในยุค AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน)  2558 ( 2015 )

       โดย  คุณอรุณ  พูลแก้ว

               คุณฉัตรชัย  มงคลวิเศษไกวัล

             วิทยากรทั้งสองท่านพูดกันคนละมิติ ของ AEC ซึ่งทำให้ เข้าใจในหลาย ๆ มุมมากขึ้น  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเช้า  เหมือนเป็นโอกาสให้เตรียมตัวรุกเข้าไปในประเทศ  ASIAN  ที่ด้อยกว่าไทย   แต่ช่วงบ่ายเป็นการเตือนให้เตรียมตั้งรับไว้ด้วยในการทุ่มลงทุน ของ ประเทศที่ดีกว่าไทย และ กลุ่ม WTO

            สำหรับการเคหะแห่งชาติ คงต้องพยายามเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานเรื่องต่าง ๆ ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายในประเทศ และศึกษาของชาติใน ASIAN อย่างจริงจัง เรื่องอสังหาริมทรัพย์

นางสุกัญญา แย้มเกศร์หอม

 

การเปลี่ยนแปลงจะต้องมีแรงต้านทานและแรงเสริม การต่อต้านเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นจาก กลัวจะสูญเสียประโยชน์ อำนาจ ความมั่นคง สิ่งที่เคยมี เคยทำอยู่จนเคยชิน

- ความรู้สึกหวั่นไหวต่อความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความรู้สึกที่ต้องออกหรือเปลี่ยนแบบแผนชีวิตที่เคใช้มาจนเคยชิน

- ขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทาง วิธีการที่จะเปลี่ยนแปลง

      ตัวแปรสำคัญที่มักจะนำมาใช้หรือใช้เป็นกรอบในการเปลี่ยนแปลงองค์กร คือ SEVEN 5s Model ของ McKinsey      

              - Strategy

              - Structure

              - System

              - Style

              - Staff        

              - Skil

              - Shared value

      การเปลี่ยนแปลง 1-3 ปีข้างหน้าที่ กคช. ต้องเผชิญปัญหา คือ ขาดคน ขาดผู้ปฏิบัติงานระดับบริหารที่มีประสบการณ์ (SKILL) มีความรู้สะสมเชิงวิชาชีพ เชิงวิชาการและ เชิงยุทธศาสตร์ ที่สำคัญคือความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ (TRWST) ที่มาจากผลงานและจริยธรรมที่สร้างสมกันมา

 

ฟังเรื่อง AEC กับประเทศไทยแล้วก็รู้สึกเกิด ภาวะ "จอมืด" ขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่ได้ยินข่าวว่า ประเทศไทยจะไปไหน ไปได้แค่ไหน เหมือนนั่งดู นั่งฟัง รอเวลาผ่านไปวันๆ แต่ก็ยังต้องคิดต่อไปนั่นแหละว่าการมารวมกัน 10 ชาติ ภาายใต้ประชากรประมาร 600 ล้านคน รวมเป็นตลาดเดียวและฐานผลิตหนึ่งเดียวเหมือรแผ่นดินนี้ แนบเหมือนแผ่นกระดาษเคลื่อนที่ง่ายไปได้ทั่ว

     ประเทศไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์อันนี้แน่นอนเห็นได้จากที่ตั้ง มาตรฐานเรื่องคุณภาพชีวิตของไทย กล่าวได้เลยว่า มีมาตรฐานสูงหรือดีกว่า หลายๆประเทศ ในกลุ่ม AEC แต่เราไม่ควรใช้การเมืองให้มาฉุดความคิดเราไปเสียทั้งหมด

     มุมด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิชาชีพเฉพาะ ภาพการก่อสร้าง ยังไม่มีการกำหนดรายละเอียดกันนัก ก็คงเป็นภาพผู้รับเหมาทำงานข้ามชาติ ปัญหาน่าจะเป็นความกังวลหรือไม่ว่า ผู้รับเหมางานในประเทศไทยจะขาดแคลน (เชิงคุณภาพ) ธุรกิจจะเป็นของต่างชาติในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเปิดเผย ไม่ต้องมี NOMINEE อีกต่อไป

     คาดว่าความต้องการพื้นที่ตั้งสำนักงาน (Office space) น่าจะสูงขึ้นยิ่งในช่วงพม่ายังจัดสร้างรองรับไม่ทัน และการเดินทางจากไทยไปพม่า น่าจะง่ายและถูกที่สุด รวมถึงความต้องการที่พักอาศัยประเภทเช่าก็น่าจะได้รับประโยชนืในช่วงก่อนปี 2015

       ธุรกิจธนาคารระดับท้องถิ่นที่ไทยน่าจะเข้าไปได้เร็วและถูกกว่า อำนาจที่มีอิทธิพลที่กำลังหรือเริ่มเข้าไป

     การเคลื่อนที่ของวิชาชีพ ระดับผู้ชำนาญการก็จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา ทักษะ ความรู้ให้ไทยได้เร็วกว่า ลองผิด ลองถูก เอาเอง

     มองโดยภาพรวมๆ ก่อนถึงปี 2015 ไทยน่าจะได้ประโยชน์     

 

 

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

วันที่ 16 มิถุนายน 2555 ได้ทราบข้อมูลจากดร.อัทธ์ เรื่องธุรกิจที่น่าลงทุนในประเทศกลุ่ม ASEAN โดยอ.วิเคราะห์ประเทศพม่า อินโดนิเซียให้ฟังเป็นพิเศษ สนใจติดตามการพูดของอ.ในหน่วยงานต่างๆ เพราะรู้จริง มีข้อมูลเชิงลึก เมื่อ integrate กับข้อมูลภาคบ่าย สรุปได้ว่าการบริหารธุรกิจยุค AEC ประเทศไทยของเรา หน่วยงานของเราต้องเตรียมคนให้รู้เท่าทันเพื่อนบ้าน ส่วนการรู้เท่านั้น เน้นเรื่องที่พัฒนากันได้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษต้องเร่งทำ เพราะประเทศเพื่อนบ้านใช้เป็นภาษาที่ 2 ส่วนไทยใช้เป็นภาษาต่างประเทศจึงยังเสียเปรียบอยู่

16 มิถุนายน  2555

การบริหารธุรกิจในยุค  ASEAN

Ecommmic  Community  (AEC)  (1)

โดย  ผศ.ดร.อัทธ    พิศาลวานิช

           

ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  ปี  2558  (2015)

ประกอบด้วยเสาหลัก  3  เสา  ได้แก่  การเมือง  (ความมั่นคง) , เศรษฐกิจ , สังคม – เศรษฐกิจ  โดยจะเกี่ยวกันกับทุกคน  เช่น  ชาวไร่  ชาวนา

ประชาคมอาเซียน  เปรียบเหมือนมี  10  จังหวัด  ได้แก่  ไทย , ลาว , เขมร , พม่า , สิงคโปร์ ,
บูรไน , มาเลเซีย , เวียดนาม , อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์

ประชาคมอาเซียน  จะไม่มีการกีดกันทางระหว่างกัน  จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็น  หลังมือ

1 มกราคม 2558  จะเป็นวันเริ่มต้น  ภาษีนำเข้าจะเป็นศูนย์  ภาษาที่ใช้  คือ  ภาษาอังกฤษ 
ซึ่งเรียกว่า  ภาษาอาเซียน

ธุรกิจในยุค  ASEAN  ที่น่าจะไปลงทุน  ได้แก่  พม่า , อินโดนีเซีย  เนื่องจากพม่า
มีทรัพยากรธรรมชาติมาก  กำลังสร้างท่าเรือน้ำลึกไว้รองรับ  ส่วนอินโดนีเซีย  เป็นประเทศที่มีประชากรมาก

                                                                                               

16 มิถุนายน  2555

การบริหารธุรกิจในยุค  ASEAN

Ecommmic  Community  (AEC) , (2)

โดย  นางสาวอรุณี    พูลแก้ว

                    คุณฉัตรชัย   มงคลวิเศษไกวัล

           

เป้าหมายหลักภายใต้  AEC  Blueprint  เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว  คือ  อาเซียน

1.  กลายเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

2.  การเสริมสร้างขีดความสามารถแข่งขัน

3.  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

4.  การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

อาเซียนจะกลายเป็นตลาดร่วมอย่างสมบูรณ์

-  ภาษีสินค้า / อุปสรรคนำเข้าจะหมดไป

-  อาเซียนสามารถถือหุ้นได้ถึง 70%  ในธุรกิจบริการในอาเซียน

-  เป็นศูนย์กลางการลงทุนทั่วโลก

-  เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

-  มีความสารถในการแข่งขันสูง

ไทยอยู่ตรงไหน ?  ในอาเซียน

ไทยควรจะคิดว่าจะหาประโยชน์อะไรจาก  AEC

                                                                                               

                                                                                               

วันนี้เรียนแล้วได้อะไรบ้าง (15 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

    - การเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่ส่งลงมากระทบ อาทิ 
    - นโยบายการเมือง แต่เราจะเปลี่ยนอย่างไร 
        - ระยะสั้น  - ตามใจการเมือง 
        - ระยะยาว - ตามการเมืองอย่างไรให้อนาคตองค์กรต้องยั่งยืน 
    - สิ่งแวดล้อม 
       - ภาวะโลกร้อน 
    - การตื่นตัวของประชาคมโลกด้านสิ่งแวดล้อม 
    - คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา “ปัญญา” เป็นเครื่องนำทาง 
    - POWERFUL (พลัง) ----- KNOWLEDGE (ความรู้) 
                                ----- CONFIDENCE (ความไว้วางใจ) 
       .................to be success team
 - การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (ขวด COKE) 

จอดรถมอง -------สถานการณ์ภายนอก

            -------สถานการณ์ภายใน

วิเคราะห์ -----------กำหนดวิสัยทัศน์-----------กลยุทธ์(การปรับเปลี่ยนองค์กร)

-----โอกาส

-----จุดแข็ง/จุดอ่อน -----ภัยคุกคาม การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ

- การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง จะเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนองค์กร และอื่นๆ ให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน 

ช่วงบ่าย วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

 - วิธีคิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ 
        1. ศึกษา External Environment 
            เช่น เศรษฐกิจ/สังคม การเมือง การศึกษา โลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม ฯลฯ 
       2. ศึกษา Internal Environment 
           เช่น ระบบวัฒนธรรมองค์กร คุณภาพของคน 
       3. อะไรที่เราทำได้ดีที่สุด/เพราะอะไร 
           อะไรที่เราทำยังไม่ดีแต่ต้องทำต่อไป/เพราะอะไร 
      4. ใครคือลูกค้าที่สำคัญของเรา (stakeholders) 
          - ลูกบ้าน 
          - สื่อมวลชน 
          - พนักงาน 
            ฯลฯ 

การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ

        - วิธีการคิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการคิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์องค์กร

วันนี้เรียนแล้วได้อะไรบ้าง (16 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชาการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN ECONOMIC COMMUNITY (AEC) (1) - มี 3 เสาหลัก ----ด้านเศรษฐกิจ

               ----ด้านการเมือง 
               ----ด้านวัฒนธรรม 

  • 1 มกราคม 2558 --- เปิดทุกอย่างเป็นเสรี
                      --- ด้านภาษีจะเป็นศูนย์ (เฉพาะภาษีนำเข้าเท่านั้น) 
    
    
  • ASEAN+3 (จีน - ญี่ปุ่น - เกาหลีใต้)
  • ASEAN+6 (จีน - ญี่ปุ่น - เกาหลีใต้ - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ - อินเดีย)
  • ภาษีนำเข้าศูนย์ % ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าแหล่งกำเนิดสินค้า (วัสดุ) ต้องมาจากประเทศส่งออก 40%
  • AEC BLUEPRINT
    ------ตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
    ------เสริมความสามารถในการแข่งขัน
    ------พัฒนาทุกเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
    ------การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ ได้เรียนรู้ความเป็นมาของ AEC และในวันที่ 1 มกราคม 2558 กคช. อาจต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ด้านอสังหาริมทรัพย์ ช่วงบ่าย วิชาการบริหารธุรกิจในยุค AEC (2)
    การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ หาก กคช. จะออกสู่ AEC ต้องมีมาตรฐานแต่ละภาคส่วนที่จะยอมรับกันได้ กับประเทศคู่ค้า
      วันนี้วันที่ 3 เรื่องการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) AEC มีอะไรบ้าง ทำไมต้องรู้จัก AEC

เดิมเริ่มมาจากอาเซียน พัฒนามาเรื่อย ๆ แต่ก่อนยังไม่มีฐานะทาง กฎหมาย ต่อมาปี 2550 ได้ร่างธรรมนูญ จัดโครงสร้างอาเซียน ปัจจุบันมี 10 ประเทศ ไทย พม่า กัมพูชา สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน โดยมีกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ประกอบด้วย 3 เสาหลักประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่ ความมั่นคง , เศรษฐกิจ และสังคม - วัฒนธรรม ทำให้เกิดการลงทุน และการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ภาษีสินค้า อุปสรรคนำเข้า จะหมดไป กลายเป็นตลาดอาเซียน ไทยสามารถขยายธุรกิจในอาเซียนได้ โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร สุขภาพ ซ่อมรถ ก่อสร้าง การศึกษา เป็นต้น รวมทั้งดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศมากขึ้น ในขณะเดียวกันอาเซียนเข้ามาประกอบธุรกิจบริการในไทยได้สะดวกขึ้น เกิดการแข่งขันทำให้มีโอกาสพัฒนาธุรกิจมากขึ้น

      สำหรับการเคหะฯ การเตรียมเพื่อรองรับ AEC ควรมีทั้งเชิงรุก และเชิงรับ 

เชิงรุก ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะไปทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับประชาคมอาเซียน สร้าง Brand การเคหะฯ ให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ในประเทศอาเซียน ส่วนเชิงรับ คือรู้จุดอ่อน-จุดแข็ง ของประเทศอาเซียน ศึกษาแนวโน้ม ความต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตการให้บริการมากขึ้น สุดท้ายต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร

มรัญสิตา ตีระศิริสิน
           วันที่ 3 ของการอบรมได้รับความรู้จากอาจารย์อรุณี , อาจารย์ฉัตรชัย และอาจารย์จีระ เป็นความรู้เรื่่อง AEC ที่มีเป้าหมายการเป็นตลาดและฐานผลิตร่วมในกลุ่ม ASEAN ในรูปแบบการเปิดเสรี มีการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า การลงทุน แรงงานฝีมือ ถือหุ้นได้ 70 % ในธุรกิจบริการ  พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค  บูรณาการเข้าเศรษฐกิจโลกและก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนทั่วโลก

           ประเทศไทยมีโอกาสใน AEC โดยจะต้อง THINK GLOBALLY รู้รอบด้าน 360 % มีความเป็นมืออาชีพในทุกบริบท  รู้จักทำเรื่องยากให้ง่าย ACT LOCALLY รู้เขารู้เรา รู้จักวิเคราะห์ไม่เชื่อแต่ตำราอย่างเดียว  สนใจในความพึงพอใจของลูกค้าในระดับโลก  ให้คำจำกัดความที่เป็น KEY WORD คือ "        ประเทศ            คือ    HOUSE
                                                                  คุณภาพชีวิตของคน    คือ    HOME     "     เมื่อได้เรียนรู้เรื่องนี้แล้ว ได้มีการสังสรรค์กับเพื่อนๆ พี่ๆ ทบทวนความรู้และสอบถามว่าใครรู้บ้าง? ก็ได้รับคำตอบคล้ายๆ กันคือ ไม่รู้จัก AEC คืออะไร?   อย่างไร? เกี่ยวกับเขาตรงไหน? แล้วต้องทำอย่างไร?  +++++ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งให้ความรู้แก่ประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอันเป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  อย่างน้อยๆก็ช่วยให้คนไทยไม่เสียเปรียบ หรือหากจะเสียก็ให้น้อยที่สุด ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรม เพราะจะเกิดผลกระทบต่อประเทศชาติในระดับมหภาคอย่างแน่นอน  ฿฿฿฿฿฿฿฿฿฿       

                                                         มรัญสิตา

นางวิไล มณีประสพโชค

AEC วันที่ 16 มิย.55 นางวิไล มณีประสพโชค

อาเซียนหรือ AEC ซึ่งจะเริ่ม 1 ม.ค.58  จะเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องหลัก คือ เศรษฐกิจ  การเมือง  วัฒนธรรม และจะเป็นภูมิภาคที่เป็นตลาดร่วม, การแข่งขันสูง มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และเข้ากับเศรษฐกิจโลก  ดังนั้น กคช.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดสร้างที่อยู่อาศัย  ผู้นำและผู้บริหาร กคช. ควรเตรียมความพร้อมในการประสานกับรัฐบาลไทย เพื่อไปเจรจากับตัวแทนรัฐบาลต่างๆในอาเซียน  หรือภาคเอกชนของอาเซียน เพื่อลงทุน / ร่วมลงทุนในการสร้างที่อยู่อาศัย และบริหารชุมชนรวมทั้งพัฒนาบุคลากรของ กคช. ในด้านต่างๆ เพื่อรองรับอาเซียน เช่น ภาษาต่างๆ ,ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับอาเซียน,การศึกษาดูงาน เป็นต้น

นางสาวอุบลวรรณ สืบยุบล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันเสาร์ที่ 16 มิ.ย. 55

AEC เป็นเรื่องที่ตื่นเต้นสำหรับคนไทยระดับหนึ่ง  แต่เป็นเรื่องที่ควรตระหนัก และเตรียมตัวรับไม่ควรตื่นตระหนก
ดร.อัทธ์  พิศาลวานิช  นำเสนอให้เห็นภาพในอนาคตอย่างชัดเจนมีข้อมูลประกอบมากจนคล้อยตามทั้งความคิดส่วนตัว  คิดอยากไปจองที่ดินในพม่าเตรียมตัวเป็นเกษตรกรปลูกยางพารา  ส่วนในมุมมองของการเคหะฯน่าจะเป็นโอกาสที่ กคช. จะเป็นผู้นำทางวิชาการด้านองค์ความรู้เรื่องที่อยู่อาศัย  โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย  และมีความเป็นไปได้ที่ กคช. จะจัดตั้ง  “School for Housing Studies” เพื่อเผยแพร่ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ด้านที่อยู่อาศัย  แก่สมาชิก Asean พิจารณาจากองค์ประกอบของบุคลากรหลากหลายวิชาชีพ ทั้งวิศวกร  สถาปนิก  นักกฎหมาย  นักพัฒนาชุมชน  นักบัญชี การเงิน  ที่สะสมประสบการณ์มากกว่า 30 ปี  ที่พร้อมเป็นวิทยากรสามารถจัดหลักสูตรที่เหมาะสมแก่สมาชิกอาเซียน  ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพัฒนาเมือง  ตั้งแต่การออกแบบ การจัดหาที่ดิน การประกวดราคา การเงิน โครงการการบริการชุมชนหลังการขาย การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย การพัฒนาเมือง/ฟื้นฟูเมืองฯลฯ ซึ่งหลักสูตรการอบรมนานาชาติ การเคหะฯเคยได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงการต่างประเทศ ให้จัดและสนับสนุนงบประมาณมาแล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเคหะฯในอนาคต

นางประจำศรี บุณยเนตร

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2555 ขอย้อนไปเมื่อวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน 2555 การสัมมนาเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง (2) ซึ่งมีวิทยากร 2 ท่าน ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา มาให้หลักการ ส่วนคุณกิตติ เพ็ชรสันทัด มาให้ประสบการณ์จริงของ กฟผ. เป็นการย้ำว่าเ ราหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะบางอย่างมันมาจากภายนอก เหมือนขวดโค้กที่ตกมาจากฟ้าในหนังที่ฉายให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งถ้าเราไม่พร้อมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เราจะอยู่อย่างลำบาก การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เราก็ต้องสร้างขึ้นมาเพื่อพร้อมรับกับสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา ตัวอย่างจาก กฟผ.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่มาก จึงรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมาก ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ กฟผ.อีกอย่างคือธรรมชาติ ทุกวันนี้ กฟผ.ต้องหาแหล่งพลังงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากในปัจจุบัน จนต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำด้านการจัดหาพลังงาน เป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย กลับมาดู กคช.เราเจอการเปลี่ยนทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ภายนอกที่ชัดเจนคือโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ทำให้ กคช.เกือบล้มทั้งยืน แต่เราก็ผ่านพ้นภาวะนั้นมาได้ เพราะเรามีการปรับเปลี่ยนตัวเอง สำหรับภายในเรามีปัญหาเรื่องบุคลากรขาดช่วง 2 – 3 ปีแล้วมีคนเกษียณเป็นจำนวนมาก ทำให้พนักงานโตไม่ทันกับตำแหน่ง ทำให้เกิดการอบรมหลักสูตรนี้ขึ้นมา

นางประจำศรี บุณยเนตร

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2555

วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ฟังข้อมูลเรื่อง AEC อย่างละเอียดจากผู้รู้ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หลังจากที่รับรู้แบบผ่านๆ จากสื่อบ้าง จากการพูดคุยกันบ้าง ครั้งนี้นับเป็นโอกาสดีของพวกเราที่ได้พบกับตัวจริง เสียงจริง  3 ชั่วโมงแรกกับผศ.ดร.อัทธ์  พิศาลวานิช ทุกคนจึงรู้สึกว่าผ่านไปเร็ว ท่านเองก็มีข้อมูลมากมายจะมาเล่าให้ฟัง พวกเราเองก็มีคำถาม ข้อสงสัยมากมาย จนต้องแย่งกันถาม
สิ่งที่ได้รู้อย่างหนึ่ง ไทยเราไม่ได้เป็นหนึ่งอย่างที่เราเคยคิดว่าในทางภูมิศาสตร์ เราอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดในอาเซียน ถ้าพม่าเปิดประเทศ  ไทยจะหนาว กับลาวที่เรามองว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง

ถ้าไปถามคนลาว เขาไม่ได้คิดแบบนั้น เขมรไม่ต้องพูดถึง พันธมิตรของเขาคือเวียดนาม ส่วนกับไทยเรื่องเขาพระวิหาร ยังทะเลาะกันไม่จบมา 50 – 60 ปีแล้ว แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร เราก็ต้องพร้อมรับมือ เพราะ AEC เกี่ยวข้องกับทุกคน จะเป็นการเปิดเสรีในภาคผลิตและภาคบริการ ซึ่งจะครอบคลุมวิถีชีวิตของเรา

ถ้ามอง กคช.ในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิทยากรแนะนำประเทศพม่าและอินโดนีเซีย ซึ่งเรามองพม่ามากกว่า เพราะในทางภูมิศาสตร์ไม่เป็นอุปสรรค ถ้าถนนเสร็จจาก กทม.ไปถึงทะวายก็แค่ 300 กว่ากิโล ไม่แน่เราอาจมีโอกาสไปทำโครงการบ้านเอื้ออาทรที่พม่าก็ได้ เพราะปัจจุบันแรงงานพม่าก็อาศัยอยู่ในโครงการบ้านเอื้ออาทรในจังหวัดสมุทรสาครอยู่แล้ว

กรุณา มัฆวิบูลย์ รุ่นที่ 1 วันที่ 15 มิถุนายน 2555 การอบรมวันที่สอง การบริหารการเปลี่ยนแปลง/ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

    วันนี้ได้ดูวีดีทัศน์ และฟังกรณีศึกษาของ กฟน. เป็นตัวอย่าง ดูแล้วรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ทุกยุค ทุกสมัย เราจะบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างไร เพื่อความอยู่รอดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเข้ามาในองค์กรไม่ว่าจะมาจากปัจจัยภายใน หรือปัจจัยภายนอกต้องตั้งสติ ปรับตัว และปรึกษาหารือกันอย่างละเอียดรอบคอบ  โดยมองปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้าน  ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร วิเคราะห์หาจุดแข็ง – จุดอ่อน โอกาสและผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้น หาแนวทางแก้ปัญหา วางแผนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนการดำเนินงานที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โดยผู้นำต้องเป็นผู้กำหนดวิสัยทันศ์

วันที่ 16 มิถุนายน 2555 การอบรมวันที่สาม

    อาจารย์ 3 ท่าน ให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมอย่างมาก จากที่ไม่ค่อยให้ความสนใจ ฟังแล้ว นึกเป็นห่วงประเทศว่าเตรียมตัวพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงแน่แล้วหรือ กฎบัตรอาเซียนมี 3 เรื่อง

  1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  2. ประชาคมสังคม – วัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)
  3. ประชาคมความมั่นคง อาเซียน (ASC) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก AEC จะเป็นตลาดร่วมอย่างสมบูรณ์ สินค้า ,บริการ ,การลงทุน แรงงานผีมือ , เงินลงทุน , ความร่วมมือ จะมีการแข่งขัน และเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี , ไม่มีการกีดกันทางการค้า , การลงทุน การดำเนินทางธุรกิจ/อุตสาหกรรม จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
      ในการแข่งขันต้องมีมาตรฐานอาเซียนร่วมกัน และสอดคล้องกับมาตรฐานโลก เพื่อเตรียมรับกับAECผู้บริหารต้องกำหนดวิสัยทัศน์ซึ่งไม่ใช่การแข่งขันเท่านั้นแต่จะทำอย่างไรให้คู่แข่งเป็นพันธมิตรและสร้างความร่วมมือทั้งในและนอกประเทศ พร้อมกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มความรู้สร้างมูลค่าเพิ่นอยู่ตลอดเวลา
    
    
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 18 มิถุนายน 2555  เวลา 08.30 – 12.00 น.

 หัวข้อวิชา  ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์  โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                  วันนี้เป็นการเข้ารับการอบรมเป็นวันแรก  จากการได้รับทราบถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง ได้ทบทวนความรู้ และได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม  เป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง ได้เข้าใจถึงความต่างของการเป็น “ผู้นำ (Leder)” กับ “ผู้จัดการ (Manager)” อย่างชัดเจน  เกิดจิตสำนึกที่จะพัฒนาเพื่อเป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีต่อไป ผู้เข้ารับการอบรมนอกจากจะได้ความรู้ตามเนื้อหาของวิชาแล้ว ยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และผู้เข้ารับการอบรมท่านอื่น ๆ ด้วย ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อคิดว่า  “ผู้นำที่ดี ต้องเป็นนักคิดที่ดีด้วย” 

วันที่ 18 มิถุนายน 2555  เวลา 13.30 – 16.30 น.

หัวข้อวิชา  การบริหารการเปลี่ยนแปลง  โดยอาจารย์  ผศ.ปัณรส  มาลากุล ณ อยุธยา

                 ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา  องค์กรต่าง ๆ ทุกภาคส่วน ล้วนแต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งเรื่องที่คาดคิด และไม่คาดคิด  เราจึงต้องปรับตัวและมีวิธีการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดีให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หากเราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ก็จะลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น  องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด  การอบรมในวิชานี้ ทำให้เรามีความรู้ ได้ฝึกหัดที่จะแก้ปัญหา และพร้อมรับต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่คิดท้อถอย โดยเฉพาะการเปลี่ยนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอีก 3 ปีข้างหน้า   หากเราเตรียมพร้อมอย่างมีสติก็จะสามารถนำพาทีมงานให้พร้อมรับมือ และก้าวเดินไปกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงตลอดเวลา

15 มิย. 2555

 เคยได้ยินคำพูดที่ว่า  “ การเปลี่ยนแปลง  เป็นนิรันดร์ “  ถ้าเป็นจริงอย่างที่ว่า  การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ไม่มีที่สิ้นสุด     สิ่งมีชีวิตบนโลกได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า  เผ่าพันธุ์ใดมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง  ก็สามารถมีชีวิตสืบต่อกันไปได้ไม่สูญพันธุ์  ผมจึงเห็นภาพตามที่ท่านอาจารย์ ปัญรส ได้บรรยายในวันนี้ว่า  องค์กรที่ต้องการความอยู่รอด  ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยน  ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร  ในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง และสิ่งแวดล้อม
   ผมเชื่อว่า ถ้าเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง  คือความจำเป็น   การบริหารการเปลี่ยนแปลงก็จะอยู่ในระดับแค่ความอยู่รอดขององค์กร    แต่ถ้าเหตุผลหรือจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน   การบริหารการเปลี่ยนแปลง ตามแนวคิด ของ ADKAR  Model  ก็น่าจะนำไปปรับใช้ได้  
Awareness  -  of why the change is needed
Desire         -   to support and participate in the change
Knowledge -   of how to change
Ability        -   to implement new skills and behaviors
Reinforcement -  to sustain the change

สิ่งที่น่าสนใจ  คือ   ความต้องการ  หรือความปรารถนาขององค์กรที่ต้องการเปลี่ยน  
        ความรู้  ความเข้าใ จ เกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องเปลี่ยน
        ความสามารถ  อำนาจตัดสินใจ  ทรัพยากรสำหรับการเปลี่ยนแปลง
ผมคิดว่าในองค์กรอย่างการเคหะ  น่าจะให้ความสำคัญใน 3 สิ่งนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

การทำWorkshop กับท่านอาจารย์จิระ  ในช่วง   เป็นการทบทวน – กำหนดวิสัยทัศน์ของการเคหะ

โดยวิเคราะห์ External / Internal Environment หาจุดอ่อน – จุดแข็ง

    ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา  ใครคือคนสำคัญ
    วิสัยทัศน์  ของการเคหะ ในอนาคตอีก  10  ปีควรเป็นอย่างไร

คำถาม : สิงคโปร์เป็นใคร  มีอะไรดี  จึงเป็นประเทศที่มี GDP  สูงที่สุดในภูมิภาคนี้
EDB : Singapore Economic Development Board
EDB ‘s Vision  “ สร้างสิงคโปร์ให้เป็นเศรษฐกิจบนฐานความรู้ที่สดใส  และเข้มแข็ง “

“  ด้วยเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้า  ในยุคโลกาภิวัตน์  ความรู้เป็นสินทรัพย์ทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ  ประเทศที่สามารถปรับให้เศรษฐกิจตั้งบนฐานของความรู้ได้  ก็จะพบโอกาสมากมาย  “

......ความรู้ ความรู้ อีกแล้วครับท่านที่เคารพ....

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of South East Asian Nation) (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นในปี 1967 ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ คือ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน เวียดนาม ลาว เขมร พม่า โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ

ในปี 2003 ในการประชุมสุดยอดที่บาหลี อินโดนีเซีย อาเซียนได้ตั้งเป้าหมายว่าจะจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายใน ปี 2020 ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียน ให้เร่งรัดการจัดตั้งให้เร็วขึ้นจากเดิม 5 ปี  เป็นภายในปี 2015 (1 ม.ค.2015) ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community (AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม 
ใน (AEC) Blueprint   ได้มีการกำหนดเป้าหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจว่าจะมีการจัดตั้งตลาดเดียวหรือตลาดร่วมและฐานการผลิตเดียว โดยมี 5 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ การไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การไหลเวียนอย่างเสรีของบริการ การไหลเวียนอย่างเสรีของการลงทุน การไหลเวียนอย่างเสรีสำหรับเงินลงทุน และการไหลเวียนเสรีสำหรับแรงงานมีฝีมือ  สำหรับการเปิดเสรีการค้าภาคบริการนั้น   มีสาขาการก่อสร้าง รวมอยู่ด้วย
ในการจัดตั้งตลาดเดียวหรือตลาดร่วม ภาษีสินค้าและอุปสรรคนำเข้าจะหมดไป กลายเป็นตลาดอาเซียน 

  • ภาษีนำเข้าสินค้า ต้องเป็นศูนย์
  • อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ต้องหมดไป
  • มาตรฐานร่วม
  • พิธีการทางศุลกากรที่ทันสมัย / อำนวยความสะดวกทางการค้า AEC จะเริ่มถือปฏิบัติในวันที่ 1 ม.ค.2015 ภาครัฐ เอกชน รวมทั้งภาคประชาชน ควรมีการปรับตัวเพื่อรองรับ AEC กคช.เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องปรับตัวหรือเตรียมตัวเพื่อรองรับ AEC โดยการศึกษาขอบเขต เงื่อนไขของ AEC Blueprint อย่างจริงจัง ทั้งนี้อาจจะจ้างที่ปรึกษา และนำโอกาสทางธุรกิจ จากการเปิดเสรีทางการค้า การบริการ และการลงทุน มาต่อยอดการทำธุรกิจของ กคช. การทำธุรกิจจำเป็นต้องรู้เขา (เงื่อนไข AECและข้อมูล10 ประเทศ) และรู้เรา (กคช. คือองค์ความรู้ ทรัพยากรบุคลากร และศึกษา,แก้ไขข้อกำหนด ระเบียบให้สอดคล้องกับ AEC รวมทั้งอาศัยข้อได้เปรียบในการเป็นหน่วยงานของรัฐมาใช้) และต้องทำในทันทีที่โอกาสเปิด กคช.มีองค์ความรู้ในด้านการก่อสร้าง การดูแลชุมชน และทรัพยากรบุคคล ที่มีคุณภาพในหลายๆ สาขาวิชาชีพ การก้าวไปในระดับภูมิภาคอาเซียน และการเพิ่มขีดความสามารถในประเทศเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นสิ่งที่กคช. ต้องเร่งกระทำ และกำหนดวิสัยทัศน์ ให้เชื่อมโยงกับประชาคมอาเซียนโดยเร็ว .

โดย วัชรี เกิดพิทักษ์

พิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม

การอบรมในวนัที่ 16 มิ.ย.55 เรื่อง การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) (1) – (2) AEC เกี่ยวข้องกับทุกคน ภาพของ AEC ก็คือ ต่อไปประเทศไทยจะเปลี่ยนเป็นจังหวัด 1 ใน 10 จังหวัด (ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน) อยู่ในประเทศอาเซียน คนไทยก็มีสัญชาติอาเชียน สามารถทำงาน ลงทุน ได้ในทุกประเทศใน AEC เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ยิ่งใหญ่ 1 มกราคม 2558 เป็นวันที่เริ่มเปิดเสรี สิ่งที่เปลี่ยนทันที คือ ภาษีนำเข้าสินค้าตามข้อตกลงเป็น 0% เป้าหมาย AEC 1)เป็นตลาดและฐานผลิตร่วม การเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า การลงทุน แรงงานฝีมือ 2)สามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการอาเซียนได้ถึง 70% 3) อาเซียนเป็นศูนย์กลางการลงทุนของทั่วโลก และสุดท้ายคือ การบูรณาการสู่เศรษฐกิจโลก เราต้องวิเคราะห์และศึกษาทิศทาง แนวโน้ม การลงทุนในแต่ละประเทศให้ชัดเจน วิเคราะห์เจาะลึกข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบ การปรับกระบวนการทั้งเชิงรุก และเชิงรับ การศึกษากฎระเบียบข้อจำกัดต่าง ๆ ของแต่ละประเทศอาเซียน ผู้นำในยุคอาเซียน ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างและไกล มองโลกแบบจิ๊กซอว์ต่อกันเป็นภาพใหญ่ ผู้นำในยุคอาเซียนต้องมีความรู้และแสวงหาความรู้ทั้งในและนอกประเทศ AEC แล้ว กคช.จะปรับตัวอย่างไรเพื่อสร้างโอกาสจาก AEC จากบทบาทของ กคช. ทั้งด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการบริหารจัดการชุมชน ซึ่งมีมาอย่างยาวนาน ร่วม 4 ทศวรรษ มีบทเรียนรู้มากมาย ที่สามารถร่วมมือกับ AEC ในการขับเคลื่อนและบูรณาการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชนภายใต้ AEC การกำหนด Benchmark ด้านเคหะการในระดับ AEC เป็นต้น

จากการเรียนรู้ในวันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2555 เรื่องการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) (1) โดย ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช และการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) (2) โดย คุณอรุณี พูลแก้ว และคุณคุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล ทำให้เรียนรู้ว่า AEC ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 (อีกประมาณ 2 ปีครึ่ง) ประเทศไทยก็จะเป็นจังหวัดหนึ่งใน 10 จังหวัด ของประเทศ AEC การปรับเปลี่ยนความคิด และทัศนคติ เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะผู้นำประเทศ และผู้นำองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรต่าง ๆ AEC จะทำให้มาตรฐานต่าง ๆ ถูกยกระดับขึ้นมาเป็น AEC Benchmark มี AEC LUEPRINT ร่วมกันหลัก ๆ ได้แก่ 1. ตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน 2. เสริมความสามารถในการแข่งขัน 3.การพัฒนาทุกเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก การเคหะฯ เอง ตั้งเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอยู่ในหมวดบริการหนึ่งใน AEC โดยต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับ AEC ในทุกกระบวนการ

สมชาย เทวะเศกสรรค์

การเข้าประชาคมอาเซียน

สำหรับของการเคหะแห่งชาติ

งานของการเคหะแห่งชาติซึ่งน่าจะเป็นจุดแข็ง

1.งานอาคาร, บ้าน (House)

2.งานด้านพัฒนาสังคม (การดูแลชุมชน) (Home)

          สำหรับงานอาคาร จะต้องศึกษาข้อกฎหมายระเบียบข้อบังคับของแต่ละแห่ง รูปแบบอาคารของแต่ละท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในการใช้อาคาร (บ้าน) ส่วนงานการดูแลชุมชนก็เช่นเดียวกัน

          ในการดำเนินงาน อาจจะเป็นรูปแบบร่วมมือกันระหว่างประเทศหรือรับจ้างดำเนินการ หรือร่วมมือกันในการให้ความรู้ด้านการดูแลชุมชนซึ่งประเทศไทยยังต้องการความช่วยเหลือทั้งในเรื่องแบบ อาคาร บ้านและการดูแลชุมชน

การบริหารธุรกิจในยุคอาเซียน

          วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน 2555 ได้ฟังกรอบดำเนินงานของ AEC แล้วรู้สึกหนักใจ ท่ามกลางบ้านเมืองที่กำลังมีความคิดแตกแยก แตกต่าง ขาดการผนึกกำลังที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ อ่อนแอในเรื่องการเจรจาต่อรอง อ่อนแอในเรื่องการกำหนดนโยบายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามที่ภาคเช้าและภาคบ่าย เนื้อหาดีมาก น่าสนใจและน่าติดตาม เพราะจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในหลายเรื่อง เป็นประโยชน์อย่างมากในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยน

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 14 มิย.55 : ช่วงเช้า ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ - ทำให้รู้ว่า ผู้นำ กับ ผู้บริหาร/ผู้จัดการ มีความแตกต่าง ผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่/ภาพกว้าง ต้องตื่นตัวในเรื่องโลกาภิวัฒน์ ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดสิ่งใหม่ๆ ฝึกฝนตนเอง ต้องสร้างศรัทธาและนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืนและคนในองค์กรมีความสุข

 - ทฤษฎื 5E’s ในการสร้างผู้นำ   สิ่งที่ผู้นำต้องมี 4 ประการ และที่สำคัญคือ คนเป็นทรัพยากร/ต้นทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุด จึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างและบริหารทุนมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
 - ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำ Workshop

ช่วงบ่าย การบริหารการเปลี่ยนแปลง (1) โดย อ.ประกาย ชลหาญ

 - หน้าที่หลักของคนในองค์กร คือ ต้องสร้างผลงาน และการจะมีผลงานได้ต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ Competency และ Motivetians  ซึ่งผู้นำต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในองค์กร
 - เทคนิคการสอนงานที่ดีที่สุด คือ ต้องวิเคราะห์ปัญหาให้ออกเสียก่อน ด้วยการถามเยอะๆ และอย่าด่วนสรุป  รวมทั้งต้องดูแลลูกน้องให้เหมือนดูแลลูก
 - ในฐานะที่เป็นผู้บริหารต้องไม่ปล่อยให้เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นตามยถากรรม ต้องเข้าไปบริหารจัดการ ต้องรู้จักการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยเราไม่อยากให้เกิด
 - กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง เริ่มจากต้องมีผู้นำการเปลี่่ยนแปลง  ต้องสร้างความต้องการร่วมกัน  ต้องสร้าง Vision/สร้างภาพให้ลูกน้องเห็น  การผลักดันให้เกิดความร่วมมือ (ทั้งก่อน ระหว่างและหลัง)  ต้องติดตามความคืบหน้า  ต้องทำการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน  โดยต้องเปลี่ยนที่ระบบและโครงสร้าง  และต้องไม่ลืมว่าคิดอย่างไร  ชีวิตก็เป็นอย่างนั้น ถ้าเปลี่ยนความคิด/เปลี่ยน mindset ชีวิตก็จะดีขึ้น
 - ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง จะต้องประเมิน/คาดเดา/คาดการณ์ได้ว่า จะมีอะไรเปลี่ยน ถ้าประเมินได้จะมีเวลาเตรียมตัว/เตรียมความพร้อม เพราะคนที่ประเมินได้เก่งที่สุด จะได้เปรียบคนอื่น

Lesson Learn นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางาน/พัฒนาตนเอง/พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดในเชิงวิสัยทัศน์ และเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย/สายเกินไป

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 15 มิ.ย. 55 ช่วงเช้า การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2) โดย ผศ. ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และคุณกิตติ เพ็ชรสันทัด - ได้เรียนรู้การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมผ่านภาพยนตร์ตัวอย่างของชนเผ่าบุชแมนเปรียบเทียบกับโลกธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมดีมาก - ในยุคกระแสโลกาภิวัตน์มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งที่มาจากภายนอกและที่เราสร้างขึ้นเอง ในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง เราต้องหยุด คิด ตั้งสติให้ดี หารือกัน โดยมองออกไปข้างนอกว่าเกิดอะไรขึ้น และมองข้างในองค์กรว่ามีจุดอ่อน/จุดแข็งอย่างไร ทั้งหมดนี้เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ และมองว่าจะทำอะไรต่อไป จากนั้นเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง โดยวางกลยุทธ์และปรับเปลี่ยนองค์กร - ได้เรียนรู้กรณีศึกษาของ กฟผ. มุมมองของวิทยากร (คุณกิตติ) ที่ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติขององค์กร ต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เร็วและให้มีความสุขกับการพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ต้องเปลี่ยน mindset ของคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ โดยมีผู้นำ/ผู้ชี้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี ในการเปลี่ยน mindset จะประสบความสำเร็จได้ คือ พร้อมที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลว ต้องมีสติ มี Balance of Change และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ช่วงบ่าย ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) โดย ศ. ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ - ในเชิงวิชาการ เป็นการเพิ่มเติมองค์ความรู้ว่า 1) วิสัยทัศน์คืออะไร วิสัยทัศน์ที่ดีเป็นอย่างไร ได้มาอย่างไร และมีวิธีการคิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์อย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ คือ ต้อง Shared Vision โดยมีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหารือกัน รวมทั้งตัวอย่างวิสัยทัศน์ของหน่วยงานต่าง ๆ 2) พันธกิจ/ภารกิจคืออะไร เพื่อตอบสนองเป้าหมายของวิสัยทัศน์ นอกจากนี้ยังต้องมี 3) Core Value คุณค่าที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งอาจารย์จะเน้น/ให้ความสำคัญในเรื่องความแม่นยำ การสร้างสรรค์ มูลค่าเพิ่ม และความสุขในการทำงาน - การทำ Workshop จะลงลึก/เจาะลึกมากกว่าวันแรก สิ่งสำคัญที่พบ คือ มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเกิดขึ้น ผู้เข้ารับการอบรมมีการคิดนอกกรอบ มีความเข้าใจภาพรวม/ภาพกว้าง มองไกล คิดเรื่องที่ใหญ่ๆ และตั้งใจจะทำให้สำเร็จ

ประโยขน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 16 มิย. 2555 : การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC)
ช่วงเช้า โดย ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิส ช่วงบ่าย : โดยคุณอรุณี พูลแก้ว และคุณฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

- ทำให้มีความรู้ในเชิงลึกและเห็นภาพของ AEC ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งเรื่องของโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจอันเนื่องมาจาก AEC  เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint เพื่อประสานเป็นหนึ่งเดียว คือ one vision , one identity และ one community ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียน  อันมีผลกระทบกับประเทศสมาชิกและประเทศต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม   โดย AEC จะกลายเป็นศูนย์กลางการลงทุนทั่วโลกที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง และมีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก  ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของ  AEC จึงต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์การค้าและการลงทุนใน AEC   ต้องสร้างโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ และรู้จักใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC  ต้องตระหนักรู้อย่างมีสติกับการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องไม่ตระหนกกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
-  การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรที่จัดอยู่ในภาคบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ จะต้องปรับทั้ง vision และ mission เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ  ในเชิงรุก  เช่น จัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีความได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพ  สร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับประเทศอื่นเพื่อใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางการแข่งขันของหุ้นส่วน พันธมิตร  สร้าง Brand ของ กคช. ให้เป็นที่ยอมรับ      ในเชิงรับ  เช่น เรียนรู้จุดอ่อน/จุดแข็งของคู่แข่ง  ศึกษารสนิยมและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค  การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการให้บริการ และที่สำคัญคือการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ภายในองค์กร

21 มิถุนายน 2555

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) (ช่วงเช้า)

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

       อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

ดำเนินรายการโดย ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • การเคหะเคยเป็น Employer of first choice ของสถาปนิก
  • ผมสนใจเรื่องที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว
  • ผู้ว่าอร่ามสมัยนั้น บารมีระดับชาติ
  • ไม่ว่าจะเกิดอะไรภายนอก เราต้องจัดการกับมันได้ ต้องปรับตัวรับใช้สังคมไป
  • เมื่อ 2-3 สัปดาห์นี้ มีข่าวมีการปลูกบ้านการเคหะแถวรถไฟฟ้าก็ดี
  • ปัญหาคือ การเคหะมองไม่ตรงกับความต้องการลูกค้า
  • สมัยนี้หมดยุคการระบุเวลาจองบ้านแล้ว
  • แลนด์แอนด์เฮ้าส์เน้นความสำเร็จที่ผ่านมา
  • พฤกษาตอนนี้ก็เป็นที่ 1 แล้ว เจ้าของพฤกษามีรถประธานาธิบดีเวียดนามมารับ
  • แสนสิริลงทุนทวาย
  • โลกาภิวัตน์ทำให้โลกไร้พรมแดน
  • เศรษฐกิจต้องเป็นระดับภูมิภาคจึงจะรอด ต้องขายในภูมิภาคให้ได้ ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้คนจ่ายเงินเพิ่ม
  • ระหว่าง Demand (ความต้องการ) กับ Supply (ปริมาณสินค้า) มีราคาเป็นตัวกลาง (Pricing)
  • ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ถ้า Demand มาก แต่ Supply น้อย ราคาก็ขึ้น
  • ค้าในประเทศก็ไม่ค่อยได้อะไรต้องค้าระหว่างประเทศ ลดภาษีไปเรื่อยๆเพื่อช่วยส่งเสริม
  • โลกาภิวัตน์มีแรงจูงใจด้าน Demand (ความต้องการ) กับ Supply (ปริมาณสินค้า)
  • แลนด์แอนด์เฮ้าส์สร้างบ้าน แต่พฤกษาหาบ้านที่ราคาถูกใจลูกค้ามาขาย
  • ข้อตกลง Bretton Woods ทำให้สหรัฐสามารถพิมพ์ธนบัตรดอลล่าร์ได้โดยไม่ต้องมีเงินค้ำ แต่ใช้เครดิตชาวอเมริกันค้ำ
  • ชาวอเมริกันมีผลงาน creative 10 ชนิดที่ประเทศอื่นทำไม่ได้แล้วสามารถค้ำธนบัตรดอลล่าร์ได้ เช่น วัฒนธรรม ดนตรี บันเทิง อาวุธ ซอฟแวร์ เป็นต้น
  • ประเทศเพื่อนบ้านรักไทยมากแต่ไทยทำตัวไม่รู้จักประเทศเพื่อนบ้านแต่ให้เขามารู้จักเรา
  • ตอนนี้มีรั้วโลกาภิวัตน์คือสังคมการข่าว สุขอนามัย เป็นการเปลี่ยนแปลง
  • การทำแบบเดิมอาจจะขายไม่ได้
  • เวลาพัฒนาองค์กร เรามักคิดแยกส่วน แต่เวลาขึ้นเป็นผู้นำต้องเชื่อมโยง 5 ล้อให้ได้ โตจาก Specialist เป็น Generalist คนในองค์กรต้องทำหน้าที่เป็นลูกเรือช่วยกันทำงานขับเคลื่อน ผู้นำต้องทำให้ลูกน้องรู้สึกแบบนี้ แล้วเขาจะทำงานแบบถวายชีวิต
  • ล้อที่ 1 การตลาด สร้างยี่ห้อ (ความเชื่อ) เป็นสิ่งที่ทำมากในยุคหลังๆ ต้องพัฒนายี่ห้อการเคหะ อย่ายึดติดราคา การเคหะต้องมี creativity ต้องสร้างแบรนด์มาค้ำความเชื่อมั่นให้การเคหะ การตลาดขององค์กรที่ไม่ทำกำไรคือการสื่อสารกับสังคม ดูว่า คนมาการเคหะเขามาซื้ออะไร ต้องเปลี่ยนกระบวนการคิดเป็น Demand Focus การเคหะขาย House แต่ผู้ซื้อซื้อ Home การเคหะมี Social Return on Investment
    • ล้อที่ 2 การผลิต สร้างสินค้า ในยุคโลกาภิวัตน์ ยากที่จะบอกว่าสินค้าผลิตที่ไหน ผลิตสินค้าต้องตามความเมตตาของลูกค้า การผลิตไม่ได้ต่ำต้อยกว่าการตลาด ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน การเคหะต้องมี Showcase ผลงานสมบูรณ์แบบที่ไม่ใช่สร้างบ้าน อาจจะเป็นชุมชนเล็กๆ ที่สโมสรต้องมีคนหลายชนชั้นมาพบกัน อาจดูตัวอย่างเมืองมะละกา นักกฎหมายรุ่นใหม่การเคหะดูกฎหมายเพื่อสนับสนุนการผลิต แม่นกฎเกณฑ์ และผังเมืองกทม. เป็นพันธมิตรกับกทม.และเทศบาลทำให้ทราบข้อมูลวงในรวดเร็ว แล้วศึกษาหนทางในการดำเนินการ
    • ล้อที่ 3 การเงิน ต้องซุกไว้ช่วยการเคหะ ไม่ให้เจ้าหนี้ทราบแต่ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ จะได้ช่วยอนาคตการเคหะได้ ให้คนรุ่นใหม่ไปเรียน Financial Planner และสอบ FA และ FP ให้ได้อย่างน้อย 5 คน ทำให้รู้เรื่องเงินดีและรู้ว่าเงินมาอย่างไร ความคิดดีๆจะสร้างเงินได้ และภาษาการเงินถือเป็นภาษาสำคัญของโลก ควรร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินฯ การรถไฟและกรมธนารักษ์เพราะหน่วยงานเหล่านี้มีที่ดิน (Prime Areas) แต่ไม่รู้จะทำอะไร ส่วนการเคหะต้องซื้อที่ดิน ต้องเรียนการเจรจาต่อรอง
    • ล้อที่ 4 บุคคล ต้องสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถามว่าอะไรผิดปกติ ไม่ใช่ใครผิด จะได้แนวร่วมแก้ปัญหา ควรทำเอกสารรวบรวมความรู้ที่มาจากประสบการณ์ ร่วมมือกับนิด้าในการทำวิจัยลูกค้าชอบการเคหะเรื่องอะไรบ้างจะได้นำมาสร้างแบรนด์ให้เหมาะสมกับแต่ละชุมชน ทำให้การเคหะเป็นเมืองเล็กๆที่น่าอยู่ การเคหะสิงคโปร์มีแนวคิด (No Wrong Door) ราชการและรัฐวิสาหกิจสิงคโปร์ห้ามปฏิเสธคนมาติดต่อแม้ว่ามาผิดที่ก็ตาม ควรนำมาใช้กับเคหะชุมชน
    • ล้อที่ 5 Backup System (Information และ Infrastructure) ด้าน Information การเคหะต้องเชิญอดีตคนเก่งการเคหะมาถ่ายทอดประสบการณ์ ต้องสร้างบรรยากาศไม่ว่ากันเมื่อทำผิดแต่ต้องมีการให้แนวทางแก้ปัญหาและการปลอบขวัญ ต้องตีสนิทกับคนนอกที่เป็น Power Center ต้องถอดบทเรียนประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนๆ เป็น Knowledge Management (บริหารจัดการองค์ความรู้) เป็นเทิร์นคีย์สำหรับ Better Living การเคหะอยู่ในธุรกิจ Hospitality ต้องทำให้คนมีความสุข จึงเป็น Happiness Provider และแตกต่างจากหน่วยงานด้านอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ในด้าน Infrastructure ต้องทำให้คนรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของจะได้ช่วยกันรักษา

 

ช่วงแสดงความคิดเห็น

จำเนียร ดุริยะประณีต รองผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ

  • ขอบคุณอาจารย์มาก
  • บางเรื่องก็ง่ายและไม่ง่าย
  • เราได้ติดต่อประสานสำนักงานทรัพย์สินฯ การรถไฟและกรมธนารักษ์ เขาเก่งกว่าเรามาก แต่กฎกติกาเขาเป็นรั้วที่ทะลวงลำบาก
  • เรื่องแบรนด์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง อาจกระทบโครงสร้างองค์กร
  • เรามีประสบการณ์ NHA Experience เหมือนกันแต่ความภาคภูมิใจต่างกัน อาจจะต้องเรียกกลับคืนมา
  • บทบาทเราไม่ใช่แค่ที่ซุกหัวนอน แต่คุณค่ามันยิ่งใหญ่กว่านั้นคือ ความมั่นคง

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • ควรนำ NHA Experience มาทำเป็นแบรนด์

สมชาย ใจเอื้อ

  • อาจารย์เสนอพันธมิตรมา 2-3 หน่วยงาน แต่ท่านรองบอกว่ามันก็ไม่ง่าย
  • เวลาไปคุยกับหน่วยงานเหล่านี้ ก็เป็นเวลาที่เราตกต่ำ
  • บรรยากาศในการเคหะมันตรงข้ามกับที่อาจารย์พูด
  • บ้านเอื้ออาทรเราทำ Site service จึงเริ่มให้ลูกค้ามากเท่าที่ทำได้
  • ในการ Subsidy การเคหะต้องลงทุนถนน ไฟฟ้า ท่อระบายน้ำให้คนอยู่ด้วย
  • ต้องทำให้คนบ้านเอื้ออาทรมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • การเคหะต้องมีหลายมาตรฐานสำหรับลูกค้าหลายระดับ ควรเลือกโครงการที่ดีแล้วนำเงินมาเกลี่ยทำให้โครงการอื่นดีขึ้น
  • อาจจะต้องหาจุดแข็งของการเคหะ มีเคหะชุมชนกี่ชนิด นำภูมิปัญญาในอดีตมาทำให้ใกล้ความจริง นำนักกฎหมายมาตรวจสอบว่าถูกกฎหมายไหม

 

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) (ช่วงบ่าย)

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

       อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

ดำเนินรายการโดย ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

 

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

  • เราต้องเปลี่ยนแปลงเพราะมีองค์ความรู้ใหม่
  • กรณีศึกษาบ้านแม่กำปอง มีความรู้ใบเมี่ยงอยู่แล้ว แต่มีการเปิดความรู้จากโครงการหลวง มีความยั่งยืนคือป่าคืนกลับมา 100% เศรษฐกิจในชุมชน ความสุขของหมู่บ้าน เวลาหนุ่มสาวลางานมาเฝ้าไข้คนแก่ก็ได้รับค่าเฝ้าไข้ที่ได้เงินมาจากสหกรณ์ไฟฟ้า หมู่บ้านบริหารแบบสภาหมู่บ้าน
  • การตลาดเชิงประสบการณ์ เช่นหัวหินมีเพลินวานสามารถพลิกฟื้นที่ให้น่าสนใจและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้แม้จะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นก็ตาม
  • ประสบการณ์ Fake กำลังจะหมดไป ประสบการณ์จริงจะเข้ามาแทนที่ การเคหะเป็นของจริงเรื่องการสร้างบ้าน “ซื้อบ้าน ได้บ้าน” นี่คือจุดเด่น
  • งานวิจัยปัจจุบันศึกษาว่า ทำไมคนต้องซื้อบ้าน
  • ประเทศไทยต้องสร้างความแตกต่าง จะเป็น Labor Intensive ไม่ได้
  • ต้องสร้างValue Innovation นวัตกรรมที่มีคุณค่า คนได้ใช้ประโยชน์สูงสุด
  • ตอนนี้ ผู้บริหารศึกษาเทคโนโลยีความเป็นตัวตน
  • Value Innovation= Lifestyle+Technology
  • บ้านแม่กำปองเป็น Wireless city
  • การเคหะต้อง Repositioning ของการเคหะว่า ไม่ได้ทำบ้านแค่ที่ซุกหัวนอน
  • ตอนนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นี่คือกลุ่มเป้าหมายใหม่ ต้องสร้างบ้านที่มี Universal Design เหมาะสมกับคนแก่ โดยไปดูงานที่ญี่ปุ่น และต้องมี Wireless ด้วย ผู้สูงวัยล้ม เซ็นเซอร์ทำงานส่งไปเป็น Virtual Ward
  • ต้องเปลี่ยนชื่อ (Rebrand for Reborn) เป็น Smile Community, Happy Community, Hospitality Community
  • Brand Idea คือ การบอกว่า ซื้อสินค้าแล้วได้อะไร เช่น NHA Happiness Provider ทำให้คนในชุมชนมีความสุข
  • ต้องลงลึกรายละเอียดทำการตลาด Fragmented
  • จุดแข็งของการเคหะคือ ซื้อบ้าน ได้บ้าน แสดงถึงความมั่นคงไม่เสี่ยง
  • โลกปัจจุบันสนใจสิ่งแวดล้อมและพลังงาน บ้านติด Solar Cell ผลิตกระแสไฟฟ้าในบ้าน
  • การเคหะควรสนใจสิ่งแวดล้อม โดยไปดูงานการจัดการขยะที่บ้านแม่กำปอง
  • ในการคิดโครงการใหม่ อย่าเพิ่งมองความเป็นไปได้ แต่ให้จินตนากรก่อนแล้วค่อยคิดถึงเรื่องเทคนิค
  • ยุคสมัยนี้ นิยมของแบนสุด บางสุด ต้องการความรู้แบบสหวิทยาการ ใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • การเคหะควรสร้างบ้านแบบ Loft Style
  • ควรกลับไปดูวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ของการเคหะ แล้วตอบสนองให้ได้
  • การเคหะมี Talent แล้ว และควรจะสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้แก่ลูกค้า
  • ต้องเน้น Sense and Respond และ Demand Driven
  • เวลาทำอะไร ต้องมีการวิจัย
  • ต้องหารือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการทำหมู่บ้านผู้สูงวัย เพราะแก่แล้วไม่มีอะไรทำ อาจจะเที่ยวก็ได้หรือกลายเป็นมัคคุเทศก์
  • ความคิดสร้างสรรค์= expertise+ creative thinking skill+motivation
  • ต้องหาผู้ชำนาญการจริงด้านการ Rebrand มา เช่นเชิญไอเกียมาถามว่าเฟอร์นิเจอร์อะไรขายดีแล้วนำมาปรับปรุงบ้าน
  • กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ให้ยึดหลักของผู้ว่าราชการจังหวัดโออิตะของญี่ปุ่น คือให้พูดถึงโอกาสไม่ใช่ปัญหา
  • ควรทำ Site ตัวอย่างเป็นหมู่บ้านสำหรับผู้สูงวัย และอย่าเพิ่งคิดราคาแพง
  • ไม่มีโลกเดียวแล้ว มี Physical World และ Cyber World
  • ให้ความสำคัญด้านความรู้สึก เพราะลูกค้าเน้นการบริโภคแบบ Emotional แล้ว
  • ต้องตีความใหม่ว่า สร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของคน เป็นคนกลุ่มไหน มองให้ละเอียดเป็นรายอุตสาหกรรม เช่น คนรุ่นใหม่ซื้อข้าวกิน บ้านมีครัวไม่ต้องใหญ่ แต่ห้องนั่งเล่นต้องใหญ่ไว้โชว์เพื่อน
  • การเคหะต้องทำ 3 เรื่องคือ

1.Product Development ที่เป็นเฉพาะกลุ่ม (Customization)

2.Marketing and Branding ถามว่า เราเป็นใคร จะไปไหน ไปอย่างไร จะไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร

3.Distribute กระจายสินค้า (บ้าน) ให้คนเข้าถึงได้ เช่น การเคหะขอพื้นที่การรถไฟทำบ้านตรงมักกะสันให้คนของการรถไฟ

  • ต้องคิดให้เป็นย่าน
  • ต้องกล้านำ กล้าเปลี่ยน กล้าเสนอ
  • ทุกๆที่มีการสร้าง Community แต่ละคนที่เข้าไปคิดว่า เขาจะได้ประโยชน์อะไรไม่ใช่ราคาเท่าไร
  • การเคหะควรเปลี่ยนแปลงองค์กรไปทำกำไรแล้วนำกำไรไปเลี้ยงรากหญ้าจะดีมาก
  • กรณีศึกษาดูไบ ชีคจ้างเด็กเชียงใหม่ออกแบบ The palm island แล้วชีคนำโมเดลไปเสนอลุกค้าก่อนที่จะสร้าง
  • การเคหะควรจำลองรูปแบบบ้านก่อนแล้วเสนอไปบนโลกอินเตอร์เน็ตเพื่อถามความคิดเห็นประชาชน
  • ต้องสนใจ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลง

1.ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการเงินโลก ลาวมีวิสัยทัศน์จะเปลี่ยนจาก landlock เป็น landlink ระบบ logistic อาเซียนต้องผ่านลาว ทำให้ประหยัดเวลาในการขนส่งสินค้า

2.เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง

3.โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปเป็นสังคมอายุ

4.ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

5.รูปแบบการบริโภค ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ต้องเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้บริโภค

  • ควรนำความเป็นไทยใส่ลงในบ้าน เช่น การต้อนรับขับสู้ ความกตัญญู (ให้อยู่บ้านดีๆ)
  • การเคหะต้องเปลี่ยนเป็น Sense and Response, Mass Customization, Economy of Speed, Real time
  • ต้องนำเสนอประวัติความเป็นมาจะทำให้สินค้ามีคุณค่ามากขึ้น
  • ต้องเน้น Demand driven
  • สร้างความแตกต่างด้วยการวิจัยและพัฒนาและการตลาด ควรนำ Idol มาช่วยโฆษณา
  • การเคหะคือความคลาสสิค มีการรักษาสัญญาว่าได้บ้านแน่นอน
  • ต้องคิดแบบองค์รวม (Holistic Framework)
  • ควรจะปรับเปลี่ยนเว็บไซต์การเคหะให้ค้นหาข้อมูลง่ายขึ้น
  • บ้านการเคหะที่เชียงใหม่อาจจะเป็นแบบล้านนาฟิวชั่นก็ได้
  • ต้องถามสังคมว่า มองการเคหะมีภาพลักษณ์เป็นอย่างไร
  • อาจจะไปจัดงานเปิดตัวบ้านที่ห้างต่างๆ
  • ควรคืนกำไรให้สังคม เช่น ทำมาตรฐานราคาบ้าน
  • ควรเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆแล้วให้เขาทำงานที่เขาเก่งแต่การเคหะไม่ถนัด
  • ควรตั้งชื่อหมู่บ้านการเคหะที่เน้นถึงสิ่งทันสมัยต่างๆ
  • ต้องเชื่อมั่นว่าเป็นไปได้แล้วเขียนแผน
  • ต้องมองที่ Value ไม่ใช่ Volume
  • ต้องมอง Benefit ไม่ใช่ Margin
  • ใช้ 5C

1.Connection

2.Creation

3.Communication

4.Competitiveness

5.Cluster

  • ต้องเน้น Make it different
  • ต้องทบทวนรากศัพท์ของ Art of Living (ความเป็นตัวตน)
มรัญสิตา ตีระศิริสิน
              วันที่ 21 มิย.55 เรียนวิชา" วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ"  จากอจ.สองท่าน คือ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์      บุณยเกียรติ  และอจ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ  
            อจ.ไกรฤทธิ์ กล่าวถึงเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นระดับภูมิภาค ยุคโลกาภิวัฒน์โลกไร้พรมแดน  มีแรงจูงใจด้าน DEMANDกับ SUPPLY โดยมี PRICING เป็นตัวกลาง  เปรียบองค์กรเหมือนล้อรถ 5 ล้อ ซึ่งผู้นำจะต้องเป็นผู้เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน    ล้อที่ 1.การตลาด สร้างแบรนด์ ความเชื่อ  ล้อที่ 2. การผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า  ล้อที่ 3. การเงิน ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ แต่ก็ต้องกันเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อไว้ใช้ยามคับขัน  บุคคลากรในองค์กรต้องมีความรู้ด้าน FINANCIAL PLANNER  เพราะภาษาการเงินถือเป็นภาษาสำคัญที่สุดของโลก  ล้อที่ 4. บุคคล ต้องสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หาความผิดปรกติและปัญหาเพื่อช่วยกันแก้ไข แต่ไม่ควรหาคนทำผิด  ล้อที่ 5. BACK UP SYSTEM [ INFORMATION & INFRASTRUCTURE ]  การถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นพี่ๆ ช่วยแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งหา POWER CENTER นอกองค์กร  การเคหะแห่งชาติอยู่ในธุรกิจ HOSPITALITY จึงสามารถเป็น HAPPINESS PROVIDER ที่ดีได้ .............อจ.ณรงค์ศักดิ์  ยกตัวอย่างกรณีศึกษาหมู่บ้านแม่กำปอง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่  ที่มีความสามารถบริหารจัดการในทุกๆเรื่องได้สำเร็จ  โดยอาศัย SENSE & RESPOND เปิดรับองค์ความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ประกอบกับได้รับความร่วมมือร่วมใจกันทั้งหมู่บ้าน.............สำหรับการเคหะแห่งชาติต้องการทำ 3 ประเด็นด่วน คือ  1. PRODUCT DEVELOPMENT 2. MARKETING& BRANDING 3.การกระจาย PRODUCT/ให้คนเข้าถึง ทั้งนี้ต้องตั้งคำถามแรกก่อน คือ WHY THEY BUY ?........และต้องค้นหาคำตอบให้ได้ด้วย CREATIVE THINKING SKILLSที่แตกต่าง.

โอกาสและประเด็นท้าทายของกคช.

วันนี้ 21 มิ.ย. 55 ได้มีโอกาสฟังความคิดเห็นของอ.ไกรฤทธิ์และอ.ณรงค์ศักดิ์ ขยายความให้เห็นถึง Concept ใหม่ๆที่จำเป็นต้องนำไปใช้ในกระบวนการคิด กระบวนการเปลี่ยนแปลง กระบวนการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับ 3 วันที่ได้เรียนรู้มาว่า องค์ความรู้เป็นเรื่องสำคัญที่จะเกิดกระบวนการคิดใหม่ๆเพื่อรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

กคช.คงต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายว่า แนวความคิดใหม่ๆดังกล่าวสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างไร จงเชื่อมั่นว่า “คุณทำได้”

นายถวัลย์ สุนทรวินิต

สิ่งที่ได้รับในวันนี้ ( ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๕ )  โดย นายถวัลย์  สุนทรวินิต

๑.     เป็นความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับทุกฝ่ายภายนอก รวมถึงฝ่ายการเมือง

๒.   ต้องไม่ยึดติดกับอดีตอันเคยรุ่งเรือง  ปัจจุบันอยู่ในโลกของการแข่งขัน และต้องตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง

๓.    ต้อง synchronize ระบบงาน หรือ วิธีการต่างๆ ให้สอดคล้องกันอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็น การตลาด  การผลิต  การเงิน/บัญชี/กฎหมาย  บริหารทรัพยากรมนุษย์  รวมไปถึงงานสนับสนุนอื่นๆ เช่น  สารสนเทศ  สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ฯลฯ

๔.    ต้องจำแนกตนเองให้ได้ว่า กคช. จะอยู่รอดได้ในภาวะโลกาภิวัตน์ในรูปแบบใด

๕.    ศึกษาตลาดปัจจุบัน  แนวโน้มอนาคตไม่เพียงระยะใกล้  ให้รวมระยะไกล  ซึ่งต้องสามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภค  โดยหมายรวมถึงช่องทางการพัฒนาการผลิต พัฒนาการตลาด  การสร้างยี่ห้อ(brand)  การกระจายสินค้า ฯลฯ

๖.     ให้ปรับตัวเข้าสู่  sense &  response, mass customization, economies of speed, real time

๗.   คำนึงถึง demand driven value chain  i.e. customer, channel, product, raw material, core competencies  etc.

๘.    เมื่อดูแลได้ทั่วถึงในด้าน demand side แล้ว ยังถือเป็นหน้าที่อีกด้านหนึ่งที่ต้องสร้าง connection, creation, communication, competitiveness และ cluster เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจของ กคช.

 

อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

วันที่  21  มิ.ย. 55

           

            วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ  ได้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์  Globization  และ  ACE  กับงานของ กคช.  การคิดแบบบูรณาการ  5  ด้าน  คือ  การผลิต  การตลาด  การเงิน  บุคคล และข้อมูลการบริหาร  โครงสร้างพื้นฐาน  พันธมิตรธุรกิจของ กคช.  คือ  สำนักงานทรัพย์สิน  การรถไฟฯ  กรมธนารักษ์ และกทม.  แนวคิดการ  Design กคช. ยุคใหม่  กระบวนการถอดบทเรียนจากผู้บริหารในอดีต  การปรับแนวคิดเป็น  Dcmand  Focus  เน้นการเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสังคมและผลตอบแทนเชิงสังคม  NHA  Happiness  Prouider  หาเหตุว่าทำไมคนถึงซื้อบ้าน กคช.  นำมาเน้นการสร้าง  Brand  แนวคิดใหม่ด้านการตลาดที่เน้นลูกค้า  การสร้าง  Brand  และหากลุ่มเป้าหมายหลายๆ กลุ่ม  เน้นที่  Benefit  ของลูกค้าไม่ใช่เน้น  Price  ความรู้ข้างต้นเป็นการเปิดโลกทัศน์ของ กคช.  ให้เปลี่ยนทั้งนโยบายแนวคิด  แนวทางการดำเนินการให้เป็นองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยน  เพื่อให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

อุึมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

วันที่  21  มิ.ย. 55

           

            วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ  ได้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์  Globization  และ  ACE  กับงานของ กคช.  การคิดแบบบูรณาการ  5  ด้าน  คือ  การผลิต  การตลาด  การเงิน  บุคคล และข้อมูลการบริหาร  โครงสร้างพื้นฐาน  พันธมิตรธุรกิจของ กคช.  คือ  สำนักงานทรัพย์สิน  การรถไฟฯ  กรมธนารักษ์ และกทม.  แนวคิดการ  Design กคช. ยุคใหม่  กระบวนการถอดบทเรียนจากผู้บริหารในอดีต  การปรับแนวคิดเป็น  Dcmand  Focus  เน้นการเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสังคมและผลตอบแทนเชิงสังคม  NHA  Happiness  Prouider  หาเหตุว่าทำไมคนถึงซื้อบ้าน กคช.  นำมาเน้นการสร้าง  Brand  แนวคิดใหม่ด้านการตลาดที่เน้นลูกค้า  การสร้าง  Brand  และหากลุ่มเป้าหมายหลายๆ กลุ่ม  เน้นที่  Benefit  ของลูกค้าไม่ใช่เน้น  Price  ความรู้ข้างต้นเป็นการเปิดโลกทัศน์ของ กคช.  ให้เปลี่ยนทั้งนโยบายแนวคิด  แนวทางการดำเนินการให้เป็นองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยน  เพื่อให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

นายสาธิต จันทร์วิพัฒน์

ขอมีส่วนร่วมในการส่งการบ้านก่อนจบการอบรม  โดยสรุปผลจากการอ่านหนังสือ  2  เล่ม ดังนี้

 

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

 

                   คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร  การทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาคนเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้  คนคือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร  หากได้รับการดูแล  เอาใจใส่  เพิ่มศักยภาพโดยการพัฒนาอย่างจริงจัง  สม่ำเสมอ และเป็นระบบ

 

                   เรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  ทั้งนี้ ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอน  และพี่เลี้ยง  พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา  เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้ และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้มีการศึกษา และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

                   คนที่สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ จะต้องทั้งเก่ง ทั้งดี มิใช่เก่งอย่างเดียว  เพราะอาจใช้ความเก่งไปในทางที่ไม่ถูก หรือดีอย่างเดียว อาจไม่ทันคนอื่น

 

                   คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  อดีตผู้บริหารบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นต้นแบบใน  4  เรื่อง

 

                   เรื่องที่ 1  คนเก่ง คนดี  (เก่ง 4  ดี 4)

                               เก่ง 4  -  เก่งงาน

                                       -  เก่งคน

                    -  เก่งคิด

                                       -  เก่งเรียน

                               ดี 4   -  ประพฤติดี

                                       -  มีน้ำใจ

                                      -  ใฝ่ความรู้

                                       -  คู่คุณธรรม

                   คนเก่งคนดีแต่ละที่ไม่เหมือนกันผู้บริหารควรทำเป็นตัวอย่างรวมทั้งมีการประเมินโดยจะเรียกว่า Capability  สำหรับคนเก่ง และAcceptability สำหรับคนดี ซึ่งในการ Promote พนักงานจะดูผลการประเมินทั้ง 2 ตัว ในเรื่องของ Capability  สามารถเพิ่มเติมได้ด้วยการฝึกอบรมส่วน Acceptability นั้น พนักงานต้องสร้างสมขึ้นมาเอง

 

                   เรื่องที่ 2 คุณค่าของคน คนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุด ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุด การลงทุนด้านคนมิใช้เงินอย่างเดียวต้องมีวิธีการด้วย โดยกำหนดเป็นนโยบายขององค์กร ซึ่งพนักงานจะต้องปฏิบัติตาม การฝึกอบรมถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานทุกคนต้องมีวินัย ตรงต่อเวลา จะเดินเข้าเดินออกไปเข้าสัมมนาแล้วหายไปไม่ได้              

 

                    เรื่องที่ 3 คนไม่ได้ผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียวแต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย นอกจากค่าจ้างและสวัสดิการแล้วยังต้องมีน้ำใจ เช่น การดูแลที่ดีต่อกัน รับฟังความคิดเห็น รับฟังความรู้สึก พบปะพนักงานระดับล่าง เพื่อแจ้งนโยบายองค์กร และรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ชมเชยผู้ที่ปฎิบัติดี เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ

 

                   สร้างจุดร่วม สร้างศรัทธาให้เกิดซึ่งกันและกัน จุดร่วมนี้สำคัญ ถ้าเรารู้สึกว่าผู้บริหารเป็นคนดี นำทางไปในทางที่ดี เรายินดีจะทุ่มเทให้ไม่ได้ทำเพื่อเงินทองแต่ทำเพื่อให้เกิดความรุ่งเรืองต่อองค์กร คล้ายๆธรรมาภิบาล อะไรที่ทำไปแล้วรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของความดีนั้น และไม่อยากให้การกระทำของเราทำให้องค์ประกอบขององค์กรที่ดีอยู่แล้วถูกทำลายลง

 

                   เรื่องที่ 4 การทำงานเป็นทีม จะเกิดจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของเพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

 

                   นอกจากนี้แล้ววัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนสำคัญ วัฒนธรรมองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

-         เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ

-         ต้องสร้างขึ้นมาเอง

 

ความซื่อสัตย์ก็เป็นจุดสำคัญของการทำธุรกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารควรจะทำเป็นตัวอย่างและจะต้อง

ปลูกฝังให้กลายเป็นวัฒนธรรม

 

                   โลกมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งการเมือง  สังคมเศรษฐกิจ  และเทคโนโลยี  ดร.จีร  หงส์ลดารมย์  เป็นคนตามทันทุกสิ่ง  และทฤษฎี  3  วงกลมของ ดร.จีระฯ เป็นสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หรือ Change  Management

 

                   วงกลมที่ 1  เรื่อง Context  คือบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  พูดถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน  การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสม  คล่องตัว  เป็นการทำงานแบบ  Process  การใช้ระบบสารสนเทศ  เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

 

                   วงกลมที่ 2  เรื่อง  Competencies  คือ สมรรถนะ หรือทักษะความสามารถของบุคคลในองค์กร  ซึ่งหมายถึงการพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ แก่บุคลากรในองค์กรให้มีความพร้อมที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่  Competencies  ที่สำคัญในการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย  5  เรื่องสำคัญ

-    Functional  Competency  คือทักษะหรือความรู้ที่ต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงาน เช่น วิศวกรต้องฝึกเรื่องช่าง  บัญชีต้องฝึกเรื่องบัญชี

-    Organization  Competency  คือความรู้ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร เช่น Reengineering , การปรับองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, การทำงานเป็นทีม

-    Leadership Competency   คือภาวะผู้นำ  ซึ่งจะต้องเน้นเรื่องการสร้างวิสัยทัศน์ , ความสามารถในการบริหารจัดการคน และการสร้างศรัทธา

-    Entrepreneurial Competency  คือมีความคิดริเริ่ม  สร้างสรรค์  มีความคิดในเชิงบริหาร  กล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลว  บริหารความเสี่ยงได้ 

 

-    Macro and Global  Competency  คือความรู้รอบตัว มองภาพใหญ่ของการทำงานในอนาคตได้  รู้ทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมากระทบกับตัวเรากับการทำงานทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก สามารถแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ได้

 

                   วงกลมที่ 3  เรื่อง  Motivation  คือการสร้างแรงจูงใจ  ทำในรูปแบบที่เป็นตัวเงิน  และไม่เป็นตัวเงิน  ที่เป็นตัวเงินเช่น  การขึ้นเงินเดือน  การให้โบนัส  การให้สวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ  ที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การยกย่องให้เกียรติ  การชมเชย  การมอบหมายงานที่ท้าทาย  การมีส่วนร่วม  การมีความโปร่งใส  การทำงานเป็นทีม

 

                   เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารเข้าถึงปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า คนถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร  ย่อมหมายความว่าผู้นำขององค์กรนั้น มีความเชื่อ และศรัทธาในเรื่องคน และพร้อมจะกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจังไว้เป็นปรัชญาขององค์กร

 

                   ยังมีประเด็นที่เชื่อว่าเป็นโจทย์ข้อใหญ่สำหรับผู้นำองค์กร นั่นคือ การสร้างความจงรักภักดี  ปัญหาคือ เราจะมีวิธีบริหารความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นด้วยวิธีไหนภายใต้เงื่อนไขว่า ทั้งองค์กร และพนักงานอยู่ในฐานะ ผู้ชนะทั้ง  2  ฝ่าย 

 

                   ความจงรักภักดี ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำด้วยว่ามีความเข้าใจเรื่อง HR ดีแค่ไหน เพราะคำว่า HR  ต้องลงลึกถึงการเข้าใจจิตวิญญาณของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย  ไม่ใช่แค่เรื่องการให้เงินเดือน หรือโบนัส  แท้จริงแล้วเรื่องของ Loyalty  กลายมาเป็นเรื่องเดียวกับทรัพย์สินทางปัญญา  การไหลออกของคนเก่งย่อมเท่ากับการสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรไปด้วย  ผู้นำองค์การบางคนไม่แน่ใจว่าจะจัดการกับปัญหาประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร  ในเมื่อได้ลงทุนกับพนักงานอย่างเต็มที่แล้ว  แต่วันหนึ่งพนักงานเหล่านั้นกลับลาออกไป  การรักษาบุคลากรเอาไว้ให้อยู่กับองค์กรนั้น  ผู้นำจะต้องสร้างความผูกพันในองค์กรให้เกิดขึ้น  ต้องทำให้พนักงานเกิดความรักในองค์กร  ต้องมีระบบการดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ต้น  ต้องมีผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี  ต้องมีการปกครองที่มีความเป็นธรรม  ให้ความรัก และให้ความสำคัญกับลูกน้องให้มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร ทำงานร่วมกันเป็นทีม  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้นำจะทำคนเดียวหรือมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กรไม่ได้  แต่ทั้งองคาพยพขององค์กรจะต้องขับเคลื่อนเพื่อปลูกฝังเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

                   คนพันธุ์แท้ระหว่างนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

                         1.       เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ

2.       หยัดอยู่ มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

3.       จากความยั่งยืนสู่การเป็นผู้ทรางอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม

4.       มีบุคลิกลักษณะแบบ “Global Man” ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์

5.       มีความเป็นผู้ใหญ่พร้อมจะเป็นผู้ให้ทั้งความรู้ และความรักแก่คนใกล้ชิด

6.       มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับกล่อง หรือการเชิดชูเกียรติจากใคร

 

 

นายสาธิต จันทร์วิพัฒน์

8 K’s + 5 K’s  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

 

                   ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับผลกระทบจากการเปิดเสรีต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่ปรุชาคมอาเซียน  สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ จำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน คือการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุนมนุษย์ เพราะเป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน  ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.จีระฯ ได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ  ผนวกกับแนวคิดทฤษฎี 5K’s เพิ่มเติม เรียกว่าทุนใหม่  ซึ่งจะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพเพียงพอ สามารถยืนหยัดแข่งขันได้ในทุกเวที  ไม่ว่าจะเป็นเวทีอาเซียนเสรี หรือเวทีโลก

 

                   ทฤษฎี 8K’s

                   K1  ทุนมนุษย์ การเรียนรู้ในระบบการศึกษาแบบทางการ รวมทั้งการลงทุนในเรื่องโภชนาการ หรือการฝึกอบรมนั้น เป็นการสร้างทุนมนุษย์ขั้นแรกเรียกว่า ทุนมนุษย์

                   K2  ทุนทางปัญญา  คือการมองยุทธศาสตร์ หรือการมองอนาคต  คุณภาพของมนุษย์มิได้วัดจาก ระดับของการศึกษาเท่านั้น  แต่เพราะความสามารถของมนุษย์ในการคิด วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และหาทางออก  การปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างทุนทางปัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ สำหรับประเทศไทย กับสังคมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                   K3  ทุนทางคุณธรรม และจริยธรรม  การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะ และมีปัญญาเท่านั้น  แต่ต้องเป็นคนดี  คิดดี  ทำดี  เพื่อส่วนรวม  มีจิตสาธารณะ

                   K4  ทุนแห่งความสุข  คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่า และสอดคล้องกับงานที่ทำ

                   K5  ทุนทางสังคม  หรือเครือข่าย  เป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ วิธีการที่จะช่วยให้เรามีทุนทางสังคม หรือเครือข่าย คือ

-         คบหาสมาคมกับคนหลาย ๆ กลุ่ม

-         เปิดโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้ และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

-         มีบุคลิกเข้ากับคนง่าย

-         ศึกษาบุคคลที่เราอยากรู้จัก  จุดอ่อน  จุดแข็ง  วิถีชีวิต

-         มีการติดตามการสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด

-         ทำงานเป็นทีม

-         มีทัศนคติเป็นบวก

-         เข้าใจความหลากหลายในความคิด และวิถีชีวิตต่าง ๆ

                   K6  ทุนแห่งความยั่งยืน  เป็นแนวคิดใหม่มากคล้าย ๆ ทุนแห่งความสุข คือการที่ตัวเราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่  คุณสมบัติของทุนแห่งความยั่งยืนคือ ต้องมองให้ออกว่า สิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร และที่สำคัญต้องไม่ขัดแย้ง หรือสร้างปัญหาในระยะยาว

                   K7  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT  ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้

                   K8  ทุนอัจฉริยะ  ทักษะ  ความรู้  ทัศนคติ  การพัฒนาทุนอัจฉริยะที่ได้ผลจะต้องพัฒนาภาวะผู้นำด้วย 

                   นอกจาก 8K’s   ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อคุณภาพของทุนมนุษย์แล้ว  ถ้ามองไปไกลถึงการสร้างความสามารถเพื่อการแข่งขันในโลกไร้พรมแดนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นต้นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในสังคมประชาคมอาเซียน  เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนใหม่อีก  5  ประการ

 

                   ทฤษฎี 5K’s  ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี

                   5K’s (1)  ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  พลังแห่งจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่าง ๆ ได้มากมาย  ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  สามารถสร้างได้ ที่สำคัญต้องพยายามฝึกคิดนอกกรอบ  ฝึกให้รู้จัดคิดเป็น  คิดเป็นระบบ  และต้องอย่างทำสิ่งใหม่เสมอ    

                   5K’s (2)  ทุนทางความรู้  ในยุคเศรษฐกิจ ฐานความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร มีความสำคัญ และความรู้ที่เรามีจะต้องสด ทันสมัย แม่นยำ ข้ามศาสตร์ 

                   5K’s (3)  ทุนทางนวัตกรรม  ความสามารถทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า  นวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่องคือ 1. มีความคิดใหม่  ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้  2. นำความคิดไปปฏิบัติจริง  3. ทำให้สำเร็จ    

                   5K’s (4)  ทุนทางวัฒนธรรม  การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์  การมีทุนทางวัฒนธรรมจะทำให้คนไทยทุกระดับอยู่ในสังคมประชาคมอาเซียน และสังคมโลกได้อย่างสง่างาม 

                   5K’s (5)  ทุนทางอารมณ์  การรู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารอารมณ์  ทุนทางอารมณ์รวมไปถึงภาวะผู้นำ มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง  แนวทางที่ดีในการสร้างทุนทางอารมณ์

-         ความกล้าหาญ

-         ความเอื้ออาทร

-         การมองโลกในแง่ดี

-         การควบคุมตนเอง

-         การติดต่อสัมพันธ์

 

อุปสรรคของการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์

                   1.  หน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ขากการทำงานแบบบูรณาการ  ต่างคนต่างทำ  ซ้ำซ้อน  ไม่ได้เน้นคุณภาพเท่าที่ควร  เกิดปัญหาที่สำคัญมากคือ คุณภาพของบัณฑิตที่จบมาในวันนี้ ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และขาดแคลนแรงงานในบางธุรกิจ บางสาขา หรือคุณภาพของแรงงานมีมาตรฐานไม่เพียงพอ

                   การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ และพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558  นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง และควรต้องกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ

                   2.  นโยบายการศึกษา และค่านิยมของคนในสังคม กับการสร้างคุณภาพทุนมนุษย์สายอาชีพ

                   ในยุคเปิดเสรีอาเซียน ความต้องการแรงงานในสายวิชาชีพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ  ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาสายอาชีวศึกษาเป็นสิ่งที่จำเป็น

                   3.  เอาชนะอุปนิสัยที่ไม่ใฝ่รู้ของคนไทย

                   จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของสังคมไทยคือ คนไทยไม่ใฝ่รู้ 

 

                   แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้มี  3  ทฤษฎีที่สำคัญ

                   ทฤษฎีแรก ทฤษฎี 4L’s”

                   L 1  Learning  Methodology  คือมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี  เน้นความทันสมัยทั้งเนื้อหา  หลักสูตร  การวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  การวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   L 2  Learning  Environment  คือสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้  โดยเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ  Coaching,  Facilitator และ  Mentoring

                   L 3  Learning  Opportunities  คือการสร้างโอกาสในการเรียนรู้

                   L 4  Learning  Communities  คือการสร้างชุมชนในการเรียนรู้

 

                   ทฤษฎีที่ 2 ทฤษฎี 2R’s”

                   R 1  Reality  เรียนรู้จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น

                   R 2  Relevance  จะต้องตรงประเด็น  หรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตัวเรา

 

                   ทฤษฎีที่ 3 ทฤษฎี 2I’s”

                   I 1  Inspiration  หมายถึง  การเรียนรู้จะต้องจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดพลัง เกิดความกระหายใคร่รู้

                   I 2  Imagination  หมายถึง การเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนมีจินตนาการนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

 

                   การเปิดเสรีอาเซียน หรือการเป็นสังคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคน ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ ทั้งเป็นโอกาส และความเสี่ยง  คุณภาพของทุนมนุษย์คือ  เรื่องวัดความสามารถทางการแข่งขัน  ทฤษฎี 8K’s  และทฤษฎี 5K’s (ใหม่) จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้

 

                   การสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะได้ผลดีมากยิ่งขึ้น  ถ้าเริ่มต้นจากครอบครัว และโรงเรียน  2 สถาบันหลักที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกฝัง  หล่อหลอม  สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้  สร้างภาวะผู้นำ  การเป็นคนเก่ง คนดี  มีจิตสาธารณะให้แก่บุตรหลานของเรา  พ่อ  แม่  และครู จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

 

                   เมื่อทำงานก็ต้องเลือกงานที่ตัวเองรัก  ทุ่มเท ใช้พลังความคิด และสติปัญญา สร้างผลงานที่เป็นเลิศ ทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าหยุดการเรียนรู้ อย่าหยุดการพัฒนา เมื่อมีโอกาสก็แบ่งปันสิ่งที่ดีงามให้แก่สังคม และนี่ก็คือเส้นทางที่จะทำให้เราเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพบนพื้นฐานของความสุข และความสมดุลของชีวิต.

 

----------------------------------------------------------------------------------------------

 

นายสาธิต  จันทร์วิพัฒน์

ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานชุมชน 3

การเคหะแห่งชาติ

สวัสดีครับท่าน อ.จีระ

                วันนี้มีบรรยายเรื่อง วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) โดย อ.ไกรฤทธิ์ และอ.ณรงค์ศักดิ์  ซึ่งท่านอาจารย์ทั้ง 2 มีความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ดีเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ฟังสนุกและได้ความรู้

                 ท่านอ.ไกรฤทธิ์ ได้กล่าวว่า กคช.ต้องเป็น Dynamic คือต้องปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ อย่าเอาแบบ Land & House ที่คิดว่าแน่และไม่ปรับตัวเอง ทำให้ขณะนี้แย่แล้ว โดนบ.พฤกษาซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่กลับเติบโตในวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากกว่า โดยบ.พฤกษาไปได้งานในต่างประเทศเช่น ที่เวียดนามและมะละกา ท่านอาจารย์ได้เปรียบกคช.เหมือนรถยนต์ที่มี 5 ล้อ เราซึ่งเป็นผู้บริหารอย่ามองแต่ล้อใดล้อหนึ่ง แต่ให้มองภาพรวมรถยนต์ ความหมายของล้อคือแต่ละวิชาเช่น วิศวะ บัญชี กฎหมาย ฯลฯ ต้องเน้นคุณภาพที่ Brand ไม่ใช่ Factory

                 ท่านอ.ณรงค์ศักดิ์  ได้นำกรณีศึกษา บ้านแม่กำปอง เชียงใหม่ ที่ได้รางวัลที่ 1 ของ Asia Pacific ในเรื่องชุมชนตัวอย่างที่พึ่งพาตัวเองและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม ท่านอาจารย์เน้น “องค์ความรู้ใหม่” เพื่อต่อยอดความรู้เดิม เช่น บ้านแม่กำปอง เดิมมีชื่อเสียงในเรื่อง “เมี่ยงเหมืองเหนือ” แต่ต่อมาคนไม่นิยม ต้องเปลี่ยนมาปลูกกาแฟแทน

                 Experience Marketing เป็นเรื่องที่อาจารย์เน้น “การตลาดประสบการณ์” เช่นเพลินวานที่หัวหิน

                ต้องรักการอ่านเช่น หนังสือกลยุทธ์ Blue Ocean เน้น Value Innovation “นวัตกรรมที่มีคุณค่า” เช่น การเลี้ยงปลานิล พืชผักเมืองหนาว อันเป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งพระองค์ท่านได้ทำเรื่องนี้มากแล้ว

                กคช.ในอนาคต ควรเป็น NHA Happiness Provider โดยเน้นสร้างความสุขในชุมชน ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคแห่งความคิดสร้างสรรค์ Post Modern ต้องทำโครงการในลักษณะนี้ เช่น โครงการผู้สูงอายุหรือโครงการของกลุ่มวัยรุ่น ต้องเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมาย โดยขอให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำไปคิดต่อยอดต่อไป

                ฟังแล้วได้รับแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กร กคช.เป็นอย่างยิ่งครับ

 

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญได้จุดประกายพร้อมเปิดโลกทัศน์ไว้มากมาย เนื้อหาของทั้ง 2 ที่จะนำมาปรับใช้กับ กคช. ได้ คือ ปัจจุบันกระแส Globalization  การค้าขายในประเทศไม่ได้พัฒนาสักเท่าใด ดังนั้นควรเตรียมการเปิดการค้าระหว่างประเทศซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ กคช. จะใช้โอกาสนี้เปิดประตูธุรกิจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพหรือมี Demand ทั้งนี้จะต้องเตรียมการตั้งแต่ วิธีคิด และวิธีทำธุรกิจ

 

วิธีคิด

  • จะต้องไม่เอาปัญหานำ แต่จะต้องเอาจินตนาการ (Imagine) นำ
  • Think Difference คือ หัวใจในการทำธุรกิจต้องไม่ Make and Sale แต่โลกยุคใหม่จะต้อง Sense + Response โดยนำองค์ความรู้ใหม่ (Knowledge  Management) มาบริหารจัดการ
  • ดูกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งปัจจุบันเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ เป็นโอกาสที่ดี ที่ธุรกิจที่อยู่อาศัยและธุรกิจอื่น ๆ จะรองรับประชากรกลุ่มนี้
  • เน้น Benefit ไม่ใช่เน้นกำไรจากการดำเนินการ
  • ในตลาดผู้ใดเร็วกว่าผู้นั้นเป็นผู้ชนะ (Economics of Speed)

 

วรรณภา พิลังกาสา

22 มิถุนายน 2555

Panel Discussion

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

       น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ

      ดำเนินการอภิปรายโดย

      ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

 

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ประธานชมรมคนออมเงิน

  • เรื่องบริหารงบประมาณหมายถึงงบส่วนตัว
  • วันคริสต์มาสผมคุยกับภรรยาว่า เงินหาได้เท่าไร ใช้เท่าไรและเหลือเท่าไร
  • ทรัพย์สินแยกเป็น 2 กอง

1.กองที่มีตัวตน เช่นบ้าน รถ Laptop ทรัพย์สิน ทองคำ เพชร

2.กองที่ไม่มีตัวตน เช่น หุ้น กองทุน

  • รายได้ผมมาจาก

1.เงินฝาก

2.หุ้น

3.กองทุน

  • ผมดูแลการเงินโดย

1.วิเคราะห์ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา การเงินของตนเป็นอย่างไร

2.สัปดาห์หน้า จะปรับเปลี่ยนการลงทุนอย่างไร

  • การลงทุนแต่ละประเภท

1.บ้าน เพราะทุกคนต้องมีบ้านอยู่ การซื้อบ้านทำให้ผลได้บทเรียน เวลาเปลี่ยนไป ราคาก็เปลี่ยนแปลง

ควรซื้อบ้านถ้าซื้อมาใช้ ถ้าที่ดินติดกับบ้านราคาแพง ก็ควรจะสู้ราคา

2.หุ้น ถ้าการเงินยุโรป อเมริกา ผันผวนต้องระวังผันผวน

3.พันธบัตร หุ้นกู้และกองทุน

4.ทองคำ ตอนนี้ก็หมดแรงวิ่งขึ้น ถ้าลงทุน ต้องซื้อๆขายๆ ระวัง Gold Future เพราะเสี่ยงขาดทุนมาก

5.ถือเงินสด เงินสดไม่ด้อยค่า

6.ลงทุนต่างประเทศ อย่าเพิ่งไปเพราะผันผวน

 

  • จิตวิทยาการลงทุน

1.กระทิง ขาขึ้น มีโอกาสทำกำไร ซื้อถูก ขายแพง

2.หมี ขาลง มีโอกาสทำกำไร ขายตอนถูกและซื้อตอนถูกกว่า

3.หมู ไม่มีกำไร ตะกละ

4.แกะ ไม่มีกำไร ขี้ขลาด

  • ควรซื้อเหรียญอเมริกัน เป็นเหรียญที่ทั่วโลกยอมรับ กษาปณ์ราคาดีกว่าเพราะรัฐบาลรองรับ

น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ

  • ผมจะเน้นเรื่องงบประมาณองค์กร
  • กองทัพเรือก็มีปัญหางบประมาณไม่พอ ตอนปี 2539 ซื้อเรือ แต่ประกาศค่าเงินลอยตัว แล้วทำสัญญาจ่ายเป็นดอลล่าร์ทำให้มีปัญหาในการจ่ายเงิน ตอนหลัง ก็ไม่ทำสัญญาเป็นเงินสกุลเดียวแล้ว ระบบไม่เปิดให้เราทำ SWAP
  • เราเน้นประหยัดจนเคยแต่ไม่เน้นการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ประชาชนจริงๆ
  • ในกระบวนการงบประมาณต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย การมีประสบการณ์ร่วมกันก็จะทำให้เข้าใจได้บ้าง
  • ผู้นำต้องมีความชัดเจน
  • งบประมาณ เราดำเนินการตามกฎหมายต่างๆ
  • การเคหะมีเงินนอกงบประมาณอยู่พอสมควรด้วย
  • งบประมาณต่างจากเงิน เพราะงบประมาณมีวัตถุประสงค์
  • ทันที่เสนอความต้องการงบประมาณไปยังสำนักงบประมาณ เขาจะถามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ แล้วจะมีกรรมาธิการตัดงบประมาณ และต้องตอบว่า ทำทำไม (ความจำเป็นในการนำไปใช้) เป็นการระบุความชัดเจน ทำให้มีโอกาสเจรจาต่อรองมีสูง
  • แต่ถ้าชัดเจนเกินไป ด้นไม่ได้ ทำให้ไม่เกิดความยืดหยุ่น ผู้บริหารไม่ชอบ

ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

  • ผมเคยเป็นกรรมาธิการงบประมาณ มีหลายหน่วยงานมีข้อจำกัดในการแนบเอกสาร
  • บางหน่วยงานได้งบเพิ่มเพราะเป็นงานที่ทำประโยชน์แก่จังหวัดที่ส.ส.อยู่
  • ต้องวางแผนล่วงหน้าว่าแต่ละปีทำอะไร
  • ต้องมีงบกลางใช้ฉุกเฉินได้
  • การตั้งงบ อาจนำงบวิจัยมาใช้ได้ เช่น งบวิจัยพัฒนาอาวุธ จะได้ของบน้อยลง
  • การปกป้องงบประมาณที่ตนเสนอขอก็เป็นเรื่องยากพอสมควร

คำถาม

1.ซื้อเหรียญกษาปณ์อย่างไร

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • ซื้อเหรียญกษาปณ์ได้ที่ร้าน Ausiris 1 เหรียญ American Gold Eagle ราคา 4 หมื่นกว่าบาท
  • ถ้าซื้อแล้วมาขายในไทยมันมีวงจำกัด แต่ก็นำไปขายร้านทองก็ได้ แต่เมืองนอกมี Dealer มาก
  • ควรซื้อเหรียญในหลวงร.9 และเหรียญพระเทพ

2.ระหว่างหุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ ควรลงทุนอะไร

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • ควรมีหุ้นบ้าง มีพันธบัตรอย่างเดียวยิ่งแก่ยิ่งจน ถูกหักภาษี 15%
  • ควรลงทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ให้ผลตอบแทน 7-9.5% จ่ายเงินปันผล 4 ครั้ง เสียภาษี 10% ขอคืนภาษีได้ ความเสี่ยงต่ำกว่า
  • ถ้ากลัวความเสี่ยง ควรซื้อกองทุน ไม่ควรซื้อพันธบัตร
  • หุ้นกู้มีความเสี่ยงกว่า ขายคืนก่อนกำหนดไม่มีใครซื้อ เสียภาษี 10%

3.ควรลงทุนกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไหม

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • ต้องดูว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนำรายได้จากที่ไหนเพื่อนำมาจ่ายปันผล

4.กองทุนทองเป็นอย่างไรบ้าง

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • NAV คิดตาม Spot Gold นำอัตราแลกเปลี่ยนมาคูณด้วย ยังมีความเสี่ยง

5. อยากทราบเกี่ยวกับ LTF/RMF

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • LTF เป็นลงทุนหุ้น ถ้าอยู่เกิน 5 ปีขึ้นไป โอกาสมีกำไรมีสูง กำไรประมาณ 17%

6. เราได้ขายบ้านเป็นสวัสดิการตำรวจ ตำรวจบอกว่า ได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจึงนำมาซื้อบ้าน ได้กำไรจริงไหม สลากออมสิน ธกส.เป็นอย่างไรบ้าง

น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ

  • สำนักงบประมาณให้ตั้งสำรองอัตราแลกเปลี่ยนได้ส่วนหนึ่งแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ก็ไม่ได้กำไร
  • ถ้าขาดทุนกองทัพเรือต้องไปหาเงินมาจากที่อื่น
  • ถ้ามีเงินเหลือจ่าย ก็ไปเจรจากับสำนักงบประมาณเพื่อขออนุญาตนำเงินไปทำอย่างอื่นที่เราขอแล้วไม่ได้

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • สลากต้องมีการเสี่ยงโชคบ้าง
  • High Risk High Return
  • สลากออมสินเป็นคล้ายๆกึ่งเงินฝากและถูกรางวัล
  • ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เงิน จะขาดสภาพคล่องในการขาย
  • ได้เงินน้อย ถ้าถูกรางวัลเลขท้าย หรือไม่ถูกรางวัล

7. เงินฝากประจำ 4% ของกรุงไทยเป็นอย่างไร

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • เงินฝากตอนนี้ ไม่น่าสนใจ
  • ควรนำเงินไปซื้อกองทุนหุ้น เช่น ปตทสผ โรบินสัน โตก้าวกระโด โตไปกับเซ็นทรัล เป็นห้างภูธร โตเร็ว
  • ควรซื้อหุ้น Modern Trade เช่น CP 7-11 โตเร็ว
  • ควรซื้อหุ้นที่มีปันผล ถ้าใจร้อน
  • ไม่ควรเปลี่ยน ถ้าคุณมีหุ้นที่มีอนาคตดี

8.คอนโดมีเนียมขึ้นมามาก จะลงทุนดีไหม

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ซื้อ
  • ถ้าจะลงทุน ควรลงทุนแบบกองทุนอสังหาริมทรัพย์จะดีกว่า

สรุป

น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ

  • งบประมาณ ถ้ามีข้อมูลดี มีโอกาสเจรจาต่อรองสูง

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • ความเสี่ยงของการลงทุนคือความโลภ
  • หุ้นไม่ได้ขึ้นทุกตัว ควรลงทุนระยะยาว 3-5 ปี กำไร 10% ถือว่าชนะเงินเฟ้อ

 

สมชาย เทวะเศกสรรค์

 

สำหรับการอบรมในวันนี้ (21 มิ.ย.55) สิ่งที่ได้รับ

  • ทำให้รับรู้แนวคิดสร้างสรรค์แนวใหม่ๆ และเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างยิ่งขึ้น
  • ทำให้ได้มองเห็นและรู้จักตัวเราเอง (การเคหะ) มากขึ้น
  • ได้มองเห็น จุดแข็ง (ความเก่ง) และจุดอ่อนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ให้รู้จักหาหุ้นส่วน (Stakeholder) เพื่อการบริหารในอนาคต
  • ให้รู้จักรูปลักษณ์ (Brand name) ซึ่งถ้าไม่มี ก็จะต้องสร้างขึ้นมาให้ได้
  • ทำให้รู้จักขั้นตอนในการที่จะทำธุรกิจได้ดีขึ้น เช่นการสร้าง Business Model (โครงการตัวอย่าง) และรู้จักวิธีการโยนหินถามทาง
  • และให้รู้ว่า การทำธุรกิจ ต้องเอาลูกค้าเป็นตัวนำหรือตัวตั้งและสำรวจความต้องการของลูกค้า โดยเน้นความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก
  • ทำให้รู้ว่า ต้องเลือกทำในสิ่งที่เราเก่งก่อน ถ้าสิ่งไหนไม่ถนัดหรือไม่ชำนาญ ให้จ้างหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญ มาช่วยดำเนินการ
  • การทำธุรกิจ ต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพทันกับสถานการณ์ภาวะโลกปัจจุบันเพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
  • ต้องมองภาพแบบองค์รวม

 

นางวิไล มณีประสพโชค

วิเคราะห์กรณีศึกษาการบริหารธุรกิจ 21/6/55 นางวิไล มณีประสพโชค

อาจารย์ไกรฤทธิ์  ได้ยกตัวอย่าง  การบริหารทางธุรกิจ  เป็นรถยนต์ที่มี 4 ล้อ แต่ละล้อ  คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  การผลิต ,การตลาด,การเงินบุคคล และมีเครื่องมืออำนวยความสะดวก  โดยมีคนขับ  เป็นผู้นำองค์การโดยผู้นำจะต้องคิดแบบบูรณาการ  เชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนไปได้  การบริหารธุรกิจควรมีสัมพันธภาพที่ดี กับหน่วยงานภายนอก และอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจของ  กคช. ในอนาคต อยากให้ กคช. จ้างอาจารย์เป็นที่ปรึกษาการวางแผนด้านการตลาดด้วย

8 K's + 5K's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน ทฤษฏี 8 ประการ (8k’s) เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ประกอบด้วยทุน 8 ด้าน

1. ทุนมนุษย์ (Human Capital) คือการศึกษา  การเลี้ยงดูจากครอบครัว การฝึกอบรม
2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นคนละประเด็นกับปริญญา  แต่เป็นปัญญาจากความคิด ความรู้ มองความจริง มองสิ่งที่ตรงความต้องการ
3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) การเป็นคนดี  คิดดี  คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตเป็นสาธารณะ
4. ทุนแห่งความสุข (Hapiness Capital) เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ
5. ทุนทางสังคม (Social  Capital ) การมีเครือข่าย Intellectual Network
6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability  Capital) คือต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด
7. ทุนทาง IT (Digital  Capital) ต้องมีความรู้ ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ
8. ทุนทาง ความรู้ ทักษะและทัศนคติ (Talented  Capital)   

ทฤษฎี 5 k’s (ใหม่) เป็นแนวคิดทุนมนุษย์ใหม่ ประกอบด้วย

1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)  การคิดนอกกรอบ
2. ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)  การใฝ่รู้ มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ตลอดเวลา
3. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) มีความคิดสร้างสรร ความคิดใหม่และสามารถนำมาผสมผสานความรู้ และต้องนำไปปฎิบัติจริง
4. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  Capital) มีความตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานการ ดำรงชีวิต  เพื่อสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มทางสังคม
5. ทุนทางอารมณ์ (Emotional  Capital) การรู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผลการมองโลกในแง่ดี 

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ สรุปประเด็นที่น่าสนใจ - แนวคิดว่าคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานสำเร็จได้ด้วยคน - คนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินใดๆ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะสร้างผลิตผลเพิ่มให้องค์กร - ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอน และพี่เลี้ยง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา และเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับองค์กร - ผู้บริหารต้องใฝ่รู้ Learner เพื่อนำไปสร้างและพัฒนามันสมองหรือสร้าง Knowledge - การสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ในการเปิดโอกาสให้คนที่มีศักยภาพให้โอกาสในการทำงานไม่ดูเรื่องอาวุโส สร้างแรงจูงใจและมีงานท้ายทายให้ทำ - การทำงานที่ดีคือการทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน - การทำงานคือการพักผ่อน ไม่ถือว่าเป็นภาระ การทำงานคือความสุข - คนดีทางศาสนาคือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิดและเก่งเรียน - คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนเป็นเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทน ทางใจด้วย - การสร้างสภาพแวดล้อม สร้างบรรยากาศเชิญชวนให้อยากทำงาน ทั้งด้านกายภาพและบรรยากาศความเป็นมิตร เป็นทึมงาน - การผสมผสานหลักการบริหาร หลักคิดแบบตะวันออกและตะวันตก - คนที่มีจริยธรรมสำคัญมากกว่าคนที่การศึกษา แต่คนที่มีการศึกษาสามารถพัฒนาให้มีจริยธรรมได้ - ผู้บริหารต้องฝึกการเป็นผู้รับฟังและบูรณการความคิดของคนหลายๆ คนเข้าด้วยกัน (Listening Skill) และการทำงานกับผู้อื่นเป็น Network and Partnership - การสร้างให้เกิดศรัทธาในการเรียนรู้ (Learning) มากกว่าเน้นรูปแบบการอบรม (Training) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดความสมดุลย์ต้องให้การฝึกอบรม 3 ทักษะ 1. ทักษะในเชิงปฏิบัติ (Functional Skill) ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานโดยตรง 2. ทักษะในเชิงแนวคิด (Conceptual Skill) การสร้างแนวความคิดที่เป็นตรรกะ (Logical) 3. ทักษะเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Personal Skills) ประโยชน์ที่ กคช. จะได้รับแยกเป็นประเด็นดังนี้ 1. การพัฒนาคน เริ่มจากการคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมงานและพัฒนาให้มีโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติม มีประสบการณ์หลากหลาย สามารถนำศักยภาพของแต่ละคนมาใช้ในงานได้อย่างเต็มที่และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ผู้บริหารจะต้องเป็นคนมีแนวความคิดดี มีหลักในการบริหารงานที่ดี เข้าใจนโยบายหรือเป้าหมายของงาน สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ 2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี พนักงานต้องมีคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับความสามารถในการทำงาน และเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วนั้น พนักงานต้องทำงานอย่างจริงจัง มีความคิดสร้างสรรค์ มีระเบียบวินัย มีความจงรักภักดี
3. การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน บรรยากาศของความเป็นมิตร การร่วมมือกันทำงานด้วยความสามัคคี สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข กระตุ้นให้เกิดความรักความทุ่มเทต่อองค์กร รวมถึงการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน โดยพนักงานมีความพอใจในงานและมีโอกาสก้าวหน้า ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. การบริหารงานบุคคล การวางพื้นฐานการบริหารงานบุคคลจะต้องจัดการอย่างเป็นระบบ และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร ทันสมัย และนำไปใช้ได้จริง โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การรับผิดชอบต่อบุคลากรภายในองค์กรจนถึงความรับผิดชอบต่อเครือข่าย เช่น สังคม ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของการเคหะแห่งชาติ (กลุ่มที่ 6 นายสุรสิทธิ์, นางสาวอุบลวรรณ, นายสุริยา, นางสาวชัญญา, นางสุกัญญา และนายอนุสรณ์)

สุกัญญา แย้มเกศร์หอม

จัดส่งข้อความมาหลายครั้ง แต่ปรากฎภาพน้องเหมียวค่ะ จะลองใหม่ไม่รู้ระบบใครเป็นอุปสรรค

การเปลี่ยนแปลงจะต้องมีแรงต้านทานและแรงเสริม การต่อต้านเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นจาก กลัวจะสูญเสียประโยชน์ อำนาจ ความมั่นคง สิ่งที่เคยมี เคยทำอยู่จนเคยชิน - ความรู้สึกหวั่นไหวต่อความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความรู้สึกที่ต้องออกหรือเปลี่ยนแบบแผนชีวิตที่เคใช้มาจนเคยชิน - ขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทาง วิธีการที่จะเปลี่ยนแปลง

  ตัวแปรสำคัญที่มักจะนำมาใช้หรือใช้เป็นกรอบในการเปลี่ยนแปลงองค์กร คือ SEVEN s Model ของ McKinsey      

          - Strategy

          - Structure

          - System

          - Style

          - Staff        

          - Skill

          - Shared value

  การเปลี่ยนแปลง 1-3 ปีข้างหน้าที่ กคช. ต้องเผชิญปัญหา คือ ขาดคน ขาดผู้ปฏิบัติงานระดับบริหารที่มีประสบการณ์ (SKILL) มีความรู้สะสมเชิงวิชาชีพ เชิงวิชาการและ เชิงยุทธศาสตร์ ที่สำคัญคือความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ (TRWST) ที่มาจากผลงานและจริยธรรมที่สร้างสมกันมา

 

ฟังเรื่อง AEC กับประเทศไทยแล้วก็รู้สึกเกิด ภาวะ "จอมืด" ขึ้นเรื่อยๆ ยังไม่ได้ยินข่าวว่า ประเทศไทยจะไปไหน ไปได้แค่ไหน เหมือนนั่งดู นั่งฟัง รอเวลาผ่านไปวันๆ แต่ก็ยังต้องคิดต่อไปนั่นแหละว่าการมารวมกัน 10 ชาติ ภาายใต้ประชากรประมาร 600 ล้านคน รวมเป็นตลาดเดียวและฐานผลิตหนึ่งเดียวเหมือรแผ่นดินนี้ แนบเหมือนแผ่นกระดาษเคลื่อนที่ง่ายไปได้ทั่ว

 ประเทศไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์อันนี้แน่นอนเห็นได้จากที่ตั้ง มาตรฐานเรื่องคุณภาพชีวิตของไทย กล่าวได้เลยว่า มีมาตรฐานสูงหรือดีกว่า หลายๆประเทศ ในกลุ่ม AEC แต่เราไม่ควรใช้การเมืองให้มาฉุดความคิดเราไปเสียทั้งหมด

 มุมด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วิชาชีพเฉพาะ ภาพการก่อสร้าง ยังไม่มีการกำหนดรายละเอียดกันนัก ก็คงเป็นภาพผู้รับเหมาทำงานข้ามชาติ ปัญหาน่าจะเป็นความกังวลหรือไม่ว่า ผู้รับเหมางานในประเทศไทยจะขาดแคลน (เชิงคุณภาพ) ธุรกิจจะเป็นของต่างชาติในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเปิดเผย ไม่ต้องมี NOMINEE อีกต่อไป

 คาดว่าความต้องการพื้นที่ตั้งสำนักงาน (Office space) น่าจะสูงขึ้นยิ่งในช่วงพม่ายังจัดสร้างรองรับไม่ทัน และการเดินทางจากไทยไปพม่า น่าจะง่ายและถูกที่สุด รวมถึงความต้องการที่พักอาศัยประเภทเช่าก็น่าจะได้รับประโยชนืในช่วงก่อนปี 2015

   ธุรกิจธนาคารระดับท้องถิ่นที่ไทยน่าจะเข้าไปได้เร็วและถูกกว่า ประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลที่กำลังหรือเริ่มเข้าไป

 การเคลื่อนที่ของวิชาชีพ ระดับผู้ชำนาญการก็จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา ทักษะ ความรู้ให้ไทยได้เร็วกว่า ลองผิด ลองถูก เอาเอง

 มองโดยภาพรวมๆ ก่อนถึงปี 2015 ไทยน่าจะได้ประโยชน์ ไทยต้องสร้างข่ายของปัญญา network of intelligence ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้

 

 

ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

วิชา วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ

โดย ศาสตราภิชาน  ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

    ขอเรียนว่าวิชานี้ ต้องขอยกย่องวิทยากร ซึ่งผมเรียกว่าท่านว่า อาจารย์ ไกรฤทธิ์ เปี่ยมล้นด้วยความรู้และประสบการณ์และสามารถถ่ายทอดได้อย่างดีเยี่ยม
    สิ่งที่ท่านกล่าวเตือนว่าคนไทยควรเข้าใจเพื่อนบ้านใน ASIAN ให้มาก เพื่อนบ้านเช่น พม่า เขมร  รู้เรื่องประเทศไทยดีกว่าคนไทยรู้เรื่องเพื่อนบ้าน อีกทั้งเพื่อนบ้านมองเราเป็นมิตรมากกว่าคนไทยมองต่างชาติ
    สำหรับการเคหะแห่งชาติ ท่านให้คำว่า   “ รวยไม่รู้เรื่อง”   ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเก็บไปคิดว่า    ทรัพย์สินการเคหะแห่งชาติ   ถ้าคิดกำหนดแนวทางให้ดีก็จะมีรายได้มหาศาล (รวยไม่รู้เรื่อง)  แต่กลับกันหากไม่รู้จักคิด ก็จะกลายเป็นไม่รู้เรื่องที่จะรวย
    “ การสื่อสารในองค์กร ระหว่าง TOP TEAM กับ ระดับล่าง สำคัญมาก “

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านบริหารธุรกิจ
    โดย  อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ

    วิทยากรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งมากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ การเคหะแห่งชาติ คือ วัตถุประสงค์การจัดตั้งการเคหะแห่งชาติดีอยู่แล้ว แต่วันนี้จำเป็นต้องนำเอาองค์ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์เข้ามา  กำหนดแนวทางในการทำงาน เช่น การสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงอายุหรือคนรุ่นใหม่     โดยจำเป็นต้องปรับแก้ภาพลักษณ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า โดยคำนึง   SENSE + RESPONSE

Panel Discussion

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

โดย ดร. สุรพงษ์ มาลี สำนักงาน ก.พ.

       คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

       รองกรรมผู้จัดการ

       บริษัท ทรีส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

      ดำเนินการอภิปรายโดย

      ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

 

ดร. สุรพงษ์ มาลี

เวลาพูดถึงความเสี่ยง คนมักเข้าใจผิดว่า

1.ความเสี่ยงต้องไม่ดี แต่จริงๆ High Risk High Return

2.ต้องกำจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้น จริงๆแล้วไม่มีที่ไหนที่ไม่เสี่ยง

3.ไม่เสี่ยงเลย ทำตัวให้ปลอดภัยเป็นดีที่สุด จริงๆแล้ว การเสี่ยงทำให้เกิดนวัตกรรม

  • องค์กรภาครัฐต้องบริหารความเสี่ยง
  • การบริหารความเสี่ยงของภาครัฐมาจากระเบียบควบคุมภายในปี 2544
  • ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม และ Strategic Risk

ในการบริหารความเสี่ยง

1.ระบุความเสี่ยง (ความไม่แน่นอน) ที่จะทำให้องค์กรไม่บรรลุเป้ายุทธศาสตร์

2.ประเมินความเสี่ยง จะเลือกบริหารต้องดูโอกาสที่จะเกิดxความรุนแรงและผลกระทบ = Expected Value

3.วัดความสามารถในการรับความเสี่ยง ถ้าความเสี่ยงเกินระดับที่รับได้ ต้องมีการบริหารจัดการ โดยลดโอกาสการเกิด ลดผลกระทบและแสวงโอกาสจากความเสี่ยง

4.ทบทวนตรวจสอบ

  • ลำดับสำคัญของความเสี่ยง = โอกาสที่จะเกิดxผลกระทบxโอกาสและความสามารถในการปรับปรุงความเสี่ยงxกรอบเวลาในการปรับปรุงความเสี่ยง

คำถาม

1.Strategic risk ไม่ควรอยู่นานเกินเท่าไร

ดร. สุรพงษ์ มาลี

  • ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ กระบวนการบริหารจัดการ
  • ดูว่า โอกาสและผลกระทบจากความเสี่ยงลดลงหรือไม่

ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

  • ความเสี่ยงที่ผมประสบมาจากการควบคุมงาน ส่วนมากมาจากมนุษย์
  • ที่สถาบันวิจัยทำแก๊สโซฮอลล์  มีการติดป้ายข้อห้าม แต่แผนกพลังงานเผาทดสอบพลังงาน ทำให้เกิดเปลวไฟ
  • คนไม่ได้ดูระบบ คนที่ชำนาญมักฝากคนอื่นทำแทน ทำให้เกิดความเสี่ยง
  • คนไม่ทำตามระบบระเบียบทำให้เกิดความเสี่ยงเกิดในองค์กร

ดร. สุรพงษ์ มาลี

  • ความเสี่ยงแบ่งเป็นเหตุการณ์และการกระทำ
  • ความเสี่ยงมีอยู่ทั่วไป
  • ความเสี่ยงที่เกิดจากคน
  • ในองค์กร มักแบ่งว่าใครรับผิดชอบอะไร ต้องมี Risk Owners ด้วยดูแลความเสี่ยงร่วมกัน

 

2.ทำอย่างไรให้คนตระหนักที่จะบริหารความเสี่ยง

ดร. สุรพงษ์ มาลี

  • ต้องดูที่แผน
  • ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร
  • มาตรการบริหารจัดการ ทำเป็น KPI ดูผลการบริหารความเสี่ยง

--------------------------------

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

  • การบริหารความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือไม่บริหาร มีความระมัดระวัง
  • ต้องมีการคาดการณ์ความเสี่ยง
  • ถ้าทำอย่างเดิม ก็เสี่ยงอย่างเดิม ถ้าไม่ต้องการเสี่ยงอย่างเดิม ก็ทำแบบใหม่ ทำให้เกิดนวัตกรรม
  • คณะกรรมการกำกับต้องให้ความใส่ใจระบบบริหารความเสี่ยง
  • ทุกคนต้องทราบบทบาทตนเองในการบริหารความเสี่ยง
  • ใช้ระบบโคโซ่อีอาร์เอ็มบริหารความเสี่ยง
  • ในการใช้ระบบโคโซ่อีอาร์เอ็มต้องตั้งวัตถุประสงค์ เน้น Smart ประเมินมาตรฐานเดียวกัน ทำในสิ่งที่มีประโยชน์ มีตัวเลขวัดได้
  • กระบวนการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและลดผลกระทบ
  • อย่าใส่ไข่ไว้ในตะกร้าเดียวกัน
  • ต้องพัฒนา Project Management
  • เวลามีพนักงานใหม่มาต้องมีระบบพี่เลี้ยง
  • ต้องมีการเตรียมการเรื่องน้ำท่วมและแผ่นดินไหว
  • รอบคอบในการทำสัญญา
  • ต้องทำการประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงในช่วงวิกฤติ
  • ต้องมีการกระจายความเสี่ยงและโอกาส
  • เวลาทำแผนต้องเชื่อมโยงกับความเสี่ยง
  • กระตุ้นให้คนบริหารความเสี่ยงโดยใช้วัฒนธรรมองค์กรและIncentive
  • นำสถิติมาสร้างเป็นโมเดลบริหารความเสี่ยง
  • มี GRC (Government Risk Compliance)
  • จากการสัมภาษณ์ CEO ทำ SET Award  พบว่า เด็กทำงานแล้วเตรียมข้อมูลเพื่อส่งฝ่ายแผนทำ KPI เจ้าของบริษัทบอกฝ่ายแผนว่า ไม่ต้องให้พนักงานทำเพราะเขาทำงานหนักแล้วอยู่เย็นเพื่อเตรียมข้อมูล ทำให้อ่อนเพลีย บริการลูกค้าได้ไม่เต็มที่

 

ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

  • ไม่ว่าเป็นระบบอะไรก็สร้างความดีให้องค์กร
  • ควรทำเป็นคู่มือกระบวนการ คนที่มาใหม่จะได้ศึกษาและทำตามได้ในอนาคต
  • ควรทำสถิติในรอบ 10 ปีทำอะไรมาบ้าง

ดร. สุรพงษ์ มาลี

ควรใช้หลัก 4 C ไปสู่ความสำเร็จ

1.Common goal

2.Communication

3.Commitment

4.Coordination

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ ( ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ ) โดยนายถวัลย์ สุนทรวินิต ๑. รู้จักการวางแผนการเงินโดยควบคุมการใช้จ่าย สร้างวินัยทางการเงิน สร้างนิสัยการเก็บออม หมั่นหาความรู้ทางการเงิน เมื่อมีเงินออมมากพอรู้จักการนำไปลงทุนเพิ่มค่าให้กับทรัพย์สิน ใช้กฎหมายทางภาษีให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ๒. รับทราบตัวอย่างการลงทุนที่ประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ทั้งด้านอสังหาริมทรัพย์ หุ้น กองทุน ทองคำ เพชรพลอย เหรียญกษาปณ์ เป็นต้น ๓. อย่างไรก็ตามต้องให้ความสำคัญกับมนุษย์ก่อนสินทรัพย์อื่นๆ ( people first, money later ) ๔. การจัดทำงบประมาณภาครัฐต้องทำอย่างระมัดระวัง ประกอบด้วย แผนการปฏิบัติงาน และ แผนการใช้จ่ายเงิน ๕. ต้องมีข้อมูลรอบด้าน และมากพอที่จะใช้อธิบายกับผู้มีอำนาจอนุมัติงบประมาณ เช่น สถิติผลดำเนินงาน ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการต่อ ความชัดเจนกระจ่างเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบ ๖. องค์ประกอบของแผนต้องตอบคำถาม who, what, when, where, why, how to, how much ๗. การบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกหน่วยธุรกิจต้องให้ความใส่ใจอย่างรอบด้าน ทั้งด้านกลยุทธ์ การดำเนินงาน การเงิน และ กฎระเบียบ ๘. หลีกเลี่ยงอุปสรรคที่ส่งผลให้การบริหารความเสี่ยงไม่สำเร็จผล เช่น ขาดความเอาใจใส่จากผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานไม่ยอมรับ มีค่าใช้จ่ายในการลดความเสี่ยงสูงเกินไปจนไม่คุ้มค่า เป็นต้น ๙. สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้ทุกคนปฏิบัติงานแบบบริหารความเสี่ยงไปในตัว โดยแบ่งปันความรู้ ให้ข้อมูลแก่กันสร้างความเข้าใจในความรับผิดชอบ และ จัดการกับความเสี่ยง ติดตาม ตรวจสอบการรายงานผลการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น

 วันที่สี่ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โดยอาจารย์ไกรฤทธิิ์ฯ  ได้ให้ความรู้ในเรื่องแบรนด์สินค้า โดยมีกรณีตัวอย่างของสินค้าแบรนด์ดังที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสินค้าบางชนิดผลิตในประเทศไทยหรือคนไทยเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ด้วยการบริหารจัดการที่ดี ทำให้สินค้าเป็นถูกใจและพอใจของลูกค้า ในส่วนของการเคหะฯ ซึ่งอยู่ในสภาวแวดล้อมที่โลกไร้พรมแดน การบริหารองค์กรจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ สามารถบูรณาการทุกส่วนงานในองค์กรให้ขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสมือนรถยนต์ที่ทุกส่วนต้องประสานขับเคลื่อนไปพร้อมกันจึงจะไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ในองค์กรก็เช่นเดียวกันในส่วนแรกควรเป็นส่วนการตลาด ที่ต้องสร้างแบรนด์ให้เป็นที่เชื่อมั่นแก่ลูกค้า วิจัยความต้องการของลูกค้า ส่วนที่สองเป็นส่วนผลิตสินค้า ต่ืองมีชุมชนตัวอย่าง ให้ลูกค้าได้เห็นจริง จึงต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจเข้มาเกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน ดังนันงานด้านกฎหมายจึงมีความสำคัญที่จะช่วยบูรณาการทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนที่สามเกี่ยวกับการเงิน ต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้้านการเงิน เพื่อบริหารการเงินให้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างคุ้มค่าต่อการลงทุน ส่วนที่สี่ ต้องสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับความค้องการของลูกค้ามากที่สุด ส่วนสุดท้ายคือส่วนสนับสนุน ต้องมีบริหารองค์ความรู้  เพื่อถ่่่ายทอดประสบการณ์จากผู้มีความรู้ความชำนาญในแต่ลุดาน 
  ในช่วงบ่าย เป็นบทเรียนจากกรณีศึกษาที่ทำให้ การเคหะฯ ต้องมองตนเองว่า ในยุคโลกาภิวัฒน์เรามีจดแข็ง/จุดเด่นอะไร จะปรับแบรนด์ของการเคหะฯ เป็นอย่างไร การเคหะฯ ต้องปรับตัวให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป  ต้องมองที่คุณค่า ไม่ใบ่มองที่ปริมาณ ต้องมีพันธมิตทางธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดความสารมารถในการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์นี้ 

สายันต์ ชาญธวัชชัย

จากการอบรมเมื่อ 21 มิถุนายน 2555

        ช่วงเช้า การบรรยายของท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ  เตือนให้ กคช.ปรับแนวคิดทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์มิเช่นนั้น กคช.จะเป็นเหมือนแลนด์แอนด์เฮ้าส์  ในอดีต กคช.จัดทำโครงการเคหะชุมชนเสร็จประชาชนจะแย่งกันซื้อมาจองคิวกันแต่เช้ามืด  แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้น  มีการแข่งขันสูงประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น  ในการทำงานยุคใหม่ความคิดทางธุรกิจของ กคช. จะต้องคิดแบบบูรณาการ  ฝ่ายต่างๆจะต้องทำงานสัมพันธ์สอดคล้องสนับสนุนกัน  ทุกคนใน กคช.ต้องช่วยเหลือกันทำงานคิดว่าทุกคนเป็นลูกเรือของ กคช.ไม่ใช่เป็นแค่ผู้โดยสารเท่านั้น  แนวคิดแบบบูรณาการ 5 ด้านของ กคช.คือ
      1.ด้านการตลาด กคช.ต้องสร้าง  Brand  สร้างความเชื่อถือ  สนใจ Demand ,Supply
        2.ด้านการผลิต ต้องผลิตสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้า  กคช.ควรมี Showcase  ให้เห็นว่า กคช.ไม่ได้สร้างแต่       บ้านแต่สร้างความเป็นชุมชนที่น่าอยู่  อยู่อย่างมี่ความสุขมีความมั่นคงยั่งยืน
      3.ด้านการเงิน กคช.ควรส่งคนไปเรียนในเรื่อง Financial Adviser และ Financial  planner 
         4.ด้านบุคคล  การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานไม่เน้นการลงโทษเน้นการแก้ปัญหาร่วมกัน  จัดเวทีแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์  มีการบริหารจัดการองค์ความรู้
        5.Backup System ด้าน Infrastructure และInformation
   ช่วงบ่าย การบรรยายของท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ  เน้นให้ กคช.หาองค์ความรู้ใหม่อย่างพอเพียงสำหรับต่อยอดฐานความรู้เดิม  ในการทำธุรกิจปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนความคิดเดิมจาก Make and Sale เป็น Sense and Respond   การออกแบบโครงการสมัยใหม่จะต้องเน้น  Value  Innovation  คือ Lifestyle  และ Technology  จะทำให้คนอยู่บ้านอย่างมีความสุข  มีสิ่งแวดล้อมที่ดี่  มี Wireless  ประหยัดพลังงาน เป็นต้น   ในอดีตเป็นยุค Model คือเน้นเรื่องของ Function  ซื้อไว้ใช้งานแต่ในยุค Post  Model  เน้นในเชิงสัญญลักษณ์ซื้อตามสังคมแวดล้อม  ดังนั้น กคช.จะต้องออกแบบโครงการให้ได้ความทันสมัยตามยุคดังกล่าว
        อาจารย์แนะให้ กคช.ทำ 3 อย่าง คือ
    1.Produce  Development  โดยเน้นทำรองรับเฉพาะกลุ่ม
    2.Marketing and Branding ตอบโจทย์ว่า  เราเป็นใคร  เราจะไปไหน  เราจะไปอย่างไร
    3.Distribute  จะต้องกระจายสินค้าให้คนเข้าถึงได้

สายันต์ ชาญธวัชชัย

จากการอบรบเมื่อ 22 มิ.ย.55

     ช่วงเช้า อาจารย์สุวรรณ  วลัยเสถียร เน้นเรื่องการออม  การสร้างนิสัยในการออม  ต้องมีวินัยในการออมและเมื่อมีเงินออมก็ต้องมีการวางแผนการเงินของตัวเอง  โดยการนำเงินไปลงทุนในรูปแบบต่างๆที่ให้ผลตอบแทนดีเช่น  -ที่ดิน  บ้าน  คอนโดมิเนียม      -พันธบัตร  หุ้นกู้  กองทุน    -ถือเงินสดไม่ด้อยค่า     -หุ้น-ทองคำ  เพชร  พลอย    -ลงทุนต่างประเทศ
     ช่วงอาจารย์ น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ  บรรยายเรื่องงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์  งบประมาณประกอบด้วย  แผนงาน + แผนเงิน  งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานประกอบด้วย   เป้าหมาย + แผนงาน + แผนเงิน + การควบคุมและประเมินผล    แผนปฏิบัติจะต้องมีองค์ประกอบครบ คือ  -ผู้รับผิดชอบ    -กำหนดกิจกรรมที่ชัดเจน   -ขอบเขตงาน  -ห้วงเวลาปฏิบัติ  

-เป้าหมาย -ขั้นตอนการปฏิบัติ -ทรัพยากรที่ใช้

        การขออนุมัติงบประมาณจะต้องเตรียมข้อมูลรายละเอียดของงานมีแผนงานชัดเจนทั้งแผนปฏิบัติและแผนการเงินทรัพยากร  ไว้ตอบคำถามของผู้มีอำนาจอนุมัติซึ่งจะมีคำถามเช่น  ทำอะไร  ทำทำไมความจำเป็น  ทำอย่างไร เป็นต้น  ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้แสดงว่าเป้าหมายองค์กรไม่ชัดเจนอาจถูกตัดลดงบประมาณ
        ช่วงบ่าย เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ บรรยายโดยอาจารย์สุรพงษ์  มาลีและอาจารย์สมชาย  ไตรรัตนภิรมณ์   การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรหลีกเลี่ยงไม่ได้จะต้องทำเพื่อความสามารถในการแข่งขัน  เพื่อความอยู่รอดขององค์กรอย่างยั่งยืน  เราไม่สามารถขจัดความเสี่ยงให้หมดไป  เราทำได้เพียงการบริหารความเสี่ยงให้มีโอกาสเกิดน้อยที่สุดและเกิดผลกระทบและความเสียหายน้อยที่สุด  แต่ความเสี่ยงก็มีส่วนทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้น
ถ้าเกิดความเสี่ยงในระดับยุทธศาสตร์  จะมีผลกระทบทำให้เป้าหมาย  ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรไม่บรรลุ
ถ้าเกิดความเสี่ยงในระดับการปฏิบัติกิจกรรม  จะมีผลกระทบทำให้การทำงานผิดพลาด 
ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงจะต้องเริ่มในระดับยุทธศาสตร์ก่อน  ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงจะทำไล่ลงมาจนถึงระดับปฏิบัติในทุกกระบวนการทำงานเอง  นั้นคือการบริหารความเสี่ยงควบคู่กับการควบคุมภายใน
       เทคนิคในการบริหารความเสี่ยง  1.ระบุความเสี่ยง  2.ประเมินความเสี่ยง  3.จัดการกับความเสี่ยง   4.ติดตามผลการบริหารความเสี่ยง
        หลักการจัดการกับความเสี่ยง  1.ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง  2.ลดผลกระทบของความเสี่ยง  3.แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

วันที่ 21 มิ.ย. 2555

    อ.ไกรฤทธิ์ ได้ให้แนวคิดว่า การเคหะฯต้องเปลี่ยนแนวคิด แนวทางการดำเนินงานเพื่อตอบสนองกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้น ผู้นำต้องบริหารงานแบบบูรณาการ โดยเชื่อมโยงด้านการตลาด การผลิต การเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และระบบสนับสนุนทางด้าน Information และ Infrastructure เข้าด้วยกันโดยมีบุคลากรในองค์กรช่วยขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ ต้องสร้าง Value Added ให้ลูกค้า สร้างเครือข่าย/พันธมิตรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำภูมิปัญญาของผู้บริหารในอดีตมาเป็นองค์ความรู้      ในส่วนของอ.ณรงค์ศักดิ์ ชี้ให้เห็นถึงองค์ความรู้ใหม่ๆและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนแปลง   สร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าเพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด ต้องสนใจต่อสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาสินค้า เน้นสร้างความแตกต่างของสินค้าด้วยการวิจัยและพัฒนา สร้าง Brand ของการเคหะโดยเน้น Demand driver และต้องกระจายสินค้าเพื่อให้เข้าถึงลูกค้า ได้มากที่สุด  >>ณงก์เยาธ์   เพียรทรัพย์<<

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

วันที่ 22 มิ.ย. 2555

ช่วงเช้า อ.สุวรรณ ได้ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลเงินโดยเน้นว่าต้องมีวินัยในการออม ให้ใช้ 80% และออม 20% รวมทั้งให้ความรู้ด้านการลงทุนประเภทต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน หุ้น กองทุน ทองคำ และเหรียญกษาปณ์ ซึ่งให้ลงทุนเมื่อพร้อมและตามที่ถนัดหรือมีความรู้ความชำนาญ การลงทุนต้องมีความสุขุม รอบคอบ และระมัดระวัง โดยต้องระวังความเสี่ยงจากการลงทุน ในส่วนของ อ.ศิรัส ได้บรรยายเรื่องงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนเชิงกลยุทธ์+แผนงาน+ แผนเงิน+การควบคุมและการประเมินผล การตั้งงบประมาณต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะเอาไปทำอะไร และทำเพื่ออะไร งบประมาณต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ซึ่งการจะวางแผนงบประมาณได้อย่างแม่นยำนั้นจะต้องมีข้อมูลข่าวสารประกอบและมีการเจรจาต่อรองเป็นหลัก ช่วงบ่าย อ.สุรพงษ์ และ อ.สมชาย ได้กล่าวถึงความเสี่ยงกับการบริหารงานและการตัดสินใจ ซึ่งคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเสี่ยงว่า เป็นสิ่งเลวร้ายไม่ดีต้องกำจัดให้หมดสิ้น และไม่ควรมีความเสี่ยงเลยจึงจะปลอดภัยที่สุด ๏ ความเสี่ยงเป็นเหตุการณ์/อุปสรรคที่ทำให้เราไม่สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ ๏ กระบวนการบริหารความเสี่ยงจะประกอบด้วย 1. การระบุความเสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นในอนาคตที่มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ 2. การประเมินความเสี่ยง จะอยู่บนพื้นฐานของผลกระทบและโอกาสเกิด 3. การบริหาร/จัดการความเสี่ยง เพื่อลดผลกระทบและโอกาสเกิดให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และแสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง 4. การติดตามผลให้เป็นไปตามมาตราการจัดการความเสี่ยง ๏ ผู้บริหารต้องบริหารจัดการ Strategic risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ทำให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์โดยใช้หลักการจัดการกับความเสี่ยง คือ การยอมรับความเสี่ยง การลด/ควบคุมความเสี่ยง การกระจาย/โอนความเสี่ยง การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง การฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง ๏ ความเสี่ยงส่วนใหญ่เกิดจากคน เพราะไม่ควบคุมระบบ และไม่ทำตามระเบียบ องค์กรควรนำมาตรการบริหารการจัดการความเสี่ยงมากำหนดเป็นตัวชี้วัด (KPI) นอกจากนี้องค์กรควรมีการปรับกระบวนทัศน์ในการบริหารความเสี่ยงใหม่ โดยต้องทำอย่างบูรณาการ/ทำอย่างต่อเนื่อง เน้นในมุมกว้าง และเน้นการบรรลุยุทธศาสตร์ การใช้หลัก 4CS ได้แก่ 1. Commond Gold 2. Communication 3. Commitment 4. Co-ordination จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยง >>ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์ <<

วันที่ห้า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารเงินหรืองบประมาณทั้งในแง่ของส่วนบุคคลและส่วนราชการ จะต้องมีการวางแผนการใช้เงินเช่นเดียวกัน ซึ่งในแง่ของการบริหารการเงินส่วนบุคคลนั้น จุดประสงค์คือ จะทำอย่างไรที่จะให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงต้องมีวินัยในการออม ดูแลทั้งค่าใช้จ่ายและรายได้ ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนประเภทต่าง ๆ รวมทั้งวางแผนในการดูแลทรัพย์สินในช่วงที่ยังมีชีวิตและไม่มีชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาท ทั้งนี้การบริหารการเงินที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับบุคคลทั่ว ๆ ไปนั้น ควรเป็นการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในแบบใดก็ตาม ควรบริหารการเงินบนฐานของความสุขของตนเอง

 สำหรับการบริหารเงินหรืองบประมาณของส่วนราชการ ซึ่งหมายถึงงบประมาณแผ่นดินนั้น จุดประสงค์คือ ทำอย่างไรที่ใช้เงินงบประมาณให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดทั้งแผนงานและแผนเงินควบคู่กันไป ซึ่งงบประมาณต้่องมีึความชัดเจน เข้าใจง่าย สามารถนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนั้นต้องรู้จักการเจรจาต่อรอง ซึ่งต้องมีข้อมลสนับสนุนที่ชัดเจนจึงจะทำให้บริหารงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 22 มิ.ย.55 9.00-12.00น. วิชา การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ได้แนะนำวิธีการดูแลเงินของตนเองโดยแนะนำรูปแบบของการลงทุนหลายๆ ประเภท ได้แก่ การชื้อพันธบัตร การซื้อหุ้น การซื้อทองคำทั้งทองคำแท่ง และทองรูปพรรณ เหรียญทองคำทั้งของต่างประเทศ และในประเทศ โดยการลงทุนมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นต้องศึกษา หาข้อมูลเป็นอย่างดีในการลงทุนแต่ละครั้ง  ทั้งนี้ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ได้แนะนำให้พิจารณากองทุนอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากให้ผลตอบแทนดี พร้อมทั้งได้ให้ข้อคิด ในการออมไว้ว่า “  มีวินัย และ อย่าโลภ ”

วิชา งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดย นอ.ศิรัส ลิ้มเจริญ

การบริหารจัดการในเรื่องงบประมาณ มี 3 ขั้น ตอน

ขั้นตอนที่ 1 การขออนุมัติงบประมาณ ในการจัดทำงบประมาณ จะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และต้องตอบคำถามให้ได้ว่า จะนำเงินงบประมาณที่ได้ไปทำอะไร ซึ่งหากมีข้อมูล ครบถ้วน ถูกต้อง เป็นเรื่องไม่ยาก ที่จะได้รับอนุมัติงบประมาณตามที่ขออนุมัติไป

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว ก่อนใช้งบประมาณ จะต้องมีความชัดเจนในการใช้งบประมาณเพื่อจะได้ใช้งบประมาณนั้นได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ไม่เกิดปัญหา เมื่อสตง. มาตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 3 ในการทำงาน หากไม่ได้งบประมาณตามจำนวนที่ขอไป จะต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด

วันที่ 22 มิ.ย.55 13.30-16.30น.

วิชา การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยง หมายถึง เหตุการณ์ หรือการกระทำที่ทำให้ ไม่บรรลุเป้าหมาย ในโลกนี้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจะต้องกำจัดความเสี่ยงให้หมดไป หรืออยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้/ควบคุมได้ หรือยอมรับได้

ความเสี่ยง มี 2 ระดับ คือ
ความเสี่ยง  ในเชิงกิจกรรม
ความเสี่ยง  ในระดับองค์กร

ในการบริหารความเสี่ยง จะต้องเริ่มต้น ที่ความเสี่ยงขององค์กรก่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรโดย ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรก่อน เมื่อทำตรงนี้แล้ว จะไปเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในเชิงกิจกรรม (ความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการ)โดยอัตโนมัติ

วงจรการบริหารความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ 

  1. อะไรคือ ความเสี่ยงองค์กร โดยการนำสภาพแวดล้อมภายในองค์กร และภายนอกองค์กร (สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ) มากำหนดความเสี่ยง
  2. ประเมินความเสี่ยง ต้องดูโอกาสที่จะเกิดความรุนแรงหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
  3. บริหารจัดการความเสี่ยง
  4. ทบทวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

วันนี้เรียนแล้วได้อะไรบ้าง (21 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ

             (บทเรียนเพื่อการพัฒนา การเคหะแห่งชาติ)

  • หลัก/ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราจะต้องบริหารจัดการมันให้ได้
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดโลกาภิวัฒน์แต่แรกคือ วิกฤตการณ์น้ำมัน
  • Model ธุรกิจ
    • การคิดจะทำธุรกิจต้องคิดแบบแยกส่วนก่อน แล้วนำมาบูรณาการกัน ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ ให้พิจารณาที่ละล้อ (มี 5 ล้อ) ล้อที่ 1 - การตลาด ล้อที่ 4 - การเงิน ล้อที่ 2 - การผลิต ล้อที่ 5 - BACK-UP ล้อที่ 3 - บุคคล - INFRASTRUCTURE
                        - INFO
      
      
      • แรงจูง กคช. ก็คือ ล้อ 1 และ 2 (ล้อหน้าขับเคลื่อน)
      • ล้อ 4 - การเงิน - มี FINANCIAL PLANNER
      • ล้อ 3 - บุคคล - ใครทำผิดต้องเรียกมาสารภาพจะได้สาเหตุทำให้เกิดเป็นความรู้มิใช่ต้องทำโทษเสมอไป
      • ล้อ 5 - รุ่นเก่าที่จะเกษียณต้องจัดการองค์ความรู้ KM ให้ออกมาเป็นเรื่องๆ
  • แนวคิด การที่จะพยายามทำให้โครงการดูดีไปทุกชุมชนคงจะดูแล้วธรรมดาๆ ไป แต่ถ้า เลือกทำซัก 10 โครงการใน 100 โครงการ ให้ดีที่สุด, ไวที่สุด ก็น่าจะติดปากคนได้ดี
  • การตลาด สร้างยี่ห้อ, สร้างแบรนด์
  • การผลิต สร้างหนี้ การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ
    Model ธุรกิจใหม่ ที่เน้นการบูรณาการจากหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกันจนทำให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งองค์กร
    
    

ช่วงบ่าย วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ

              (บทเรียนเพื่อการพัฒนา การเคหะแห่งชาติ)

  • กรณีศึกษา CREATIVE THINKING “ บ้านแม่กำปอง”
  • แต่เติมเราทำธุรกิจแบบ “MAKE & SALE” แต่โลกปัจจุบันต้อง “SENSE & RESPON” นั่น คือเราต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจึงตอบสนองให้ (ทำให้) อันเป็นองค์ ความรู้ใหม่ที่เราต้องเปิดทำ
  • EXPRERIENTAL MARKETING - การตลาดประสบการณ์ ซึ่งเรียกว่าเป็นตลาดสมัยใหม่
  • แนวคิดยุค Model (ยุคสมัยใหม่) – รุ่นเรา
           ยุค Post Model (ยุคความรู้สมัยใหม่) – ต้องมีหลากหลายความรู้ หลากหลายวิชาการ
    
    
  • Life style + Technology ปัจจุบันต้องใช้ 2 คำนี้
  • วันนี้ กคช. ต้องสร้าง “REBRAND TO REBORN”
  • Rebrand - Brand idea (ทุกชีวิตปลอดภัยใน Volvo)
    - NHA Happiness Provider 
                                   - ใกล้ที่ทำงาน
                                   - มีสวนเล็กๆ
                                      - มี Hi-Fi
                                          ฯลฯ
    
    
  • เอื้ออาทรเป็นวาทกรรมหากินกับคนจน
  • การคิดต่อไปควรจินตนาการไปก่อนแล้วค่อยนำ Knowledge เข้ามาทำให้เกิด
  • ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดได้ต้อง
    • Experiential เชิญผู้รู้มา/ผู้ชำนาญการมาช่วยเอามานั่งทำ
    • Creative thinking Skill สร้างให้เกิดโดยการอบรม
    • Motivation จูงใจโดยให้เครดิต
  • หลักพุทธต้อง Dynamic ที่ตัวเรา ไม่ใช่ไปทำมาจากข้างนอก
  • 3 อย่างที่ กคช. ต้องทำ
  • Product Development – ที่เฉพาะกลุ่ม
  • Marketing Planning
    • เราเป็นใคร
    • เราจะไปไหน
    • เราจะไปอย่างไร
    • ถึงได้อย่างไร
  • กระจาย Product
  • 5 บริบทของการเปลี่ยนแปลง
  • ความเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก
  • เทคโนโลยี
  • ประชากรและสังคม
  • ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  • รูปแบบการบริโภค – บ้าน กคช. ต้องมี Hi-Fi
  • สัญญาณอันตราย การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์การแข่งขัน เน้นความสามารถในการตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภค เศรษฐกิจไทยวันนี้ เศรษฐกิจโลกวันนี้ Make & Sale Sense & Respond Mass Production Mass Contamination Economic of scale Economic of speed
       Just-in-time                                                     Real time (อยากได้ต้องได้) 
    
    
  • ประเทศไทยยังพัฒนาอยู่บนกระบวนทัศน์เดิมและกำลังสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ
    การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์การแข่งขัน ที่เน้นความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่ง กคช. ยังอยู่บนกระบวนทัศน์เดิม ซึ่งอาจจะทำให้สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ถ้าหากไม่รีบปรับกระบวนทัศน์
    
    

วันนี้เรียนแล้วได้อะไรบ้าง (22 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชาการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์
- ช่วงแรกจะเน้นที่งบประมาณครัวเรือน โดยแยกเป็น 2 ส่วน

1. งบประมาณที่มีตัวตน (บ้าน, ที่ดินฯ )
2. งบประมาณไม่มีตัวตน (หุ้น, ประกันชีวิตฯ )

  • มีการแนะนำการลงทุนในระดับครัวเรือน
  • หากมองงบประมาณในระดับประเทศ
    • ต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย
    • การจัดทำงบประมาณต้องตอบ 2 ด้าน
      • เอาไปทำอะไร
      • ทำทำไม
  • งบประมาณจำกัด แต่อย่าจำกัดการทำงาน จึงต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
  • งบประมาณต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน แต่หากชัดเจนมาก อาจจะทำงานยาก
  • การจัดทำงบประมาณจะ - เน้นการเจรจาเป็นหลัก
            - ข้อมูลสำคัญจะทำให้ไม่เกิดอคติในการตัดสินใจ
    
    
  • การอบรม - ความเสี่ยงของการลงทุนคือ ความโลภ
        - การลงทุนหุ้นต้องลงระยะยาว
    
    
    การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ
    ประเด็นการทำงบประมาณของหน่วยงานที่ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เข้าใจง่าย แต่หากชัดเจนมากอาจมีปัญหาในการปฏิบัติ
    
    

    ช่วงบ่าย วิชาการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

  • ความเข้าใจผิด 3 ประการ เกี่ยวกับความเสี่ยง
    1. ความเสี่ยงเป็นสิ่งเลวร้าย สิ่งไม่ดี
    2. ต้องกำจัดความเสี่ยงให้หมด
    3. ไม่เสี่ยงเลย ทำตัวให้ปลอดภัยเป็นดีที่สุด
  • หลักสำคัญของการบริหารความเสี่ยงต้องหา Strategic Risk ให้ได้ก่อนแล้วค่อยกระจาย ลงมาตามลำดับ อันจะทำให้เป้าประสงค์สำคัญของหน่วยงานบรรลุ ดังนั้นจึงเป็นการ พิจารณาความเสี่ยงที่เกิดกับเป้าประสงค์ก่อน แล้วจึงกระจายลงมา เป็นต้น
  • ความสัมพันธ์ของเป้าประสงค์ ความเสี่ยง และการควบคุม
    เป้าประสงค์       สิ่งที่ส่วนราชการต้องบรรลุ
    ความเสี่ยง      สิ่งที่อาจขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคทำให้ส่วนราชการ ไม่บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้
    การควบคุม     สิ่งที่จะช่วยให้ส่วนราชการบรรลุเป้าประสงค์หากมีการบริหารจัดการที่ดี
    
    
    การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ
    หลักสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและความสัมพันธ์ของเป้าประสงค์ ความเสี่ยงและการควบคุม จะมีส่วนช่วยในการจัดทำความเสี่ยงขององค์กร 
    
    
นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันที่ 14 มิถุนายน 2555 (ช่วงเช้า) นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันแรกของการอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1  รู้สึกแปลกใจมากกับบรรยากาศการจัดสถานที่การอบรมที่มี Environment ที่ดีเยี่ยม มีมุมหนังสือพิมพ์ ห้องสมุดให้ยืมหนังสือ  มุมกาแฟ  มุม Internet  มุมสีเขียวของต้นไม้ เป็นห้องสัมมนา ที่ยังไม่เคยจัดในการเคหะแห่งชาติเลย  ทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วเป็นห้องเรียนที่ท่านอาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ออกแบบและแนะนำ
วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ : อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์  สอนว่าผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่/ภาพกว้าง สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดคือผู้นำที่มองแคบ หรือมองเป็นส่วนๆ  แบบ Professional Silo ผู้นำจะต้องมองโลกาภิวัตน์ เช่น ด้านการเงิน  IT  การค้าโลก สิ่งแวดล้อม พลังงาน โรคระบาด และต้องสามารถมองผลกระทบต่อองค์กรได้ด้วย
สำหรับผู้นำและผู้บริหาร มีความเห็นว่า ผู้บริหาร/ผู้จัดการมีคุณลักษณะเสมือน Hard Control เช่น เน้นระบบ การควบคุม ดูผลการดำเนินเนิน  การจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมีเกณฑ์ทางสถิติใช้ตัดสินใจ สำหรับผู้นำนั้นเปรียบเหมือน Soft  control  ซึ่งมีคุณลักษณะที่จับต้องไม่ได้ ที่สำคัญคือ เน้นที่คนสร้างศรัทธา : Trust   นวัตกรรม   ภาพลักษณ์  ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าควรจะนำเรื่อง Trust ไปใช้กับสังคมการทำงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับล่าง  กลาง  และสูง  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นการทำงาน เมื่อมีความเชื่อมั่นก็จะเกิดความผูกพัน เสียสละ อุทิศ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้องค์กร ผู้นำประเภทนี้ก็อาจจะเป็น Engaging Leadership ขององค์กรได้เลย


วันที่ 14 มิถุนายน 2555 : นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ (ช่วงบ่าย)

วิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง : อาจารย์ ประกาย ชลหาญ   หน้าที่หลักของผู้นำขององค์กร คือ ทำให้บุคลากร มีผลงานให้องค์กร หรือสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องมีผลงานให้องค์กร โดยเสริมให้มี Environment ที่เอื้ออำนวย ช่วยสรรสร้างกลยุทธ์ ลงมือปฏิบัติจริงและการจัดการอย่างเหมาะสม เช่นการพัฒนาอาชีพ   การอบรม  จัดสรรทรัพยากร และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการจัดการคนแต่ละคนโดยจะต้องจัดให้มี Knowledge ทักษะและทัศนคติที่ดีคือพร้อมการทำงาน และ ร่วมกับการ Motivation คือการสร้างแรงจูงใจให้การทำงานให้เกิดขึ้น
องค์กรของเรามีสภาพ Dynamic คือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเราทุกคนจะต้องเปลี่ยนแปลงเตรียมพร้อมที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโดยจะต้องประเมินสถานการณ์

ให้แม่นยำที่สุดเพื่อเตรียมพร้อมให้ผลลัพธ์ การเปลี่ยนแปลงดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือแย่ลงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามผลของการเปลี่ยนแปลงก็เกิดจากการบริหารจัดการของเราเองไม่มีอะไรตายตัว ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลง

การปรับใช้การเปลี่ยนแปลงในองค์กร ในการจัดทำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ขององค์กร เราจะต้องสร้างผู้นำและต้องมีความเห็น/ความต้องการร่วมกัน  โน้มน้าวว่าหากเปลี่ยนแปลงแล้วจะดีอย่างไร ผลักดันให้เกิดการร่วมมือกัน/ร่วมกันคิด เมื่อเกิดผลลัพธ์ดีขึ้นหรือแย่ลงน้อยที่สุด พวกเราก็ต้องยอมรับเพราะร่วมกัน Changeและมีความเห็นร่วมกัน

วันที่ 15 มิถุนายน 2555 (ช่วงเช้า) นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

อาจารย์ปัณรส  มาลากุล ณ อยุธยา  บรรยายเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเข้าใจได้ดีกับวีดีโอ เรื่อง ขวดโคล่าตกในหมู่บ้านในทวีป Africa ซึ่งหัวหน้าเผ่าจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงคนในหมู่บ้านที่มีผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เพื่อเตรียมพร้อม/ป้องกัน ปัญหาที่คนในหมู่บ้านแย่งชิงขวดโคล่า   ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับองค์กรของเราว่ามี internal หรือ External Factors จากภายในหรือภายนอกองค์กรเกิดขึ้นจะเตรียมความพร้อมกันอย่างไร เพื่อให้องค์กรอยู่รอดหรือเสียหายน้อยที่สุด
สำหรับการบริหารการเปลี่ยนแปลงระหว่างผู้บริหารซึ่งเป็นผู้นำคนในองค์กร ใช้ระบบบริหารจัดการเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์กร และมี HR (บุคลากร) ใช้ Resource คือ เงิน เครื่องมือ และวัสดุ ซึ่งจะขับเคลื่อนองค์กรไป แต่หากผู้บริหารและ HR (กำลังคน) ไม่หันหน้ามาปรึกษาหารือกันเพื่อนำพาองค์กรไป องค์กรก็จะขับเคลื่อนไปไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ขาดการยอมรับผู้นำ (เทียบเคียงรถจักรยานที่มีคนขี่ 2 คน ผู้นำขี่จักรยานข้างหน้าไม่หันมามองคนด้านหลังซึ่งหันหน้าตามกันไป ผู้นำจะไปทางไหนคนข้างหลังก็ตาม ไม่มีทิศทางหรือร่วมมือกันเพื่อที่จะปรึกษาหารือกัน)


วันที่ 15 มิถุนายน 2555 (ช่วงเช้า) นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

กรณีศึกษาของ EGAT: อารารย์ กิตติ

  • เปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อรับนโยบาย Innovation Situation และ Crisis แต่จะต้อง Scenario in Mild ของคนในองค์กร
  • กรอบยุทธศาสตร์ เพื่อสนองเป้าหมายเชิงธุรกิจ ความอยู่รอด และหาแฟล่งพลังงานใหม่ๆ โดยเฉพาะพลังงานสะอาด
  • Vision เดิมจะก้าวไปสู่สากล แต่ตามสถิติที่ผ่านมาและแนวโน้วในอนาคตมีผลงานไปไม่ถึงสู่สากล ดังนั้นจังเปลี่ยนVision เป็นผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย
  • จะต้องมี Knowledge Power เสนอแนะว่า กคช. ควรเปลี่ยนเป็น Residential Changing
  • ปัจจุบัน LO. และ KM. อาจจะตอบโจทย์ในยุคนี้ แต่ในอนาคตต้องใช้ Executive Coaching ซึ่งจะดีกว่าใน Next generation

วันที่ 15 มิถุนายน 2555 (ช่วงบ่าย) นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

ได้ฝึกปฏิบัติการทำ Vision   Mission และ Core value ซึ่งมีพื้นฐานความรู้จากอาจารย์ จีระ  หงส์ลดารมภ์  บรรยายถึงวิสัยทัศน์  ภารกิจ  Core Value เกี่ยวกับความหมาย ที่มา วิสัยทัศน์ที่ดีคืออะไร วิสัยทัศน์จะต้อง Action ได้และศึกษาตัวอย่างของวิสัยทัศน์ 
การนำไปใช้มีประโยชน์มาก นำไปเผยแพร่และสอนน้องๆ ในการคิดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานย่อย  หน่วยงานฝ่าย  และที่สำคัญคือในการระดมความคิดเพื่อคิดวิสัยทัศน์องค์กรของเราในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์กรทั้งระยะสั้นและระยะยาว

วันที่ 16 มิถุนายน 2555 (ช่วงเช้า) นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช   บรรยายเรื่อง AEC ได้ชัดเจนและน่าสนใจมากๆ น่าเสียดายเวลาค่อนข้างน้อยไป
ความคิดเห็น สำหรับธุรกิจเอกชน SME อนาคตค่อนข้างสดใสมีโอกาสอย่างมากที่จะไปทำธุรกิจในประเทศกลุ่ม ASEAN แต่สำหรับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ จะต้องอาศัยทิศทางที่ชัดเจนมากและต้องมีขอบเขตแนวทางตามแผนระดับชาติ/ประเทศ แผนยุทธศาสตร์กระทรวงทั้งหลาย เหล่านี้จะถ่ายทอดลงมาสู่แผนยุทธศาสตร์/แผนกลยุทธ์ของรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตาม รัฐวิสาหกิจ จะกำหนดทิศทางอย่างไรในการทำธุรกรรมกับ AEC ก็จะต้องสอดคล้องและคำนึงถึง Stakeholder และหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ขององค์กรด้วย ว่า Regulators มีทิศทางหรือข้อเสนออะไรให้รัฐวิสาหกิจปฏิบัติ


วันที่ 16 มิถุนายน 2555 (ช่วงบ่าย) นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

ได้รับความรู้เรื่อง AEC ที่ลึกลงไปมาก ซึ่งจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึง 3 เสาหลัก ของ AEC ต่อไป

นางสาวอุบลวรรณ สืบยุบล
               สรุปบทเรียนรู้จาก วันที่  21 มิ.ย. 55  ได้ความคิดนอกกรอบมองอนาคตที่ท้าทาย  ทำอย่างไรให้งานบรรลุเป้าหมาย ได้เห็นโมเดลทางธุรกิจในการขับเคลื่อน ซึ่ง ศ. ภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ    เปรียบล้อทั้ง 5 ของรถที่มีความเชื่อมโยงกันทั้ง

การตลาด การผลิต การเงิน บุคลากร และส่วนสนับสนุน ต่อเนื่องกับการสร้าง Creative Power ของอาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ นำเสนอ ซึ่ง กคช. ต้องออกแบบ Show Case ในอนาคต

  ประทับใจวิธีคิดใหม่ให้ กคช.  จากการ Make And Sell เป็น Sense And Response  ซึ่ง กคช. ต้องปรับตัวอย่างเต็มกำลังความสามารถกับความท้าทายที่จะยืนหยัดในวงการอสังหาริมทรัพย์อีกยาวไกล

นางสาวอุบลวรรณ สืบยุบล
              บทเรียนรู้จาก วันที่ 22 มิ.ย. 55 เรื่องการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ 

โดย ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร ได้รับความรู้ความเข้าใจ การบริหารงบประมาณระดับครัวเรือนทำให้มีการเตรียมตัววางแผนทรัพย์สิน และลงทุนประเภทต่างๆ เช่น เงินฝาก หุ้น พันธบัตร ฯลฯ รวมทั้งโอกาส และความเสี่ยงการลงทุนแต่ละประเภท ซึ่งจะนำสู่ความไม่ประมาทในการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุ

สำหรับการจัดสรรงบประมาณภาครัฐ ได้ความชัดเจนการตั้งงบประมาณการจัดทำแผนงานสำหรับขอรับจัดสรรงบประมาณจากรัฐ จาก น.อ. ศิรัส  ลิ้มเจริญ  ซึ่งสะท้อนถึงการตั้งงบประมาณของ กคช. และหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งมีปฏิทินงบประมาณที่ชัดเจนทุกปีและต้องทำแผนงานองค์กร  และแผนงบประมาณล่วงหน้าเป็นปี สิ่งสำคัญคือ ความเข้าใจร่วมกันของพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  ต้องจัดประชุม ชี้แจง ทำความเข้าใจให้เกิดความชัดเจน และเข้าใจร่วมกัน  เนื่องจากต้องเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าครอบคลุมงบประมาณทุกเรื่อง  และให้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด
ช่วงบ่าย  เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ  จากภาครัฐและเอกชน  ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเป็นระบบ  รวมทั้งกระบวนการจัดการความเสี่ยง  เพื่อประโยชน์ในการติดตามตรวจสอบ  และทบทวนปรับปรุงงานต่อไป

กรุณา มัฆวิบูลย์
วันที่ 21 มิถุนายน 2555 วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ

     อาจารย์ได้เล่าประสบการณ์ และวิเคราะห์กรณีศึกษาการบริหารธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในยุคโลกาภิวัตน์ การบริหารธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ และเพื่อความอยู่รอดธุรกิจต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทั้ง Demand และ Supply  การแข่งขันของธุรกิจ จะต้องเป็นระดับภูมิภาค การดำเนินธุรกิจต้องมีการบรูณการ และเชื่อมโยงกันทุกส่วน ได้แก่ 

  1. การตลาดต้องพัฒนายี่ห้อให้เป็นที่ยอมรับ ต้องเปลี่ยนกระบวนการคิดเป็น Demand Focus
  2. การผลิต สร้างสินค้าให้มีความเหมาะสมตามความต้องการของลูกค้า
  3. การเงิน มีทีมงานที่โปร่งใส ส่งพนักงานอบรม FA,FP ให้เป็นนักการเงินที่เก่ง เพื่อบริหารงานให้มีสภาพคล่อง
  4. บุคคลให้ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองตลอดเวลา
  5. Back up / Information และ Infarstrutrue กคช. ต้องเชิญอดีตคนเก่งมาถ่ายทอดประสบการณ์ และต้องทำให้คนรู้สึกมีส่วนร่วมเป็น เจ้าของจะได้ช่วยกันรักษา อาจารย์ ณรงค์ศักดิ์ ได้เน้นว่า กคช. ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ (Greative thinking) สร้าง นวตกรรมใหม่ๆ (Value Innovation) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การแข่งขัน เน้นความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

กรุณา มัฆวิบูลย์ วันที่ 22 มิถุนายน 2555 การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

  วันนี้อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับ การบริหารงบประมาณในครัวเรือน และงบประมาณขององค์กรงบประมาณของครัวเรือน ต้องแสดงรายรับ/รายจ่ายให้ชัดเจน รายรับ มาจากที่ไหน จะลงทุนอย่างไรให้มีรายรับเพิ่มขึ้น ทรัพย์สินที่มีอยู่มี 2 ประเภท คือทรัพย์สิน ที่มีตัวตน เช่นบ้าน, รถยนต์, ที่ดิน, เงินสด ส่วนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา , หุ้น, กรมธรรม์ประกันชีวิต การดูแลทรัพย์สินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต้องมีการวางแผนการเงิน และภาษีตั้งแต่ต้นปี , วิเคราะห์ว่าที่ผ่านมาการลงทุนเป็นอย่างไร และคาดการณ์ว่าจะปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนอย่างไร เพราะเหตุการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา ส่วนงบประมาณขององค์กร ต้องมีวัตถุประสงค์ , เป้าหมายที่ชัดเจนเข้าใจง่าย ทั้งแผนงาน , แผนเงิน และต้องมีการควบคุมและประเมินผลโดยองค์ประกอบของแผนงาน ต้องมีครบถ้วนคือ ให้ใครทำ(Who), ให้ไปทำอะไร(what),  ให้ไปที่ไหน(where), ทำเมื่อไร(when), ทำไปทำไม (why), ทำอย่างไร (How to) ทั้งนี้ในการจัดทำงบประมาณผู้บริหารต้องกำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินการ
    การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจเป็นการบริหารความไม่แน่นอน ที่มีผลกระทบต่อเป้าหมาย/แผนงานขององค์กร ต้องพยายามลดโอกาสและผลกระทบ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย และยังเป็นโอกาสในการสร้างนวตกรรมใหม่ๆ 

 วันนี้วันที่ 4 (21 มิ.ย.55) วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียน เพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)  

ภาคเช้า โดยท่านศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ กูรูทางด้านการตลาด ท่านเอา Model รถ แต่ละล้อมาเปรียบเทียบ มีทั้งการตลาด การผลิต การเงิน และบุคลากร ต้องบูรณาการล้อทั้งหมด ให้รถขับเคลื่อนไปให้ได้ ไม่ใช่ทำแบบแยกส่วน และให้พิจารณา Demand Focus ไม่ใช่ Supply Focus
คนมาที่การเคหะฯ ต้องหาให้ได้เขามาซื้ออะไร ผู้ซื้อเขามาซื้อ Home ไม่ใช่ House และพยายาม Show Case ที่เป็นรูปธรรมของการเคหะฯ โดยพยายามคิดให้แตกต่าง Think Difference สำหรับ NHA Experience หลายโครงการของการเคหะฯ ในอดีตยังประทับใจประชาชน เป็นโครงการที่ดี

 การเคหะฯในวันนี้พวกเราก็พยายามทำให้ผู้ซื้อได้ Home ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่ออยู่โครงการของเรา 

NHA Experience ของการเคหะฯ แตกต่างจากโครงการของเอกชน ซึ่งเราจะพยายามทำให้ดีต่อไป

 ท่านที่ 2 อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ  สุดยอด CEO  ของประเทศไทย จากประสบการณ์ที่ท่าน

ถ่ายทอด โดยเฉพาะหมู่บ้านแม่กัมปอ เป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่คนในหมู่บ้านตั้งเป็นสภาชุมชนดูแลกันเอง ได้อย่างลงตัวและมีความสุข

 การคิด Value Added ไม่พอแล้ว ในปัจจุบันให้คิดถึง Value Innovation โดย เอา Technology มาใช้  

ท่านฝาก 5 C ซึ่งต้องคำนึงถึงคือ 1. Connection 2. Creation 3. Communication 4. Completition
5. Cluster และถ้าจะทำในสิ่งที่ดีกว่าคือต้องทำให้แตกต่าง “make it letter , make it difference”
ทั้ง 2 อาจารย์เน้นเช่นเดียวกันเรื่องการสร้างความแตกต่าง โดยเฉพาะท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ อยากให้ การเคหะฯ จัดทำที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุ เนื่องจากต่อไปจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น คนหนุ่มคนสาวจะน้อยลง สำหรับการเคหะฯ เราได้ริเริ่มโครงการนี้มาหลายปีแล้วแต่ยังไม่สำเร็จเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ การบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ซึ่งควรจะทำและต้องทำให้ดีเพื่อให้ท่านมี คุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลาย

 วันที่ 5 (22 มิ.ย. 55) ช่วงเช้า เรื่องการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดยท่าน ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร 

ประธานชมชมรมคนออมเงิน ท่านส่งเสริมให้มีวินัยในการออม ใช้ 80 % ออม 20 % “หนทางสู่ความมั่นคง” คือ

 1.) ขยันขันแข็ง
 2.) ประหยัดอดออม คนที่สุรุ่ยสุร่ายไม่มีโอกาสร่ำรวย
 3.) ใฝ่หาความรู้ มีความคิดริเริ่ม รู้จักหาทางออกแก้ปัญหา
 4.) ทำบุญกุศล

“ต้องรู้จักตัวเอง” (Know Yourself)

 - ชอบลงทุนอะไร
 - ถนัดหรือมีความรู้ความชำนาญในทางไหน
 - มีเงินมากน้อยเพียงใด
 - จัดอันดับความเร่งด่วน
 - มีคนช่วยคิด/ช่วยทำ เช่น กองทุนต่าง ๆ
 การตัดสินใจการวางแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ การตัดสินใจบนความรู้สึก

จะอันตรายมาก การลงทุนมีความเสี่ยงคือความโลภ และต้องรวยอย่างมีสุขภาพดี และมีความสุข Wealth , Health , and Happiness People First , Money Later วันนี้ได้ข้อคิดดี ๆ จากอาจารย์ เป็นอย่างมาก เป็นประโยชน์กับตัวเราเองและการเคหะฯ

 นอกจากนั้น ยังได้ประโยชน์กับท่านอาจารย์ ศิรัส ในเรื่องงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ 

การจัดทำงบประมาณต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ตอบคำถาม 5 W 2 H ให้ได้ Who What Where When Why How to How much มุมมองการบริหารงบประมาณไม่ใช่ประหยัดแต่บริหารทรัพยากรที่จำกัดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ช่วงบ่าย การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี “บทบาทของรัฐในการจัดการความเสี่ยง”

- ความเสี่ยงจากภัยเทคโนโลยีและภัยทางสังคม
- ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
- ความเสี่ยงจากนโยบายและการดำเนินการ

4 CS เพื่อความสำเร็จในการบริหาความเสี่ยง

- Common Coals
- Communications
- Commitment
- Co-ordination

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ สาเหตุความเสี่ยง คือความไม่แน่นอนแต่บริหารความเสี่ยงย่อมดีกว่าไม่บริหาร กระบวนการบริหาร ความเสี่ยงคือการบริหารความไม่แน่นอน มีผลกับนโยบายและแผนที่องค์กรกำหนดไว้ ลดโอกาส และผลกระทบหลักการบริหารความเสี่ยง คือการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เป็นไปตามหลักการ Smart วัตถุประสงค์ต้องชัดเจน อะไรไม่ใช่ก็ต้องตัดออก “Smart”

 S = Specific
 M = Measurable
 A = Achievable
 R = Relevant
 T = Timeless

22 มิ.ย.55

สวัสดีครับท่านอ.จีระ

       วันนี้ได้ฟังบรรยายเรื่อง “การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์” โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร และน.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ

ดร.สุวรรณ ได้พูดถึงงบครัวเรือน แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 2 กอง คือ

1.มีตัวตน ได้แก่ บ้าน รถยนต์ เพชร ทอง ฯลฯ

2.ไม่มีตัวตน เช่น ทรัพย์สินทางปัญยา หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ

รายได้มี 4 อย่างคือ

1.รายได้ประจำปี+เงินออม

2.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

3.กองทุน RMF และ LTF (กองทุนหุ้นระยะยาว) เพื่อลดหย่อยภาษีและ

4.ประกันชีวิต

อาจารย์สอนให้ดูแลการเงินโดย

1.ช่วง Weekend ให้วิเคราะห์ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาการลงทุนเป็นอย่างไร เช่น หุ้น ดอกเบี้ย

2.ให้คาดคะเนว่า สัปดาห์ใหม่จะลงทุนอะไร

3.หากไม่แน่ใจให้ Do nothing จับกระแสตลาด

4.เลือกซื้อหุ้นที่เจ้าของดูแล

น.อ.ศิรัสได้พูดถึงงบประมาณของประเทศ ยกตัวอย่างของกองทัพเรือได้ยกบทเรียนจากการซื้อเรือ มีการลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ในวันเดียวต้องหาเงินมาซื้อเรืออีก 70 ล้านบาท

ที่ผ่านมาบริบทเปลี่ยน เช่น รัฐธรรมนูญ ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน มุมมองการบริหารเปลี่ยน เน้นประหยัด ปิดแอร์ ตอนเที่ยง แต่ไม่เน้นการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์แก่ประชาชน

กระบวนการงบประมาณ ต้องมีความชัดเจน ถ้าคลุมเคลือจะไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ชัด ถ้าไม่ชัดเจนจะทำให้เสียหาย

ต้องตอบวัตถุประสงค์ให้ได้ในการของบประมาณว่า ทำทำไม? คือเหตุผลความจำเป็น ถ้าเราตอบไม่ได้แสดงว่า เป้าหมายขององค์กรไม่ชัดเจน การปกป้องงบประมาณ เราต้องมีความรู้และข้อมูลที่ดีเพื่อไปชี้แจงได้

ในภาคบ่าย เป็นการบรรยายหัวข้อ “การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ” โดย ดร.สุรพงษ์ มาลีและอ.สมชายไตรรัตนภิรมย์ซึ่งมาจาก TRIS

ดร.สุรพงษ์ การบริหารความเสี่ยงก็คือ การทำให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ต้องระบุก่อนว่า อะไรคือความเสี่ยงของการเคหะ

5T of Risk Management คือ

       1.Tolerate การยอมรับความเสี่ยง

       2.Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง

3.Transfer การกระจาย/โอนความเสี่ยง

4.Terminate การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

5.Take การฉวยใช้ประโยชน์

อ.สมชาย ให้กำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงคือ

  • Specific (เฉพาะเจาะจง) มีความชัดเจน ทุกคนสามารถเข้าใจ
  • Measurable (สามารถวัดได้) วัดผลการบรรลุวัตถุประสงค์ได้
  • Achievable (สามารถบรรลุผลได้) ,ความเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไข การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • Relevant (มีความเกี่ยวข้อง) สอดคล้องเป็นกลยุทธ์และเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์กร
  • Timeliness (มีกำหนดเวลา) กำหนดระยะเวลาที่ต้องการบรรลุ

ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร การเคหะ เป็นอย่างยิ่งครับ

นางวรรณภา พิลังกาสา
      ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณดร.สุวรรณ วลัยเสถีย ประธานชมรมคนออมเงิน ที่ทำให้สมาชิกคนหนึ่ง ซึ่งได้ฟังการแนะนำ ทางวิทยุมาเป็นเวลา 7-8 ปี แล้ว และได้นำคำสอนมาวางแผน และจัดการด้านการเงิน การออม การลงทุน ในระยะยาวของครัวเรือน ทำให้วันนี้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่มั่นคง ถึงแม้จะเกษียณอายุงานในปีหน้าแล้วก็ตาม
      แนวความคิดของท่านเน้นความประหยัด พอเพียงในการดำรงชีวิต  รู้จักอดออม ขยันทำมาหากิน และสุดท้ายให้ตอบแทนคืนกลับสังคมด้วย   จากความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะให้สมาชิกวางแผนบริหารการเงินภาคครัวรือน เพื่อความมั่นคงในระยะยาว เพื่อเมื่อล่วงเข้าวัยสูงอายุจะไม่ลำบาก และไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน
      สำหรับในช่วงบ่าย  ดร.สุรพงษ์ มาลี ได้บรรยายเรื่องการบริหารความสี่ยง  ทำให้เห็นภาพภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น จากซึนามิ แผ่นดินไหว เช่นในญี่ปุ่น  หากเราไม่มีแผนจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ ก็จะเกิดความเสียหายมากมาย แต่ถ้าเราเตรียมรับมือกับความเสี่ยงได้ ความเสียหายก็จะลดลงได้มาก จากหนักเป็นเบาและอาจใช้คำว่าอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข เฉกเช่นคนญี่ปุ่นในทุกวันนี้

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ วันที่ 22 มิ.ย.55 นางวิไล มณีประสพโชค

ดร.สุวรรณ  ประธานชมรมคนออมเงิน  ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารเงินโดยจะต้องมีการวางแผนงาน  และดูแลการเงินตั้งแต่ต้นปี  เพื่อลดความเสี่ยง  ซึ่งอาจจะไปลงทุนในด้านต่างๆ  เช่น  อสังหาริมทรัพย์  กองทุน LTF , RMF , หุ้น , ทองคำ ,เหรียญที่ระลึก  การลงทุนทุกอย่าง ต้องศึกษาข้อมูลและระวงความโลภ  และหนทางสู่ความมั่นคง  คือ ขยัน , ประหยัด , ใผ่หาความรู้ , รู้จักแก้ปัญหา ,ทำบุญ
ส่วน น.อ.ศิรัส ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ แบบมุ่งเน้นผลงาน ซึ่งจะต้องมีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (เป้าหมาย), แผนงาน, แผนเงิน, การควบคุมและประเมินผล

การประเมินผล

การประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย

1) ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนมีระยะเวลาในการเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า

    ร้อยละ 80 ของระยะเวลารวมของหลักสูตร

2)  ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีคะแนนสะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากกิจกรรม

     และงานที่ได้รับมอบหมาย (Assignment) ในระหว่างการอบรม            

     โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

               

รายการที่ประเมิน

คะแนน (%)

กำหนดส่งรุ่นที่ 1

กำหนดส่งรุ่นที่ 2

(1) การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่าน Blog                      

     ประกอบด้วย

     (1.1) การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวัน ทุกวัน (8 วัน)

     (1.2) การบ้านเพิ่มเติมจากอาจารย์จีระ

            (อ่านหนังสือต่อไปนี้แล้ววิจารณ์ขึ้น Blog)

-          หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

-          หนังสือ 8K’s 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

-          หนังสือทำดีที่พ่อทำ

 

20

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 26 ก.ค. 55

(2) บทความทางวิชาการ (5 หน้า)                                              

    เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

40

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 31 ก.ค. 55

(3) กิจกรรมประตูสู่ความสำเร็จ: วิเคราะห์กรณีศึกษา (ในห้องอบรม)        

(4) กิจกรรมประตูสู่ความสำเร็จ: ประเด็นท้าทายของการเคหะ 

     ** รวมเป็นงาน  1 ชิ้น (รายกลุ่ม) คือ การจัดทำรายงาน(ไม่เกิน 20 หน้า) และนำเสนอผู้บริหารรวบยอดประเด็นท้าทายและกรณีศึกษาในหัวข้อที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะเป็นผู้กำหนด หรือ อาจเปลี่ยนหัวข้อตามความเหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมวิทยากร

     ** หัวข้อของการศึกษา (เอกสารแนบ 1) – กรุณาลงชื่อเพื่อเลือกหัวข้อการศึกษาที่คุณภัทรพร (น้องยานี)

40

 

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 6 ส.ค. 55

 

เอกสารแนบ 1

หัวข้อสำหรับการศึกษา (สำหรับงานกลุ่มเพื่อเตรียมนำเสนอสำหรับผู้บริหาร)

รุ่นที่ 1 นำเสนอในวันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2555 เวลาประมาณ 10.00 – 12.00 น.                

ณ ห้องประชุม ชั้น 15

รุ่นที่ 2 นำเสนอในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555 เวลาประมาณ 10.00 – 12.00 น.  

ณ ห้องประชุม ชั้น 15

 

หัวข้อที่ 1       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนาคน” ของ SCG – EGAT

                   เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที่ 2       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนานวัตกรรม” ของ Apple - SCG

                   เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที่ 3       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนากิจการการเคหะแห่งชาติ” ของ ประเทศสิงคโปร์และ                                      ประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 4       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน” ของสิงคโปร์และ                                       ประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 5       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการสร้างบ้านน่าอยู่” ของ

-                   บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

-                   บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ลุมพินี)

-                   หรืออื่น ๆ

เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 6       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของการพัฒนาที่                                       ยั่งยืน และเสนอแนะยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการเคหะแห่งชาติ

 

หรือ              หัวข้อที่ท่านสนใจอื่น ๆ โปรดเสนอต่อทีมวิทยากรภายใน วันศุกร์ที่ 29 มิ.ย.55 (สำหรับกลุ่ม 1)  และ ภายใน วันจันทร์ที่ 9 ก.ค. 55 (สำหรับกลุ่ม 2 )   

นางมรัญสิตา ตีระศิริสิน
            ได้รับความรู้ในวันที่ 21 มิย.55 เรื่อง " วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ " จากท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์ และท่านอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ เพื่อนำมาเป็นบทเรียนสำหรับการพัฒนาการเคหะ ฯ พอสรุปโดยสังเขป คือ  กล่าวถึง กคช.ในอดีตว่ามีความเป็น  Employer of First Choice ของวิศวกร สถาปนิก  มีผู้บริหารที่มีบารมีระดับชาติ  แต่ในปัจจุบันกาลเวลาเปลี่ยนไป  ยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้โลกไร้พรมแดน ด้านเศรษฐกิจจะต้องอยู่ในระดับภูมิภาคจึงจะอยู่รอดได้  
             เปรียบเทียบองค์กรเหมือนรถยนต์ ที่มี 5 ล้อ คือ ด้านการตลาด การเงิน การผลิต  บุคคล & Infrastructure และBack Up ซึ่งมีความสำคัญทุกด้าน ผู้บริหารจึงต้องมีทักษะในการบริหารจัดการแบบองค์รวมอย่างลงตัว  นำองค์ความรู้เดิมมาต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ เน้น Benefit ของลูกค้า ไม่เน้น Price     
             จากนี้ไป กคช.ควรเป็น " NHA. Happiness Provider " เน้นสร้างความสุขในชุมชน อาจารย์ได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของหมู่บ้านแม่กำปอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้รับรางวัลการบริหารหมู่บ้านดีเด่น ด้าน Creative Thinking  รางวัลท่ี 1 ของ  Asia Pacific ในการพึ่งพาตัวเองและรักษาสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม...............: )

                                                           ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้กรุณาพวกเราให้มีหูตาสว่างขึ้นมาก โลกก็กว้างขึ้น การพูดจากันก็เป็นภาษาเดียวกันมากขึ้น เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อร่วมกันก้าวเดินไปข้างหน้า พร้อมฟันฝ่าอุปสรรคได้มากขึ้น....................( เชื่อได้ว่ามีสมาชิกหลายท่านก็มีความคิดเห็นเช่นนี้เช่นกันค่ะ )

                                                                                                        มรัญสิตา
มรัญสิตา ตีระศิริสิน
                วันที่ 22 มิย.55 ช่วงเช้า ท่านอาจารย์ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ให้ความรู้เรื่องของ"การออม" เป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญต่อทุกชีวิต เพราะจะช่วยให้ใครที่ทำตามอย่างจะสามารถมีชีวิตที่ไม่ประมาท และประสบความสำเร็จได้ถูกทางอีกประการหนึ่งด้วย ควรออมในสัดส่วน 20% ใช้จ่าย 80%  และเพื่อความมั่นคงในชีวิตควรมีพฤติกรรม สี่ ประการ คือความขยันขันแข็ง,อดออมประหยัด,ใฝ่รู้ รู็แก้ไขปัญหาได้ถูกทาง และรู้จักทำบุญสร้างกุศล สอนให้รู้จักการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

                ท่านอาจารย์ น.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ ให้ความรู้และทักษะในการจัดทำและบริหารงบประมาณ ซึ่งต้องทำร่วมกันเป็นทีม สร้างความเข้าใจให้ชัดเจนถ่องแท้ รู้จักการคาดการณ์ล่วงหน้าจากข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ทั้งจากภายใน และภายนอกองค์กร และต้องพยายามให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

                ช่วงบ่าย ท่านอาจารย์สุรพงษ์ มาลี ให้ความรู้เรื่อง" การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ" ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน  การควบคุมภายในและการป้องกันความเสี่ยง พร้อมกระบวนการป้องกันความเสี่ยงจะต้องทำอย่างไร? เพื่อให้สะดวกต่อการติดตามและตรวจสอบ  เพื่อการพัฒนาปรับปรุงให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด หรือเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ :)

                                                                                                          มรัญสิตา

นางวิไล มณีประสพโชค

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ วันที่ 22 มิ.ย.55 นางวิไล มณีประสพโชค

การบริหารความเสี่ยง  เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์ และการควบคุมภายในอีกทั้งเพิ่มโอกาสและช่วยให้หน่วยงานบรรลุเป้าประสงค์ และพันธกิจที่ตั้งไว้ รวมทั้งพัฒนาผลงานขององค์กร  หลักการจัดการกับความเสี่ยง ได้แก่ การยอมรับความเสี่ยง , การลด/ควบคุมความเสี่ยง , การกระจาย / โอนความเสี่ยง,การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง, การฉวยใช้ประโยชน์  ปัจจุบัน กคช. ได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในด้านต่างๆ ซึ่งผู้บริหารได้ให้ความสำคัญ
ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

โดย ดร.สุวรรณ  วลัยเสถียร
        น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ

      หัวข้อนี้ผมว่าได้ประโยชน์มากครับ ในด้านของงบประมาณจากวิทยากร จากกองทัพเรือ ให้ความเข้าใจในการตั้งงบประมาณและบริหารงบประมาณอย่างชัดเจน สำหรับ อ.จ.สุวรรณฯ นั้นต้องยอมรับเป็นปรมาจารย์ ในเรื่องการลงทุน ว่านอกจากได้ความรู้แล้ว สามารถนำไปใช้ได้โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
      ดังนั้น หัวข้อนี้ได้ประโยชน์ทั้ง กคช. ในการตั้งงบประมาณ และส่วนตัวได้แนวคิดที่ดีในการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

โดย ดร.สุรพงษ์  มาลี
        คุณ  สมชาย  ไตรรัตน์ภิรมย์

      วิทยากร 2 ท่าน พูดได้สอดคล้องกันดีมาก  ดร.สุรพงษ์  พูดในภาพรวมได้ดี   ส่วน ดร.สมชาย พูดเจาะจงเกี่ยวข้องกับ กคช. และชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน
     วันนี้ผมมีความเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น น่าจะนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ถูกต้อง ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้มากขึ้น

วันที่ 21 มิถุนายน 2555

ได้ฟังท่านศาตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ มาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจให้ฟัง ก็ต้องชื่นชมว่าท่านยังเยี่ยมยุทธ์ในด้านการตลาด จากอดีตที่เคยฟังท่านหลายปีมาแล้ว
การตลาดในยุคโลกาภิวัตน์มี Demand และ Supply เป็นตัวกำหนดโดยมี Pricing อยู่ตรงกลาง
อาจารย์ได้ให้ Model การสร้างธุรกิจ โดยจำลองเป็นรถยนต์ 5 ล้อ  ล้อที่ 1 คือ การตลาด ต้องสร้าง Brand  ล้อที่ 2 คือการผลิต ซึ่งต้องดูที่ Supply Focus  ล้อที่ 3 คือ การเงิน ต้องส่งคนรุ่นใหม่ไปเรียน Financial Planner  ล้อที่ 4 คือบุคคลต้องสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ล้อที่ 5 คือ Back up System ประกอบด้วย Information และ Infrastructure
ซึ่งผู้บริหารต้องบูรณาการทั้ง 5 ล้อ ไม่ใช่ทำแบบแยกส่วน ต้องให้พนักงานมี Attitude เป็นลูกเรือ ช่วยกันพายเรือ
อาจารย์ให้เราสื่อสารกับสังคมว่า เราจะขายอะไร และคนซื้อจะซื้ออะไร และเน้นว่า กคช.อยู่ในธุรกิจ Hospitality ทำให้คนมีความสุข เป็น Happiness Provider
สำหรับอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ให้ความสำคัญกับ Creative Thinking และเล่ากรณีศึกษาบ้านแม่กำปอง ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้หมู่บ้านจะล่มสลาย จึงเปิดรับความรู้ใหม่ที่พอเพียง จากโครงการหลวงตีนตก หันมาปลูกกาแฟ บริหารงานโดยสภาหมู่บ้าน
อาจารย์เสนอว่า กคช.ต้องทำ 3 เรื่อง คือ
1.Product Development ที่เฉพาะกลุ่ม
2.Marketing and Branding
3.การกระจาย Product ให้คนเข้าถึงได้ง่าย

วันที่ 22 มิถุนายน 2555

ฟังการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ จากวิทยากร 2 ท่าน

ท่านแรก ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร มาแนะวิธีการบริหารงบประมาณส่วนตัว โดยท่านจะแยกทรัพย์สินเป็น 2 กอง คือ

1.กองที่มีตัวตน เช่น บ้าน  รถ  ทองคำ  เพชร  เป็นต้น
2.กองที่ไม่มีตัวตน เช่น หุ้น  กองทุน
ท่านบอกถึงที่มาของรายได้ มี เงินฝาก  หุ้น  กองทุน และแนะนำวิธีการลงทุนแต่ละประเภท เช่น บ้าน  หุ้น  พันธบัตร  ทองคำ  เงินสด  การลงทุนในต่างประเทศ
ส่วนวิทยากรอีกท่าน คือ น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ นำเสนอเรื่องงบประมาณองค์กรเป็นหลัก โดยบอกว่าในกระบวนการงบประมาณต้องมีความชัดเจน และเข้าใจง่าย ข้อสำคัญต้องมีวัตถุประสงค์ว่าจะนำงบประมาณไปทำอะไร และไม่ควรเน้นประหยัดจนไม่คิดถึงผลงานที่จะเกิดแก่ประชาชน

การวิเคราะห์การศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (อ.ไกรฤทธิ์)

ปัจจุบัน เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้นำจะต้องเป็นผู้รอบรู้ในทุกๆ ด้าน ทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และค่านิยม ต้องรู้แบบ บูรณาการ ไม่ใช่รู้แบบเฉพาะทาง ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชา ต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน ในการรวมกันคิด ไม่ใช่รับทำส่งอย่างเดียวเพื่อให้องค์กรไปสู่เป้าหมาย

ปัจจัยในการบริหารงานในองค์กร ประกอบด้วย การตลาด ต้องสร้าง Brand  ให้เป็นที่ยอมรับก่อน  การผลิต  สร้างสินค้าให้ตรงกับความต้องการของ        ลูกค้า ด้านการเงิน ด้านบุคคลากร และ Back System ซึ่งประกอบด้วย Information  และ  Infrastructure  โดยส่วนประกอบทั้งหมดจะต้องสัมพันธ์กัน

ส่วน อ.ณรงค์ศักดิ์ ให้แนวคิดว่า การทำธุรกิจจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดยการปรับตัวจะต้องมีองค์ความรู้ใหม่ มีการตลาดสมัยใหม่ หรือการตลาดประสบการณ์ ซึ่งประกอบด้วย Business Concept  และ  Business Model  พร้อมทั้งให้คำแนะนำ กคช. ควรจะต้องทำ Rebrend  และผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ  Lifestyle Techonolgy  และนวัตกรรมผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องการกระจายสินค้า
อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

วันที่ 22 มิถุนายน 2555 วิชา : การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร หลักการวางแผนทางการเงินและภาษี การเลือกวิธีการลงทุนอย่าง Happy วิธีประหยัดเงิน วิธีการขจัดหนี้ การลงทุนทองคำ และให้ปรัชญาการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

วิชา : งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดย น.อ.ดิรัส ลิ้มเจริญ งบประมาณคืออะไร ความสำคัญของการวางแผนงบประมาณ ขั้นตอนการขออนุมัติงบประมาณ การบริหารงบประมาณ การควบคุมและติดตามประเมินผล ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน การจัดทำแผนปฏิบัติการ การวัดผลการดำเนินงาน

วิชา : การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี และ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ การบริหารความเสี่ยงกับบทบาทของรัฐ และผู้บริหาร ความสัมพันธ์ของความเสี่ยงกับการควบคุมภายใน กระบวนการบริหารความเสี่ยง ประเภทความเสี่ยง การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง หลักการจัดการกับความเสี่ยง ข้อสังเกตการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยง

22 มิถุนายน 2555 วิชาการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยอาจารย์สมชาย ไตรรัตนภิรมย์

การอบรมการบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กร
ต้องมีคณะกรรมการ  ใส่ใจการบริหารความเสี่ยง  ทุกคนต้องทราบการบริหารความเสี่ยง  ต้องเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรพิจารณาบริหารจัดการผลกระทบขององค์กร
อุปสรรคในการจัดการความเสี่ยงให้ประสบความสำเร็จ
ปัจจัยที่ทำให้  RM   PROGRAM  ไม่ประสบความสำเร็จ  ดังนี้
1.  ผู้บริหารระดับสูงขาดความเอาใจใส่
2.  ระดับปฏิบัติการไม่มีส่วนร่วมในความเสี่ยง
3.  ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับ
4.  ประมาณค่าใช้จ่ายในการลดความเสี่ยงสูงเกินไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยง 1. มีการแบ่งปันข้อคิดเห็น 2. ความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้บริหาร 3. ใช้ภาษาง่ายไม่ซับซ้อน 4. การสื่อสาร / เรียนรู้ และการศึกษาที่มีประสิทธิผล 5. ติดตาม / รายงานกระบวนการบริหารความเสี่ยง 6. เสริมสร้างกระบวนการบริหารความเสี่ยงเข้ากับบุคคล

21 มิถุนายน 2555 วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

อาจารย์ได้กล่าวถึงกรณีศึกษา  หมู่บ้านแม่กำปอง  จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งได้รางวัลที่ 1  ของ  ASIAN  PACIFIC  ซึ่งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  เป็นชุมชนตัวอย่างที่พึ่งพาตนเอง  รักษ์สิ่งแวดล้อม  รักษ์ป่า  ได้ดีเลิศเป็นลักษณะองค์ความ

รู้ใหม่ ซึ่งจะต้องเปิดใจรับองค์ความรู้ใหม่ เป็นการต่อยอดความรู้เดิม โดยในอดีตหมู่บ้าน แม่กำปอง มีอาชีพที่สำคัญในหมู่บ้านคือ “เมี่ยงเมืองเหนือ” ปัจจุบันคนไม่นิยมที่จะกินกันแล้ว และได้หันมาปลูกพืชอื่นแทน เช่น กาแฟ

อาจารย์ได้พูดถึง  โลกสมัยใหม่ทำอะไรบ้างนั้น  คือ  การตลาดประสบการณ์ตัวอย่างที่

อ.หัวหิน “เพลินวาน”

เดี๋ยวนี้  “คนต้องการสัมผัสของจริง”  ถ้าต้องการพัฒนา  Project  ใหม่ๆ  =  Why  day  Why  ความคิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ
กคช.  ในอนาคตกลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่  คนสูงอายุ  ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานสังคมที่ดี  เน้นการสร้างบ้านลักษณะ  เช่น  Smile  Community  เป็นการสร้างบ้านในแบบใหม่  Rebrand  กคช.ใหม่
หากมีการระดมสมอง  หรือต้องการจะปรับเปลี่ยนอย่าพูดถึงปัญหาในเรื่องนั้นๆ  

จงพูดว่า “โอกาส” ของเรา

สุกัญญา แย้มเกศร์หอม

วันที่ 21 มิถุนายน 2555

ความรู้และประสบการณ์จากการรับฟังการบรรยายของผู้มากประสบการณ์ด้านการตลาดและผู้สร้างนวัตกรรมที่ยอมรับระดับประเทศ รู้สึกเป็นกำไรชีวิตจริงๆ
  • ผู้รู้ไม่เคยอวดตัวตน
  • ผู้รู้ รู้จากทำจริง
  • ผู้เป็นครูไม่เคยหมดพลังขับเคลื่อน ขอบคุณอีกครั้งที่มาจุดไฟความรู้
สุกัญญา แย้มเกศร์หอม

วันที่ 22 มิถุนายน 2555

การบริหารการเงินส่วนตนที่อาจารย์สุวรรณ ฯ ให้หลักคิดและแนวทางจะนำไปสู่การปฎิบัติได้จริงเพราะเรากำลังเข้าสู่วัยเกษียณใน 1 -3 ปีนี้ แต่ทั้งหลายทั้งปวงคือตั้งอยู่บนความไม่โลภจะทำให้ท่านทั้งหลายอยู่ได้พอสมควร โดยไม่เป็นทุกข์ และที่เห็นเชิงประจักษ์คือควรให้ความรักกับตนเอง ให้รางวัลตนเองด้วยการออกกำลังกาย และขอสนับสนุนและก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการให้ความรู้และประสบการณ์เรื่องงบประมาณทั้งงบดำเนินงานและงบประมาณแผ่นดิน เพราะผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานอีกหลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องเงิน เป็นเรื่องของบัญชี เศรษฐกร

ความเสี่ยง (Risk)

ความเสี่ยง ความไม่แน่นอนที่จะทำให้เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์กรเปลี่ยนไป

ความเสี่ยงเกิดจาก

-        ความเสี่ยงจากภัยเทคโนโลยี และภัยทางสังคม

-        ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

-        ความเสี่ยงจากนโยบาย และการดำเนินงาน

การบริหารความเสี่ยงช่วยทำให้องค์กรบรรลุเป้าประสงค์ และพันธกิจที่ตั้ง

ไว้ และเป็นการพัฒนาผลงาน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

        ประเภทความเสี่ยง

-        ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk)

-        ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (Operation Risk)

-        ความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Risk)

ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง

การจัดการกับความเสี่ยง คือ

-        ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

-        ลดผลกระทบความเสี่ยง

-        แสวงหาผลประโยชน์จากความเสี่ยง

การจัดการกับความเสี่ยงโดยใช้ 5Ts of Risk Management

-        การยอมรับความเสี่ยง  ต้นทุนการจัดการไม่คุ้มกับผลประโยชน์

-        การจัดการควบคุมความเสี่ยง  ควบคุมโอกาสและผลกระทบให้อยู่ในระดับรับได้

-        การแบ่ง ช่องถ่ายความเสี่ยง

-        การยกเลิก การสิ้นสุดกิจกรรมที่มีความเสี่ยง

-        การฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง

การปรับกระบวนทัศน์ด้านการบริหารความเสี่ยง

-        ต้องมีการบูรณาการ

-        ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

-        เน้นในมุมกว้าง

-        เน้นการบรรลุยุทธศาสตร์

28 มิถุนายน 2555

วันนี้จากการทำ workshop 4 กลุ่ม ของผู้เข้ารับการอบรม ทำให้รู้ว่า culture ของกคช.เข้มแข็ง

 เนื่องจาก มีความคิดเห็นตรงกันค่อนข้างมาก เช่น ทุกคนจะนึกถึงสถาปนา กคช. เป็นวันที่พวกเรารอคอย ที่จะมีการทำบุญทางศาสนา และงานรื่นเริงตอนเย็น-ค่ำ

-          .ให้ความสำคัญของ Process กับ result ก็ได้ผลลัพธ์เป้นแนวทางคล้ายๆกัน

-          Hero ของแต่ละกลุ่มมีความเหมือนค่อนข้างมาก คือ เน้นดีและเก่งด้วย ไม่เน้นคนเก่ง

-          Problem solving ให้เปลี่ยนจากwho is wrong เป็น What is wrong เพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศในที่ทำงานให้ดีกว่าเดิม

-          Cabals ก๊วนที่พวกเราสามารถพึ่งพาได้ จะมีความแตกต่างกัน

-          Gossips ใช้วิธี SMS,MOBILE และเจ๊หมวย

-          Decision มี3 ลักษณะ

-          Top down

-          Bottom up

-          Consensus

จะต้องมีการพูดคุย หารือกันมากขึ้น

 

    ขอแก้ไขชื่อ  วรรณภา พิลังกาสา มิใช่  อรวรรณ ค่ะ

8 K’s + 5K’s

 อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้มีความรู้ ว่าประเทศไทยจะต้องมีการเตรียมการอย่างไรในการเป็น ประชาคมอาเซียน  โลกาภิวัฒน์ การเปิดเสรีอาเซียน ประเทศไทย และการสร้างศักยภาพทางการแข่งขันด้วยคุณภาพของทุนมนุษย์ โจทย์สำคัญที่สุดของสังคมไทยในยุคของการเป็น ประชาคมอาเซียน ปี 2555 คนไทยจำนวนไม่น้อยยังไม่รู้จัก AEC ประเทศไทยต้องพัฒนาไปร่วมกันทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน เพื่อสร้างเอกภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน มี 4 เรื่องที่จำเป็นต้องพัฒนา
    1 การเปิดเสรีการค้าและบริการ
    2 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงมากขึ้น
    3 การลดช่องว่างในประชาคมอาเซียน
    4 การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
แต่การจะก้าวไปถึงจุดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์ของแต่ละประเทศ เพราะทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นล้วนมี คน หรือ ทุนมนุษย์ เป็นกลไกสำคัญ
  อาจารย์จีระ ได้เขียนบรรยาย ให้ความสำคัญที่คนไทยจะต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรีได้อย่างมั่นคงและสง่างาม โดยนำเสนอ 10 ประเด็นสำคัญ
   1 ต้องรู้จริงว่า ประชาคมอาเซียนคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไรต่อตัวเรา งาน ชุมชน สังคม ประเทศเราอย่างไร
   2 ประชาคมอาเซียนเกิดขึ้นได้อย่างไร
   3 การเปิดเสรีเป็นอย่างไร
 4 เราจะต้องค้นหาตัวเอง ต้องวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้น เตรียมพร้อม 
 5 การปรับตัว ต้องเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้ว่าโอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง เราจะฉกฉวยอย่างไร
 6 การรักษาภูมิปัญญาและรากเง้าของความเป็นไทยที่นับว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรมของคนไทย
 7 ต้องพัฒนาคนไทย ให้สื่อสาร ภาษาอังกฤษ และภาษาอาเซียน
 8 การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
 9 การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์

10 การบริหารความเสี่ยงโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

      อาจารย์จีระ ยังให้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ 8K’s  และ 5K’s ที่ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดไว้ในหนังสือเล่มนี้ จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้คนไทยอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีอาเซียน  อาจารย์ยังมี ทฤษฎี 4 L’s ที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้  และทฤษฎี 2 R’s ที่ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา หรือการพัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่มได้ และทฤษฎี 2 i's การเรียนรู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดพลัง และมีจินตนาการนำไปสู่ความคิดสร้างสรร และนวัตกรรม
     เมื่อมีสิ่งดี ๆที่เกิดขึ้น เหมือนมีคลังสมบัติแห่งการเรียนรุ้  แล้วท่านจะไม่หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านได้อย่างไร
มรัญสิตา ตีระศิริสิน
                ได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ด้วยอาการเบาสบายแบบเบิร์ดๆ และเปิดสมองเพื่อรองรับกับ KM.ที่ท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์,ท่ม่านอาจารย์จิ และท่านอาารย์พิชญ์ภูรี ด้วยความเต็มใจรับทั้งวัน  ช่างเป็นวันที่ดิฉันรู้สึกได้ถึงPOWERFUL ที่อยู่ในตัวตนอีกครั้งหนึ่งในรั้วของ กคช. ซึ่งโดยปรกติแล้วจะเป็นคนที่ชอบคิดและทำอะไรที่ว่องไว กระฉับกระเฉง และมีพลัง แต่เมื่อในบางสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย...ก็ต้องลดบทบาทไปตามความเหมาะสมและกาลเวลา  ........... และในวันนี้ช่างคึกคัก ตื่นตัวไปกับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่อง "การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช."  ว่าในอีกสิบปีข้างหน้า กคช.ควรมี ISSUEอะไรบ้าง?  สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ PASSION ความสุขในการทำงานที่พนักงานทุกคนพึงได้รับ,  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สะสมความรู้และความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง"สิ่งที่เป็นเลิศ มักเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น"  จึงต้องทำตัวสบายๆ ในการมองอนาคตไปพร้อมๆกัน  

                 และในที่สุดก็ได้บัญญัติ 7 ประการของวัฒนธรรมองค์กร คือ1. พิธีกรรม 2.จุดเน้น 3.ฮีโร่ 4.ทัศนคติในการแก้ไขปัญหา 5. ก๊วน 6.การสื่อสาร 7.การตัดสินใจ  ....... ท่านอาจารย์ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม แบ่งเป็น  4 กลุ่ม ร่วมกันคิดพิจารณาร่วมกันในแต่ละหัวข้อว่าควรเป็นอย่างไร? และแล้วผลงานของแต่ละกลุ่มก็ออกมา แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมองค์กรในภาพรวมของ กคช. ยังคงแข็งแรง แต่หากได้มีโอกาสนำขึ้นมาปัดฝุ่น และจับเข่าคุยกันให้มากขึ้น ก็จะเป็นการช่วยเสริมพลังสร้างความแข็งแกร่ง และดำเนินไปในทิศทางเดียวกันให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน. :-):-):-)

                                                                                                         มรัญสิตา :-)

วันพฤหัสบดี 28 มิถุนายน 2555

วิชา วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

      คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย

     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

อาจารย์จีระ

-      วันนี้จะขอให้ท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์พูดก่อนว่าประเด็นท้าทายของการเคหะฯ ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าในมุมมองของท่านเป็นอย่างไร?

-      สำหรับอาจารย์จีระ วันนี้จะเน้นเรื่อง Creativity & Innovation เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตของการเคหะฯ

-      และวันนี้ทั้งวันเราน่าจะมีประเด็นกระเด้งออกมา เป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงที่เกิดขึ้นจากเป็นโอกาสจากการเรียนรู้ของพวกเรา

 

อาจารย์ไกรฤทธิ์

-      หลาย ๆ ครั้งที่มาพบการเคหะฯ ผมค้นพบ Excellence เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก และจะขอนำมาแชร์กับทุกท่านที่นี่ด้วย

-      วันนี้อยากจะให้เครื่องมือในการหาปลาในอนาคตสำหรับผู้นำของการเคหะฯ

-      ความสำคัญของสินทรัพย์ทางด้าน Technical Aspect ขององค์กร กับ Spiritual Aspect

-      คำถาม 7 ประการเกี่ยวกับ Spiritual Aspects หรือ DNA ของการเคหะฯ

-      อเมริกาชอบพูดว่าถ้าคุณวัดไม่ได้ก็บริหารไม่ได้

-      จึงขอใช้ 7 คำถามนี้สำหรับทุกกลุ่ม

-      Corporate Culture วัฒนธรรมประจำองค์กร แปลว่า พฤติกรรมที่เราทำอะไรกันโดยบอกว่าเราเป็นพวกเดียวกัน (ไม่ได้เขียนไว้เป็นนโยบาย แต่เป็นที่รู้กัน) เป็น Soft Policy

ð     พิธีกรรม (Rites = พิธีกรรมขนาดย่อม / Ritual= พิธีกรรมขนาดใหญ่) – งาน? เช่น งานกีฬาภายในเป็นพิธีกรรมขนาดใหญ่

      การประชุมยุทธศาสตร์เป็นพิธีกรรมขนาดเล็ก

ð     จุดเน้น หรือ strategic issue – กระบวนการ (Process) หรือ ผลงาน (Outcomes) – คนที่เน้นผิดจุด คือ ส่วนใหญ่เน้นที่ Output เขาเรียกว่า “Waste”

- Impact คือ results ที่แบ่งปันข้ามสายงานได้

          - องค์กรของเราเน้น Efficient คือ (“doing the thing right“) หรือ Effective คือ         (“doing the right thing“) คือ เลือกสิ่งที่ถูกทำ

ð     HERO คือใคร? (คนธรรมดาไม่ใช่ผู้ใหญ่ขององค์กร หญิงคน ชายคน) สเปคเป็นอย่างไร?

ð     แก้ปัญหา - - เวลาเจอปัญหาคุณอุทานว่าอะไร? เช่น ไอ้หยา! ใครบอกให้คุณทำ! เฮ้อ

ð     ก๊วน – ท่านมีก๊วนที่ช่วยแก้ปัญหามั๊ย

ð     การสื่อสาร (2 ทาง) ภายใน ที่ต้องการการ feedback โดยรวดเร็ว ท่านใช้วิธีอะไร?

Leadership ไม่มีประโยชน์ถ้าไม่มี Follower

ð     การตัดสินใจ

-    Top down กี่%

-    Bottom up กี่ %

-    Consensus ปรึกษาหารือกันแบบญี่ปุ่น เรียกว่า สุนทรียสนทนา กี่ %

-     

วันนี้ องค์กรส่วนใหญ่มีแนวทางการดำเนินงาน 2 แบบที่น่าคิด คือ

ð     Strategic Direction – สายตะวันตก เน้น Command & Control

ð     Complex adaptive system – สายตะวันออก ซึ่งองค์กรแบบไทย ๆ เหมาะกับแบบนี้เป็นส่วนใหญ่ เพราะเรามี Spiritual aspects เยอะ และประเทศจีนเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

 

ถ้าจะอธิบาย Technical side

-      คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง เคยพูดไว้ว่า

WE + MANAGE + WHAT (หมายถึงองค์กร) = RESULT

WE+ (New) MANAGE + (New) WHAT = RESULT?

(New) WE+ (New) MANAGE + (New) WHAT = New RESULT

 

(New) WE ที่น่าสนใจ คือ

  1. 1.      Knowledge
    1. กรณีศึกษาของ EGAT เรื่องการจัดการความรู้ หรือ Km น่าสนใจ คือ ก่อนเกษียณ 2 ปี มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารเกี่ยวกับการจัดการปัญหาที่สำคัญต่าง ๆ
    2. ทำอย่างไร Tacit Knowledge จะกลายเป็น Explicit Knowledge?
    3. 2.      Skills

คือ Knowledge ที่เกิดขึ้นจากการพังคามือ

น้ำท่วมทำให้เราได้ Culture บางอย่างกลับมา เพราะฉะนั้น Event

  1. 3.      Attitude คือ ทัศนคติ

 

MANAGE มี 3 ตัวเป็นพฤติกรรมหลัก

  1. Plan คือ การคิดล่วงหน้า เป็น Fact (Plan = Make a choice, Plan = Commit, Plan = Focus)
  2. Action (Do)
  3. Control สำหรับคนรุ่นใหม่แปลว่า เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

           (สำหรับคนรุ่นเก่าแปลว่าควบคุม กำกับดูแล)

เพราะฉะนั้น ลองคิดดูว่าสำหรับตัวท่านท่านเป็นแบบไหน คุณกำกับดูแลหรือคุณแลกเปลี่ยนเรียนรู้?

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นั่นก็คือ Learning Organization

 

จีระ

-      สิ่งที่ท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์พูดมาในวันนี้เป็นประเด็นท้าทายที่ท่านจะต้องนำไปคิดต่อในช่วงบ่ายของวันนี้

-      ใน 8 วันที่เราอยู่ด้วยกัน ก็เป็นเสมือนเราเริ่มที่จะสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้นที่การเคหะฯ

-      Training ไม่เท่ากับ Learning (Training เกี่ยวกับงาน แต่ Learning คือ WE)

-      สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ Intangible ที่อยู่ในตัวของเรา

-      การสร้างบรรยากาศให้ทุกคนใฝ่รู้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับองค์กร

-      คนที่ใฝ่รู้ คือ คนที่ยอมรับความล้มเหลวและพร้อมที่จะเอาชนะมัน วันนี้เราต้อง

ð     Learning from pain

ð     Learning from experiences

ð     Listening well

-  ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ควรตอบโจทย์ 4 ข้อที่สำคัญต่อไปนี้

  1. Where are we?
  2. Where do we want to go?
  3. How to get there?
  4. How to do it successfully? ซึ่งการจะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้นี้นั้น จาประสบการณ์ของผมต้องมี

-      Passion

-      Know yourselves

-      Learn

 

สิ่งที่สำคัญที่วันนี้คนการเคหะฯ จะต้องช่วยกันคิด คือ

  1. จุดกำเนิดของการเคหะเกิดมาอย่างไร
  2. กิจกรรมที่การเคหะทำหลัก ๆ แล้ว คืออะไร?
  3. คุณสมบัติของคนที่จะทำงานให้การเคหะ คืออะไร?
  4. แต่เราต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่จุดที่ดีขึ้น
  5. การเคหะฯ จะต้องสร้าง Learning Society ให้ได้
  6. การเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญ มองประเวศพูดว่าการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นการผสมกันของศาสตร์ต่าง ๆ - - เลอ ดาโน ดาวินชี่ เป็นตัวอย่างที่ดีในการเรียนรู้ข้ามศาสตร์

 

พิชญ์ภูรี

จากประสบการณ์ที่เคยเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์องค์กรและสื่อสารการตลาดรวมถึงการ Rebrand ส่วนใหญ่คิดมากกว่าพูด วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ สู่ประชาคมอาเซียน

-    คน

-    กลยุทธ์องค์กร และสื่อสารองค์กร

ลองใช้ทฤษฎี 2 R’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มาวิเคราะห์

ð     Reality ความจริง (Fact)

ð     Relevance การก้าวผ่าน (ปัญญา Wisdom)

 

อ.จีระ

-      ทฤษฎี 2 R’sของผม คือ การมองความจริง และตรงประเด็น (อ.ไกรฤทธิ์ บอกว่า ก็คือ Impact + Meaning)

-      วันนี้อาจารย์ไกรฤทธิ์พูดถึง เรื่อง WE ซึ่งนั่นน่าจะหมายถึง “ทุนมนุษย์” นั่นเอง

-      คน คือ Strategic Content ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

-      Factor Proportion เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด

 

พิชญ์ภูรี

เรื่อง “คน” กับ วัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ

วัฒนธรรมในการเรียนรู้หรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญ

ดังนั้น หากจะมองว่าวันนี้หากจะต้องพัฒนาเรื่อง “คน” หรือการเสริมความรู้ให้กับคนในองค์กรการเคหะฯ คิดว่าเรื่องน่าจะต้องคิดและทำ เช่น

1.  การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ  Learning Organization

ปรับเปลี่ยนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (รู้เขา รู้เรา) ให้ทันยุคสมัย พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน Rebrand

คน เคหะ ควรเพิ่มความรู้

-    ภาษา (ฝึกจากง่ายไปสู่ขั้นสูง) communicate advance

-    ไอที Digital Media

-    วัฒนธรรม สังคมไทย นานาชาติ Globalization

-    ภูมิศาสตร์ พื้นที่ ไทยและ AEC

-    เศรษฐกิจการเมือง ความมั่นคง

-    เพิ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-    Happiness ทำงานอย่างมีความสุข

-    Spirit ขององค์กร

-    ความมั่นคงขององค์กร

-    CSR ความสุขที่ได้ดูแลสร้างบ้านให้ผู้มีรายได้น้อย

-    Creativity

-    ดูหนังสือบ้านและตกแต่ง

-    ติดตามข่าวสาร บ้าน อาคาร AEC

-    เพื่อเพิ่มความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ

-    คุณธรรม จริยธรรม

-    การจัดการประสบการณ์

 

2. การสร้างวิสัยทัศน์องค์กรที่ชัดเจน และมีการ Shared Vision

1)     วิสัยทัศน์ส่วนบุคคล สร้างได้จาก

-                   การอ่านและดูภาพจากหนังสือประเภทบ้านและการตกแต่งเป็นประจำ เพราะตรงกับงานของการเคหะ

-                   พูด คุย ฟังจากผู้รู้ ผู้ร่วมงาน

-                   ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้อง เช่น การตั้งนิคมอุตสาหกรรม และย้ายแรงงานไปในพื้นที่ชายแดน

-                   ไปดูตัวอย่างที่ดีให้เห็นด้วยตา เช่น กรณีศึกษาของสิงคโปร์ในการการจัดการกิจการการเคหะแห่งชาติเป็นแบบอย่างที่น่าสนใจ

2)     วิสัยทัศน์องค์กรโดยรวม

-                   ผู้บริหารและคนในองค์กรร่วมกันสร้างโดยต้องคิดนอกกรอบไปในกรอบ

-                   รัฐวิสาหกิจมีกรอบบางอย่างที่กำหนดไว้ต่างจากเอกชน

3)     พันธกิจองค์กร คิดใหม่ ทำใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม

-                   บ้านที่อยู่กับน้ำ

-                   บ้านของผู้สูงอายุ

-                   บ้านมั่นคง ต้องใช้ความคิดเยอะ เพราะเป็นบ้านของผู้ไร้โอกาส (พัฒนาจากโครงการในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น)

-                   รับสร้างบ้านให้ประเทศเพื่อนบ้าน (หารายได้จากต่างประเทศ)

4)     การประชาสัมพันธ์ (ทำให้ดี ตีให้ดัง)

-                   Rebrand

-                   CSR

-                   นวัตกรรมใหม่ๆ

-                   ใช้วิธีการประชาสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งบมากๆ แต่เข้าถึงประชาชน

 

     ที่สุดแล้ว สิ่งที่เราก้าวข้ามความท้าทาย ปัญหา และอุปสรรคไปได้ นอกจากการเคหะฯ จะพัฒนาอย่างก้าวหน้ายั่งยืน เป็นที่พึ่งแก่ผู้ด้อยโอกาสแล้วยังเป็นที่พึ่งด้านการงานให้ “คน เคหะ” ด้วย การมีความสุขในการทำงาน และการที่ได้ทำงานที่มีคุณค่า มีความภาคภูมิใจจะทำให้ “คน เคหะ” ไม่หยุดการเรียน เช่น ความรู้ การใช้ภาษา ไอที หรือการออกแบบบ้านการจัดการที่ดิน บัญชี ฯลฯ จะติดตัวคนเคหะไปด้วย ถ้าวางแผนได้ มีโครงข่าย Network จะสามารถใช้เป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก เป็นนักวิชาการ เป็นแหล่งความรู้ที่เป็นที่พึ่งของสังคม

     ตัวอย่าง เรื่องคน เคหะ กรณีศึกษาของคุณชูเกียรติ อุทกพันธ์ อมรินทร์พริ้นติ้ง เริ่มจาก หนังสือบ้านและการตกแต่ง หนังสือบ้านและสวนเป็นสิ่งที่ยังมีคุณค่าอยู่มาถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

 

อาจารย์ไกรฤทธิ์

Strategic ประกอบด้วยทั้ง 5 เรื่องต่อไปนี้

  1. Long term              ระยะยาว
  2. Holistic                  องค์รวม
  3. Cross Function        ข้ามศาสตร์
  4. Selective                ต้องคัดสรร
  5. Change                  เปลี่ยนแปลงก่อนถูกบังคับ

 

อ.จีระ

- ความสำเร็จในอดีต ไม่ได้หมายรวมถึงความสำเร็จใจอนาคต

- สิ่งที่เราจะเจอในอนาคต คือ วิกฤต/ปัญหา (Crisis) มากมาย และอาจจะเป็น Permanent Crisis ด้วย คือ เป็นวิกฤตแบบถาวร 

…………………………………………………………….

อาจารย์ไกรฤทธิ์

โจทย์สำหรับการ WORKSHOP ในบ่ายวันนี้ คือ คำถามจากอาจารย์จีระตั้งแต่ต้นเลย คือ การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ ถามว่าทำไปทำไม? ตอบว่าทำไปเพื่อเติมเต็มช่องว่าง และจุดที่ยังอ่อนอยู่

 

องค์กรในอนาคตจะใช้ Strategic Thinking อย่างเดียวไม่ได้ เพราะว่าสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนโดยเร็ว เพราะฉะนั้นเราจะใช้มิติของ Managerial Assets อย่างเดียวไม่ได้ (หลายประเทศไปไม่รอด) แต่เราจะต้อง Spiritual Asset วันนี้การเคหะฯ กำลังดีไซน์มรดกไว้ให้ลูกหลาน คือ ภูมิคุ้มกันในทางบวก หรือที่ HR เรียกว่า Capacity Building ที่ลึกซึ้งที่สุด ไม่ใช่เฉพาะ Technical side แต่เป็น Spiritual side

 

Technical side ได้เล่าไปแล้วเมื่อเช้านี้

คือ WE + MANAGE + WHAT (หมายถึงองค์กร) = RESULT

ที่ผ่านมาส่วนนี้เราถูกวัดด้วย KPIs ซึ่งไม่ได้ผล

 

-      แต่เราจะต้องมอง Invisibles ขององค์กร คือ Traps and Gaps (คือ กับดัก/หลุมพราง และช่องว่าง) ขององค์กร ซึ่งมีอยู่ 7 มิติ คือ การเคหะฯ วันนี้นอกจากความเป็นเลิศทางด้าน Technical แล้ว จะต้องเป็นเลิศทางด้านวัฒนธรรมด้วย วันนี้เราจะวัดว่าสิ่งที่ท่านตอบนั้นเหมือนกันหรือไม่ ถ้าเหมือนกันแปลว่าเรามี Strong Culture

-      ทั้ง 4 กลุ่ม ตอบคำถาม 7 ข้อ

-      จาก Managerial Excellence ซึ่งวัดเรา 5 มิติ เช่น

  1. ผลงาน
  2. Compliance
  3. Good Governance
  4. อื่น ๆ

 

TRIS เป็นนักวัดเชิงปริมาณ แต่วันนี้จะเป็นการวางแนวทางให้ท่าน สำหรับการวิเคราะห์ Spiritual Excellence ของ Deal & Kenedy ซึ่งพูดถึง Corporate Culture

          เรากำลังจะช่วยกันดีไซน์ Corporate Culture ของการเคหะให้เดินไปข้างหน้าได้ทุกลมฟ้าอากาศ มีภูมิคุ้มกันจากแรงเสียดทางจากข้างนอก ประกอบด้วย

-      Politics

-      Economic

-      Social

-      Technology

-      Environment

-      Legal

 

PEST แปลว่าสิ่งรบกวน แผนของเราส่วนใหญ่จะถูกรบกวนด้วย PEST Control

 

หน้าที่ของท่าน คือ เปลี่ยน Technical Org เป็น Biological Org. (หมายถึงองค์กรที่สามารถทนต่อแรงเสียดทานและอุปสรรคต่าง ๆ ได้)

 

HR และทีม เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร คือ ทำหน้าที่ปลูกฝังวัฒนธรรมที่สำคัญ 7 เรื่อง

 

การเคหะต้องดีไซน์องค์กรให้เป็น “Environmental free”- การเคหะ ต้องเรียนรู้ที่จะจับปลาน้ำลงให้ได้

 

เราต้องหาจุดคานงัดให้ได้ (Leverage point) คือ จุดที่เวลาเราเปลี่ยนยางรถยนต์ เรางัดที่จุดนี้แล้วมันสามารถยกทั้งคันได้

 

7 ข้อนี้คือจุดคานงัดขององค์กร ท่านต้องช่วยกันคิดอย่างมีสมาธิ ใช้ระบบ Up (เจ้านาย) & Down (ลูกน้อง) และเราต้องเป็นคนจ่ายลูก เป็นคนสร้างวัฒนธรรม

ð     พิธีกรรม (Rites = พิธีกรรมขนาดย่อม / Ritual= พิธีกรรมขนาดใหญ่) – งาน? เช่น งานกีฬาภายในเป็นพิธีกรรมขนาดใหญ่

      การประชุมยุทธศาสตร์เป็นพิธีกรรมขนาดเล็ก

ð     จุดเน้น หรือ strategic issue – กระบวนการ (Process) หรือ ผลงาน (Outcomes) – คนที่เน้นผิดจุด คือ ส่วนใหญ่เน้นที่ Output เขาเรียกว่า “Waste”

- Impact คือ results ที่แบ่งปันข้ามสายงานได้

          - องค์กรของเราเน้น Efficient คือ (“doing the thing right“) หรือ Effective คือ         (“doing the right thing“) คือ เลือกสิ่งที่ถูกทำ

ð     HERO คือใคร? (คนธรรมดาไม่ใช่ผู้ใหญ่ขององค์กร หญิงคน ชายคน) สเปคเป็นอย่างไร?

ð     แก้ปัญหา - - เวลาเจอปัญหาคุณอุทานว่าอะไร? เช่น ไอ้หยา! ใครบอกให้คุณทำ! เฮ้อ

ð     ก๊วน – ท่านมีก๊วนที่ช่วยแก้ปัญหามั๊ย

ð     การสื่อสาร (2 ทาง) ภายใน ที่ต้องการการ feedback โดยรวดเร็ว ท่านใช้วิธีอะไร?

Leadership ไม่มีประโยชน์ถ้าไม่มี Follower

ð     การตัดสินใจ

-    Top down กี่%

-    Bottom up กี่ %

-    Consensus ปรึกษาหารือกันแบบญี่ปุ่น เรียกว่า สุนทรียสนทนา กี่ %

ทั้ง 7 ข้อนี้ ให้คะแนนแบบทริสว่าว่าจาก 1 – 5 ปัจจุบันท่านอยู่ที่เท่าไหร่?

ดังนั้น จับ 7 อย่างนี้ที่มันเหมือนกัน เดินกันไปเป็นกลุ่มก้อนแล้วพูดภาษาเดียวกัน เราจะสามารถเอาชนะอุปสรรคทุกอย่างได้

...................................................................................

จากโจทย์ WORKSHOP ข้างต้น สรุปเป็นตารางจากการนำเสนอได้ดังต่อไปนี้ (พร้อมเปรียบเทียบกับการนำเสนอของรุ่นที่ 2) - - แผ่นนี้ คือ มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมของการเคหะแห่งชาติ

 

อ.จีระเสริมว่า

ปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจมี 3 เรื่อง คือ

  1. ข้อมูลไม่ชัดเจน
  2. มีผลประโยชน์ทับซ้อน
  3. ใช้อารมณ์ 

สิ่งที่ท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์โค้ชพวกเราในวันนี้ คือ How to get there with outcome +impact+ success เป็นเรื่องที่สำคัญ

 

นายถวัลย์ สุนทรวินิต

สิ่งที่เรียนรู้วันนี้ ( ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ )  โดย นายถวัลย์  สุนทรวินิต

๑.     การปฏิบัติงานโดยปกติต้องมีการกำหนดแผนงานไว้ล่วงหน้า    ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนด และพยายามควบคุมให้เป็นไปตามแผน  ทั้งนี้ต้องระมัดระวังมิให้ตกอยู่ในความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์   การขาดประสบการณ์ที่ควรได้รับการถ่ายทอดอย่างถูกวิธี และการมีทัศนคติเชิงลบ

๒.   วัฒนธรรมการทำงานที่ใช้ระบบสั่งการ และ ควบคุมให้ปฏิบัติตาม   มิใช่ทางเลือกเดียวที่ควรใช้   แต่ควรให้คุณค่ากับการใช้ความรู้ในการปรับทัศนคติของผู้บริหารให้เปิดมุมมองเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการชนิดใหม่ที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

๓.     พบว่าวัฒนธรรมองค์กรของ กคช. ยังต้องการการปรับปรุงวิธีการเผชิญกับปัญหา การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ใช้การรับฟังอย่างมีวิจารณญาณ  อีกทั้งให้ความเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน  อาศัยความเป็นกัลยาณมิตรช่วยประสานหรือหาทางออกที่เหมาะสมให้กัน รวมถึงประคับประคองให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน       การตัดสินใจใดๆควรอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ

๔.     Choose the right things done.

๕.    ปฏิบัติตนเป็นพี่ที่ดี  ด้วยการส่งมอบสิ่งดีงามให้น้องต่อๆไป

 วันที่หก เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายการเคหะฯ ซึ่งการที่จะพัฒนาองค์กรให้สู่ความเป็นเลิศได้นั้น ต้องพัฒนาคนก่อน โดยให้มีการเรียนรู้ จนเกิดเป็นความรู้ (knowledge) และเมื่อนำไปปฎิบัติอย่างต่อเนื่องจจะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ จนเกิดเป็นทักษะ (skill) และสุดท้ายจะเกิดทัศนคติ (attitude) ที่เป็นความไฝ่รู้ไปตลอดชีวิต ทั้งสามประการนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้นำ/ผู้บริหารทึี่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นในองค์กร เพื่อใช้ในการบริหารงาน การวางแผน การปฏิบัติงาน และ การกำกับดูแล (plan act control) ซึ่งการเคหะฯ ก็เช่นเดียวกัน การที่จะบริหารองค์กรในยุคของการเปลี่ยนแปลง หรือยุคโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันนั้น ต้องพัฒนาองค์กรหลายด้าน ที่สำคัญคือ ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ปรับภาพลักษณ์ พัฒนาคนในองค์กรให้มีคามรู้หลากหลาย เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภูมิศาสตร์ เป็นต้น สร้างเป็นองค์ความรู้ให้เกิดในองค์กรโดยหน่วยงาน HR จะเป็นกลไกสรคัญที่จะผลักดัน ในห้ยุทธศาสตร์สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 สำหรับกรณีศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของการเคหะฯ เป็นการสะท้อนให้เห็นทัศนคติของรุ่นพี่รุ่นน้อง ซึ่งส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน แต่มีบางเรื่องที่่ควรคงไว้ และมีบางเรื่องที่ควรปรับเปลี่ยน แต่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องยาก ต้องใช้เวลา แต่สิ่งที่่ควรปรับเปลี่ยนนั้นคงไม่ใช่เพื่อไคร แต่เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อการเคหะฯ ให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศต่อไป   

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. 28 มิ.ย.55 นางวิไล มณีประสพโชค

ในบัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลง  มีความไม่แน่นอน ดังนั้นองค์กรจะมีการบริหารจัดการองค์ความรู้ , มีกางวางแผน ,การกำกับดูแล เข้าใจเข้าถึงพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อให้องค์กรประสพผลสำเร็จ และกลยุทธ์ของผู้นำองค์กร จะต้องเป็นผู้ที่มองระยะยาว , คิดแบบองค์รวม , ข้ามศาสตร์ , คัดสรรคน รับการเปลี่ยนแปลง ในส่วน กคช. ควรเน้นงานไปที่ AEC โดยอาจจะต้องปรับกลยุทธ์องค์กร คน , ภาษา , เทคโนโลยี , แลกเปลี่ยนเรียนรู้ , วะฒนธรรมและสังคมไทย เพื่อนบ้านและการสื่อสารองค์กร  ต้องให้คนทั่วไปรับรู้
ทั้งนี้  อาจารย์ได้ให้จัดทำวัฒนธรรมประจำองค์กรที่อยากให้เป็นในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ที่ได้ระดมความคิด  และใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานที่ดีของ กคช. ต่อไป

สรุปการบรรยายโดย ทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Finance for Non- Finance& Financial Perspective

โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

29 มิถุนายน 2555

หน้าที่หลักของการเคหะคือ การสร้างที่อยู่อาศัย

กลุ่มลูกค้า คือ คนระดับกลางล่าง

ผลกระทบกับการเคหะ คือ การกำหนดราคา และ ความสามารถในการชำระ

อย่างเช่น บ้านเอื้ออาทร ผู้ซื้อจะต้องมีรายรับไม่เกิน 40,000 บาท ต้องดูความสามารถในการผ่อนชำระ เงินที่ได้มาแต่ละเดือน ลูกค้ามีการจัดสรรอย่างไรบ้าง

ผู้บริหารจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเงินทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับตำแหน่งทางการเงินก็ตาม แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจทางการเงิน ในการบริหารโครงการ

เนื้อหาในวันนี้แบ่งเป็น

-         บทนำ

-         แนวความคิดพื้นฐาน

-         งบการเงินมีกี่ประเภท

-         การบริหารโครงการทางด้านการเงิน

 

 

บทนำ

ตลาดการเงิน (Financial Market)

แบ่งตามระยะเวลาฝาก

  1. ตลาดการเงินในระบบ

แบ่งเป็น

1.1 ตลาดเงินในระบบ   เช่น เงินฝากออมทรัพย์  ฝากประจำ 3 6 เดือน  ตั๋วสัญญาใช้เงิน  หุ้นกู้  ตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น หรือ เงินฝากที่ไม่เกิน 1 ปี

1.2 ตลาดทุนในระบบ   ตลาดตราสารหนี้ระยะยาว  หุ้นสามัญ หรือเงินฝากเกิน   1 ปี

  1. ตลาดการเงินนอกระบบ  คือ การไม่มีกฎหมายรองรับ ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างคน 2 คน หรือภายในกลุ่ม  เช่น แชร์ 

แบ่งตามวีธีการส่งมอบ

  1. ตลาดส่งมอบทันที (Spot Market) เช่น เข้าร้านทองแล้วซื้อทันที
  2. ตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market) เช่น  คาดว่าอีก 1 เดือน ข้างหน้าทองจะขึ้น ก็ซื้อทองในราคาวันนี้ แต่ได้ทองเดือนหน้า  ซึ่งตลาดนี้มีไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในอนาคต  ควรศึกษาก่อนมีการลงทุน

สัญญาการซื้อทองท่านควรรับหรือไม่

-         ทางที่ดีคือไม่ควรรับสัญญาแบบนี้ เพราะจะกลายเป็นตลาดเงินนอกระบบ  

-         การจ่ายเงินเพื่อซื้อทอง ควรส่งมอบทันทีเป็นทางแก้ไขที่ดีกว่า และมีความปลอดภัยกว่า อยากขายเมื่อไหร่ก็ขายได้ทันที

การซื้อขายสินค่าโดยการผ่อนชำระ ถือเป็นตลาดส่งมอบทันที

ตลาดทุน (Capital Market)

  1. ตลาดแรก (primary market)  ตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ที่มีการขายให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก เช่น หุ้นการบินไทยในช่วงแรกๆ
  2. ตลาดรอง(secondary market)  การขายต่อให้คนอื่น เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สถาบันการเงินในประเทศไทย

  1. สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร (Bank)

ประกอบด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่การกำกับดูแล  ธนาคารพาณิชย์  สาขาธนาคารต่างประเทศ เช่น city bank  ธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ เช่น CIMB UOB  ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ธนาคารออมสิน ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง  ธกส  ธอส  ธสน ธพว และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เรียกว่าเป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ ไม่ถือเป็นธนาคารพาณิชย์

  1. 2.     สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank)  บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ เป็นหน่วยงานภาคเอกชน ที่ตั้งขึ้นเพื่อจัดการเรื่องหนี้ของธนาคารกรุงเทพ เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ  บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย  ตังขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ ปี 2540 กองทุนประกันสังคม สหกรณ์การเกษตร  สหกรณ์ออมทรัพย์  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทประกันชีวิต  โรงรับจำนำ  ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลเฉพาะในด้านการทำธุรกรรมเท่านั้น  

แนวความคิดพื้นฐาน

หลักพื้นฐาน ทางด้านบัญชี

หลักเงินสด

-         เงินสดรับ

-         เงินสดจ่าย

หลักค้างรับค้างจ่าย

หลักค้างรับค้างจ่าย (Accrual Accounting)

-         หลักการจับคู่ (Matching Principle)   ค่าใช้จ่ายอันนั้น ใช้แล้วเดือนพฤษภาคม แต่เก็บเดือนมิถุนายน

Basic Terms

-         รายได้ (Revenues)

-         ต้นทุนโดยตรง (Direct Cost /direct expense) =Variable cost gเช่น พนักงานที่ทำอยู่ในโรงงาน

-         ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) =Fixed cost  เช่น เงินเดือน

-         กำไรสุทธิ (Net incomes/ Net profit)  หักค่าใช้จ่ายและภาษีออกแล้ว

 

งบการเงินมีกี่ประเภท

การรายงานทางรูปแบบทางการเงิน ได้แก่

  1. งบดุล หรืองบแสดงฐานะทางการเงิน  เปรียบเหมือนสภาพร่างกายว่ามีอะไรบ้าง
  2. งบกำไร ขาดทุน
  3. งบแสดงกระแสเงินสด  เช่น การดูงบย้อนหลัง 6 เดือน

มีความสำคัญทั้ง 3 ตัว ถ้ามีให้ดูเพียงงบเดียวให้ดูงบแสดงกระแสเงินสด เปรียบเหมือนเลือด

งบดุล

-         จะแสดงสถานะของบริษัท ณ เวลานั้นๆ

-         ไม่สามารถแสดงสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี แต่จะแสดงสถานะ ณ วันหนึ่งวันใดเท่านั้น

-         แสดงจำนวนที่บริษัทมีและเป็นหนี้

 สิ่งที่บริษัทมีจะแสดงในด้านสินทรัพย์ (asset side)

 สิ่งที่เป็นหนี้จะแสดงในด้านหนี้สิน (liability side)

ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนสำหรับบริษัท  เช่น แบรนด์ยี่ห้อAPPLE  เป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ แต่มีค่า

เวลาดูทรัพย์สินของบริษัทที่เป็นค่านิยม เป็นเครือข่าย อย่าไปหลงเชื่อ ไม่ควรตีเป็นมูลค่า

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

แสดงผลการดำเนินงานของบริษัท และบุคคลนั้นๆ ตลอดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายใน 1 เดือน

รายได้ ดูจาก

-         รายได้จากการขาย

-         รายได้จากการบริการ

ค่าใช้จ่าย

-         ค่าใช้จ่ายทางตรง

-         ค่าใช้จ่ายทางอ้อม

-         ค่าใช้จ่ายทางการเงิน

งบกระแสเงินสด เป็นงบที่สำคัญที่สุด

แสดงทุกรายการที่เป็นเงินสด

-         กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน(Cash flow from operating activities) เป็นตัวที่สำคัญที่สุด หากเป็นลบ แสดงว่าเงินสดที่หาได้จากเดือนนั้นๆไม่พอกับรายจ่าย  

-         กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน(Cash flow from investing activities)  หากเงินไม่พอ จะต้องหาเงิน โดยการขายทรัพย์สิน เพื่อเอาเงินกลับเข้ามา

-         กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน(Cash flow from financing activities)  ทำได้โดยการกู้

(+,-,-) สถานะนี้ดีที่สุด 

การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Analysis)

การดูแนวโน้ม (Trend Analysis)  ต้องดูย้อนหลังอย่างน้อย 3 –5 ปี  หากเป็นบุคคล ดูStatement ย้อนหลัง 6 เดือน

การลงทุน (Investment)

-         การลงทุนโดยตรง  เช่น การเปิดร้านค้า

-         การลงทุนทางอ้อม เช่น การซื้อหุ้น  การปล่อยดอก

แหล่งเงินทุน

-         ภายในและภายนอกกิจการ

-         ภายใน และภายนอกประเทศ   

ผลตอบแทนจากการลงทุน

-         ในรูปของตัวเงิน

-         ในรูปแบบร้อยละ  ให้อยู่ในเกณฑ์หรือฐานเดียวกัน

การบริหารการเงิน

-         ส่วนบุคคล  แนะนำให้ไปอ่านหนังสือ money recipe การบริหารทางการเงิน เขียนโดย ดร.กุศยา

-         ธุรกิจ/องค์กร

-Corporate Financing

-Project Financing  การบริหารเงินโครงการ  มีต้นทุนค่าเสียโอกาส และ ต้นทุนค่าความคาดหวัง  CSR ได้ผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของบริษัทด้วย

-การศึกษาความเป็นไปได้  ดูความต้องการในตลาดว่าดีหรือไม่

-หลังจากนั้นดูเรื่องการผลิต และดูระบบงานว่าเอื้อต่อการขายหรือไม่

การทำการตัดสินใจ: เครื่องมือ

-จุดคุ้มทุน  ยิ่งต่ำยิ่งดี

-ระยะเวลาในการคืนทุน

- NPV มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ คือ ผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของ

กระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับตลอดอายุโครงการ กับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย

– ถ้าเป็น บวก แสดงว่ามีกำไร

– ถ้า เป็น ลบ แสดงว่าขาดทุน

– ถ้า = 0 แสดงว่าเท่าทุน

-IRR  เป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่จุดเท่าทุน หากนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินทุนแล้ว

– มากกว่า แสดงว่ากำไร

– น้อยกว่า แสดงว่าขาดทุน

– เท่ากัน แสดงว่าเท่าทุน

 

นางจุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

วันที่ 21 มิ.ย. 55

ได้บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะในด้านการบริหารธุรกิจจากอ.ไกรฤทธิ์ และ อ.ณรงศักดิ์ โดยสรุปคือ
การจะทำสิ่งใดต้องมององค์รวมไม่แยกส่วนและต้อ

สร้าง Attitude ว่าทุกคนในองค์กรนั้น Crew ไม่ใช่ Passenger จะได้มีสำนึกผิดชอบช่วยกันทำงานอาจารย์เปรียบเทียบ Business Model เหมือนกับรถที่มี 4 ล้อขับเคลื่อนได้ การตลาด การผลิต การเงินและบุคลากรและด้านหลังรถเป็น Back up ได้แก้ Information และ Infrastructure

ในส่วนของ กคช.ควรคิดโครงการเด่นๆ เพื่อเป็น Show Case เพราะเป็นยุค Creative Thinking ซึ่ง อ. ณรงศักดิ์ได้เพิ่มเติมเรื่องของ Supply Value Chain และพูดถึง กคช.ว่าควรใช้กลยุทธ์ Repositioning และ Rebrand เพื่อ Reborn  ตลอดจนการรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การแข่งขันให้ทันเศรษฐกิจโลก เช่น จาก Economics of Seale เป็น Economics of Speed และจาก Just in time เป็น Real time
นางจุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

22 มิ.ย. 55

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์
อ.สุวรรณ วลัยเสถียร แนะนำการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในหุ้น กองทุนต่างๆ อย่างมืออาชีพ มีเทคนิคและวิเคราะห์สถานการณ์ลงทุนทั้งไทยและเทศ ทั้งนี้การลงทุนมีความเสี่ยง ในภาคบ่าย ดร.สุรพงษ์ได้พูดถึงการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ต้องดู Probability โอกาสที่จะเกิดและผลกระทบที่ได้รับ
นางจุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

22 มิ.ย. 55

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์
อ.สุวรรณ วลัยเสถียร แนะนำการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในหุ้น กองทุนต่างๆ อย่างมืออาชีพ มีเทคนิคและวิเคราะห์สถานการณ์ลงทุนทั้งไทยและเทศ ทั้งนี้การลงทุนมีความเสี่ยง ในภาคบ่าย ดร.สุรพงษ์ได้พูดถึงการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ต้องดู Probability โอกาสที่จะเกิดและผลกระทบที่ได้รับ
วิธีการบริหารนั้นมี 4 ขั้นตอนได้แก่

Indentifying -----> Assessing ------> Addressing -------> Reporting โดยสามารถจัดลำดับความเสี่ยงที่จะนำมาบริหารจัดการ โดยดูจาก

โอกาสที่จะเกิด X ผลกระทบ X ความสามารถในการปรับปรุงความเสี่ยง X กรอบเวลาในการปรับปรุง
นางจุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

วันที่ 28 มิ.ย. 55

วันนี้กูรูด้านบุคลากร และกูรูด้านการตลาดได้นำวิทยายุทธ์ 2 ด้านมาผสมผสาน เพื่อนำลูกศิษย์ 37 คนให้ระดับสมองเพื่อหา Corporate Culture เนื้อหาประกอบด้วย Ritual , Performance , Hero , Problem  Solving  , Cabals, Gossips and Decision โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้องค์กรปลอดจากการแทรกแซงจากผู้ไม่หวังดี
ผลของการระดมความคิด ทุกกลุ่มมีแนวคิดใกล้เคียนกัน น่าจะเป็นเพราะ Perception และประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ของผู้เข้าอบรมที่ได้รับการบ่มเพาะมาจาก กคช.จนเป็นคนเคหะทุกวันนี้นั่นเอง

28 มิ.ย.55

สวัสดีครับท่าน อ.จีระ

วันนี้ได้ฟังท่านอาจารย์และอ.ไกรฤทธิ์ ในหัวข้อวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ ซึ่งท่านอาจารย์ได้พูดให้ฟังถึงเมื่อวานไปพูดที่ ปปช.ทำให้เห็นถึงความสำคัญของ “ทุนทางจริยธรรม” เป็นสิ่งที่สำคัญมากในสังคมปัจจุบัน อาจารย์ได้พูดถึง AEC ที่จะมีผลกระทบกับการเคหะ ในส่วนภูมิภาพที่แนวชายแดนเต็มไปด้วยบ่อน โสเภณี เป็นเรื่องน่าคิดที่เราควรคิดทำ Project การเคหะ ได้เปรียบในเรื่องความมั่นคงของงาน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งภาคเอกชน เช่น ธนาคาร ที่อาจถูกลอยแพพนักงานได้ถ้าผลกำไรตกต่ำลง ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ ถ้ามีแรงบันดาลใจ มีความสุข ฯลฯ ก็สามารที่จะทำอะไรหลายอย่างเป็นเรื่องที่สำคัญ
อ.ไกรฤทธิ์ ได้พูดถึง Corporate culture วัฒนธรรมองค์กร Way of doing thing พฤติกรรมที่เราทำเป็นพวกเดียวกัน เป็น Sate policy มี 7 ประการ คือ

1 . พิธีกรรมภายในองค์กร 2. จุดเน้น กระบวนการ/ผลงาน 3. Hero 4. ทัศนคติในการแก้ปัญหา 5. ก๊วน 6. การสื่อสารภายใน 7. การตัดสินใจ ซึ่งจะให้แต่ละกลุ่มได้ทำงานร่วมกันในภาคบ่าย เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับรุ่น 2 ที่ได้อบรมไปเมื่อวานนี้ บางช่วงท่านอาจารย์จีระ ได้กล่าวเสริม เช่น คำว่า We คือเรา คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ ในองค์กรบางแห่งที่ผ่านมาจะไปให้ความสำคัญกับส่วนอื่น เช่น สินค้าและบริการ แต่ไม่ให้ความสำคัญกับคน คนใฝ่รู้ คือคนยอมรับความล้มเหลวในอดีตและนำความเจ็บปวด ประสบการณ์มาศึกษา เช่น ที่ฮิลลารี คลินตัน พูดว่า Listening well ต้องฟังมากกว่าพูด อ.พิชญ์ภูรี เคยอยู่ที่ Nation ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ องค์กรได้พูดถึงองค์ความรู้ข้ามศาสตร์ เอามาใช้กันได้ ได้ยกตัวอย่าง คุณโชค บุลกุล ฟาร์มโชคชัย เล็งเห็นถึงการพัฒนาคน กคช.ควรมี Pilot Project เช่น สร้างบ้านกรณีน้ำท่วม บ้านผู้สูงอายุ ได้พูดถึงบุคคลสำคัญของการเคหะฯที่ทำงานด้านสื่อสารมวลชนคือคุณชูเกียรติ อุทกพันธ์ เจ้าของอมรินทร์ พรินติ้ง อดีตเคยเป็นพนักงานการเคหะ ที่ทำหนังสือบ้านและสวน ขอให้นึกถึงบุคคลสำคัญที่เป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นต่อๆไป ต่อไปเชื่อว่ารัฐบาลคงมีโจทย์ AECให้ กคช.ท่านอาจารย์ได้พูดถึงทฤษฎี 2 R ของ อ.จีระ คือ 1. Reality และ2 Relevance ให้นำมาปรับใช้เพื่อก้าวสู่สังคมประชาคม อาเซียน และให้เพิ่มจินตนาการในการทำงาน ดังที่ ไอสไตย์ได้กล่าวว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่เราก็ต้องมีความรู้มาก่อนด้วย ขอให้ทำงานให้มีความสุขและภูมิใจในงานที่ทำเพราะงานของเราเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่สำคัญของมนุษย์ วันนี้ได้ฟังการบรรยายและในภาคบ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นผู้นำเสนอแนวความคิดของกลุ่มย่อย รู้สึกได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน เป็นอย่างยิ่งครับ จะได้นำความรู้และแนวคิดที่ได้รับไปพัฒนางานให้เกิดประโยชน์อย่างสูงแก่องค์กรต่อไปครับ

คุณหัสดิน ไกรเพ็ชร์
            14 มิ.ย. 55
วันนี้เป็นวันที่เราเงยหน้าจากกองเอกสารที่เราต้องพิจารณา สั่งการ อนุมัติ ชี้แจงหรือต้องเข้าประชุม เราได้หยุดนิ่ง และมาพิจารณาผู้นำ/ ผู้จัดการ กคช. พิจารณาความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้ทำงานมา 34 ปี วันนี้เราถูกกระตุ้นให้คิดหาวิธีทำงานให้สนุก และเราได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงปัญญา พร้อมค้นหาตัวเอง รู้จักตัวเองมากขึ้น มองดูองค์กรที่เราทำงานมา 34 ปี ว่าจะทำให้ยั่งยืนได้อย่างไร และมองไปที่ผู้นำในอดีต ข้อดีข้อเสรี จุดเด่น เหตุการณ์ทีผ่านมาเป็นบทเรียน เราคิดต่อไป กคช.จะเป็นอย่างไรในอนาคต?

15 มิ.ย. 55
วันนี้เราได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจว่าทำไมจึงมีการนำ และการจัดการเปลี่ยนแปลง เพราะเศรษฐกิจการเมือง การปกครอง สังคม และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผลกระทบและตัวแปลที่สำคัญคือรัฐบาลนั่นเอง ฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้สติปัญญา เป็นเครื่องนำทางในการจัดการต่อการเปลี่ยนแปลง คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ดังนั้นความสำเร็จของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ส่วนมากจะต้องดูตัวเอง พื้นฐานของตัวเอง จึงเปลี่ยนอนาคตให้เป็นอนาคตที่ยั่งยืนได้ตลอดไป

16 มิ.ย. 55
ก่อนวันนี้ ผมมองประชาคมอาเซียนเหมือนภาพมัวๆ หลังจากที่ได้ฟังบรรยายของอาจารย์ ผมจึงรู้จักประชาคมอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะไทยจะบริหารธุรกิจ หรือการจัดการธุรกิจในยุคประชาคมอาเซียนอย่างไร การค้าขายสินค้า การลงทุน การจ้างแรงงาน การจัดเก็บภาษี กฎระเบียบ กฎหมายของแต่ละประเทศ จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ไทยส่งสินค้าไปขายเขาได้ เขาก็ส่งมาขายประเทศไทยได้เช่นกัน สินค้าบางประเภทไทยได้เปรียบ สินค้าบางประเภทไทยเสียเปรียบ องค์กรทางธุรกิจของรัฐบาลเตรียมตัวหรือยัง กคช. คงหนีไม่พ้น ที่จะต้องเตรียมตัวเมือประชาคมอาเซียนเริ่ม พ.ศ. 2558 มีอะไรที่ กคช.ต้องทำให้สำเร็จต่อเนื่อง ยั่งยืนตลอดไป แล้วภาพที่ผมเห็นก็ยังเป็นภาพลางๆอยู่ดี

21 มิ.ย. 55
วันนี้ผมได้เรียนรู้และนึกถึงบรรยากาศเก่าๆ เมื่อ กคช.ประกาศให้จองสิทธิ์บ้านเวลา 8.30 น. คนจะมาตั้งแคมป์ นอนรอตั้งแต่เวลา 03.00 น. ปัจจุบันไม่มีบรรยากาศเหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะ กคช.เป็นอะไร นักสร้างบ้าน นักการตลาด นักบริหารชุมชน สร้างบ้านขาย หรือหาบ้านที่ดีเหมาะสมมาขาย เราต้องถามตัวเราเอง รู้ตัวเราเอง และกำหนดอนาคตตัวเราเอง อย่ามั่วแต่ชื่นชมความสำเร็จในอดีต
เราได้เรียนรู้ ความสำเร็จของผู้อื่น เช่น 37 %  ของรถยนต์ปิคอัพที่ส่งไปขายทั่วโลกผลิตจากประเทศไทย คนพม่าเลียนแบบ ชื่นชม การแต่งกายของวัยรุ่นไทย และนิยมซื้อกางเกง เสื้อผ้า รองเท้าจากประเทศไทยและผมได้รู้อีกว่า มังคุดไทยที่ฝรั่งเศสราคา 80 บาทต่อลูก ที่มาเลเซีย ราคา 50 บาท ต่อลูก คนจีนพูดว่าก่อนตายขอให้ได้กินมังคุดไทย เราฟังดูแล้วภูมิใจมาก นี้คือความสำเร็จของคนไทย เรา กคช. จะมีความสำเร็จแบบนี้บ้างไหม ผมคิดว่า เรา เรา เรา เรา เท่านั้นที่ทำได้
คุณอุดม เปลี่ยนรังสี

การอบรมวันที่ 22 มิถุนายน 2555

           ติดภารกิจสำคัญเสียดายมากที่ไม่ได้เข้าฟัง เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณ และความเสี่ยงทางธุรกิจ แต่จากการสอบถามและอ่านเอกสารการบรรยาย พบว่ามีประโยชน์ต่อมุมมองทางด้านการเงินและการบริหารงบประมาณเป็นอย่างมาก
บทบาทสำคัญของผู้บริหารคือการกำกับดูแลกิจการที่ดี Corporate Governance ดังนั้นการบริหารการเงิน การบริหารความเสี่ยง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตระหนักและให้ความสนใจมากขึ้น

การอบรมวันที่ 28 มิถุนายน 2555

            อ.จีระ กับ อ.ไกรฤทธิ์ ได้เปิดประเด็นท้าทายไว้ในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร แนวคิดของรุ่น 1 จะเหมือนกับรุ่น 2 หรือไม่ ถ้าเหมือนกันแสดงว่า วัฒนธรรมองค์กรของ กคช.แข็งแรง เป็นภาพที่ทุกคนเห็นเหมือนกัน ทำ Workshop กันเสร็จแล้ว 4 กลุ่ม ก็ไม่เหมือนกันเสียเลยทีเดียว แต่ยังคงเป็นภาพรวมในทิศทางเดียวกัน
ผมชอบหลักสูตรที่ อ.ไกรฤทธิ์นำเสนอ
We + Manage + Organization = RESULT ได้ข้อสรุปว่าถึงจะเพิ่มขีดความสามารถของ Manage หรือปหรับเปลี่ยน Organization อย่างไร ก็ไม่ทำให้ผลงาน (Result)  เพิ่มตัวสำคัญอยู่ที่ WE ซึ่งประกอบไปด้วย HRM , HRD , KM , Skill , Attitude ถ้าตัว WE มีการปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น จะมีนัยสำคัญให้ Result ดีขึ้นอย่างมาก
สำหรับความคิดสร้างสรรค์ของ อ.พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ ทำให้ปิ๊งขึ้นมาในเรื่อง CSR ขององค์กร หากจะ Re- Brand องค์กรโดยใช้ CSR เป็นเครื่องมือ น่าจะลองใช้ Concept ว่า Green Home น่าจะครอบคลุม ECO –Village และชุมชมเข้มแข็ง ชุมชนสีเขียว ชุมชนสีขาวและใช้ Concept นี้เป็นเครื่องมือในพัฒนาทิศทางขององค์กรให้เกิดความยั่งยืนได้ต่อไป

วันที่ 28 มิถุนายน 2555

วันนี้ ท่านศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ และคุณพิชญภูรี พึ่งสำราญ มาวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช.ให้พวกเราได้เกิดมุมมององค์กรว่าทิศทางจะเป็นไปอย่างไร โดยเน้นเรื่องวัฒนธรรมประจำองค์กรให้พวกเราได้พิจารณาใน 7 ประเด็น คือ
1.พิธีกรรมภายในองค์กร
2.จุดเน้นระหว่างกระบวนการ และผลงาน
3.Hero ในองค์กร
4.ทัศนคติในการแก้ปัญหา
5.ก๊วนที่พึ่งพาได้
6.การสื่อสารภายใน ที่ไม่เป็นทางการ ในภาวะฉุกเฉิน ภายใน 24 ชั่วโมง
7.การตัดสินใจเรื่องสำคัญ  - Top down กี่ %
               - Bottom up กี่ %
               - ปรึกษาหารือกัน กี่ %

คุณพิชญภูรี พึ่งสำราญ ให้แนวทางในการเตรียมพร้อมก้าวสู่ AEC ว่าเราต้องเพิ่มอะไรบ้าง
  • ภาษา เช่น อังกฤษ ลาว พม่า
  • IT
  • วัฒนธรรมกับสังคม
  • ภูมิศาสตร์ (พื้นที่)
  • เศรษฐกิจการเมือง และความมั่นคง
  • เพิ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ทำงานอย่างมีความสุข
  • ความมั่นคงขององค์กร
  • CSR ความสุขของคนเคหะฯ ที่ได้สร้างบ้านให้คน
  • จินตนาการ (ต้องมีความรู้จะทำให้เกิดจินตนาการ)
  • ติดตามข่าวสาร
  • คุณธรรมกับจริยธรรม
บทบาทของ กคช. ด้านที่อยู่อาศํย ควรทำในสิ่งที่ภาคเอกชนทำไม่ เนื่องจาก กคช. มีศักยภาพมากกว่าการเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ สิ่งที่เราควรทำคือ
1 เปิดประตูสู่ประชาคมอาเซ๊ยน AEC เนื่องจากจะมีคนต่างชาติ หลังไหลเข้ามาในปี 2558 จำนวนมาก เพราะเศรษฐกิจของไทยดีและแข็งแรง และยังมีความต้องการแรงงาน Skill อีกมาก
2. จัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย เป็นประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศ โดยให้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย และมีองค์ประกอบชุมชนครบถ้วนโดยเฉพาะด้านสุขภาพ และการดูแลรักษาความเจ็บป่วย
3.  ควรจัดทำ Mobile Home เนื่องจากทุกวันนี้ มีภัยธรรมชาติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ ตลอดจนภาวะโลกร้อน
ทั้งนี้เพื่อให้บทบาทของ กคช.เป็นผู้นำด้านที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
สมชาย เทวะเศกสรรค์

ความเสี่ยง (Risk) ความไม่แน่นอนที่จะให้เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์กรเปลี่ยนไป ความเสี่ยงเกิดจาก • ความเสี่ยงจากภัยเทคโนโลยีและภัยทางสังคม • ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ • ความเสี่ยงจากนโยบายและการดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยงช่วยทำให้องค์กรบรรลุเป้าประสงค์และพันธกิจที่ตั้งไว้และเป็นการพัฒนาผลงาน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทความเสี่ยง • ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk) • ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operation Risk) • ความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Risk) • ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง การจัดการกับความเสี่ยง คือ • ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง • ลดผลกระทบความเสี่ยง • แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง การจัดการกับความเสี่ยงโดยใช้ 5Ts of risk Management • การยอมรับความเสี่ยง ด้านทุนการจัดการคุ้มกับผลประโยชน์ • การจัดการควบคุมความเสี่ยง ควบคุมโอกาสและผลกระทบให้อยู่ในระดับรับได้ • การแบ่ง ความเสี่ยง Transfer การประกันภัย • การยกเลิกสิ้นสุดกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ยกเลิกโครงการหรือเป้าหมาย • การฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงอาจนำมาซึ่งโอกาส การปรับกระบวนทัศน์ด้านการบริหารความเสี่ยง - ต้องมีการบูรณาการ - ต้องทำอย่างต่อเนื่อง - เน้นในมุมกว้าง - เน้นการบรรลุยุทธศาสตร์

การบริหารกลยุทธ์องค์กร

โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล  รองผู้อำนวยการ สวทช.

คุณรุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง  บริษัทซื่อตรงกรุ๊ป จำกัด

คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล  หากต้องการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ต้องทำอย่างไร

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล  หากพูดถึงกลยุทธ์ หรือการนำไปสู่ความเป็นเลิศ ต้องมองในเรื่อง ดังต่อไปนี้

  1.     ระบบการนำ(Leadership system)    วิสัยทัศน์ และพันธกิจเป็นอย่างไร ผู้นำที่มองการบริหารในอนาคตได้ จะมีความสามารถในการปรับองค์กรได้
  2.    กลยุทธ์    สร้างกลยุทธ์ได้อย่างไร  มีprocess ที่สร้างกลยุทธ์ อย่างไร ดูความต้องการของลูกค้า

-        ดูว่าการเคหะ มีความสามารถอะไรในเรื่อง Core Competency ต้องพัฒนาสิ่งที่เป็นจุดแข็งขององค์กร

-        ต้องดูว่าใคร คือ Key competitor

หากมีการนำ มีกลยุทธ์ที่ดี  เราจะมีการถ่ายทอดให้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร

การทำทั้งสองอย่างทำเพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า นั่นเอง

 

-        สิ่งที่ต่างกันระหว่างเอกชน และรัฐวิสาหกิจ คือ เอกชนมองว่า เอกชนตัดสินใจเร็วกว่า และ Cut lost เร็วกว่ารัฐวิสาหกิจ

-        ขบวนการ  คือ  Process ต่างๆการทำงาน ที่เอื้อหรือขัดขวางต่อการบรรลุวิสัยทัศน์

-        การเอาข้อมูลที่มีในองค์กร หรือ DATA ได้ถูกทำเป็นสารสนเทศได้มากน้อยเพียงใด

-        ผลประกอบการที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินเป็นอย่างไร  ได้ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามประเภทข้อมูลอย่างเหมาะสมหรือไม่

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้นำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งหรือไม่

สิ่งสำคัญที่จะมุ่งให้องค์กรมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ ต้องดูว่าจุดแข็งขององค์กรคืออะไร และต้องดูองค์ประกอบข้างต้นร่วมกันด้วย

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล  ในฐานะที่คุณรุ่งโรจน์ ลิ้มทองแท่ง 

 มีประสบการณ์ในด้านอสังหาริมทรัพย์ ท่านมีมุมมองด้านอสังหาริมทรัพย์อย่างไร

คุณรุ่งโรจน์ ลิ้มทองแท่ง  เป็นรุ่นที่ 2 ของม.ซื่อตรง การทำธุรกิจขึ้นอยู่กับโอกาสทางด้านการลงทุน ปี 2526-2528 ได้รับโอกาสจากสหธนาคารในการซื้อที่ดิน 300 ไร่  และช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีความต้องการทางด้านที่อยู่อาศัยค่อนข้างมาก ซึ่งบ้านขายหมดภายใน 2 วัน   ช่วงก่อนวิกฤติธนาคารจะปล่อยเงินกู้ง่าย

ปี 36-37 เริ่มเป็นตลาด MASS มีบ้านที่มีแบบคล้ายกัน ด้วยแนวคิด ขายให้ได้มากที่สุด และเร็วที่สุด

ปี 40 ช่วงวิกฤติ  ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น 4  เท่า  ผลคือถูกธนาคารยึด 200 ไร่

หลังปี 40  สหธนาคารเริ่มประนอมหนี้  เป็นช่วงการใช้หนี้ ทำอย่างไรที่จะทำให้ที่ดินที่อยู่ในมือขายได้และนำไปใช้หนี้ธนาคารได้

ปี 44-45 รัฐมีนโยบายเรื่องการโอนบ้าน มีการเคลียร์ได้ 4 โครงการ

ปี47-48  มุมมองในการลงทุนต่างไปจากเมื่อก่อน  ธนาคารเริ่มเซฟตัวเองมากขึ้น  มุมมองของธนาคารมองว่า มีโครงการอื่นๆเพื่อนำไปชำระหนี้เดิมได้หรือเปล่า โอกาสที่กู้เงินจากธนาคารเริ่มยากขึ้น เน้นธุรกิจที่กระชับ และขายได้เร็วขึ้น

คำถาม ม.ซื่อตรง ใช้กลยุทธ์อะไรในการขายบ้านภายใน 2 วัน

คุณรุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง:  ไม่ได้ใช้กลยุทธ์อะไรเป็นพิเศษ แต่พ่อของคุณรุ่งโรจน์ ลิ้มทองแท่ง  ได้รับโอกาสจากสหธนาคารในการกู้เงิน และสมัยนั้นมีความต้องการของคนที่จะซื้อมาก

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล  ในฐานะที่คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์  เป็นผู้ให้คำปรึกษาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรมีความสำเร็จ

คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์  หัวใจสำคัญที่สุดที่ทำให้การบริการองค์กรประสบความสำเร็จ คือ

  1. การวางตำแหน่งยืนของตัวเอง (Positioning)  ต้องเลือกยืนในตำแหน่งที่ดี และเหมาะสม ซึ่งมีผลต่อการได้เปรียบ เช่น  การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ต้องถามตัวเองว่า คุณจะเลือกกลยุทธ์ไหน

-        เป็นนักล่าของถูก (The Bargain Hunter)   ต้องขายเร็ว

-        นักสร้างค่าอสังหาริมทรัพย์ (The Value Enhancer)  มีกลยุทธ์ในการเลือกอสังหาริมทรัพย์แบบเก่าๆ แล้วปรับแต่งให้สวยงาม การเคหะต้องมีจุดยืนที่แน่ชัด

-        นักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาปล่อยเช่า (The Rental Property Investor)

การเคหะต้องมีจุดยืนที่แน่ชัด และเป็นประโยชน์กับตัวเอง

     2. วางแผนให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่วางไว้(Planning)    เพราะฉะนั้นต้องมีการวางแผนที่ดี โดยการวิเคราะห์ SWOT

-        ดูว่าจุดแข็งของการเคหะคืออะไร

-        จุดด้อย  ต้องมีการจัดการกับเรื่องของการเมืองให้ดี เพราะการเคหะใกล้ชิดกับเรื่องการเมืองมาก

-        การวางแผน ต้องมีการมองภาพตั้งแต่ต้นจนจบ  

-        ต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ที่โดนชี้นิ้ว เป็นผู้ชี้นิ้วบอกทางให้นักการเมือง และต่อรองให้การเมืองเข้ามาช่วย ในเรื่องของ Location  ใช้การเมืองดึงสถาบันการเงินของภาครัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธอส ธกส เข้ามาช่วยบทบาทสนับสนุนให้คนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยให้ได้

-        บ้านที่อยู่อาศัยของการเคหะ ไม่ควรจะไปแข่งขันกับภาคเอกชน แต่ควรจะใช้จุดเด่นของการเคหะในการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อความสำเร็จ

-        การพัฒนาทำเล ต้องมีการคิดต่าง หัวใจของความสำเร็จนอกจากทำเลที่ดีแล้วต้องเป็นทำเลที่มีอนาคตที่ดีด้วย คือ เคล็ดลับความสำเร็จในการเลือกทำเลของทรัมป์

ยอมจ่ายแพง เพื่อให้ได้ทำเลชั้นเลิศ(Be willing to pay premium for a prime location.) เนื่องจากทำเลอสังหาริมทรัพย์ชั้นเลิศ จะเป็นทำเลที่มีคนจำนวนมากต้องการเป็นเจ้าของ จะเป็นทำเลที่คนยอมจ่ายเงินแพงๆ เพื่อเช่าหรือซื้อ ทรัมป์ เชื่อว่า ทำเลที่ขายตามราคาเฉลี่ยของตลาดในย่านนั้น มักเป็นทำเลที่ไม่มีจุดเด่น หรือจุดน่าสนใจใดๆ เป็นทำเลที่ไม่ค่อยมีค่า เท่าไหร่นัก ดังนั้นอาจฉลาดกว่า ถ้าจะยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 50% ถึง 100% เพื่อแลกกับการได้อสังหาริมทรัพย์ดีๆ

 จะไม่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ใดๆ อย่างเด็ดขาด หากไม่เห็นช่องทางเพิ่มค่าได้อย่างมีนัยสำคัญ(Don’t buy without a creative vision for adding significant value.) ทั้งนี้กุญแจความสำเร็จอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ทรัมป์ประสบความสำเร็จได้ในทุกวันนี้ ก็คือ การปรับปรุงทำเล โดยอาศัยความคิดสร้างสรรและวิสัยทัศน์ เข้ามาช่วยเพื่อปรับเปลี่ยนทำเลให้สามารถใช้ประโยชน์ให้ได้สูงขึ้นและดีขึ้น

ทรัมป์จะเลือกทำเลโดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ 4 อย่าง(Four things Trump looks for in a location.) ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ต้องมีคุณลักษณะครบทั้ง 4 อย่างตามที่กำหนด

1)    วิว ทิวทัศน์ ต้องดีเลิศ (Great Views) ทรัมป์ถือว่าส่วนนี้คือจุดขายที่สำคัญที่สุดของทำเล หากทำเลใด ไม่มีวิว ทิวทัศน์ที่ดี เขาจะไม่ซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ อย่างเด็ดขาด เขาเชื่อว่า  วิว ทิวทัศน์ที่ดี จะช่วยทำให้ทำเลมีความแตกต่าง และดูดีขึ้น ทำให้อสังหาริมทรัพย์มีค่าขึ้นได้

2)    เลือกเฉพาะทำเลมีชื่อเสียง หรูหรา และเป็นที่นิยม(Prestige) ทั้งนี้ทำเลนั้นต้องเป็นที่ต้องการและชื่นชอบของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีสตางค์

3)    ศักยภาพของความเจริญ(Growth Potential) ทำเลที่ทรัมป์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ก็คืออสังหาริมทรัพย์ราคาถูกในทำเลที่กำลังมีความเจริญขึ้นในอนาคตอันใกล้

4)    ความสะดวกสบาย(Convenience)  ความสะดวกสบายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทรัมป์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ เมื่อเลือกทำเล เพราะถือว่าสิ่งนี้ จะเป็นแม่เหล็กสำคัญที่ช่วยดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาหาอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนได้

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล  ในฐานะที่เป็นหน่วยงานเอกชน ภาพที่ท่านมองการเคหะเป็นอย่างไร และจุดไหนที่ดี หรือด้อยกว่าการเคหะ

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล  ต้องดูว่าResource ของการเคหะ และเอกชน ต่างกันอย่างไร

ต้องดูว่าการเคหะมี Prime area มากน้อยเพียงใด

การเคหะต้องมีการสร้าง Value Network

ที่อยู่อาศัย การสร้างเมือง และการสร้างที่อยู่อาศัย

การเคหะต้องมองในเรื่องของ AEC ในแง่ของประชากรศาสตร์ ว่าประเทศไหนจะไหลเข้าประเทศไทยมาก

การเคหะต้องมีการจัดการเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ทั้งตลาดในประเทศ และในตลาดอาเซียน

ระบบอินเตอร์เนต  ต้องทำให้เกิดการเชื่อมโยงสังคมเข้าด้วยกัน

วิกฤติจากภัยธรรมชาติ

คุณรุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง : ที่ดินใกล้กับม.เกษตร ข้อจำกัดทางด้านภาคเอกชน ทำคอนโดค่อนข้างยาก แต่ภาครัฐ หรือการเคหะไม่มีข้อจำกัด และมีโอกาสในการสร้างมูลค่าได้มากกว่านี้

ภาคเอกชนจะมองเรื่องดอกเบี้ยเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นภาครัฐจะมีมุมมองกว้างกว่านี้

โครงการแต่ละโครงการจะจบช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับทำเล ว่าสามารถทำตึกแถว หรือบ้านได้หรือไม่ ถ้าทำได้ ก็จะรีบทำทันที

คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์  มองภาพการเคหะในปี 25 ดีมาก เป็นผู้นำในด้านความรู้ที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน มองการเคหะว่าเป็นผู้ที่ยังพัฒนานั้น  อาจเป็นเพราะการเคหะ ยืนตำแหน่งที่ผิด ไม่ควรแข่งกับภาคเอกชน การเคหะควรมีนวัตกรรมที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ที่มีค่าใช้จ่ายไม่มาก และเป็นผู้นำอยู่ตลอด  เช่น ควรคิดเรื่องบ้านพักคนชรา, Nursing home ,mobile home  ควรวางเป็นนโยบายเร่งด่วนของนักการเมืองให้ได้

คำถาม ภาคเอกชนมีการเตรียมตัวเรื่อง Housing กับ AEC อย่างไร

คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์  ต้นทุนค่าแรงของประเทศไทยค่อนข้างแพง  เพราะฉะนั้น มีการลงทุนในประเทศพม่าสูงมาก เนื่องจากค่าแรงถูกกว่าบ้านเรามาก

คำถาม  นวัตกรรมเรื่องที่อยู่อาศัยในประเทศไทยควรทำอย่างไร

คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์  การนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆในประเทศไทย เป็นสิ่งที่ควรจะทำ ทั้งเรื่องของความสะดวก และมีราคาไม่แพง และสามารถสร้างเป็นแม่แบบด้วย ระบบที่เป็นไปได้ทั้งเรื่องของบ้านพักคนชรา, Nursing home ,mobile home  จะมีอิทธิพลกับคนทั่วโลก สำหรับต่างประเทศ Nursing home จะมีการบริจาค และสามารถโอนสิทธิ์ให้กันได้  สิ่งที่เอกชนไม่สามารถแข่งกับการเคหะได้ คือการสร้างเมือง และควรมีนวัตกรรมใหม่ๆในการมีศูนย์ข้อมูลให้กับองค์กรต่างๆได้

คุณรุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง : นวัตกรรมเรื่องบ้าน เช่น SCG  Heim ที่ใช้นวัตกรรมการสร้างบ้านระบบโมดูลาร์จากประเทศญี่ปุ่น แต่ราคาสูงมาก 58,000 บาท  ต่อ ตรม.

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล  ประเด็นเรื่องภัยพิบัติ การเคหะจะต้องมีการท้าทายในการับมือกับภัยธรรมชาติอย่างไร

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล มองเป็น 2 ส่วน

  1.      ตัวการเคหะเอง มีการพิจารณาเรื่องภัยพิบัติอย่างไร และจะมีการเดินธุรกิจได้อย่างไร ลูกค้าคือกลุ่มไหน และมีความสามารถในการจ่ายในเรื่องเทคโนโลยีต่างๆได้หรือไม่
  2.     ชุมชนมีการสร้างระบบช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่

ภัยพิบัติ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่เป็นเรื่องที่ควรที่จะเรียนรู้เพื่ออยู่กับภัยพิบัติ   เรียนรู้ที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลงให้ได้

คุณรุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง  ยังไม่มีหน่วยงานไหนบอกว่า บ้านจัดสรรที่น้ำท่วมต้องทำอย่างไรต่อไป การแก้ปัญหาของโครงการบ้านจัดสรรที่บางบัวทอง คือ การถมดิน 1 เมตรครึ่ง  แต่พื้นที่นอกบริเวณโครงการยังไม่มีการจัดการอะไรเลย  ซึ่งคิดว่าต้องมีการกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ในการออกมาตรการการป้องกันน้ำท่วมโดยเร็ว

คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์  จากวิกฤติน้ำท่วมและแผ่นดินไหวต้นปี  มองว่าเป็นจุดที่การเคหะควรรับบทบาทในการรับเป็นเจ้าภาพในการดูแลเรื่องทั้งที่อยู่อาศัย เรื่องแบบบ้าน เรื่องวัสดุการก่อสร้าง

 

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

วันที่ 6 (28 มิ.ย. 55)

     อ.ไกรฤทธิ์ ท่านได้เน้นถึง We ซึ่งเป็น Capital ขององค์กร ต้องมีการเรียนรู้จนเกิดเป็น Knowledge และนำไปปฏิบัติให้เป็น Skill รวมทั้งต้องมี Attitude ที่จะใฝ่รู้ ซึ่งทั้ง 3 คุณลักษณะนี้จะทำให้เกิด New result พาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ในส่วนของการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะในการทำ Workshop เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของเคหะ โดยสรุปใน 7 หัวข้อพบว่า จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ 1.ด้านพิธีกรรม ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับวันสถาปนาการเคหะ 2.การทำงานที่เน้น Process และผลงาน 3.Hero ของคนในการเคหะเน้นในด้าน คุณธรรม ซื่อตรง มั่นคง 4.ทัศนคติในการแก้ปัญหา เปลี่ยนจาก Who What เป็น What Who 5.ก๊วนที่พึ่งพาได้ให้มีการเพิ่ม list รายชื่อบุคคลที่มี Potential ต่างๆที่คนในการเคหะสามารถพึ่งพาได้ 6.วิธีการสื่อสารที่ใช้มากที่สุดและเร็วที่สุดคือการส่ง SMS 7.ในด้านการตัดสินใจซึ่งมี 3 ระดับ จะมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้าง อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมขององค์กรจะแสดงถึงพฤติกรรมของคนในองค์กรว่าจะนำพาองค์กรไปในทิศทางใด ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีควรจะร่วมสมัยและมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับนวัตกรรมใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  >>ณงก์เยาธ์   เพียรทรัพย์<<

              การเรียนในวันที่ 6 (28 มิ.ย.55) วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ                การเคหะฯ โดยท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ  อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ สิ่งที่ได้รับวันนี้เป็นประโยชน์กับการเคหะฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์  ท่านให้พวกเราสำรวจ (Check Stock)  Coorperate   Culture   วัฒนธรรมประจำองค์กร ซึ่งเป็น Soff Site ไม่ใช่ Hard Site  มีส่วนในการดำเนินงานต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก คนซีกโลกตะวันออก จะแตกต่างจากซีกโลกตะวันตก

ซึ่งประกอบด้วย 7 อย่างคือ

                1. พิธีกรรม    กิจกรรมที่คนการเคหะฯ รอคอยคือกิจกรรมอะไร

                2. จุดเน้น     โดยดูจากการกระบวนการ คือ Out Put หรือผลงาน คือ Out Come /Impact มากน้อยเท่าไร

                3. Hero        ใครในการเคหะฯ ที่เป็น Hero หรือมี Spec อย่างไร

                4. ทัศนคติ     ในการแก้ปัญหา การเคหะฯ พิจารณาจาก  What is wrong   หรือ  Who is wrong

                5. ก๊วนที่เพิ่งได้    ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน

                6. การสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ  อะไรเร็วที่สุด ในเวลาเกิดเหตุ

                7. การตัดสินใจ  ใช้ Top Down , Bottom Up หรือ Consensous สัดส่วนเป็นอย่างไร

                สิ่งที่น่าสนใจทั้ง รุ่นที่ 1 , รุ่นที่ 2 (น้อง ๆ ) Coorperate   Culture  ส่วนใหญ่จะตรงกันแต่น้อง ๆ จะมีความรู้สึก เซ็ง เหนื่อย และท้อบ้าง พวกเราต้องให้กำลังใจ  และให้เขาทำต่อไป You do it again  และต้องบอกน้อง ๆ ว่า You have to live without me และเขาต้องพร้อมส่งให้รุ่นน้อง ๆ ต่อไปด้วย

                ท่านอาจารย์จีระ ท่านได้ให้ข้อคิดจากประสบการณ์ของท่านโดยให้ใช้ Emotional Intelligent ให้พอดีกับวัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนจาก Aggressiveness มาเป็น Politeness และท่านเน้นทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 k’s และ 5 k’s new มาใช้ในการพัฒนาคน ซึ่งจะได้ทั้งจริยธรรม ปัญญา ความยั่งยืน และความสุข

                การพัฒนาคน ท่านให้ความสำคัญโดยมี

                4 Step    - Where Are We ?

                - Where do we want to go ?

                - How to do it ?

                - How to do it successfully ?

“ความเก่งอย่างเดียวไม่พอแต่สำคัญเราจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร ซึ่งต้องได้ทั้ง          Out Come / Impact”

                ท่านอาจารย์พิชญ์ภูรี ท่านให้ความสำคัญในเรื่องคน ไม่ว่าจะอยู่ในศาสตร์สาขาวิชาชีพอะไร ต้องข้ามศาสตร์มาให้ความสำคัญกับเรื่องคน จะนำธุรกิจหรือองค์กรก้าวผ่านความสำเร็จได้

                สิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับจากท่านอาจารย์ทั้ง 3 ในวันนี้ เป็นประโยชน์กับพวกเราเป็นอย่างมาก ทำให้เราได้สำรวจตัวเราเอง มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำและสิ่งที่เราจะทำในอนาคตของเก่าที่ไม่ดีต้องแก้ไข ของเก่าที่ดีก็ต้องพัฒนาต่อไปและรับสิ่งใหม่ ๆ ให้การเคหะฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Society เพื่อให้การเคหะฯ มีภูมิคุ้มกันเป็นอย่างดี ทำให้พวกเราเดินพร้อมกันอย่างยั่งยืน

วันที่ 2 15 มิถุนายน 2555

หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง และ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

        สิ่งที่ได้จากการบรรยายในวันนี้โดย ผศ.ปัณรส และ ศจ.ดร.จีระ   เปรียบได้อย่างธรรมชาติทุกอย่าง   ย่อมไม่คงที่  เมื่อมีสิ่งกระทบ ที่ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปด้วย  นโยบาย  เศรษฐกิจ  วัฒนธรรม สังคม  สิ่งแวดล้อม

ระบบสื่อสาร คู่แข่ง ลูกค้า ล้วนส่งผลให้องค์กรต้องปรับตัว การบริหารจัดการต้องปรับเปลี่ยน ให้รู้ว่าทำอย่างไรจึงจะให้องค์กรรับมือกับสิ่งเกิดขึ้น ผู้บริหารจะต้องมีมุมมองอย่างเข้าใจ ต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยดูจากข้อจำกัด และความต้องการ อะไรที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้อง ใกล้ตัวที่สุดคือคน ซึ่งจะบริหารจัดการที่ง่ายที่สุด โดยเฉพาะต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่จะต้อง หยุด – ดู – วิเคราะห์ - ปรับกลยุทธ์ ให้เหมาะสม เพื่อให้องค์กรดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงักงัน และก้าวหน้าอย่างมั่นคง

    สุรสิทธิ์  ตรีเพชร

วันที่ 3 16 มิถุนายน 2555 หัวข้อ การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN

    การเข้ารับการอบรม วันที่ 3   สอดคล้องกับที่องค์กร จะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง รองรับการบริหารธุรกิจไทยในยุค  ASEAN ECONOMIC  COMMUNITY  หรือที่เรียกโดยย่อว่า   AEC   โดยผศ. ดร.อัทธ์ ,อ.อรุณี, ศจ.ดร.จีระ  และ

อ.ฉัตรชัย ความว่า ในปี 2558 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ทั้งด้านการลงทุน ภาษา ภาษี มีการเคลื่อนย้ายการลงทุน ในระหว่าง 10 ประเทศ ย่อมส่งผลถึงธุรกิจการดำเนินงานของ กคช. ที่จะต้องปรับตัวให้ทัน และถือเป็นโอกาสที่จะขยายช่องทางการประกอบธุรกิจ ใครมีข้อมูลมากกว่า วิเคราะห์ปัญหา ตอบโจทย์ และปรับเปลี่ยนได้เร็ว ก็จะนำพาองค์กรเข้าแข่งขันกับตลาดการค้าโลกเสรีอย่างทันการณ์

        สุรสิทธิ์  ตรีเพชร

วันที่ 4 21 มิถุนายน 2555
หัวข้อ บทเรียนการพัฒนาการเคหะฯ

        โดย  อ.ไกรฤทธิ์, อ.ณรงค์ศักดิ์ และ  ผศ.ดร. จีระ  สรุปได้ว่า  ผู้บริหารต้องเปลี่ยนจาก  ผู้จัดการ 

(Manager) เป็นผู้นำ (Leader) อ.ไกรฤทธิ์ เปรียบเทียบการบริหารองค์กร เหมือนการบังคับรถ SUV 5 ล้อ 2 ล้อหน้าคือตลาด และการผลิต 2 ล้อหลัง คือ การเงิน และบุคคล โดยล้อที่ 5 เสมือนส่วน Back up ซึ่งจะต้องบูรณาการทั้ง 5 ล้อ ให้สัมพันธ์กัน จึงสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างที่ต้องการ การเคหะฯจะต้องค้นหาแบรนด์ให้ได้เป็นเอกลักษณ์ อย่างซื้อบ้านได้บ้าน ก็เป็นทัศนะหนึ่ง ควรแสดงผลงานตัวอย่างที่ชัดเจน ( Show case ) ให้ผู้ซื้อสามารถสัมผัสได้เหมือนจริง ถือความได้เปรียบ การเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีศักยภาพในหลายๆด้าน ทำได้จริง มีความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่สำคัญที่คิดว่าเป็นปัญหา โดยดึงเข้าเป็นพวก ร่วมกันทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น สำนักงานทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น เน้นจัดวันพิเศษ นำอดีต ผอ.ขึ้นไป มาแลกเปลี่ยนความเห็น สร้างวัฒนธรรรมกล้ารับความจริงถ้าเคยผิดพลาด จัดองค์ความรู้ เล่าสู่กันฟัง

            สุรสิทธิ์  ตรีเพชร
ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

วันที่ 7 (29 มิ.ย. 55) >>♠♫ช่วงบ่าย♫♠<<

       อ.ณรงค์ อ.รุ่งโรจน์ และอ.อนุชา ได้ให้ความรู้ในเรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร ซึ่งหัวใจสำคัญที่จะทำให้การบริหารกลยุทธ์องค์กรประสบผลสำเร็จ คือ ต้องรู้ Positioning ตำแหน่งยืนขององค์กร ต้องรู้ว่าบทบาทหลักหรือ Core Competency ของการเคหะเป็นอย่างไรและต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับ Positioning ที่วางไว้ นำจุดแข็งที่มี เช่น ประสบการณ์ ความเป็นหน่วยงานของรัฐ มาวางแผนกลยุทธ์ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศให้ได้
       สำหรับมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อการเคหะในอดีตจะเป็นผู้นำด้านที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบันเป็น Developer แข่งขันกับภาคเอกชน ซึ่งการเคหะควรนำจุดแข็งที่มีมาปรับเปลี่ยนบทบาทดังนี้ 1.เป็นผู้นำนวัตกรรมของการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ๆ เช่น การสร้างบ้านพักคนชราที่มี Facility ต่างๆ การสร้าง Nursing Home 2.การสร้างและพัฒนาเมือง 3.การสร้าง Mobie Home เพื่อเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม วาตภัย ที่จะมากระทบต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย 4.การเป็น Regulator และเป็นศูนย์กลางด้านอสังหาริมทรัพย์ร่วมประสานงานทางวิชาการกับภาคเอกชน ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้ภาพพจน์การเป็นผู้นำด้านที่อยู่อาศัยของการเคหะกลับคืนมา   >>ณงก์เยาธ์  เพียรทรัพย์<<
สุกัญญา แย้มเกศร์หอม

วันที่ 28 มิถุนายน 2555

วันนี้อาจารย์ไกรฤทธิ์และอาจารย์จีระฯ สร้างแรงกระตุ้นต่อมพวกเราให้ค้นหาตัวตนที่เราเป็น และกลายพันธ์จนเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่ดี และที่ไม่ดีที่ไม่น่าเก็บรักษา 

การเคหะฯอายุ 39 ปี 4 เดือน เป็นคนวัยกลางคน  แต่เรากำลังจะต้องเปลี่ยนแปลง มีผู้บริหารรุ่นใหม่ที่กำลังจะเข้ามาทำงานแทนที่   พวกเราโชคดีที่มีโอกาสทำงานกับคนรุ่นบุกเบิก คนที่มีความรู้ คนที่มีประสบการณ์และที่สำคัญท่านมีบารมีทั้งทางสังคมและยอมรับจากองค์กรภายนอก  แต่มารุ่นเราดูเหมือนจะหาแม่พิมพ์ พ่อพิมพ์ไม่พบ  ซึ่งต้องพยายามผ่านการสร้างความรักในการเรียนรู้ การสอนงานอย่างต่อเนื่อง เพราะน้องๆยังขาดประสบการณ์ เนื่องจากเวลาการทำงานยังน้อย และรูปแบบการทำงาน ขั้นตอนการทำงานของเรายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากนัก   

 

สุกัญญา แย้มเกศร์หอม

วันที่ 29 มิถุนายน 2555

ขอบคุณอาจารย์ณรงค์  อาจารย์รุ่งโรจน์ อาจารย์อนุชา และอาจารย์กิตติ ที่ให้เวลา ให้ความรู้ ประการณ์กับพวกเรา

ทุกความคิดเห็นสะท้อนภาพ ตัวตนของเราที่บุคคลภายนอกคิดกับเรา  อยากให้เราทำ อยากให้เราเป็น อยากให้เราเดินต่อไปอย่างยิ่งใหญ่ เป็นองค์กรระดับ NATIONAL

ความคิดเห็นและข้อแนะนำยิ่งใหญ่  เห็นได้จริงว่าสามารถทำได้

ขอเพียง กคช. ต้องรักกันและรักองค์กรเป็นหนึ่งเดียว

นายถวัลย์ สุนทรวินิต

สิ่งที่ได้เรียนรู้วันนี้ ( ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๕ )   โดย นายถวัลย์  สุนทรวินิต

๑.     การจำแนกตลาดการเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งตลาดการเงินในระบบ  และตลาดการเงินนอกระบบ  ตลาดทุนชนิดตลาดแรก และ ตลาดรอง 

๒.   หลักการทางบัญชีขั้นพื้นฐาน เพื่อสามารถดู และเข้าใจรายงานทางการเงิน ซึ่งได้แก่  งบแสดงฐานะทางการเงิน(งบดุลเดิม)  งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ(งบกำไรขาดทุนเดิม)  และ งบแสดงกระแสเงินสด

๓.    ได้รับหลักคิดเพื่อวิเคราะห์การลงทุน  ผลตอบแทนการลงทุน   ตลอดจนเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจทางการลงทุน

๔.    การตัดสินใจลงทุนของภาครัฐกับเอกชนแตกต่างกัน เนื่องจากมีเป้าหมายต่างกัน   ในภาครัฐมองด้านการให้บริการ  แต่เอกชนเน้นการสร้างกำไร

๕.    สำหรับภาครัฐ การตัดสินใจลงทุนควรเน้นความสามารถในการให้บริการด้านที่ตนถนัด/ชำนาญ  โดยปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับสถานการณ์  และมองไปในอนาคตชนิดเผื่อเหลือเผื่อขาดอย่างเหมาะสม

 

นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

วันที่  28  มิถุนายน  2555

หัวข้อ  การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช.

(ด้านการตลาด  การเงิน  วัฒนธรรมองค์กร  การผลิต)

           

            องค์กรควรมี  Invisible  Excellent  ทั้งด้าน  Technical  และ  Spiritual  และควรเป็น  Environment  Tree  คือ  ต้นไม้ที่อยู่ได้ทุกสภาวะแวดล้อมและต้องสร้าง  Coorporante  Culture  7  ด้าน  เพื่อรับกับ  Permanent  Crisis

1.  พิธีกรรม

2.  จุดเน้นในองค์กร

3.  Hero

4.  แก้ปัญหา

5.  ก๊วน

6.  การสื่อสาร

7.  การตัดสินใจ

เมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน  ควรพิจารณา

1.  What  is  wrong  ไม่ใช่  Who  is  wrong

2.  ระมัดระวังการใช้อารมณ์

3.  ยกย่องผู้ให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา

4.  ต้องมีก๊วนข้างนอก  เป็น  Outside  In

5.  อย่าเร่งการตัดสินใจ  ให้นับ 1-10

แนวทางต่างๆ  ข้างต้น  เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำมาใช้กับการทำงานใน กคช. 
โดยเฉพาะจากการทำงาน
workshop  นำให้เห็นแนวคิดร่วมของผู้เข้าอบรม

 

 

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

29 มิ.ย.55

ช่วงเช้า ได้เรียนรู้เรื่องตลาดเงิน ตลาดทุน ตลอดจนเรื่องงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด ฉบับย่อพอให้นำไปใช้ในงานได้ ทั้งยังมีเรื่องการวิเคราะห์โครงการว่าจะดูอัตราส่วนเรื่องใดบ้างอย่างไร

ช่วงบ่าย การบริหารกลยุทธ์องค์กร มีวิทยากรที่มีประสบการณ์ ปฏิบัติจริง และที่ปรึกษาเรื่องธุรกิจอสังหาฯ มาเล่าถึงกุญแจสู่ความสำเร็จคือ Positioning และ Planning โดยบอกว่า เราต้องรู้จุดยืนของตนเองว่า เลือกที่จะเป็นอะไรแล้วจะรู้ถึงกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ ทั้งยังได้เสนอมุมมองจากคนภายนอกมองการเคหะว่า มีจุดเด่นในเรื่องประสบการณ์ยาวนาน ใกล้ชิดการเมือง ต้องดึงมาใช้ประโยชน์ให้ได้ และกคช.ควรจะลงทุนพัฒนา Location เนื่องจากมีศักยภาพให้ทำได้ แนะว่า กคช.ควรอยู่ในบทบาทวิชาการไม่ควรสร้างบ้านแข่งกับเอกชน

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

จากหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” (คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)

          เรื่องราวของนักสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ ทั้งที่จบการศึกษาที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ท่านหนึ่งจบวิศวกรรม อีกท่านหนึ่งจบเศรษฐศาสตร์ ทั้ง 2 ท่าน มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลด้านความคิด เพราะมีบุคลิก Global Man ที่พร้อมจะให้ความรู้ ความรักแก่ลุกศิษย์อย่างมีความสุข

          มุมมองด้านทรัพยากรมนุษย์ของทั้ง 2 ท่าน โดยสรุปคือ คนเป็นสมบัติที่มีค่าขององค์กร ต้องให้ความสำคัญและเชื่อในคุณค่าของคน คนยิ่งพัฒนาจะยิ่งเก่ง ไม่เสื่อมสภาพเช่นสิ่งของ การพัฒนาคนเน้นการลงทุนไม่ใช่ต้นทุน

หลักการทำงานของคุณพารณ ต้องสร้างแรงจูงใจ สร้างบรรยากาศความเป็นมิตร ดึงคนเป็นพวก ทำงานเป็นทีม จงรักภักดีกับองค์กร ถือคติทำดีกว่าพูด (Action speaks louder than word)

หลักการทำงานของดร.จีระ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน เน้น Process ใช้ IT เพิ่มประสิทธิภาพ ผู้นำต้องมีทักษะความสามารถด้านอาชีพ การจัดการ ภาวะผู้นำ ความคิดริเริ่ม ต่อยอดความคิดได้ มี Creative Thinking และการทำงานต้องมี Motivation ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน

สมชาย เทวะเศกสรรค์

28 มิถุนายน 2555

สมชาย เทวะเศกสรรค์

                วัฒนธรรมประจำองค์กร 7 ประการ ซึ่งจะช่วยเติมเต็มในช่องว่างจุดที่อ่อนอยู่เพื่อให้การเคหะแห่งชาติเข้มแข็ง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นการเคหะแห่งชาติเข้มแข็ง จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันในทางบวก ซึ่งจะช่วยให้สามารถรองรับปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น และอยู่ได้อย่างมั่นคง

1.พิธีกรรมในองค์กรที่คนส่วนใหญ่รอคอย สำหรับการเคหะแห่งชาติ ใช้วันที่ 12 ก.พ. ของทุกปีซึ่งเป็นวันสถาปนาขององค์กร

2.จุดเน้น ให้ดูที่ผลงานหรือกระบวนการ สำหรับการเคหะ กระบวนการ 40% ผลงาน 60%

3.Hero ให้พิจารณาคุณสมบัติ สำหรับการเคหะแห่งชาติ เก่ง ดี มีคุณธรรม ซื่อตรง มั่นคง พร้อมดูแลคนรุ่นใหม่ด้วย

4.การแก้ปัญหา เมื่อพบปัญหา สำหรับการเคหะแห่งชาติ จะใช้คำว่าเกิดอะไรขึ้น?

5.ก๊วน ต้องพิจารณาก๊วนที่ช่วยเหลือเราได้หรือพึ่งพาได้ สำหรับการเคหะแห่งชาติมีหลายกลุ่ม กลุ่มสถาบันเดียวกัน สหภาพแรงงาน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ Lobbyist และควรต้องทำทะเบียนผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเราด้วย

6.การสื่อสาร ต้องรวดเร็วและเข้าใจง่าย สำหรับการเคหะ ใช้ส่ง SMS ปากต่อปาก และต้องมีการตอบกลับด้วย โทรศัพท์ Net

7.การตัดสินใจ ให้พิจารณาบ่งการตัดสินใจ สำหรับการเคหะแห่งชาติ Top down=%  Bottom up=% Consensus =% จะขึ้นอยู่กับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ

·       ปัญหาในการตัดสินใจขึ้นอยู่กับ ข้อมูลที่ชัดเจน ผลประโยชน์ทับซ้อน อารมณ์

·       ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร การควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนวิธีการโดยการหารือร่วมกัน เมื่อถูกโจมตี ดุด่า ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้

·       ต้องพยายามหาคนใหม่ๆ ถ้ามาทำงานและต้องดูแลให้เกียรติลูกน้อง

·       ต้องพยายามหาก๊วนข้างนอกองค์กร มิตร หรือผู้สนับสนุนการสำรวจหาและต้องมีระบบในการจัดการให้ได้อย่างรวดเร็ว

·       บางคนตกก๊วน (ทำให้ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว) ทำให้ขาดข้อมูลต่างๆที่ดี ซึ่งควรจะรับรู้และใช้แก้ปัญหาต่างๆได้ง่ายขึ้น

·       การศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลาจะทำให้ประสบผลสำเร็จ

มุมมองด้านการเงิน โดย อุดม เปลี่ยนรังสี

                29 มิ.ย. 55 ช่วงเช้าได้ฟังการบรรยายของดร.กุศยา เป็นการทบทวนความรู้ด้านการเงินการลงทุนอีกครั้งหนึ่ง เสียดายที่เวลาน้อยไปนิด จริงๆแล้วอยากได้ความรู้วิธีการมองงบการเงิน การดึงตัวเลขออกมาวิเคราะห์จากงบการเงิน ทำให้สามารถมองถึงความเคลื่อนไหวของฐานะ ความมั่นคง นำไปสู่การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการเตือนภัยด้านการบินที่จะเกิดความเสี่ยง และเกิดความเสียหายต่อองค์กร

การบริหารกลยุทธ์องค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดย อุดม เปลี่ยนรังสี

                29 มิ.ย. 55 ช่วงบ่ายได้ฟังมุมมองของภาคเอกชนที่ใช้กลยุทธ์ต่างๆในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาอุปสรรคและการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผมมีความเห็นว่า เอกชนกับกคช.มีความต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งและนโยบายภารกิจหลักเช่น

                1.กลุ่มเป้าหมาย เอกชนมีความเห็นว่า กคช.เป็นคูแข่งกัน ภาครัฐไม่ควรทำในสิ่งที่เอกชนทำได้ ถามว่า บ้านเอื้ออาทร ต้นทุนสี่แสนกว่าบาท ขายสามแสนเก้า เอกชนจะทำหรือ เอกชนขายให้กลุ่มลูกค้า เลือกขายให้กับลูกค้าที่มีเงินเดือนขั้นต่ำผ่อนชำระได้ แต่กคช.ต้องขายให้กับลูกค้าที่มีเพดานขั้นสูงต้องไม่เกิน 40,000 บาท กลุ่มลูกค้าของกคช.ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เอกชนสนใจกลุ่มลูกค้าประเภทนี้หรือไม่

                2.คุณภาพการอยู่อาศัย กคช.ดูแลคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยก็ 5 ปี แต่เอกชนผลักภาระนี้ให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนต้องพึ่งพากันเอง

                3.การบริหารจัดการโครงการ เอกชนสามารถตัดสินใจลงทุนโครงการได้ด้วยความรวดเร็ว ระยะเวลาการก่อสร้างสามารถใช้เวลาอันสั้น แต่กคช.มีขั้นตอนในการดำเนินการหลายขั้นตอน ใช้เวลายาวนานกว่าจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ส่งมอบให้แก่ผู้อยู่อาศัย

                4.กคช.ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวและสร้างความเชื่อถือให้กคช. ความศรัทธาในทุกๆภาค เช่น ภาครัฐต้องให้ความเชื่อถือใช้กคช.เป็นเครื่องมือในการบริหารนโยบานด้านที่อยู่อาศัยให้แก่สังคม มองกคช.เป็นผู้นำทางด้านวิชาการที่อยู่อาศัยเป็นและเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนเป็นที่พึ่งได้ ภาคประชาชนต้องสร้างภาพลักษณ์ให้ประชาชนรู้จักและพึ่งพากคช.ได้ทุกเรื่องในด้านที่อยู่อาศัย

30 มิถุนายน 2555

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

      อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์

      ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

      กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

      โดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • การเรียน HR ต้องบริหาร the Intangibles ให้ได้

อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์

  • เราเรียนรู้จากการฟังแล้วเราก็ลืมแล้ว จากการวิจัย National Training Laboratory, U.S.A. พบว่า การอบรมแบบบรรยายได้ผลน้อยที่สุด
  • คนเราใช้สมองแค่ 1 % ยังไม่ได้ใช้อีก 99%
  • หนังสือ Creative Habits ต้องสร้างนิสัยสร้างสรรค์จึงเกิดความคิดสร้างสรรค์
  • หนังสือ Collaboration ต้องทำให้คนเก่งทำงานแบบร่วมมือร่วมใจกัน ทำให้ 1+1 มากกว่า 2
  • ต้องเปลี่ยนนิสัย เป็นวางกระดาษแนวนอน ทำให้เห็นครบทั้งหน้าในครั้งเดียว เป็นการใช้สมองซีกขวา
  • แต่ก่อนเราฝึกสมองซีกขวาไม่เกิน 1 ใน 5 ของชีวิต จะได้ฝึกในวิชาเช่นวิชาวาดเขียน พลศึกษา ดนตรี
  • นอกจากนี้ ครูก็เน้นแต่พัฒนาสมองซีกซ้ายของเด็กเท่านั้น
  • ถ้าใช้สมองซีกขวาและสมองซีกซ้ายร่วมกัน จะมีพลังและศักยภาพมหาศาล
  • ดร.อารี อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรียน Mindmapping เมื่ออายุ 75 ปีแล้ว แสดงว่า ไม่มีใครสายเกินเรียน
  • เราคิดชื่อเพื่อน ใช้ระบบ Brainstorm คิดให้มากที่สุด
  • Brainstorm คือคิดนอกกรอบ ปริมาณ จดทุดความคิดไว้
  • เวลาคิดเรื่องการใช้คลิปหนีบกระดาษ คิดได้น้อยกว่า เพราะเราไม่คิดว่าจะใช้ได้จึงไม่จดทุกความคิดไว้
  • สมองซีกซ้ายตัดสินใจ และฆ่าความคิดสร้างสรรค์ของเรา
  • หนังเรื่อง วัยรุ่นพันล้าน แสดงให้เห็นว่า เห็นอะไรก็จดเป็นความคิดไว้
  • ท่านพุทธทาสบอกว่า ทุกความคิดดี ถ้าไม่จด ก็จะหายไป
  • ทุกความคิดจะกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเรา
  • ต้องพกสมุดไว้จดทุกความคิด อาจถ่ายรูปไว้ด้วยก็ไก้
  • Mind Map เป็นเครื่องมือในการจดบันทึก
  • ถ้าเราคิดอะไร ให้คิดเป็นภาพ จะทำให้สมองซีกขวาทำงานมากขึ้นและเกิดความเพลิดเพลิน
  • Mind Map เพิ่งเกิด 40 กว่าปี มีคนใช้ 200 ล้านกว่าคนในโลก

กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

  • เราใช้ไฟฟ้า 2,300 หน่วยต่อปีต่อคน
  • ประเทศเจริญแล้วใช้มากกว่าเรา 4 เท่าตัว
  • ประเทศที่ด้อยกว่าใช้น้อยกว่า 4 เท่าตัว
  • กฟผ.ผลิต
  • กฟภและ กฟน.ส่งไฟฟ้า
  • ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่
  • ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย
  • ผู้ผลิตพลังงานทดแทน (VSPP) ขายไฟฟ้าให้กฟภ.
  • กฟผ. นำเข้าไฟฟ้าจากลาว 3%
  • กฟภ.บริการครอบคลุม 74 จังหวัด
  • กฟน.ดูแลกรุงเทพ นนทบุรีและสมุทรปราการ
  • จ่ายกระแสไฟฟ้าทั่วประเทศแล้ว 99.9% ยกเว้นพื้นที่ป่าสงวน เขตทหาร
  • สายไฟที่เข้าไปในป่าไม่ทำลายป่า
  • กฟภ.มีพนักงาน 27,784 คน ภายใน 10 ปีจะมีคนเกษียณอายุเกือบหมื่นคนเพราะมีประชากรสูงอายุจำนวนมาก
  • ปี 2550 จัดตั้งระบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO&KM)
  • ปี 2553 ทำแผนแม่บทพัฒนาบุคลากร (HR 2020)
  • จำนวนผู้ใช้ไฟ 16 ล้าน
  • หน่วยจำหน่ายเพิ่มมาก แต่พนักงานลดลงเพราะแต่ละคนมีศักยภาพมากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • เราจะเน้นทุนมนุษย์
  • ต้อง Realistic และตรงประเด็น
  • ผมฝึกคนให้การไฟฟ้า 4,000 คน
  • ต้องมีความต่อเนื่อง
  • Networking เราเริ่มขยาย
  • สำคัญที่สุด How to เป็นส่วนประกอบ เราต้องนำไปประยุกต์กับกรณีศึกษา
  • การพัฒนาคนเป็นแนวทางแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในอนาคต
  • การเคหะยังไม่ได้ปลูกฝังเรื่อง การบริหารจัดการ Stakeholder ภายนอก
  • การเคหะมีปัจจัยรบกวนอยู่น้อยเมื่อเทียบกับกฟภ.
  • ต้องมีความสามารถในการเจรจาต่อรองกับชุมชน
  • ต้องสร้างแนวทางให้คนรุ่นหลังทราบอุปสรรคแล้วเอาชนะ
  • ต้องสร้างให้คนมองอนาคต
  • ผู้นำต้องข้ามศาสตร์และมีคุณธรรม จริยธรรม
  • ต้องเป็นคนดีก่อนแล้วค่อยเก่ง

กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ต่อ)

  • เรื่องคน พัฒนาจาก Manpower เป็น Personnel, Resource และ Asset ตามลำดับ
  • Human Capital คือบุคลากรมีสติปัญญา ความสามารถ จริยธรรม ถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
  • ทุนมนุษย์ต้องมีทุนทางปัญญา
  • ทุนทางปัญญาคือ ความสามารถxความผูกพันองค์กร
  • สร้างความสามารถโดยการฝึกอบรมและดูงาน
  • สร้างความผูกพันองค์กรโดยเอาใจใส่ลูกน้อง
  • สร้างทุนมนุษย์โดย LO (Learning Organization)
  • มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
  • เรียนรู้เป็นทีม
  • บุคลากรชั้นเลิศ
  • มีแบบแผนความคิดร่วม
  • คิดเป็นระบบ
  • LO ทำให้องค์กรยั่งยืน
  • ต้องมีการพัฒนาคนในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
  • สร้าง LO ได้ต้องมี

1.ผู้นำต้องประกาศนโยบาย

2.อุปกรณ์พร้อม

3.พนักงานมีจิตใจ

4.เวทีนำเสนอ Contribution

  • การสร้าง LO ของกฟภ.

1.LO สร้างความตระหนักในองค์กรความเรียนรู้

2.Knowledge Auditing & Monitoring

3.Knowledge Critique ปะทะความรู้

  • กฟภ.จะสร้างการสื่อสารทางราบ สร้างเครือข่าย ตั้งชื่อกลุ่ม เป็นโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการแต่สนิทสนมกัน
  • ทำให้แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องถามหัวหน้า
  • กฟภ.มีหลักสูตร Smart’s Series สำหรับพนักงานหลายๆระดับ
  • กฟภ.ทำ HR 2020 Operation Plans
  • สร้างวิสัยทัศน์ให้พนักงานแล้วองค์กรอยู่รอด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • อยากสร้างชุมชนการเรียนรู้ให้การเคหะแบบที่ทำให้กฟภ.คือกระตุ้นให้คิด กระหายอยากหาความรู้ แล้วต้องแบ่งปันความรู้
  • Organization Learning คือ คนในองค์กรต้องใฝ่รู้ หาความรู้ที่สดและทันเหตุการณ์
  • Learning Organization คือ องค์กรการเรียนรู้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • สิ่งสำคัญคือการปรับทัศนคติให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป (Adaptive Change)
  • ผู้นำต้องนำการเปลี่ยนแปลง Transformational Leaders และมี Ideas for Change ต้องดู Structure ปรับกระบวนการให้รวดเร็วและแม่นยำ และต้องเป็น Cross-functional ผู้นำต้องไม่ลงไปทำเอง ต้องให้ทุกคนนำเสนอความคิดและทำ
  • การเรียนรู้ไม่พึ่งการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว เพราะความรู้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา องค์กรจึงเน้นให้เรียนรู้ด้วยตนเอง คิดเป็น 60-70%  ต้องเรียนรู้แล้วแลกเปลี่ยน องค์กรมักเน้นความรู้ด้านเทคนิค
  • องค์กรส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้โดย
  • มี E-learning ที่ศึกษาด้วยตนเองและมีการสอบ คะแนนสอบผ่าน 75% จะได้รับประกาศนียบัตร มีการกำหนดเวลาว่า ต้องเรียนให้จบภายในเวลาเท่าไร
  • ผู้บังคับบัญชาต้องมีบทบาทช่วยกระตุ้นให้เรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นโค้ชมีทักษะถามคำถาม ฟังและให้ข้อมูล Feedback ให้กำลังใจลูกน้อง ต้องฝึกคนให้เป็นโค้ชที่ดี
  • มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • จากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของดิฉัน มีข้อเสนอแนะว่า
  • ต้องดู structure, system, process ต้อง Connect กับลูกน้องให้ได้
  • Competency ที่ดีต้องเป็น Competency Plus นำไปพัฒนาเป็น Action สร้างความแตกต่าง
  • ต้องพัฒนาผู้นำให้มีมุมมององค์กรการเรียนรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • วิทยานิพนธ์อาจารย์ศิริลักษณ์ เน้นบรรยากาศการเรียนรู้ เป็น 4L’s ของผม เพราะบรรยากาศการเรียนสำคัญที่สุด
  • เราต้องมอง Tangible Invisible
  • การสร้างบรรยากาศการเรียนที่ดี ก็จะมีความรู้ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
  • การเคหะต้องเน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องสนใจ AEC

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • องค์กรควรเน้น Social Learning แล้วเกิด Generative Learning ปัญญา

 

 

Workshop

1.วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร (การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร

2.ถ้าการเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดยุทธศาสตร์โดยเน้น

LC-Learning Culture และ LO-Learning Organization

3.การเคหะฯกำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่ความสำเร็จ

4.การเคหะฯจะต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมแบบข้ามสายงาน” หรือ Cross Functional Team  กำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม

 

29  มิถุนายน  2555

วิชา  “Finance  for  Non – finance  &  Financial  Perspective

โดย  อ.ดร.กุศยา    ลีฬหาวงศ์

            อาจารย์  ได้พบว่า  เวลาจะขายบ้านของ กคช.  ลูกค้าเดินเข้ามาเราควรจะขายให้หรือไม่  ควรจะดูจากอะไร

            ตอบ  ดูจากอำนาจของการผ่อนชำระ

            อาจารย์  พูดถึงตลาดการเงิน  (Fimamcial  Market)  ซึ่งมี  2  แบบ  คือ 

                           ตลาดการเงินในระบบ  -  ตลาดการเงินในระบบ  money  market

                           ตลาดการเงินนอกระบบ  -  ตลาดการเงินนอกระบบ  ตลาดทุนนอกระบบ  ตลาดแบ่งกันที่อายุ  ถ้าอายุสั้นไม่เกิน  1  ปี  จะอยู่ในตลาดเงิน  เช่น  ตั๋วสัญญาใช้เงินกู้  หุ้นกู้  ถ้าอายุเกิน  1  ปี  ถือเป็นตลาดหุ้น

                           ตลาดการเงิน  -  ยังแบ่งเป็นตลาดส่งมอบทันที  (Spot  Market)  และตลาดซื้อขายล่วงหน้า  (Future  Market)  การซื้อสินค้าโดยเงินผ่อนถือเป็นตลาดส่งมอบทันที

                           -  สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร  (Bank)  ธนาคารพาณิชย์  และธนาคารใต้กฎหมายพิเศษ

            สถาบันการเงินในประเทศไทย

            Bank  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย  ธนาคารพาณิชย์  สาขาธนาคารต่างประเทศ  ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ  ฯลฯ

            Non  Bank  ได้แก่  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  กองทุนประกันสังคม  โรงรับจำนำ

            Basic  Concept

            หลักเงินสด

            -  เงินสดรับ (Cash  Receipts)

            -  เงินสดจ่าย  (Cash  disbursement)

            Basic  Terms

            รายได้  ( Revenues)

            -  ต้นทุนโดยตรง  (Direct  Cost / Direct  Expense  =  variable  cost

            -  ค่าใช้จ่ายในการทำงาน  (Operating  Expenses  =  Fixed  cost)

            -  กำไรสุทธิ  (Net  incvmes / Net  Profit)

            การลงทุน  (Investment)

            -  การลงทุนโดยตรง  (การเปิดร้านค้า)

            -  การลงทุนทางอ้อม  (ไปให้คนอื่นกู้ยืม , ซื้อหุ้น)

            -  แหล่งเงินทุน  -  ภายในและภายนอกกิจกการ)

                                      -  ภายในและภายนอกประเทศ

            -  ผลตอบแทนจากการลงทุน  (Return  on  investment)  (มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ย)

 

                                                                                               

 

29  มิถุนายน  2555

การบริหารกลยุทธ์องค์กร

ดร.ณรงค์   ศิริเลิศวรกุล

            อาจารย์  ได้กล่าวถึง  ความสามารถของ กคช.  ซึ่งคนอื่นไม่มี  กคช. เก่งอะไร  และคนอื่นจะทำตามได้ยาก  มันเป็นความท้าทายขององค์กร ภาครัฐจะดีกว่าภาคเอกชน  ด้วยสาเหตุที่ว่าสลับสับเปลี่ยนหรือปรับอะไรก็ได้  แต่สำหรับภาคเอกชนสิ่งที่ทำได้ดีกว่าภาครัฐ  นั่นคือ  การตัดสินใจที่รวดเร็วในเรื่องของบุคคลากรองค์ที่มีความได้เปรียบอย่างไร  บุคลากรของเรายังขาดอะไร  ขบวนการในการทำงาน  ขั้นตอน  กฎระเบียบ  กฎหมาย  จะเป็นตัวกีดขวางหรือไม่

            ภายในองค์กรได้นำข้อมูล  Data  ตัวเลขต่างๆ  มีเป็นจำนวนมาก  หน่วยงานได้นำมาทำเป็นระบบสารสนเทศหรือไม่  พร้อมกันนี้ได้นำมาสังเคราะห์  วิเคราะห์หรือไม่  นอกจากนี้มาดูที่ผลประกอบการ  ที่เกี่ยวกับการเงินเป้นอย่างไร  ลูกค้าองค์กรมีความ
พึงพอใจในผลงานที่ซื้อหรือไม่  สิ่งที่สำคัญเราต้องรู้ว่าคู่แข่งคืออะไร  ใคร?

            เราต้องพิจารณาการนำองค์กรไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศต้องดู  กลุ่มลูกค้า  ข้อมูล  บุคลากร  ผลประกอบการ

 

                                                                                                    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

28  มิถุนายน  2555

โดยอ.ไกรฤทธิ์  ในหัวข้อ  วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ

            ซึ่งอาจารย์ไกรฤทธิ์ได้เห็นถึงความสำคัญของทุนทางจริยธรรม  ในสังคมปัจจุบันการเคหะแห่งชาติ  ได้ปรับเรื่องความมั่นคงของงาน  ในขณะที่คู่แข่งขันเอกชน  เช่น  ธนาคารที่พนักงานอาจถูกลอยแพได้หากมีผลกำไรที่ต่ำลง

            อาจารย์ไกรฤทธิ์  ได้กล่าวถึง  Copolate  Culture  วัฒนธรรมองค์กร  Way  of  doing  thing  พฤติกรรมที่พวกเดียวกันทำเป็น  Sofe  Policy  มี  7  ประการ  ได้แก่

            1.  พิธีกรรมภายในองค์กร

            2.  จุดเน้นกรรมการ/ผลงาน

            3.  Hero

            4.  ทัศนคติในการแก่ปัญหา

            5.  ก๊วน

            6.  การสื่อสารภายใน

            7.  การตัดสินใจ

            ในส่วนของดร.จีระ  กล่าวว่า  คำว่า  “เรา”  คือ  ทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการให้คมวามสำคัญ  บางองค์กรให้ความสำคัญกับส่วนอื่น  เช่น  สินค้า  และบริการ  แต่คนที่ใฝ่รู้กลับไม่ให้ความสำคัญ

            อาจารย์พิชญัภูรี  ได้พูดถึงองค์ความรู้ข้ามศาสตร์  โดยตัวอย่าง  คุณโชค   บูลกุล  ฟาร์มโชคชัย  ได้เห็นถึงการพัฒนาคน  กคช. ควรมีโครงการตัวอย่าง  เช่น  บ้านผู้สูงอายุ  เหมือนวัยของสภากาชาดไทยที่สวางคนิวาศ  อดีตพนักงาน กคช.  ที่ทำงานด้านสื่อทสารมวลชน  คือ  คุณชูเกียรติ   อุทกพันธุ์  เจ้าของอมรินทร์  พริ้นติ้ง  ที่ทำหนังสือบ้านละสวน  ขอให้นึกถึงบุคคลที่สำคัญเป็นแบอย่างให้กับคนรุ่นต่อๆไป

            อาจารย์  ได้พูดถึงทฤษฎี  2 R  ของอาจารย์จีระ  คือ  Reality  และ  Relevance  ให้นำมาปรับใช้เพื่อก้าวสู่สังคมประชากรอาเซียน  และควรมีจินตนาการในการทำงาน  ซึ่งไอสไตย  กล่าวว่า  จินตนาการสำคัญกว่าความรู้  แต่ต้องมีความรู้มาก่อนด้วย  ทำให้มีความภูมิใจและ
มีความสุขในงานที่ทำ

                                   

                                                                                                             

การเรียนรู้วันนี้ 30 มิถุนายน 2555 ทำให้เข้าใจวิธีการเขียน Mind map ซึ่งการเขียน Mind map ทำให้

-        การคิดเป็นระบบ

-         มีการจัดลำดับความคิดก่อนหลัง

-        เกิดความชัดเจน

-        ครบวงจร

ตัวอย่าง Talent Management คิดเป็นระบบ คือ มี 4 เก่ง

เก่งคน

-        เรียนรู้ด้วยตนเอง จากการอ่านหนังสือ  ดูทีวี  ฟังวิทยุ

-        ฝึกอบรม

-        พัฒนากับหน่วยงานต่างๆ

เก่งคิด

-        คิดนอกกรอบ

-        คิดสร้างสรรค์

-        คิดเป็นระบบ

เก่งงาน

-        ทำงานเร็ว ถูกต้อง

-        คุณภาพงานดี

-        ให้ประโยชน์ต่อสังคม

เก่งการดำรงชีวิต

-        บริหารชีวิตครอบครัวมีสุข/อบอุ่น

-        มีการออมที่มั่นคง

-        มีการใช้จ่ายอย่างอิสระ

-        มีการพักผ่อน/ท่องเที่ยว

Finance for Non finance ดร.กุศยาฯ 29 มิ.ย.55

สวัสดีครับท่านอ.จีระ

          วันนี้ได้ฟังบรรยายภาคเช้าจากดร.กุศยา เรื่อง Finance for Non-Finance ท่านอาจารย์ได้พูดถึงลูกค้าของการเคหะฯ สิ่งสำคัญคือความสามารถในการผ่อนชำระเพราะส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจะซื้อเงินสดทั้งหมดได้ การเคหะฯจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้เป็นสำคัญ ผู้บริหารฯ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเงิน การลงทุนและงบประมาณ ซึ่งตลาดการเงินจะแบ่งเป็นในระบบและนอกระบบโดยแบ่งเป็นตลาดเงินและตลาดทุน ตลาดเงินและตลาดทุนจะแบ่งตามระยะเวลามิใช่แบ่งตามจำนวนเงิน ถ้าระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จะเป็นตลาดเงิน แต่ถ้าเกิน 1 ปีจะเป็นตลาดทุน

          ธนาคารที่จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะไม่ถือว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ธนาคารอิสลาม เป็นต้น

          ช่วงบ่าย เป็นการเสวนาของภาคเอกชนประกอบด้วย อ.ณรงค์ฯ อ.รุ่งโรจน์ฯ จากหมู่บ้านซื่อตรงและอ.อนุชา เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการจัดสร้างโครงการ โดยให้แนวทางว่า

          1.การเคหะจะต้องรู้จุดแข็งของตนเอง เช่นการสร้างสังคมเมืองมิใช่ทำบ้านขายกับเอกชน

          2.การเคหะน่าจะได้เปรียบเอกชนในเรื่องความน่าเชื่อถือเพราะเป็นองค์กรของรัฐ และต้องใช้การเมืองมาปรับให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร

          3.เน้นนวัตกรรมใหม่ๆ คิดโครงการใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่องค์กร

 

การนำเสนอ Workshop

1.วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร (การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร

สร้างความสำเร็จขององค์กร

  • คน (ปรับค่านิยมและทัศนคติ สร้างจิตอาสา)
  • Process
  • สินค้าและบริการ
  • ผู้นำ Smart 4 ดี 4 เก่ง

อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์

  • Mind map ทำให้ชัดเจนมากขึ้น

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

  • ทำเรื่องยากให้ง่าย ควรจะนำไปเสนอสภาผู้แทน

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

  • ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็ง

2.ถ้าการเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดยุทธศาสตร์โดยเน้น

LC-Learning Culture และ LO-Learning Organization

  • เราใส่ input ผ่าน process แล้วเกิดความรู้

อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์

  • กลุ่มนี้สรุปเนื้อหา 8 วันที่ได้เรียนมาภายในกระดาษแผ่นเดียว
  • นำเสนอได้เข้มข้น

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

  • ทุกคนต้องช่วยกันคิดและเรียนกันเป็นทีม ก็เหมือนกลีบดอกไม้ LO
  • เก็บรายละเอียดได้ดี

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

  • ทำงานเป็นทีมที่มีจำนวนมากยากกว่าทีมจำนวนน้อยใช่ไหม
  • มีวิธีบริหารให้คนมีส่วนร่วมมากที่สุดได้อย่างไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ประธานต้องพยายามให้ทุกคนออกความเห็นและสรุปให้เป็น

3.การเคหะฯกำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่

ความสำเร็จ

ยุทธวิธี Talent Management

1.กำหนดคุณลักษณะ

2.กำหนดกระบวนการ

3.การพัฒนา

4.สร้างแรงจูงใจ

อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์

  • เวลาคิดไม่ออกให้แตกกิ่งไว้ก่อน แล้วสมองจะคิดออก
  • บริษัทญี่ปุ่น ไม่สนใจว่าคุณจะมาจากไหน ถ้าจะขึ้นตำแหน่งสูง ต้องรู้ธรรมเนียมบริษัท

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

  • ตอนที่อยู่กฟภ.แล้วได้ไปดูงานที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย MD คนปัจจุบันมาจาก Talent ที่ถูกสร้าง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

  • เรื่องคนเก่งรวมถึง 8K’s และ Change Management ด้วย

4.การเคหะฯจะต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมแบบข้ามสายงาน” หรือ Cross Functional Team กำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม

  • วิธี Cross Functional Team ต้องมี นผ กต กส ต้องทำงานร่วมกัน ไปดูพื้นที่พร้อมกันแล้วกลับมาเขียนรายงานร่วมกัน
  • การเคหะมีทีมอยู่แล้วแบบ Cross Functional team เป็นคณะทำงานแต่ก็จัดทีมที่ไม่เป็นทางการด้วย

อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์

  • กลุ่มนี้กังวลในการเขียน แต่ก็ออกมาดี
  • เวลาตั้งทีมต้องมีคนหลายประเภท จะทำให้ทีมไปรอดและคิดได้เก่ง
  • เวลาเลือกหัวหน้าทีม อาจจะไม่จำเป็นต้องเลือกตามความอาวุโส แต่ควรเลือกความสามารถในการนำงานนั้น

สุทธิเดช สุทธิสมณ์

  • รูปอาจจะไม่สวย แต่นำเสนอดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • องค์กรการเรียนรู้ต้อง
  • มีผู้นำนำ
  • สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • มีระบบสนับสนุนเช่น E-learning
  • มี KPI  
  • การหารือกันทำให้ลดต้นทุน
  • LO คือทางออกที่ดี
  • ต้องฝึกและเลือกหนังสือที่ดีมาอ่าน
  • อาจจะเขียนบทความสั้นๆ วิจารณ์ออกมา
  • ต้องฝึกวิเคราะห์ทั้ง 2 ด้าน (Synthesis)

 

วันนี้เรียนแล้วได้อะไรบ้าง (28 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชา วิเคราะห์ประเด็นท้าทาย การเคหะแห่งชาติ

     (ประเด็นด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การผลิต)         
  • ประเด็นท้าทายอีก 10 ปี ข้างหน้า กคช. จะไปอย่างไร
  • แนวคิด WE + MANAGE + WHAT = RESULT
  • ต่อไปต้องคิด NEW WE + NEW MANAGE + NEW WHAT = NEW RESULT
         ทำให้เกิด NEW WE จะเกิดทุก NEW ตามมา
    
  • NEW WE สร้างได้ด้วย 3 อย่าง
    1. KNOWLEDEGE - กคช. จะส่งไม้ (ความรู้) ให้รุ่นหลังอย่างไร
             (ให้คนที่จะเกษียณอีก 2 ปี มาเล่าเรื่องต่างให้น้องๆ ฟัง
             อาจเริ่มด้วยน้องถาม)
      
    2. SKILL - เกิดขึ้นโดยการสร้าง EVENT ขึ้นมาให้มีที่เล่นของวัยรุ่น
    3. ATTIT
  • NEW MANAGE มีพฤติกรรมหลัก 3 อย่าง
    1. Plan - วางแผนจากความจริงและคิดล่วงหน้า
    2. Action - ลองทำดูก่อน ตาม Plan
    3. Control - เดิม – ทำทำดูแล รุ่นเก่า
             ใหม่ – เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา   รุ่นใหม่
      
  • สรุปประเด็นท้าทาย

  • วัฒนธรรมองค์กร เป็น Dynamic คือเป็นแบบร่วมสมัย

  • การประชุมต้องรับฟังทุกเสียทั้งเล็กและโต อาจจะเกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้น
  • ทำวัฒนธรรมองค์กร ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดย
    1. รู้เขารู้เรา 8. เศรษฐกิจการเมือง
    2. Rebrand กคช. 9. แลกเปลี่ยนเรียนรู้
    3. ภาษา 10. ทำงานอย่างมีความสุข
    4. IT 11. ทำความมั่นคงขององค์การให้ยาวนาน
    5. วัฒนธรรม/สังคม 12. CSR
    6. Globalization 13. จินตนาการ
    7. ภูมิศาสตร์ 14. คุณธรรม จริยธรรม
  • วิสัยทัศน์โดยรวม - ต้องให้ทุกคนร่วมกันทำโดยให้คิดนอกกรอบ
  • พันธกิจองค์กร - รีบสร้างให้เพื่อนบ้าน
  • การสื่อสารองค์กร - ทำให้ดี ตีให้ดัง
            - Rebrand องค์กร
    
  • STRATEGIC แปลว่า
    • Long term ระยะยาว - มองอะไรยาวกว่า 1 ปี
    • Holistic องค์รวม - อย่างมองแยกส่วน
    • Cross Function ข้ามศาสตร์ - จะไม่เกิด Silo
    • Selective ต้องคัดสรร - ต้องคัดสรรหลายกรณี
    • Change เปลี่ยนแปลง/ก่อนถูกบังคับ - ตลอดเวลา การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ
      1. ประเด็นท้าทาย กคช. WE + MANAGE + WHAT = RESULT
      2. ทำวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทั้งหมดเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา และเป็นการปรับตัวเข้าสู่ยุคของคนรุ่นใหม่

วันนี้เรียนแล้วได้อะไรบ้าง (29 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชา FINANCE FOR NON-FINANCE & RINANCE PERSPECTIVE
- ผู้บริหารต้องดูรายงานทางการเงินให้เข้าใจไม่จำเป็นต้องเป็นนักบัญชี นักการเงิน โดยอาชีพ เมื่อดูก็จะวิเคราะห์สถานะทางการเงินขององค์กรได้ - ตลาดการเงิน ประกอบด้วย

    - ตลาดการเงินในระบบ
    - ตลาดการเงินนอกระบบ
  • ตลาดทุน ประกอบด้วย
    - ตลาดแรก (ตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่)
    - ตลาดรอง (ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์)
    
  • สถาบันการเงิน ประกอบด้วย
    - BANK      - ธนาคารพาณิชย์/ธนาคารภายใต้กฎหมายพิเศษ
    - NON-BANK  - สถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร
    
  • รายงานทางการเงินจะรายงาน 3 รูปแบบ
    - งบดุล
    - งบกำไรขาดทุน
    - งบแสดงกระแสเงินสด
    
    การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ
    การเข้าใจถึง Basic Concept, Financial Statement, Project Financing อันจะส่งผลต่อการเข้าใจในการอ่านงบการเงินต่างๆ ได้อย่างเข้าใจสำหรับผู้บริหาร  
    

ช่วงบ่าย วิชา การบริหารกลยุทธ์องค์กร - กรณีศึกษา ผู้ประกอบการหมู่บ้านซื่อตรง

- การลงทุนเป็นเรื่องของโอกาสในแต่ละช่วงเวลา
  • หัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จ 2 ข้อ
    1. การวางตำแหน่งยืนของตัวเอง – จะได้เปรียบคนอื่น
    2. ต้องวางแผนให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่ยืน
      • การงานแผนสมัยใหม่อาจจะต้องวางจากจุดจบย้อนกลับมา
      • การเมืองเป็นได้ทั้งจุดด้อยและจุดเด่นด้วยทำตัวเป็นผู้ชี้แนวทางให้นักการเมือง มากกว่า เช่นชี้นำให้ Bank ปล่อยกู้ให้ลูกค้า กคช. มากๆ
  • นวัตกรรมการอยู่อาศัย
    - บ้านคนชรา
    - Nursing home
    - Mobile home
    
  • มุมมอง AEC กับภาคเอกชน
    - เอกชนเตรียมตัวกันมากแล้วในการไปลงทุน
    - ประเทศที่ Hot สุด คือ พม่า
    - กคช. ควรให้ความรู้ (หน้าที่ใหม่) ให้เอกชนไปสู้นอกบ้าน
    
  • การเคหะแห่งชาติ ยิ่งให้ความรู้/นวัตกรรม แก่เอกชนมากๆ จะเป็นการสร้างบารมีให้กับ องค์กร
    การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ
    การปรับองค์กรใหม่ ในความคิดของภาคเอกชนที่มองการเคหะแห่งชาติ ในหลายๆ มิติ ซึ่งน่าสนใจและควรดำเนินการได้
    
สายันต์ ชาญธวัชชัย

สรุปจากการอบรมเมื่อ 28 มิ.ย.55

        ท่านอาจารย์ไกรฤทธ์    ถ้าองค์กรต้องการสร้าง  New   Result   เพื่อให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้นั้น  เราจะต้องพัฒนา  3 อย่าง คือ
          1. New We    คือการพัฒนาผู้นำและคนในองค์กร   โดยใช้วิธีดังนี้
                    1.1.Knowledge ให้มีการเรียนรู้จนเกิดเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในคนและถ่ายทอดออกมาเป็นกระดาษเป็นคู่มือ
                    1.2.Skill   เป็นทักษะที่เกิดจากการปฏิบัติงานจริง
                1.3.Attitude   ทัศนคติในการใฝ่รู้  เรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด
            2. New  Management   มี 3 อย่างที่เป็นพฤติกรรมหลัก
                    2.1Plan  คิดเป็น  คิดล่วงหน้า
                    2.2Action หรือ to do  ทำเป็น  การทำให้เป็นไปตามแผน
                    2.3Control  กำกับดูแลหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning  Organization )
            3.New  What  หมายถึงองค์กร  หน่วยงานต่างๆในองค์กรจะต้องทำงานประสานสอดรับกันอย่างมีประสิทธิภาพ  จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน
        ท่านอาจารย์พัญ์ภูรี    คนและวัฒนธรรมองค์กร  ทั้ง 2 เรื่องเป็นสิ่งสำคัญขององค์กร  ถ้าวันนี้การเคหะฯต้องการพัฒนาคนและองค์กร  การเคหะฯจะต้องดำเนินการดังนี้
         1. สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้  ให้ทันยุคทันสมัย  รู้เขา  รู้เรา  พร้อมก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และมีการ Rebrand   สร้างความพร้อมให้คนการเคหะฯในเรื่องของ
                - ภาษา
    - IT
                - วัฒนธรรมสังคมเป็น Globalization
                - ภูมิศาสตร์ , เศรษฐกิจ , การเมือง , ความมั่นคง
                - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                - การทำงานอย่างมีความสุข
                - ติดตามข่าวสาร
                - คุณธรรมจริยธรรม
                - จินตนาการควบคู่กับความรู้ ปัญญา
        2.วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
                2.1. วิสัยทัศน์บุคคล  สร้างได้จาก
                - การอ่านหนังสือ
                - การพูดคุยกับผู้รู้
                - รับฟังผู้ร่วมงานและผู้เกี่ยวข้อง
                - ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
                2.2.  วิสัยทัศน์องค์กร  ผู้บริหารและคนในองค์ร่วมกันกำหนด  โดยการคิดจากความคิดนอกกรอบสู่ความคิดในกรอบ
        3. พันธกิจองค์กร  คิดใหม่  ทำใหม่ โดยปรับพันธกิจให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม  เช่น
                - การทำบ้านที่อยู่กับน้ำ
                - การทำบ้านผู้สูงอายุ
                - การทำบ้านสำหรับผู้บุกรุก
                - การทำบ้านตามชายแดนรองรับ AEC
        4. การสื่อสารองค์กร  โดยประชาสัมพันธ์ผลงานขององค์กร (ทำให้ดีตีให้ดัง ) ด้วยวิธี
    - Rebrand
                - การทำ CSR
                - นวัตกรรมใหม่ๆ
        จากการทำ Workshop  ในช่วงบ่ายเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรทั้ง 7 ด้าน อาจารย์กล่าวว่าถ้าทุกกลุ่มของทั้ง 2 รุ่น  เขียนวัฒนธรรมองค์กรของการเคหะฯทั้ง 7 ด้าน      ออกมาเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันแสดงให้เห็นว่าการเคหะฯเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง  จะสามารถเดินหน้าทำงานและผ่านพ้นไปได้ในสถานการณ์ที่โดนกดดันจากเรื่องต่างๆ    เฉกเช่นรถ SUV ที่สามารถเดินทางไปได้ในทุกสภาพของดินฟ้าอากาศ
ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

วันที่ 8 (30 มิ.ย. 55)

   วันนี้ได้รับความรู้จากอ.ธัญญา ท่านได้ให้ความรู้ในเรื่องแตกกิ่งความคิดพิชิตด้วย Mind map ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจดบันทึกโดยใช้สมอง 2 ซีก มีหลักสำคัญคือ การใช้ภาพ สี และเส้นร่วมกันในการจดบันทึก เป็นการแตกความคิดต่างๆโดยมีเส้นเชื่อมโยงต่อกันทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง 1.ช่วยให้ความจำไม่ซ้ำซ้อน 2.ความคิดเป็นขั้นตอนเชื่อมโยงเป็นระบบ 3.มีการจัดลำดับงานเป็นหมวดหมู่ 4.ช่วยให้ผ่อนคลายจากการวาดภาพและใช้สี 5.เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแนวคิด Mind map นี้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
   ในส่วนความรู้จากกรณีศึกษาของ กฟภ. โดย อ.สุทธิเดช ท่านได้ให้แนวคิดว่าทุนมนุษย์ต้องมีทุนทางปัญญาซึ่งประกอบด้วยความสามารถ x ความผูกพันกับองค์กร โดยความสามารถสร้างได้โดยการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็น Learning Organization (LO) ซึ่งจะทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน โดยการสร้าง LO จะต้องให้พนักงานมีความตระหนัก สำหรับความผูกพันกับองค์กรนั้นผู้บังคับบัญชาต้องเอาใจใส่ดูแลลูกน้อง
   LO มีความแตกต่างจาก OL (Organization Learning) เนื่องจาก LO คือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่วน OL คือ คนในองค์กรต้องใฝ่รู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง ทันต่อเหตุการณ์ และผู้บังคับบัญชาต้องเป็น Coaching ที่ดี
   สำหรับอ.ศิริลักษณ์ ได้เน้นว่าผู้นำต้องปรับทัศนคติให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไป นำการเปลี่ยนแปลง ปรับกระบวนการให้รวดเร็วและแม่นยำ ต้องเป็น Cross Functionองค์กรควรเน้น Social Learning แล้วเกิดเป็น Generative Learning
   สรุป วันสุดท้ายของการอบรม ต้องขอขอบพระคุณ อ.จีระและอ.ทุกๆท่านที่ได้กรุณามาจุดประกายให้เกิดความคิดใหม่ๆในการเรียนรู้ ซึ่งจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการเคหะต่อไป >>ณงก์เยาธ์  เพียรทรัพย์<<
  วันที่่เจ็ด เป็นการศึกษา finance for non finance &finance perspective เกี่ยวกับประเภทของตลาดกการเงิน ลักษณะ และเครื่องมือในการที่จะช่วยตัดสินใใจที่จะลงทุนในตลาดต่าง ๆ ซึ่งประเภทของตลาดการเงินประกอบด้วย ตลาดเงิน และตลาดทุน ทั้งสองตลาดนี้มีความแตกต่างกัน โดยตลาดเงินนั้นเป็นตลาดที่มีการส่งมอบทันที หรือ เป็นตลาดที่ีมีการซื้อขายล่วงหน้า ส่วนตลาดทุนนั้นจะต้องซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ออกไหม่ หรือในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ไม่ว่าจะลงทุนในตลาดใดก็ตาม ต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ เนื่องจากยิ่งมีผลตอบแทนมากเท่าใด ความเสี่ยงในการลงทุนย่อมมีมากเช่นกัน ดังนั้นการศึกษาฐานะการเงินของธุรกิจและเข้าใจเครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านการเงินต่าง ๆ ย่อมจะทำให้การตัดสินใจลงทุนได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
  นอกจากนั้น ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้กรณีศึกษาของธุรกิจภาคเอกชน ซึ่งปัจจัยสู่ความเป็นเลิศนั้น สิ่งสำคัญต้องรู้จักตนเอง ต้องเข้าใจว่า core competensy ขององค์กรคืออะไร มีสิ่งใดที่เป็นจุดเด่น/จุดแข็งที่ผู้อื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ จะทำให้กำหนดตำแหน่งของธุรกิจได้ สำหรับเอกชนแล้วส่วนใหญ่จะค่อนข้างชัดเจน ทำให้สามารถวางแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้นการเคหะฯ ต้องวิเคราะห์ทำ SWOT หาจุดเด่นขององค์กรให้พบ แต่อย่างไรก็ตามความคาดหวังของประชาชนและภาคเอกชนที่มองการเคหะฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องมีบทบาทอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงด้วยอย่างยิ่ง จะทำให้สามารถมอง core competensy ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

วิชา วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ วิทยากร ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

           คุณพิชญ์ภูรี  พึ่งสำราญ
วันนี้ทั้งวันได้รับความรู้ หลายเรื่องในด้านหลักวิชาการ อาจารย์ ไกรฤทธิ์  ได้ให้หลักการเรื่อง  CORPORATE  CULTURE  ทั้ง 7 ข้อ และเรื่อง NEW WE    นำไปสู่  NEW  RESULTS  ส่วนอาจารย์ พิชญ์ภูรีฯ ได้ยกตัวอย่างประสบกราณ์ ทำงานของอาจารย์ ประกอบการบรรยายได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับการนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป
และสุดท้าย จาก งานกลุ่มทำให้ได้ CORPORATE CULTURE ของ กคช. ตามความคิดเห็นจากผู้เข้าอบรมทั้งหมด
ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

FINANCE FOR NON-FINANCE $ FINANCIAL PERSPECTIVE วิชานี้เป็นวิชาที่ผมกังวล และกลัวที่สุดเพราะมีความรู้เรื่องนี้น้อยมาก แต่วิทยากรทำให้ผมเข้าใจเรื่องนี้ได้มากขึ้นโดยวิธีการสอนและถ่ายทอดแบบเรียบง่าย เข้าใจได้เป็นรูปธรรมยกตัวอย่างได้ใกล้ตัวมาก ต้องขอบคุณวิทยากรครับ 1. ผมประชุม ผอ.ฝ่ายฟังงบดุลทุกเดือน เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างวันนี้ผมเข้าใจแล้วครับ 2. เรื่อง PROSECT FINANCING เข้าใจได้ดีและลึกซึ้งขึ้นครับ การบริหารกลยุทธ์องค์กร อาจารย์ อนุชา กุลวิสุทธิ์ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล คุณรุ่งโรจน์ ลิ้มทองแท่ง

วิชานี้เป็นการเรียนที่ดีที่สุด เพราะ เป็นการบอกเล่าประสบกราณ์ ความสำเร็จ และการประสบปัญหาด้านอสังหาริมทรัพย์ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับทราบมุมมองการเคหะแห่งชาติของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน ที่มีข้อเสนอแนะว่าการเคหะฯ ควรลดบทบาทการแข่งขันด้านการสร้างอสังหาริมทรัพย์แข่งกับภาคเอกชน แต่ควรเป็นหน่วยงานหลักในการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ด้อยโอกาส เช่น บ้านผู้สูงอายุ ฯลฯ และเป็นผู้นำในเรื่องนวัตกรรมการจัดสร้างที่อยู่อาศัย เช่น ECO – VICCAGE บ้านพักฉุกเฉิน ผู้ประสบภัยธรรมชาติ ฯลฯ
 วันที่แปด ศึกษาเกี่ยกับการบริหารทุนมนุษย์ ซึ่งการเรียนรู้จากการบรรยายอย่างเดียว เป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลน้อยที่สุด ผู้เรียนต้องจะต้องมีการทบทวน และนำไปปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นการบ่มนิสัยให้เกิดทั้งความรู้และความคิด ทั้งนี้ได้มีแนวคิดเครื่องมือที่จะช่วยให้เกิดความคิดแบบหนี่งเรียกว่า My map เป็นการแตกกิ่งความคิด ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนั้น การจดบันทึกความคิดไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่นก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาตวามคิด  ดังนั้นในการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรก็เช่นเดียวกัน ต้องสร้างวิธีการเรียนรู้ในองค์กรให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรทีใฝ่รู้ ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป (adaptive change) ผู้นำองค์กรจึงต้องมีบทบาทสำคัญที่จะนำการเปลี่ยนแปลง (idear for change) เพื่อกำหนดทิศทางองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ โดยทุกคนในองค์กรต้องนำไปปฎิบัติในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการสอนงาน (coaching) เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้มีการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะทำให้มีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด และช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน จนเกิดการปฎิบัติที่จะมุ่งสู่ความเป็นเลิศในที่สุด

การเงิน วันที่ 29 มิ.ย. 55 วิไล มณีประสพโชค

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตลาดการเงิน  ประกอบด้วยตลาดการเงินในระบบ และนอกระบบ , ตลาดทุนประกอบด้วยตลาดแรก-ตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ ตลาดรอง-ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์สถาบันการเงินประกอบด้วย สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารและที่ไม่ใช่ธนาคาร , งบดุล ,งบกำไลขาดทุน , งบแสดงกระแสเงินสด , การบริหารการเงินส่วนบุคคล / ธุรกิจ การหาแหล่งเงินทุน , การพิจารณาการลงทุน  , เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่น จุดคุ้มทุน , ระยะเวลาในการศึกษาทุน , NPV ซึ่งสามารถนำความรู้มาใช้ในการบริหารเงินของตนเองและองค์กร
นางสาวอุบลวรรณ สืบยุบล
                    สรุปบทเรียน  วันที่  28 มิ.ย. 55  ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ
                    ต้องเน้นการสร้างทุนมนุษย์ขององค์กร  เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เพื่อสามารถบริหารจัดการระบบงานที่ต้องวางแผนล่วงหน้าดำเนินการจริง  โดยความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาแก้ไขปัญหาขององค์กร  ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  เพื่อให้ได้ผลงานจากการบริหารจัดการที่พึงประสงค์ควบคู่กับแนวคิดตามทฤษฎี 2 R : Reality + Relevance  

รู้ความจริงแก้ไขปัญหาตรงประเด็นด้วยบุคลากรที่มีความคิดริเริ่มและนวัตกรรม

                    การเคหะฯต้องเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ AEC  ต้องเรียนรู้ภาษา  ระบบ  TT  เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพิ่มจินตนาการจากความรู้ควบคู่คุณธรรมจริยธรรมขององค์กร  และทำงานอย่างมีความสุขหากทำได้จะเกิดการ  Rebrand   การเคหะฯเพิ่มมูลค่าให้องค์กรควบคู่กับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืนของการเคหะฯ  เพื่อก้าวย่างอย่างมั่นใจ
        จากการเตรียมความพร้อมการเคหะฯสามารถประสานความร่วมมือในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี  การก่อสร้างอาคารพักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย  ผู้ใช้แรงงานบริเวณชายแดนหรือบริเวณท่าเรือขนาดใหญ่

การบริหารกลยุทธ์องค์กร วันที่ 29 มิ.ย. 55 วิไล มณีประสพโชค

ได้รู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน  ซึ่งเป็นที่ทำเลของโครงการ  มีการวางแผนและตัดสินใจได้รวดเร็วกว่าของการดำเนินงานของรัฐ  ซึ่งมีกฎระเบียนที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน
ถวัลย์ สุนทรวินิต

สิ่งที่เรียนรู้วันนี้ ( ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ) โดย นายถวัลย์ สุนทรวินิต ๑. ศักยภาพสมองของมนุษย์มีมากกว่าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมาก ฉะนั้นฝึกการใช้สมองให้เต็มที่ แล้วปฏิบัติให้ติดเป็นนิสัย จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างน่าอัศจรรย์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ บ่มนิสัย “
๒. ความคิดสร้างสรรค์จะถูกดึงออกมาจากสมองทั้งสองซีกได้ โดยหนึ่งในวิธีที่นิยมใช้คือ การระดมสมองอย่างไม่มีขีดจำกัด หรือ การปิดกั้น จากนั้นนำมาคัดกรองอีกครั้งโดยใช้พื้นความรู้ ข้อมูล สติปัญญา ความยั้งคิด วิจารณญาณ ฯลฯ และบันทึกในรูปแบบ Mind Map ๓. มิตรภาพและความคุ้นเคยกัน เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของความร่วมมือร่วมใจปฏิบัติงานที่ต้องการให้หลายฝ่ายหลายคนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจ ฉะนั้นต้องสร้างมิตรภาพดังว่าขึ้นให้มีมากๆในองค์กร และรักษาไว้ให้ยั่งยืน ๔. มาร่วมมือกัน ปรับเปลี่ยนจาก “สั่งงาน” เป็น “สอนงาน” เพื่อ กคช.กันเถิด

ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

อาจารย์ ธัญญา ผลอนันต์ อาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ อาจารย์ สุทธิเตช สุทธิสมณ์

การเรียนรู้แบบต่าง ๆ สอนแบบตัวต่อตัว 90% สอนแบบให้ลงมือปฏิบัติ 75% เข้ากลุ่มเรียนรู้ 50% สาธิตให้ดู 30% ใช้สื่อต่าง ๆ 20% อ่านเอง 10% บรรยาย 5%

การยกตัวอย่าง การพัฒนาเรื่องทุนมนุษย์ ของ การไฟฟ้าภูมิภาคมีภาพที่ชัดเจนว่าในเรื่อง การพัฒนาอาค์กรเกี่ยวกับทุนมนุษย์ นั้น ต้องใช้ระยะเวลาและที่สำคัญ ผู้บริหารระดับสูง ต้องยอมรับและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

สำหรับเรื่อง MIND MAP เป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่ก่อให้เกิดความเข้าใจตนเองมากขึ้น สอนให้รู้จักศักยภาพของตนเอง รู้จักการใช้สมองให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการทำ WORK SHOP รวมกันก็ทาให้ได้รับฟังความคิดเห็นในกลุ่มอย่างกว้างขวาง และได้อะไรหลาย ๆ อย่าง ไปปรับใช้ต่อไป
นางสาวอุบลวรรณ สืบยุบล
                            วันที่ 29 มิ.ย. 55 มุมมองด้านการเงิน จาก ดร.กุศยา  ลีฬหาวงศ์
    ได้เรียนรู้แนวคิดการเงินในระบบและนอกระบบ  สำหรับบุคคล องค์กรการบริหารการเงินโครงการที่มีความเป็นไปได้  ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานสำหรับนักบริหารทุกระดับ
    ส่วนภาคบ่ายเป็นมุมมองจากกลุ่มทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์ ภาคเอกชนซึ่งสร้างความท้าทายในการเริ่มกำหนดแนวทางธุรกิจไปยังกลุ่ม อาเซียน โดยเฉพาะประเทศที่น่าสนใจคือพม่า  ส่วนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใน กทม. และปริมณฑล  ภาคเอกชนเห็นว่ายังไร้ทิศทางขาดหน่วยงานเจ้าภาพที่จะเสนอแนะทิศทางที่อยู่อาศัยหลังอุทกภัย  การเคหะฯควรรับบทบาทนี้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร  และหน่วยงานท้องถิ่นในการจัดเสวนาระดมความเห็นร่วมกับภาคเอกชน  ในการรับมือกับวิกฤตอุทกภัยที่อาจใกล้เข้ามาอีกครั้งในปีนี้  เพื่อกำหนดทิศทางการวางกลยุทธ์  เรื่องทำเลที่ตั้งอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยดีกว่าปล่อยให้เอกชนแต่ละรายเอาตัวรอด  โดยการถมสูงสร้างกำแพงกั้นโครงการของตน  ซึ่งมีผลกระทบต่อการอยู่รอดของผู้คนโดยรอบ  ทำอย่างไรให้คนอยู่เดิมและหมู่บ้านใหม่อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข  ทั้งนี้หน่วยงานท้องถิ่นในฐานะผู้อนุญาตก่อสร้างควรมีทิศทางและความรับผิดชอบ  ในการอนุญาตก่อสร้างโครงการบ้านจัดสรรของเอกชนไม่ให้รบกวนการอยู่อาศัยของผู้ตั้งถิ่นฐานเดิม
นางสาวอุบลวรรณ สืบยุบล
            วันที่  30  มิ.ย. 55  
การสร้างทุนมนุษย์  เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรละเลยมิได้  แนวคิดสำคัญตามทฤษฎีของ  ส.ดร.จีระ  ได้แก่ทฤษฏี  8 K’ s จะเป็นกลไกลสำคัญในการสร้างพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ  ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม 

ทุนทางความสุข ทุนทางสังคม ทุนทางความยั่งยืน ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ และทฤษฎี 5 K’ s ใหม่ ให้ทุนมนุษย์อยู่อย่างสง่างามและยั่งยืน ได้แก่ ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางอารมณ์

ท่านอาจารย์ ธัญญา ผลอนันต์  ได้เชื่อมโยงการบ่มเพาะนิสัยให้ทุนมนุษย์  มีสติปัญญาโดยใช้สมองทั้งสองด้าน      (ซีกซ้าย + ขวา)  รวมถึงการฝึกปฏิบัติ  Mind Mapping  ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับตัวเองอย่างน้อยน่าจะติดวิธีคิดแบบองค์รวม และแตกแขนงความคิดไปใช้ในงานประจำได้อีกนาน
นอกจากนั้นหลักสูตร  Smart’s Series , Smart Employee, Smart Supervisors,  Smart Managers,        Smart Director และ Smart Executives ของท่านรองผู้ว่าสุทธิเดช จาก กฟภ.  เป็นหลักสูตรการพัฒนาคนในองค์กรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง  การเคหะฯน่าจะขอนำมาใช้และบรรจุในแผนพัฒนาบุคคลากรระยะยาวให้ต่อเนื่อง
ิอนุสรณ์ ชวนานนท์

วันนี้เรียนแล้วได้อะไรบ้าง (30 มิถุนายน 2555) วิชา การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

    กรณีศึกษา :- การสร้างทุนมนุษย์ใน กฟภ.     
  • ทุนมนุษย์ คือ บุคลากรที่มีสติปัญญา มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตใจรักองค์กร
  • Trend ในอนาคต คือ การประหยัดพลังงาน
  • กฟภ. สร้างคนโดยหน้าที่ Commitment โดยสร้างคนด้วยการดูแลจิตใจเริ่มที่ รู้ใจ-เข้าใจ-ใส่ใจ-เอาใจ-ได้ใจ-ทำใจ-ตัดใจ ทั้งหมดมุ่งไปสู่การทำให้เกิดการรักองค์กร
  • องค์กรแห่งการเรียนรู้ = คนในองค์กรมีโอกาสได้แสดงความรู้ความสามารถ
  • องค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง
    • องค์ความรู้/ทักษะ
    • การปรับเปลี่ยนทัศนคติ
  • องค์กรแห่งการเรียนรู้จะบังเกิดได้เมื่อ :-
    • ผู้นำเห็นชอบ
    • สร้างวัฒนธรรมองค์กร
    • มีระบบสนับสนุน - ห้องสมุด
            - E-learning
            - KPI
      
  • เราจะทำอย่างไรให้ผู้บริหารระดับกลางเข้าใจนโยบาย และเชื่อมโยงลงไปสู่ระดับล่างได้ อย่างต่อเนื่อง
  • การ Change ทั้งหมดคงจะลำบาก ดังนั้นควร
    • Adaptive change – Idea for change
            - Structure
            - System
            - Process 
            - Practice
      
    • ปรับทัศนคติ – จะทำอย่างไรให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานเป็น คือคิดเองมิใช่รอให้นายสั่ง ให้ทำอะไรก็ทำ
  • พื้นฐานบ้านเราจะพัฒนาคนก็ต้องเข้าอบรม (Class room) แต่ปัจจุบันองค์กรใหญ่ 60- 70% คนในองค์กรต้องเรียนรู้เอง โดยการ Share กัน จึงเหลือเพียง 10-20% เท่านั้นอยู่ ใน Class room ดังนั้น องค์กรจะต้องช่วยพนักงานโดย
    • ทำ E-learning เช่น กำหนด 3 เดือน ต้องเรียนให้จบ 5 วิชา
    • เรียนรู้จากหัวหน้าโดยใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน โดยผู้บริหารเป็น Coaching
      (เป็นการสนทนาที่มีประสิทธิภาพ) (การสนทนาที่มีประสิทธิภาพ-โดยการฟัง/การให้ ข้อมูล ป้อนกลับ/ขอให้ปรับปรุง) การนำมาปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ ที่น่าสนใจ คือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ กคช. จำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน หากพิจารณาจากบุคลากรที่จะมีการเกษียณไปเป็นจำนวนมาก แต่คงต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้นำด้วย
นางวรรณภา พิลังกาสา

บทวิจารณ์หนังสือ 8K’s  5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

 

        ในวันที่ 1 มกราคม 2558      10 ประเทศนี้จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ร่วมกัน ซึ่ง ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน มี 10 ประเทศ ได้แก่

  1. ไทย
  2. พม่า
  3. ลาว
  4. เขมร
  5. เวียดนาม
  6. มาเลเซีย
  7. สิงคโปร์
  8. อินโดนีเซีย
  9. ฟิลิปปินส์
  10. บรูไน

            หากประเทศใดเตรียมตัวอย่างดี มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพมีแผนงานและกลยุทธ์ที่ดี จะทำให้การพัฒนาสามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงขอนำเข้าสู่หัวใจของทรัพยากร คือ ทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital)

            ทุนมนุษย์ (Human Capital) ขึ้นอยู่กับปัจจัยความพร้อมของคน                 เริ่มตั้งแต่

-   วิธีคิด  : คิดนอกกรอบ  คิดสร้างสรรค์  คิดเป็นระบบครบวงจร

-   ทักษะ  : พรสวรรค์ และ พรแสวง

-   ความรู้/ความสามารถ : ที่ศึกษา และพัฒนาทุกวัน ด้วยการอ่านมาก ฟังมาก

-   ความชำนาญ : ที่เกิดจากประสบการณ์ ทำบ่อยๆ ซึ่งได้คุณภาพดี

เรื่องทุนมนุษย์ต้องตอบโจทย์  4  ข้อ สำคัญ คือ

  1. Where are we ?
  2. Where do we want to go ?
  3. How to do it?
  4. How to do it successfully?

              เพื่อจะได้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ สามารถแข่งขันกับประเทศในประชาคมอาเซียนได้ เนื่องจากอีก 2 ปีครึ่งจะถึงเวลาเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ซึ่งประเทศไทยจะต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น คือ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุนมนุษย์ เพราะเป็นตัวจักรสำคัญทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

              ซึ่งทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ ผสมผสานกับแนวคิดทฤษฎี 5K’s เพิ่มเติม เรียกว่า ทุนใหม่ ซึ่งจะทำให้ทุนมนุษย์มี

  1. คุณภาพเพียงพอ เพราะจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  2. สามารถยืนหยัดแข่งขันได้ในทุกเวที  ซึ่งการจะแข่งขันได้ต้องมาจากพื้นฐานความคิดในแนวทางการพึ่งตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันและทำให้ประเทศสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

                สำหรับทฤษฎี 8K’s  ประกอบด้วย

  1. ทุนมนุษย์ Human Capital
  2. ทุนทางปัญญา  Intellectual capital
  3. ทุนทางจริยธรรม  Ethical Capital  
  4. ทุนทางความสุข  Happiness Capital  
  5. ทุนทางสังคม  Social  Capital   
  6. ทุนทางความยั่งยืน Sustainability Capital   
  7. ทุนทางเทคโนโลยี หรือ IT Digital Capital
  8. ทุนความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  Telented  Capital

           บวกด้วยทฤษฎี 5K’ s ต่อยอดสร้างคุณภาพที่ดีให้แก่ทุนมนุษย์ เพื่อ ศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี  ประกอบด้วย

  1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ Creativity Capital
  2. ทุนแห่งความรู้  Knowledge  Capital
  3. ทุนทางนวัตกรรม  Innovation  Capital
  4. ทุนทางวัฒนธรรม  Culture Capital
  5. ทุนทางอารมณ์  Emotional  Capital

           หากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ดังกล่าวแล้ว รับรองได้ว่าประเทศนั้นๆจะผงาดในเวทีอาเซียนอย่างองอาจและสง่างามแน่นอน

           แกนหลักสำหรับประชาคมอาเซียน มี 3 ประการ คือ

           -       ด้านเศรษฐกิจ

           -       ด้านการเมือง

           -       ด้านวัฒนธรรม

           ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จะแข็งแรงได้อยู่ที่คนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และต้องเป็นคนที่มีการพัฒนาจิตใจ  เพื่อให้คนรู้จักและยึดมั่นในความประพฤติ ปฏิบัติตนบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม เพราะการสร้างคนเก่งไม่ใช่เรื่องยาก แต่สร้างคนเก่งที่ดีเป็นเรื่องยาก  ที่แล้วมาประเทศไทยผิดพลาดในเรื่องการสร้างคน เพราะเราสร้างคนเก่งแต่ไม่ค่อยจะดีจนนำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่น  ดังนั้นการสร้างคนจึงเริ่มจากการสร้างคนดี แล้วจึงพัฒนาให้เป็นคนเก่ง เพื่อให้ความดีเป็นภูมิต้านทาน เมื่อต้องสู้กับความโลภ ความเห็นแก่ตัว หรือวงษ์ตระกูล  ความดีก็จะทำหน้าที่ต้านทานสิ่งเหล่านี้  ส่วนความเก่ง ความสามารถก็จะพัฒนาบ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคม ให้สามารถแข่งขัน และยืนหยัดเพื่ออยู่ในเวทีโลกได้

                          บทวิจารย์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

            การให้ความสำคัญแก่การพัฒนาบุคลากรถือว่าเป็นการลงทุน (Investment) ระยะยาว ไม่ถือเป็นต้นทุน (Cost)   เนื่องจากคนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสูงสุด เป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กรไม่ว่าจะเป็นเงิน เครื่องจักร จึงต้องมีการเอาใจใส่ดูแลพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา     เสมือนการให้อาหารความรู้แก่สมอง ปัญญา อารมณ์ จิตใจ ให้เป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีที่เก่ง มีความรู้ความสามารถ    เพื่อแข่งขันกับเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน  อีกทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้มี VISION กว้างไกล  ไม่เป็นเต่าในกะลาครอบ  รู้ว่าวันนี้โลกไปถึงไหนแล้วและต้องก้าวตามให้ทัน  อีกทั้งสามารถเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านและต่างประเทศได้อย่างรู้เท่าทัน ไม่เสียรู้ใคร ทันเกม

           การพัฒนาทักษะเพื่อเติมให้เต็ม 5 ด้าน ดังนี้

          1. IQ (Intelligence Quotient) พัฒนาให้มีทักษะในกระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดเพิ่มขึ้นและสนใจใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง

          2. EQ (Emotional Quotient) พัฒนาให้รู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ มีความมั่นคงทางอารมณ์

          3. AQ (Adversity Quotient) พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและเผชิญสถานการณ์ต่างๆ ภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี

          4. TQ (Technology Quotient) พัฒนาให้มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีไม่ตกยุค

          5. MQ (Morality Quotient) การปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งคนที่จะเป็นผู้นำในหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยเล็กหรือหน่วยใหญ่ หากเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมแล้วองค์กรจะเจริญก้าวหน้าและผู้ร่วมงานจะร่มเย็นเป็นสุข ดังนั้นการลงทุนให้คน ได้พัฒนา ทักษะ

          ทั้ง 5 QUOtientจะทำให้คนเป็นคนดี และเก่ง มีความรู้ ความสามารถ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งมีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ถูกใจเพราะการทำอะไรที่ถูกใจไม่มีหลักการไม่มีบรรทัดฐานเป็นอคติ แต่หากยึดหลักถูกต้อง คือ มีกฎ กติกา มารยาท จะทำให้บรรยากาศในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน มีความรักความอบอุ่น และร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งจะก่อให้เกิดความทุ่มเทเอาใจใส่ในการดำเนินงานทุกวัน หากเรามีคนเก่งและดีแล้ว องค์กรจะพัฒนาได้อย่างมหาศาล คนเก่งในที่นี้หมายถึง

• เก่งคน - เรียนรู้ด้วยตนเอง

                  - อ่านหนังสือ

                  - ดูTV

                 - ฟังวิทยุ

            - ฝึกอบรม

            - พัฒนากับหน่วยงานต่างๆ เช่น สัมมนา ศึกษาดูงาน

• เก่งคิด - คิดนอกกรอบ

            - คิดสร้างสรรค์

            - คิดเป็นระบบ

• เก่งงาน - ทำงานเร็ว ถูกต้อง

             - คุณภาพงานดี

             - เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

• เก่งการดำรงชีวิต

             - บริหารชีวิตครอบครัวมีความสุข/อบอุ่น

             - มีการออมที่มั่นคง

             - มีการใช้จ่ายอย่างอิสระ

             - มีการพักผ่อน/ท่องเที่ยว

สายันต์ ชาญธวัชชัย

สรุปการอ่านหนังสือ 8k’s + 5k’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

                ในเบื้องต้นจะเห็นว่าท่าน อาจารย์จีระ  มีความตั้งใจอย่างสูงที่จะค้นคิดหาแนวทางหลักคิด  ที่จะช่วยพัฒนาทุนเดิมของคนไทยและประเทศไทยให้มีคุณภาพและคุณค่าเพิ่มขึ้น  เพื่อความพร้อมในการแข่งขันเมื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือการเปิดเสรีอาเซียน
                จากการอ่านคำนิยามของทุกท่านซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความรู้  มีชื่อเสียงทุกท่านสนับสนุนแนวคิดของ อ.จีระ  ผมเองได้อ่านแล้วสรุปได้เลยว่ามีประโยชน์จริง ๆ  หากทุกคนได้อ่านและพยายามปฏิบัติตาม  จะทำให้ทุนมนุษย์ของคนไทยของประเทศไทยพัฒนาขึ้นมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้นและจะสามารถพัฒนาต่อเนื่องได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
    เนื้อหาสรุปจากการอ่าน  8k’s + 5k’s 
        1.  มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาจะมีทุนเดิมติดตัวมาเท่า ๆ กัน  เมื่อได้รับการเลี้ยงดู ได้รับการศึกษา  ได้รับโภชนาการ  สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการลงทุนให้มนุษย์มีทุนเพิ่มขึ้น  เรียกว่า  ทุนมนุษย์ (Human  Capital)
        2.  มนุษย์ที่ได้รับการศึกษามาเท่า ๆ กัน  แต่คุณภาพของทุนมนุษย์ไม่เท่ากัน  นั้นเป็นเพราะแต่ละคนมีสมรรถนะและทักษะต่างกัน  เมื่อได้เรียนมีความรู้  จะทำให้มนุษย์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  หาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหา  นั้นคือ  ทุนทางปัญญา  (Intellectual  Capital)
         3.  มนุษย์นั้นหากมีความรู้  มีปัญญา  แต่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีก็จะนำมาซึ่งความเสียหายต่อตัวเอง และสังคมประเทศชาติ  ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมด้วย  คิดดี  ทำงาน  แนวทางที่จะสร้างคุณธรรมจริยธรรม  2  แนวทาง
                แนวทางแรก  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจและยึดมั่นใน ศีล  สมาธิ  ปัญญา
                แนวทางที่สอง   แนวทางของ  Peter   Drucker   มีคุณสมบัติ  3  อย่าง   ความถูกต้อง  (Integrity) , จินตนาการ (Imagination) , นวัตกรรม  (Innovation)
         ดังนั้นคนไทยจะต้องไม่ให้ความสำคัญคนเฉพาะมิติของความรู้  ความเก่ง  หรือความร่ำรวย  เท่านั้น  จะต้องมองถึงคุณธรรมจริยธรรมด้วย  ถ้าเป็นคนไม่ดีแล้วจะเก่ง  มีความรู้สูงก็ไม่มีความหมาย
        4.  การทำงานของคนเรานั้น  ถ้าชอบงาน  รักงานนั้น  ทำงานด้วยความสนุก  มีความสุขในการทำงาน  คุณภาพของงานก็จะออกมาดี  พฤติกรรมดังกล่าวเป็นทุนมนุษย์อย่างหนึ่งนั้นคือ  ทุนแห่งความสุข  (Happiess  Capital)  นอกจากนั้นแล้วมนุษย์เราจะทำงานได้อย่างมีความสุข  จะต้องมีความพร้อมด้านอื่น ๆ ด้วย  เช่น  มีสุขภาพที่แข็งแรง  จิตใจพร้อม  มีความสามารถที่จะทำงาน  มีเพื่อนร่วมงานที่ดี  เห็นคุณค่าของงานที่ทำ
        5.  การทำงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ถ้าตัวเราหรือองค์กรของเรามีเครือข่าย  (Networks)  มีคนรู้จักหลาย ๆ วิชาชีพช่วยเหลือในการทำงาน  จะได้งานที่ดีมีคุณภาพ  รวดเร็ว  เราเรียกว่า  ทุนทางสังคม  (Social  Capital)  ในการสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่าย  มีวิธีดังนี้
            -  อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
            -  ต้องเน้นความไว้เนื้อเชื่อใจ  (Trust)
            -  เน้นความแตกต่างด้านทักษะ ความรู้  ศักยภาพ  เพื่อรวมพลัง
    6.  ในการวางแผนการทำงานในยุคเปิดเสรีอาเซียนนั้น  จะต้องมีความพร้อมในการแข่งขันทั้งระยะสั้นและระยะยาว  ให้องค์กรเติบโตและอยู่รอดอย่างยั่งยืน  คือจะต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability  Capital)
    7.  ในการทำงานยุคข่าวสารไร้พรมแดน  องค์กรจะต้องมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน  ซึ่งจะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงมากขึ้นความสามารถนี้  จะเรียกว่า  มีทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Digital  Capital)
    8.  ทุนสุดท้าย  คือ  ทุนอัจฉริยะ  (Talented   Capital)  องค์กรจะต้องลงทุนพัฒนาคนให้มีความเป็นอัจฉริยะหมายถึง  มีการพัฒนาทักษะ  ความรู้  ตลอดเวลาและมีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน
            การพัฒนาทุนอัจฉริยะ  จะใช้ทฤษฎี  5E คือ
         -  Example   คือ  การมีตัวอย่างที่ดี
            -  Experience  คือ  เรียนรู้งานจากผู้มีประสบการณ์
            -  Education   คือ  การศึกษา  พัฒนา  ฝึกอบรม  ค้นคว้า
         -  Environment  คือ  การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
            -  Evaluation   คือ  การติดตามประเมินผล
        นอกจากทฤษฎี  8k’s  แล้ว  ยังมีทุนอีก  5  ประการ  5k’s (ใหม่)  ช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพสามารถแข่งขันใน  AEC  ได้อย่างยั่งยืน  คือ
    1.  ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  (Creativity  Capital)  ต้องมีจินตนาการพยายามฝึกคิดนอกกรอบ  ความคิดสร้างสรรค์ทำให้สามารถสร้างผลงานและตอบโจทย์ของปัญหา  หาทางออกได้  แนวคิดการสร้างความคิดสร้างสรรค์
            -  วิธีการเรียนรู้  ฝึกให้คิดเป็น  วิเคราะห์เป็น
            -  ต้องมีเวลาคิด  มีสมาธิ
            -  ต้องอยากทำสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
            -  ต้องคิดอย่างเป็นระบบ
   2.  ทุนทางความรู้  (Knowledge  Capital)  ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนเราจะต้องเป็นคนใฝ่รู้  มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้  เพื่อให้ได้ฐานความรู้  ข้อมูล  ข่าวสารที่ทันสมัย  แม่นยำ  สด  ทุนทางความรู้ที่ดีต้องยู่บนหลักทฤษฎี  2R’s
       -  Reality  ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง
          -  Relevance   ตรงประเด็นตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
      3.  ทุนทางนวัตกรรม  (Innovation   Capital)  คือความสามารถในการทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า  มีองค์ประกอบ  3  เรื่อง
            -  มีความคิดใหม่  ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้
            -  นำความคิดไปปฏิบัติจริง
       -  ทำให้สำเร็จ
    การพัฒนาทุนทางนวัตนกรรม  ด้วยทฤษฎี  3C  คือ
            1. Customers  วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า  ทั้งภายในและภายนอก
            2. Change  Management  บริหารความเปลี่ยนแปลง
           3. Command and Control ลดการสั่งการและการควบคุม   เพิ่มให้คนมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม
        4.  ทุนทางวัฒนธรรม  (Culture  Capital)  แต่ละสังคมจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  ซึ่งประกอบด้วยขนบธรรมเนียม  ประเพณี  ศาสนา  ประวัติศาสตร์  ภูมปัญญา เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้จะสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสังคมประเทศ  นอกจากจะรู้วัฒนธรรมไทยแล้วเราควรศึกษาวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ เพื่อสามารถให้การบริการความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้
        5. ทุนทางอารมณ์  (Emotional  Capital)  หมายถึงการรู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถบริหารอารมณ์ได้เช่นไม่โกรธง่าย  ไม่เครียด  ไม่ออน่ไหว  ตกใจตื่นกลัวกับสิ่งต่างๆที่มากระทบเรา  รู้จักใช้สติและเหตุผล   แนวทางในการสร้างทุนทางอารมณ์
            - ความกล้าหาญ (Courage)
            - ความเอื้ออาทร (Caring)
            - การมองโลกในแง่ดี (Optimism)
            - การควบคุมตัวเอง (Self  Control)
         - การติดต่อสัมพันธ์ (Communication)
     อาจารย์จีระ  พูดว่าการที่ประเทศไทยจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น  จะมีทั้งโอกาสและความเสี่ยงคนไทยยังไม่มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง    อาจารย์จึงยกประเด็นที่คนไทยควรรู้เพื่อก้าวสู่ AEC 10 ประการ คือ
    1.  ต้องรู้ว่า AEC คืออะไร  จะมีผลกระทบอย่างไร
    2.  AEC เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือ 3 เรื่อง คือ
          -เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน
          -สังคมและวัฒนธรรม
          -ความมั่นคงทางการเมือง
    3. การเปิดเสรี สินค้าบริการและการลงทุน
    4. ทุกสังคมไทยจะต้องเตรียมพร้อม  เพื่อรับโอกาสและหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม
    5. การปรับทัศนคติ  เพื่อการอยู่ร่วมกันกับประเทศอื่นๆในอาเซียน
    6. การรักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าของความเป็นไทย
    7. พัฒนาคนไทยให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนได้
    8. สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
    9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์
   10.การบริหารความเสี่ยง  โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์
    1.  หน่วยงานต่างๆขาดการทำงานอย่างบูรณาการ
    2.  นโยบายการศึกษาและค่านิยมของคนในสังคมไม่สอดรับกับการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์สายอาชีพ
    3.  คนไทยขาดอุปนิสัยการใฝ่รู้
      แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ 3ทฤษฎี คือ
     1. ทฤษฎี 4L’s
             L1 = Learning   Methodology   มีวิธีการเรียนที่ดี
             L2 = Learning   Environment   สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
             L3 = Learning   Opportunities   สร้างโอกาสในการเรียนรู้
             L4 = Learning   Communities      สร้างชุมชนในการเรียนรู้
     2. ทฤษฎี 2R’s  คือ
             R1 = Reality   การเรียนรู้จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น
             R2 = Relevance   ตรงประเด็นหรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตัวเรา
     3. ทฤษฎี 2I’s  คือ
              I1 = Inspiration   สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน
                I2 = Imagination   ให้ผู้เรียนมีจินตนาการจะนำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์
            เมื่ออ่านหนังสือ  “ 8K’s +5K’s  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ”  ของอาจารย์จีระ แล้วจะช่วยให้คนอ่านทุกคนเข้าใจ  รู้จริง เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใช้เป็นแนวทางนำไปปฏิบัติ   ปรับพฤติกรรมช่วยกันสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทย  เพื่อความสามารถในการแข่งขันสร้างโอกาสและลดความเสี่ยง  ให้คนไทยและประเทศไทยก้าวไปกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
สายันต์ ชาญธวัชชัย

จากการอบรมเมื่อ 29 มิย. 55

ช่วงเช้า  ท่านอาจารย์กุศยา  ลีฬหาวงศ์  ได้บรรยายในหัวข้อ  Finance  For  Non – Finance and Financial  Perspective  ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องตลาดการเงิน  ทั้งตลาดเงินตลาดทุนในระบบและนอกระบบ  ทราบความแตกต่างระหว่างตลาดการเงินและตลาดทุน  มีความรู้พอที่จะนำเงินออมไปบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด  ในเงื่อนไขว่าความเสี่ยงต้องต่ำด้วย  นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับ  Financial  Statements  ทราบประโยชน์และความสำคัญของงบดุล  งบกำไรขาดทุนและงบแสดงกระแสเงินสด  สามารถนำไปใช้ในงานจริงได้   ได้เรียนในเรื่องการวิเคราะห์การเงินเพื่อการลงทุน    การบริหารการเงินโครงการ (Project  Financing)  
ช่วงบ่าย  ท่านอาจารย์ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล , อาจารย์รุ่งโรจน์  ลิ่มทองแท่ง  และอาจารย์อนุชา  กุลวิสุทธิ์  ได้บรรยายหัวข้อการบริหารกลยุทธ์องค์กร  อาจารย์ทั้ง  3 ท่าน  มีประสบการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ทั้งองค์กรเอกชนและภาครัฐ   โดยเน้นว่า  กคช. จะต้องรู้ว่ามี  Core  Competency  อะไร  เก่งชำนาญในเรื่องใดที่คนอื่นลอกเลียนแบบไม่ได้  เน้นในเรื่องระบบการนำ  (Ledership   System)  และกลยุทธ์องค์กร  การถ่ายทอดกลยุทธ์องค์กร  การถ่ายทอดกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ   หน้าที่ของ กคช. ไม่ใช่แค่สร้างบ้านขายแต่จะต้องเน้นสร้างสังคมชุมชน  มีสิ่งแวดล้อมที่ดี  สาธารณูปโภค – สาธารณูปการครบถ้วน  และอาจจัดทำโครงการให้เฉพาะกลุ่ม
หัวใจสำคัญ  2  เรื่อง  สู่ความสำเร็จของกลยุทธ์องค์กร
-  Positioning   การวางตำแหน่งของตัวเอง จะต้องรู้จุดยื่นของตัวเอง  เลือกที่จะเป็นอะไร
-  Planning   วางแผนงานให้สอดคล้องกับ  Positioning  การวางแผนที่ดีจะต้องคิดรายละเอียด

ขั้นตอนของงานตั้งแต่เริ่มต้นจนงานสำเร็จ หรือ อาจจะคิดย้อนกลับจากผลสำเร็จของงานก็ได้

สายันต์ ชาญธวัชชัย

จากการอบรมเมื่อ 30 มิย. 55

อาจารย์ธัญญา  ผลอนันต์  สอนในเรื่อง  Mind  Map  สอนให้คนคิดเป็นระบบ  คิดอย่างแตกกิ่งก้าน  รู้จักจัดลำดับความคิดทำให้เกิดความชัดเจน  เมื่อคิดเรื่องใดก็ตามให้จดบันทึกไว้ถ้าไม่จดก็จะลืม   ความคิดดีๆ ก็จะหายไป  การ  Brain Storm  ทุกๆความคิด   คิดมากๆ  คิดแบบนอกกรอบ  ไม่ยึดติดกฎเกณฑ์หรือความรู้สึกผิดถูก  จะได้ความคิดที่หลากหลายและจะเกิดความคิดใหม่ๆ ขึ้นได้  อาจารย์สอนให้เรารู้จักใช้สมองด้านขวาให้มากขึ้น  เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วคนเราตั้งแต่เกิดมาจะใช้สมองด้านซ้ายเป็นส่วนใหญ่  จากการทำ  Workshop  Mind  Map  ตามโจทย์ของอาจารย์ทำให้เข้าใจและรู้ประโยชน์ของ Mind  Map  สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานจริงได้
อาจารย์สิทธิเดช  สุทธิสมณ์  ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับ  กฟภ. และ ประสบการณ์ในการสร้างทุนมนุษย์ใน กฟภ.  อาจารย์บอกว่าทุนมนุษย์จะต้องมีทุนทางปัญญาฝังอยู่ในตัว  ซึ่งทุนทางปัญญา = ความสามารถ x ความผูกพันองค์กร   ถ้าองค์กรต้องการส่งเสริมให้เกิดทุนมนุษย์   จะต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้    มีวิสัยทัศน์ร่วมกันการเรียนรู้เป็นทีม  บุคลากรชั้นเลิศ  มีแบบแผนความคิดร่วมและคิดเป็นระบบ  องค์กรจะต้องเน้นการเรียนรู้ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร  คือ  Learning  Culture  
อาจารย์ศิริลักษณ์  เมฆสังข์  การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องเริ่มจากเรื่องของทักษะความรู้ความสามารถในการทำงาน  แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องทำคือการปรับเปลี่ยนทัศนคติให้สอดคล้องเป็นไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป  ( Adaptive  change) ผู้นำในองค์กรจะต้องนำการปรับเปลี่ยนทัศนคติ  (Transformational change) จะต้องมี Ideas  for change  โดยพิจารณาในเรื่อง  Structure , System , Processes ( Cross  Functional )   และ  Practice  ให้สอดคล้องกับ  System  และ  Processes
การเรียนรู้สมัยใหม่จะไม่พึ่งความรู้จากห้องเรียนเพียงอย่างเดียว  แต่ความรู้จะได้มาจาก
-  การเรียนรู้ด้วยตัวเอง self  learning  ประมาณ  60 %
-  จากการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  ประมาณ  20 – 30 %
-  จากห้องเรียน  ประมาณ  10 – 20 %
องค์กรจะช่วยส่งเสริมให้คนในองค์กรเรียนรู้ด้วยตัวเองได้  โดย
-  จัดให้มีการเรียนด้วยตัวเอง  E-learning   เมื่อเรียนจบผ่านการทดสอบก็จะได้ใบประกาศ  แต่ถ้าไม่ผ่านก็เรียนใหม่ สอบใหม่
-  ผู้บังคับบัญชาช่วยลูกน้องโดยการ  Coaching   การสอนงาน   หัวหน้าเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นคนสั่ง , ควบคุม
   อาจารย์สรุปว่าต่อไปจะต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ( Social   learning )

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ วันที่ 30 มิ.ย.55 วิไล มณีประสพโชค

อ.ธัญญา   ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การจัดทำ  Mind  Map ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองสองซีกอย่างเต็มที่  โดยมีแก่นกราน , เส้นของกิ่งแก้วซึ่งเชื่อมโยงต่อกับแก่นกราน  และมีเส้นกิ่งก้อยซึ่งแตกออกมาจากกิ่งแก้ว  เป็นการฝึกคิดให้เชื่อมโยงกัน  และจัดเป็นกลุ่มๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการทำงานได้ดีมาก

อ.สุทธิเดช  ได้เล่าประสบการณ์การสร้างทุนมนุษย์ใน กฟภ.  โดยทุนมนุษย์  หมายถึงบุคลากรที่มีสติปัญญา  มีความรู้ความสามารถสูง  มีคุณธรรมจริยธรรม  มีความผูกพันกับองค์กรมุ่งแสวงหาโอกาสในกสนถ่ายทอด  การสร้างทุนมนุษย์  โดย  Competency  ด้วยการฝึกอบรม  สัมมนา Commitment ด้วยการดูแลจิตใจ  เริ่มที่รู้ใจ  เข้าใจ  ใส่ใจ  เอาใจ  ทำใจ  ติดใจ   การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรให้คนเกิดการใฝ่รู้  เรียนรู้  พัฒนาตนเอง และองค์กรอย่างต่อเนื่อง (LD)  ซึ่ง  กฟภ. ได้มีการสร้างทุนมนุษย์  มาหลายปีแล้ว

อ.ศิริลักษณ์  ผู้นำจะต้องมี  Ideas  for  change   ในด้านต่างๆ  ได้แก่ โครงสร้าง , ระบบ , ขบวนการ , การปฏิบัติ และรักการเรียนรู้ด้วยตนเอง  หรือเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ควรเปลี่ยนบทบาทจากการสั่งเป็น  Coach แทน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ตลอกเวลา และฝึกบุคลากรให้เป็น Coach ที่ดี
นางวรรณภา พิลังกาสา

                             บทวิจารณ์หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ

             เรื่องใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ เพราะจิตของคนมีพลังมหาศาลคิดอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า “ไม่มีอะไรจะสำคัญเท่ากับใจเพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นในใจและล้วนจบที่ใจ วันนี้คนไทยเอาค่านิยมผิดๆมาใส่ไว้ในใจ เช่นเป็นปลื้มกับคนรวยที่โกงหรือคนมียศฐาบรรดาศักดิ์ที่คอรัปชั่น โดยไม่ได้สนใจว่ารวยจากทำมาหากินสุจริต หรือโกงมา หรือคนไทยอีกกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องถึงแต่ “สิทธิ” แต่ไม่รู้จัก “หน้าที่” จึงปล่อยให้การกระทำที่ “ถูกใจ”อยู่เหนือ การกระทำที่ “ถูกต้อง” สังคมไทยจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไปในทิศทางที่เสื่อมและแตกแยก เห็นแก่ตัวเห็นแก่วงศ์ตระกูลและพรรคพวกมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

           การให้ความสำคัญแก่การกระทำที่ถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีปัญหาตามมามากมายเพราะเมื่อใดที่เราตามใจตัวเอง มัวแต่เดินตามเสียงกิเลส ถูกครอบงำด้วยอัตตา ตัวกู ของกู จึงไม่สามารถเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

          นอกจากนั้น ตัวการที่ทำให้แก้ปัญหาไม่ออก คือใจ ที่มีความคิดเห็นไม่เป็นกลาง คือ “อคติ” ความลำเอียง เมื่อมีความลำเอียงแล้วก็มองไม่เห็นความจริง ถึงแม้จะเห็นก็ไม่ยอมรับ และเมื่อไม่เห็นหรือไม่รับความจริง ก็มองไม่เห็นต้นเหตุแห่งปัญหา และแก้ปัญหาไม่ออก

          ในหลวงทรงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พสกนิกรของท่าน ไม่ตามใจตัวเอง ทั้งที่เป็นกษัตริย์ แต่ด้วยมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้พสกนิกร มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงทรงไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร ที่ดินทำกิน และแนะนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่พสกนิกร ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต เพื่อให้ทุกคนมีการพัฒนาแบบยั่งยืน และสุดท้าย คือสามารถยืนหยัดด้วยตนเอง แบบยั่งยืน ขอท่านจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน มีพระวรกายที่แข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้แก่อาณาประชาราษฎร์ ได้มีความร่มเย็นเป็นสุขตลอดไปด้วยเทอญ

 

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

จากหนังสือ 8k's + 5k's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน

จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ได้ผลต้องนำทฤษฎี 13 k's  ของ อ.จีระ มาใช้ เพราะมีผลงานเชิงประจักษ์      ลูกศิษย์ของท่านหลายคนได้สะท้อนให้ฟังหลังจากนำไปใช้ทุกภาคส่วน  โดยสรุปกล่าวว่าแนวคิดมีประโยชน์เมื่อนำไปใช้ ,  คิดต่อยอด ,  สร้างมูลค่าเพิ่ม  และชื่นชมอาจารย์ว่า สอนให้รู้จัก  Social Network  โดยเน้นว่า  We are the media  เมื่อรวมกันแล้วเปรียบเสมือนรวมหยดน้ำให้เป็น มหานที  มีพลังมหาศาล
13 k's  ของ  อ.จีระ  เป็นแม่บทในการพัฒนาทุนมนุษย์  เพื่อรองรับ AEC  คนไทยจะพัฒนาตนเองในด้านภาษา  มี skill  และทัศนคติในการทำงานข้ามวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนอาเซียนได้  ขณะเดียวกันชุมชนจะมีความแข็งแกร่งด้วยการอาศัยทุนแห่งการสร้างสรรค์  และทุนทางนวัตกรรม สร้างมูลค่าแก่  สินค้าของไทยนำไปแข่งขันในตลาด AEC ได้  
ทฤษฎีทุนมนุษย์มีที่มาจาก  6  องค์ประกอบสำคัญของ อ. จีระ คือ '' ครอบครัว   การศึกษา ,  การกีฬา ,  การทำงาน ,  สมาธิ  และความใฝ่รู้ ''  ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่น้อยคนจะมีโอกาสเช่นนี้  เมื่อ อ.จีระได้ตกผลึกทางความคิด  และถ่ายทอดมา  จึงไม่มีข้อกังขาใด ๆ  ที่จะนำทฤษฎีนี้ไปใช้อย่างได้ผล
นางสาวอุบลวรรณ สืบยุบล
                             1.หนังสือ 8 K's + 5K's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน 
            เป็นหนังสือที่ดีมากสำหรับทุกองค์กร  เพื่อการปรับตัวสู่ประชาคมอาเซียนในปี  2558  หนังสือเล่มนี้ได้ทราบประวัติบุคคล  ประวัติการทำงานของ ศ.ดร.จีระ  และมีโอกาสได้เรียนรู้จากตัวจริงเสียงจริงของท่าน  ซึ่งเป็นประโยชน์กับการเคหะฯอย่างยิ่งที่จะจริงจังกับการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง  เพื่อสร้างทุนมนุษย์ที่พร้อมสำหรับการแสวงหาโอกาสคิดริเริ่มโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยในเวทีอาเซียน  โดยหลักการสำคัญของ ทฤษฏี 8  ประการ (8k’s)  เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ประกอบด้วยทุน 8 ด้าน
  1. ทุนมนุษย์ (Human Capital) คือการศึกษา การเลี้ยงดูจากครอบครัว การฝึกอบรม
  2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นคนละประเด็นกับปริญญา แต่เป็นปัญญาจากความคิด ความรู้ มองความจริง มองสิ่งที่ตรงความต้องการ
  3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) การเป็นคนดี คิดดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตเป็นสาธารณะ
  4. ทุนแห่งความสุข (Hapiness Capital) เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ
  5. ทุนทางสังคม (Social Capital ) การมีเครือข่าย Intellectual Network
  6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) คือต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จและสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด
  7. ทุนทาง IT (Digital Capital) ต้องมีความรู้ ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ
  8. ทุนทาง ความรู้ ทักษะและทัศนคติ (Talented Capital)
    ทฤษฎี 5 k’s (ใหม่) เป็นแนวคิดทุนมนุษย์ใหม่ ประกอบด้วย
  9. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) การคิดนอกกรอบ
  10. ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) การใฝ่รู้ มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ตลอดเวลา
  11. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่และสามารถนำมาผสมผสานความรู้ และต้องนำไปปฏิบัติจริง
  12. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) มีความตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานการ ดำรงชีวิต เพื่อสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มทางสังคม
  13. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) การรู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผลการมองโลกในแง่ดี

                 2.  หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  เป็นบทสนทนาจาก  Guru  ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ  นักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุคที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง  สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับตนเองและองค์กรเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ทักษะความเชี่ยวชาญในการจัดการกับคน  สามารถดึงศักยภาพของคนให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรได้
    สรุปประเด็นที่น่าสนใจ - แนวคิดว่าคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานสำเร็จได้ด้วยคน - คนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินใดๆ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะสร้างผลิตผลเพิ่มให้องค์กร - ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอน และพี่เลี้ยง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา และเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับองค์กร - ผู้บริหารต้องใฝ่รู้ Learner เพื่อนำไปสร้างและพัฒนามันสมองหรือสร้าง Knowledge - การสร้างให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร  สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้การทำงานที่ดีคือการทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน - การทำงานคือการพักผ่อน ไม่ถือว่าเป็นภาระ การทำงานคือความสุข - การสร้างสภาพแวดล้อม สร้างบรรยากาศเชิญชวนให้อยากทำงาน ทั้งด้านกายภาพและบรรยากาศความเป็นมิตร เป็นทีมงาน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน  คือทำอะไรทำจริงจังทำอย่างต่อเนื่องไม่ยอมแพ้อุปสรรคลงลึกในงาน  เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนหรือตัดสินใจต่อยอดงานจะเป็นจุดเปลี่ยนของคนและองค์กร แต่คนที่มีการศึกษาสามารถพัฒนาให้มีจริยธรรมได้ -
    

    ผู้บริหารต้องฝึกการเป็นผู้รับฟังและบูรณการความคิดของคนหลายๆคนเข้าด้วยกัน

                               3.ธรรมดีที่พ่อทำ  โดยดนัย  จันทร์เจ้าฉาย
                     สรุปประเด็นสำคัญผู้เขียนเป็นนักธุรกิจหนุ่มที่ได้ทุ่มเทงานด้านส่งเสริม
    

    พระพุทธศาสนาท่ามกลางสังคมไทยที่สับสนวุ่นวายด้วยปัญหาความแตกต่างทางความคิดของคนส่วนใหญ่จึงจำเป็นที่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ควรมี “ต้นแบบ” แห่งความดีตามแนวทางพระเจ้าอยู่หัวและร่วมใจกันเผยแพร่ความดีงามให้แผ่กว้างในสังคมไทย จะทำให้แผ่นดินไทยเป็นดินแดนที่น่าอยู่ สมดังคำพูดที่คุ้นเคยได้ยินบ่อยครั้งว่า “คนไทยโชคดีที่สุดในโลกที่มีพระเจ้าอยู่หัว” ที่สำคัญต้นแบบต้องนำมาสู่การปฏิบัติ “I do” เมื่อคนไทยมีต้นแบบ “Idol” ที่ดีที่สุดแต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติสำหรับตัวเองจะดำเนินตามต้นแบบคำสอนที่ดีงามทั้งหลายในชีวิตประจำวันและหน้าที่การงาน ทำหน้าที่ของตนอย่างสุดกำลังความสามารถ ฟันฝ่าอุปสรรคแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ตลอดทั้งเล่มมีพระราชดำรัสคำสอนต้นแบบที่เป็นความจริงยั่งยืนหากคนไทยนำมาประพฤติปฏิบัติได้ จะนำมาซึ่งความสุข ความสวัสดี และเกิดความเจริญมั่นคงแก่ส่วนรวมและชาติบ้านเมือง

ประจำศรี บุณยเนตร

วันที่ 29 มิถุนายน 2555

เช้าวันนี้ ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องตลาดการเงิน ซึ่งมีทั้งตลาดการเงินในระบบ และนอกระบบ ในที่นี้จะเอาเฉพาะการเงินในระบบ ก็ยังแบ่งเป็นตลาดเงินและตลาดทุน
ตลาดเงิน เป็นตลาดในระยะสั้น ไม่เกิน 1 ปี ส่วนตลาดทุนเป็นตลาดระยะยาวที่เกิน 1 ปี
ตลาดการเงิน ก็ยังแบ่งเป็นตลาดส่งมอบทันที กับตลาดซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งมีไว้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยง
ตลาดทุน ก็แบ่งเป็นตลาดแรก ได้แก่ตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ กับตลาดรองได้แก่ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์
นอกจากนั้น ยังได้รู้ถึงประเภทของสถาบันการเงิน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือสถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น
อาจารย์ยังได้ให้ความรู้เกี่ยวกับงบดุล งบกำไร ขาดทุน และงบแสดงกระแสเงินสด ซึ่งเปรียบเหมือนเลือดในร่างกาย
และในการลงทุน อาจารย์ให้ความรู้ด้าน Project Financing อีกด้วย

ส่วนช่วงบ่ายเป็น Panel Discussion ประเด็นการบริหารกลยุทธ์องค์กร จากกรณีศึกษาของ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช.ซึ่งบอกว่าเรามักจะคิดว่าเอกชนจะเก่งกว่าเรา ข้อมูลมากกว่าเรา ซึ่งไม่จริงเสมอไป เอกชนเองกลับมองว่าภาครัฐข้อมูลดีกว่า รู้ลึกกว่า เพียงแต่เอกชนตัดสินใจได้เร็วกว่า
คุณรุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง จากหมู่บ้านซื่อตรง เล่าประสบการณ์ในการทำธุรกิจของครอบครัว ที่เริ่มต้นจากการที่พ่อได้โอกาสจากสหธนาคารในการกู้เงิน ซื้อที่ดิน 300 ไร่ ในการทำโครงการแรก ซึ่งสมัยนั้นมีความต้องการซื้อบ้านกันมาก
คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์ ที่ปรึกษาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บอกว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ คือ
1.Positioning การวางตำแหน่งของตนเองต้องเหมาะสม
2.Planning     มีการวางแผนให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่วาง โดยการวิเคราะห์ SWOT 
คุณอนุชา มองว่า กคช.มีจุดเด่น คือประสบการณ์ และการเมืองสนับสนุน ต้องเปลี่ยนจากการถูกชี้นิ้วเป็นชี้นำเขา เพราะภารกิจ กคช.สอดคล้องกับทุกพรรคการเมือง ตอนปี 2525 ภาพของ กคช.สูงสุด เป็นผู้นำด้านวิชาการที่อยู่อาศัย จนปัจจุบันบทบาทของ กคช.เป็นแค่ Developer เพราะไปแข่งขันกับเอกชน ซึ่งไม่มีใครอยากแข่งกับ กคช.เลย คือ สร้างเมือง สร้างชุมชน
ประจำศรี บุณยเนตร

วันที่ 30 มิถุนายน 2555

วันสุดท้ายของการอบรม ในช่วงเช้าเป็น Panel Discussion เกี่ยวกับการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ และ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์
อาจารย์ธัญญา บอกว่า เรื่อง HR.ไม่ใช่แค่ฝึกอบรม แต่ต้องบ่มเพาะนิสัยด้วย เพราะจะทำให้เข้าไปในตัวเอง สมองของเราเรียนรู้จากการฟัง เดี๋ยวก็ลืม คนเราใช้สมองกันแค่ 1% ยังไม่ได้ใช้อีก 99% สมองมี 2 ซีก เราต้องใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาร่วมกัน จะมีพลังและศักยภาพมหาศาล
อาจารย์แนะนำวิธีการทำ Mind map มาใช้ในการจดบันทึก ในการ Brainstorm คิดอะไรให้จด ไม่เช่นนั้นมันจะหายไปโดยที่ไม่กลับมา
คุณสุทธิเดช อดีตรองผู้ว่าการ กฟภ.ที่ดูแลงาน HR.เล่าประสบการณ์การสร้างทุนมนุษย์ใน กฟภ.ช่วงปี 2550 – 2554
มองว่าทุนมนุษย์คือ ต้องมีสติปัญญา ความสามารถ จริยธรรม ทุนทางปัญญาคือความสามารถบวกกับความผูกพันองค์กร ความสามารถสร้างโดยฝึกอบรมและดูงาน ความผูกพันองค์กรสร้างโดยเอาใจใส่ลูกน้อง ถือหลัก รู้ใจ – เข้าใจ – ใส่ใจ – เอาใจ – ได้ใจ – ทำใจ – ตัดใจ
ดร.ศิริลักษณ์ ชี้ว่าการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องปรับไปตามสถานการณ์ Adaptive Change ซึ่งต้องมี Ideas for Change โดยต้องดู Structure , System , Processes และ Practices
ต้องทำ E-learning การแก้ปัญหาและความผิดพลาดเป็นการเรียนรู้ การ Coach ไม่ใช่เป็นการสอนงาน ไม่เช่นนั้นจะวางบทบาทเป็นครู แต่การ Coach คือบทสนทนา มีคำถาม คำตอบ ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  การ Coach คือการสร้างการเรียนรู้ตลอดเวลา

          วันนี้เรียนวันที่ 7 (29 มิ.ย.55) ช่วงเช้า เรื่อง Finance for Non – Finance / Financial Prespective  โดยท่านอาจารย์กุศยา ลีฬหาวงศ์  ได้ความรู้ในเรื่องตลาดการเงิน (Financial Market) ตลาดการเงินในระบบ ซึ่งแบ่งเป็นตลาดเงินในระบบ (Money Market) กับตลาดทุนในระบบ (Capital Market) ตลาดเงิน เช่น เงินฝาก , ตราสาร อายุไม่เกิน 1 ปี ถ้าเกิน 1 ปี เรียกว่าตลาดทุน และตลาดการเงินยังแบ่งตามระยะเวลาส่งมอบเป็น ตลาดส่งมอบทันที (Spot Market) และตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market) เป็นตลาดทองสำหรับตลาดทุน มีตลาดแรก (Primary Market) ตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ และตลาดรอง (Secondary Market)  ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน (Financial Institution) แบ่งเป็น Bank และ Non – Bank สำหรับ Bank เป็นธนาคารพาณิชย์ และธนาคารภายใต้กฎหมายพิเศษ

            นอกจากนั้นได้รู้หลักเงินสด , เงินสดรับ , เงินสดจ่าย หรือหลักค้างรับค้างจ่าย , งบการเงินประกอบด้วย งบดุล (งบแสดงฐานะทางการเงิน) งบกำไรขาดทุน และงบแสดงกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นงบที่สำคัญที่สุดเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกาย การดูงบอย่างน้อยต้องดูย้อนหลัง 3 ปี ถ้าดู Statement ของบุคคล อาจารย์ให้ดูอย่างน้อย 6 เดือน สำหรับเรื่องการลงทุน (Investment) ให้ดูการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด เพราะการลงทุนมีได้มีเสีย ถ้าผลตอบแทนไม่คุ้มไม่ต้องลงทุน  Project Financing  การบริหารการเงินการลงทุน ต้องดูจุดคุ้มทุน และดูมูลค่าปัจจุบัน (Net Present Value) ถ้าเป็นบวกแสดงว่ากำไรถ้าเป็นลบ แสดงว่าขาดทุน

            ความรู้ที่ได้ในวันนี้ ทำให้เข้าใจเรื่องการเงิน การลงทุน มากขึ้น ซึ่งบางอย่างเป็นการทบทวนและบางอย่างเป็นความรู้ใหม่ แต่ทั้งหมดเป็นประโยชน์นำไปปรับใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี

            ช่วงบ่าย การบริหารกลยุทธ์องค์กร สู่ความเป็นเลิศเป็นลักษณะ Panel Discussion โดยดร.ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล   รอง ผอ.สวทช.   คุณรุ่งโรจน์  ลิ่มทองแท่ง  จากบริษัทซื่อตรงกรุ๊ปจำกัด และคุณอนุชา กุลวิสุทธ์   

          ท่านอาจารย์ณรงค์ฯ “การที่องค์กรจะสู่ความเป็นเลิศ”  มีดังนี้

          - ผู้นำ มีวิสัยทัศน์ ภารกิจอย่างไร

          - สร้างกลยุทธ์ได้อย่างไร ควรค้นหาตัวเองว่าเก่งอย่างไร เรามี คนอื่นไม่มี

          - ใครคือ  Partner , Competetor , Steakholder และ  Customer

          - บุคลากรของเราเป็นอย่างไร

          - กฎหมายเอื้อหรือขัดขวางกลยุทธ์เราอย่างไร

          - ข้อมูลมากน้อยเพียงใด

          - ผลประกอบการเป็นอย่างไร

          อาจารย์รุ่งโรจน์ฯ (ซื่อตรงกรุ๊ป) ท่านเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การทำอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่เริ่มต้นซึ่งท่านมีความจริงใจในการถ่ายทอดประสบการณ์มาก อะไรที่ท่านทำพลาดท่านก็ไม่ได้ปิดบังนำมาเล่า เพื่อเป็นประโยชน์กับพวกเราต่อไป ยุคแรกเริ่ม ปี 2527 ขายได้หมดเร็ว สมัยก่อนธนาคารปล่อยเงินกู้ง่ายมาก ต่อมาเป็นยุควิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ถูกธนาคารยึดที่ไปหลายร้อยไร่ หลังปี 2540 ต้องใช้หนี้ธนาคาร ปัจจุบันที่ดินมีราคาแพงขึ้น การทำธุรกิจ Bank ปล่อยเงินกู้ยากขึ้น การทำธุรกิจก็ต้องกระชับ และระมัดระวังเพิ่มขึ้น

          อาจารย์อนุชาฯ “หัวใจบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ” คือ Positioning การวางตำแหน่งของตนเองหาให้ได้ และดึงจุดเด่นของตัวเรา และอาจารย์มีความเห็นว่าการเคหะฯ ควรทำบ้านที่แตกต่างจากเอกชน และการเคหะฯ ควรเป็นผู้นำในเรื่องข้อมูลที่อยู่อาศัยเหมือนสมัยก่อน

          สำหรับในเรื่องนี้มีความเห็นตรงกับอาจารย์ อยากให้การเคหะฯ เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่อาศัย เมื่อนึกถึงเรื่องข้อมูลที่อยู่อาศัย อยากให้นึกถึงการเคหะฯ ซึ่งเวลานี้การเคหะฯ มีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รวมทั้งมีงานวิจัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

      วันที่ 8 (30 มิ.ย. 55) วันสุดท้ายของการเรียน

      เรื่องการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ภาคเช้าเป็น Panel Discussion  บ่ายเป็นการทำ Workshop และ Presentation

      ประสบการณ์จากอาจารย์สุทธิเดช  สุทธิสมณ์  กรณีการสร้างทุนมนุษย์ใน กฟภ. ซึ่งทาง กฟภ. ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง และประสบปัญหาเรื่องการสืบทอดตำแหน่งเช่นเดียวกับการเคหะฯ และรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ที่มีช่วงเวลาหนึ่ง รัฐบาลไม่ให้รับคน แต่สำหรับการเคหะฯ จำนวนบุคคลากรขององค์กรน้อยกว่ามาก เป็น 10 เท่า ถ้าเราลงทุนสร้างทุนมนุษย์เช่นเดียวกับ กฟภ. เราคงเทียบเคียงกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่นได้ เพราะทุนมนุษย์ของเรากว่าจะเข้าการเคหะฯ ได้ มีการสอบคัดกันหลายรอบ

      ท่านอาจารย์ธัญญาฯ  สอนให้เราทำ Mind Map คือเทคนิคการจดบันทึกที่พัฒนาขึ้นจากการทำงานของสมอง คือใช้ภาพและเส้นร่วมกัน เพราะถ้าเราไม่ทำ ความคิดของคนเรา จะหายไปเหลือไม่ถึง 5-6 %  ภาคบ่ายเราได้แบ่งกลุ่มทำ Workshop และ Presentation เป็น Mind Map ซึ่งเป็นประโยชน์ในการคิดและจดจำเป็นอย่างมาก

      ท่านอาจารย์จีระฯ ท่านเน้นเรื่อง Learning Organization องค์กรแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ กระตือรือร้น โดยฝึกการคิดวิเคราะห์และนำเสนอ

      ต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระฯ ที่ทำให้พวกเราได้รับความรู้ โดยฝึกนิสัยพวกเราให้รักการอ่านมากขึ้นพยายามสร้างบรรยากาศในห้องเป็นห้องสมุด จัดหนังสือดี ๆ มาให้พวกเรายืมไปอ่าน วิทยากรแต่ละท่าน รวมทั้งท่านอาจารย์ ทำให้เราได้รับความรู้อย่างเต็มที่ ให้พวกเราได้แสดงความคิดเห็นในห้องเรียน รวมทั้งแสดงความคิดเห็นลงใน Blog. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อีกครั้ง จะพยายามนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ท่านอาจารย์ได้ให้ไว้พัฒนาต่อไป เพื่อเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าให้กับการเคหะแห่งชาติ

 

วันที่ 21 มิถุนายน 2555 เรื่อง วันที่ 21 วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ได้วิเคราะห์กรณีศึกษาการบริหารธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ให้ประสบผลสำเร็จ ใฃ้ Model วงล้อรถ 5 ล้อ ได้แก่การตลาด การผลิต การเงิน และบุคคล และ Back up System ต้องบูรณาการล้อทั้งหมด ในส่วนผสมที่เหมาะสมรถจึงสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญต้องพิจารณา Demand Focus ไม่ใช่ Supply Focus การผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า และพัฒนาให้เกิด Brand Loyalty
อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ธุรกิจต้องปรับตัวด้วยการสร้างองค์ความรู้ และความท้าทายใหม่ตลอดเวลา การตลาดต้องสมัยใหม่ ต้องชัดเจนเรื่อง Business Concept การผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ Lifestyle Techonolgy และมีนวัตกรรม การเคหะฯ ต้องพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ สร้าง Value Innovation เน้นความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

          หนังสือธรรมดี ที่พ่อทำ (ดนัยจันทร์เจ้าฉาย) เป็นหนังสือที่รวมเนื้อหา สอดแทรกหลายแง่มุมที่คนไทยไม่เคยล่วงรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักคนไทยมากมายเพียงใด และอีกหลายเรื่องที่ได้ถูกบันทึกครอบคลุมทุกมิติแห่งการครองราชย์ที่ยาวนานที่สุดในโลก เนื้อหาธรรมะของพระราชา เพื่อให้คนไทยทุกคนได้น้อมนำมาใช้ในชีวิตของตนอย่างเข้าใจและทำได้ง่าย แต่ให้ผลในทางที่เจริญและมีความสุขอย่างมั่นคง

          ซึ่งพระองค์ทรง ทำให้ดู ทรง อยู่ด้วยการให้ ทรง มีความสุขที่ได้ทำ

โดยยกตัวอย่างธรรมะที่ทรงทำเป็นตัวอย่างให้หนึ่งธรรมะคือ

อิทธิบาท 4

           ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หมายถึง ความสุข ความเพียร ความตั้งมั่นใส่ใจในรายละเอียด และการประเมินโดยรอบ

เป็น “หลักการทำงาน” ที่คนไทยควรน้อมนำมาปฏิบัติตามพระองค์ท่าน เพื่อเจริญรอยตามความสำเร็จที่มั่นคง และเจริญก้าวหน้าที่ผาสุก

           ฉันทะ (การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ) พระเจ้าอยู่หัวทรงทำงานในฐานะพระราชาด้วยความรัก ความพอพระทัยที่จะทำนุบำรุงสุขแก่ประชาชนที่ท่านรัก

           วิริยะ (ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในการงาน) ไม่ว่าจะไกลหรือยากลำบากเพียงใด แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงมีพระเมตตา เสด็จฯ เยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์เพื่อรับรู้และเข้าถึงปัญหาด้วยพระองค์เอง

           จิตตะ (ความจดจ่อใส่ใจในงาน) เห็นได้จากภาพข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัย ใส่ใจ และติดตามงานที่ทรงกระทำอยู่ แม้เสด็จฯ กลับจากสถานที่นั้นแล้ว แต่บางเรื่องพระองค์ท่านก็ยังคงคิดหาทางแก้ปัญหา หรือหาทางออกให้พื้นที่นั้นอย่างต่อเนื่อง

            วิมังสา (คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ/ตรวจสอบ) พระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นต้นแบบแห่งการเป็นนักจัดการความรู้แบบไทย ๆ เพราะทรงจดบันทึก ในการบันทึกมีทั้งที่ท่านทรงบันทึกเองและผู้อื่นบันทึกถวาย พระองค์ท่านจะนำบันทึกทั้งสองอย่างนี้มาประมวลและวิเคราะห์แยกแยะสาระสำคัญ นอกจากนี้ยังทรงชี้แนะและเสริมความรู้ให้ผู้ถวายรายงาน ได้มีความรู้เพิ่มเติม

และทำสำคัญ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้

ทรงทำทุกอย่าง ด้วยใจ ไม่ใช่ทรงทำ ตามใจ

           พวกเราจะร่วมกันทำความดี และหน้าที่ของตนอย่างสุดกำลังความสามารถ น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการดำเนินตามวิถีแห่ง “ธรรมดี ที่พ่อทำ”

วันที่ 22 มิถุนายน 2555 ภาคเช้าเรื่อง การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ อ.สุวรรณ วลัยเสถียร แนะนำวิธีการบริหารงบประมาณส่วนบุคคล ซึ่งมีการลงทุนหลายรูปแบบได้แก่ การชื้อพันธบัตร หุ้น กองทุน ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ เหรียญทองคำทั้ งของต่างประเทศ และในประเทศ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้าน ที่ดิน คอนโด การลงทุนต้องมีความพร้อม มีความรู้ ดูความเสี่ยง และอาจารย์ศิรัส ลิ้มเจริญ เรื่องงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ การตั้งงบประมาณต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเข้าใจง่าย โดยมีขั้นตอนได้แก่ 1.การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2.แผนงาน 3. แผนการเงิน 4.การควบคุมและการประเมินผล การวางแผนงบประมาณต้องมีข้อมูล ภาคบ่าย เรื่อง การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยง หมายถึง เหตุการณ์ หรือการกระทำที่ทำให้การดำเนินงานขององค์กรไม่บรรลุเป้าหมาย ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การบริหารจัดการความเสี่ยงจึงเป็นการจัดการให้ความเสี่ยงหมดไป หรืออยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้/ควบคุมและยอมรับได้ กระบวนการบริหารความเสี่ยงจะประกอบด้วย 1. การระบุความเสี่ยงที่มีอยู่ และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2. การประเมินความเสี่ยง จากปัจจัยด้านผลกระทบและโอกาสเกิด 3. การบริหาร/จัดการความเสี่ยง 4. การติดตามประเมินผล

วันที่ 14 มิถุนายน 2555 เรียนรู้เรื่องภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1) และเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง(1) ได้รู้จักและเข้าใจความแตกต่างระหว่าง "ผู้จัดการ" และ "ผู้นำ" อย่างชัดเจน “ผู้จัดการ” จะเน้นเรื่องระบบการจัดการ มองเฉพาะด้าน สนใจเรื่องกำไรขาดทุน ประสิทธิภาพของงาน ใช้ When และ How to เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ “ผู้นำ” ให้ความสำคัญ กับคน เรียกว่า “ทุนมนุษย์” ต้องสร้างศรัทธา มองในภาพกว้างและระยะยาว ผู้นำควรมีคุณลักษณะ 4 ประการ 1. Character 2. Skill 3. Process 4. Value องค์กรสามารถสร้างผู้นำโดยใช้ทฤษฎี 5 E’s Example - เป็นตัวอย่างที่ดี Experience - ถ่ายทอดประสบการณ์ Education - ให้ความรู้ Environment - สร้างบรรยากาศที่ดีจะทำให้ผู้นำเกิด Evaluation - มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง หลักการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องยอมรับ ปรับเปลี่ยน เตรียมพร้อม(ประเมินสถาณการณ์) และควบคุมการเปลี่ยนแปลง(กระบวนการ) สิ่งสำคัญต้องอย่าด่วนสรุป .กำจัดความคิดในเรื่อง “สบายๆ” ออกไป การเคหะแห่งชาติจำเป็นต้องมีผู้นำ ต้องเตรียมการสร้างทายาทเพื่อดำรงตำแหน่งผู้บริหารในทุกระดับ และพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดในตัวผู้นำในทุกระดับ องค์กรจึงจะอยู่รอดอย่างสง่างาม

วันที่ 28 มิถุนายน 2555 เรื่องวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ โดยศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และ อาจารย์ พิชญ์ภูรี จันทรกมล โดยภาคเช้าเน้นประเด็นด้านการตลาด/ การเงิน / วัฒนธรรมองค์กร และการผลิต และภาคบ่ายเป็นการ Workshop – Presentation อาจารย์ได้ตั้งประเด็นเป็นคำถาม 7 ประการ ที่ถือได้ว่าเป็น Spiritual Aspects หรือ DNA ของการเคหะฯ และแสดงพฤติกรรมให้เห็นได้ว่าเราเป็นพวกเดียวกัน ที่เรียกว่าวัฒนธรรมประจำองค์กร (Corporate Culture) ซึ่งประกอบด้วย
1. พิธีกรรม (ทั้งเล็กและใหญ่) เช่น งานกีฬาภายใน (ใหญ่) การประชุมระดมสมองในเรื่องสำคัญๆ(เล็ก) 2. จุดเน้น หรือ strategic issue เน้นอะไร กระบวนการ (Process) หรือ ผลงาน (Outcomes) และมอง Impact 3. HERO คือใคร? สเปคเป็นอย่างไร? ไม่ใช่บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ในองค์กร 4. การแก้ปัญหา เมื่อเกิดปัญหาอุทานว่าอะไร? เช่น ไอ้หยา! ใครบอกให้คุณทำ! เฮ้อ ทำไมทำอย่างนี้? 5. ก๊วน – ก๊วนที่ช่วยแก้ปัญหา – ไม่เป็นทางการ 6. วิธีการสื่อสาร (2 ทาง) ภายในองค์กรในเวลาที่ต้องการการ feedback อย่างรวดเร็ว ใช้วิธีอะไร? 7. การตัดสินใจ Top down กี่% Bottom up กี่% Consensus กี่% การเคหะแห่งชาติจะก้าวข้ามปัญหา และอุปสรรค และประเด็นท้าทายการเข้าสู่ AEC ได้อย่างไร อาจารย์จีระ ได้เสนอให้นำทฤษฎี 2 R’s ของอาจารย์ มาใช้วิเคราะห์และจัดการกับปัญหา อุปสรรค และประเด็นท้าทายนั้น ได้แก่ Reality และ Relevance

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

ธรรมดีที่พ่อทำ

     ในการอบรมผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 1 ได้มี  Workshop  ระดมความคิดเรื่อง “การสร้างความสำเร็จของการเคหะแห่งชาติ โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร” ในกลุ่มและอาจารย์จีระ ได้พูดกันว่า ยาก เพราะเป็นเรื่องนามธรรม แต่เมื่ออ่าน“ธรรมดีที่

พ่อทำ”คุณดนัยและอีกหลายสิบล้านคนรวมทั้งข้าพเจ้าเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล  ทรงเน้นที่สุด ด้านคุณธรรม ความดีงาม ต้นแบบของโลกด้านนวัตกรรม ทรงเป็นภาพลักษณ์ของประเทศเมื่อ เอ่อถึงประเทศไทยTypical ของประเทศ คือ คิงภูมพล

     ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ 65 ปี พระองค์ให้คนไทยให้ประเทศทุกอย่าง พระองค์ขอจากพสกนิกรอย่างเดียวคือ การที่ขอให้ทรงพระเจริญนั้นขอให้คนไทยรวมพลัง ร่วมมือทำหน้าที่ให้ประเทศชาติเจริญ

     หน้าที่ของคนไทย คือ ทำตามสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้ดู ทรงอยู่ด้วยการให้ พระองค์ให้ความสุขที่จะมี

ร่วมกันในการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น การทรงงานของพระองค์กว่า 4 พันโครงการที่ทำมาไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์

     หลักในการทำงานของพระองค์ คือ อิทธิบาท 4 : ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  ซึ่งทรงทำให้ดู เห็นได้จาก

ภาพข่าวที่ทรงงานต่างจังหวัด

-    มีฉันทะ  คือ  รู้ใจ  ไม่ทำตามใจ ดูว่าประชาชนมีปัญหาอะไร

-    วิริยะ     คือ  ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนก็มุ่งมั่นที่จะช่วยแก้ไขให้ได้

-    จิตตะ     คือ  จดจ่อใส่ใจในงาน พระองค์นำปัญหากลับมาเพื่อหาทางออกอย่างต่อเนื่อง

-    วิมังสา    คือ  ใคร่ครวญอย่างรอบคอบ พระองค์จดบันทึกหรือมอบให้ผู้อื่นจดถวายเพื่อนำมา

                       วิเคราะห์ และชี้แนะผู้ถวายงานต่อไป

การที่พระองค์สามารถแนะนำตั้งแต่ข้าราชการระดับสูงถึงชาวบ้าน เป็นเพราะพระองค์ได้ผ่านการปฏิบัติจริงตั้งแต่ทรงพระเยาว์ มีห้องปฏิบัติการในตำหนักทั้งต่างประเทศและในประเทศ ทำให้รู้จริง ซึ่งหลวงพ่อชา ได้สอนว่า

“รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ” พระองคเน้นการเรียนรู้แบบที่ต้องลงมือปฏิบัติจริงว่าเป็นการทำแบบคนจนไม่มีเงินซื้อตำรา

    และที่สุดหนังสือเล่มนี้ได้สรุปธรรมดีที่พ่อทำที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างการำเนินชีวิต ได้แก่ ความกตัญญู

ความอ่อนน้อมถ่อมตน  ความพอเพียง  ความซื่อสัตย์  ระเบียบวินัย  ความอดทน   ซึ่งแต่ละเรื่องมีพระเจ้าอยู่หัวเป็นต้นแบบอย่างแท้จริง  รวมทั้งเรื่องที่จับใจข้าพเจ้ามากคือ เป็นคนสำคัญนั้นดีแต่เป็นคนดีสำคัญกว่า ทรงมีพระบรมราโชวาทว่า “ถึงจะทำความดีแต่ไม่ได้ผลตอบแทนก็ให้มุ่งทำต่อไป ผลประโยชน์ทางโลกอาจมีคนมาฉกฉวยได้ แต่ผลที่ได้ทางธรรมจะอยู่กับเราไม่มีใครมาแย่งไปได้”

 

จุฑากาญจน์  ศิริไสยาสน์

อบรมผู้บริหาร รุ่นที่ 1

นายอำนาจ ดิสสะมาน

ขอส่งบทวิจารณืหนังสือ 8k 5k 8 k’s + 5 k’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือเล่มนี้  เป็นการถ่ายทอดแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ไทย  รองรับการก้าวเข้าสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี  2015  นี้  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ  AEC  เป็นโจทย์ที่ท้าทายและน่าสนใจสำหรับประเทศไทย  เพราะคนไทยหรือสังคมไทยจะได้รับโอกาส  ประโยชน์หรือความเสี่ยงนั้น
หนังสือเล่มนี้อ่านแล้วทำให้เห็นว่า  สังคมไทยของเราต้องการ  “ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ”  เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดของการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน  โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  การวางแผนพัฒนาบุคคลากรในองค์กร  

เราสามารถใช้แนวคิด 8 k’s + 5 k’s เป็นกรอบได้อย่างดีและกลยุทธ์

หนังสือเล่มนี้ยังมีตัวอย่างที่ดี  น่าสนใจ  เป็นจำนวนมากมายที่องค์กรของเรา กคช.  กากรนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร  โดยเฉพาะทันทางคุณธรรมและจริยธรรม  (Ethical  Copital)  ความดีคู่กับความเก่ง
เนื้อหาในหนังสืออ่านแล้ว  การที่ประเทศไทยเข้าร่วม  AEC ครั้งนี้เป็นโอกาสหรือความเสี่ยง  เราควรจะทำอย่างไร  ต้องมีการปลี่ยนแปลงหรือไม่  (ในทางที่ดีขึ้น)  อ่านแล้วเหมือนเราได้รู้ว่าโลกนี้  (โดนเฉพาะในอาเซียน)  เราจะจัดการสถานการณ์ต่างๆ  ให้ได้  ให้เป็น  โดยใช้ปัญญา
สุดท้าย  เมื่ออ่านจบหันมาดูองค์กรของเราการเคหะแห่งชาติทฤษฎี  8 k’s  และ 

5 k’s ของดร.จีระ จะแนะแนวทางนำพาองค์กรโดยผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน พนักงาน ความร่วมมือ – รวมใจ ทำงาน เปลี่ยนแปลง ปลูกฝัง หล่อหลอม สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ สร้างภาวะผู้นำ การเป็นคนเก่ง คนดี ทุ่มเท ใช้สติปัญญาสร้างองค์กร สร้างผลงานที่เป็นเลิศ นั้นคือ “การสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ”

                                นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

ขอส่งบทเรียนวันที่ 21 มิถุนายน 2555 21 มิถุนายน 2555 (เช้า) วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

อาจารย์ได้กล่าวถึงกรณีศึกษา  หมู่บ้านแม่กำปอง  จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งได้รางวัลที่ 1  ของ  ASIAN  PACIFIC  ซึ่งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  เป็นชุมชนตัวอย่างที่พึ่งพาตนเอง  รักษ์สิ่งแวดล้อม  รักษ์ป่า  ได้ดีเลิศเป็นลักษณะองค์ความ

รู้ใหม่ ซึ่งจะต้องเปิดใจรับองค์ความรู้ใหม่ เป็นการต่อยอดความรู้เดิม โดยในอดีตหมู่บ้าน แม่กำปอง มีอาชีพที่สำคัญในหมู่บ้านคือ “เมี่ยงเมืองเหนือ” ปัจจุบันคนไม่นิยมที่จะกินกันแล้ว และได้หันมาปลูกพืชอื่นแทน เช่น กาแฟ

อาจารย์ได้พูดถึง  โลกสมัยใหม่ทำอะไรบ้างนั้น  คือ  การตลาดประสบการณ์ตัวอย่างที่

อ.หัวหิน “เพลินวาน”

เดี๋ยวนี้  “คนต้องการสัมผัสของจริง”  ถ้าต้องการพัฒนา  Project  ใหม่ๆ  =  Why  day  Why  ความคิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ
กคช.  ในอนาคตกลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่  คนสูงอายุ  ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานสังคมที่ดี  เน้นการสร้างบ้านลักษณะ  เช่น  Smile  Community  เป็นการสร้างบ้านในแบบใหม่  Rebrand  กคช.ใหม่
หากมีการระดมสมอง  หรือต้องการจะปรับเปลี่ยนอย่าพูดถึงปัญหาในเรื่องนั้นๆ  

จงพูดว่า “โอกาส” ของเรา

21 มิถุนายน 2555 (บ่าย) วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โดยศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

เป็นการสอนลักษณะโดยนำความรู้ประสบการณ์จากการทำงาน  การติดต่อกับบุคคลทั้งในและต่างประเทศ  การถ่ายทอดประสบการต่างๆ  ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฟังเป็นอย่างดียิ่ง
โดยมุ่งเน้นให้ กคช.  ต้องปรับเปลี่ยนเป็นแบบ  Dynamic   ตามสถานการณ์ต่าง ๆ 

โดยยกตัวอย่างบริษัทจัดสรรบ้านและที่ดิน Land & House ซึ่งเป็นหมู่บ้านจัดสรรในชั้น แนวหน้า ประชาชนผู้บริโภคส่วนใหญ่จะรู้จักชื่อเสียงในอดีต แต่ปัจจุบันชื่อเสียงแย่ลง เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตรงกันข้ามกับบริษัทบ้านจัดสรรพฤกษา กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ (ในอาเซียน) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

อ.ไกรฤทธิ์  ได้เปรียบการเคหะแห่งชาติเหมือนรถยนต์ที่มี  5  ล้อ  ผู้บริหาร  (ผู้ขับ)  

ต้องมองภาพรวมของรถยนต์ ความหมายของแต่ละล้อคือ ล้อ 1 การตลาด , ล้อ 2 การผลิต , ล้อ 3 การเงิน , ล้อ 4 บุคลากร , ล้อ 5 Information การตลาดต้องสร้าง Brand ขับเคลื่อน
การเคหะแห่งชาติควรเปลี่ยนเอา Brand มาค้ำประกัน

การเคหะแห่งชาติ  ควรจะหาพันธมิตร  โดยขณะนี้ที่สำคัญได้แก่  สนง.ทรัพย์สินฯ  กรมธนารักษ์  และการรถไฟ
กคช.  ขาย  House  แต่ผู้ซื้อซื้อ  Home 



                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

22 มิถุนายน 2555 (เช้า) วิชาการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดยดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

ซึ่งอาจารย์ได้พูดถึงงบประมาณ  ในที่นี้หมายถึงงบประมาณครัวเรือน  โดยได้แยกเป็น  2  กอง  คือ  1.  มีตัวตน  2.  ไม่มีตัวตน
เราต้องรู้จักการวางแผนด้านการเงินและภาษีตั้งแต่ต้นปี  เช่น  ปีนี้มีรายได้มากน้อยเท่าใด  จะออมอย่างมีวินัย  เช่นการซื้อกองทุนเลี้ยงชีพ  กองทุน  RMF  หรือการประกันชีวิต  

การผ่อนบ้าน

ต้องมาดูแลการเงิน  การคาดคะเนว่าในสัปดาห์จะลงทุนอะไร  โดยเฉพาะการเลือก

ซึ่งหุ้นที่เจ้าของดูแล หุ้นลักษณะนี้ จะมีการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น

อาจารย์ได้เปรียบเทียบจิตวิทยาในการลงทุน  Psycholvgy  of  Investing  รูปกระทิง  

การลงทุนเป็นแบบขาขึ้น ทำกำไรได้ เหมือนกับรูปหมี หากเป็นหมู หากไปซื้อแล้วจะมีทั้ง กำไร – ขาดทุน ถ้าเปรียบเป็นแกะ ซึ่งแกะเป็นสัตว์ที่ขี้กลัว อยากลงทุนแต่กลัว จะไม่มี โอกาสกำไร

อาจารย์สุวรรณ  ได้จัดตั้งชมรมคนออมเงิน  มีสมาชิกกว่า  27,000  คน  ไม่เสียค่าสมาชิก
การลงทุนให้ผลตอบแทน  เราควรลงทุนอย่างไร
-  ที่ดิน  หุ้น  พันธบัตร  หุ้นกู้  กองทุน
-  ทองคำ  เพชร  พลอย  เงินสด
-  การลงทุนในต่างประเทศ  (เวลานี้ไม่มีการลงทุน  เพราะมีความผันผวนมากกว่าไทย)
การออมต้องมีวินัย  การลงทุนความเสี่ยงนั่นคือ  ความโลภ

นายอำนาจ ดิสสะมาน

22 มิถุนายน 2555 (บ่าย) วิชาการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยอาจารย์สมชาย ไตรรัตนภิรมย์

การอบรมการบริหารความเสี่ยงสำหรับองค์กร
ต้องมีคณะกรรมการ  ใส่ใจการบริหารความเสี่ยง  ทุกคนต้องทราบการบริหารความเสี่ยง  ต้องเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรพิจารณาบริหารจัดการผลกระทบขององค์กร
อุปสรรคในการจัดการความเสี่ยงให้ประสบความสำเร็จ
ปัจจัยที่ทำให้  RM   PROGRAM  ไม่ประสบความสำเร็จ  ดังนี้
1.  ผู้บริหารระดับสูงขาดความเอาใจใส่
2.  ระดับปฏิบัติการไม่มีส่วนร่วมในความเสี่ยง
3.  ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับ
4.  ประมาณค่าใช้จ่ายในการลดความเสี่ยงสูงเกินไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยง 1. มีการแบ่งปันข้อคิดเห็น 2. ความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้บริหาร 3. ใช้ภาษาง่ายไม่ซับซ้อน 4. การสื่อสาร / เรียนรู้ และการศึกษาที่มีประสิทธิผล 5. ติดตาม / รายงานกระบวนการบริหารความเสี่ยง 6. เสริมสร้างกระบวนการบริหารความเสี่ยงเข้ากับบุคคล

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน

22 มิถุนายน 2555 วิชาการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยอาจารย์สุรพงษ์ มาลี

ทำไมบางคนถึงมองว่าเรื่องบางเรื่อง  เป็นความเสี่ยง  แต่บางเรื่อง  ไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยง  เป็นวิธีการกำกับดูแล  เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  เพื่อเป็นการผ่านการประเมิน
ความเข้าใจผิด  3  ประการ  เกี่ยวกับความเสี่ยง
1.  ความเสี่ยงเป็นสิ่งเลวร้าย  สิ่งไม่ดี
2.  ต้องกำจัดความเสี่ยงให้หมดไป
3.  ไม่เสี่ยงเลย  ทำตัวให้ปลอดภัยที่สุด
การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง  (Risk  Prioritisation)
1.  การประเมินประสิทธิผลของการควบคุมความเสี่ยงในปัจจุบัน
2.  โอกาสและความสามารถ  ที่จะปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง
3.  ระยะเวลาที่สามารถเริ่มลงมือปฏิบัติ
หลักการจัดการกับความเสี่ยง  (Address  Risk  Responses)
Pre – Event  Control  ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง
Post – Event  Control ลดผลกระทบของความเสี่ยง
Emerging  Opportunity   แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง   

นายอำนาจ ดิสสะมาน

22 มิถุนายน 2555 วิชางบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ โดยน.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ

น.อ.ศิรัส  ได้พูดถึงเรื่องงบประมาณของทหารเรือ  โดยจะมีการทำสัญญาต่างๆ  เช่น  การจ้างต่อเรือ  โดยทำสัญญาไว้หลายสกุลเงิน  เพื่อป้องกันการผันผวนในอัตราการ

แลกเปลี่ยนเงิน โดยเน้นการจัดทำงบประมาณ ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย งบประมาณต่างกับเงิน ในกระเป๋า

กรณีจัดทำงบประมาณต้องทราบว่าจะนำงบประมาณไปทำอะไร  หากตอบไม่ได้  

ก็แสดงว่าเรามีทิศทางของการทำงานไม่ชัดเจน

งบประมาณคืออะไร  งบประมาณเป็นรายจ่ายของประเทศมาจากภาษีของประชาชน
องค์ประกอบของแผน
แผนปฏิบัติงานของหน่วย  มีองค์ประกอบเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่
Who  what  where  when  why  how to
-  มอบหมายผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
-  กำหนดกิจกรรมชัดเจน
-  ขอบเขตการปฏิบัติงาน
-  เป้าหมาย
-  ตัวชี้วัด
-  รายละเอียด / ขั้นตอนการปฏิบัติ
ทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน  how  much

นายอำนาจ ดิสสะมาน

นายอำนาจ ดิสสะมาน

30 มิถุนายน 2555 วิชา การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดย ดร.จีระ ผลอนันต์ ดร.ศิริลักษณ์ และคุณสุทธิเดช จาก กฟภ.

ดร.จีระ  ได้พูดถึง  1.  การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  LO
2.  การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
3.  ยุทธ์ศาสตร์  Talent  management
4.  Cross  (ข้ามศาสตร์)
อ.ชัญญา   ผลอนันต์
    ได้พูดถึง  คำว่า  HR  เมื่อมีการฝึกอบรมเสร็จแล้ว  ต้องบ่มเพาะนิสัย เพื่อให้เข้าตัวเอง
    ทำไม ?      เมื่อเรียนรู้หรือฟัง  แล้วก็จะลืม  จางหายไป
การฝึกสมอง  (ใช้สมอง)  ฝึกคิดแล้ว  จะนำไปทำอะไร  เพราะเราฟังการบรรยายเดี๋ยวเดียวก็ลืมแล้ว  ผ่านไปสักระยะหนึ่ง  จะเหลือชัก  10%  ก็เก่งแล้ว  ความคิดความสร้างสรรค์ที่จะร่วมมือ – รวมใจกับงาน  อาจารย์ยังบรรยายต่อไปว่า  คนเก่งต้องมีวิธีคิด  1 + 1  ต้องเป็น 7 , 8 , 9 หรือ 10  นอกจากนั้นยังได้พูดถึง  Mind  Map  เช่น  เราถูกฝึกมาให้วางกระดาษแนวตั้งมาตั้งแต่เรียนหนังสือ  โดยใช้สมองซีกขวา  (จินตนาการ  สร้างสรรค์)  เราใช้สมองซีกซ้ายจนถึงขั้นมหาวิทยาลัย  สมองซีกขวาใช้งานน้อยมากเหมือนแซ่น้ำแข็งสมองซีกขวาไว้  หากใช้ร่วมกันทั้งซ้าย – ขวาจะมีพลังมหาศาล  ความคิดของเราถ้าไม่จดมันจะหายไป  ไม่มีวันกลับมาได้  อาจารย์ได้ให้ทดลองนึกถึงชื่อเพื่อนภายในเวลา  1  นาที  แต่ละคนจะทำได้เท่าไร  (สูงสุด  27  ชื่อ)  ดังนั้นเราควรมีสมุดโน้ตนึกอะไรที่เป็นประโยชน์ให้รีบบันทึกไว้
อ.สุทธิเดช
โดยอาจารย์ได้ยกกรณีศึกษาของ กฟภ.  ซึ่งปัจจุบัน กฟภ.  มีผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุมากคิดเป็นประมาณ  40%  ซึ่งไม่ต่างกับ กคช.  ต้องรีบวร้างคนมาทดแทน  โดยอาจารย์จีระ  จัดทำหลักสูตร  HR  ให้
อาจารย์ได้นำ  LO  Learning  Organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้  จะทำองค์กรให้เป้นอมตะหรือยั่งยืน  
อาจารย์ยังนำเสนอภาพคน  4  คน  อยู่ในเรือลำเดียวกัน  เกิดบริเวณท้ายเรือรั่วน้ำเข้าเรือ  ชายอีก 2 คนที่อยู่ท้ายเรือก็ช่วยกันวิดน้ำออกจากเรือ  แต่อีก 2 คนอยู่บริเวณหัวเรือได้แต่นั่งดู  โดยบอกว่าก็เรือมันรั่วน้ำเข้าตอนท้ายเรือ  คนอยู่ท้ายเรือก็วิดน้ำออกจากเรือเองซิ
ข้อคิดภาพนี้  คือ  อยู่ในเรือลำเดียวกัน  ต้องช่วยกัน  เหมือนองค์กร  คนทั้งองค์กรต้องร่วมมือ – ร่วมใจกันทำงาน
ดร.ศิริลักษณ์   เมฆสังข์
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยได้พูดถึงบทบาทของผู้นำเรียนรู้จากการแก้ปัญหา  ความผิดพลาด  นโยบาย  Policy  สวยแต่ปฏิบัติไม่ได้  จะทำอกย่างไรให้ผู้ปฏิบัติงานระดับกลางเชื่อมไปยังผู้บริหารระดับล่าง  ถ้าการเปลี่ยนแบบถอนรากถอนโคนจะต้องเกิดปัญหาตามมาแน่  ผู้บริหารต้องมี  Idea  For  Change  ทำงานด้วยความรวดเร็ว
การปรับตัวเองให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจ  AEC  เวลาจะพัฒนาคนของเราแนวคิดเดิมๆ  นำลูกน้องเข้าเรียนห้องเรียน  แต่เวลานี้ไม่ต้องพึ่งความรู้ในห้องเรียน  ต้องรักการเรียนรู้ด้วยตนเอง  (60 – 70%)  การแลกเปลี่ยนรู้ซึ่งกันและกัน  10 – 20%  เรียนในห้อง  เป็นเรื่องทางเทคนิค  มีองค์ความรู้ใหม่ๆ  อะไรเกิดขึ้น  บทบาทของผู้บริหารต้องเป็น  Coach  เป็นการสร้างการเรียนรู้  เช่น  ถ้าจะชมลูกน้องให้เดินออกไปชมข้างนอก  ต้องฝึกคนของเราให้เป็น  Coach
องค์ความรู้  Compentency  ที่ดีต้องสร้างความแตกต่าง  สั้น  กระซับมี  Impact  ผู้นำที่ขาดมุมนองในการเรียนรู้  จะไม่สามารถทำให้เป็นองค์กรที่ดี

                            นายอำนาจ   ดิสสะมาน 
นายอำนาจ ดิสสะมาน

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

ผู้บริหารต้องพิจารณาอะไรบ้างเพื่อที่บริหารการเปลี่ยนแปลง - มองข้างนอกดูด้วยกัน ดูสภาพแวดล้อม เราจะทำอะไรวันต่อไป ต้องเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง - การเข้าใจด้วยกัน จะเข้าถึงปัญหาขึ้น - มีความไว้วางใจ จะเกิดความเชื่อมั่น “การระเบิดจากข้างใน” จะเกิดการพัฒนาขึ้น กฟผ. เป็นองค์กรตัวอย่างปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสุขของคนไทย โดยมองลงมาข้างล่างมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา โดยมี “ปัญญา” เป็นเครื่องนำทาง

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

16 มิถุนายน 2555 การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Ecommmic Community (AEC) , (2) โดย นางสาวอรุณี พูลแก้ว

                คุณฉัตรชัย   มงคลวิเศษไกวัล

เป้าหมายหลักภายใต้ AEC Blueprint เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียน 1. กลายเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม 2. การเสริมสร้างขีดความสามารถแข่งขัน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก อาเซียนจะกลายเป็นตลาดร่วมอย่างสมบูรณ์ - ภาษีสินค้า / อุปสรรคนำเข้าจะหมดไป - อาเซียนสามารถถือหุ้นได้ถึง 70% ในธุรกิจบริการในอาเซียน - เป็นศูนย์กลางการลงทุนทั่วโลก - เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน - มีความสารถในการแข่งขันสูง ไทยอยู่ตรงไหน ? ในอาเซียน ไทยควรจะคิดว่าจะหาประโยชน์อะไรจาก AEC

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

16 มิถุนายน 2555 การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Ecommmic Community (AEC) (1) โดย ผศ.ดร.อัทธ พิศาลวานิช

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ปี 2558 (2015) ประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ได้แก่ การเมือง (ความมั่นคง) , เศรษฐกิจ , สังคม – เศรษฐกิจ โดยจะเกี่ยวกันกับทุกคน เช่น ชาวไร่ ชาวนา ประชาคมอาเซียน เปรียบเหมือนมี 10 จังหวัด ได้แก่ ไทย , ลาว , เขมร , พม่า , สิงคโปร์ , บูรไน , มาเลเซีย , เวียดนาม , อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ ประชาคมอาเซียน จะไม่มีการกีดกันทางระหว่างกัน จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็น หลังมือ 1 มกราคม 2558 จะเป็นวันเริ่มต้น ภาษีนำเข้าจะเป็นศูนย์ ภาษาที่ใช้ คือ ภาษาอังกฤษ
ซึ่งเรียกว่า ภาษาอาเซียน ธุรกิจในยุค ASEAN ที่น่าจะไปลงทุน ได้แก่ พม่า , อินโดนีเซีย เนื่องจากพม่า มีทรัพยากรธรรมชาติมาก กำลังสร้างท่าเรือน้ำลึกไว้รองรับ ส่วนอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรมาก

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

สโแกนที่พูดกันปากต่อปากว่า  “คนเป็นสมบัติที่มีค่าขององค์กร”  ซึ่งผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยง  พัฒนาผู้ผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลาอย่างเต็มที่ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม  สนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
สโลแกนดังกล่าว  ผู้บริหารขององค์กร  ควรจะได้พิจารณาดูว่าในองค์กรมีมากน้อยเพียงใด  จะเป็นการสร้างคนให้มีคุณค่า  และมีคุณภาพ  ผู้บริหารจะต้องส่งเสริม  นโยบาย  “แปลก”  ของปูนซีเมนต์ไทย  ทุกคนต่างทราบดี  “พนักงานระดับหัวหน้างานจะต้องเปิดประตูตลอดเวลา  เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะหารือ  ทุกคนเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สร้างแต่บรรยายกาศร่มเย็นให้กับองค์กร
นโยบายดังกล่าว  จะทำให้บุคลากรในองค์กร  มีความรักใคร่  สามัคคี  ร่วมมือ  ร่วมแรง  และร่วมใจ  ทำงานเพื่อนำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน
แนวทางการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคคลากร  ที่เป็นแบบอย่างเหมือนมีเท็คนิค  เช่น  คุณพารณฯ  ไม่เคยกล่าวชมผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยคำหวานแต่จะแสดงอาการชื่นชม  แสดงความกระตือรือร้น  เมื่อได้เห็นผลงานของลูกน้อง
ปูนซีเมนต์ไทย  ลงทุนด้านความรู้  ให้กับบุคลากรสูงมาก  เพื่อพัฒนาพนักงานในทุกๆ  ระดับอย่างต่อเนื่อง  หลายๆ องค์กรไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก  อาจเป็นเพราะมีปัญหาด้านงบประมาร  หรือฝ่ายบริหารไม่เห็นความสำคัญ
คุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรง  ถ้าการศึกษาเป็นจุดอ่อน  องค์กรจะทดแทนด้วยการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้  หรือ  LO  การพัฒนาคนคือการลงทุน  มนุษย์สร้างได้แต่มีต้นทุน
ดร.จีระ  พูดว่า  สินทรัพย์ที่สำคัญสูงสุดของบริษัทก็คือ  คน  แต่ว่ามันจะต้องเป็นทรัพยากรมนุษย์ชนิดใหม่  ที่เป็นคนงานที่มีความรู้  หรือ  Knowledge  worker  ไม่ใช่เป็นคนแบบไหนก็ได้  เพราะเรากำลังทำสงครามในเรื่องของความสามารถ  รวมทั้งเรื่องแรงจูงใจ  Motivation  เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่ผู้นำองค์กรต้องตระหนัก
                                 นายอำนาจ   ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

“ธรรมดีที่พ่อทำ” ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ธรรมดีที่พ่อทำ  เป็นหนังสือที่คุณดนัย    จันทร์เจ้าฉาย  ได้อันเชิญพระราชกรณียกิจ  พระราชจริยวัตร  พระราชดำรัส  และพระบรมราชโชวาท  ทีพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยมารวบรวม  วิเคราะห์เทียบเคียง  เป็นข้อคิดเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้หันมาพิจารณาตนเอง  ปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาท
หนังสือเล่มนี้  คุณดนัย    จันทร์เจ้าฉาย  ได้ร้อยเรียงเหตุการณ์  สถานที่พระราชดำรัส  คำพูด  บทสัมภาษณ์  ข้อเขียน  และบทบรรยายของผู้เคยได้ตามเสด็จ  ถวายงานอย่างใกล้ชิด ในวาระและโอกาสต่างๆ  ต่างกรรม  ต่างวาระ  มาไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่

“ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของคนไทยและชาวต่างประเทศทั่วโลก” “คนไทยโชคดีที่สุดในโลก.......ที่มะพระเจ้าอยู่หัว” “พวกคุณโชคดีมากที่มีพระมหากษัตริย์พระองค์นี้” “แต่ทำไมประเทศไทยถึงเป็นแบบนี้”

คำตอบ  คือ  เรามี  I  dol  ที่ดีที่สุดในโลกแต่เราไม่เคย  I  do  เราเห็นว่าเมื่ออ่านแล้วคนไทยจะภาคภูมิใจในตัวเองและแผ่นดินเกิดสุขใจ  ซาบซึ้ง  ภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย  คนไทยมีสิ่งประเสริฐสูงสุดอยู่ในแผ่นดิน  แต่กลับไม่ตระหนักถึงคุณค่าในสิ่งที่เรามี
เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้  จะพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกที่ทรงมีพระราชกรณียกิจ  ช่วยเหลือประชาชนทั่วทั้งแผ่นดิน  ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะร้อน  ถิ่นทุรกันดาร  เหมือนในหลวงของเรา

“ทรงพระเจริญ”

                                นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน
แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ของดร.จิระ  มี  3  ทฤษฎี
1.  ทฤษฎี  4  L’s
-  L  ที่ 1  Learning  MothodoLogy    มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี  ทันสมัย
-  L  ที่ 2  Learning  Environment    คือสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
-  L  ที่ 3  Learning  Opprtunities   สร้างโอกาสในการเรียนรู้
-  L  ที่ 4  Learning  Communities    การสร้างชุมชนในการเรียนรู้
2.  ทฤษฎีที่ 2  “ทฤษฎี  2  R’s” -  Reality  และ  Relevance
3.  ทฤษฎีที่ 3  “ทฤษฎี  2  I’s” -  Inspiration  การสร้างแรบันดาลใจ              ให้ผู้เรียนเกิดพลัง
            -  Imagination  ให้ผู้เรียนมีจินตนาการ
กากรปรับตัวของคนไทย
-  เรื่องภาษาและวัฒนธรรม
-  ต้องฝึกในเรื่องของ  competency  ตามทฤษฎีของ  Gary  Hanel  หากคุณต้องสร้างความต่างที่เลียนแบบได้ยาก
ดนัย   จันทร์เจ้าฉาย
การพัฒนาทุนมนุษย์ในโลกธุรกิจ  มุ่งเน้นเรื่องการเดินสายกลางสร้างธุรกิจอย่างสมดุลระหว่างผลกำไรและการตอบแทนคืนสังคม ไม่เบียดเบียนหรือทำบาปให้กับผู้อื่น

                    นายอำนาจ   ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

บทที่ 3 8 k’s ทฤษฎีพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์

ทุนที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ  4  ทุน คือ  ทุนมนุษย์  ทุนทางปัญญา  ทุนทางจริยธรรม  และทุนแห่งความสุข

รายละเอียดของ 8 k’s ส่วนที่ 2 มีดังนี้

k 5  ทุนทางสังคม  (Sociol  Capital – Networking)

“วันนี้ตัวเรา องค์กรของเรามีเครือข่ายที่มีคุณค่าต่อการทำงานหรือไม่” โดยเฉพาะในยุคอาเซียนเสรี เรามี “เครือข่าย” หรือ Network กว้างขวางแค่ไหน Network หรือ เครือข่าย คือ การที่เรารู้จักบุคคลหลายๆ วงการ ถ้ามีทุนแห่งเครือข่าย ต้นทุนต่ำมากคือไม่ต้องลงทุนทางตรง คือ ลงทุนทางอ้อม

วิธีการที่จะช่วยให้เรามีทุนทางสังคมหรือเครือข่าย  คือ 
คบหาสมาคมกับคนหลายๆ กลุ่ม
เปิดโลกทัศน์พร้อมที่จะเรียนรู้
มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย
มีการติดตาม  (Follow  up)  การสร้างเครือข่าย
ทำงานเป็นทีม
มีทัศนคติเป็นบวก

หลักการ 3 ข้อ ของ ดร.จีระ ที่ยึดเป็นแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่าย 1. อย่าเห็นแก่ตัว 2. เป็น Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ 3. เป็นความแตกต่างกันทางความรู้ ทักษะและศักยภาพ เพื่อสร้างการรวมพลัง ด้านเศรษฐศาสตร์ การมี Networking l คือ Transaction cost คือ 1. ต้นทุนในการหาข้อมูลข่าวสาร 2. ต้นทุนในการเจรจาต่อรอง

k 6 ทุนแห่งการยั่งยืน  (Sustainable  Capital)

เป็นแนวคิดใหม่มากคล้ายๆทุนแห่งความสุข คือ การที่ตัวเรามีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ ทุนแห่งความยั่งยืน ของ ดร.จีระ มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง - ความพอประมาณ – มีเหตุผล – มีภูมิคุ้มกัน คุณสมบัติของทุนแห่งความยั่งยืน คือ ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้น คืออะไร? และที่สำคัญต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว ตัวอย่าง วิกฤติเศรษฐกิจของไทยในยุคฟองสบู่แตก เกิดจากความโลภ

ยุคอเมริกามีปัญญาฟองสบู่  หรือ  วิกฤติซับไพรม  เพราะธนาคารปล่อยสินเชื่อบ้าน  มากเกินความจำเป็น

6 ปัจจัยของความยั่งยืน (Chira’s 6 factors) ประกอบด้วย

ปัจจัยที่ 1  การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จ และสมดุลเพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด  อย่าให้ระยะสั้นดี  แต่ทำลายระยะยาว
ปัจจัยที่ 2  ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม  ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย
ปัจจัยที่ 3  ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กับความเจริญ  คือ  มีศีลธรรม  คุณธรรมคู่ไปกับการพัฒนา
ปัจจัยที่ 4  ต้องคิดอย่างวิทยาศาสตร์  วิเคราะห์เป็น
ปัจจัยที่ 5  ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม  ชุมชน  หรือประเทศ  

เจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ

ปัจจัยที่ 6  ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตนเอง  ไม่ใช่รอความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว
k 7  ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือ  IT  (Digital  Capitial)  
ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ได้  ทั้งการเรียนรู้  การค้นคว้าวิจัย
หารเราใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  พัฒนาตนเอง  พัฒนางานของเราก็จะเป็นประโยชน์
อุปสรรคการเรียนรู้ในโลกดิจิตอลของคนไทย  คือ  การใช้ภาษาอังกฤษ  หากคนไทยมีทักษะด้านภาษาอังกฤษดี  ก็จะได้ประโยชน์มากมายในโลกดิจิตอล  ตอนนี้ภาษาอังกฤษอย่างเดียวไม่พอ  ต้องรู้ภาษาของชาติอาเซียน  เช่น  ภาษามาเลย์  

ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาจีน

k 8  ทุนอัจฉริยะ  หรือ talented  Capital
แนวคิดนี้มาจากรัฐบาลสิงคโปร์  เชื่อว่า  คนที่ประสบความสำเร็จต้องมี  3   อย่างพร้อมกัน  คือ
ทักษะ  (Skills)
ความรู้  (knowledge)
ทัศนคติ  (Attitude)

หมายความว่า ในยุคอาเซียนเสรี หรือ AEC คนที่มีศักยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยะภาพอยู่ในตัว หมายถึง มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลา ทำงานในเชิงรุก มีทัศนคติเป็นบวกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ในสังคมไทยเรายังขาด  เช่น  บางคนดีมีทักษะดี  มีความรู้ดีแต่ทัศนคติการทำงานเป็นลบ  ไม่ทุ่มเททำไปเรื่อยๆ  ทำให้ศักยภาพของเขาด้อยกว่าคนอื่น  หรือ  

บางคนอาจจะไม่เก่ง ไม่มีทักษะ ไม่มีความรู้เพียงพอ แต่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน คิดบวก อาจจะทำงานสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง ถ้าเพิ่มทักษะและความรู้ด้วย ก็จะประสบความสำเร็จมากขึ้น

ทฤษฎี  5 E  สำหรับกรพัฒนาทุนอัจฉริยะ  ได้มาจากการวิจัยของ  Center  for  Creative  Leadership  คือ
1.  Example  คือ  การมีตัวอย่าง
2.  Experience  คือ  การมีโอกาสได้เรียนรู้งานจากผู้มีประสบการณ์
3.  Educatioln  คือ  การศึกษา  พัฒนาฝึกอบรม  อ่านหนังสือ
4.  Environment  คือ  การสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้และทำงาน
5.  Evaluation  คือ  การติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

บทที่ 4 8 k’s ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพ
ทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี

การเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน  เป็นความท้าทายใหม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมืองของประเทศไทย 

คนไทยควรปรับตัวอย่างไร ?

ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด  สามารถแข่งขันในสังคมได้อย่างสง่างามและยั่งยืน  เรียกว่า  ทฤษฎี  5 k’s  (ใหม่)  ประกอบด้วย
- Creativity  Capital  ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
-  Knowledge  Capital  ทุนแห่งความรู้
-  Inmovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม
-  Cultural  Capital  ทุนอารมณ์
1.  ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  อ.ดร.จีระ  เชื่อว่าพลังแห่งจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่างๆ  ได้มากมาย  สร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล  ความคิดสร้างสรรค์  หรือ  Creativity  หมายถึง  ทำสวนทางกับสิ่งที่เคยทำมานาน
ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  สามรถสร้างได้  โดยพยายามคิดนอกกรอบ  (Tninking  outside  the  boxป  วิเคราะห์เป็น  คิดเป็น  และเรียนรู้ข้ามศาสตร์  ต้องมีเวลาคิด  มีสมาธิ  ก่อนจะคิดสร้างสรรค์ได้  ต้องคิดเป็นระบบเสียก่อน  คือ  มีข้างซ้ายก่อนแล้วมาใช้ข้างขวา  ต้อง
2.  5 k’s  (2)  ทุนทางความรู้  (Knowledge  Capital)  ความรู้ที่เรามีจะต้องสด  ทันสมัยแม่นยำ  ข้ามศาสตร์  หากเราไม่ใฝ่รู้เราก็จะ  “ตกรางได้”  
ทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี  2  R’s  ของ อ. จีระ
R  ตัวแรก  Reality  หมายถึง  ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง
R  ตัวที่สอง  Relevance  หมายถึง  ตรงประเด็นตรงความต้องการของผู้บริการ
3.  5 k’s (3)  ทุนทางนวัตกรรม  (Inmovation  Capital)  คือ  ความสารถทำสิ่งใหม่ๆ  ที่มีคุณค่า  นวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3  เรื่อง  คือ

1.  มีความคิดใหม่  ความคิดสร้างสรรค์ และนำผลมาผสมผสานความรู้ 
วันนี้ลองถามตัวเองว่า  “เรามีไอเดียใหม่ๆ  แล้วหรือยัง?
จุดอ่อนของสังคมไทยในเรื่องนี้  คือ
1.1  ไม่สร้างบรรยายกาศในการแบ่งปั่น  Share
1.2  การบริหารยังเป็นการสั่งการจากบนลงล่าง  (Top  down) 
1.3  ทำงานมาก  แต่ขาดการคิดเป็นยุทธศาสตร์
1.4  ขาดกากรทำงานเป็นทีม  ชนิดข้ามสายงาน
2.  นำความคิดไปปฏิบัติจริง  เริมตั้งแต่
    2.1  การออกแบบ  เขียนโครงการ
    2.2  ผลักดันโครงการให้ไดรับอนุมัติ
    2.3  การบริหารโครงการ
3.  นำให้สำเร็จ  ความสำเร็จที่เกิดขึ้นอาจได้ผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ  เช่น  ได้เงิน  ได้หน้า  ได้ความสุข
    การสร้างหรือพัฒนาทุนทางนวัตกรรม  เรียกว่า  3  C  
    3.1  Customers  การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าภายใน – ภายนอก
    3.2  Change management  บริหารการเปลี่ยนแปลง
    3.3  Command  and  Control  (-)  คือ  ลดการลงทุน  สั่งการแต่พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วม
4.  ทุนทางวัฒนธรรม  (Cultural  Capital)  คือ  การมีความรู้  ความเข้าใจ  ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์  ประกอบด้วย  ขนมธรรมเนียม  ศาสนา  ประเพณี  ประวัติศาสตร์  ความเชื่อ  
วัฒนธรรมเกิดจากตัวมนุษย์ในแต่ละชุมชนหรือแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน  จุดแข็งของคนไทย   คือ  รากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เราสะสมมานาน  สามารถสร้างให้

มีคุณค่าได้ในยุคเสรีอาเซียนอย่างแน่นอน

5.  ทุนอารมณ์  (Emoyional  Capital)  ความหมาย  คือ  การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์  เช่น  ไม่โกรธง่าย  ไม่เครียดง่าย  ไม่อ่อนไหว  หดหู่  ตกใจ  ตื่นกลัว


คุณสมบัติของผู้นำ  อาจจะเป็นแนวทางที่ดีในการสร้างทุนทางอารมณ์
-  Courage      ความกล้าหาญ
-  Caring       ความเอื้ออาทร
-  Optimism     การมองโลกในแง่ดี
-  Self  Control    การควบคุมตนเอง
-  Communication    การติดต่อสัมพันธ์
สำหรับสังคมไทย  วิธีที่ดีที่สุดในการสร้างทุนอารมณ์  คือ  ยึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องนำทางชีวิต
ทุนอารมณ์  จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง  ช่วยให้เกิดสันติภาพ    และการพัฒนาที่ยั่งยืน
อ.จีระ  เรื่องคน  ทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์  หากจะสำเร็จได้ต้องใช้เวลา  ต้องทำอย่างต่อเนื่อง  ทำแบบมียุทธศาสตร์  ผมทำมาเกือบตลอดชีวิต  ก็ยังเห็นผลเพียงจุดเล็กๆ  แต่ผมก็ยังทำต่อไปตราบที่ยังมีแรง

                                นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

ขอส่งการบ้านวันที่ 15 มิย.55 (อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์) ( รุ่น 1 ) วันที่ 15 มิ.ย. 55 การบริหารการเปลี่ยนแปลง

เหตุผลความจำเป็น  -  สถานการณ์เปลี่ยน
สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลง  -  การบริหารแนวใหม่
วิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลง  -  วางเส้นทาง  จัดทัพ  ภาวะผู้นำ  สร้างความเป็นเจ้าของ
ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง  -  Political / Analytical / People / System /               Business  Skills
จุดมุ่งหมาย
1.  เข้าใจสภาพแวดล้อม  แนวโน้ม  และความท้าทาย
2.  เข้าใจกลไลขององค์กร  และการจัดการ
3.  มีทักษะในการวิเคราะห์  ประเมิน  และ วางแผนอย่างเป็นระบบในการตัดสินใจและสามารถให้ข้อเสนอแนะที่ดี
4.  สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหน่วยงานอย่างเป็นระบบ
5.  มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ
กรณีศึกษาของ  กฟน.
จากความรู้ข้างต้น  นำมาใช้ในการบริหารเปลี่ยนแปลงใน กคช. ได้มาก  เพราะหน่วยงานต้องพร้อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  เพื่อให้ปรับตัวได้กับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่คาดการณ์ได้และคาดการณ์ไม่ได้
นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

ขอส่งการบ้านวันที่ 16 มิย.55 (อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์) ( รุ่น 1 ) วันที่ 16 มิ.ย. 55 การบริหารธุรกิจในยุค AEC

ความสำคัญของอาเซียน
สถานะสินค้าอุตสาหกรรมไทยที่ส่งออกไปในตลาดอาเซียน
แผนกลยุทธ์  “รู้เขา  รู้เรา (85)”  สำหรับ  SME  ไทย  คือ
1.  ด้านข้อมูลข่าวสาร
2.  ด้านเครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน
3.  ด้านตำแหน่งสินค้า
4.  ด้านผลกระทบต่อธุรกิจ
5.  ด้านต้นทุนการผลิต
6.  ด้านคุณภาพสินค้า
7.  ด้านภาษา
8.  ด้านร้านแสดงสินค้า
4  เป้าหมายภายใต้  AEC  Blueprint  คือ
1.  การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม
2.  การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน
3.  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
4.  การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
จากความรู้ข้างต้น กคช.  ต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมในยุค  AEC  ปี 2558  รวมทั้งควรให้พนักงานมีความรู้  ความเข้าใจอย่างทั่วถึง
นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

ขอส่งการบ้าน 29 มิย.55

อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์) (รุ่น 1) วันที่ 29 มิ.ย. 55 Finance for Non – Finance & Financial Perspective

ความหมายของตลาดการเงิน ตลาดทุน
ประเภทของสถาบันการเงินในประเทศไทย
หลักการบัญชีเบื้องต้น
รายได้  ต้นทุน  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  กำไรสุทธิ
งบดุล  งบกำไรขาดทุน  งบแสดงกระแสเงินสด
การวิเคราะห์ทางการเงิน
การลงทุน
การบริหารการเงิน
การเงินโครงการ
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มืออาชีพ
การไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย
1.  ระบบผู้นำ
2.  การสร้างกลยุทธ์
3.  Core Competancy
4.  ความท้าทายขององค์กร
5.  ความได้เปรียบ
6.  สภาพแวดล้อมภายใน-ภายนอก
7.  คู่ค้า
8.  คู่แข่ง
9.  บทบาทหลัก
10.  ถ่ายทอดกลยุทธ์
11.  ลูกค้าคือใคร
12.  ลักษณะบุคลากร
13.  กระบวนการทำงาน
14.  ข้อมูล สารสนเทศ
15.  ผลประกอบการ
การลงทุนขึ้นอยู่กับโอกาสและเวลา
จากความรู้ข้างต้น กคช. ควรกำหนดตำแหน่งทางธุรกิจที่เหมาะสมวางแผนให้สอดคล้องกับ SWOT  ใกล้ชิดการเมือง  ไม่ควรแข่งกับเอกชน  ค้นหานวัตกรรมการอยู่อาศัย เช่น บ้านผู้สูงอายุ Nursing Home บ้านลอยน้ำ ฯลฯ
นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

ขอส่งการบ้าน 30 มิย.55

(อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์) (รุ่น 1) วันที่ 30 มิ.ย. 55 การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

-  ฝึกอบรม  (ทำเป็น  คิดเป็น)  +  บ่มนิสัย  =  นำไปใช้
-  คนเก่งถ้าร่วมมือร่วมใจ  จะเกิดมูลค่าเพิ่ม (Valuc  Added) ทั้งด้าน  Social  Value
-  การใช้สมองซีกซ้าย  ในการตัดสินใจในการทำงาน  (หลักเหตุ  และผลวิทยาศาสตร์)
-  การใช้สมองซีกขวา  ในการเกิดความคิดสร้างสรรค์  (บันเทิง  ดนตรี  ศิลปะ)
-  การระดมความคิด  (Brain  Storm)  เป็นการใช้ความคิดแบบอิสระ  คิดนอกกรอบ  

คิดสร้างสรรค์

-  ทุนมนุษย์  (Human  Capital)    =  ความสามารถ  x  ความผูกพันองค์กร
    =  Competency  x  Commitment
-  Competency  สร้างโดย  ฝึกอบรม  ศึกษา  สัมมนา  ประชุม  ดูงาน
-  Commitment  สร้างโดย  การดูแลจิตใจ  รู้ใจ  เข้าใจ  ใส่ใจ  เอาใจ  ได้ใจ  ทำใจ  ตัดใจ
-  วินัย  5  ประการของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organiation – Lo)  คือ  วิสัยทัศน์ร่วม  เรียนรู้เป็นทีม  บุคลากรชั้นเลิศ  คิดร่วมกัน  Balance  Scorecard
-  กระบวนการเปลี่ยนแปลงใช้  Adaptive  Change  (การปลี่ยนแปลงโดยการปรับตัว)  โดยผู้นำต้องมี  Ideas  For  Change , Structure ,  System , Process  และ  Practise
- Competancy มีแล้วต้อง Action จึงทำให้เกิด Competancy Plus
- Learning Environment มีความสำคัญ  โดยเฉพาะคน  ซึ่ง Tangible แต่ไม่ Invisible
จากความรู้ข้างต้นนำมาใช้ในการคิดอย่างเป็นระบบ  คิดอย่างสร้างสรรค์ การให้ความสำคัญกับความผูกพันองค์กร  การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)  และการบริหารจัดการความรู้ (KM)  เพื่อให้ผู้ที่มีประสบการณ์  ความรู้จากการปฏิบัติงานได้ถ่ายทอดความรู้แก่รุ่นน้องต่อไป
นายอำนาจ ดิสสะมาน

29 มิถุนายน 2555 วิชา “Finance for Non – finance & Financial Perspective โดย อ.ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

อาจารย์  ได้พบว่า  เวลาจะขายบ้านของ กคช.  ลูกค้าเดินเข้ามาเราควรจะขายให้หรือไม่  ควรจะดูจากอะไร
ตอบ  ดูจากอำนาจของการผ่อนชำระ
อาจารย์  พูดถึงตลาดการเงิน  (Fimamcial  Market)  ซึ่งมี  2  แบบ  คือ  
ตลาดการเงินในระบบ  -  ตลาดการเงินในระบบ  money  market
ตลาดการเงินนอกระบบ  -  ตลาดการเงินนอกระบบ  ตลาดทุนนอกระบบ  ตลาดแบ่งกันที่อายุ  ถ้าอายุสั้นไม่เกิน  1  ปี  จะอยู่ในตลาดเงิน  เช่น  ตั๋วสัญญาใช้เงินกู้  หุ้นกู้  ถ้าอายุเกิน  1  ปี  ถือเป็นตลาดหุ้น
ตลาดการเงิน  -  ยังแบ่งเป็นตลาดส่งมอบทันที  (Spot  Market)  และตลาดซื้อขายล่วงหน้า  (Future  Market)  การซื้อสินค้าโดยเงินผ่อนถือเป็นตลาดส่งมอบทันที
-  สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร  (Bank)  ธนาคารพาณิชย์  และธนาคารใต้กฎหมายพิเศษ
สถาบันการเงินในประเทศไทย
Bank  ได้แก่  ธนาคารแห่งประเทศไทย  ธนาคารพาณิชย์  สาขาธนาคารต่างประเทศ  ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ  ฯลฯ
Non  Bank  ได้แก่  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  กองทุนประกันสังคม  โรงรับจำนำ
Basic  Concept
หลักเงินสด
-  เงินสดรับ (Cash  Receipts)
-  เงินสดจ่าย  (Cash  disbursement)
Basic  Terms
รายได้  ( Revenues)
-  ต้นทุนโดยตรง  (Direct  Cost / Direct  Expense  =  variable  cost
-  ค่าใช้จ่ายในการทำงาน  (Operating  Expenses  =  Fixed  cost) 
-  กำไรสุทธิ  (Net  incvmes / Net  Profit)
การลงทุน  (Investment)
-  การลงทุนโดยตรง  (การเปิดร้านค้า)
-  การลงทุนทางอ้อม  (ไปให้คนอื่นกู้ยืม , ซื้อหุ้น)
-  แหล่งเงินทุน  -  ภายในและภายนอกกิจกการ)
          -  ภายในและภายนอกประเทศ
-  ผลตอบแทนจากการลงทุน  (Return  on  investment)  (มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ย)

                            นายอำนาจ   ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

29 มิถุนายน 2555 การบริหารกลยุทธ์องค์กร ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

อาจารย์  ได้กล่าวถึง  ความสามารถของ กคช.  ซึ่งคนอื่นไม่มี  กคช. เก่งอะไร  และคนอื่นจะทำตามได้ยาก  มันเป็นความท้าทายขององค์กร ภาครัฐจะดีกว่าภาคเอกชน  ด้วยสาเหตุที่ว่าสลับสับเปลี่ยนหรือปรับอะไรก็ได้  แต่สำหรับภาคเอกชนสิ่งที่ทำได้ดีกว่าภาครัฐ  นั่นคือ  การตัดสินใจที่รวดเร็วในเรื่องของบุคคลากรองค์ที่มีความได้เปรียบอย่างไร  บุคลากรของเรายังขาดอะไร  ขบวนการในการทำงาน  ขั้นตอน  กฎระเบียบ  กฎหมาย  จะเป็นตัวกีดขวางหรือไม่
ภายในองค์กรได้นำข้อมูล  Data  ตัวเลขต่างๆ  มีเป็นจำนวนมาก  หน่วยงานได้นำมาทำเป็นระบบสารสนเทศหรือไม่  พร้อมกันนี้ได้นำมาสังเคราะห์  วิเคราะห์หรือไม่  นอกจากนี้มาดูที่ผลประกอบการ  ที่เกี่ยวกับการเงินเป้นอย่างไร  ลูกค้าองค์กรมีความ

พึงพอใจในผลงานที่ซื้อหรือไม่ สิ่งที่สำคัญเราต้องรู้ว่าคู่แข่งคืออะไร ใคร?

เราต้องพิจารณาการนำองค์กรไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศต้องดู  กลุ่มลูกค้า  ข้อมูล  บุคลากร  ผลประกอบการ

                                 นายอำนาจ   ดิสสะมาน

29 มิถุนายน 2555 การบริหารกลยุทธ์องค์กร โดย อ.รุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง

สำหรับ  อ.รุ่งโรจน์  ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2  ของบริษัทหมู่บ้านจัดสรร  “ซื่อตรง”  ซึ่งหมู่บ้านจัดสรรของอาจารย์  เริ่มประมาณ ปี 2527  โดยเริ่มจาการสร้างในที่ดินผืนเล็กๆ  100 – 200  ตร.ว.  สร้างป็นอาคารพาณิชย์  อาจารย์ได้เล่าว่า  ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ  ปี 40  มีที่ดินจำนวนมากในการที่จะทำโครงการ  โดยที่ได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในโครงการที่สร้าง  โดยถึงหน่วยงานของรัฐ  โรงเรียน  หรือ  สนามกอล์ฟ  เข้าไปอยู่ในโครงการ  มีสาธาณูปโภคที่ดี  เช่น  ไปร่วมกับหมู่บ้านสารินซิตี้ + ซื่อตรง
สำหรับข้อจำกัดของภาคเอกชน  คือ  ด้านการเงิน  การลงทุน  กคช.  ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องนี้
อาจารย์  ได้เล่าถึง  ปัญหากรณีน้ำท่วมในโครงการที่หมู่บ้านซื่อตรงย่านบางบัวทองตั้งอยู่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด  ในปี  55  จึงต้องป้องกันต้องถมดินให้พื้นหมู่บ้านสูงขึ้นไปอีก  3  เมตร  หากน้ำไม่ท่วมในโครงการ  แต่รอบๆ โครงการต้องท่วมหมดแน่  รัฐน่าจะมีการวางแผนป้องกันที่ชัดเจนจะป้องกันอย่างไร  จะมีการบูรณาการร่วมมือกันกับท้องถิ่น  ได้หรือไม่  แต่ขณะนี้ไม่เป็นเช่นนั้น

                                         นายอำนาจ   ดิสสะมาน

29 มิถุนายน 2555 การบริหารกลยุทธ์องค์กร โดย อ.อนุชา กุลวิสุทธิ์

หัวใจที่สำคัญที่ทำให้สำเร็จ
1.  การวางตำแหน่ง  จะยืนอยู่ตรงไหน  ยืนอยู่ตำแหน่งที่ดี  เราจะได้เปรียบคนอื่น  เราต้องเลือก  ซึ่งจะได้สิ่งที่ดีๆ  ตามมา  และจะทำให้มองเห็นกลยุทธ์ได้ด้วย
2.  ต้องวางแผน  ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ  หลักคือ
    วิเคราะห์จุดเด่น – จุดด้อย  อุปสรรค – โอกาส
    จุดเด่นของ กคช.  ได้แก่
    -  มีประสบการณ์ที่ยาวนาน  จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
    -  มีทำเลอสังหาริมทรัพย์ที่ดี
    -  การเมือง
อาจารย์ได้ยกแนวคิดในการเลือกทำเลของทรัมป์
ทรัมป์  ไม่เชื่อว่าหัวใจความสำเร็จของอสังหาริมทรัพย์มีเพียง  3  สิ่ง  คือ  

“ทำเล ทำเล และทำเล” ตามที่คนทั่วไปคิดกัน ทำเลที่ดีเยี่ยม ไม่ใช่สิ่งที่จะการันตีได้ว่า
การลงทุนจะประสบความสำเร็จ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการก้าวไปสู่ความสำเร็จในการลงทุนเท่านั้น ต้องเป็นทำเลที่มีอนาคตดีด้วย

-  ยอมจ่ายแพง  เพื่อให้ได้ทำเลชั้นเลิศ
-  จะไม่ซื้อสังหาริมทรัพย์ใดๆ  อย่างเด็ดขาด  หากไม่เห็นช่องทางเพิ่มค่าได้อย่างมีนัยสำคัญ
-  จะเลือกทำเลโดยพิจารณาปัจจัยสำคัญ  4  อย่าง  วิว  ทิวทัศน์ดีเลิศ  มีชื่อเสียง  หรูหรา  เป็นที่นิยม  ศักยภาพของความเจริญ  ความสะดวกสบาย
อาจารย์อนุชา  ได้พูดถึง  ความต่างระหว่าง กคช.  กับ  เอกชน  โดยเสนอว่า
-  กคช.  ไม่ควรไปแข่งกับเอกชน
-  ทำตัว  “องค์กร”  ให้เป็นผู้นำด้วยที่อยู่อาศัย
-  มีนวัตกรรมใหม่ๆ  เช่น  การสร้างบ้าน  (โครงการ)  สำหรับผู้สูงอายุ

                        นายอำนาจ   ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Vision ที่ดีให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย และมีส่วนร่วมกำหนดด้วย เพราะ Vision ไม่ใช่ ของคนๆ หนึ่ง การเกิด Vision ของหน่วยงานเกิดจาก - ผู้นำที่ให้ความสนใจต่อ Vision - มีการระดมความคิด (ห้ามคิดเอง) รับฟังความคิดที่แปลกใหม่ ต้องมีคนภายนอกเข้าไปช่วย ใน 10 ปีข้างหน้า “วิสัยทัศน์” ของการเคหะแห่งชาติควรจะเป็นอย่างไร

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

วิชาภาวะผู้นำ อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

วัตถุประสงค์ - จับหลักการ ทำอย่างไรให้สำเร็จภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำในองค์กร - แบ่งเป็นความรู้เพื่อค้นหาตนเอง - สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน - สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างกันอย่างติดเนื่อง ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร - ผู้นำ เป็นที่คน ระยะยาว มองอนาคต ภาพลักษณ์ - ผู้บริหาร เน้นระบบควบคุม ระยะสั้น กำไร/ขาดทุน มีประสิทธิภาพ - Trust หรือศรัทธาของการเป็นผู้นำเกิดได้แก่ทุกๆคน มิใช่แค่มีตำแหน่ง - Turst มีหลายประเภท - Self Trust ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอย่างไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา - Relationship Trust ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร - Organization Turst การสร้าง Brand - Sociol Trust วิธีสร้างได้มาซึ่ง trust ระหว่างบุคคล - พูดจริงทำจริง ยกย้องนับถือเพื่อร่วมงาน - ทำงานด้วยความโปร่งใส่ ปรับปรุงตนเองเสมอ วิธีได้มาซึ่ง Social Trust มีบทบาทที่ดีต่อส่วนรวม สร้างความปรองดอง ความมั่นคงของคนในประเทศตัวอย่างผู้นำ - พระนเรศวร , ร.5 , ร.9 - อาจารย์สัญญาธรรมศักดิ์ , ดร.ป๋วย , ชวน หลีกภัย University of Washington ผู้นำต้องมี 4 วิธี 1. Leadership skill การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง ทำงานเป็นทีม 2. Charactar คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น รองเรียนรู้ มีทัศนคติเป็นบวก มีคุณธรรมจริยธรรม 3. Leadership perecess ควรมี Vision มองอนาคตให้ออก 4. Lradeship Valur ที่สำคัญที่สุด คือ Trust ความศรัทธาให้ผู้นำนั้นๆ

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน 

วันที่ 29 มิถุนายน 2555 ภาคเช้าเรื่อง Finance for Non–Finance & Financial Perspective โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่ามากที่ทำให้สามารถเรียนรู้ด้าน Financial ในระดับมหภาคได้ในเวลาอันสั้น แต่ใช้ประโยชน์ได้จริงและตรง เป็นความจำเป็นที่ผู้นำต้องมีทุนทางปัญญาในเรื่องนี้ การเรียนรู้ในเช้าวันนี้ได้หลักการ วิธีการ และความรู้ในความหมายของศัทพ์เฉพาะทางการเงินได้ถูกต้องชัดเจน ได้แก่ 1. ตลาดการเงิน (Financial Market) ที่คุ้นชินเรียกว่าตลาดเงินในระบบ (เงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ ตราสารหนี้) มีกฎหมายรองรับชัดเจน และตลาดเงินนอกระบบ ไม่มีกฎหมายรองรับ ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างคน 2 คน หรือภายในกลุ่ม เช่น แชร์ 2. ตลาดทุน (Capital Market) มี 2 ประเภท ตลาดแรก (primary market) และตลาดรอง(secondary market) การขายต่อให้คนอื่น เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3. สถาบันการเงินในประเทศไทย ได้แก่ Bank และ Non-Bank (เช่น บริษัทเงินทุน) นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้หลักพื้นฐาน ทางด้านบัญชี หลักเงินสด หลักค้างรับค้างจ่าย (Accrual Accounting) รายได้ (Revenues) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) ต้นทุนโดยตรง (Direct Cost) กำไรสุทธิ ประเภทของงบการเงิน 1.งบดุล หรืองบแสดงฐานะทางการเงินขององค์กร 2.งบกำไร ขาดทุน 3.งบแสดงกระแสเงินสด ควรรดูย้อนหลังได้ 6 เดือน ซึ่งมีความสำคัญทั้ง 3 ตัว ถ้ามีให้ดูเพียงงบเดียวควรดูงบแสดงกระแสเงินสด ซึ่งจะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มา ใช้ไป และการลงทุนขององค์กร การบริหารการเงินโครงการ มีต้นทุนค่าเสียโอกาส และ ต้นทุนค่าความคาดหวัง ที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณาด้วย การทำ CSR ได้ผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาคบ่ายเรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร กลยุทธ์ หรือการนำไปสู่ความเป็นเลิศ ต้องมองการบริหารในอนาคต ต้องมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ มี process โดยดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ความสามารถใน Core Competency และพัฒนาสิ่งที่เป็นจุดแข็งขององค์กร สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ และการวางแผน ต้องมีการมองภาพตั้งแต่ต้นจนจบ

นายอำนาจ ดิสสะมาน

วิชาภาวะผู้นำ อาจารย์ประกาย ชลหาญ

Human Capital is the most valuable Asset in any Organization Leader - Do the right thing Manager - Do the thing right การบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management some of key Success factors อะไรที่ง่ายได้ผลให้รีบทำก่อน การเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องทำแผนก่อน การพัฒนาองค์กร OD approach is vital Change การเปลี่ยนความคิด ต้องเปลี่ยนความเชื่อ - ความเชื่อ ต้องเปลี่ยนการคาดหวัง - การคาดหวัง ต้องเปลี่ยนทัศนคติ - ทัศนคติ ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม - พฤติกรรม ต้องเปลี่ยนผลงาน - ผลงาน ต้องเปลี่ยนชีวิต

                            นายอำนาจ    ดิสสะมาน
นายอำนาจ ดิสสะมาน

28 มิถุนายน 2555 โดยอ.ไกรฤทธิ์ ในหัวข้อ “วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ”

ซึ่งอาจารย์ไกรฤทธิ์ได้เห็นถึงความสำคัญของทุนทางจริยธรรม  ในสังคมปัจจุบันการเคหะแห่งชาติ  ได้ปรับเรื่องความมั่นคงของงาน  ในขณะที่คู่แข่งขันเอกชน  เช่น  ธนาคารที่พนักงานอาจถูกลอยแพได้หากมีผลกำไรที่ต่ำลง
อาจารย์ไกรฤทธิ์  ได้กล่าวถึง  Copolate  Culture  วัฒนธรรมองค์กร  Way  of  doing  thing  พฤติกรรมที่พวกเดียวกันทำเป็น  Sofe  Policy  มี  7  ประการ  ได้แก่
1.  พิธีกรรมภายในองค์กร
2.  จุดเน้นกรรมการ/ผลงาน
3.  Hero
4.  ทัศนคติในการแก่ปัญหา
5.  ก๊วน
6.  การสื่อสารภายใน
7.  การตัดสินใจ
ในส่วนของดร.จีระ  กล่าวว่า  คำว่า  “เรา”  คือ  ทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการให้คมวามสำคัญ  บางองค์กรให้ความสำคัญกับส่วนอื่น  เช่น  สินค้า  และบริการ  แต่คนที่ใฝ่รู้กลับไม่ให้ความสำคัญ
อาจารย์พิชญัภูรี  ได้พูดถึงองค์ความรู้ข้ามศาสตร์  โดยตัวอย่าง  คุณโชค   บูลกุล  ฟาร์มโชคชัย  ได้เห็นถึงการพัฒนาคน  กคช. ควรมีโครงการตัวอย่าง  เช่น  บ้านผู้สูงอายุ  เหมือนวัยของสภากาชาดไทยที่สวางคนิวาศ  อดีตพนักงาน กคช.  ที่ทำงานด้านสื่อทสารมวลชน  คือ  คุณชูเกียรติ   อุทกพันธุ์  เจ้าของอมรินทร์  พริ้นติ้ง  ที่ทำหนังสือบ้านละสวน  ขอให้นึกถึงบุคคลที่สำคัญเป็นแบอย่างให้กับคนรุ่นต่อๆไป
อาจารย์  ได้พูดถึงทฤษฎี  2 R  ของอาจารย์จีระ  คือ  Reality  และ  Relevance  ให้นำมาปรับใช้เพื่อก้าวสู่สังคมประชากรอาเซียน  และควรมีจินตนาการในการทำงาน  ซึ่งไอสไตย  กล่าวว่า  จินตนาการสำคัญกว่าความรู้  แต่ต้องมีความรู้มาก่อนด้วย  ทำให้มีความภูมิใจและ

มีความสุขในงานที่ทำ

                                          นายอำนาจ    ดิสสะมาน
30 มิ.ย. 55  รุ่น 1
สวัสดีครับท่าน  อ.จีระ
วันนี้ได้ฟังบรรยายเรื่อง  “การบริหารทุนมนุษย์”  โดย  ดร.จีระ , อ.ชัญญา , ดร.ศิริลักษณ์  และคุณสุทธิเดช  จาก  กฟภ.
อ.จีระ  ได้แนะนำว่าพวกเราไม่ต้อง  How  To  มากนัก  แต่ให้  Identiy  โอกาสมากๆ  คือ
1.  การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  LO
2.  การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
3.  ยุทธศาสตร์  TALENT  MANGEMENT
5.  Cross  สายงาน  (ข้ามศาสตร์)
ซึ่งในภาคบ่ายจะให้แบ่ง  4  กลุ่ม  รวมเสวนาหัวข้อทั้ง  4  นี้  โดยใช้  Mind  MaP  ของ อ.ชัญญา  เป็นแนวปฏิบัติ
อ.ชัญญา
เดิม  HR  จะเน้นที่การฝึก  และมาเป็นการอบรม  แต่ปัจจุบันต้อง  “บ่มนิสัย”  เพราะเราฟังบรรยายเดี๋ยวเดียวก็ลืมแล้ว  บ่มไป  60  วัน  เหลือสัก  10%  ก็เก่งแล้วต้องใช้สมองให้มาก  ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการสร้างนิสัย  การเคหะฯมีคนเก่งมาก  ทำอย่างไรให้ร่วมมือร่วมใจ  เพราะคนเก่งต่อคนเก่งจะทำงานร่วมกันยาก
“mind  map”  ให้วางกระดาษแนวนอนจะเห็นทั้งหน้า  เราถูกฝึกมาให้วางกระดาษแนวตั้ง  และตั้งแต่เรียนหนังสือมาจะใช้สมองซีกซ้าย  (ตรรก  เหตุผล)  มากกว่าสมองซีกขวา  (บันเทิง , จินตนาการ , ความคิดสร้างสรรค์)  หลักสูตรการศึกษาจะให้เรียนแก่ซีกซ้ายจนถึงขั้นมหาวิทยาลัย  ซีกขวาจะหายไปหรือมีน้อยมาก  ทำให้เวลาคิดอะไรจะช้าเพราะมัวแต่กลัวผิด  กลัวถูก  มีเหตุผลมาสนับสนุนก่อนจึงจะคิดออก  แต่ต่างกับการใช้สมองซีกขวา  จะทำให้เพลิดเพลินและสนุก  จะคิดอะไรได้รวดเร็วกว่า  อาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้คิดถึงชื่อเพื่อนในเวลา  1  นาที  สูงสุดได้  27  ชื่อ  

แต่พอให้คิด ที่หนีบกระดาษ ในเวลาเท่ากัน กลับคิดได้น้อยกว่ามาก บางคนไปถึง 10 ชื่อ ว่าจะเอาไปทำอะไรได้อีก ดังนั้น เวลาไปทำงานที่ต้องทำงานร่วมกัน Brain Stroaminy ให้นึกถึงซีกขวาไว้ จะทำให้คิดได้เร็ว และควรมีสมุดโน้ตเล็กๆ นึกอะไรที่เป็นประโยชน์ให้บันทึกไว้

อ.สุทธิเดช
ได้ยกกรณีศึกษาของ  กฟภ.  ว่าไม่ต่างจากการเคหะฯ  มากนัก  ที่มีผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุมากคิดเป็นสัดส่วนประมาณ  40 %  ซึ่งจำเป็นต้องสร้างคนรุ่มใหม่ให้ได้มาทดแทน  ในปี  2550  ได้ให้  อ.จีระ  เข้าไปจัดทำหลักสูตร  HR  และท่าน ผว.อดิศรฯ  ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคนได้ให้การสนับสนุน  ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการพัฒนา  HR  อย่างต่อเนื่อง

อ.ศิริลักษณ์
ได้พูดถึงบทบาทของผู้นำ  จะต้องเรียนรู้จากอะไร  เช่น  ความผิดพลาด  MISTARE  ต้องทำบทบาทของการเป็น  COACH  ที่จะต้องสอนงาน  ให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชาแทนที่จะตำหนิติเตียนเพียงอย่างเดียว  ต้องมี  Adaptive  Change  และ  Idea  for  change  ต้องมี
-  Strvcture  Politie  สูงหรือไม่มีผลแก่โครงสร้างองค์กร
-  Systems  ระบบ
-  Processes  ต้อง  Cross  Functional
-  Practiees  ฝึกฝน
ยุคนี้ผู้บริหารต้องมีแนวคิดในการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ  มิใช่ให้นายสั่งลงมาเหมือนแต่ก่อน
การเรียนสนมัยนี้  60 – 70%  ต้องเกิดจาก  Self – Learning  คือ  เรียนรู้ด้วยตนเองเกิดจากการ  Share  อีก  20%  เรียนรู้จากใน  Classroom
Competeney  ต้องไม่ติดในแบบฟอร์ม  แต่ต้องเพิ่มการสร้างความแตกต่าง  ขอให้เป็นเรื่องสำคัญ  สั้น – กระซับ – และเกิด  Impaet  มากที่สุก  เช่น อย่าติดกับว่าต้องเรียนรู้  Computor  

ให้เก่งก่อน จึงจะไปเรียนรู้เรื่องอื่น – ไม่จริง ที่ผ่านมาบางองค์กรมัวแต่ฝึกแต่ Computor ทำให้มองข้ามศาสตร์ในเรื่องอื่นๆ ไป แต่ Computor เป็นหัวใจหลัก เป็นพื้นบ้าน ยุคนี้ต้องรู้ทุกคนจะทิ้งไม่ได้

                             จิระ   อุหปาณี
นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

(อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์) (รุ่น 1) สรุปจากหนังสือ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

8 K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์

K1 Human Capital ทุนมนุษย์ (การศึกษาโภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูครอบครัว ฯลฯ) K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา (การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา) K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา ความถูกต้อง) K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข (พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่า และสอดคล้องกับงานที่ทำ) K5 Social Capital ทุนทางสังคม (มีเครือข่าย โดยการหาข้อมูลข่าวสาร และการเจรจาต่อรอง) K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน

            (ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน)

K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT

            (นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ)

K8 Talented Capital ทุนอัจฉริยะ (ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ โดยใช้ทฤษฎี 5 E คือ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation)

5 K’s (ใหม่) ทฤษฏีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

        (การเรียนรู้ มีสมาธิ คิดเป็นระบบ อยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ)

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

        (ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ มูลค่าเพิ่ม ความเฉลียวฉลาด)

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

        (ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานความรู้ นำไปปฏิบัติให้สำเร็จ)

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

        (ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม)

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ (การรู้จักควบคุมอารมณ์ กล้าหาญ เอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี ควบคุมตนเอง ติดต่อสัมพันธ์)

4 L’s ทฤษฏีเพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ L1 Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ L2 Learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ L3 Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้ L4 Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 R’s ทฤษฏีเพื่อการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหา R1 Reality คือ ความจริง R2 Relevance คือ ตรงประเด็น

2 I’s ทฤษฏีเพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน I1 Inspiration คือ แรงบันดาลใจ I2 Imagination คือ จินตนาการ

C&E ทฤษฏีเพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่

Connecting  การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน
Engaging    การมีส่วนร่วม

HRDS ทฤษฏีเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข

Happiness       คือ  การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม
Respect           คือ  การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
Dignity           คือ  การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
Sustainability  คือ  ความยั่งยืน (เป้าหมายระยะยาว)

3 L’s ทฤษฏีเพื่อการทำงานยุคใหม่

L1 Learning from pain คือ การเรียนรู้จากความเจ็บปวด L2 Learning from experience คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ L3 Learning from listening คือ การเรียนรู้จากการฟัง

บทที่ 8 เสียงสะท้อนจากลูกศิษย์อาจารย์จีระ กับวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้าง “คุณภาพทุนมนุษย์” AEC กำหนดทิศทางการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจตามกรอบระยะเวลาบรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ.2015 หรือ พ.ศ. 2558

  1. ดร.อนันท์ งามสะอาด ผู้อำนวยการวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือให้มีมาตรฐาน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา โดยการสนับสนุน 3 ด้าน คือ 1.นวัตกรรมการเรียนการสอน 2.การยกระดับคุณภาพผู้เรียน 3.การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และสร้างคุณค่าวิชาชีพอาชีวศึกษา รวมถึงวิธีการกระตุ้นการทำงานแบบทฤษฏี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT มาใช้ในในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพราะเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะสามารถจัดการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่าด้วยพลังองค์ความรู้ใหม่ สังคมแห่งการเรียนรู้จะช่วยบ่มเพราะคุณค่าในชีวิตของมนุษย์ด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ต้องสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร โดยเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

  2. ธนพล ก่อฐานะ President of Elitetech Telecom Co.,Ltd ได้กล่าวถึง ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการแข่งขัน 2 ระดับ คือ การแข่งขันภายในกลุ่มประชาคมอาเซียน และการแข่งขันระดับโลก ผู้ที่มีความเข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ ต้องมีวิสัยทัศน์ คิดเป็น วิเคราะห์ให้เป็น และมีจิตสาธารณะ คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

  3. นายชัยพร เหมะ CEO บริษัท หาญเจริญ โฮลดิ้ง จำกัด, หจก.หาญเจริญพลาสติก ได้กล่าวถึง ทฤษฏีต่างๆ จะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อนำไปใช้ คิดต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยท่านสนใจการสร้างทุนแห่งความสุข เพราะมนุษย์เมื่อทำอะไรก็ตามด้วยความสุขก็จะทำด้วยพลังและความตั้งใจ ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่มีอานุภาพมหาศาลที่จะทำให้เกิดผลงาน ทั้งนี้การบริหารทุนมนุษย์ให้ได้ผลสำเร็จ ต้องให้ความสำคัญสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็นมากเท่าๆกัน

  4. นายกฤษณพงศ์ มีชูนึก Ph.D Innovation Communication Krirk ได้กล่าวถึง มูลค่าความสำคัญของพนักงานในองค์กร เมื่อนำความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะความชำนาญ ของแต่ละคนมารวมกันจะก่อให้เกิดศักยภาพขององค์กร สามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

  5. นายสมพงษ์ ฝูงคน ได้กล่าวถึง การพัฒนาใดๆ ก็ล้วนไร้ค่า ถ้าเราพัฒนาโดยขาดจริยธรรม ละทิ้งความสุข และหลงลืมซึ่งความยั่งยืน

  6. นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึง ผู้นำต้องมีความสามารถในเรื่องของคน ต้องจูงใจให้ทีมงานผนึกกำลัง และทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ รวมถึงต้องให้ความสำคัญต่อคนเก่งและดีที่องค์กรต้องการ ต้องรู้จักคัดเลือก ดูแลให้การตอบแทน ตลอดจนโอกาสในการสร้างความสำเร็จ สร้างสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Employee engagement

บทที่ 9 ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

ต้องเข้าใจและรู้จริง ของการเปิดเสรีอาเซียน สำรวจตัวเองว่าโอกาสเราคืออะไร ความเสี่ยงคืออะไร ต้องเร่งหาทางป้องกัน หรือสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร มีการวางแผน มียุทธศาสตร์ มีการเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสม ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุง

บทที่ 10 12 แนวคิดและทฤษฏีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน แนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยทฤษฏี 3 วงกลม วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ การสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรเอื้ออำนวยต่อการทำงาน จัดองค์กรให้มี

 ความเหาะสม คล่องตัว ทำงานเป็นขั้นตอน ใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือ การพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ แก่บุคลากรให้มีความพร้อมในการ

     ทำงานอย่างเต็มที่ มี 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้
     1. ทักษะ หรือ ความรู้เพิ่มเติมในการทำงาน
     2. ความรู้ที่มีประโยชน์กับองค์กร
     3. ภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ ทักษะในการบริหารจัดการคน และสร้างศรัทธา
     4. ความคิดในเชิงผู้บริหาร กล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลว และสามารถบริหารความเสี่ยงได้        5. มีความรู้รอบตัว มองภาพใหญ่ของการทำงานในอนาคตได้ รู้ทันเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะกระทบ
     กับตัวเราและการทำงาน สามารถแสวงหาโอกาส   

วงกลมที่ 3 การสร้างแรงจูงใจในการทำงานทั้งที่เป็นตัวเงิน เช่น การขึ้นเงินเดือน การให้โบนัส การให้

      สวัสดิการ ส่วนที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การยกย่องให้เกียรติ การชมเชย การมีส่วนร่วม 
  การมอบหมายงานที่ท้าทาย การมีความโปร่งใส การทำงานเป็นทีม

สรุป ทฤษฎี และแนวทางการพัฒนามนุษย์ด้านต่างๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนนำมาใช้ได้ในชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำงาน ตลอดจนชีวิตในสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสุขอย่างยั่งยืนในครอบครัว ที่ทำงานและสังคม และช่วยลดปัญหาสังคมได้อย่างมาก และสามารถปรับตัวได้กับสถานการณ์ และ การเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอกประเทศ

นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

(อุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์) (รุ่น 1) สรุปจากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR.CHAMPIONS

คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร และ การทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาเรื่องคนเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้

การผลิตคน คือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กรหากได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพโดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอและเป็นระบบ

บริษัทปูนซีเมนต์ ดูแลนโยบายเรื่องคนตั้งแต่เดินเข้ามาทำงานกับบริษัท จะได้รับการฝึกอบรมเอาใจใส่ดูแลจนกระทั่งวันที่เขาเกษียณอายุออกไป เพราะเชื่อว่าองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาคนอย่างจริงจัง

การเพิ่มผลผลิตให้ประสบผลสำเร็จ คือ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรของเครือซีเมนต์ไทย คือ ความเป็นผู้มีวินัย เมื่อมีความเข้าใจร่วมกันและเห็นพ้องกันแล้วก็ทำกันอย่างพร้อมเพรียงให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

เน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท คนไม่ใช่เครื่องจักรจะถอดย้ายไปไหนไม่ได้ง่ายๆ มีอะไรต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่องกันก่อน

พนักงานระดับหัวหน้างานจะต้องเปิดประตูตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือทุกคนถือเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกันจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สร้างบรรยากาศความร่มเย็นให้กับองค์กร

พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

อ.จีระทุ่มเทกับการสร้างสถาบันทรัพยากรมนุษย์ จุดอ่อน คือ อายุยังน้อย จุดแข็ง คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความกล้าที่จะทำงานแหวกวงล้อมเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จ การขาดบารมีจึงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเผชิญ

อ.จีระจะให้ความสำคัญกับเป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าจะคิดถึงเรื่องทุน จะเน้นคิดงานก่อนแล้วหาเงินทีหลัง ไม่ใช่มีเงินแล้วทำ

อ.จีระฝันจะสร้างองค์กรระดับโลกที่สามารถถมช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยี และระบบการบริหารจัดการลดช่องว่าง Digital Divide ทำให้ความสามารถของคนในกลุ่มประเทศที่อยู่ในฐานะเสียเปรียบได้รับการยกย่อง

อ.จีระยามเช้าจะอ่านหนังสือพิมพ์ที่ชอบ เปิดอ่านเว็บวันละ 2 ชม. ก่อนไปทำงานเช้า 1 ชม. และก่อนนอน 1 ชม. และไม่พูดที่ไหนโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลจาก Internet

ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นเรื่อง 4 L’s และเรียนรู้ตลอดชีวิต และเรียนรู้เชื่อมศาสตร์หลายๆ ศาสตร์

การมองทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ การวางแผนเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาวไม่ใช่ต้นทุนอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในเรื่องคน

อ.จีระให้รัฐบาลลงทุนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

อ.จีระมีปรัชญาชีวิตว่า ต้องเกิดมาเพื่อจะเรียนรู้ (Born to learn) และเรียนรู้ (learn) อย่างสนุก นำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์

อ.พารณไม่ได้ทำให้เกิดแรงจูงใจโดยตรง เพราะไม่เคยกล่าวชมผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยคำหวาน แต่จะแสดงอาการชื่นชม แสดงความกระตือรือร้นเมื่อได้เห็นผลงานของลูกน้องทุกครั้งเมื่อได้รับมอบหมายงาน ลูกน้องจึงเกิดความรู้สึกว่าจะต้องทำงานให้เจ้านายคนนี้ได้ชื่นใจ แต่ถ้าจะชมใครก็จะชมต่อหน้าคนอื่นๆ เลยทำให้ลูกน้องกลายเป็นคนบ้างานเอามากๆ

การทำงาน คือ การพักผ่อนไปในตัว ไม่ถือว่าเป็นภาระ การทำงาน คือ ความสุข คนที่มีความสุข คือ คนที่อดทนคนอื่นได้เก่ง การสร้างเด็กไทยให้พร้อมสู่การเป็น Global Citizen ผ่านระบบการเรียนรู้แบบ Constructionism ในบรรยากาศของ Learning Organization

เวลาจะทำอะไรต้องมี ความเชื่อก่อน จึงทำ จะไม่ทำตามที่เขาว่ากัน หรือทำตามกันมา หรือทำเพราะกระแสสังคมหรือแฟชั่น เมื่อทำตามความเชื่อ ผลจึงออกมาดี

คนเก่ง 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน คนดี 4 คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม

การโปรโมทคนจะดู 2 ตัว คือ capability (การทำงาน) ไม่ใช่เรียนเก่งอย่างเดียวแต่ต้องมีความสามารถในงานที่จะทำงานในหน้าที่ และ acceptability (การยอมรับ) มีคุณสมบัติหลายอย่างรวมทั้งด้านคุณธรรมเป็นที่ยอมรับจากคนทุกระดับ

ที่เครือซีเมนต์จะมีการฝึกอบรมพนักงานแต่ละระดับ คือ ระดับล่างอบรมปีละ 7 วัน ระดับกลางปีละ 10 วัน ระดับบนปีละ 10 วัน

คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

การแก้ปัญหาให้พนักงานเสียเนิ่นๆ ไฟก็จะไม่ลุกลามใหญ่โต

พันธุ์แท้ ต้องทำ 3 อย่าง คือ ต้องทำให้สำเร็จ ต้องมีบารมี และต้องยั่งยืน

คนที่องค์กรส่งไปสร้างธุรกิจใหม่ให้เครือโดยยอมออกไปทำงานอย่างลำบากกับบริษัทต่างชาตินอกเครือนั้น ถ้าไม่ดูแลให้ดี คนเหล่านั้นจะมีความคับแค้น ความเดือดเนื้อร้อนใจ มีเสียขวัญและกำลังใจ

บุคคลเจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินชีวิตฉันใด บริษัทก็เจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจฉันนั้น

การบริหารคนแบบญี่ปุ่น ต้องมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ อุทิศตัวต่อองค์กร

ความพึงพอใจในงานที่ทำ มีงานที่ท้าทายมีโอกาสก้าวหน้า

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีนักบริหารที่ดี ไม่ใช่เรียนจบ MBA อย่างเดียว

เครื่องชี้วัดด้านคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของ World Economic Forum ประกอบด้วย คุณภาพด้านคน, คุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การเข้สู่ภาวะโลกาภิวัตน์ และการบริหารจัดการ

ทำไมปรัชญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถึงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากในสังคมไทย คือ 1. การลงทุนในการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ผลตอบแทนระยะยาวและใช้เวลา ผู้นำที่จะพัฒนาคนได้

จะต้องเป็นคนที่มุ่งมั่น สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และมองอนาคตได้ชัดเจน
  1. การลงทุนในการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจน ผู้นำจะต้อง สามารถบริหารแรงจูงใจให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจที่จะกลับมาอยู่กับองค์กร

ถ้าเป็น HR พันธุ์แท้ ต้องใช้คำว่า Cultivation is not as important as harvesting การเพาะปลูกจำเป็นก็จริงแต่การเก็บเกี่ยวจำเป็นกว่า

การลงทุนมนุษย์ ควรจะมีการลงทุนทางปัญญา การลงทุนทางจริยธรรม รวมไปถึงระบบบรรษัทภิบาลด้วย

ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เราจะต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน ถ้าคุณมีความเชื่อ หรือมีความศรัทธาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งดี และเป็นประโยชน์ มันจะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่น และกำลังใจ และจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ

คนเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรและเป็นสมบัติที่มีคุณค่าตรงข้ามกับเครื่องจักรอุปกรณ์ เพราะเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ นั้น คุณค่าของมันจะค่อยๆ เสื่อมถอยลงๆ จากการชำรุดสึกหรอเมื่อกาลเวลาผ่านพ้น แต่คุณค่าของคนกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ถ้าเราสามารถเรียนรู้ที่จะมีทักษะความเชี่ยวชาญในการจัดการกับคนแล้ว ย่อมสามารถที่จะดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรได้

ปรัชญาในการพัฒนาบุคคลของเครือซีเมนต์ไทยที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ 1. ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน 2. ความรู้สึกว่าพนักงานคือคนในครอบครัวของเรา 3. ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทมีทั้ง ราคา และคุณค่าที่สอดคล้องกัน

ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันในประเทศ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีแนวทาง ดังนี้ 1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ผู้บริหารจะต้องพิจารณาแนวโน้มในอนาคตว่าโลกจะเป็นอย่างไร จะเตรียม ทรัพยากรมนุษย์อย่างไร จะสร้าง พัฒนา และเก็บรักษาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร 2. การลงทุน เน้นให้เกิด Competencies ใหม่ๆ ได้แก่การพัฒนาและสร้างศักยภาพให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งควรจะเน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ได้ผล Attitude หรือ ค่านิยม/การปรับทัศนคติ รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ โดยความรู้ต้องทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง เพราะทรัพยากรมนุษย์ที่จะเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์ได้ จะต้องมี Global Knowledge ได้แก่ ภาษาต่างประเทศ การวิเคราะห์วิจัย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานที่เป็นวัฒนธรรมนานาชาติ การตัดสินใจ การวิเคราะห์แบบ Rational Systematic Thinking การทำงานให้องค์กรมีคุณภาพจะต้องเน้น การทำงานเป็นทีม สร้างผู้นำ สร้างความจงรักภักดี การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันต้องคงไว้ซึ่งคุณธรรม และองค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของคนก็คือ องค์กรที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถสื่อสารถ่ายทอดวิสัยทัศน์นั้นให้แก่ผู้ร่วมงานได้สำเร็จและเป็นต้นแบบทั้งการเป็น คนเก่ง และ คนดี K แทนคำว่าทุนนั้น เพราะ K มาจากคำว่า Kapital เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า ทุน หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง Karl Mark ได้เขียนทฤษฎี Kapital ไว้กว่าร้อยปี

ทฤษฏีการสร้างฐานความรู้สู่มูลค่าเพิ่มของ อ.จีระ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จของเครือซีเมนต์ไทย ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1. คุณภาพของคน ดูกันตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้าทำงานของบริษัทมีอิสระในการคัดเลือกคนเก่ง คนดี เข้ามาทำงานหรือไม่ หรือยังมีความจำเป็นต้องรับเด็กเส้นเด็กฝากอยู่ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น การพัฒนาฝึกอบรมก็คงหวังผลได้ยาก 2. ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ผู้บริหารระดับบนของบริษัทจะต้องมีความเชื่อว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือหลักการทางธุรกิจที่สำคัญยิ่ง และต้องลงมาดำเนินการในเรื่องการพัฒนานี้อย่างจริงจัง การพูดเฉยๆ นั้น ใครๆ ก็พูดได้ แต่การลงมือทำอย่างจริงจังนั้นสำคัญกว่า 3. ทัศนคติของฝ่ายจัดการ ต้องเข้าใจว่าการพัฒนาฝึกอบรมไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป แต่แท้จริงแล้วเป็นการลงทุนระยะยาว 4. การปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง พนักงานจะต้องจูงใจตนเองอย่างไม่หยุดหย่อนในการพัฒนาตนเอง ต้องอุทิศตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากหลักสูตรการฝึกอบรม และต้องพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะเพิ่มพูนความสามารถและประสบการณ์ให้สูงสุด

บันไดแห่งความเป็นเลิศในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 4 ขั้น ดังนี้ 1. ลองทำอะไรที่เริ่มจาก Good ideas Action สู่ผลสำเร็จ (Plan, Do, Check, Act) 2. อย่าทำอะไรโดยไม่มี priority ลำดับความสำคัญเริ่มก่อนมุ่งมั่นให้ดี (คือ ต้องมี Focus) 3. ทำโดยให้มี participation ของทุกคน ทุกระดับ (คือการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม) 4. ทุกโครงการต้องมีผู้เป็นเจ้าของ (คือ มีOwnership)

การทำให้มีความจงรักภักดี (Loyalty) ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ - ความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา - ความจงรักภักดีต้องใช้เวลาในการสร้าง - ผู้ที่มีบทบาทในกระบวนการสร้างความจงรักภักดีนั้น จะต้องเข้าใจถึงคุณค่าของมนุษย์เสียก่อน ถึงจะทำงานด้านนี้อย่างประสบผลสำเร็จ

หลังวิกฤตองค์กรธุรกิจบ้านเราเห็นชัดว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านแรงจูงใจมากขึ้น โดยเน้นใน 2 เรื่อง ได้แก่ 1. สร้างให้คนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้มากขึ้น คนไทยที่ฉลาด จะต้องพาตัวเองไปอยู่ในองค์กรที่เขาได้เรียนรู้มากไปกว่าเลือกอยู่ในองค์กรที่ได้เงินแต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือสร้างเสริมภูมิปัญญาให้ตัวเองแต่อย่างใด 2. การประเมินคุณภาพตามความสามารถได้มีการเปลี่ยนแปลงมีเครื่องชี้บางประการ เช่น นอกจากวัดในเชิงปริมาณแล้ว ยังต้องสามารถวัดในเชิงคุณภาพของคนได้ด้วย

คุณสมบัติ 3 ประการที่เป็นเสมือนตั๋วเดินทางสำหรับคนไทยก้าวสู่ระดับโลก ได้แก่ 1. ความคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 2. เทคโนโลยี 3. คุณธรรม

เป้าหมายของดรุณสิกขาลัย ได้แก่ 1. ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารโรงเรียนแบบใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ Learning Organization 2. พัฒนาการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ 3. พัฒนาวิธีการเรียนการสอนใหม่ให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองเรียนรู้ไปด้วยกัน และต่อไปจะประสานเอา

ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ด้วย
  1. สร้างความรู้ความเข้าใจต่อกลุ่มผู้ปกครองและชุมชนถึงวิธีการเรียนรู้แบบ Constructionism และ Learning Organization โดยส่งเสริมให้มีการปฏิบัติจริงในครอบครัวด้วย

การพัฒนาระบบการเรียนของดรุณสิกขาลัย คือ การปฏิบัติจริงในรูปแบบโครงงาน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีหลักการ รู้จักการวางแผน ทำงานเป็นทีม และเริ่มเรียนรู้วิธีการจัดการตั้งแต่เล็ก ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนที่องค์กรต้องการ และยังพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน คือ - IQ (Intelligence Quotient) กระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาด ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง - EQ (Emotional Quotient) รู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ มีความมั่นคงทางอารมณ์ - AQ (Adversity Quotient) แก้ปัญหาและเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี - TQ (Technology Quotient) มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี เลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ - MQ (Morality Quotient) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทยเข้าไปในทุกขั้นตอนจนติดเป็นนิสัย

การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism เป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้ - ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กๆ สนใจ - ขั้นตอนที่ 2 ครูจะบูรณาการวิชาการ - ขั้นตอนที่ 3 ครูและเด็กจะวางแผนการเรียนรู้ด้วยกัน - ขั้นตอนที่ 4 เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง - ขั้นตอนที่ 5 สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน - ขั้นตอนที่ 6 จัดเตรียมนิทรรศการผลงานจากการเรียนรู้ - ขั้นตอนที่ 7 วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360 องศา - ขั้นตอนที่ 8 การต่อยอดองค์ความรู้

นวัตกรรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา 2. ต้องลงมือทำ 3. ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง

ประเทศไทยต้องมีการเรียนรู้อยู่ 4 เรื่อง คือ Village that learn เรียนรู้ระดับหมู่บ้าน School that learn เรียนรู้ระดับโรงเรียน Industry that learn เรียนรู้ระดับอุตสาหกรรม Nation that learn เรียนรู้ระดับประเทศ

ความคล้ายคลึงของ อ.จีระ กับ อ.พารณ 1. เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ 2. หยัดอยู่ มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน 3. จากการความยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4. มีบุคลิกลักษณะแบบ Global Man ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ 5. มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ ทั้ง ความรู้ และ ความรัก แก่คนใกล้ชิด 6. มีความสุขกับการเป็น ผู้ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ กล่อง หรือ การเชิดชูเกียรติจากใคร


สรุป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ อ.จีระ และ อ.พารณ เป็นทฤษฎีประสบการณ์ที่ผ่านการนำมาใช้ปฏิบัติจริง ในองค์กรชั้นนำ และเป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ดังนั้นทุกหน่วยงานสามารถนำแนวคิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจว่ามาถูกทางแล้ว

นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

(อุมากรณ์ จัตุนวรัตน์) (รุ่น1) สรุปจากหนังสือ : ธรรมดีที่พ่อทำ • คนทุกคนมีหน้าที่ต้องทำ • เมื่อมี Idol แล้วเราต้อง I do! • I do คือ • บุญเก่า บุญเก่า นำเรามาส่งเป็น “คนไทย” ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ คนไทยทั้งชาติต้อง “ลุก” ขึ้นมาสร้าง “บุญใหม่” ตามรอยพระองค์ท่านเพื่อไม่ให้โอกาสทองของชีวิตผ่านเลยไปนี่คือ ช่วงเวลาสำคัญที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในสังสารวัฏไม่สามารถย้อนกลับมาได้อีก และไม่สามารถเกิดซ้ำได้อีก • หน้าที่ของคนไทย คือ ทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัว ทรง “ทำให้ดู” ทรง “อยู่ด้วยการให้” ด้วยให้ใจสีขาวของพวกเราทุกคน • “หลักการทำงาน” • ฉันทะ (การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ) • วิริยะ (ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในการงาน) • จิตตะ (ความจดจ่อใส่ใจในงาน) • วิมังสา (คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ / ตรวจสอบ) • หลัก ๒๓ ข้อ ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว • ข้อที่ ๑ จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ • ข้อที่ ๒ ระเบิดจากภายใน สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำมิใช่สั่งให้ทำ • ข้อที่ ๓ แก้ปัญหาจากจุดเล็ก มองภาพรวม แต่การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ • ข้อที่ ๔ ทำตามลำดับขั้น เริ่มทำจากความจำเป็นก่อน • ข้อที่ ๕ ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ • ข้อที่ ๖ ทำงานแบบองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง • ข้อที่ ๗ ไม่ติดตำรา • ข้อที่ ๘ ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด • ข้อที่ ๙ ทำให้ง่าย • ข้อที่ ๑๐ การมีส่วนร่วม • ข้อที่ ๑๑ ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม • ข้อที่ ๑๒ บริการจุดเดียว • ข้อที่ ๑๓ ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ • ข้อที่ ๑๔ ใช้อธรรมปราบอธรรม • ข้อที่ ๑๕ ปลูกป่าในใจคน ปลูกที่จิตสำนึกก่อน • ข้อที่ ๑๖ ขาดทุนคือกำไร บางครั้งเราได้กำไรจากการขาดทุน • ข้อที่ ๑๗ การพึ่งตนเอง • ข้อที่ ๑๘ พออยู่พอกิน • ข้อที่ ๑๙ เศรษฐกิจพอเพียง • ข้อที่ ๒๐ ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน • ข้อที่ ๒๑ ทำงานอย่างมีความสุข • ข้อที่ ๒๒ ความเพียร • ข้อที่ ๒๓ รู้ จัก สามัคคี • ทำด้วยใจ หมายถึง ทำทุกอย่างด้วยใจบริสุทธิ์ • รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ • หมั่นรักษาความเป็นกลางของหัวใจ • ความเลวร้ายของคนเราก็ คือ การชอบที่จะพูดถึงแต่ความผิดพลาดของคนอื่น ความโง่เขลาของคนเราก็ คือ การไม่ชอบที่จะฟังถึงความผิดพลาดของตนเอง • อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ • ความซื่อสัตย์และความกตัญญู ความรักที่ภักดี ยิ่งกว่าชีวิตตัวเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการมากที่สุดในปัจจุบัน • มนุษย์นั้นอยู่เหนือกรรม เพราะมีสิทธิ์เลือกกระทำ แต่หากไม่เลือก ผู้นั้นย่อมมีชีวิตตามยถากรรม • การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องหาความสมดุลของสมรรถนะ 4 ด้าน 1. ร่างกาย 2. ความรู้สึก 3. สติปัญญา 4. จิตวิญญาณ มโนสำนึก • คุณสมบัติของ “กัลยาณมิตร” ผู้เป็นมิตรแท้และผู้นำทางปัญญามี ๗ ประการ • “น่ารัก” • “น่าเคารพ” • “น่ายกย่อง” • “มีวาทศิลป์” • “มีความอดทนต่อถ้อยคำ” • “ทำเรื่องยากให้ง่าย” • “ไม่แนะนำในเรื่องอันไม่ควร” • คนดีทำให้คนอื่นดีได้ • มนุษย์ จึงแปลว่า ผู้มีใจสูง • “ความดี” ศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่แท้จริงอยู่ที่ศีลห้า • เกิดเป็นมนุษย์ควรแข่งกันสูง ไม่ใช่แข่งกันต่ำ • “ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข” • ทำให้ประเทศไทยของเรามีความสบายมั่นคงที่สุดในโลก เป็นประเทศที่คนไทยช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยน้ำใจไมตรีที่ดีงาม และเป็นประเทศมหาอำนาจแห่งความดีบนวิถีชีวิตที่สงบเย็นและพอเพียง มีรอยยิ้มให้กันเหมือนแต่ก่อนจะเป็นความสุขที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง • “ธรรมดี” ที่พ่อทำควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต • ความกตัญญู • ความอ่อนน้อมถ่อมตน • ความพอเพียง พอเพียง คือ การอยู่ได้ด้วยตนเอง พอประมาณ คือ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก พอดี คือ พอแล้วดี มิใช่ดีแล้วจึงพอ • ความซื้อสัตย์ • ระเบียบวินัย • ความอดทน • ทำความดี หลักปฏิบัติ จะต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดี ตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งระเบียบให้แก่ตัวเอง รักษาความดี

• อยากจะเห็นคนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของแต่ละคนที่ต้องทำ มีความรักความเมตตาเป็นองค์ประกอบสำคัญ และให้มีความสมัครสมานสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นเอกภาพ • ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัวมี ๒ ประการ คือ ธรรมชาติ และ ธรรมดา • ทศพิธราชธรรม 1. เป็นผู้ให้ 2. เป็นผู้มีจริยวัตรงดงาม 3. เป็นนักเสียสละ 4. เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต 5. เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน 6. เป็นผู้มีความเพียร 7. เป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ 8. เป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรง 9. เป็นผู้เปี่ยมด้วยขันติธรรม 10. อยู่ในครรลองของนิติธรรม เนติธรรม ราชธรรมอย่างเคร่งครัด

บทสรุปวิจารณ์ จากหนังสือธรรมดีที่พ่อทำ

เป็นต้นแบบแห่งความดีและเป็นแนวทางการดำรงชีวิตที่คนไทยควรน้อมนำมาใช้เพื่อครอบครัว ชุมชนและสังคมไทย มีความสงบสุขและสันติ มีความพอเพียง และมั่นคงอย่างยั่งยืน

วันที่ 30 มิถุนายน 2555 ภาคเช้าเรื่องการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ และกรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คนทั่วไปเน้นพัฒนาสมองซีกซ้าย (การตัดสินใจ/เหตุผล) เราฝึกและใช้สมองซีกขวาไม่เกิน 1 ใน 5 ของชีวิต ถ้าใช้สมองซีกขวาและสมองซีกซ้ายร่วมกันจะมีพลังและศักยภาพมหาศาล วิชานี้จึงให้เรียนรู้การใช้สมองซีกขวาในการคิด โดยเครื่องมือเรียกว่า “ Mindmapping” Mind Map เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกจากความคิดถ่ายทอดเป็นภาพความคิด ซึ่งจะทำให้สมองซีกขวาทำงานมากขึ้นและเกิดความเพลิดเพลิน กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องเป็นแนวทางแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในอนาคต เน้นทุนมนุษย์ ต้องมีความสามารถในการเจรจาต่อรองกับชุมชน บทเรียนรู้แนวทางให้คนรุ่นหลังทราบอุปสรรคแล้วเอาชนะ (Knowledge Management) กระตุ้นให้มองอนาคต ผู้นำต้องข้ามศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม ต้องเป็นคนดีและเก่ง สร้างองค์กรให้เป็น LC และ LO ภาคบ่ายเป็น Workshop และนำเสนอ การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดยวิเคราะห์ 4 ประเด็น 1.วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร (การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร 2.ถ้าการเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดยุทธศาสตร์โดยเน้น LC-Learning Culture และ LO-Learning Organization 3.การเคหะฯกำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่ ความสำเร็จ 4.การเคหะฯจะต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมแบบข้ามสายงาน” หรือ Cross Functional Team กำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม การเคหะกำลังประสบวิกฤติด้านบุคคลากร การกำหนดนโยบายสร้างผู้นำแบบ Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ ต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมข้ามสายงาน” (Cross Functional Team) กำหนดยุทธวิธี Talent Management โดย 1.กำหนดคุณลักษณะ 2.กำหนดกระบวนการ 3.การพัฒนา และ 4.สร้างแรงจูงใจ

ประจำศรี บุณยเนตร
            หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” เป็นหนังสือที่นำเสนอแนวคิดและทัศนคติด้านทรัพยากรมนุษย์ ผ่านบทสนทนาของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักบริหารและนักวิชาการที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยแบ่งเนื้อหาของหนังสือเป็น 4 ช่วง คือ
เรื่องของสองแชมป์ เป็นการเล่าถึงเส้นทางชีวิตในด้านหน้าที่การงาน โดยเฉพาะประวัติและผลงานที่ตรงกันในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ที่ได้มีโอกาสสัมผัสท่านทั้ง 2 มาเสนอไว้เป็นการตอกย้ำความมีคุณค่าของทั้ง 2 ท่าน
คัมภีร์คนพันธุ์แท้ เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของทั้ง 2 ท่านว่าให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ที่ถือว่ามนุษย์เป็นต้นทุนขององค์กร การลงทุนในการพัฒนาคนต้องลงทุนให้ครบวงจร ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของคน แต่การลงทุนเรื่องคนต้องมีทั้งทางปัญญาควบคู่ไปกับจริยธรรม เพราะองค์กรต้องการทั้งคนเก่งและคนดี
จักรวาลแห่งการเรียนรู้ เป็นการบอกให้ต้องเป็นผู้เรียนรู้ที่ดีเพื่อสามารถในการแข่งขัน ไม่เฉพาะระดับประเทศ แต่เป็นระดับโลก ที่จะมาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ 

3 ประการ คือ

1.ภาษาทั้งไทยและอังกฤษ
2.เทคโนโลยี
3.คุณธรรม
สู่การเพิ่มผลผลิต เป็นการมองภาพกว้างในลักษณะการสร้างศักยภาพ การแข่งขันระดับประเทศด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยความร่วมมือจาก 4 ภาคส่วน เป็นสำคัญ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคแรงงาน
โดยสรุป หนังสือเล่มนี้มีสาระที่ควรค่าแก่ผู้บริหาร ซึ่งต้องสัมพันธ์กับคนอยู่ตลอดเวลา จะได้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถวัลย์ สุนทรวินิต

“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ • คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร • สิ่งของนานไปก็เสื่อม แต่คนยิ่งพัฒนา ยิ่งเก่งกล้า ถ้าคนไม่พัฒนา ก็เสื่อมเร็วกว่าสิ่งของ • องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่ง และไม่ดี • การพัฒนาบุคลากร เป็นการลงทุน ไม่ใช่ต้นทุน • ต้องการให้เด็กไทยคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี • มาจากครอบครัวไทยโบราณ อยู่ในระเบียบ วินัย ถูกสอนให้เคารพผู้ใหญ่ ยึดมั่นในคุณธรรม • หลักในการทำงาน - CEO ต้องให้ความสำคัญกับ HR - ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ - เชื่อว่าสิ่งนั้นดี จึงทำ และทำเป็นตัวอย่าง เช่น เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน (4 เก่ง) ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม (4 ดี) - เชื่อในคุณค่าของคน - ดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด เพราะ คนต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย - สร้างแรงจูงใจ - สร้างบรรยากาศความเป็นมิตร ดึงคนเป็น พวก - ทำงานเป็นทีม - จงรักภักดีกับองค์กร - Action speaks louder than words • ประธานก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ • ผลักดันแนวคิดด้านทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นที่ยอมรับว่า คน เงิน วัตถุ สำคัญเท่าๆ กัน • คิดงานก่อนแล้วจึงหาเงินมาทำ • เบ้าหลอมเมื่อเยาว์วัย เป็นนักกีฬา นักขวนขวายใฝ่รู้ มีเพื่อนฝูงมาก ได้รับโอกาสทำงานหลายด้าน และครอบครัวอบอุ่น • ไม่บอกว่าควรทำอะไร แต่จะบอกว่าควรทำอย่างไร • หลักการทำงาน - Context สภาพแวดล้อมขององค์กรที่ เอื้ออำนวยต่อการทำงาน จัดองค์กรให้เหมาะสมคล่องตัว เน้นการทำงานแบบ process ใช้ IT เพิ่มประสิทธิภาพ - Competencies ทักษะความสามารถทั้ง ด้านวิชาชีพ ด้านการจัดการ ภาวะผู้นำ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความรู้รอบตัว - Motivation การสร้างแรงจูงใจ ทั้งที่เป็นตัว เงิน และมิใช่ตัวเงิน

ถวัลย์ สุนทรวินิต

“ทุนมนุษย์รองรับ AEC”

แนวทางการเตรียมตัวรับการเปิดเสรีอาเซียน 1. เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียนอย่างเข้าใจ และรู้จริง 2. สำรวจตัวเองถึงโอกาสความเสี่ยง เพื่อหาทางป้องกัน หรือสร้างภูมิคุ้มกัน 3. ขยายวงการสำรวจสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม 4. พัฒนาทุนมนุษย์ โดยใช้ทฤษฎี 8 K’s + 5 K’s ทั้งตนเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม 5. ติดตามประเมินผล ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์สู่ AEC 1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านต่างๆ - เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology - การค้าเสรี , WTO , FTA - การเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน - บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา - อิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right - Global warming , ภัยธรรมชาติ - สงคราม และการก่อการร้าย - น้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน - โรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ H5N1 ฯลฯ

  1. วิเคราะห์ SWOT รวมถึงหาทางอุดช่องโหว่ของความเสี่ยง และจุดอ่อน โอกาส ความเสี่ยง • ใครมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า จะส่งออกได้มากขึ้น • มีสินค้าให้เลือกมากขึ้นในราคาที่ถูกลง • มีโอกาสได้รับค่าจ้างมากขึ้น • ต้นทุนการสื่อสาร และโทรคมนาคมมีราคาถูกลง • ได้รับเทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายกว่าเดิม • ธุรกิจภายในประเทศบางอย่างจะล้ม เพราะ แข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้ • ขาดดุลการค้ามากขึ้น เพราะส่งออกไปต่างประเทศลดลง แต่เรานำเข้ามามากขึ้น • มีการปลดแรงงาน • มีความแตกต่างในรายได้มากกว่าเดิม • ถูกต่างชาติครอบงำทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

จุดแข็ง จุดอ่อน • กระตุ้นให้ประเทศตื่นตัวปรับนโยบาย ทั้งระดับ Macro และ Micro • ผู้บริโภคมีทางเลือกของคุณภาพสินค้ามากขึ้น • ราคามีการแข่งขันกันอย่างเสรี • ทำให้เกิดโลกทัศน์ที่กว้าง • ผู้มีความรู้ หรือ Knowledge worker ได้ประโยชน์ งานที่ทำจะเป็นงานที่มีรายได้สูงขึ้น • นักอุตสาหกรรม ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์ • แรงงานไร้ฝีมือปรับตัวไม่ทัน เกิดปัญหาการว่างงาน และปลดคนงาน • ภาคราชการ ภาคแรงงานไร้ฝีมือ ผู้หญิง เด็ก คนพิการ จะลำบากยิ่งขึ้น • เกิดปัญหาทางสังคมมากขึ้น • ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ • บริษัทข้ามชาติจะได้เปรียบเพราะมีระบบการทำงานที่ดีกว่า • คนไทยยังไม่เข้าใจ และไม่มีใครชี้นำ • ภาคการศึกษาไทยยังขาดการปฏิรูปสังคมการเรียนรู้

ถวัลย์ สุนทรวินิต

Flow Chart

ถวัลย์ สุนทรวินิต

Flow Chart

ถวัลย์ สุนทรวินิต

ข้อคิดที่ได้จากหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”

ในหลวงของเรา คือ บุคคลแรกของโลกที่ได้รับการถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” จากองค์กรสหประชาชาติ

• หลักการครองแผ่นดินของในหลวง คือ ทศพิธราชธรรม ได้แก่ 1. ทาน ทรงเป็นผู้ให้ 2. ศีล ทรงเป็นผู้มีจริยวัตรงดงาม 3. ปริจจาคะ ทรงเป็นนักเสียสละ 4. อาชชวะ ทรงเป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต 5. มัททวะ ทรงเป็นผู้สภาพอ่อนโยน 6. ตปะ ทรงเป็นผู้มีความเพียรในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และเพียรกำจัดกิเลส 7. อักโกธะ ทรงเป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ ไม่มัวเมาในอำนาจ 8. อวิหิงสา ทรงเป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรง เบียดเบียนประชาชน 9. ขันติ ทรงเป็นผู้เปี่ยมด้วยขันติธรรม ด้วยความอดทน 10. อวิโรธนะ การปฏิบัติพระองค์อยู่ในครรลองของนิติธรรม เนติธรรม ราชธรรม อย่างเคร่งครัดไม่

ปฏิบัตินอกเหนือกฎหมาย กฎมณเฑียรบาล ไม่ครองราชย์ตามอำเภอพระทัย ทรงถือ
ธรรมเป็นใหญ่

• ในหลวงทรงเป็นดั่งกัลยาณมิตรผู้ชี้ทางสว่าง ด้วยพลังแห่งปัญญา พาคนไทยให้ก้าวเดินไปบนเส้นทางอัน

ประเสริฐและดีงาม ซึ่งคุณสมบัติของกัลยาณมิตร ได้แก่ น่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง มีวาทศิลป์ มีความ
อดทนต่อถ้อยคำ ทำเรื่องยากให้ง่าย และไม่แนะนำในเรื่องอันไม่ควร

• ในหลวงทรงเป็นแบบอย่างแห่งโยนิโสมนสิการ คือ การสังเกตและพิจารณาอย่างแยบคาย • ในหลวงทรงสอนให้ “ปิดทองหลังพระไปเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง” • แบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ “พ่อ” ทำให้ดู หรือ “ธรรมดี” ที่พ่อทำ ได้แก่ 1. ความกตัญญู 2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน 3. ความพอเพียง 4. ความซื่อสัตย์ 5. ระเบียบวินัย 6. ความอดทน • นิยามความดีของ “สมเด็จย่า” คือ “ต้องเป็นคนที่ไม่พูดปด ไม่สอพลอ ไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกง และไม่มี

ความทะเยอทะยานอย่างบ้าๆ แต่พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดี ในขอบเขตของศีลธรรม”

• หลักการทรงงานของในหลวง 1. ศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 2. ระเบิดจากภายใน (เข้าใจและอยากทำ) 14. ใช้อธรรมปราบอธรรม 3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก 15. ปลูกป่าในใจคน 4. ทำเป็นลำดับขั้น 16. ขาดทุนคือกำไร 5. คำนึงถึงภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม สังคมศาสตร์ 17. การพึ่งตนเอง 6. ทำงานแบบองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง 18. พออยู่พอกิน 7. ไม่ติดตำรา 19. เศรษฐกิจพอเพียง 8. ประหยัดเรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด 20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 9. ทำให้ง่าย 21. ทำงานอย่างมีความสุข 10. การมีส่วนร่วม 22. ความเพียร 11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 23. รู้รักสามัคคี 12. บริการจุดเดียว • การครองใจคน สำคัญกว่าการปกครองคน • ทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น แม้กระทั่งการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด • ทำทุกอย่างด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ทำตามอำเภอใจ หรืออำนาจกิเลส • ไม่มีสิ่งใดเที่ยงธรรมไปกว่าผลของกรรม จึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปทำหน้าที่แทรกแซง เพราะไม่ว่าจะเก่ง

เพียงใด ก็ไม่มีใครเก่งเกินกรรมที่ตนทำไว้

• คนเราทำความดี แต่ไม่ได้ผลตอบแทน ก็ให้มุ่งทำความดีนั้นต่อไป เพราะผลที่ได้ทางธรรมจะอยู่กับตัวเรา

ไม่มีใครแย่งไปได้

• มนุษย์อยู่เหนือกรรม เพราะมีสิทธิ์เลือกกระทำ แต่หากไม่เลือก ผู้นั้นย่อมมีชีวิตตามยถากรรม • การเป็นคนสำคัญนั้นดี แต่การเป็นคนดีสำคัญกว่า

พ่อเหน็ดเหนื่อยมาทั้งชีวิต สร้างบ้านให้น่าอยู่ สั่งสอนลูกให้เป็นคนดี ด้วยความรัก ความเมตตา แล้วเราล่ะ ได้ทำอะไรเพื่อเป็นการรักษาบ้านอันเป็นที่รัก ผืนแผ่นดินที่เราอยู่ ทำให้พ่อสบายใจ ตอบแทนความเหน็ดเหนื่อยของพ่อบ้าง

กรุณา มัฆวิบูลย์
วันที่ 28 มิถุนายน 2555 การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ(ประเด็นด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การผลิต)

  วันนี้ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ในยุคโลกาภิวัฒน์ โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นถ้าจะทำให้ กคช. ยั่งยืน และเป็นเลิศในด้านที่อยู่อาศัยคนในองค์กรต้องพัฒนาไม่หยุดการเรียนรู้ ต้องสะสมการเรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากคนพัฒนาแล้ว วัฒนธรรมขององค์กรต้องเปลี่ยนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ,  รู้เขารู้เรา, รู้ประเทศใน AEC  ต้องเน้นเรื่องภาษาเพื่อการแข่งขัน, มีระบบคุณธรรม และจริยธรรม , มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างคนในองค์กร/นอกองค์กร, ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์  8 K’S  ประกอบด้วย ทุนมนุษย์,ทุนทางปัญญาทุนทางจริยธรรม,ทุนทางความสุข,ทุนการสังคม ,ทุนแห่งความยั่งยืน , ทุนทางเทคโนโลยี หรือ IT และทุนทางความรู้ทักษะและทัศนคติ นอกจากนั้นยังมีทฤษฎีทุนใหม่ 5 ทุน (5 K ‘S)  ที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ คือ  ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , ทุนทางความรู้ , ทุนทางนวัตกรรม , ทุนทางอารมณ์ และทุนทางวัฒนธรรม
    ช่วงบ่ายอาจารย์ให้โจทย์วิเคราะห์ประเด็นท้าทายวัฒนธรรมองค์กร 7 ประเด็น คือ
  1. พิธีกรรมภายใน กคช. ที่คนใน กคช. ทำร่วมกัน
  2. ให้น้ำหนักกระบวนการ , ผลงาน
  3. คุณสมบัติของคนที่เป็น Hero
  4. ทัศนคติของคนใน กคช. เวลาแก้ปัญหา อุทานว่า What is wrong? หรือ Who is wrong?
  5. ก๊วนองค์กรที่เป็นทางการที่พึ่งพาได้มีหรือไม่
  6. การสื่อสารมีวิธีใดบ้าง
  7. ให้น้ำหนักการตัดสินใจ มาจาก Top down , Botton up หรือตัดสินใจร่วมกัน ทั้ง 4 กลุ่มวิเคราะห์ประเด็นปัญหาได้ใกล้เคียงกัน จะมีแตกต่างกันบางเรื่อง ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป

กรุณา มัฆวิบูลย์
วันที่ 29 มิถุนายน 2555 Finance & การบริหารกลยุทธ์องค์กร

 ช่วงเช้าอาจารย์ให้ความรู้เรื่องการจัดการ/การบริหารการเงิน เกี่ยวกับ ตลาดเงิน , ตลาดทุน สถาบันทางการเงิน, การจัดทำรายงานทางการเงิน งบดุล , งบกำไรขาดทุน และในการตัดสินใจลงทุน ต้องศึกษาความเป็นได้ของโครงการ (Project  feasibility)  Marketing ดู Demand + Supply +Pricing , Production ดู Construction + Cost  เครื่องมือในการตัดสินใจ ดูที่จุดคุ้มทุน (Break – even) , ระยะเวลาในการคืนทุน NPV , IRR

 ช่วงบ่ายการบริหารกลยุทธ์องค์กร กรณีศึกษาของหน่วยงานรัฐ (สสวท.) กับเอกชนหมู่บ้านซื่อตรง ซึ่งมีมุมมองที่แตกต่างกัน หน่วยงานรัฐ มีระเบียบ/ขั้นตอนในการดำเนินงาน เอกชนเน้น การลงทุนเป็นโอกาสและจังหวะ ถ้ามีโอกาสต้องรีบตัดสินใจลงทุนในช่วงปี 27-32 มีโอกาสดีโครงการขยายตัว แต่ช่วงปี 40 ยุคฟองสบู่การก่อสร้างชะลอตัว เนื่องจากดอกเบี้ยสูง ทำให้ต้องปรับกลยุทธ์จากทำโครงการขนาดใหญ่ มาทำโครงการขนาดเล็กลง , สร้างบ้านให้เร็วขึ้นเพื่อลดต้นทุน และยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก คือลูกค้าสามารถปรับแบบได้ ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่ กคช. จะต้องพัฒนาปรับกระบวนการทำงาน  ต่อไป

กรุณา มัฆวิบูลย์
วันที่ 30 มิถุนายน 2555 การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

    อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับทุนมนุษย์เน้น  8 K’S , 5 k’S และ 2R’S  คือข้อเท็จจริง และตรงประเด็น ซึ่งต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง , มี Networking , การพัฒนาคนเป็นแนวทางแก้ปัญหา และสร้างโอกาสในอนาคต , ผู้นำต้องมองข้ามศาสตร์ และมีคุณธรรม , จริยธรรม ต้องเป็นคนดีก่อนคนเก่ง ต้องพัฒนา LO อย่างต่อเนื่องพร้อมทำ KM กรณีศึกษาของ กฟภ. เกี่ยวกับการพัฒนา ทุนมนุษย์ เน้นการพัฒนาคน เพิ่มทักษะความสามารถ โดยการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน , Commitment  ดูแลจิตใจ, เข้าใจ, ใส่ใจ,เอาใจ, ได้ใจ, ทำใจ, ตัดใจ, Contribution ด้วยการจัดให้มีเวทีสัมมนา ประชุมกลุ่มให้คนได้แสดงความคิด ทำให้เกิดทุนทางปัญญา และพัฒนา LO และทำ KM เพื่อให้องค์กรยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

    ช่วงบ่ายอาจารย์ให้ใช้ Mind Map จัดทำ Work Shop การใช้ Mind Map ที่เป็นเครื่องมือในการจดบันทึก ที่ใช้สมองสองซีก อย่างเต็มที่ในการทำแผนภูมิทางความคิดซึ่งเน้นปริมาณ ยังไม่เน้นคุณภาพ และให้จดทุกเรื่องที่เป็นความคิด ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลได้ง่าย และครบทุกขั้นตอน สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา หาสาเหตุของปัญหาได้เป็นอย่างดี
พิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม

วันที่ 4 (21 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชาวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โดย อาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ แนวคิดแบบบูรณาการ 5 ด้าน (5 ล้อ) ในการบริหารธุรกิจ คือ 1.ล้อการตลาด 2.ล้อการผลิต คือผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า 3.ล้อการเงิน 4.ล้อบุคคล 5.Backup System คือ Infrastructure และ Information ต้องปรับแนวคิดแนวทางการดำเนินธุรกิจตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ผู้นำต้องมีความสามารถบริหารงานได้อย่างบูรณาการ ข้ามศาสตร์ เชื่อมโยงทุกล้อได้อย่างเหมาะสม ช่วงบ่าย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ต้องแสวงหาองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องและพอเพียงและปรับฐานความรู้ความชำนาญเดิมจาก Make and Sale เป็น Sense and Respond เน้น Value Innovation และ Focus ที่ Lifestyle และ Technology
การเคหะควรปรับแนวคิดทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ที่เป็นตลาดของผู้ขายผู้ซื้อต้องเข้าแถวต่อคิวซื้อบ้าน ปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก กคช. จะต้อง คิดและทำแบบบูรณาการทุกล้อเข้าด้วยกัน ต้องสร้าง Value Added สร้างความแตกต่างของสินค้าโดยทำวิจัยและพัฒนา สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟ กรมธนารักษ์ สำนักงานทรัพย์สินฯ สำนักผังเมือง กทม.ฯ

วันที่ 5 (22 มิถุนายน 2555) ภาคเช้าเรื่อง การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ อ.สุวรรณ วลัยเสถียร ให้ความรู้การจัดทำงบประมาณครัวเรือน การลงทุนในระดับครัวเรือน ความเสี่ยงของการลงทุนคือ ความโลภ ต้องมีข้อมูลเพื่อการตัดสินมใจ มีทั้งการลงทุนระยะสั้นเพื่อเน้นทำกำไร และระยะยาวผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยและเงินปันผล การลงทุนในระดับครัวเรือนมีหลายประเภท ได้แก่ พันธบัตร หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การลงทุนซื้อทองคำทั้งทองคำแท่ง และทองรูปพรรณ เหรียญทองคำในและต่างประเทศ สำหรับการบริหารงบประมาณในระดับองค์กร อาจารย์ศิรัส ลิ้มเจริญ ได้ให้ความรู้เรื่องงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ต้องมีวัตถุประสงค์ , เป้าหมายที่ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องจัดทำแผนงาน และ แผนเงิน ต้องมีการควบคุมและประเมินผล ภาคบ่าย เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ความเสี่ยงเป็นความไม่แน่นอน ที่มีผลกระทบต่อเป้าหมาย/แผนงานขององค์กร ต้องบริหารจัดการเพื่อลดโอกาสและผลกระทบ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ให้มีทัศนคติต่อความเสี่ยงว่าไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่เป็นโอกาสในการสร้างนวตกรรมใหม่ๆ

พิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม

วันที่ 6 (28 มิถุนายน 2555) วิชา วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ องค์กรควรมี Corporate culture เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เป็น Way of doing thing พฤติกรรมที่เราทำเป็นพวกเดียวกัน เป็น Soft policy มี 7 ด้าน ได้แก่ 1.พิธีกรรมที่ทำเป็นประจำในองค์กร(ทั้งเล็กและใหญ่) 2.จุดเน้นในองค์กร(Process-Outputs-Outcome-Impact)เป็นอย่างไร 3.Hero มีสเปคอย่างไร 4. เมื่อเกิดปัญหามีคำพูดหรือท่าทีอย่างไร 5. ก๊วนที่พึ่งพากันและกัน(ไม่เป็นทางการ) 6.การสื่อสาร 2 ทาง ที่สามารถทั่วถึงและรวดเร็วในองค์กรมีวิธีอย่างไร และ 7. การตัดสินใจ มีสัดส่วนอย่างไรระหว่าง top-down, bottom-up และ Consensus หากองค์กรควรมีสร้าง Coorporate Culture 7 ด้าน ซึ่งถือเป็น Spiritual Asset จะสามารถต้านแรงเสียดทาน และวิกฤติต่าง ๆ ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และยั่งยืนได้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของ “คน” และเป็นเรื่องที่หยั่งรากลงไปถึง Spirit สิ่งที่องค์กรจะต้องพัฒนาเรื่อง “คน” คือ 1.ให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของคนในองค์กร จนกลายเป็นวัฒนธรรมในการเรียนรู้ (Learning Culture-LC) หรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization-LO) 2.สร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดจน (ทั้งบุคคล-องค์กร) และมีการ Share วิสัยทัศน์ 3. การประชาสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึงมากที่สุด มีการ Rebrand /CSR/ สร้างนวตกรรมใหม่ในพันธกิจองค์กร

วันที่ 7 (29 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า วิชา Finance for Non–Finance & Financial Perspective และช่วงบ่ายเรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร ทั้งสองวิชามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนองค์กร เกี่ยวข้องกับการเงิน การลงทุน แผนงาน เป้าหมาย และประสิทธิผลขององค์กรที่สามารถจับต้องได้ ในการเรียนรู้เรื่อง Finance for Non–Finance & Financial Perspective ทำให้มีความเข้าใจในทางวิชาการในเรื่อง Financial อย่างเป็นระบบ การนำรูปแบบงบการเงินมาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินสถานภาพองค์กรในด้านการเงิน การลงทุน แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ ความเข้มแข็ง เครื่องมือด้านการเงินที่ช่วยในการตัดสินใจลงทุนโครงการ ได้แก่ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (ยิ่งต่ำยิ่งดี) ระยะเวลาในการคืนทุน NPV มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการตลอดอายุโครงการ (+ = มีกำไร , - = ขาดทุน, 0= เท่าทุน) อัตราผลตอบแทน (IRR) เป็นต้น องค์กรต้องบริหารกลยุทธิ์โดย 1.การวางตำแหน่งที่ดี (Positioning) ต้องเลือกอย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลให้เกิดการได้เปรียบในการลงทุน เช่น ราคาถูก – ขายเร็ว / สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า / เป็นคนกลาง ซื้อมา – ขายต่อ 2. วางแผน (Planning) ให้สอดคล้องกับ Positioning การวางแผนที่ดี ต้องวิเคราะห์ SWOT และมอบให้ครบด้าน การเคหะต้องสร้าง Value Network ในการสร้างที่อยู่อาศัยและสร้างเมือง มองในเรื่องของ AEC ในแง่ของประชากรศาสตร์ ต้องมีมุมมองกว้างกว่าภาคเอกชน หรือ Developer นำพาความเป็นผู้นำในด้านความรู้ที่อยู่อาศัยให้เกิดขึ้น ไม่ควรแข่งกับภาคเอกชน ควรมีนวัตกรรมที่อยู่อาศัยใหม่ๆ และเป็นผู้นำอยู่ตลอด เช่น เรื่องบ้านพักผู้สูงอายุ, Nursing home ,mobile home และขับเคลื่อนเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลหรือเป็นวาระแห่งชาติให้ได้

พิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม

วันที่ 8 (30 มิถุนายน 2555) ช่วงเช้า เรื่องการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ และกรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคบ่ายแบ่งกลุ่ม Workshop และ Presentation ยุทธวิธีการบริหารทุนมนุษย์ 4 ประเด็น อาจารย์ธัญญา ได้จุดประกายให้เกิดการใช้สมองซีกขวา ซึ่งมีศักยภาพสูงมากในการผลิตความคิดสร้างสรรค์ การเรียนการสอนโดยทั่วไปใช้สมองซีกขวาเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ฉะนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้เกิดการใช้สมองซีกขวามาก ๆ จะเกิดพลังการสร้างสรรค์อย่างมหาศาล ได้นำวิธีการทำ Mindmapping ซึ่งเป็นเครื่องมือการจดบันทึกด้วยการสร้างภาพความคิด ไม่น่าเชื่อว่าในช่วงเวลาเพียงสั้น ๆ สามารถผลิตภาพความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างมากมาย องค์ความรู้ที่ได้จากกรณีศึกษาของ กฟภ. คือวิสัยทัศน์ในการพัฒนาบุคคลากร โดย ปี 2550 มีระบบการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (KM & LO) ปี 2553 ได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนาบุคลากร ซึ่งมองไกลถึงปี 2020 ทั้งนี้เพื่อรองรับแรงเสียดทานภายในคือจำนวนพนักงานที่ลดลงอย่างรวดเร็วจากการเกษียณ และจำนวนลูกค้าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นหลายเท่าตัว การพัฒนาทุนมนุษย์เน้น 2R’s คือ จริง และตรงประเด็น และต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนว่าเป็นแนวทางแก้ปัญหาและสร้างโอกาสในอนาคตสำหรับองค์กร ภาคบ่ายได้นำเครื่องมือ Mind map มาใช้ในการทำ Workshop ในประเด็นต่าง ๆ 4 ประเด็น ได้แก่ 1.การสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร 2. กำหนดยุทธศาสตร์ให้การเคหะฯ เป็น LC และ LO 3. กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่ Talent Management และ 4.กำหนดยุทธวิธีการสร้างทีมแบบข้ามสายงาน หรือ Cross Functional Team
เมื่อเปรียบเทียบการเคหะกับ กฟภ. กคช.นับว่ามีปัจจัยเสียดทานหรือรบกวนอยู่น้อยเมื่อเทียบกับกฟภ.เพราะเป็นการผลิต 1 ใน 4 ของปัจจัยในการดำรงชีวิต หากการเคหะสรรค์สร้างทุนมนุษย์ในองค์กรเช่นเดียวกับ กฟภ.ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือต้อง จริง ตรงประเด็น และต่อเนื่อง

นายอุดม เปลี่ยนรังษี

ทรัพยากรมนุษย์ำพันธุ์แท้  โดย อุดม เปลี่ยนรังษี (5 ก.ค. 55)

       กล่าวถึงทุนมนุษย์ ที่จะมีคุณค่าได้ต้องมีการพัฒนา การพัฒนาที่ดีต้องให้การเรียนรู้ในทุกๆ ช่วงจังหวะเวลาที่มีความเหมาะสม แต่ต้องเพิ่มเติมการใฝ่รู้ให้ซึมซับเข้าไปอยู่ในกระเเสเลือด โดยมีการใฝ่รู้ตลอดเวลาหรือจะเรียกว่า บ้าคลั่ง ในการใฝ่รู้แบบข้ามศาสตร์ตลอดเวลาก็ว่าได้

นายอุดม เปลี่ยนรังษี

ธรรมดีที่พ่อทำ โดย อุดม เปลี่ยนรังษี (5 ก.ค. 55)

       ในหลวงทรงเป็นตัวอย่างของ "ผู้ที่ทำให้ดู" และทรงเป็น "ผู้ให้"  อย่างแท้จริง  การทำงานหากต้องการผลสำเร็จต้องใช้  "อิทธิบาท 4" มาเป็นธรรมะในการปฏิบัติ   และหากต้องการความสุขในชีวิตอย่างแท้จริงต้องใช้  "ความพอเพียง" ซึ่งเป็นแนวทางที่ในหลวงทรงวางไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติในการดำเนินชีวิต  คนไทยถ้าหากอยากจะประสบความสำเร็จในชีวิตและมีความสุขในชีวิต  ต้องยึดถือแนวทางตามพระราชดำริของพระองค์ท่านเป็นเครื่องมือนำทางชีวิตจะประเสริฐที่สุด

นายอุดม เปลี่ยนรังษี

เรียน อาจารย์จิระ ที่เคารพ

   ผมขอส่งการบ้าน เรื่อง นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ  ดังนี้ครับ

นายอุดม เปลี่ยนรังษี

เรียน อาจารย์จิระ ที่เคารพ

ผมขอส่งการบ้าน เรื่อง นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ ดังนี้ครับ

วัชรี เกิดพิทักษ์

29 มิ.ย.2555 การบริหารกลยุทธ์องค์กร : การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพ

การศึกษาในวันนี้ เป็นการนำผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในภาคเอกชน มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้เข้าอบรม โดย 
  1. ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล จาก สวทช. ได้ให้แนวคิดว่าในการประกอบธุรกิจ จะต้องดูองค์ประกอบในเรื่อง Process ว่าเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ดูผลประกอบการ ความพึงพอใจของลูกค้า และคู่แข่ง ทั้งยังระบุด้วยว่า กคช. เป็นหน่วยงานของรัฐในการทำธุรกิจ จะได้เปรียบมากกว่าภาคเอกชน ดังนั้นพยายามหาจุดแบ่ง เพื่อกำหนดเป็น Core Business ของ กคช.
  2. คุณรุ่งโรจน์ จากซื่อตรง Group : การลงทุนเป็นเรื่องของโอกาสและจังหวะในการลงทุน เพราะฉะนั้นในการลงทุนต้องดู 2 สิ่งนี้จึงจะประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับลูกค้าโดยการสร้างบ้านตามความต้องการของลูกค้า เช่น หากลูกค้าจะเปลี่ยนแบบบ้าน สามารถทำได้ ถ้าไม่กระทบโครงสร้าง หรือ หากการเปลี่ยนแปลงนั้นลดลงจากมาตรฐานก็จะคืนเงินให้
  3. อ.อนุชา กุลวิสุทธิ์ : ได้นำเสนอแนวคิดของ Donald Trump เกี่ยวกับการเลือกทำเลอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ 1. ยอมจ่ายแพง เพื่อให้ได้ทำเลที่ดีกว่า 2. ก่อนลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หากไม่มีอนาคต ที่ทำให้ไม่สามารถลงทุนได้ จะไม่ซื้อเด็ดขาดโดยต้องมี 4 ปัจจัย คือ วิวสวย อยู่ในย่านชุมชนมีศักยภาพ (ความเจริญ) และความสะดวกสบาย (หากไม่มีทั้ง 4 ปัจจัยจะต้องสร้างขึ้นมา ก่อนทำโครงการ “ทำเลที่ดี ต้องมีอนาคตที่ดี เพราะฉะนั้นอย่าซื้อทำเลที่ดี แต่ไม่มีอนาคต” นอกจากนี้วิทยากรทั้ง 3 ท่าน ได้สะท้อนภาพของ กคช. ในสายตาของคนภายนอก ดังนี้ จุดเด่น 1.มีประสบการณ์ที่ยาวนาน นักธุรกิจในรุ่นเดียวกันแทบไม่มีแล้ว
  4. มีที่ดินที่มีศักยภาพ จำนวนมาก
  5. ใกล้ชิดนักการเมือง หากบริหารจัดการ ดีๆ เป็นจุดเด่น โดยเปลี่ยนจากนักการเมืองชี้นำ มาเป็นกคช.ชี้ทางให้นักการเมือง
  6. รัฐสนับสนุนงบประมาณในการสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย
  7. กคช. เก่งในการสร้างเมือง ไม่มีคู่แข่ง เพราะฉะนั้นควรสร้างเมือง ข้อเสนอแนะ
  8. เดิมกคช. เคยเป็นผู้นำด้านที่อยู่อาศัย (ด้านวิชาการ) แต่ปัจจุบัน เป็น Developperไปทำงานแข่งกับภาคเอกชน กคช. ควรทำที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย
  9. กคช. ควรมีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น นวัตกรรมบ้านผู้สูงอายุ
  10. กคช. ควรจะเป็นศูนย์ข้อมูลด้านที่อยู่อาศัย
  11. เรื่องน้ำท่วม แผ่นดินไหว ควรเป็นวาระแห่งชาติ ปัจจุบันต่างคนต่างทำ ในเรื่องที่อยู่อาศัย ยังไม่มีใครมาจัดการ กคช. ควรเป็นหลักในเรื่องนี้ // สรุป -2-

สรุป จากจุดเด่นที่กคช.มีอยู่ และข้อเสนอแนะจากบุคคลภายนอก กคช. ควรเอาจุดเด่นนี้มาทบทวนและใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบนี้ มาใช้ประโยชน์กับการทำงานให้มากที่สุด โดยเฉพาะ พรบ. บางตัวที่เปิดโอกาสให้ กคช. เวนคืนที่ดินได้กรณีที่เป็นที่ดินตาบอดและที่ผ่านมา (5ปี) กคช.มุ่งทำเฉพาะโครงการบ้านเอื้ออาทรและแก้ปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทร จนทำให้ กคช. แทบจะหยุดในเรื่องอื่นๆ ถึงเวลาแล้วที่ กคช.ควรหันมาสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง และเป็นหลักในเรื่องที่อยู่อาศัย ในระดับประเทศต่อไป

.......................................................................................................

วัชรี เกิดพิทักษ์

29 มิถุนายน 2555 : Fimance for Non – Fimomce and Financial Peispectier

ในการบรรยาย  อาจารย์ ดร.กุศยา  ลีฬหาวงศ์  ได้ปูพื้นในเรื่องการเงิน  โดยเริ่มตั้งแต่  
  1. Introduction 1.1.ตลาดการเงิน แบ่งเป็นตลาดการเงินในระบบ และตลาดการเงินนอกระบบ โดยตลาดเงินในระบบ ยังแยกออกเป็นตลาดเงินในระบบ (ฝากอายุไม่เกิน 1 ปี และตราสารหนี้ระยะสั้น)และตลาดทุนในระบบ (อายุเกิน 1 ปี , ตราสารหนี้ระยะยาว) ส่วนตลาดทุน แยกเป็น ตลาดแรก หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ออกขายเป็นครั้งแรกกับประชาชนทั่วไป และตลาดรอง (ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์) เป็นตลาดที่มีการนำหุ้นไปขายต่อ เป็นการขายต่อระหว่างบุคคล 1.2. สถาบันการเงิน แบ่งออกเป็น สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร และสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริษัทเงินทุน บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นต้น
  2. Basic Concept ได้อธิบายความหมายของ Basic Teams ซึ่งประกอบด้วยรายได้ ต้นทุนโดยตรง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และกำไรสุทธิ
  3. Financial Statements การรายงานการเงิน ประกอบด้วยงบดุล หรือชื่อใหม่ เรียกว่างบแสดงฐานะ ทางการเงิน งบกำไรขาดทุนและงบแสดงการแสเงินสด ซึ่งจากการเรียนรู้ได้ทราบว่า งบดุล และงบกำไรขาดทุน จะแสดงสถานะของบริษัท ณ เวลานั้น ๆไม่สามารถแสดงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งปีแต่จะแสดงสถานะ วันหนึ่งวันใดเท่านั้น

    ส่วนงบกระแสเงินสด ที่จะแสดงฐานะการเงินโดยจะบอกว่าเงินสดมาจากไหน และจะนำไปจ่ายค่าอะไรบ้าง โดยงบกระแสเงินสด แสดงทุกรายการที่เป็นเงินสด (กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน) สรุป จากบทเรียนในวันนี้ ทำให้เข้าใจเรื่องการจัดทำรายงานการเงิน ทั้งงบดุล งบ กำไร ขาดทุน และงบแสดงกระแสเงินสด ได้มากยิ่งขึ้นและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานะทางการเงิน และรับทราบสถานะทางการเงินขององค์กรได้เป็นอย่างดี รวมทั้งวิธีการลงทุน ทั้งในการลงทุนเรื่องส่วนบุคคล และการลงทุนขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    ................................................................................................................

วัชรี เกิดพิทักษ์

บทสรุป“ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

           หลังจากที่ได้อ่านบทสนทนาในหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” จบแล้ว หนังสือเล่มนี้ถือเป็นอีกคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ผู้บริหารทั่วโลกกำลังเพียรพยายามค้นหา HR. Champions คือผลึกทางความคิดจากนักคิดและนักปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับสูงสุดของเมืองไทย ที่อาจจะกลายเป็นคัมภีร์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของทุกองค์กร  ท่านพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านทั้งสองเป็นบุคลากรที่น่ายกย่อง นับถือ และเอาเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าใครมีโอกาสได้อ่านหนังสือที่มีคุณค่าเล่มนี้จบแล้ว สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้จากหนังสือไปพัฒนาใช้กับตนเอง  องค์กร และประเทศชาติ ได้เป็นอย่างดียิ่ง ท่านพารณได้กล่าวไว้ในหนังสือตอนต้น ๆ ซึ่งมีความหมายที่จับใจมากว่า  " องค์กรจะดี เพราะมีคนเก่งและคนดี  องค์กรจะแย่  เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี "  ขอกล่าวอย่างตรงประเด็นในมุมมองด้านทรัพยากรมนุษย์ของทั้งสองท่าน ดังนี้       
          แนวความคิดของทั้งสองท่านมีผลลัพธ์ที่เหมือนกัน คือ คน เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่า คน เป็นผู้สร้างสรรค์สังคมให้ยิ่งใหญ่ คน เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน องค์กร ประเทศ สังคมโลก คน คือศูนย์กลางของการเรียนรู้ การถ่ายทอดทั้งหลายทั้งปวงจากรุ่นสู่รุ่น  เพียงแต่วิธีการปฏิบัติของทั้งสองท่านผ่าน คน ในรูปแบบที่แตกต่างกัน แม้ว่ารูปแบบอาจมีความแตกต่างกัน แต่เนื้อหาก็อยู่ในแนวทางเดียวกัน  การเริ่มต้นของท่านพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  ท่านพารณฯ เริ่มต้นชีวิตการทำงานที่ บริษัท เชลล์  บริษัท ปูนซีเมนต์ ทำให้ท่านพารณ ได้เรียนรู้รูปแบบการจัดระเบียบองค์กรเป็นระบบทุกอย่าง เช่น มี Personnel manual, Accounting  manual  และ Authority  manual และมีการดูแลคนเป็นอย่างดี เมื่อท่านพารณมาทำงานที่บริษัท ปูนซีเมนต์  ในฐานะวิศวกร แต่ด้วยประกายแห่งความเป็นผู้มีความสามารถในการบริหารบุคคล จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลกลาง จึงเป็นจุดพลิกผันให้ท่านพารณ มาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร แนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของท่านพารณนั้น ท่านเน้นเรื่องคนในทุกระดับ ทั้งระดับผู้บริหาร ระดับกลาง ระดับล่าง และระดับผู้ปฏิบัติทุกระดับมี Manual ที่ชัดเจน ดังนั้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม จึงเป็นหัวใจของการสร้างผลผลิตให้กับองค์กร ผู้บริหารจะต้องพัฒนาคนให้มีการศึกษา พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง แนวคิดการพัฒนาบุคลากรของท่านพารณ ภายใต้แนวคิดที่ว่า การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนของบริษัท ไม่ใช่ต้นทุน ผู้บริหารจะต้องขับพลังและอัจฉริยภาพของคนในทุกระดับในองค์กรให้ได้ เมื่อคนมีความจงรักภักดี ร่วมกับความมีวินัยของคนในองค์กรจึงทำให้องค์กรมั่นคง ลักษณะการทำงานที่เป็นคุณสมบัติส่วนตัวของท่านพารณ เป็นแบบ Participative Management คือการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม  การเริ่มต้นของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  เริ่มต้นโดยการเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุดนี้จะทำให้มองเห็นภาพว่า บุคคลทั้งสองเริ่มต้นที่แตกต่างกัน ท่าน ศ.ดร.จีระ แสดงบทบาทในฐานะผู้ผลักดันให้คนยอมรับทรัพยากรมนุษย์เพื่อประโยชน์ของสังคม ระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้าง หรือผลักดันให้เกิดกฎหมาย ประกันสังคม โดยมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นหลักประกันคุณภาพ เพราะใครก็รู้จักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นนักสร้างความร่วมมือ ความเข้าใจอันดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระหว่างประเทศร่วมกัน ท่าน ศ.ดร.จีระ ใช้วิธีการปรากฏตัว แสดงศักยภาพในระดับนานาชาติหลายครั้ง ซึ่งได้นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ ต่อมาท่าน ศ.ดร.จีระ ได้ลาออกจากการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และได้ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ระดับชาติ และระดับองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในนามของบริษัท เอเชียแปซิฟิคคอนซัลแตนท์  จำกัด  เมื่อได้ศึกษาการปฏิบัติของท่านทั้งสองแล้ว สามารถนำความรู้และแนวคิดที่ได้ไปพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาหาความเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพราะคนที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องเป็นคนที่มีทัศนคติ ทักษะ ความรู้หลาย ๆ ด้านอยู่ในตัว ไม่ใช่รู้เฉพาะเรื่องที่เรียนอย่างเดียว คนในองค์กรนั้นมีความสำคัญต่อการบริหารงานในองค์กร องค์กรจะดี เพราะมีคนเก่งและคนดี องค์กรจะแย่ เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี เพราะฉะนั้นถ้าผู้บริหารจะพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้น องค์กรจะหาคนที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงานที่ดีก็จะทำให้องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารจึงต้องอาศัยเครื่องมือในด้านการบริหารด้านต่าง ๆ จากหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” มาพัฒนาบุคลากรในองค์กร องค์กรนั้นก็จะประสบความสำเร็จในที่สุด ส่วนที่เป็นประโยชน์และนำไปใช้กับประเทศและสังคมนั้น  หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ได้เล็งเห็นว่า “คน” เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะคนเป็นผู้สร้างสรรค์สังคม วัฒนธรรมให้ยิ่งใหญ่ได้ในระดับประเทศและระดับโลก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่จะพัฒนาประเทศชาติให้ประสบความสำเร็จอยู่ได้อย่างยั่งยืนต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่างเป็นส่วนประกอบร่วมกับคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาบุคลากรด้วยการส่งเสริมการศึกษา ส่งเสริมด้านการวิจัย ส่งเสริมด้านการติดต่อสื่อสารให้ทัน กับยุคโลกาภิวัฒน์ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในหนังสือเล่มนี้จะทำให้เข้าใจว่าอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศไม่พัฒนาไปในทางที่เจริญก้าวหน้า  ด้วยสาเหตุเพราะเราขาดปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาประเทศของเรา  ปัจจัยที่ว่าก็คือ ทรัพยากรมนุษย์ นั่นเอง   
             สรุป  ในความเหมือนกันและแตกต่างกันของทั้งสองท่านนี้ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่านพารณ เน้นจากภายในองค์กร เช่น ในบริษัท ปูนซีเมนต์ ในชุมชน ในโรงเรียน ในประเทศ และเน้นที่ผู้บริหารต้องเป็นคนที่มี Education mind  และคนในองค์กรนั้นต้องมีศักยภาพ จะทำให้องค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประสบความสำเร็จได้  สำหรับท่าน ศ.ดร.จีระ เน้นการผลักดันในระดับเวทีนานาชาติ ระดับโลก แต่เมื่อนำแนวคิดทั้งสองท่านมาพิจารณาร่วมกันจะเห็นได้ว่า ทั้งสองท่านได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์ประเทศได้อย่างสอดคล้องลงตัวพอดี กล่าวคือ หากจะมองว่าท่านพารณ เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับในเชิงลึก คือ ระดับรากหญ้า ได้แก่กลุ่มชุมชนที่กระจายอยู่ และในเชิงกว้างคือ เป็นการพัฒนาระดับองค์กร ไปสู่ระดับประเทศ และไปสู่ระดับโลก ท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นผู้ต่อยอดระดับประเทศ หรือหากจะมองว่าทั้งสองท่านได้ช่วยกันเร่งรัด เสริมสร้างพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในรูปแบบไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ คนของประเทศมีศักยภาพสูง พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าในยุค Globalization อย่างเท่าเทียมกัน

หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”

สำหรับหนังสือ "ธรรมดีที่พ่อทำ" ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554  รวบรวมและนำเสนอพระราชกรณียกิจอันเป็นที่สุดของเรื่องราวความประทับใจที่แสดงให้เห็นถึงธรรมะและพระราช -จริยวัตรอันงดงาม รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ที่ ‘ทรงงานติดดิน’ ท่ามกลางประชาชนมาตลอด 65 ปีแห่งการครองราชย์  ผลงานการเขียนโดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้สะกิดความรู้สึกของคนไทยให้ลงมือกระทำและเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงคนไทยจะเป็นเรื่องจิตสำนึกที่มีต่อแผ่นดินนี้ตลอดระยะ 60 ปีที่ผ่านมา พระองค์ได้ทรงพยายามเสด็จไปทั่วทุกหัวระแหง ทรงดูแลตั้งแต่บนฟ้า ยอดเขา จรดชายทะเล อาจกล่าวได้ว่าชีวิตของเราเกี่ยวข้องกับสิ่งใดนั้น พระองค์จะทรงเข้ามาดูแลทุกอย่าง แต่หากคนไทยไม่แยแสแผ่นดิน เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำลายแผ่นดินแบบมักง่าย นับเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ดังนั้น เป็นหน้าที่ของพวกเรากว่า 60 ล้านคน ต้องถวายงานด้วย ต้องช่วยพระองค์ท่านในการรักษาดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เป็นปัจจัยของชีวิต ซึ่งหมายถึง"แผ่นดิน" นั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา แล้ว ควรจะต้องทรงพักผ่อน แต่ก็ยังทรงกังวลอยู่ ความกังวลของพระองค์จะบรรเทาได้ก็เมื่อได้ทอดพระเนตรพสกนิกรของพระองค์ได้เข้ามาช่วยเหลือดูแลแผ่นดิน เมื่อวันนั้นก็จะทรงคลายความเป็นห่วงนี้ลงไป บางช่วงบางตอน

    ทรงรับสั่งขอไว้ว่าถ้าจะถวายอะไรพระองค์นั้น สิ่งที่พระองค์ท่านปรารถนาที่สุด คือ อยากจะเห็นคนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของแต่ละคน แต่ละคนที่ต้องทำ ใครอยู่ตรงไหน ใครควรทำอะไรก็ควรทำหน้าที่ตัวเองให้ครบถ้วนบริบูรณ์ โดยมีความรู้รักสามัคคี ทำอะไรด้วยจิตสำนึก ด้วยความเข้าใจ ด้วยสติปัญญา และการกระทำทุกอย่างให้มีความรัก ความเมตตาเป็นองค์ประกอบสำคัญ และมีความสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อความเป็นเอกภาพ ถ้าหากคนไทยจะถวายพระพรด้วยสิ่งต่างๆ ตามที่พระองค์ได้ทรงขอมาก็คิดว่านั่นจะเป็นสิ่งที่พระองค์จะทรงโสมนัสที่สุด และจะทรงคลายความวิตกความห่วงใยแผ่นดินไปเสียทีว่าแผ่นดินนี้จะสงบ มีสันติสุข และมีประโยชน์สุขตลอดไป

จิตสำนึกต่อแผ่นดินนับเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนไทยเราชอบเห็น พระเจ้าอยู่หัว แต่ไม่เคยมองพระเจ้าอยู่หัว ชอบได้ยินพระเจ้าอยู่หัวแต่ก็ไม่เคยฟังอีกเหมือนกัน มีพระราชกระแสรับสั่งใดๆ จะถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นรูปหนังสือหรืออะไรก็ตาม เราก็ได้แต่เห็น ได้แต่อ่านผ่านสมองไปเฉยๆ แต่อยากให้เริ่มฟัง เมื่ออ่าน เห็นกลับมาครุ่นคิด จนสรุปเป็นธรรมะปฏิบัติให้ได้ และเมื่อเราปฏิบัติแล้วก็ได้พบความสงบแห่งจิตใจ และสุดท้ายความสงบสุขก็จะเกิดขึ้นกับตัวเองและบ้านเมืองในที่สุด

บทสรุปจากหนังสือ 8K’s 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน การเตรียมตัวเข้าประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่กำลังจะมาถึงนี้ หากนำแนวทางในการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยทฤษฏีทุน 8 ประการของอาจารย์จีระมาปรับใช้ในการสร้างและพัฒนาศักยภาพหรือคุณภาพของทุนมนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร สัมคม และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ตามทฤษฎีทุน 8 ประการ ดังนี้ ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้ • Human Capital ทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ในการเสียสละทรัพยากรวันนี้เพื่อประโยชน์ในวันหน้า ซึ่งไม่เพียงแต่เรื่องการศึกษาหรือโภชนาการ สิ่งที่สำคัญจะต้องมี “ปัญญา” • Intellectual Capital ทุนทางปัญญา สิ่งที่ควรจะเป็นในอนาคต คือ การทำให้ระบบการศึกษาของคนไทย สอนให้คนไทยคิดเป็น จะเป็นการสร้างทุนปัญญาให้กับคนไทย • Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม ไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะ และปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ โดยได้กล่าวถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบ ISR คือ Individual Social Responsibility • Happiness Capital ทุนแห่งความสุข ตามทรรศนะของอ.จีระ กล่าวถึง พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ งานที่ทำต้องมีความหมาย(Meaning) มีเป้าหมาย(Purpose) จะส่งผลให้เรามีความสุข • Social Capital ทุนทางสังคม กล่าวถึง “เครือข่าย” หรือ “Network” ถ้ามีอยู่สูงก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น ในยุคอาเซียนเสรีที่กำลังจะมาถึงนี้ เราควรให้ความสำคัญกับ การสร้างเครือข่ายของปัญญา Networking of Intelligence หรือ Intellectual Network ต้องมีความรู้ ความเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ • Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นแนวคิดที่คล้ายทุนแห่งความสุข คือ การที่ตัวเรามีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ โดย 6 ปัจจัยแห่งความยั่งยืน (Chira’s 6 Foctors) ประกอบด้วย 1. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จและสมดุล เพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด 2. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย 3. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กับความเจริญ 4. ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้ 5. ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชน หรือประเทศเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจัดกระจาย 6. เป็นการพัฒนาที่ต้องพึ่งตัวเอง ไม่ใช่รอความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว • Digital Capital ทุนทาง IT เป็นทุนทางมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ได้ • Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ โดยคนที่จะประสบความสำเร็จต้องมี 3 อย่างพร้อมกัน คือ 1.ทักษะ(skill) 2.ความรู้(Knowledge) 3.ทัศนคติ(Attitude)

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s new)ที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะต้องตระหนักถึงทุนที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีก 5 เรื่อง ประกอบด้วย  Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ในทัศนะของอาจารย์ กล่าวว่า ทุนทางความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างได้ ที่สำคัญต้องพยายามฝึกคิดนอกกรอบ(Thinking outside the box) โดยมีวิธีดังนี้ - วิธีการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์ - ต้องมีเวลาคิด มีสติ - ก่อนจะคิดสร้างสรรค์ได้ ต้องคิดเป็นระบบเสียก่อน คือ มีสมองข้างซ้ายก่อนแล้วมาใช้ข้างขวา - ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ • Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ที่เรามีต้องสด ทันสมัย แม่นยำ ข้ามศาสตร์ ทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลัก 2R’s โดย R แรก คือ Reality หมายถึงความรู้ที่มาจากความจริง R ตัวที่สอง คือ Relevance หมายถึง ตรงประเด็นความต้องการของผู้รับบริการ • Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม หมายถึง ความสามรถทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า โดยนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ 1 มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้ 2 นำความคิดไปปฏิบัติจริง

             3 ทำให้สำเร็จ

• Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตะหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งมีรากฐานมาจากการดำรงชีวิตของมนุษย์ เข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี • Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล การมองโลกในแง่ดี ทุนทางอารมณ์รวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคการเปลี่ยนแปลง 8K’s และ 5K’s(ใหม่) เครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของมนุษย์ เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ตามทัศนะของอาจารย์จีระ ให้พิจารณาดังนี้ 1. เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) อย่างเข้าใจและรู้จริง

 2.สำรวจตัวเองว่าโอกาสของเราคืออะไร ? ความเสี่ยง ? เราต้องเร่งหาทางป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร?
  3.หลังสำรวจตัวเองแล้ว ขยายสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม นำมาวิเคราะห์ในแบบเดียวกัน คือ พยายามแสวงหาโอกาส และลดความสี่ยง สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติของเรา
  1. ปัจจัยที่สำคัญที่สุด และเป็นเครื่องวัดศักยภาพทางการแข่งขันแต่ละประเทศ คือ “ทุนมนุษย์” นำทฤษฎี 8K’s + 5K’s มาเป็นแนวทางในการเร่งพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ให้กับประเทศไทย เพื่อพร้อมที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในทุกๆ สถานการณ์
  2. นอกจากการพัฒนาทุนมนุษย์ของตนเองให้คุณภาพแล้ว ต้องขยายวงไปสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม และประเทศชาติตามลำดับ ตามกำลังความสามารถ ตามบทบาทหน้าที่ที่มีต่องสังคมด้วยการค้นหาจุดอ่อน มีการวางแผน มียุทธศาสตร์ มีการเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสม และดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีการติดตาม ประเมินผล ปรับปรุง หากทำได้ดังนี้ สังคมไทยของเราก็จะเกิดพลังในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนา “ทุนมนุษย์ที่ให้มีคุณภาพ” ได้แก่ สังคมไทยและประเทศชาติอย่างสมบูรณ์

บทสรุปจากหนังสือ 8K’s  5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

การเตรียมตัวเข้าประชาคมอาเซียนในปี 2015 ที่กำลังจะมาถึงนี้ หากนำแนวทางในการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยทฤษฏีทุน 8 ประการของอาจารย์จีระมาปรับใช้ในการสร้างและพัฒนาศักยภาพหรือคุณภาพของทุนมนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร สัมคม และประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ตามทฤษฎีทุน 8 ประการ ดังนี้

ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s)ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว ทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้

  • Human      Capital  ทุนมนุษย์  เป็นการลงทุนตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต      ในการเสียสละทรัพยากรวันนี้เพื่อประโยชน์ในวันหน้า       ซึ่งไม่เพียงแต่เรื่องการศึกษาหรือโภชนาการ สิ่งที่สำคัญจะต้องมี “ปัญญา”
  • Intellectual      Capital ทุนทางปัญญา  สิ่งที่ควรจะเป็นในอนาคต      คือ การทำให้ระบบการศึกษาของคนไทย สอนให้คนไทยคิดเป็น      จะเป็นการสร้างทุนปัญญาให้กับคนไทย
  • Ethical      Capital  ทุนทางจริยธรรม  ไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะ      และปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ      โดยได้กล่าวถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมแบบ ISR คือ Individual      Social Responsibility
  • Happiness      Capital ทุนแห่งความสุข ตามทรรศนะของอ.จีระ กล่าวถึง      พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี      เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ   งานที่ทำต้องมีความหมาย(Meaning) มีเป้าหมาย(Purpose) จะส่งผลให้เรามีความสุข
  • Social      Capital  ทุนทางสังคม กล่าวถึง “เครือข่าย” หรือ “Network” ถ้ามีอยู่สูงก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น  ในยุคอาเซียนเสรีที่กำลังจะมาถึงนี้      เราควรให้ความสำคัญกับ การสร้างเครือข่ายของปัญญา Networking of      Intelligence  หรือ Intellectual      Network ต้องมีความรู้ ความเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย      และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้
  • Sustainability      Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน  เป็นแนวคิดที่คล้ายทุนแห่งความสุข  คือ      การที่ตัวเรามีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ โดย 6      ปัจจัยแห่งความยั่งยืน (Chira’s 6 Foctors) ประกอบด้วย 1. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องให้ระยะสั้นสร้างความสำเร็จและสมดุล      เพื่อให้ระยะยาวอยู่รอด

  2. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย

  3. การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กับความเจริญ

  4. ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้

  5. ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชน หรือประเทศเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจัดกระจาย

  6. เป็นการพัฒนาที่ต้องพึ่งตัวเอง ไม่ใช่รอความช่วยเหลือจากคนอื่นอย่างเดียว

  • Digital      Capital  ทุนทาง IT  เป็นทุนทางมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ      ได้
  • Talented      Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ โดยคนที่จะประสบความสำเร็จต้องมี      3 อย่างพร้อมกัน คือ 1.ทักษะ(skill)  2.ความรู้(Knowledge)  3.ทัศนคติ(Attitude)

 

 

ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5 K’s new)ที่สำคัญสำหรับทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งจะต้องตระหนักถึงทุนที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีก 5 เรื่อง ประกอบด้วย

—  Knowledge Capital   ทุนทางความรู้ ในทัศนะของอาจารย์ กล่าวว่า ทุนทางความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างได้ ที่สำคัญต้องพยายามฝึกคิดนอกกรอบ(Thinking outside the box) โดยมีวิธีดังนี้

- วิธีการเรียนรู้  ฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และเรียนรู้ข้ามศาสตร์

- ต้องมีเวลาคิด มีสติ

- ก่อนจะคิดสร้างสรรค์ได้ ต้องคิดเป็นระบบเสียก่อน คือ มีสมองข้างซ้ายก่อนแล้วมาใช้ข้างขวา

- ต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ

  • Creativity      Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  ความรู้ที่เรามีต้องสด      ทันสมัย แม่นยำ  ข้ามศาสตร์   ทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลัก 2R’s      โดย R แรก คือ Reality หมายถึงความรู้ที่มาจากความจริง       R ตัวที่สอง คือ Relevance หมายถึง ตรงประเด็นความต้องการของผู้รับบริการ
  • Innovation      Capital ทุนทางนวัตกรรม       หมายถึง ความสามรถทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า  โดยนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ   1 มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้

 2 นำความคิดไปปฏิบัติจริง

                     3 ทำให้สำเร็จ

  • Cultural      Capital ทุนทางวัฒนธรรม   คือ การมีความรู้      ความเข้าใจ      ตะหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งมีรากฐานมาจากการดำรงชีวิตของมนุษย์  เข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ      และสามารถบริหารจัดการความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี
  • Emotional      Capital    ทุนทางอารมณ์  คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์      รู้จักใช้สติ ใช้เหตุผล การมองโลกในแง่ดี       ทุนทางอารมณ์รวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย      มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคการเปลี่ยนแปลง

8K’s และ 5K’s(ใหม่) เครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของมนุษย์ เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน

ตามทัศนะของอาจารย์จีระ ให้พิจารณาดังนี้

 1. เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน  หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) อย่างเข้าใจและรู้จริง

     2.สำรวจตัวเองว่าโอกาสของเราคืออะไร ? ความเสี่ยง ? เราต้องเร่งหาทางป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร?

      3.หลังสำรวจตัวเองแล้ว ขยายสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม นำมาวิเคราะห์ในแบบเดียวกัน คือ พยายามแสวงหาโอกาส และลดความสี่ยง สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติของเรา

4. ปัจจัยที่สำคัญที่สุด และเป็นเครื่องวัดศักยภาพทางการแข่งขันแต่ละประเทศ คือ “ทุนมนุษย์” นำทฤษฎี 8K’s + 5K’s  มาเป็นแนวทางในการเร่งพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ให้กับประเทศไทย  เพื่อพร้อมที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในทุกๆ สถานการณ์

5.  นอกจากการพัฒนาทุนมนุษย์ของตนเองให้คุณภาพแล้ว  ต้องขยายวงไปสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม และประเทศชาติตามลำดับ  ตามกำลังความสามารถ ตามบทบาทหน้าที่ที่มีต่องสังคมด้วยการค้นหาจุดอ่อน มีการวางแผน มียุทธศาสตร์ มีการเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสม และดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีการติดตาม ประเมินผล ปรับปรุง หากทำได้ดังนี้ สังคมไทยของเราก็จะเกิดพลังในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนา “ทุนมนุษย์ที่ให้มีคุณภาพ” ได้แก่ สังคมไทยและประเทศชาติอย่างสมบูรณ์

ประจำศรี บุณยเนตร

หนังสือ “ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน”

เป็นหนังสือที่ ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ให้แนวทางในการเตรียมตัวเพื่อรับกับการเปิดเสรีอาเซียน หรือ AEC โดยแนะนำให้ใช้ทฤษฎี 8 K’s และทฤษฎี 5 K’s เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตของทุนมนุษย์
ทฤษฎี 8 K’s เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
1. ทุนมนุษย์ (Human Capital) คือการเรียนในระบบการศึกษาแบบทางการ โภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูของครอบครัว เป็นต้น
2. ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) คือการมองอนาคต การปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร
3. ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) คือการปลูกฝังเรื่องความดีงาม ความถูกต้อง เพื่อให้มีความดีคู่กับความเก่ง
4. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือการทำให้คนมีความสุขในการทำงาน
5. ทุนทางสังคม (Social Capital) คือการสร้างเครือข่ายที่มีคุณค่าต่อการทำงาน
6. ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) ยึกหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงเน้น ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันบนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรมจริยธรรม
7. ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) ต้องรู้จักการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ
8. ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) คือการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของตนเองตลอดเวลา รวมทั้งมีทัศนคติเชิงบวกและพร้อมจะทำงานเชิงรุก
นอกจากทฤษฎี 8 K’s แล้ว ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ยังมี 5 K’s เป็นทฤษฎีต่อยอดในการสร้างคุณภาพทุนมนุษย์ เพื่อศักยภาพการแข่งขันในยุคอาเซียนเสรี ซึ่งประกอบด้วย
1. ทุนทางความคิดสร้างสรร (Creativity Capital) คือการคิดนอกกรอบ ทำอะไรให้สวนทางกับสิ่งที่เคยทำ จะทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่างๆ ได้มากมาย
2. ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ต้องเป็นคนมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ ในยุคข้อมูลข่าวสารแบบไร้พรมแดน เราต้องใฝ่รู้ ติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
3. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) คือสามารถนำสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า ซึ่งมี 3 องค์ประกอบคือ มีความคิดใหม่มาผสมผสานกับความรู้ นำความคิดไปปฏิบัติ ทำให้สำเร็จ
4. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) คือการมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิต และเป็นเอกลักษณ์ของประเทศ เป็นการสร้างคุณค่าในสังคมยุคโลกาภิวัตน์
5. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) คือการรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์กับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบกับตัวเรา
ประจำศรี บุณยเนตร

หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ เป็นหนังสือที่รวบรวมพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท ที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย รวมทั้งคำพูด บทสัมภาษณ์ของผู้ที่ได้เคยตามเสด็จถวายงานอย่างใกล้ชิดในวาระต่างๆ เพื่อให้ชาวไทยได้หันมาพิจารณาตัวเองและปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาท หน้าที่ของคนไทย คือ ทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทำให้ดู การทำหน้าที่ของตนอย่างสุดกำลังความสามารถ น่าจะเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนตอบแทนพระคุณ พระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ด้วยตนเอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงทำทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากพระราชหฤทัย พระองค์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ แม้ว่าในความเป็นจริงพระองค์ไม่จำเป็นต้องมาเหน็ดเหนื่อยพระวรกายและพระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนินไปทั่วประเทศเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนชาวไทย จนแทบจะกล่าวได้ว่า ไม่มีแห่งหนใดในประเทศไทยที่พระเจ้าอยู่หัวไม่เคยเสด็จฯ ไปถึง
สายันต์ ชาญธวัชชัย
            สรุปหนังสือ   ธรรมดีที่พ่อทำ
               เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วบอกได้เลยว่า  คนไทยโชคดีมากที่สุดที่มีพระเจ้าอยู่หัว  ได้เกิดบนผืนแผ่นดินไทยใต้ร่มพระบารมี  เกิดความรู้สึกรักและเทิดทูนพระองค์มากขึ้นกว่าเดิมมากจนไม่รู้จะบรรยายอย่างไร   พระองค์ทรงรักและห่วงใยคนไทยทุกคนและประเทศไทย ทรงพระราชกรณียกิจทุกแห่งไม่เว้นในถิ่นทุรกันดานทรงสละความสุขส่วนพระองค์  ทรงยอมทนเหนื่อยยากอย่างแสนสาหัสก็เพื่อคนไทยทุกคน   เมื่อได้อ่านพระราชดำรัสของพระองค์ในหลายๆพระราชดำรัสหรืออ่านจากคำบอกเล่าเรื่องราวของพระเจ้าอยู่หัวแล้ว   เกิดน้ำตาคลอเบ้าด้วยความซาบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณหลายครั้ง  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย  ได้อัญเชิญพระราชกรณียกิจ  พระราชจริยวัตร  พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท  รวบรวมมาให้คนไทยได้รับทราบเพื่อนำไปพิจารณาตนเองและปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท   พระองค์ทรงสอนประชาชนโดยทรงทำให้ดูเป็นแบบอย่าง   พระองค์ทรงมีคำสอนในการทำงานว่า  การกระทำกิจการงานสิ่งใดให้บังเกิดผลนั้น  ควรคิดน้อยพูดน้อยแล้วลงมือทำให้มาก  เป็นการทำด้วยมือและหัวใจไม่ใช่ทำด้วยปาก  คิดอะไรก็ทำไปเลย  ผิดถูกค่อยแก้ไข  แล้วเดี๋ยวมันก็ค่อยๆได้ออกมาเอง  ถ้ามัวแต่คิดแล้วไม่กล้าทำมันจะไม่มีอะไรสำเร็จขึ้นมาสักอย่าง
            พล.ต.อ.วสิษฐ  เดชกุญ  ได้กล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวว่า  พระองค์ท่านทั้งทรงสอนและทรงปฏิบัติให้เห็นถึงธรรมะที่กระทำให้งานสำเร็จคือ  อิทธิบาท 4 ได้แก่ 
           1.   ฉันทะ  การรู้ใจไม่ทำตามใจ
           2.   วิริยะ  ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในการทำงาน
           3.   จิตตะ  ความจดจ่อใส่ใจในการทำงาน
           4.   วิมังสา  คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ
           นอกจากนี้ยังมีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองอีกหลายท่านได้นำคำสอนและวิธีหรือหลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวมาเล่าในหนังสือเล่มนี้ ขอให้ผู้อ่านทุกท่านได้นำคำสอนของพระเจ้าอยู่หัวไปปฏิบัติตนดำเนินตามรอยพระยุคลบาท  เพื่อบังเกิดประโยชน์สุขแก่ตนเอง ครอบครัวและความมั่นคงของประเทศไทย   ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

5 ก.ค. 2555 ♠♫ขอส่งบทวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้♫♠

 หนังสือเล่นนี้เป็นการรวมแนวคิดและประสบการณ์ของ อ.จีระ และคุณพารณไว้โดยเน้นว่าคนเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าและสำคัญที่สุดขององค์กร ซึ่งต้องมีการพัฒนา เรียนรู้ให้เป็น Good Learner เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆสามารถแข่งขันในยุคโลกาภิวัฒน์ได้ ท่านได้ให้แนวคิดการเรียนรู้แบบ 1. Learnig Organization ซึ่งต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สร้างให้เป็นวัฒนธรรม
 นอกจากนี้ยังให้แนวคิดการเรียนรู้แบบ 2. Constructionism โดยให้ผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลางและมีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้มีความสามารถในการคิด สามารถแก้ไขปัญหาได้เองโดยมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย นอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาทักษะด้านอื่นๆอีก 5 ด้าน ได้แก่ 1. IQ ทักษะด้านกระบวนความคิด 2. EQ มีความมั่นคงในอารมณ์ 3. AQ ทักษะในการแก้ปัญหา 4. TQ ทักษะในการใช้เทคโนโลยี 5. MQ การปลูกฝั่งคุณธรรม ซึ่งทั้ง 2 ท่านนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างคนให้เป็น Citizen Global ถือเป็นมรดกทางด้านความคิดที่ประเทศชาติจะได้รับเพื่อสร้างความแข็งแกร่งอยู่บนโลกของการเปลี่ยนแปลง มีความสามารถในการแข่งขันให้ยั่งยืนต่อไป >>ณงก์เยาธ์  เพียรทรัพย์<<
สายันต์ ชาญธวัชชัย
        สรุปหนังสือ   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
                เรื่องราวตามหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของกูรู 2 ท่านที่ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  นั่นคือท่านพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยาและท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์  ทั้งสองท่านไม่ได้เรียนจบมาทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  แต่ด้วยความสนใจและมีโอกาสได้ทำงานข้ามศาสตร์มีความมุ่งมั่นในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ท่านทั้ง 2 จึงได้ทำงานด้านนี้มาเป็นเวลานานสะสมประสบการณ์มากมาย  ได้ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงในการบริหารทรัพยากรณ์ที่ประสบผลสำเร็จ  นำพาให้องค์กรเจริญรุ่งเรือง
                  ท่านพารณ  มีหลักคิดในการบริหารว่าคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร  คนไม่ได้เป็นต้นทุนการผลิตแต่คนคือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร  องค์จะดีได้เพราะมีคนเก่งและดี

เรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตมีความสัมพันธ์กันที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ จึงต้องมีแผนในการพัฒนาคนในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานให้คนได้เรียนรู้หลากหลายด้าน ผู้บริหารองค์กรจะต้องเป็นผู้ที่ขับพลังและอัจฉริยภาพของบุคลากรในทุกระดับขององค์กร จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยง

               ท่านอาจารย์จีระ  มีหลักคิดในการบริหารเน้นการทำงานแบบ  Process   ใช้  IT เพิ่มประสิทธิภาพงาน

สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการทำงาน เช่น มีอากาศดี มีสีเขียวของต้นไม้ มีมุมกาแฟ มุมห้องสมุดเป็นต้น ผู้นำต้องมีภาวะผู้นำ มีนวัตกรรม มีความคิดริเริ่ม มีทักษะความสามารถในวิชาชีพ มีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานในรูปรางวัลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

5 ก.ค. 2555

♠♫ขอส่งบทสรุปหนังสือ 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน♫♠

  ในหนังสือเล่มนี้ อ.จีระ ได้ให้แนวคิดเรื่องการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์ทั้ง 13 ทุน (8K’s+5K’s) เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพของคนไทยให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง ดี มีคุณธรรม รองรับการเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งมีจำนวน 10 ประเทศในปี 2015 โดยทฤษฎี 8K’s เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

1.ทุนมนุษย์ (Human Capital) ได้มาจากการศึกษา การลงทุนทางด้านโภชนาการ ฝึกอบรม 2.ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เป็นความสามารถของมนุษย์ในการคิด/วิเคราะห์/แก้ไขปัญหา ซึ่งปัญญาได้มาจากการเรียนรู้แบบทฤษฎี 4L’s 3.ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี มีจิตสาธารณะ 4.ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) มีความรักในงานที่ทำจะทำให้ผลงานมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม 5.ทุนทางสังคม (Social Capital) เป็นการสร้างเครือข่ายซึ่งจะทำให้มีต้นทุนต่ำ 6.ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) มาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 7.ทุนทางเทคโนโลยี (Digital Capital) ยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน IT เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน 8.ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital) คนจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีทักษะ ความรู้ และทัศนคติในเชิงบวก

  ทุนขั้นพื้นฐาน 8 ประการนี้ต้องทำการพัฒนาคุณภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร และประเทศ นอกจากนี้ยังมีทฤษฎี 5K’s ต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์ ได้แก่

1.ทุนทางความคิดสร้างสรร (Creativity Capital) คือ การวิเคราะห์เป็น คิดเป็น เรียนรู้ข้ามศาสตร์ คิดเป็นระบบ ทำสิ่งใหม่ๆ 2.ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ Reality ความรู้ที่มาจากความเป็นจริงและ Relevance ตรงประเด็นตามความต้องการของผู้รับบริการ 3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ต้องมี 3 องค์ประกอบคือ มีความคิดใหม่นำไปปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ 4.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สามารถบริหารจัดการความแตกต่างได้ 5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) คือการรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองและสามารถสื่อสารสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

  การเข้าสู่ AEC เป็นโอกาสและความเสี่ยงซึ่งสังคมไทยควรจะต้องเรียนรู้และพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่อาเซียนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยต้องรู้ว่า 1.AEC คืออะไร มีผลกระทบอย่างไรต่อตัวเรา 2.เกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงใน 3 เรื่อง คือ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 3.เปิดเสรีในเรื่องสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงาน 4.ต้องค้นหาตัวเอง เตรียมพร้อมและฉกฉวยโอกาส 5.รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าของความเป็นไทย 6.พัฒนาคนไทยให้สื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาอาเซียน และภาษาคอมพิวเตอร์ 7.สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 8.พัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ทุกระดับ ทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพ 9.บริหารความเสี่ยงโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  ยังมีแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน คือ 1.ต้องมีการวิเคราะห์โลกาภิวัฒน์และผลกระทบต่อสังคมไทยในเรื่อง ๏เทคโนโลยีสารสนเทศ ๏การค้าเสรี WTO FTA ๏การเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน ๏บทบาทของจีน อินเดีย ๏อิทธิพลของประชาธิปไตยและ Human right ๏Global warming ภัยธรรมชาติ ๏สงครามและการก่อการร้าย ๏น้ำมันหมดโลกและพลังงานทดแทน ๏โรคระบาด 2.ต้องมีการวิเคราะห์โอกาส ความเสี่ยง จุดแข็ง จุดอ่อน ของสังคมไทยด้วย
  จากทฤษฎี 8K’s+5K’s และแนวคิดดังกล่าวข้างต้น องค์กรภาครัฐและเอกชนทุกระดับสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคง ยั่งยืน เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป

ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์<<

การบ้าน วันที่ 14 - 15 มิ.ย. 55 สมชาย ใจเอื้อ

ระหว่าง 2 วันแรกของ การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้บริหารของ กคช. หลังสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง Executive Development Pvogvom 2012 ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อยู่กับพวกเราตลอดเวลา และพูดกับพวกเราว่า ท่านโชคดีที่ได้มาพบพวกเรา ได้รู้จักพวกเราซึ่งต่อไปคงจะเป็น Net Work และท่านได้รับความรู้จากพวกเรา แค่ผมคิดว่าพวกเราโชคดียิ่งกว่าหลายเท่า เพราะได้มีโอกาสได้รับความรู้ เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านที่มีความรู้ และประสบการณ์ร่วมทั้ง Net Work มากมายมหาศาล สิ่งที่ได้รับ 1.การเรียนวิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ อาจารย์ได้นำเสนอแนวคิดของผู้นำหลายท่าน รวมทั้งแนวคิดของอาจารย์เองคือ ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้และสามารถฝึกฝนได้ ซึ่งอาจารย์พยายามให้พวกเราสร้างนิสัยการเรียนรู้ โดยการกำหนดกิจกรรมให้พวกเราอ่านหนังสือ ทั้งแนะนำหนังสือ และเอาหนังสือมาจาก แต่สิ่งที่ผมชื่นชมและประทับใจคือสิ่งที่เป็นประสบการณ์ของตัวท่านเอง ท่านประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ตั้งแต่อายุยังน้อย ขณะนี้ท่านอายุ 67 ปี ยังคงทำงานอย่างมีความสุข เพราะท่านยังคงเรียนรู้อยู่ทุกวัน และเมื่อท่านย้อนหลังกลับไปในอดีต ท่านยอมรับอย่างจริงใจว่า ขณะนั้นท่านยังรู้ไม่จริง ขาดประสบการณ์ ที่ผมคิดอย่างนี้เพราะท่านบอกว่าครั้งที่มาบรรยายที่ กคช. เมื่อกว่า 10 ปีก่อนกับวันที่ไม่เหมือนกับวันนั้นท่านเข้าใจลูกศิษย์น้อยกว่าวันนี้ อ.จีระฯ ทำงานอย่างมีความสุข เพราะท่านทำเพื่อประเทศชาติ ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ไม่ได้ทำเพื่อเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ เหมือนที่ท่านสอนเราว่าผู้นำต้องมาจาก MACRO ก่อน แต่ต้องค้นหาตัวเองก่อน จึงจะเข้าใจตัวเอง - เข้าใของค์กร - เข้าใจประเทศ - เข้าใจภูมิภาค - เข้าใจโลก ผมจึงคิดเปรียบเทียบกับงานของ ดคช. ว่าถ้าพวกเราใน กคช. ทุกคนมีเป้าหมายในการทำงานเหมือนกันหมด คือทำงานเพื่อประเทสชาติคงจะทำให้ กคช. เป็นองค์กรคืที่มีคุณค่า ได้รับการยอมรับจากสังคม ความเชื่ยวชาญของ อ.จีระฯ คือเรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่มต้นทุนมนุษย์ ซึ่งภารกิจหลักของ กคช. ในความเห็นของผมคือเรื่องเดียวกับที่ อ.จีระฯ มีความชำนาญคือการพัฒนาคุณชีวิตของประชาชน ในชุมชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กคช. หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มต้นทุนมนุษย์ เพียงแต่ว่า อ.จีระฯ ทำกับผู้บริหาร แต่ กคช. ทำกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญประกาศหนึ่ง ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นโชคดีของพวกเราที่ได้เป็นลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ นอกจากนี้ในช่วงพักรับประทานอาหารว่าง ยังได้มีโอกาศแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านอาจารย์และผู้เข้ารับการอบรม ผมได้ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อท่านอาจารย์พูดถึงโครงการบ้านเอื้ออาทรจะมีความรู้สึก ในทางลบซึ่งสอดคล้อง กับการวิพากษ์วิจารณ์ ของบุคคลภายนอกผ่านสื่อประเภทต่างๆ อาจจะมีปัญหาในบางโครงการ แต่ส่วนใหญ่ แต่จริงๆแล้วโครงการบ้านเอื้ออาทรสร้างประโยชน์ให้สังคมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะอยู่ในระดับ MACRO หรือ MlCRO เมื่ออาจารย์ได้รับฟังคำอธิบายแล้ว ท่านก็มีความเห็นสอดคล้อง และแนะนำว่า กคช. ควรประชาสัมพันธ์ให้สังคมได้รับทราบ ถึงส่วนที่ดีของโครงการบ้านเอื้อาทรด้วย

วัชรี เกิดพิทักษ์

วันที่ 14 มิถุนายน 2555 : ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

จากการเรียนรู้ในวันนี้ 
  1. ทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้นระหว่างผู้นำและผู้บริหารมีความแตกต่างกัน คือ ผู้นำ ผู้บริหาร เน้นที่คน เน้นระบบ Trust ควบคุม ระยะยาว ระยะสั้น What , Why When ,How มองอนาคต/ภาพลักษณ์ กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน เน้นนวัตกรรม จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพChange Static

2.การสร้างผู้นำด้วยทฤษฎี 5 E

Example  สร้างตัวอย่างที่ดี
Experience  สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์
Education  ให้การศึกษา ให้ความรู้
Enviroment   สร้างบรรยากาศทีดี
Evalution  มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 

สรุป ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะเป็นช่วงที่ กคช. มีผู้เกษียณอายุมากที่สุด จำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในองค์กร และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการประกอบธุรกิจเพราะฉะนั้นจำเป็นต้องสร้างผู้นำที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการสร้างศรัทธาให้เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป องค์กรจำเป็นต้องมีผู้นำที่ เก่งและดี เพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป.

    ...................................................    โดย วัชรี   เกิดพิทักษ์ 

วันที่ 28 มิ.ย.2555 : วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช.

อ.ไกรฤทธิ์  โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ จำเป็นต้องพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยเน้น New We ซึ่งเป็น capital ขององค์กรโดยการสร้าง We ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ Knowledge( มีองค์ความรู้ , การจัดการประสบการณ์) และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดเป็น Skill และต้องมี  Attitude
นอกจากนี้ในช่วงบ่าย ได้มีการทำ Work Shop  โดยให้วิเคราะห์ประเด็นท้าทายวัฒนธรรมองค์กร 7 ประเด็น ซึ่งทุกๆ กลุ่ม ตอบคำถามได้ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะอยู่ในสภาพแวดล้อม และมีประสบการณ์เดียวกัน มาอย่างน้อย 20 ปี โดยสิ่งที่ได้ในวันนี้ ถือได้ว่า เป็นการทำ SWOT ส่วนหนึ่ง และสามารถนำไปกำหนดทิศทางในการทำงานในอนาคตของ กคช. ต่อไปได้ .

    .................................................................

โดย วัชรี เกิดพิทักษ์

วันที่ 30 มิ.ย.2555 : การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

การบริหารจัดการในยุคนี้ ต้องให้ความสำคัญกับคน คนถือ เป็นทุนมนุษย์ เรื่องของ HR ไม่ใช่แค่ Functional อย่างในปัจจุบัน ดังนั้น จำเป็นต้องสร้างคน และสร้างองค์กรให้เป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” และทำให้คนในองค์กร เป็นทั้งคนเก่ง และคนดี ซึ่งในเรื่องของคนดี  เนื่องจากเวลามีจำกัด จึงไม่ได้มีการกล่างถึงในหลักสูตรนี้เท่าที่ควร

อ.ธัญญา ได้ไห้ แนวคิดในเรื่อง Mind Map  คือ เทคนิคการจดบันทึกที่พัฒนาขึ้นจากความรู้เรื่องของสมอง และความทรงจำของมนุษย์ โดยหลักสำคัญของ Mind Map  คือใช้ภาพ สี และเส้นร่วมกันในการจดบันทึก โดยเริ่มจากตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษไม่มีเส้น ความคิดต่างๆ อาจจะแทนด้วยคำสำคัญที่แทนประเด็นหลัก หรือภาพที่แทนความคิดนั้น มีเส้นโยงเชื่อมต่อกัน แบบเดียวกับที่สมองทำงาน

สรุป Mind Map เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีรากแก้ว รากฝอย ทำให้การคิดจากประเด็นหลัก สามารถต่อยอดไปยังประเด็นรองๆ ได้อีกมากทำให้ การคิดเป็นระบบ และเกิดความคิดสร้างสรรค์.

...............................................................

โดย วัชรี เกิดพิทักษ์

บทวิจารณ์หนังสือ 8K’S + 5K’S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน วิไล มณีประสพโชค

ปี 2558  ประเทศไทยจะก้าวสู่ “ประชาชนเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย  และน่าสนใจสำหรับประเทศไทย  เพราะคนไทยหรือสังคมไทยจะได้รับโอกาส  ประโยชน์หรือความเสี่ยงนั้น  หัวใจสำคัญอยู่ที่คุณภาพของทุนมนุษย์ของไทยว่ามีความสามารถในการแข่งขันหรือไม่  ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพ  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น  โดยใช้แนวคิดทฤษฎี 8K’S  และ  5K’S  ดังนี้

ทฤษฎี 8K’S  หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพประกอบด้วย
K1  Human  Capital      ทุนมนุษย์
K2  Intellectual Capital    ทุนทางปัญญา
K3  Ethical Capital     ทุนทางจริยธรรม
K4  Happiness  Capital  ทุนทางความสุข
K5  Social  Capital     ทุนทางสังคม
K6  Sustainable  Capital    ทุนทางความยั่งยืน
K7  Digital    Capital      ทุนทาง IT
K8  Talentad   Capital  ทุนทางความรู้  ทักษะและทัศนคติ
ทฤษฎี 5K’S  ประกอบด้วย

Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์

Knowledge   Capital     ทุนทางความรู้
Innovation   Capital        ทุนทางนวัตกรรม
Cultural   Capital      ทุนทางวัฒนธรรม
Emotional   Capital     ทุนทางอารมณ์

จะเห็นได้ว่า  ดร.จิระ  เป็นผู้ที่ผลักดันให้สังคมไทยตระหนักถึงการพัฒนาทุนมนุษย์  ให้มีศักยภาพ  เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมาโดยตลอด  ดังนั้นเราสามารถนำแนวทางทฤษฎี 8K’S + 5K’S  ไปปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ  เป็นคนเก่ง  คนดี  และมีคุณธรรม  ต่อไป

บทวิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

เป็นหนังสือที่นำเสนอในรูปแบบของการสนทนาจากผู้ใกล้ชิดคุณธรรม  และดร.จีระ  ซึ่งทั้ง 2 ท่าน เป็นผู้นำทางความคิด  ผู้บุกเบิก และปฏิบัติในเรื่องทรัพยากรมนุษย์  โดยเล็งเห็นว่าคน  เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร  องค์กรที่อยู่รอดคือองค์กรที่ดูแลเรื่องคน  องค์กรที่อยู่ไม่รอดคือองค์กรที่ไม่พัฒนาคน  การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างเป็นความเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ

ทั้งนี้ได้มีการนำทฤษฎี  8K’S + 5K’S   มาใช้ในการพัฒนาบุคลากร  รวมถึงทฤษฎี 3 วงกลม  ได้แก่

วงกลมที่  1  เรื่อง Contesct  คือ บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เกี่ยวกับเรื่องสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน  การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสมเน้นการทำงานแบบ  Process  การใช้  IT
วงกลมที่  2  เรื่อง   Competencies  คือ  สมรรถนะหรือทักษะความสามารถของบุคลากรในองค์กร
วงกลมที่  3  เรื่อง  Motivation  คือ  การสร้างแรงจูงใจ

จะเห็นได้ว่าคุณพารณ  และ จีระ  เป็นผู้ยืนหยัดผลักดันขบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไม่ลดละมาโดยตลอด  เพื่อยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากล  ซึ่งเราสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์ของทั้ง 2 ท่านไปปรับใช้พัฒนาตนเอง  และขององค์กรต่อไป

หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ

ได้อ่านหนังสือธรรมดีที่พ่อทำแล้ว  อยากให้คนไทยทุกคนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะ ทำให้ได้มีโอกาสรับรู้ถึงพระราชกรณียกิจนานัปการ , พระราชจริยวัตรอันงดงาม  และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่มีต่อราษฎรของพระองค์  และต่อแผ่นดินไทย  เพื่อให้ราษฎรได้มีความเป็นอยู่อย่างผาสุขด้วย พระราชหฤทัยผูกพัน  ห่วงใยในความมั่นคงของชาติ  และทุกข์สุขของประชาชนชาวไทย
ธรรมดีที่พ่อทำ  และควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ได้แก่
  1. ความกตัญญู
  2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
  3. ความพอเพียง
  4. ความซื่อสัตย์
  5. ความมีระเบียบวินัย
  6. ความอดทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นต้นแบบการเรียนรู้ด้วยหัวใจ ทรงสอนทรงแสดงให้ดูผ่านโครงการต่างๆ ผ่านพระราชดำรัสต่างๆ โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ คือ การเข้าใจ เข้าถึงและการพัฒนา เพื่อให้คนไทยทุกคนได้อยู่กันอย่างมีความสุขชั่วลูกชั่วหลาย ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นราษฎรของพระองค์ จะน้อมนำแนวทางการปฏิบัติธรรมของพ่อมาปฏิบัติ และจะทำหน้าที่ด้วยจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบ เพื่อให้พระองค์มีความสุขตลอดไป
ชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

สรุปการอ่านหนังสือ 8k’s + 5k’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

            ในเบื้องต้นท่าน อาจารย์จีระ  มีความตั้งใจค้นคิดหาแนวทางหลักคิด  ที่จะช่วยพัฒนาทุนเดิมของคนไทยและประเทศไทยให้มีคุณภาพและคุณค่าเพิ่มขึ้น  เพื่อความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือการเปิดเสรีอาเซียน
                เนื้อหาสรุป  8k’s + 5k’s 
    1.  มนุษย์ทุกคนมีทุนเดิมติดตัวมาเท่า ๆ กัน การเลี้ยงดู การศึกษาถือว่าเป็นการลงทุน เรียกว่าทุนมนุษย์ (Human  Capital)
    2.  มนุษย์ที่ได้รับการศึกษามาเท่า ๆ กัน แต่มีสมรรถนะและทักษะต่างกัน การคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหา คือ  ทุนทางปัญญา  (Intellectual  Capital)
     3.  มนุษย์มีความรู้  มีปัญญา  แต่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีจะนำมาซึ่งความเสียหาย  ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมด้วย  คิดดี  ทำดี  
    4.  การทำงาน  ถ้าทำงานด้วยความสนุก  มีความสุขในการทำงาน  คุณภาพของงานก็จะออกมาดี  พฤติกรรมดังกล่าวเป็นทุนมนุษย์ คือ  ทุนแห่งความสุข  (Happiess  Capital)  และด้านอื่น ๆ ด้วย  เช่น   มีเพื่อนร่วมงานที่ดี  เห็นคุณค่าของงานที่ทำ
    5.  การทำงานจะมีประสิทธิภาพ  ถ้าเราหรือองค์กรมีเครือข่าย  (Networks) จะได้งานที่มีคุณภาพ  รวดเร็ว  เราเรียกว่า  ทุนทางสังคม  (Social  Capital 
   6.  การวางแผนการทำงานในยุคเปิดเสรีอาเซียน  ต้องมีความพร้อมในการแข่งขันทั้งระยะสั้นและระยะยาว   คือจะต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability  Capital)
  7.  การทำงานยุคข่าวสารไร้พรมแดน  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน  ซึ่งจะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงมากขึ้น เรียกว่า ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Digital  Capital)
 8.  ทุนอัจฉริยะ  (Talented   Capital) หมายถึง  มีการพัฒนาทักษะความรู้ตลอดเวลา  และมีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน

ทุนอีก  5  ประการ  5k’s (ใหม่)  ช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพสามารถแข่งขันใน  AEC  ได้อย่างยั่งยืนคือ
1.  ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  (Creativity  Capital)  มีจินตนาการพยายามฝึกคิดนอกกรอบ  ความคิดสร้างสรรค์ทำให้สามารถสร้างผลงานและตอบโจทย์ของปัญหา  หาทางออกได้  แนวคิดการสร้างความคิดสร้างสรรค์
  1. ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนเราจะต้องเป็นคนใฝ่รู้ มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ฐานความรู้ ข้อมูล ข่าวสารที่ทันสมัย แม่นยำ
  2. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) คือความสามารถในการทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า
  3. ทุนทางวัฒนธรรม (Culture Capital) แต่ละสังคมจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา เป็นต้น
    1. ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) หมายถึงการรู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถบริหารอารมณ์ได้

       --------------------------------------------------------
      
นายสุรสิทธิ์ ตรีเพชร

วันที่ 5 22 มิถุนายน 2555 หัวข้อ การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

        โดย ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร ,นอ.ศิรัส ลิ้มเจริญ  และดร.สุรพงษ์  มาลี ,อ.สมชาย ไตรรัตนภิรมย์

ได้เรียนรู้รูปแบบการเลือกวิธีการลงทุน ภายใต้กลยุทธ์ ที่จะต้องตอบคำถามในเรื่องของงบประมาณว่าทำอะไร ทำทำไม ภายใต้ข้อจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในเวลาสั้นที่สุด ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นหลักการในการของบประมาณจัดทำโครงการได้ต่อไป

                    สุรสิทธิ์  ตรีเพชร
นายสุรสิทธิ์ ตรีเพชร

วันที่ 6 28 มิถุนายน 2555 หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ

โดยศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ  , รศ.ดร.ภิพภ  อุดร  และ  ศจ.ดร.จีระหงส์ลดารมณ์
        ประโยคกระตุ้นข้อคิด    ที่ดีที่สุดในการอบรมนี้      คิดว่าน่าจะเป็นคำกล่าว    ของศจ.ดร.จีระฯที่ว่า  “ประเด็นกระเด้ง”    ซึ่งท่านอธิบายว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คิด ไม่ได้เตรียมมาก่อน   อยู่ๆเป็นประกายฉุกคิดวูบขึ้นมาได้โดยบังเอิญ     ซึ่งสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้   เอาเป็นประสบการณ์  เป็นแนวทาง  ที่ต้องทำการเปลี่ยน  นำมาศึกษา  ,ถกเถียงสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ไอย่างดี    เป็นคนต้องมีความพร้อม    เท่ากับการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลง
        สุรสิทธิ์   ตรีเพชร
สุรสิทธิ์ ตรีเพชร

วันที่ 7 29 มิถุนายน 2555 หัวข้อ Finance for non - Finance & Financial Perspective และ การบริหารกลยุทธ์องค์กร

        โดยศจ.ดร. กุศยา  ลีฬหาวงศ์ และดร. ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล ,อ.รุ่งโรจน์  ลิ่มทองแท่ง,อ.อนุชา  กุลวิสุทธ์
                    การเงินและการลงทุน  เป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อควบคุมทิศทางกระบวนการ  จัดทำโครงการ ทั้งงบดุล ( Balance sheets )  แสดงฐานะทางการเงิน ,   งบกำไรขาดทุน (Income statement )แสดง

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ และงบแสดงกระแสเงินสด ( Cash flow statement ) ซึ่งหากมีงบบประเภทเดียวให้เลือกดูได้ก็จะต้องเลือกดูงบกระแสเงินสด

     ในภาคบ่ายได้อยู่ในบรรยากาศ รู้เขา รู้เรา โดยวิทยากร ทั้ง 3 ท่าน  ได้ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง  ให้ข้อคิดในแง่มุมของบุคคลภายนอก ต่อหน่วยงานของรัฐอย่างการเคหะฯ จากประสบการณ์ที่มี

ได้อย่างน่าชมเชย ทำให้รู้ว่า การเคหะฯมีอะไรดี ๆ ตั้งมากมาย ในฐานะหน่วยงานของรัฐ เพียงต้องหา Core Compretency ให้พบ อะไรที่การเคหะฯมี และคนอื่นทำได้ยาก
การวางแผนให้คิดย้อน คิดผลสำเร็จก่อน แล้วย้อนดูว่า ทำอะไร เปลี่ยนจากผู้ถูกชี้เป็นผู้เสนอ สำคัญจะต้องสื่อสารให้สังคมรับรู้ เข้าทำนอง ร้องไห้เหมือนไก่ ไข่ใบเดียวได้ยินทั่ว ไม่สงบเงียบเยี่ยงปลา ไข่เป็นแสนเป็นล้านไม่มีใครรุ้ นับว่าเป็นข้อคิดที่ดี

         สุรสิทธิ์ ตรีเพชร
สุรสิทธิ์ ตรีเพชร

วันที่ 8 สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด 30 มิถุนายน 2555 หัวข้อ การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

        โดย ศจ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อ.ธัญญา  ผลอนันต์ ,อ.สุทธิเดช  สุทธิสมณ์ และ ดร.ศิริลักษณ์   เมฆสังข์
        วันสุดท้าย Km s-LO-Lc    การเรียนรู้เป็นศาสตร์       เป็นศิลปะ      ให้รู้จักคิดเป็น  วิเคราะห์เป็น

ต้องบ่มนิสัย นำความคิด นำผลการเรียนรู้มาปฏิบัติ นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง วันนี้ได้ 100 พรุ่งนี้เหลือ 30 ถัดไปเหลือ 1 เดียว วิธีการคิด หนึ่งบวกหนึ่งเป็นแปดเป็นเก้าได้ เครื่องมือที่ดีที่สุด โดยจดบันทึก รู้จักฝึกใช้สมองซีกขวา โดยเริ่มจาก การวางกระดาษในแนวนอน ทำให้สามารถมองได้กว้าง ฝึกคิด – วิเคราะห์ – นำเสนอ

        สุดท้ายต้องขอขอบคุณ  ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และบรรดาคณาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ แก่ผู้เข้ารับการอบรม     ซึ่งผมในฐานะผู้เข้ารับการอบรมคนหนึ่ง    คิดว่า  สิ่งที่ได้รับถือเป็นประโยชน์สูงสุด    แม้สามารถนำออกมาใช้ได้สัก  10-20  เปอร์เซ็นต์    ไม่แน่ อาจเจอประเด็นกระเด้ง  ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็เป็นได้  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้บริหาร ในรุ่นต่อต่อไป จะเป็นผู้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์    จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
        สุรสิทธิ์  ตรีเพชร
นายสุรสิทธิ์ ตรีเพชร

สรุปวิจารณ์หนังสือสามเล่ม

                      เล่มที่ 1      “ทรัพยากรมนุษย์พันแท้”
                     หนังสือ”ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ “  อธิบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่า ในความหมายว่า คน

คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ที่จะสามารถนำพาองค์กรให้ยั่งยืน โดยจะต้องมีการพัฒนา เรียนรู้ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในภาวะปัจจุบัน และอนาคตในยุคของโลกาภิวัตน์ ซึ่งทั้ง ท่านพารณ อิศรเสนา ณ.อยุธยา และ ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แสดงความคืดเห็นถึงทัศนคติในการพัฒนาคนให้มีความพร้อม มีศักยภาพ ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ให้สามรถมีความสำเร็จ ในโลกยุค “Clobalization”

                     เล่มที่ 2      “ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเชี่ยน”
                    หนังสือ  “8R S+5R S “   ทุนมนุษย์ของคนไทยในการรับรองประชาคมอาเซียน     ได้สรุปข้อคิด 

ในการเตรียมพร้อมของคนไทย ที่จะก้าวเข้าสู่การเปิดตลาดเศรษฐกิจการค้าเสรีประชาคมอาเซียน ซึ่งศจ.ดร.จีระ
หงส์ลดารมภ์ ได้นำเสนอทฤษฎี 8K S+ 5K S เป็นเครื่องมือในการสร้างคุณภาพ ของคนในองค์กรและสังคมที่จะสามรถ รับมือได้ในที่สุด

                    เล่มที่  3      “ทำดีเพื่อพ่อ”
   หนังสือ  “ทำดีเพื่อพ่อ”   เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงห่วงใยพสกนิกร ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจต่าง ๆไปทั่วทั้งแผ่นดิน  มีการบรรยายคำพูดของบุคคลตามเสด็จใกล้ชิด   ทำให้อ่านแล้วสามารถยึดเป็นแบบอย่าง การประพฤติปฏิบัติได้อย่างมีความสุข  โดยเฉพาะแนวทางการปฏิบัติในการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายใน “ความพอเพียง”   
                                     สุรสิทธิ์   ตรีเพชร
พิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม

วิจารณ์หนังสือ เล่มที่ 1 เรื่อง “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กูรูคนไทยด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นหนังสือที่ท่านผู้เขียนได้ถ่ายทอดแนวคิดเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ไทย เพื่อรองรับการก้าวไปสู่การเปิดเสรีอาเซียน (AEC) ในปี 2015 โดยถ่ายทอดจากความจริงและประสบการณ์การทำงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้สะสมมายาวนานกว่า 30 ปี ผู้เขียนได้ให้นิยามคุณภาพของทุนมนุษย์เป็นแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทฤษฎีทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 1.ทุนมนุษย์ Human Capital 2.ทุนทางปัญญา Intellectual capital 3.ทุนทางจริยธรรม Ethical Capital
4.ทุนทางความสุข Happiness Capital
5.ทุนทางสังคม Social Capital
6.ทุนทางความยั่งยืน Sustainability Capital
7.ทุนทางเทคโนโลยี หรือ IT Digital Capital 8.ทุนความรู้ ทักษะ และทัศนคติ Telented Capital นอกจากแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการ ที่เน้นพัฒนาการของมนุษย์ที่มีคุณภาพ ยังมีแนวคิดทฤษฎีใหม่อีก 5 ประการ ที่มีความสำคัญและจะช่วยเสริมส่งให้ทุนมนุษย์ไทยมีคุณดภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด สามารถแข่งขันเสรีในสมาคมอาเซียน ได้อย่างสง่างาม และยั่งยืน เรียกว่า ทฤษฎี 5K’s ประกอบด้วย 1.ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ Creativity Capital 2.ทุนแห่งความรู้ Knowledge Capital 3.ทุนทางนวัตกรรม Innovation Capital 4.ทุนทางวัฒนธรรม Culture Capital 5.ทุนทางอารมณ์ Emotional Capital การเชื่อมโยง 8K’s และ 5K’s เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ ให้เป็นคนคุณภาพของอาเซียน และเนื้อหาที่มีคุณค่าและโดดเด่นอีกประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือ “คำนิยม” ของนักคิด-นักปฏิบัติ ที่มีความรู้ความศรัทธาเรื่องทุนมนุษย์ ซึ่งทุกท่านได้ผ่านกระบวนการคิดและทำในเรื่องทุนมนุษย์มาแล้วทั้งสิ้น ได้แก่ ฯพณฯ องคมนตรี ดร.อำพล เสนาณรงค์ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นายธัญญา ผลอนันต์ ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ นายอลงกรณ์ พลบุตร ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ นายดนัย จันทร์เจ้าฉาย และนางพจนารถ ซีบังเกิด ซึ่งแต่ละท่านได้ถ่ายทอดความคิดด้านทรัพยากรมนุษย์ไว้อย่างมีคุณค่าและน่าอ่าน หนังสือ “8K’s+5K’s: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน” จึงเป็นหนังสือที่ดี ควรค่าแก่การเก็บไว้เป็นสมบัติ และนำอง์ความรู้มาใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชน สังคม และประเทศให้พร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างเข้มแข็งและสง่างาม

เล่มที่ 2 เรื่อง “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” HR. CHAMPIONS หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวและวิธีคิดของ “สองปราชญ์ ทรัพยากรมนุษย์” แม้ว่าแต่ละท่านจะมีประสบการณ์และพื้นฐานที่ต่างกัน แต่แนวความคิดของสองท่านนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ได้จริง คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีต CEO บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยคือ SCG และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กูรูคนไทยด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ หนังสือเล่มนี้มี 12 บท แต่ละบทเป็นทั้งปรัชญาและแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดผลได้จริง คม และชัด เนื้อหาในแต่ละบทมีความโดดเด่นและมีคำสำคัญ (Key word) จนไม่อาจสรุปเป็นภาพรวมได้ ขอสรุปเป็นบท ๆ คือ บทที่ 1 คุณพารณ มีแนวความคิดว่า “คน” กับ “การเพิ่มผลผลิต” นั้นสัมพันธ์กัน ด้วยคำนิยามว่า “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” และมองการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพของคน เป็นการลงทุน ไม่ใช่ต้นทุน เพราะคนเมื่อมีการพัฒนานานไปเรื่อย ๆ ก็จะก่อให้เกิดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เหมือนกับทรัพยากรอื่น ๆ ที่ยิ่งนานวันก็ยิ่งเสื่อมลงเรื่อย ๆ แต่หากเราไม่มีการพัฒนาคน เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจจะเสื่อมลงมากยิ่งกว่าทรัพยากรอื่น สำหรับอาจารย์จีระ เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมาย ได้ผลักดันแนวคิดด้านคน ซึ่งมีความสำคัญออกสู่สังคมภายนอก ให้สังคมภายนอกเห็นความสำคัญของการพัฒนา “คน” มากขึ้น และสามารถขับเคลื่อนไปสู่ในเวทีระดับนานาชาติทีเดียว ทำให้เกิดการยอมรับ ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งสองท่านมุ่งเน้นให้ทุกหน่วยงานทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาล ให้ความสำคัญกับคน ทั้งในเรื่องการลงทุนพัฒนาความสามารถของคน เพื่อเพิ่มผลผลิต หรือประสิทธิภาพในการแข่งขัน การมองทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์ บทที่ 2 การบริหารงานของคุณพารณเป็นแบบมีส่วนร่วม เน้นการทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนแสดงความคิดเห็น ยอมรับฟังข้อเสนอแนะ ยึดความเชื่อ ความศรัทธาในการทำงาน คือแรงส่งให้สามารถทำสิ่งนั้นได้ดี การทำงานอย่างเป็นระบบ และเป็นต้นแบบ (Role Model) ของ คนเก่ง-คนดี เก่ง 4 ดี 4 ซึ่งท่านได้ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนในองค์กรได้เห็น เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม บุกเบิกนำแนวการบริหารงานแบบญี่ปุ่นมาใช้ เช่น 5 ส. TQM พร้อมทั้งเน้นการดูแลคนให้ทั่วถึงไม่ว่าจะทำงานอยู่ที่ใด และให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กร เครือข่ายคน บทที่ 3 อาจารย์จีระเป็นผู้จุดประกายแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพยายามผลักดันความคิดนี้ให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของภาครัฐ หรือภาคเอกชน นอกจากนั้นอาจารย์ยังเป็นผู้สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีแนวคิดสร้างสรรค์ อาจารย์จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ใจกว้าง และชอบแลกเปลี่ยนความรู้ ให้แนวคิดทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งเป็นสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management ได้แก่ - วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ - วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือ สมรรถนะ ทักษะความสามารถของคน - วงกลมที่ 3 เรื่อง Motivation คือ การสร้างแรงจูงใจ โดยต้องบริหารจัดการทั้ง 3 เรื่อง เข้าด้วยกันในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ บทที่ 4 คุณภาพการศึกษามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่แสดงถึงคุณค่าของคน แต่คนนั้นจะต้องมีความสามารถในการเพิ่มผลผลิตด้วย การจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ควรจะมีการบูรณาการศาสตร์ทุก ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน ไม่ใช้ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง ปรัชญาในการพัฒนาบุคคลของเครือซีเมนต์ไทยที่สำคัญมี 3 ประการ ซึ่งท้าทายและตรงประเด็นมาก คือ 1. ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน 2. ความรู้สึกว่าพนักงานคือคนในครอบครัวของเรา และ 3. ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทมีทั้งราคา และคุณค่าที่สอดคล้องกัน หากเราต้องการรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ในยุคโลกาภิวัฒน์ เราควรมีการวางแผนเรื่องทรัพยากรมนุษย์ก่อน และต้องพัฒนาศักยภาพโดยเน้นให้เกิด Competencies ใหม่ ๆ เน้นทำงานเป็นทีม แบบมีส่วนร่วม บทที่ 5 อาจารย์จีระ ได่ให้ทฤษฎี 8K’s 5K’s ซึ่ง 8K’s แรกคือการวิเคราะห์ว่าการจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพนั้นจะต้องมีทุน 8 ประการ จึงเป็นทฤษฎี 8K’s ซึ่งประกอบด้วย 1. ทุนมนุษย์ 2. ทุนทางปัญญา 3. ทุนทางจริยธรรม 4. ทุนแห่งความสุข 5. ทุนทางสังคม 6. ทุนแห่งความยั่งยืน 7. ทุนทางเทคโนโลยี่สารสนเทศหรือ IT และ 8. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สำหรับ 5K’s นั้นต้องเพิ่มเข้ามาอีกเมื่อกระแสของโลกาภิวัฒน์แรงขึ้น ได้แก่ 1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ 2. ทุนทางความรู้ 3. ทุนทางนวัตกรรม 4. ทุนทางอารมณ์ และ 5. ทุนทางวัฒนธรรม บทที่ 6 ความสำเร็จของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่องค์กรจะต้องมุ่งมั่น ปัจจัยที่จะไปสู่ความสำเร็จมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น องค์กรเองก็ขาดมือ Pro ในด้านนี้ ซึ่งอาจจะต้องพึ่งพาผู้รู้ข้างนอก หรือแสวงหาความคิดใหม่ ตลอดเวลา มอง HR เป็นยุทธศาสตร์ (strategies) มากขึ้นแทนที่จะเป็นงานบริหารบุคคล (Personnel Functions) การจะพัฒนาคน หรือจะทำอะไรก็ตามควรจะทำตามขั้นตอนของ PDCA หากไม่ครบตามกระบวนการแล้วการจัดการนั้นย่อมไม่เกิดประโยชน์ และสิ่งสำคัญต้องมีความมุ่งมั่น ทุกคนต้องมีเป้าหมาย มีความคิดที่ดีสร้างสรรค์ นำความคิดนั้นไปปฏิบัติเพื่อไปยังเป้าหมายที่วางไว้ โดยผ่านการทำงานเป็นทีม ให้ทุกคนมีส่วนร่วม บทที่ 7 ความจงรักภักดีต่อองค์การ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มผลผลิต โดยการสร้างความจงรักภักดีนั้นต้องทำให้องค์กร และพนักงานอยู่ในฐานะ “ผู้ชนะ” หรือ win-win ทั้งสองฝ่าย ความจงรักภักดีทำให้สามารถรักษาบุคคลากรไว้ได้ และบุคคลากรในองค์กรเกิดความผูกพันและรักองค์กร ทั้งนี้ต้องมีระบบการดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ต้น ต้องมีผลตอลแทนและสวัสดิการที่ดี มีการปกครองที่ดีมีความเป็นธรรม ให้ความรักและความสำคัญ ให้มีส่วนร่วมในการทำงานและทำงานร่วมกันเป็นทีม บทที่ 8 แรงจูงใจ หรือ Motivation เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการบริหารคน ซึ่งเป็นได้ทั้งรูปตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงินเพราะคนเก่าบางคนเขาไม่ได้ต้องการแค่เงินมากไปกว่าการได้ทำงานที่ท้าทาย การที่ต้องใช้แรงจูงใจ เพราะมนุษย์แต่ละคนนั้นมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน และไม่เท่าเทียมกัน เหมือนกับระบบสังคมนิยม กับทุนนิยม ซึ่งประเทศที่ใช้ระบบสังคมนิยมบริหารนั้นไม่ประสบความสำเร็จเพราะต้องการให้มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันทุกด้าน การาบริหารคนในมุมมองของนักจัดการคือที่เน้นที่โครงสร้างเงินเดือนตาม performance ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนเก่งกับคนไม่เก่ง หรือคนเก่งกระทบกับคนเก่ง เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับสังคมไทยซึ่งมีวัฒนธรรมเฉพาะ บทที่ 9 การเป็น Good learner จะทำให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ เพราะการเรียนรู้ที่ดีนั้น จะนำไปสู่ความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจ การสร้างการเรียนรู้ในองค์กรนั้น คือ การสร้างวัฒนธรรมแบบ Learning Organization ให้เกิดขึ้นกับองค์กรเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเรียนรู้ตลอดชีวิต บทที่ 10 กับบทบาทการพัฒนาการศึกษาไทยของทั้งสองท่าน มีความมุ่งมั่นและมองการพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ ในกรณีศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ อาจารย์จีระเน้นหลักการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (eager to learn) โดยมุ่งเน้นที่ผู้บริหารและครู ให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น รวมถึงการคิดนอกกรอบ โดยได้ให้แนวคิดการพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาโครงการต่าง ๆ มากมาย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1. ต้องมาจากความคิดใหม่ และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา 2. ต้องลงมือทำ โดยผู้บริหารต้องให้การสนับสนุน 3. ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง บทที่ 11 ทั้งคุณพารณกับอาจารย์จีระ ถึงแม้ปัจจุบันจะเกษียณตัวเองจากการทำงานประจำ แต่ทั้งสองท่านก็ยังคงมุ่งมั่นในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นลักษณะนิสัย ที่เป็นแบบอย่าง ทั้งสองท่านยังคงทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป ด้วยความมุ่งมั่น ผลักดัน ให้สังคมเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ มองเห็นความสำคัญของเยาวชนที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต คุณพารณ เน้นความเชื่อ ความศรัทธานำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ มุ่งสร้างคนตามแนวคิด Constructionism เทคโนโลยีคือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงาน หรือทำให้แนวคิดนั้นประสบความสำเร็จเร็วขึ้น ดีขึ้น อาจารย์จีระ ต้องเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เน้นการให้ความรู้ ทำให้ความรู้หรือแนวคิดที่เป็นประโยชน์แพร่กระจายสู่สังคม บทที่ 12 คนพันธุ์แท้ทั้งสอง หรือขอเรียกอย่างยกย่องและชื่นชมว่า “คู่รู้” ท่านทั้งสองมีความเหมือนคือ 1. เข้าสู่สายงานการสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ 2. มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน 3. นำแนวคิดถ่ายทอดออกสู่สังคม ชี้นำประโยชน์ต่อสังคม 4. เป็น Global Man มีวิสัยทัศน์ มีความคิดสร้างสรรค์ 5. เป็นผู้ให้ทั้งความรัก และความรู้ แก่คนใกล้ชิด เป็น ครูผู้สร้างคน 6. มีความสุขกับการเป็น ผู้ให้ โดยไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน 7. ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ

เล่มที่ 3 เรื่อง “ธรรมดีที่พ่อทำ” ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” เป็นเรื่องราวและแผ่นภาพที่ร้อยเรียงความงดงามแห่งพระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจ และพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ตลอดระยะเวลา กว่า 65 ปี แห่งการครองราชย์ ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าจะได้น้อมนำคำสอนที่พระองค์ท่าน “ทรงทำให้ดู” ตลอดมานั้นมาเป็นข้อคิดพิจารณาตนเองและปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาทที่พระองค์ท่านทรงเป็นที่สุดในด้านคุณธรรมความดีงาม ความวิริยอุตสาหะ ทรงทำเพื่อประโยชน์สุขของคนไทย และความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ดั่งปฐมบรมราชโองการ เมื่อทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” “ธรรมดีที่พ่อทำ” แตกต่างไปจากงานเขียนอื่น ๆ ที่เคยมีเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีอยู่มากมาย โดยหนังสือเล่มนี้ ได้ร้อยเรียงเหตุการณ์ สถานที่ พระราชดำรัส คำพูด บทสัมภาษณ์ ข้อเขียน และบทบรรยายของผู้ที่ได้ตามเสด็จถวายงานอย่างใกล้ชิดในวาระและโอกาสต่าง ๆ โดยผู้เขียนได้นำมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นหมวดหมู่ ผสมผสานด้วยการวิเคราะห์เทียบเคียงอย่างแนบเนียนและราบรื่น แฝงด้วยการสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่ได้อ่านที่จะ “ทำดีเพื่อพ่อ” ด้วยการลุกขึ้นมาต่อยอดความดี ร่วมแรงร่วมใจผนึกกำลัง แสดงความจงรักภักดีด้วยการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท และเผยแพร่ความดีอันงดงามของพระองค์ท่าน ไปยังคนอื่น ๆ ทั้งคนไทยและต่างประเทศ ที่จะหล่อหลอมหัวใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันในความจงรักภักดี และบทวิจารณ์นี้จะจบลงไม่ได้เลย ถ้ายังมิได้กล่าวถึง “ธรรมดีที่พ่อทำ” ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งความดีที่น่าประทับใจ และควรนำมาเป็นแบบอย่างอันทรงคุณค่าในการดำเนินชีวิต ได้แก่
1. ความกตัญญู พระองค์ทรงปฏิบัติต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยหัวใจกตัญญู ทรงเป็น “พระมหากษัตริย์ยอดกตัญญู” ทรงเป็นแบบอย่างในการแสดงความกตัญญูทั้งภาษาใจ ภาษากาย และลงมือกระทำ 2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน จากภาพความใกล้ชิดและการไม่มีช่องว่างกับประชาชนที่ทรงสนพระทัยใคร่รู้ในทุกข์สุขของราษฎรอย่างลึกซึ้ง ความรักใกล้ชิดสนิทใจเกิดขึ้นด้วยความเอื้ออาทรอย่างบริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ 3. ความพอเพียง ซึ่งเป็นอาวุธชิ้นเอกทางปัญญาที่พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่คนไทย และประเทศไทย เพื่อรับมือและประยุกต์ใช้ในยุคที่คนส่วนใหญ่ “ไม่รู้จักพอ” โดยหวังว่าจะทำให้เราไม่ตกเป็นทาสของ “วัตถุ” และสามารถรักษาอธิปไตยแห่งความสุขของคนไทยไว้ได้ 4. ความซื่อสัตย์ ทรงเน้นความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อหน้าที่และความคิดที่สุจริต 5. ระเบียบวินัย ได้แก่ระเบียบในการคิดและในการทำ คนทำงานดี คือคนมีระเบียบ จำเป็นต้องฝึกระเบียบในตนเอง ระเบียบวินัยรวมถึงการตรงต่อเวลา 6. ความอดทน คนเก่งแพ้คนขยัน แต่คนขยันก็ยังแพ้คนอดทน จากภาพหยาดเหงื่อของพระองค์ท่านที่คนไทยทุกคนได้เคยเห็น ก็คงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นต้นแบบของความอดทนอย่างแท้จริง

ชัญญา ฉินทกานันท์

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 21 มิถุนายน 2555 วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)
โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ (ช่วงเช้า) และ อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ (ช่วงบ่าย)

อ.ไกรฤทธิ์ มณยเกียรติ์ - ได้ย้อนรำลึกถึงยุคของ กคช. ในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ การเคหะฯจึงต้องหันกลับมามองว่าจะเป็นอะไรต่อไปในอนาคต ต้องปรับตัว ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงและการจัดการ โดยเฉพาะในอีก 2 ปีข้างหน้า อันเนื่องมาจาก AEC กคช. ต้องรับโอกาสและคว้าโอกาสให้ได้ - คนที่ขึ้นเป็นผู้นำต้องมองภาพรวม ต้องปรับตัวจาก Specialist เป็น Generalist โดยเปรียบเทียบองค์กรเป็นเหมือนรถมี 5 ล้อ ล้อที่ 1 การตลาด ต้องสร้าง Brand ต้องสื่อสารกับสังคม ต้องพิจารณาจาก Demand Focus ต้องสร้าง Home มี Social Return on Investment ล้อที่ 2 การผลิต ต้องสร้างสินค้า ต้อง Show Case ผลงานที่สมบูรณ์แบบเป็นรูปธรรม อาจจะเป็นชุมชนเล็กๆ ที่น่าอยู่อาศัย ล้อที่ 3 การเงิน ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ ความคิดดีๆ จะสร้างเงินได้ ภาษาการเงินถือเป็นภาษาสำคัญของโลก ต้องมีคนที่รู้เรื่องเงินดีและรู้ว่าเงินจะได้มาอย่างไร ต้องสร้างพันธมิตร เช่น การรถไฟ กรมธนารักษ์ กทม. ล้อที่ 4 บุคคล ยุคนี้เป็นยุค Creative Thinking ต้องคิดใหม่ ใครทำผิดไม่ว่ากัน ให้มาสารภาพและให้เขามาช่วยคิดว่าทำอย่างไรจึงจะไม่ผิด เพื่อเขาจะได้เพิ่มความระมัดระวัง ล้อที่ 5 Backup System (Information และ Infrastructure) ด้าน Information ต้องถอดบทเรียนและประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนๆ โดยผ่านกระบวนการ Knowledge Management (KM) ในด้าน Infrastructure ต้องทำให้คนมีความคิด/มีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของจะได้ช่วยกันรักษา ผู้นำจะต้องเชื่อมโยงทั้ง 5 ล้อนี้ ต้องทำให้คนในองค์กรมีความคิดว่าเป็นลูกเรือที่จะช่วยกันทำงานขับเคลื่อนองค์กร ไม่ใช่เป็นเพียงผู้โดยสาร อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ - กคช. ต้องเปลี่ยนแปลงเพราะมีองค์ความรู้ใหม่ ต้อง Repositioning โครงสร้างประชากร/สังคมของไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ การสร้างบ้านต้องเป็นแบบ Universal Design ควรลองทำ site ตัวอย่างเป็นหมู่บ้านสำหรับผู้สูงอายุ
- กคช. มี Talent แล้ว และควรจะสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้แก่ลูกค้า ต้องกล้านำ กล้าเปลี่ยน กล้าเสนอ ยกตัวอย่างกรณีศึกษาหมู่บ้านแม่กำปอง ที่ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงจึงจะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ ทุกเรื่อง ตัวอย่างประสบการณ์ทางการตลาด  เพลินวาน ที่หัวหิน - กคช. ควรสนใจสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์แวดล้อม ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก Supply Driven มาสู่ Demand Driven , Sense and Response - ในการคิดโครงการใหม่ให้จินตนาการก่อน แล้วค่อยคิดถึงเรื่องเทคนิค ใช้ความคิดสร้างสรรค์/กระบวนการคิดสร้างสรรค์ (expertise + creative thinking skill + motivation) คือ พูดถึงโอกาสไม่ใช่ปัญหา ต้องเชื่อมั่นว่าเป็นไปได้ แล้วเขียนแผน มองที่ Value ไม่ใช่ Volume ต้องเป็น Make it different และต้องใช้ 5 C’s 1) Connection 2) Creation 3) Communication 4) Competitiveness 5) Cluster - กคช. ต้องทำ 3 เรื่อง 1. Product Development ที่เป็นเฉพาะกลุ่ม 2. Marketing and Branding เราเป็นใคร จะไปไหน ไปอย่างไร จะไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร 3. Distribute กระจายสินค้า (บ้าน) ให้คนเข้าถึงได้ - ต้องสนใจ 5 บริบทการเปลี่ยนแปลง 1. ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการเงินโลก 2. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง 3. โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ

  1. ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
  2. รูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง กคช. ต้องสร้างความเชื่อมั่นโดยเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้บริโภค
  3. ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การแข่งขัน โดยเน้นความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จาก Make + Sale  Sense + Response ให้คิดย้อนกลับ
                              Mass Production       Mass Customization
                              Economics of Scale        Economics of Speed
                              Just-in-time          Real time
    
  4. The must ที่ กคช. ต้องทำ คือ Rebrand
  5. อาจารย์ได้จุดประกายแนวคิด คำแนะนำ และแนวทางในการจัดทำโครงการที่ท้าทาย ทำแล้วให้คนพูดว่า สุดยอด ซึ่งเป็นประโยชน์กับ กคช. อย่างมาก ขอบพระคุณค่ะอาจารย์
ชัญญา ฉินทกานันท์

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 22 มิ.ย. 55 ช่วงเช้า : การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร และ น.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ - ดร.สุวรรณ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณที่หมายถึงงบส่วนตัว โดยแยกทรัพย์สินเป็น 2 กอง คือ ทรัพย์สินที่มีตัวตน เช่น บ้าน รถ แก้วแหวนเงินทอง และทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน เช่น หุ้น รวมทั้งประเภทของการลงทุน ซึ่งประกอบด้วย 1). บ้าน 2). หุ้น (ต้องระวังความผันผวนและที่สำคัญต้องไม่โลภ)
3). พันธบัตร/หุ้นกู้/กองทุน 4). ทองคำ 5).เงินสด(ไม่ด้อยค่า) 6).ลงทุนต่างประเทศ (ขณะนี้ยังไม่ควรลงทุน เนื่องจากมีความผันผวนมาก)

     ต้องวางแผนการเงินและภาษีตั้งแต่ต้นปี และใช้เครดิตภาษีให้เต็มที่ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน RMF/LTF ประกันชีวิต ค่าผ่อนบ้าน เงินบริจาค และเก็บรักษาเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน และขอให้รวยอย่างมีสุขภาพดีและมีความสุข (Wealth, Health and Happiness)
  • อ.ศิรัส จะเน้นเรื่องงบประมาณขององค์กร ซึ่งต้องเน้นการบริหารผลสัมฤทธิ์ที่ทำให้กับประชาชน ไม่ใช่ เน้นแต่เรื่องประหยัด ในกระบวนการบริหารงบประมาณต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย เพราะหากไม่ชัดเจน แต่มีประสบการณ์ร่วมกันก็มีโอกาสจะเข้าใจได้บ้าง แต่ถ้าไม่ชัดเจนและไม่มีประสบการณ์ร่วมกันก็จะไม่เข้าใจและไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร ต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ แผนงานและแผนเงิน และในการพิจารณางบประมาณ ต้องตอบให้ได้ว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร จะทำอะไรและทำทำไม ถ้าตอบได้นั่นคือสุดยอดของการบริหารงบประมาณ ทั้งนี้ไม่มีทฤษฏีการบริหารงบประมาณที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองเป็นหลัก ถ้ามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดีโอกาสที่จะได้งบประมาณก็สูง ช่วงบ่าย : การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี และ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์
  • ดร.สุรพงษ์ กล่าวว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเสี่ยง 3 ประการคือ 1). ความเสี่ยงเป็นสิ่งเลวร้าย เป็นสิ่งไม่ดี 2). ต้องกำจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้นไป และ 3). ไม่เสี่ยงเลย ทำตัวให้ปลอดภัยเป็นดีที่สุด ซึ่งแท้จริงแล้วความเสี่ยงเป็นเรื่องของเหตุการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร(ผลกระทบเชิงลบ คือความเสี่ยง แต่ถ้าเป็นผลกระทบเชิงบวกจะถือว่าเป็นโอกาส) เราจึงต้องบริหารจัดการความเสี่ยงในเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มโอกาสและช่วยให้องค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งพัฒนาผลงานขององค์กร และให้เป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลที่ดี การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมายิ่งขึ้นในปัจจุบัน อ.ได้ให้ความรู้ในเรื่องบทบาทของรัฐในการจัดการความเสี่ยง กระบวนการในการบริหารความเสี่ยงเชิง กลยุทธ์ หลักการจัดการกับความเสี่ยง และทฤษฏี 5T’s ในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย Tolerate (การยอมรับความเสี่ยง) Treat (การลด/ควบคุมความเสี่ยง) Transfer (การกระจาย/โอนความเสี่ยง) Terminate (การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง) และ Take (การฉวยประโยชน์) ทั้งนี้ อ.ได้ฝากทฤษฏี 4 C’s เพื่อความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงคือ 1). Common Goals 2). Communications 3). Commitment และ 4). Co-ordination
  • อ.สมชาย ให้ความรู้เกี่ยกับหลัการในการบริหารความเสี่ยง ตามหลักการของ COSO ERM (COSO’s Enterprise Risk Management – Integrated Framework ) ซึ่งต้องครอบคลุมประเภทความเสี่ยง 4 ด้าน คือ ด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ และหลักเกณฑ์การประเมินการบริหารความเสี่ยงปีบัญชี 2555 ซึ่งเป็นเกณฑ์การวัดที่ผสมผสานระหว่าการวัดแบบระดับ (ระดับ1-3) กับ การวัดแบบเกณฑ์ย่อยซึ่งเป็นเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น(ระดับ4-5)
ถวัลย์ สุนทรวินิต

เรียน อ.จีระ ที่เคารพ

    ผมขอนำส่งบทความ " นวัตกรรมฯ " มาเพื่อโปรดพิจารณา
                                  ขอแสดงความนับถือ
                                     ถวัลย์ สุนทรวินิต

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ โดย นาย ถวัลย์ สุนทรวินิต บทนำ

     การเคหะแห่งชาติ ( กคช. ) ก่อตั้งเมื่อ  ๑๒  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๖  เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินกิจการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพัฒนาเมืองเพื่อผู้มีรายได้น้อยและปานกลางเป็นหลัก  รวมถึงการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด  การจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ข้าราชการของหน่วยงานรัฐต่างๆ เช่น ตำรวจ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ กรมการปกครอง ฯลฯ
      ปัจจุบันภารกิจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยจำเป็นต้องสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค ที่มิใช่ผู้มีรายได้น้อย และ ปานกลางเท่านั้น  แต่รวมไปถึงผู้มีระดับรายได้อื่นๆอีกด้วย  เพื่อให้ กคช. มีส่วนแบ่งตลาดมากพอเมื่อเทียบกับภาคเอกชนในตลาดที่อยู่อาศัย  จึงเป็นเหตุให้ต้องปรับตัว เพื่อรองรับการแข่งขัน และ ภาระงานที่มากขึ้น  ประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๕๕๘  ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ทำให้ กคช. ต้องแสวงหาแนวทางการดำเนินงานที่พร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเร็ววัน

แนวคิด

    ภารกิจที่ กคช. ดำเนินอยู่ จำแนกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่
     ๑.  การผลิตที่อยู่อาศัย
     ๒.  การตลาด และ การขาย
     ๓.  การให้บริการหลังการขาย
     ๔.  การบริหารทรัพย์สินต่างๆ
     ๕.  การบริหารการเงิน
     ๖.  การบริหารทรัพยากรบุคคล


        ๗.  การสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ
        ภารกิจข้างต้น หากจะปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดพัฒนาการให้สามารถแข่งขัน และ อยู่รอดได้ในธุรกิจอย่างยั่งยืน  จำเป็นต้องหากลวิธีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้  ซึ่งปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า  “  นวัตกรรม  “

นวัตกรรมที่ต้องการ

          เพื่อให้สนองตอบกับภารกิจที่ กคช. ดำเนินอยู่  จึงจำแนกประเภทของนวัตกรรมตามภารกิจดังนี้
  • การผลิตที่อยู่อาศัย : ปัจจัยการผลิตที่อยู่อาศัย เช่น ที่ดิน วัสดุก่อสร้าง กรรมวิธีการก่อสร้าง เงินทุน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ดังนั้น นวัตกรรมที่จำเป็นต่อการผลิตที่อยู่อาศัย ต้องสามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ เช่น การได้มาของที่ดินต้องมีราคาเหมาะสม อยู่ในทำเลที่อาจไม่สะดวกในขณะนี้ แต่ต้องมีแผนการจัดการให้มีระบบขนส่ง หรือ การจราจร ที่ดีเข้าสู่โครงการ อันจะเป็นการเพิ่มมูลค่าที่ดิน และ ทรัพย์สินได้ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้มาตรการ ( นวัตกรรม ) ทางกฎหมายเข้าบริหารจัดการ

      กรรมวิธีการก่อสร้าง   มุ่งหาวิธีที่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว  ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากเกินสมควร  ประหยัดเวลา  แรงงาน  ลดความสูญเสียจากการใช้วัสดุสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ  ชิ้นงานที่ผลิตได้ต้องมีคุณภาพที่ลูกค้าพอใจ  มีการซ่อมแซมน้อยที่สุด  ภายใต้การลงทุนที่เหมาะสม
      เงินทุน   มุ่งหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ  มีความผันผวนทางการเงินต่ำ   การชำระหนี้ที่เป็นธรรมกับคู่ค้า
        กฎหมายที่เกี่ยวข้อง   มุ่งหาทางดำเนินงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย  ระเบียบวิธีปฏิบัติ  สิ่งใดควรทำ หรือ ต้องทำ ก็ดำเนินการตามจังหวะเวลาที่เหมาะสม   เช่น  การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น
    
  • การตลาด และ การขาย : ปัจจัยการตลาด และ การขาย ประกอบไปด้วย ตัวสินค้า ทำเลที่ตั้ง การกำหนดราคาขาย เป็นต้น สำหรับตัวสินค้าควรมีการกำหนดร่วมกันอย่างบูรณาการกับฝ่ายผลิตสินค้า เพื่อออกแบบสินค้าให้ดึงดูดใจ ในราคาต้นทุนที่เหมาะสม ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ การขาย อยู่ในทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมดังกล่าวไว้ข้างต้น การกำหนดราคาขายที่เหมาะสมยุติธรรม นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนงานขาย

  • การให้บริการหลังการขาย :
    ปัจจัยการให้บริการหลังการขาย  เช่น ความสะดวกในการรับชำระเงิน  ความสะดวกในการรับแจ้งปัญหาการอยู่อาศัย และ แนวทางการแก้ไขปัญหา  ความสะดวกในการโอนกรรมสิทธิ์   สำหรับนวัตกรรมการให้บริการหลังการขายนี้  ส่วนใหญ่มักเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือหลัก  ซึ่งจะช่วยได้มากทั้งด้านความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องของข้อมูล
    
  • การบริหารทรัพย์สินต่างๆ : ปัจจัยการบริหารทรัพย์สินต่างๆ เช่น ตัวทรัพย์สินในครอบครอง การดูแลให้อยู่ในสภาพปกติไม่ถูกรุกล้ำ ปกติเป็นกิจกรรมที่อาศัยการบริหารจัดการที่ทั่วถึงต่อเนื่องด้วยบุคลากรเป็นหลัก แต่หากสามารถนำเทคโนโลยีเข้าช่วยในด้านการติดตามงาน หรือ แจ้งเตือนเมื่อใกล้รอบเวลาที่ต้องดำเนินการ
  • การบริหารการเงิน : การบริหารการเงินเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยดำเนินงานอย่างมาก ซึ่งปัจจุบัน กคช. ใช้เทคโนโลยีฯช่วยอยู่ แต่เนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ กคช. ต้องติดตาม และ หาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และ สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้ทันการณ์
  • การบริหารทรัพยากรบุคคล : ปัจจัยสำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคลได้แก่ การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน พอเพียงแก่ความต้องการของหน่วยงาน การพัฒนาบุคลากรให้คงภูมิรู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม การวางแผนความก้าวหน้าของบุคลากร การรักษาบุคลากรให้อยู่ร่วมงาน มีความผูกพันกับองค์กร เป็นต้น สามารถใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีฯเข้าช่วยบริหารจัดการได้ในบางกิจกรรม แต่ต้องใช้ศิลปะในการบริหารคน เนื่องจากคนเป็นทรัพยากรที่ละเอียดอ่อน จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก
  • การสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ : กิจกรรมของ กคช. ในมิติสนับสนุนอื่นๆ เช่น การดูแลอาคารสถานที่ การติดต่อสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกในระดับนโยบาย ความพร้อมมือ พร้อมใช้ของเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำกับดูแลให้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามกฎระเบียบปลอดจากความเสี่ยง หรือ หากมีความเสี่ยงก็ให้อยู่ในความควบคุมได้ การดูแลด้านกฎหมายหรือคดีความที่เกิดขึ้น การติดตามดูแล ทวงถามหนี้สิน งานวิจัยและพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้เกิดความรู้ต่อยอด หรือ นวัตกรรมใหม่ๆ การจัดซื้อ จัดหา เป็นต้น ล้วนต้องปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎระเบียบ แต่สามารถนำเทคโนโลยีฯเข้าช่วยให้ปฏิบัติได้สะดวกรวดเร็วเพื่อประหยัดเวลา กำลังคน ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง เป็นต้น
ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

เรียน อาจารย์จิระ ที่เคารพ

       ดิฉันขอส่งบทความทางวิชาการ การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเดหะแห่งชาติ


                                                     ขอแสดงความนับถือ  ณงก์เยาธ์   เพียรทรัพย์
ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

เรียน อาจารย์จิระ ที่เคารพ

8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน หนังสือ 8K’s+5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ของ ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นการถ่ายทอดแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ไทยรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2015 โดยมีทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ 8K’s และ ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี 5K’s (ใหม่) และมุมมองของนักคิดและนักปฏิบัติแถวหน้าของสังคมไทย ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ 8K’s หรือ ทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย K1 Human Capital ทุนมนุษย์ K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข K5 Social Capital ทุนทางสังคม K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT K8 Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี 5K’s (ใหม่) ประกอบด้วย K1 Creativity Capital ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ K2 Knowledge Capital ทุนทางความรู้ K3 Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม K4 Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม K5 Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือการพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้แนวคิดของท่านอาจารย์ เป็นเสมือนภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาประเทศได้อย่ามั่นคงและยั่งยืน เป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นต้องขยายวงกว้างออกไปให้กว้างมาที่สุดอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ในการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2015 (พ.ศ. 2558) ซึ่งเป็นการรวมประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกัน AEC จะเปลี่ยนโครงสร้างชีวิตตั้งแต่การดำเนินชีวิต จนถึงวิธีคิดให้ต่างไปจากเดิม ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับผลกระทบจากการเปิดเสรีต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น ซึ่งการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุนมนุษย์เป็นตัวจักรสำคัญทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น แนวคิดทฤษฏี 8K’s+5K’s(ใหม่) จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพเพียงพอ สามารถยืนหยัดแข่งขันได้ในทุกเวที ไม่ว่าจะเป็นเวทีอาเซียน หรือ เวทีโลก สำหรับการเคหะแห่งชาติ การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากเราไม่เร่งพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ เราก็อาจอยู่ในสถานะของผู้เสียเปรียบ

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ HR.CHAMPIONS หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” เป็นการรวบรวมแนวความคิด และประสบการณ์ในการทำงานของ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา วิศวกรนักบริหาร ผู้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCGในปัจจุบัน และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นักเศรษฐศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เริ่มจัดตั้ง สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันคนแรก และอยู่ในวาระต่อเนื่อง 4 สมัยเป็นเวลากว่า 16 ปี ผู้ที่มีทางเดินของตัวเอง แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การมุ่งมั่นในเรื่อง “คน” บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ภายใต้การนำของ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นบริษัทคนไทยแห่งแรกที่เริ่มลงมือปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาคนอย่างจริงจัง ภายใต้แนวคิด การพัฒนาคน เป็นทรัพยากรที่เป็นการลงทุน (Investment) ของบริษัท ที่ไม่ใช่ต้นทุน (Cost) เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสูงสุดที่ต้องมีการเอาใจใส่ดูแล หมั่นพัฒนาให้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถอยู่ตลอดเวลา โดยกำหนดบทบาทของผู้บริหาร ไว้ว่า จะต้องเป็นผู้ที่ ต้องขับพลังและอัจฉริยภาพของบุคลากรในทุกระดับองค์กร ด้วยปรัชญาและความเชื่อเรื่องทรัพยากรมนุษย์ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ของประเทศ ทำให้ อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ มีโอกาสได้เป็นส่วนสำคัญในการจัดตั้ง สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้มีอุปสรรคมากมายก็จัดตั้งสถาบัน ได้สำเร็จจนเป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะวงการวิชาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน หลังจากหมดวาระการเป็นผู้อำนวยการสถาบันฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำงานในระดับประเทศ ริเริ่มจัดตั้ง มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิฯ

ซึ่งในการทำงานของทั้งสองท่านได้นำแนวความคิดและทฤษฏีต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือในการบริหารที่น่าสนใจดังนี้ ทฤษฏี 4L’s เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย • Learning Methodology วิธีการเรียนรู้ • Learning Environment บรรยากาศการเรียนรู้ • Learning Opportunities โอกาสการเรียนรู้ • Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทฤษฎี 3 วงกลม เป็นแนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นสูตรสำเร็จสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management) วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เรื่องสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสม คล่องตัว เน้นการทำงานแบบ process การใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือ สมรรถนะ หรือ ทักษะความสามารถของบุคลากรในองค์กร ซึ่งหมายถึง การพัฒนาสมรรถนะในด้านต่าง ๆ แก่บุคลากรในองค์กรให้มีความพร้อมที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่ ประกอบด้วย 5 เรื่องสำคัญ • Functional Competency คือ ทักษะ หรือ ความรู้ที่เราต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงาน • Organizational Competency คือ มีความรู้ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร • Leadership Competency คือ มีภาวะผู้นำ ซึ่งต้องเน้นเรื่องการสร้างวิสัยทัศน์ (Vision) ความสามารถในการบริหารจัดการกับคน (People Skill) และการสร้างศรัทธา (Trust) • Entrepreneurial Competency คือ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความคิดในเชิงผู้บริหาร กล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลว และสามารถบริหารความเสี่ยงได้

• Macro and Global Competency คือ มีความรู้รอบตัว มองภาพใหญ่ของการทำงานในอนาคตได้ รู้ทันเหตุการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และ มากระทบกับตัวเรากับการทำงานทั้งในระดับประเทศและระดับโลก สามารถแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ วงกลมที่ 3 เรื่อง Motivation คือ การสร้างแรงจูงใจ คือ เมื่อองค์กร น่าอยู่แล้ว คนมีศักยภาพแล้ว ที่สำคัญคือเขามีแรงจูงใจให้อยากทำงานให้เราอย่างเต็มที่หรือไม่ ความจงรักภักดี (Loyalty) ให้ความรักถึงจะภักดี ความจงรักภักดีสามารถจัดการได้ ความจงรักภักดีเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่จำกัดแคบอยู่เฉพาะ “บันไดปรารถนาของมนุษย์” ตามกฏมาสโลว์ เจ้าทฤษฏีด้านจิดวิทยา เพราะ • ความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา • ความจงรักภักดีเต้องใช้เวลาในการสร้าง • ผู้มีบทบาทในกระบวนการสร้างความจงรักภักดี จะต้องเข้าใจถึง คุณค่าของมนุษย์ จึงจะทำงานด้านนี้อย่าประสบผลสำเร็จ จะเห็นได้ว่าในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นศาสตร์ และ ศิลป์ ที่ผู้บริหารจะนำทฤษฏี ตลอดจนแนวคิดต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการองค์กร ให้เหมาะสมและมีการวางแผนกลยุทธ์ อีกทั้งต้องคิดและนำนวัตกรรม มาลงมือทำ ทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง


กรุณา มัฆวิบูลย์ หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

หนังสือเล่มนี้เป็นบทสนทนาด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ของนักคิด (ศาสตราจารย์จีระ          หงส์ลดารมณ์)

กับนักปฏิบัติแห่งยุค คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งได้อ่านแล้วเป็นหนังสือที่กล่าวถึงข้อเท็จจริง , ตรงประเด็น และมีประโยชน์ สามารถนำมาปรับปรุงและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างดี

ในหนังสือได้เน้นถึง คนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีความสำคัญที่สุดขององค์กร ที่ต้องพัฒนาศักยภาพของคน HR เพื่อสร้างโอกาสทางการเรียน learning opportunity   โดยต้องพัฒนาทุกระดับ และต่อเนื่องการพัฒนา HR ในแต่ละองค์กรอาจมีความแตกต่างกัน และในยุคโลกาภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ทฤษฎี 3 วงกลม สำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง Change Management   ที่มีประโยชน์ และควรนำมาปฏิบัติ คือ
  1. เรื่อง Contest คือ บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พูดถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานการจัดองค์กรให้เหมาะสม คล่องตัว
  2. เรื่อง Competencies คือ สมรรถนะหรือทักษะความสามารถ ประกอบด้วยเรื่องสำคัญ 5 เรื่อง
  3. Functional Competency ทักษะความรู้ เกี่ยวกับการทำงาน
  4. Organizational Competency คือความรู้ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร เช่นเรื่อง Reengineering , วัฒนธรรมองค์กร , การทำงานเป็นทีม , การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
  5. Leadership Competency คือ ภาวะผู้นำเน้นการสร้างวิสัยทัศน์ (Vision) การบริหารจัดการกับคน (People skill) และการสร้างศรัทธา (Trust)
  6. Entrepreneurial Competency คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ , สามารถบริหารความเสี่ยงได้
  7. Macro and Global Competency คือ มีความรู้รอบตัว มองภาพใหญ่การทำงานในอนาคต แสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ทั้ง 2 วงกรมเป็นทฤษฏีเพิ่มศักยภาพคน
    1. เรื่อง Motivation คือการสร้างแรงจูงใจ ให้คนอยากทำงาน ทั้งนี้คนจะมีความรู้อย่างเดียวไม่ได้ต้องมีทักษะ (Skills) มีความสามารถ (abilities) จึงจะทำให้คนมีศักยภาพ และในการลงทุนในคุณค่าของคนนั้นจะวัดจากการศึกษา และอบรมอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องดูด้วยว่าคนเหล่านั้นมีความสามารถในการสร้างเพิ่มผลผลิต productivity แค่ไหน นอกจากทฤษฎีทุนมนุษย์ 8K’S, ทฤษฎีทุนใหม่ 5K’S แล้วยังมีทฤษฎี 4L’S , ทฤษฎี 2R’S , ทฤษฎี 2 I’S , ทฤษฎี C&E , ทฤษฎี HRDS ,ทฤษฎี 3 L’S เพื่อการทำงานยุคใหม่ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

กรุณา มัฆวิบูลย์

หนังสือทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน 8K’S + 5K’S
    หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ ความคิด , ประสบการณ์ และความมุ่งมั่นของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์  ที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีศักยภาพรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่งมีแนวคิดใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำงานได้เป็นอย่างดียิ่ง
    หนังสือได้กล่าวถึง ทฤษฎีพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ 8K’S ประกอบด้วย
    K1  Human Capital       ทุนมนุษย์
    K2  Intellectual  Capital   ทุนทางปัญญามองยุทธศาสตร์ หรือการมองอนาคต
    K3  Ethical  Capital    ทุนทางจริยธรรม
    K4  Happiness Capital   ทุนทางความสุข
    K5  Social Capital      ทุนทางสังคม
    K6  Sustainable Capital     ทุนทางความยั่งยืน
    K7  Digital Capital     ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT
    K8  Talented Capital    ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ , ทุนอัจฉริยะ

    และทฤษฎี 5K’S (ใหม่)  เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพ ทุนมนุษย์ เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี เรียกว่า แนวคิดทุนใหม่ 5 ประการ คือ
    Creative  Capital   ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
    Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้
    Innovation Capital  ทุนทางนวัตกรรม
    Cultural   Capital  ทุนทางวัฒนธรรม
    Emotional   Capital     ทุนทางอารมณ์

    ทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’S คือ Reality หมายถึง ความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ Relevance หมายถึงตรงประเด็น ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งทุนทางความรู้ นำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (Value Creation) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) และValue Diversity  มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลายและความเฉลียวฉลาด

    นอกจากทฤษฎี 8K’S ,5K’S ใหม่แล้ว อาจารย์ยังมี ทฤษฎี 3 วงกลม ที่เป็นแนวคิด เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทฤษฎี 4L’S เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ , ทฤษฎี 2R’S เพื่อการเรียนรู้ และวิเคราะห์ปัญหา , ทฤษฎี 2I’S เพื่อการเรียนรู้ และสร้างพลังในการทำงาน , ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ , ทฤษฎี 3L’S  เพื่อการทำงานยุคใหม่  ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ณงก์เยาธ์ เพียรทรัพย์

หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ จะรวบรวมพระราชจริยวัตร พระราชกรณียกิจ และพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่คนไทยทุกคนควรนำมาปฏิบัติตามซึ่ง พระองค์ท่านเปี่ยมล้นไปด้วยพระอัจฉริยภาพในทุกแขนง เป็นที่สุดด้านคุณธรรม ความดีงาม ความวิริยะอุสาหะ ท่านเป็นต้นแบบของโลกด้านนวัตกรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คนไทยเรามี Idol ที่ดีที่สุดในโลกแต่เราไม่เคย I Do (ปฏิบัติตาม)พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านสอนให้เห็นถึงธรรมะที่ทำให้งานสำเร็จ คือ อิทธิบาท4 พระองค์ท่านเป็นต้นแบบแห่งการเรียนรู้ ทรงเรียนรู้และทำทุกอย่างด้วยใจให้มองคนที่คุณค่า ความรัก ความดี ความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นแก่นที่ควรนำมาประพฤติ ปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นนักพัฒนาในทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านการพัฒนามนุษย์ ซึ่งการจะพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และสมดุล ประกอบด้วยสมรรถนะ 4 ด้าน คือ ร่างกาย ความรู้สึก สติปัญญา และจิตวิญญาณ การเป็นคนสำคัญนั้นดี แต่เป็นคนดีสำคัญกว่า คนไทยทุกคนควรทำให้มากกว่าคิด มากกว่าพูด มากกว่าความรู้สึก และอยากให้คนไทย มีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบรู้จักหน้าที่ มีความรักความเมตตา มีความสามัคคี ซึ่งคนไทยทุกคนควรนำแบบอย่างของพระองค์ท่านมาประพฤติ ปฏิบัติ ทำความดีตามวิถีแห่งธรรมดีที่พ่อทำ

กรุณา มัฆวิบูลย์ หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ

หนังสือเล่มนี้คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย  ได้อัญเชิญ พระราชกรณียกิจ  พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในโอกาสต่างๆพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นที่สุดด้านคุณธรรมความดีงาม ความวิริยะอุตสาหะ ทรงเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่นงดงาม เมื่อชาวต่างชาติได้ยินคำว่าประเทศไทยจะนึกถึง “คิงภูมิพล” พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของโลกด้านนวัตกรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพระอัจฉริยภาพอันเป็นเอกอีกหลายสาขา ที่นานาอารยประเทศ พร้อมใจกันถวายพระเกียรติยศสูงสุด คนไทยโชคดีที่มีพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านทรงทำให้คนไทยดูเป็นตัวอย่างเสมอมาในทุกๆด้าน ชาวไทยทุกคนต่างเคารพรัก และเทิดทูนพระองค์ไว้เหนือเกล้า และจะน้อมนำแนวทางปฏิบัติของพระองค์ที่พระราชทานมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตสืบไป
สุริยา ลือชารัศมี

29 มิย. 2555 อ. กุศยา ลีฬาหาวงศ์ : Finance for non – finance / Financial Perspective ตลาดการเงิน ( financial market ) แบ่งเป็น - ตลาดการเงินในระบบ - ตลาดการเงินนอกระบบ ตลาดการเงินในระบบ แบ่งเป็น - ตลาดเงินในระบบ (money market) มีระยะเวลาสั้น ไม่เกิน 1 ปี เช่นเงินฝากแบบออมทรัพย์ - ตลาดทุนในระบบ (capital market) มีอายุมากกว่า 1 ปี ตลาดการเงินในระบบ ยังแบ่งตามระยะเวลาการส่งมอบได้เป็น - ตลาดส่งมอบทันที (spot market) การซื้อขายแบบผ่อนชำระ ถือเป็นตลาดส่งมอบทันที - ตลาดซื้อขายล่วงหน้า (future market) เพื่อลดความเสี่ยง ซื้อเงินอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต ตลาดทุนในระบบ แบ่งเป็น - ตลาดแรก (primary market) ตลาดหลักทรัพย์ออกใหม่ (IPO) - ตลาดรอง (secondary market) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ สถาบันการเงิน (Financial Institution) แบ่งเป็น

Bank  สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร เช่นธนาคารพาณิชย์ทั่วไป  ธกส.  ออมสิน ฯ
Non-Bank สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บ.เงินทุนหลักทรัพย์  สหกรณ์ออมทรัพย์ ฯ

ยังได้ความรู้ พื้นฐาน Basic Concept : Cash Accounting and Accrual Accounting แบ่งเป็น

หลักเงินสด : เงินสดรับ (cash receipts)
                         เงินสดจ่าย (cash disbursement)
หลักค้างรับค้างจ่าย : หลักการจับคู่ (matching principle)

การดูสถานะทางการเงิน จาก Financial Statements ประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด การบริหารการเงินโครงการ Project Financing

อ. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล , อ. รุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง , อ. อนุชา กุลวิสุทธ์ ได้ความรู้ในเรื่องกลยุทธ์องค์กร ในธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ของจากภาคเอกชนและภาครัฐ ให้ความเห็นว่าการเคหะฯต้องดู core competency ของตัวเองว่ามีความถนัด / เก่งในด้านใด ที่เหนือกว่าและนำมาใช้ประโยชน์เน้นระบบ Leadership system มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้า ใช้ประโยชน์จากข้อมูลประสบการณ์ มาบริหารจัดการให้เหมาะสม การบริหารกลยุทธ์องค์กรที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาฯ มีมุมมอง ในแง่การลงทุนโครงการ ขนาดของโครงการ อ. อนุชา ให้ความเห็นว่าหัวใจที่ทำให้การบริหารกลยุทธ์องค์กรประสบความสำเร็จ คือ 1. Positioning : วางตำแหน่งของตนเองให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หาความได้เปรียบขององค์กรที่เหนือกว่าผู้อื่น 2. Planning : วางแผนการปฎิบัติงานให้สอดคล้องกับ positioning ที่วางไว้

บทวิจารณ์ .... โดยฉันทนา มกรเสน

จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ 8 K’s + 5 K’s หนังสือทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียนและหนังสือธรรมดีที่พ่อทำ
หนังสือทั้ง 3 เล่ม เป็นเสมือนตำราเรียนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าอย่างยิ่ง ที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้เรียนรู้นำไปศึกษาและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ 8 K’s + 5 K’s และ หนังสือทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคม นั้น ให้ความรู้ถึงปรัชญาและทัศนคติที่ดีของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน วิธีการที่จะเรียนรู้ที่จะให้เกิดความรู้และทัศนคติที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่องค์กรและประเทศชาติ แต่อย่างไรก็ดีการเป็นคนเก่งและดียังไม่เพียงพอ ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย จึงจะเป็นการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าและสามารถนำไปพัฒนาประเทศชาติในสภาวการณ์ที่ต้องแข่งขันในปัจจุบันได้ สำหรับหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น มีทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s ซึ่งเป็นการสร้างทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์รองรับกับประชาคมอาเซียน แต่โดยเนื้อหาแล้วสามารถนำไปใช้ได้กับสภาวการณ์ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปได้ทุกโอกาส ด้วย 8 K’s นั้น เป็นทฤษฎีพื้นฐานของการสร้างทุนมนุษย์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดปัญญา ทัศนคติที่ดี และเมื่อต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันกับสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแล้วนั้น ทฤษฎี 5 K’s หรือแนวคิดทุนใหม่ จะช่วยเพิ่มสมรรถนะให้แก่ทุนมนุษย์อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความรู้อันจะนำไปสู้ความคิดสร้างสรรค์ เมื่อผนวกเข้าด้วยกันแล้วจะเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาในที่สุด ซึ่งหากจะเปรียบหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ และ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียนเป็นเสมือนหนังสือที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านสมองหรือความคิด (Hard - side) แล้วหนังสือธรรมดีที่พ่อทำ จะเป็นหนังสือที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้านหัวใจหรือจิตใจ (Soft - Side) ซึ่งหนังสือธรรมดีที่พ่อทำเล่มนี้ ได้ยกบุคคลที่เป็นต้นแบบ (Idol) ในทุกๆ ด้านมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง สามารถนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรและในชีวิตส่วนตัว ซึ่งมีแนวคิดที่ทุกคนต้องมีเป้าหมายในชีวิต ต้องมีแผนที่ และต้องมีเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมาย การไปสู่เป้าหมายนั้น มีวิธีการ 23 ข้อ เช่น ต้องศึกษา ต้องคิดแบบองค์รวม ต้องทำให้ง่าย หรือต้องรู้รักสามัคคี เป็นต้น เหล่านี้สามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้ เพราะมีตัวอย่างของบุคคลที่เป็นต้นแบบปฏิบัติให้เห็นจริง ดังนั้น การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านสมอง หรือหัวใจ ทั้ง 2 เรื่องต้องพัฒนาไปด้วยกัน (Hard + Soft) จึงจะได้ทรัพยากรมนุษย์ที่เก่งและดี มีคุณธรรม เพื่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และประเทศชาติต่อไป
ชัญญา ฉินทกานันท์

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 28 มิถุนายน 2555 การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายการเคหะแห่งชาติ
โดยศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และ คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ - อ.ไกรฤทธิ์ มีมุมมองประเด็นท้าทายในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าของการเคหะฯ โดยให้ความสำคัญกับ Managerial Asset ขององค์กรกับ Spiritual Asset อ.ไม่ให้ปลา แต่จะให้เครื่องมือในการหาปลา

 สำหรับผู้นำ WE + Manage + What = (New) Result,   WE = Human Capital ,   New WE สร้าง 3 อย่างคือ 

1 .Knowledge ให้ทำTacit K. เป็น Explicit K. 2) Skill ที่เราเรียนรู้จากความผิดพลาด 3) Attitude ทัศนคติ ส่วน Manage มี 3 อย่างเหมือนกัน คือ Plan คิดล่วงหน้า Act/Do ทำตาม Plan และ Control กำกับดูแล/เข้าใจเข้าถึงพัฒนา - คุณพิชญ์ภูรี วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ โดยมุ่งไปที่ AEC เน้นเรื่องคน และกลยุทธ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร เรื่องคนกับวัฒธรรมในการเรียนรู้ขององค์กรหรือการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญ สิ่งที่การเคหะฯ ต้องคิดและทำเพื่อปรับเปลี่ยนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (รู้เขารู้เรา) ให้ทันยุคสมัย พร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น Rebrand องค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาด้าน IT วัฒนธรรมและสังคมไทย แต่ไม่ลืม Globalization ภูมิศาสตร์พื้นที่ไทยและ AEC เพิ่มการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้าน CSR จินตนาการ เช่น ดูหนังสือบ้านและสวนที่ยังมีคุณค่ามาถึงปัจจุบัน คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่าง วิสัยทัศน์ส่วนบุคคล ซึ่งสร้างได้จากการอ่าน/ฟัง/ดูทีวี/พูดคุยกับผู้รู้ และวิสัยทัศน์ขององค์กรโดยรวม โดยต้องคิดนอกกรอบ - ศ.ดร.จีระ คนที่ใฝ่รู้คือ คือ คนที่ยอมรับความล้มเหลวและพร้อมที่จะเอาชนะมัน การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องเริ่มจาก WE/I คือ คนที่มีความรู้สึก มีจิตใจ อยากทำ ทำแล้วมีความสุข และไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ควรตอบโจทย์ 4 ข้อต่อไปนี้ 1. Where are we  Mission 2. Where to go  Vision Policy Statement/ Corporate Philosophy 3. Do + Don’t  Policy 4. How to  Strategy

สำหรับการเคหะฯ มี Purpose คือ สร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย + Meaning คือ ช่วยสังคม สิ่งสำคัญที่คนการเคหะฯ ต้องช่วยคิด คือ จุดประสงค์ในการตั้งการเคหะฯ มาอย่างไร ตั้งมาแล้วกี่ปี กิจกรรมหลักที่ทำคืออะไร คุณสมบัติของคนประกอบด้วยอะไรบ้าง ต้องสร้าง Learning Society ให้ได้ และต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่จุดยืนที่ดีขึ้น - ช่วงบ่าย เป็นการทำ Workshop เพื่อค้นหาวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ซึ่งเป็น Soft Side เพื่อตอบคำถามว่า การเคหะฯ มี Strong Culture หรือไม่ โดยผ่านคำถามทั้ง 7 คือ 1) พิธีกรรม 2) จุดเน้น กระบวนการ/ผลงาน 3) Hero คือใคร 4) ทัศนคติในการแก้ปัญหา 5) ก๊วน 6) การสื่อสาร (Two ways) ภายในที่ไม่เป็นทางการ และได้รับการตอบสนองเร็วที่สุด ใช้วิธีอะไร และ 7) การตัดสินใจที่มาจาก Top Down/ Bottom Up/ Consensus

ชัญญา ฉินทกานันท์

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 29 มิถุนายน 2555 ช่วงเช้า : Finance for Non-Finance + Financial Perspective โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ - อาจารย์ได้นำเสนอ 4 หัวข้อ คือ

1. Introduction  :  เรื่องตลาดการเงิน  ซึ่งแบ่งเป็นตลาดการเงินในระบบและนอกระบบ  โดยตลาดการเงินในระบบ หากแบ่งที่อายุ/ระยะเวลา จะประกอบด้วย ตลาดเงินและตลาดทุน หรือจะแบ่งตามวิธีการส่งมอบ ประกอบด้วย ตลาดส่งมอบทันที และตลาดซื้อขายล่วงหน้า สำหรับตลาดทุน ยังแบ่งได้เป็นตลาดแรก (หลักทรัพย์ออกใหม่) และตลาดรอง (ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์)
2. Basic Concept  :  หลักพื้นฐานทางการบัญชี ประกอบด้วย หลักเงินสด (เงินสดรับ + เงินสดจ่าย)และหลักค้างรับค้างจ่าย (หลักการจับคู่) โดยมี Basic Terms ที่ต้องรู้ คือ รายได้ ต้นทุนทางตรง/ต้นทุนผันแปร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน/ต้นทุนคงที่/ต้นทุนทางอ้อม  และกำไรสุทธิ
3. Financial Statements  :  ซึ่งประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด
4. Project Financing  :  การบริหารการเงินโครงการ เป็นเรื่องของการหาแหล่งเงินทุนและการจัดสรรเงิน  การพิจารณา

การลงทุน (ดูที่ Project Feasibility, Return on Investment และ Cost of Fund) การใช้เครื่องมือในการตัดสินใจ (Break-even, ระยะเวลาในการคืนทุน, NPV และ IRR)

ช่วงบ่าย : การบริหารกลยุทธ์องค์กร โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล คุณรุ่งโรจน์ ลิ่มทองแท่ง คุณอนุชา คุณวิสิทธิ์

       - ดร.ณรงค์  พูดถึงกลยุทธ์หรือการนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศว่าต้องมอง 2 เรื่อง คือ Leadership Systeและ Process ที่สร้างกลยุทธ์  สำหรับการเคหะฯ ต้องดูที่ Core Competency จุดแข็งขององค์กรคืออะไร Key Competitor คือใคร  ในฐานะที่อยู่ในภาคเอกชน อ.มองภาพการเคหะฯ ซึ่งเป็นภาครัฐในประเด็นต่างๆ คือ ในแง่ของ Resource ระหว่างภาครัฐและเอกชนมูลค่าต่างกันหรือไม่  มีพื้นที่เป็น Prime Area ไหม/ใช้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด  การเคหะฯ สร้าง Value Added จากสิ่งที่มีอยู่หรือไม่ ไป Link กับระดับประเทศอย่างไร  มองในแง่ AEC ได้ประโยชน์/เสียประโยชน์อย่างไร ต้องมองไปในอนาคต  ในแง่ Aging Society ซึ่งเป็นสังคมผู้สูงอายุ จะอำนวยความสะดวกอะไรให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ทั้งเรื่องระบบขนส่ง Internet ภาวะโลกร้อน สำหรับมุมมองความท้าทายจากภัยภิบัติทางธรรมชาติ  การเคหะฯ มีแผน BCP/BCM หรือยัง ลูกค้าคือกลุ่มไหน ต้องการอย่างไร Afford ได้แค่ไหน ชุมชนมีการสร้างระบบช่วยเหลือตนเองได้หรือไม่

การเคหะฯ มี Core Competency อะไร ต้องหาให้เจอ แล้วตอบสนองความต้องการ องค์กรจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน - อ.รุ่งโรจน์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ในการจัดทำโครงการของซื่อตรงกรุ๊ปตั้งแต่ปี 2526 ว่าการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอยู่กับโอกาสด้านการลงทุน มีการปรับเปลี่ยนมุมมอง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และจะต้องคิดว่าจะทำอะไรบ้างเพื่อเพิ่มมูลค่าหลายครั้งคราตามสภาพแวดล้อม โอกาส และที่สำคัญนโยบายที่ไม่เหมือนคนอื่น คือ สร้างความต้องการของลูกค้า ในกรณีเรื่องน้ำท่วม อ.มองว่าขณะนี้ยังไม่มีแม่งานที่จะบอกว่าจะทำอย่างไร ต่างคนต่างแก้ปัญหากันเอง เรื่องน้ำท่วมกระทบกับคนจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่เป็นวาระแห่งชาติ - อนุชา กล่าวว่า หัวใจสำคัญที่สุดทื่ทำให้การบริหารองค์กรสำเร็จ คือ การวางตำแหน่งของตนเอง (Positioning) จำเป็นต้องเลือกที่เหมาะสม ถ้าอยู่ถูกตำแหน่งจะได้เปรียบเสมอ ถ้าจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ต้องคิดก่อนว่าจะเป็นอะไร มี 3 กลยุทธ์ที่ต้องเลือก คือ 1) เป็นนักล่าของถูก 2) นักสร้างค่าอสังหาริมทรัพย์ 3) นักลงทุนที่ซื้อมาปล่อยเช่า แนวคิดในการจัดการโครงการ คือ ต้องวิเคราะห์ SWOT ดึงจุดเด่นออกมาให้ได้ และมีวิธีการวางแผนสมัยใหม่ ต้องคิดตั้งแต่ต้นจนจบ Location ต้องเป็นเลิศ (การเคหะฯ อยู่ในวิสัยที่จะพัฒนาจากทำเลที่ไม่ดีให้ดีขึ้นมาได้ เนื่องจากการเคหะฯ มีประสบการณ์และใกล้ชิดนักการเมือง) โดย อ.ได้นำเสนอเคล็ดลับความสำเร็จในการเลือกทำเลของทรัมป์เป็นตัวอย่าง เช่น ยอมจ่ายแพงเพื่อให้ได้ทำเลชั้นเลิศ จะไม่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ใดๆ อย่างเด็ดขาด หากไม่เห็นช่องทางเพิ่มมูลค่าได้อย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น อ.อนุชา มองภาพการเคหะฯ เห็นความเปลี่ยนแปลงมาก จากปี 2525 อยู่สูงสุด เป็นผู้นำความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบันภาพนั้นหายไปหมดแล้ว เป็นเพียง Developer เท่านั้น การเคหะฯ ควรอยู่ให้ถูกตำแหน่ง ไม่ควรแข่งขันกับภาคเอกชน ควรมีนวัตกรรมที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและราคาไม่แพง เช่น บ้านผู้สูงอายุ, Nursing Home, Mobile Home ทำให้เขาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีใน Location ที่เหมาะสม และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
การเคหะฯ ควรทำตัวให้เป็นผู้นำเหมือนสมัยก่อน จะสามารถเรียก Image กลับมาได้

ชัญญา ฉินทกานันท์

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 30 มิถุนายน 2555 การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ธัญญา ผลอนันต์

                                               ดร.ศิริลักษณ์  เมฆสังข์  และ คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์
  • วันนี้เป็นวันที่ประทับใจและสนุกมาก อ.ธัญญา ฝึกให้ใช้สมองซีกขวา เช่น การคิดชื่อเพื่อน, การใช้คลิปหนีบกระดาษ และฝึกการใช้ Mind Map ในกระบวนความคิดและจดบันทึก ซึ่งทำให้ได้คิดกว้าง ลึก และเป็นระบบรวมทั้งมีความรู้สึกผ่อนคลาย เมื่ออยู่กับการวาดรูปและการระบายสี ขอบพระคุณค่ะท่าน อ.ธัญญา
  • อ.ธัญญา เน้นว่าต้องสร้างนิสัยรักการอ่าน จะได้ทั้งความรู้และความคิดสร้างสรรค์ มีการฝึกอบรมแล้วต้อง บ่มเพาะนิสัย เอาความรู้ความคิดไปปรับให้เข้ากับงาน สิ่งที่อยากให้เปลี่ยนนิสัยคือ การวางกระดาษตามแนวนอน ทำให้เห็นครบทั้งหน้าในครั้งเดียว เป็นการใช้สมองซีกขวา และให้พกสมุดติดตัวไว้จดทุกความคิด คิดอะไรได้ให้จดไว้ ความคิด/ทรัพย์สินทางปัญญาที่หายไปเพราะไม่จด ถ้าเราใช้สมองซีกซ้ายและซีกขวาร่วมกัน จะมีพลังและศักยภาพมหาศาล

  • คุณสุทธิเดช นำเสนอกรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เรื่องคนพัฒนาจาก Manpower เป็น Personnel, Resource และ Asset ตามลำดับ ทุนมนุษย์ต้องมีทุนทางปัญญา ความสามารถ ความผูกพันองค์กร มีจริยธรรม ถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร มีการจัดตั้งระบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้ง KM และ LO จัดทำแผนแม่บทพัฒนาบุคลากร โดยมีแนวคิดที่ว่าสร้างทุนมนุษย์ให้มีวิสัยทัศน์ แล้วองค์กรจะอยู่รอด เห็นได้จากจำนวนผู้ใช้ไฟ และหน่วยจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนพนักงานลดลง นั่นเป็นเพราะแต่ละคนมีศักยภาพมากขึ้น

  • ดร.ศิริลักษณ์ กล่าวว่า กระบวนการที่จะต้องทำให้คนปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม คือต้องมีการปรับทัศนคติของคน ผู้นำต้องนำการเปลี่ยนแปลง Transformational Leadership และต้องมี Idea for Change ผู้นำที่เป็นแบบ Adaptive Change จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีแนวคิดเอง ต้องทำให้คนในองค์กร 60-70% รักการเรียนรู้ เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา เช่น E-Learning เรียนรู้จากความผิดพลาด Monthly Meeting เป็นต้น ส่วนอีก 20-30% อบรมให้ความรู้ในเรื่อง Technical ด้านวิชาชีพ บทบาทของผู้บริหารต้องเป็น Coach ที่ดี ไม่ใช่การสั่งเหมือนสมัยก่อน Generative Learning ทำให้เกิดปัญญา และที่กำลังมาแรงในขณะนี้คือ Social Learning รวมทั้งเวลาคิด ให้ Think Big

  • ศ.ดร. จีระ การสร้างบรรยากาศในการเรียนที่ดีจะได้ทฤษฏีกระเด้ง (ความเป็นเลิศที่เกิดขึ้น)

การบ้าน อ่านหนังสือ 3 เล่ม และวิจารณ์ อ.จีระฯ ทำหนังสือให้อ่าน 3 เล่ม

       1. ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
       2. 8k's + 5k's ทุนมนุษย์ของไทยรับประชาคมอาเซียน
       3. ธรรมดีที่พ่อทำ
       ผมเริ่มอ่าน 8k's 5k's  เป็นเล่มแรก ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้ได้ตอบโจทย์ของ อ.จีระฯ ที่เขียนไว้ในบทนำได้อย่างชัดเจน
       1. what are we ?
         2. what do we want to go ?
         3. how to do it ?
         4. how to do it suceessfull ?
         ขณะนี้เราเหลือเวลาอีกไม่นานที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 จึงต้องเร่งกระทำตามข้อสรุปของ อ.จีระฯ
        1. เรียนรู้การเปิดเสรีอาเซียน หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) อย่างเข้าใจและรู้จริง
        2. สำรวจต้วเองว่าโอกาสของเราคืออะไร? ความเสี่ยงคืออะไร? เราต้องเร่งหาทางป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร
        3. เมื่อสำรวจตัวเองแล้ว พยายามมาสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม นำมาวิเคราะห์ในแบบเดี่ยวกัน คือ พยายามแสวงหาโอกาส และลดความเสี่ยง สร้างความเข็มแข็งให้กับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติของเรา
        4. ปัจจัยที่สำคัญที่สุด และเป็นเครื่องวัดศักยภาพทางการแข่งขันแต่ละประเทศคือ ''ทุนมนุษย์'' นำทฤษฎี 8k's 5k's มาเป็นแนวทางการเร่งพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ให้กับประเทศไทย เพื่อพร้อมที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ในทุกๆสถานการณ์
        5. นอกจากพัฒนาทุนมนุษย์ของตนเองให้มีคุณภาพแล้วต้องขยายวงไปสู่ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคมและประเทศตามลำดับ ตามกำลังความสามารถ ตามบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสังคมด้วยการค้นหาจุดอ่อน มีการวางแผน มียุทธศาสตร์ มีการเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสม และดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีการติดตาม ประเมินผล ปรับปรุง หากทำได้ดังนี้ สังคมไทยของเราก็จะเกิดพลังในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนา ''ทุนมนุษย์ที่ให้มีคุณภาพ'' ให้แก่สังคมไทย และประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ 
         เล่มที่ 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นหนังสือที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ประมาณ 10 ปีมาแล้ว คือ 1 ธ.ค. 2545 จากบทนำ อ.จีระฯ ได้กล่าวไว้ว่า หนังสือ ''ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 นี้ ผมได้ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยมากขึ้น โดยตัดเนื้อหาที่อาจล้าสมัยบางส่วนออกไปและได้เพิ่มสาระสำคัญคือกรณีศึกษาการทำงานด้านการศึกษาของผม และคุณพารณ
         ผมเข้าใจเนื้อหาที่อาจล้าสมัยบางส่วนที่ตัดออกไปน่าจะไม่มากนักและที่นิยมหยิบยกประเด็นนี้มากล่าวถึงเพราะว่าครั้งแรกที่ยมเปิดอ่าน ไม่ได้ดูว่า หนังสือเรื่องนี้พิมพ์ครั้งแรก เมื่อใดแต่เข้าใจเอาเองว่าเป็นหนังสือรุ่นเดียวกับ 8k's 5k's แต่พออ่านบทสนทนา ของ อ.จีระฯ คุณพารณ และบุคคลต่างๆ จึงพบว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นมากว่าสิบปี ซึ่งอาจถึงยี่สบปี แต่แนงคิดในเรื่องการพัมนาทรัพยากรมนุษย์ ของคุณพารณ และ อ.จีระฯ ทันสมัยมาก เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ในวันหยุด มีความสุขรู้สึกเหมือนกับว่าอยู่ในห้องเรียนกับ อ.จีระฯ ผมคิดว่าเป็นหนังสือ Chassic อีกเล่มหนึ่งที่อ่านได้ตลอดกาล
         เล่มที่ 3 ธรรมดีที่พ่อทำ เป็นหนังสือที่คนไทยทุกคนควรอ่านสรุปได้ตามที่ พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ หัวหน้าพระธรรมทูต ประเทศอินเดีย - เนปาล ได้เขียนไว้ในค่านิยม มีความตอนหนึ่ง ''ซึ่งใจในพระราชจริยาษุวัตรขององค์พระมหากษัตราธิราชเจ้า ผู้ทรงคุณูปการต่อแผ่นดินไทยอันจะหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างแก่มหาชนทั้งหลายได้ปฎิบัติตามเบื้องพระยุคลบาท เชื้อมั่นว่าท่านผู้อ่านได้ศึกษาเรียนรู้ดูให้เข้าใจแล้ว อันเกิดความผ่อนแผ้วแห่งศรัทธาต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันจะเป็นอานิสงฆ์ให้เกิดความสุขความเจริญ ทั้งส่วนประชาชนและประเทศชาติต่อไป
          ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้มอบหนังสือดีมีคุณค่าให้พวกเราได้อ่านประกอบการฝึกอบรมในครั้งนี้มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะนำความรู้ที่ได้ จาการอ่านทั้ง 3 เล่มนี้ไปใช้ในการทำงาน และใช้ชีวิตในสังคม
นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์

นางอุมาภรณ์ จัตุนวรัตน์ (รุ่นที่ 1)

หัวข้อ : การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ จากกรณีศึกษา “เรื่องการพัฒนานวัตกรรม ของ Apple และ SCG เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจหลักในการจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่น่าอาศัย โดยมีการพัฒนาทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประเพณี ดังนั้น การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ คือ   การเป็น “Happiness Provider” เป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์ความสุขให้กับสังคม โดยมีแนวทางการพัฒนาทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ตามทฤษฎี 3C’S ประกอบด้วย
  1. Customers คือ วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งลูกค้าภายในและภายนอก
  2. Change Management คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง
  3. Command and Control (-) คือ ลดการสั่งการ การควบคุม แต่พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Partici pation) และทำงานเป็นทีม (Teamwork) ทั้งนี้นวัตกรรมมีหลายรูปแบบ เช่น
  4. สินค้าและบริการใหม่ (Product and Service Innovation)
  5. การบริหารจัดการแบบใหม่ (Management Innovation)
  6. นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เช่น กิจกรรมใหม่เพื่อพัฒนาชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การรักษาสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาอาชญากรรม สำหรับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติประกอบด้วย
  7. Customers แยกเป็น 1.1 ภายใน หมายถึงผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร มีความต้องการหรือมีเป้าหมายในการทำงานในองค์กรแยกเป็น 2 กลุ่ม 1.1.1 ผู้นำ มีเป้าหมาย หรือ ความต้องการจากการทำงาน คือ
    • ทำให้องค์กรมีความเป็นเลิศ
    • ทำให้องค์กรมีผลประกอบการด้านการเงินที่ดีมีกำไรทุกปี ซึ่งจะส่งผลถึงตอบแทนของผู้นำด้วย
    • ทำให้องค์กรมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของสังคมได้รับการยกย่องจากสังคม 1.1.2 พนักงาน มีเป้าหมาย หรือ ความต้องจากการทำงาน คือ
    • ได้รับผลตอบแทนจากการทำงานที่เหมาะสมตามผลงาน เช่น เงินเดือน โบนัส
    • รู้สึกภาคภูมิใจ ในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีชื่อเสียง และเป็นประโยชน์กับสังคม
    • มีความสุขในการทำงาน ได้รับการดูแลจากองค์กรด้านการส่งเสริมความรู้ โดยการฝึกอบรมสัมมนาดูงานมีโอกาสก้าวหน้า มีสวัสดิการด้านต่างๆ 1.2 ภายนอก ประกอบด้วย 1.2.1 คู่แข่ง ซึ่งเป็นเอกชนมีการประกอบธุรกิจด้านที่อยู่อาศัยและบริหารชุมชน เช่นเดียวกับการเคหะแห่งชาติ และมีลักษณะคือ
      • การแข่งขันสูง
      • หลากหลายผลิตภัณฑ์
      • ขนาดโครงการทั้ง SML 1.2.2 คู่ค้า/พันธมิตร กับการเคหะแห่งชาติ มีกลุ่มต่างๆ คือ
      • บริษัทลูก
      • Developer
      • Outsourcer
      • Supplier
      • องค์กร เช่น ราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน อปท. 1.2.3 ลูกค้า จะต้องคำนึงถึง
      • ข้อมูลลูกค้า (เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ)
      • Life Stye (ภูมิสังคม ทันสมัย ประโยชน์ใช้สอย)
      • ผลิตภัณฑ์และบริการ (มาตรฐานระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ คุณภาพ ราคา รูปลักษณ์ บริการหลังการขายลูกค้าสัมพันธ์ พัฒนาชุมชน)
    • Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย 2.1 โลกาภิวัฒน์ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จะต้องปรับองค์กรให้สอดคล้อง เช่น
      • Green Community
      • ECO – Village
      • บ้านผู้สูงอายุ
      • รองรับ AEC 2.2 Core Competency (รู้ตัวตน) รู้ว่าองค์กรมีสมรรณนะหลัก คือ
      • เทคโนโลยีการก่อสร้าง
      • Supporter ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย
      • พัฒนาทุนมนุษย์
      • พัฒนาสินค้าและบริการ
      • วิจัยและพัฒนา (Research and Development) 2.3 ภาวะผู้นำ ประกอบด้วย
      • มีวิสัยทัศน์ร่วม
      • ความมุ่งมั่น
      • Ideas for Change (Process People Product)
      • CG และ CSR
    • Command and Control (-) การลดการสั่งการและการควบคุมประกอบด้วย 3.1 การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ คือ
      • ความคิดสร้างสรรค์
      • การระดมความคิด
      • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
      • Bottom Up 3.2 การทำงานเป็นทีม คือ
      • Cross Function ให้เกิดการบูรณาการข้ามศาสตร์
      • วิสัยทัศน์ร่วม
      • เรียนรู้เป็นทีม 3.3 สร้างศรัทธา (Trust)
      • การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
      • การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)
      • เรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาจาก 2R’s (Reality and Relevance)
      • ความผูกพันต่อองค์กร 4.4 Innovation Award คือ
      • ประกวดการออกแบบ
      • ประกวดชุมชน (ชุมชนแห่งคุณภาพและความสุข) สรุป การพัฒนานวัตกรรมของการเคหะแห่งชาติ ข้างต้น จะส่งผลให้การเคหะแห่งชาติ เช่น Happiness Provider คือเป็นหน่วยงานที่สร้างความสุขให้กับคนในองค์กรและสังคม และเป็นหน่วยงานที่เป็นประโยชน์กับสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
วัชรี เกิดพิทักษ์
  1. หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ โดย วัชรี เกิดพิทักษ์ จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้มุมมองในเรื่องบุคลากรกว้างขึ้นทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวแปรที่สำคัญเท่าๆ กับตัวแปรอื่นๆ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยี หรือทรัพยากรด้านการเงิน เพราะฉะนั้น ควรมอง HR เป็นยุทธศาสตร์มากขึ้น แทนที่จะเป็นงานบริหารบุคคล ( Personnel Function) แบบเดิม อาทิ ระบบโครงสร้างเงินเดือน การรับสมัครบุคคล การประเมินผล และการดูแลด้านสวัสดิการ อ. จีระ จึงได้คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับ ทุนมนุษย์จากประสบการณ์ “ ทฤษฏี 8 K และ 5 K “ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงเรื่องความจงรักภักดี (Royalty) ซึ่งบอกว่า การสร้างความจงรักภักดี เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตโดยตรง ทำให้องค์กรและพนักงานอยู่ในฐานะ WIN-WIN ทั้งสองฝ่าย และที่สำคัญ เรื่องแรงจูงใจ ซึ่งมีทั้งพลัง บวก และ ลบ พลังบวก (Incentive) ค่าตอบแทนที่เหมาะสม การได้ทำงานที่ได้แสดงศักยภาพ การได้ทำงานท้าทาย การทำงานเป็นทีม การได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้นรวมทั้งความมั่นใจที่เป็นผลต่อเนื่องจากการได้แสดงศักยภาพ พลังด้านลบ (Disincentive) เช่น บรรยากาศในการทำงานไม่ดี ทะเลาะกัน การเมืองในองค์กร ความไม่ชอบธรรม และระบบอุปถัมภ์ สรุป ในฐานะผู้บังคับบัญชา จึงควรเร่งสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นในองค์กร และต้องลบสภาพแวดล้อมด้านลบออก (เงินเดือนที่เพิ่มสูงขึ้นไม่สามารถจูงใจให้คนทำงานต่อในองค์กร) ซึ่งเรื่องดังกล่าวค่อนข้างเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติได้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในเวลาอันใกล้ แต่หากมีการเริ่มต้น ก็ไม่ยากที่จะให้องค์กร กคช. เป็นองค์กรที่ดีได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้นำเป็นสำคัญ
  2. หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ โดย วัชรี เกิดพิทักษ์ จากการอบรมในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คนถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการบริหารงานในทุกๆ องค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน และอาจารย์จิระฯ ท่านพูดเสมอว่า คนที่ควรจะมีอยู่ในทุกๆ องค์กรไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องเป็น ทั้งคนเก่ง และคนดี ซึ่งจากการอบรม อาจารย์ที่มาสอนหลายๆ ท่านได้พยายามสอนให้ทุกๆคนเป็นคนเก่ง จะเป็นคนเก่ง จะต้องทำอย่างไร ส่วนการเป็นคนดี มีการสอดแทรกบ้าง ดิฉัน ยังติดใจอยู่เลยว่า การเป็นคนดี จะต้องทำอย่างไรบ้าง จนกระทั่งมาอ่านหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” จึงได้คำตอบ และประทับใจในพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “ความสุข ความสวัสดีของบ้านเจ้าจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญ มั่นคงเป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติมุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เต็มกำลัง ด้วยสติ รู้ตัว ด้วยปัญญา รู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าสิ่งอื่น” นอกจากพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นแล้ว หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” ยังมีสารประโยชน์อีกมากมายที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หากทุกคนน้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางของพระองค์ท่านแล้ว จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และประเทศตลอดไป และอย่างยั่งยืน
  3. หนังสือทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดย วัชรี เกิดพิทักษ์ การเปิดเสรีอาเซียน โดยเฉพาะการก้าวสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชน ควรมีการปรับตัวเพื่อรองรับ AEC กคช.เป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่ต้องเตรียมปรับตัวเพื่อรองรับ AEC การทำธุรกิจจำเป็นต้องรู้เขา (10 ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน เวียตนาม ลาว เขมร และพม่า) และรู้เรา (กคช.) และส่วนหนี่งที่จำเป็นก็คือ ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพราะเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดของการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ หากเราไม่เร่งพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ในประเทศไทย ประเทศไทยอาจจะอยู่ในฐานะของผู้เสียเปรียบ หนังสือทุนมนุษย์ 8 K +5 K ( K มาจาก Kapital ในภาษาเยอรมันแปลว่าทุนทางเศรษฐศาสตร์) ซึ่งประกอบด้วย ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT และทุนทางความรู้ 5 K ซึ่งประกอบด้วย ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางอารมณ์ และทุนทางนวัตกรรม หนังสือทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน เล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่มีคุณค่าในการสร้างทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพ และเป็นหนังสือที่มาถูกที่ และถูกเวลาสำหรับประเทศไทย.

         ...................................................................
    

นวัตกรรมใหม่การเคหะแห่งชาติ : บ้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Eco–Village)


การเคหะแห่งชาติ เป็นองค์กรหลักในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นกระบวนการพัฒนาที่เป็นองค์รวม ยึดคนเป็นศูนย์กลาง อาศัยความเข้มแข็งของชุมชนเป็นรากฐานในการพัฒนา มุ่งให้เกิดความสงบ สะดวก สะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัย มีเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง มีระบบบริหารที่ดี วิถีชีวิตที่ดี มีความสุข และที่สำคัญการทำเมืองและชุมชนให้น่าอยู่ ต้องอาศัยพลังการมีส่วนร่วมจากทุกส่วนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุข ทั้งนี้ องค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ (1) ครอบครัวอบอุ่น สมาชิกในครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าอย่างมีความสุข (2) การมีสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสะดวกในการด้านสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (3) เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง คือผู้อยู่อาศัยในชุมชนมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีกิจกรรมที่สร้างรายได้ในชุมชน และ(4) มีระบบการบริหารจัดการที่ดี อันเกิดจากการร่วมมือกันในการบริหารจัดการของสมาชิกในชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น ภาครัฐ ในการกำหนดทิศทางพัฒนาชุมชน จากสถานการณ์ปัจจุบัน การเคหะแห่งชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้านพลังงานและปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในเขตชุมชนเมืองที่เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วจึงได้กำหนดนโยบายและแนวคิดที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถพึ่งพาตนเอง จากการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระยะยาว แนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคมชุมชน (Social Enterprise) เพื่อสนับสนุนให้ชาวชุมชนมีกิจกรรมทางการผลิต-การบริโภค อยู่บนฐานของกระบวนการผลิต-บริโภคที่ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมและสังคม ไม่เน้นผลกำไรสูงสุดหากแต่มุ่งสร้างความมีสวัสดิการสูงสุดของชุมชน (Urban Community’s Welfare) โดยส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ตลอดจนส่งเสริม ให้ชาวชุมชนร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นชุมชนสีเขียว (Green Community) มีการจัดผังชุมชนที่สนับสนุนให้ชุมชนสามารถมีส่วนในการประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยของเสียจากการบริโภคของชุมชน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ภายใต้ Eco-cycle-Model พลังงาน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน กลุ่มธุรกิจที่สำคัญ 3 ด้านคือ ด้านก่อสร้าง ด้านขนส่ง และด้านอาหาร เป็นกลุ่มที่มีการใช้พลังงานอย่างมหาศาล อีกทั้งพลังงานยังเป็นตัวขับเคลื่อน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น สาเหตุหลักเกิดจากการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า 70-80% ทำให้สิ่งแวดล้อมและชุมชนเมืองเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาโดยการหาพลังงานอื่นมาทดแทน หรือ“พลังงานทดแทน”(Alternative Energy) ดังนั้น แนวทางการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานหมุนเวียน นับเป็นแนวทางที่คาดว่าจะสามารถรองรับปัญหาความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีการศึกษาทดลองออกมาอย่างแพร่หลาย เป็นพลังงานสะอาดตามโครงการกลไกพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) อีกทั้งยังมีโอกาสและความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจริงสูง โดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์ (Photovoltaic Cell หรือ Solar Cell) ที่มีการศึกษาพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับในการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง ดังเช่น อาคารห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส พระราม 1 ที่มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดบนพื้นที่หลังคาของอาคารกว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่หลังคาทั้งหมด ส่งผลให้มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้ากว่า 600,000หน่วยต่อปี หรือประมาณ ร้อยละ 12.5 ของความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร และเมื่อร่วมกับการอนุรักษ์พลังงานด้านอื่นๆ ประกอบแล้วสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้ากว่า 336 ล้านบาท นอกจากนี้ “การปล่อยคาร์บอนต่ำ” มีผลต่อการจัดการด้านต่างๆ เช่น (1) เมืองสะอาด ปราศจากสิ่งปฏิกูล โดยการบริหารจัดการการ ลดการทิ้งขยะ (Reduce) การนำของเหลือใช้มาใช้อีกบริบทหนึ่ง (Re-use) การนำของเสียหรือขยะกลับมาใช้ในรูปแบบอื่น เช่นพลังงานหมุนเวียน สิ่งที่ชุมชนได้คือการลดลงของค่าใช้จ่ายค่าการใช้พลังงาน และประชาชนมีการออมมากขึ้น (Disposable income and saving) และชุมชนลดการพึ่งพิงพลังงานหลักที่มาจากซากพืชซากสัตว์ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (2) เมืองและชุมชนมีสวนสาธารณะ หรือสวนหย่อม สภาพแวดล้อมในเมือง/ชุมชนที่ดี ประชาชนมีสุขภาพดี (3) เมืองมีการไหลเวียนของระบบการจราจรที่ดี ใช้พลังงานทดแทนในสัดส่วนที่สูงขึ้น และทำให้คุณภาพอากาศในเมืองและในชุมชนดีขึ้น (4) ชุมชนน่าอยู่มากขึ้นจากการมีต้นไม้ยืนต้นในพื้นที่โดยรอบอาคาร การมีสวนในแนวตั้งในอาคาร การมีสวนบนหลังคาเพื่อลดความร้อนของแสงแดด การเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานจากเดิมที่เป็นพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และมีค่าใช้จ่ายพลังงานสูงไปสู่ความประหยัด เช่น การใช้หลอดไฟให้แสงสว่างที่ใช้ขั้วทองแดง และหลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เปลี่ยนไปเป็นการใช้หลอดประหยัดพลังงาน และ หลอด LED ที่มีอายุยืนยาวและคุ้มค่าในระยะยาวพร้อมๆกับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (5) ในเมืองและชุมชน การส่งเสริมการใช้จักรยาน โดยการสร้างเลนจักรยาน (Bike lane) ในรัศมี 1-3 กม. อาจสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ระดับหนึ่ง ในวันที่

แสงแดดและความร้อนไม่แรงเกินไป การส่งเสริมการเดินโดยการสร้างทางเดินเท้า ที่ร่มรื่น (Side walk way) เพื่อการออกกำลังกายและสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชน (6) หาก จะมีการพัฒนาชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบของชุมชนเมืองขนาดย่อมๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ โดยเฉพาะการใช้ป่าไม้ในเมือง (Urban Forest) เพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการผลิต-บริโภค การทิ้งสิ่งปฏิกูลและการใช้พลังงานจากการเดินทาง โดยทั่วไปป่าไม้ในเมืองที่มนุษย์บรรจงสร้างขึ้นจะมีการหมุนเวียนครบตามวงรอบและห่วงโซ่ของการเป็นป่าไม่ต่ำกว่า 60 ปี ทำให้เกิดพื้นที่สำหรับการพักผ่อน และท่องเที่ยว เป็นสถานที่ที่สร้างเสริม สุขภาพและสร้างความสุขร่วมกันในครอบครัว เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งป้องกันมลภาวะในเมือง รวมทั้งยังช่วยลดพลังงานจากการใช้เครื่องปรับอากาศได้เนื่องจากชุมชนมาใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จากแนวคิด Eco-cycle-Model เป็นแนวคิดการพัฒนาชุมชนเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ที่มุ่งเน้นการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดมูลค่าสูงสุดจากการใช้พลังงานทดแทน หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ นอกจากการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และยกระดับมาตรฐานที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ยังนำมาซึ่งประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยในชุมชนและสังคมโดยรวม ดังนี้.-  สามารถใช้เซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์บังแดดให้กับอาคาร เพื่อลดความร้อนที่สะสมในอาคารได้และลดภาระการทำความเย็นให้กับเครื่องปรับอากาศได้  สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าแจกจ่ายให้กับผู้อยู่อาศัยในอาคารในยามเกิดปัญหาขัดข้องจากหน่วยงานผู้จำหน่ายไฟฟ้า หรือยามเกิดภัยพิบัติ  กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ยังสามารถส่งขายคืนให้กับหน่วยงานผู้จำหน่ายไฟฟ้าในราคาที่สูงกว่าการซื้อบริโภคใช้ในอาคาร และถือเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

สุริยา ลือชารัศมี

วันที่ 3 ของการอบรม
16 มิถุนายน 2555 “การบริหารธุรกิจในยุค AEC” ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช , อ.อรุณี พูลแก้ว

ความรู้ดั่งเดิมของผมก่อนเข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเพื่อนบ้านของเราในเบื้องต้น ตั้งแต่การจัดแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ ในกลุ่มประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เริ่มต้นที่กีฬา Seap  Came  ซึ่งต่อมาเรียกว่า Sea Came
การรวมตัวในช่วงก่อตั้ง – ถึงปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้น  จุดมุ่งหมายในความเห็นของผมคงเป็นการแข่งขันในระดับฝีมือใกล้เคียงกัน  เพื่อให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในประเทศสมาชิกด้านกีฬาเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น  ถึงจะมีปัญหาด้านการเมือง เศรษฐกิจ  ระหว่างของประเทศสมาชิก แต่ด้วยปรัชญาของการเล่นกีฬาระหว่างประเทศ (ในเชิงอุดมคติ) มุ่งความสามัคคี โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
แล้วการรวมตัวกันระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ ที่มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ คงเริ่มจากการจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN (Association of Southeast Asian Nations) ในปี พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, สิงคโปร์ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์,  มาเลเซีย  นั้นคือความรู้เดิมของผม
วันนี้ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากท่าน อ.อัทธ์ และ อ.อรุณี   ในเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)  ที่มีจุดมุ่งหมายในประเด็นที่สำคัญ เพื่อ
  • เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
  • เสริมความสามารถการแข่งขัน
  • พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  • บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก นั้นเป็นประเด็นสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ แต่จากกฎบัตรของอาเซียน เป้าหมายของการร่วมมือกันพัฒนามุ่งใน 3 ด้าน ประกอบด้วย
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  • ประชาคมสังคม-วัฒนธรรม อาเซียน (ASCC)
  • ประชาคม ความมั่นคง เอเชียน (ASC) ปัจจุบันกลุ่มประเทศสมาชิกมี 10 ประเทศ – จาก 5 ประเทศก่อตั้งเดิมได้แก่ Thailand, Singapore, Indonesia, Philippines, Malaysia. เพิ่มอีก 5 ประเทศ (ระหว่างปี พ.ศ. 2527-2542) ได้แก่ BRUNEI, VIETNAM, LAOS, MYANMAR, CAMBODIA กลับมาพิจารณาเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการร่วมกลุ่มประเทศ ไม่เฉพาะในกลุ่มของ ASEAN ในโลกนี้มีการร่วมกลุ่มประเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนเอง จำนวนมากถ้าตัวชี้วัดความเจริญของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เช่นประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมถึงไทยด้วย อยู่ที่การเติมโตของ GDP เมื่อเริ่มก่อตั้ง ASEA ในปี พ.ศ.2510 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจ และ GDP สูงรองจาก สิงคโปร์ แต่ในปัจจุบันเราพบว่าความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ลดลง สาเหตุหลักอยู่ที่เสถียรภาพของรัฐบาล ความไม่แน่นอนของนโยบายของรัฐ และการหาประโยชน์ให้กับตนเองอย่างมากมาย , โดยไม่คำถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประทศ (กลุ่มนักการเมือง , นักธุรกิจ, ข้าราชการ) ทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสและทรัพยากรไปอย่างน่าเสียดาย ยิ่งไทยพัฒนา การเติบโตที่วัด GDP เพิ่มขึ้นแลกกับการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอย่างมหาศาล ท่าน อ.ฉัตรชัย ได้ชี้ประเด็นให้เห็นจุดยืนสถานะของไทยในปัจจุบันว่า ถ้าแบ่งภาคการค้าและบริการออกเป็น 3 ภาค ประเทศไทยอยู่ในภาคการผลิต
  • Service - สิงคโปร์
  • Products – ไทย มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
  • Resources - กัมพูชา ลาว พม่า
สุริยา ลือชารัศมี

30 มิถุนายน 2555 Mind Map + การบริหารทรัพยากรบุคคล อ.ธัญญา ผลอนันต์ , อ.สิทธิเดช สุทธิสมณ์ , อ.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เรื่อง  Mind  Map เป็นเรื่องการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  โดยเปรียบเทียบเป็นกิ่งก้าน ออกจากความคิด โดยจัดลำดับในแต่ละเรื่อง และ แตกความคิดที่เกี่ยวข้องของแต่ละเรื่องโดยจดบันทึกสิ่งที่ได้จากความคิด เป็นการคิดวิเคราะห์ในลักษณะ Brain  Strom  มีความคิดเห็นอะไรที่ได้จากสมาชิกในกลุ่มที่ประชุมร่วมกันในประเด็นใดๆ ทุกแนวคิด ทุกความคิด ให้จดบันทึกไว้ในแต่ละกิ่งก้านที่เกี่ยวข้องกัน  เป็นเครื่องมือช่วยในการรวบรวมความคิดที่ได้อย่างมีระบบ สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ในเรื่อง/ประเด็น ที่เราสนใจได้
ส่วนที่ได้จาก อ.สิทธิเดช   เป็นกรณีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของ กฟภ. การสร้างทุนมนุษย์ใน กฟภ. เน้นการสร้างทุนทางปัญญาจากความสามารถกับความผูกพันองค์กร เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้ Learning  Culture  
อ.ศิริลักษณ์  เน้นการเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป (Adaptive change) โดยตัวผู้นำขององค์กร หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องมีวิสัยทัศน์ Transformational  Leadership   

Adaptive change ผู้นำต้องมี Ideas for change ในเรื่องของ Structure , System , Processes (ปัญหาของ Processes ระหว่างหน่วยงานคือล่าช้า ไม่ยอมกัน) การเรียนรู้ไม่ได้เน้นที่การเรียนรู้ – ความรู้จากห้องเรียน ควรได้จาก
Self Learning : การรักที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง 60%
Share : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 20-30% Classroom : จากห้องเรียน/อบรม 10-20%

สุริยา ลือชารัศมี

8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับ AEC 1. มนุษย์เริ่มต้นมีทุนติดตัวเท่ากัน – เลี้ยงดู เติมโต การศึกษา – เป็นทุนในมนุษย์ เบื้องต้น (Human Capital) 2. มีสมรรถนะ/ทักษะต่างกัน – เพิ่มเติมความรู้ – เพิ่มความสามารถในการคิดวิเคราะห์/แก้ปัญหา ฝึกฝน ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)

3.  มีความรู้/ความสามารถแล้ว – นำไปใช้ให้ถูกทางเป็นประโยชน์ต่อสังคม ต้องมีทุนทางคุณธรรม และ จริยธรรมด้วย   สร้างได้ 2 แนวทาง
    - ตามแนวพุทธศาสนา – ต้องมีศีล ฝึกสมาธิ – สร้างปัญญา
    - ตามแนวทางนักคิด Peter Drucker  ต้องฝึกให้มี 3 คุณสมบัติ
        - Integrity    ความถูกต้อง
        - Imagination  จินตนาการ
        - Innovation  นวัตกรรม
4.  การทำงาน ทางด้านความชอบ รักในงานที่ทำ ถือเป็นทุนแห่งความสุขในการทำงาน (Happiness Capital) รวมถึงการมีสุขภาพดี  มีเพื่อนร่วมงานดี
5.  การทำงานต้องร่วมมือกัน มีสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างกันทั้งภายใน/ภายนอกองค์กร            มีเครือข่าย (Net work) ทำให้การทำงานมีคุณภาพ รวดเร็ว  เรียกว่ามีทุนทางสังคม (Social Capital)  ซึ่งจะสร้างขึ้นมาได้ด้วย   - การสร้างความไว้วางใจกัน (Trust)   - เห็นแก่ส่วนรวม
6.  มีความสามารถในการแข่งขัน – ทุนแห่งความยั่งยืน  (Sustainability Capital)
7.  มีความรู้/ทักษะในยุคของข้อมูล  ข่าวสาร  และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ (Digital Capital)   
8.  ทุนเพื่อใช้พัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ – พัฒนาอยู่เสมอ – สร้างทัศนคติเชิงบวก เรียกว่า  ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital)
    การพัฒนาทุนอัจฉริยะใช้ทฤษฏี 5E
  • Example ตัวอย่างที่ดี
  • Experience เรียนรู้จากประสบการณ์
  • Education ศึกษา พัฒนา ฝึกอบรม
  • Environment สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
  • Evaluation ติดตาม ในยุคของ AEC เพื่อเพิ่มของความสามารถทุนมนุษย์ให้มากขึ้น ต้องเพิ่ม/พัฒนา ทุนอีก 5 ด้าน 5 K’s
    1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) มีจินตนากร ฝึกคิดนอกกรอบ ความคิดเชิงสร้างสรรค์

      • วิธีการเรียนรู้ คิดให้เป็น วิเคราะห์ให้เป็น
      • ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ
      • ต้องมีความอยากที่ทำสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ
      • คิดอย่างเป็นระบบ
    2. ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital) ในยุคที่ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เราต้องเป็นคนใฝ่รู้ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น โดยความรู้ที่ได้ต้องอยู่บนหลัก 2R’s
      • Reality ความรู้ที่มาจากความจริง
      • Relevance เป็นความรู้ที่ตรงประเด็น ตามความต้องการ
    3. ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ความสามารถในการคิด/ทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า 3 องค์ประกอบได้แก่
      • มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับความรู้
      • นำความคิดไปปฏิบัติจริง
      • ทำให้สำเร็จตามที่คิด การพัฒนาทุนทางนวัตกรรม ตามแนวทาง 3 C คือ
      • Customers ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งภายในและภายนอก
  • Change Management บริหารความเปลี่ยนแปลง
  • Command and Control ลดการสั่งการและควบคุม เน้นการมีส่วนร่วม และทำงานเป็นทีม
    1. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural capital) เพราะสังคมมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนา ประวัติศาสตร์ ที่แตกต่างกัน จึงต้องศึกษาและให้ความสำคัญในการให้บริการบนฐานวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
    2. ทุนทางอารมณ์ (Emotional capital) การควบคุม/บริหารอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่โกรธง่าย อ่อนไหว รู้จักใช้สติ/เหตุผล โดยใช้แนวทางของ
      • Courage ความกล้าหาญ
  • Caring ความเอื้ออาทร
  • Optimism การมองโลกในแง่ดี
  • Self Control การควบคุมตนเอง
  • Communication การติดต่อสื่อสารสร้างสัมพันธ์ที่ดี อ.จิระให้ความเห็นในเรื่องของอุปสรรคในการพัฒนาทุนมนุษย์
    1. หน่วยงานต่างๆขาดการทำงานแบบบูรณาการ
    2. นโยบายการศึกษา/ค่านิยมของคนในสังคม ไม่สอดรับกับการพัฒนาทุนมนุษย์
         สายอาชีพ
      
    3. คนไทยขาดอุปนิสัยใฝ่รู้ ทฤษฎี/แนวคิด ในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ : 4L’s 2R’s 2I’s 4L’s : L1 = Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี L2 = Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ L3 = Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้ L4 = Learning Communities สร้างชุมชนในการเรียนรู้ 2R’s : R1 = Reality เรียนรู้จากเรื่องจริง R2 = Relevance ตรงประเด็น เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ 2I’s I1 = Inspiration สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน I2 = Imagination ทำให้ผู้เรียนมีจินตนาการ นำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์
พูนศรี ว่องวิจิตรศิลป์

หนังสือ 8 K’s 5 K’s

ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

ดร.จีระกล่าวถึงการรวมตัวของ 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน จะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ร่วมกัน ซึ่งมีกำหนดเริ่ม ในวันที่ 1 ม.ค.58 ประเทศที่มีการเตรียมตัวดี จะได้ประสบการณ์จากการรวมตัวและสามารถแข่งขันได้ โดยการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital)

โจทย์ 4 ข้อ ของการพัฒนาทุนมนุษย์

1.Where are we ? 2.Where do we want to go ? 3.How to do it ? 4.How to do it successfully ?

              ทฤษฎี 8 K’s ประกอบด้วย

1.ทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งได้จากการเลี้ยงดู การศึกษา ฯลฯ 2.ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา 3.ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital) แนวทางของพระพุทธเจ้า คือ สมาธิ ศีล ปัญญา 4.ทุนทางความสุข (Happiness Capital) คุณภาพของงานจะออกมาดี ถ้ามีความสุข สุขภาพดี สภาพแวดล้อม เพื่อนร่วมงานดี 5.ทุนทางสังคม (Social Capital) การมีเครือข่าย (Networks) 6.ทุนทางความยั่งยืน (Sustainability Capital) ความพร้อมในการแข่งขันทั้งในระยะสั้น และระยะยาว 7.ทุนทางเทคโนโลยี (IT Digital Capital) สำหรับยุคข่าวสารไร้พรมแดน 8.ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติเชิงบวก (Talented Capital)

             ทฤษฎี 5 K’s เป็นการเสริมสร้างทุนมนุษย์ให้มีศักยภาพในการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี

1.ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital) 2.ทุนแห่งความรู้ (Knowledge Capital) 3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) 4.ทุนทางวัฒนธรรม (Culture Capital) 5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)

            การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 3 ทฤษฎี คือ 
   1.ทฤษฎี 4 L’s

L1 = Learning Methodology มีวิธีการเรียนที่ดี L2 = Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ L3 = Learning Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้ L4 = Learning Communities สร้างชุมชนในการเรียนรู้

   2.ทฤษฎี 2 R’s 

R1 = Reality การเรียนรู้จากเรื่องจริง R2 = Relevance การเรียนรู้ที่ตรงประเด็น และเชื่อมโยงกัน

  3.ทฤษฎี 2 I’s

I1 = Inspiration สร้างแรงบันดาลใจ I2 = Imagination ให้มีจินตนาการเพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์

   ที่ผ่านมาประเทศไทยผิดพลาดในการพัฒนาคน คือ เน้นสร้างคนเก่งแต่ไม่เน้นสร้างคนดี ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการคอร์รัปชั่น ควรปรับเปลี่ยนเป็นสร้างคนดีก่อน แล้วมาพัฒนาให้เป็นคนเก่ง เพื่อให้ทุนมนุษย์เราเป็นคนดี ไม่โลภ    ไม่เห็นแก่ตัว และมีความเก่ง ความพร้อมในการแข่งขัน เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือการเปิดเสรีอาเซียน

หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

เป็นหนังสือที่นำเสนอแนวคิดและทัศนคติด้านทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณ อิศรเสนา และดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ซึ่งเป็นนักบริหารและนักวิชาการ ซึ่งเป็นผู้ได้การยอมรับทั่วไป
เส้นทางชีวิตในการทำงานของทั้งสองท่านให้ความสำคัญกับหลักที่ว่า คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร การลงทุนพัฒนาคนต้องลงทุนให้ครบวงจร ต้องให้มีทั้งปัญญาควบคู่ไปกับจริยธรรม เพราะองค์กรต้องการทั้งคนเก่งและคนดี

•การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน ไม่ใช่ต้นทุน •ควรให้เด็กไทยคล่องแคล่วทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, เทคโนโลยี และมีคุณธรรม •CEO ต้องให้ความสำคัญกับ HR ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ •หลักการ 4 เก่ง คือ เก่งงาน, เก่งคน, เก่งคิด และเก่งเรียน •หลักการ 4 ดี คือ ประพฤติดี, มีน้ำใจ, ใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม •เชื่อในคุณค่าของคน ดูแลเอาใจใส่ และพัฒนาคนอย่างจริงจัง •การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเครือซีเมนต์ไทย ประกอบด้วย
1) สรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพ (คนดี-คนเก่ง) 2) ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญและลงมือพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง 3) ต้องเข้าใจว่าการฝึกอบรมพัฒนาไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่เป็นการลงทุน 4) ปลูกฝังให้พนักงานไม่หยุดหย่อนในการพัฒนาตนเอง •ระบบการเรียนของดรุน สิกขาลัย คือ 1) ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารโรงเรียนบนพื้นฐาน Learning Organization 2) สอนตามทฤษฎี Constructionism โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ 3) ให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน ความคล้ายคลึงของ ดร.จีระ และคุณพารณ คือ 1) ได้เข้าสู่งานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่าง บังเอิญ 2) ได้ยืนหยัดมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยปรัชญาแห่งความยั่งยืน 3) เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4) มีบุคลิกแบบ Global Man เป็นคนมีวิสัยทัศน์ 5) เป็นผู้ให้ความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด 6) มีความสุขกับการเป็นผู้ให้แก่สังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน

สรุป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ ดร.จีระ และคุณพารณ เป็นทฤษฎีที่ได้จากประสบการณ์ที่ผ่านการนำมาปฏิบัติจริงในองค์กรชั้นนำที่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง

หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ (คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย) หน้าที่ของคนไทย คือ ต้องทำตามสิ่งที่ พระเจ้าอยู่หัวทรง “ทำให้ดู”

หลักการทำงาน
  • ฉันทะ (การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ)
  • วิริยะ (ความมุ่งมั่น เพียรพยายามในการทำงาน)
  • จิตตะ (ความจดจ่อใส่ใจในงาน)
  • วิมังสา (คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ/ตรวจสอบ) หลัก 23 ข้อในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว
  • จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
  • ระเบิดจากภายใน สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำมิใช่สั่งให้ทำ
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก ๆ มองภาพรวม
  • ทำตามลำดับขั้น เริ่มจากความจำเป็นก่อน
  • ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์
  • ทำงานแบบองค์รวม โดยความคิดเชื่อมโยง
  • ไม่ติดตำรา
  • ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
  • ทำให้ง่าย
  • การมีส่วนร่วม
  • ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม
  • บริการจุดเดียว
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • ใช้ธรรมปราบอธรรม
  • ปลูกป่าในใจคน ปลูกที่จิตสำนึกก่อน
  • ขาดทุนคือกำไร บางครั้งเราได้กำไรจากการขาดทุน
  • การพึ่งตนเอง
  • พออยู่พอกิน
  • เศรษฐกิจพอเพียง
  • ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน
  • ทำงานอย่างมีความสุข
  • ความเพียร
  • รู้ รัก สามัคคี
     นอกจากนั้นยังมีแนวคิด
    
  • ทำด้วยใจ ทำทุกอย่างด้วยใจบริสุทธิ์
  • รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ
  • หมั่นรักษาความเป็นกลางของหัวใจ
       การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องหาความสมดุลของสมรรถนะ 4 ด้าน
    
    1. ด้านร่างกาย
    2. ความรู้สึก
    3. สติปัญญา
    4. จิตวิญญาณ มโนสำนึก คุณสมบัติของกัลยาณมิตรและผู้นำทางปัญญา 7 ประการ คือ
    5. น่ารัก
    6. น่าเคารพ
    7. น่ายกย่อง
    8. ไม่แนะนำเรื่องอันไม่ควร
    9. มีวาทศิลป์
    10. มีความอดทนต่อถ้อยคำ
    11. ทำเรื่องยากให้ง่าย ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัว 2 ประการ คือ ธรรมชาติ และธรรมดา ทศพิธราชธรรม
    12. เป็นผู้ให้
    13. เป็นผู้มีจริยวัตรงดงาม
    14. เป็นนักเสียสละ
    15. เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต
    16. เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
    17. เป็นผู้มีความเพียร
    18. เป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ
    19. เป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรง
    20. เป็นผู้เปี่ยมด้วยขันติธรรม
    21. อยู่ในครรลองของนิติธรรม เนติธรรม และราชธรรมอย่างเคร่งครัด กล่าวโดยสรุปหนังสือธรรมดีที่พ่อทำ กล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นต้นแบบแห่งความดี เป็นแนวทางแห่งการดำรงชีวิตของคนไทย หากปฏิบัติตามสังคมไทยจะมีความสงบสุขและสันติ มีความพอเพียง และมั่นคงอย่างยั่งยืน
ชัญญา ฉินทกานันท์

ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร การทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาคนเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ คน คือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร หากได้รับการดูแล เอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพโดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และเป็นระบบ เรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้ ผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอน และพี่เลี้ยง พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้ และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้มีการศึกษา และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

               คนที่สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ จะต้องทั้งเก่ง ทั้งดี มิใช่เก่งอย่างเดียว  เพราะอาจใช้ความเก่งไปในทางที่ไม่ถูก หรือดีอย่างเดียว อาจไม่ทันคนอื่น 
               คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา  อดีตผู้บริหารบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นต้นแบบใน  4  เรื่อง 
               เรื่องที่ 1  คนเก่ง คนดี  (เก่ง 4  ดี 4)
                           เก่ง 4  -  เก่งงาน      -  เก่งคน      -  เก่งคิด         -  เก่งเรียน
                           ดี 4    -  ประพฤติดี   -  มีน้ำใจ     -  ใฝ่ความรู้       -  คู่คุณธรรม
               คนเก่งคนดีแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ผู้บริหารควรทำเป็นตัวอย่าง รวมทั้งมีการประเมินโดยจะเรียกว่า Capability สำหรับคนเก่ง  และ Acceptability สำหรับคนดี  ซึ่งในการ Promote พนักงานจะดูผลการประเมินทั้ง 2 ตัว  ในเรื่องของ Capability สามารถเพิ่มเติมได้ด้วยการฝึกอบรม ส่วน Acceptability นั้น พนักงานต้องสร้างสมขึ้นมาเอง 
               เรื่องที่ 2 คุณค่าของคน คนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุด ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุด การลงทุนด้านคนมิใช่เงินอย่างเดียวต้องมีวิธีการด้วย โดยกำหนดเป็นนโยบายขององค์กร ซึ่งพนักงานจะต้องปฏิบัติตาม การฝึกอบรมถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน ทุกคนต้องมีวินัย ตรงต่อเวลา จะเดินเข้าเดินออก ไปเข้าสัมมนาแล้วหายไปไม่ได้          
               เรื่องที่ 3 คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย นอกจากค่าจ้างและสวัสดิการแล้วยังต้องมีน้ำใจ เช่น การดูแลที่ดีต่อกัน รับฟังความคิดเห็น รับฟังความรู้สึก พบปะพนักงานระดับล่าง เพื่อแจ้งนโยบายองค์กร และรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ ชมเชยผู้ที่ปฎิบัติดี เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ  สร้างจุดร่วม สร้างศรัทธาให้เกิดซึ่งกันและกัน จุดร่วมนี้สำคัญ ถ้าเรารู้สึกว่าผู้บริหารเป็นคนดี นำทางไปในทางที่ดี เรายินดีจะทุ่มเทให้ไม่ได้ทำเพื่อเงินทองแต่ทำเพื่อให้เกิดความรุ่งเรืองต่อองค์กร คล้ายๆ

ธรรมาภิบาล อะไรที่ทำไปแล้วรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของความดีนั้น และไม่อยากให้การกระทำของเราทำให้องค์ประกอบขององค์กรที่ดีอยู่แล้วถูกทำลายลง สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความเป็นมิตร เป็นทีมเวิร์ค และทำแล้วมีความสุข

               เรื่องที่ 4 การทำงานเป็นทีม จะเกิดจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของเพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 
               นอกจากนี้แล้ววัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนสำคัญ วัฒนธรรมองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
  • ต้องสร้างขึ้นมาเอง ความจงรักภักดีถือเป็นประเด็นใหญ่ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรด้านการพัฒนาคน ความ ซื่อสัตย์ก็เป็นจุดสำคัญของการทำธุรกิจเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารควรจะทำเป็นตัวอย่างและจะต้องปลูกฝังให้กลายเป็นวัฒนธรรม
               โลกมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งการเมือง  สังคมเศรษฐกิจ  และเทคโนโลยี  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์
    
    เป็นคนตามทันทุกสิ่ง และทฤษฎี 3 วงกลมของ ดร.จีระฯ เป็นสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Management
               วงกลมที่ 1  เรื่อง Context  คือบริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  พูดถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน  การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสม  คล่องตัว  เป็นการทำงานแบบ  Process การใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ 
               วงกลมที่ 2  เรื่อง  Competencies  คือ สมรรถนะ หรือทักษะความสามารถของบุคคลในองค์กร  ซึ่งหมายถึงการพัฒนาสมรรถนะในด้านต่างๆ แก่บุคลากรในองค์กรให้มีความพร้อมที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่  Competencies  ที่สำคัญในการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย  5  เรื่องสำคัญ
    
  • Functional Competency คือ ทักษะหรือความรู้ที่ต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงาน เช่น วิศวกรต้องฝึกเรื่องช่าง บัญชีต้องฝึกเรื่องบัญชี
  • Organizational Competency คือ ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร เช่น Reengineering, การปรับองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, การทำงานเป็นทีม การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • Leadership Competency คือ ภาวะผู้นำ ซึ่งจะต้องเน้นเรื่องการสร้างวิสัยทัศน์, ความสามารถในการบริหารจัดการคน และการสร้างศรัทธา
  • Entrepreneurial Competency คือ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความคิดในเชิงบริหาร กล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลว และบริหารความเสี่ยงได้
  • Macro and Global Competency คือ ความรู้รอบตัว มองภาพใหญ่ของการทำงานใน อนาคตได้ รู้ทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมากระทบกับตัวเรากับการทำงานทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก สามารถแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ได้
                 วงกลมที่ 3  เรื่อง  Motivation  คือการสร้างแรงจูงใจ  ทำในรูปแบบที่เป็นตัวเงิน  และไม่เป็นตัวเงิน  ที่เป็นตัวเงินเช่น  การขึ้นเงินเดือน  การให้โบนัส  การให้สวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ  ที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การยกย่องให้เกียรติ  การชมเชย  การมอบหมายงานที่ท้าทาย  การมีส่วนร่วม  การมีความโปร่งใส  การทำงานเป็นทีม
                  เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารเข้าถึงปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า “คน” ถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร  ย่อมหมายความว่าผู้นำขององค์กรนั้น มีความเชื่อ และศรัทธาในเรื่องคน และพร้อมจะกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจังไว้เป็นปรัชญาขององค์กร 
                 ยังมีประเด็นที่เชื่อว่าเป็นโจทย์ข้อใหญ่สำหรับผู้นำองค์กร นั่นคือ การสร้างความจงรักภักดี  ปัญหาคือ เราจะมีวิธีบริหารความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นด้วยวิธีไหนภายใต้เงื่อนไขว่า ทั้งองค์กร และพนักงานอยู่ในฐานะ “ผู้ชนะ” ทั้ง 2 ฝ่าย  
                 ความจงรักภักดีขึ้นอยู่กับตัวผู้นำด้วยว่า มีความเข้าใจเรื่อง HR ดีแค่ไหน เพราะคำว่า HR  ต้องลงลึกถึงการเข้าใจจิตวิญญาณของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย  ไม่ใช่แค่เรื่องการให้เงินเดือน หรือโบนัส  แท้จริงแล้วเรื่องของ Loyalty  กลายมาเป็นเรื่องเดียวกับทรัพย์สินทางปัญญา  การไหลออกของคนเก่งย่อมเท่ากับการสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรไปด้วย  ผู้นำองค์การบางคนไม่แน่ใจว่าจะจัดการกับปัญหาประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร  ในเมื่อได้ลงทุนกับพนักงานอย่างเต็มที่แล้ว  แต่วันหนึ่งพนักงานเหล่านั้นกลับลาออกไป  การรักษาบุคลากรเอาไว้ให้อยู่กับองค์กรนั้น  ผู้นำจะต้องสร้างความผูกพันในองค์กรให้เกิดขึ้น  ต้องทำให้พนักงานเกิดความรักในองค์กร  ต้องมีระบบการดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ต้น  ต้องมีผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี  ต้องมีการปกครองที่มีความเป็นธรรม  ให้ความรัก และให้ความสำคัญกับลูกน้องให้มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร ทำงานร่วมกันเป็นทีม  เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้นำจะทำคนเดียวหรือมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กรไม่ได้  แต่ทั้งองคาพยพขององค์กรจะต้องขับเคลื่อนเพื่อปลูกฝังเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กัน
    
ชัญญา ฉินทกานันท์

ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

              ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับผลกระทบจากการเปิดเสรีต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ จำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น และปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน คือการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุนมนุษย์ เพราะเป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน  ซึ่ง ศ.ดร.จีระฯ ได้นำเสนอแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรที่มีคุณภาพ ผนวกกับแนวคิดทฤษฎี 5K’s เพิ่มเติม เรียกว่าทุนใหม่ ซึ่งจะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพเพียงพอ สามารถยืนหยัดแข่งขันได้ในทุกเวที ไม่ว่าจะเป็นเวทีอาเซียนเสรี หรือเวทีโลก 
               ทฤษฎี 8 K’s ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยทุนพื้นฐาน  ดังนี้
               K1 ทุนมนุษย์ การเรียนรู้ในระบบการศึกษาแบบทางการ รวมทั้งการลงทุนในเรื่องโภชนาการ หรือการฝึกอบรมนั้น เป็นการสร้างทุนมนุษย์ขั้นแรกเรียกว่า ทุนมนุษย์
               K2 ทุนทางปัญญา คือ การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต  เพราะความสามารถของมนุษย์ในการคิด วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออก  การปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างทุนทางปัญญาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ สำหรับประเทศไทย กับสังคมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
               K3  ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม  การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่มีความรู้ ทักษะ และมีปัญญาเท่านั้น  แต่ต้องเป็นคนดี  คิดดี  ทำดี  เพื่อส่วนรวม  มีจิตสาธารณะ
               K4 ทุนแห่งความสุข คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ
               K5 ทุนทางสังคม หรือเครือข่าย เป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ วิธีการที่จะช่วยให้เรามีทุนทางสังคมหรือเครือข่าย คือ                -         คบหาสมาคมกับคนหลาย ๆ กลุ่ม
  •   เปิดโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้ และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
    
  •   มีบุคลิกเข้ากับคนง่าย
    
  •   ศึกษาบุคคลที่เราอยากรู้จัก จุดอ่อน จุดแข็ง วิถีชีวิต
    
  •   มีการติดตามการสร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด
    
  •   ทำงานเป็นทีม
    
  •   มีทัศนคติเป็นบวก
    
  •   เข้าใจความหลากหลายในความคิด และวิถีชีวิตต่าง ๆ
               K6 ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นแนวคิดใหม่มากคล้ายๆ ทุนแห่งความสุข คือการที่ตัวเราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ คุณสมบัติของทุนแห่งความยั่งยืนคือ ต้องมองให้ออกว่า สิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร และที่สำคัญต้องไม่ขัดแย้ง หรือสร้างปัญหาในระยะยาว
               K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้
               K8 ทุนอัจฉริยะ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ การพัฒนาทุนอัจฉริยะที่ได้ผลจะต้องพัฒนาภาวะผู้นำด้วย 
               นอกจาก 8 K’s   ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อคุณภาพของทุนมนุษย์แล้ว ถ้ามองไปไกลถึงการสร้างความสามารถเพื่อการแข่งขันในโลกไร้พรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นต้นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพในสังคมประชาคมอาเซียน เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนใหม่อีก 5 ประการ หรือทฤษฎี 5 K’s 
               ทฤษฎี 5 K’s ทฤษฎีที่ทรัพยากรมนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ต้องตระหนักถึงทุนสำคัญเพิ่มขึ้นอีก 5 เรื่อง ประกอบด้วย
               5 K’s (1)  ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  พลังแห่งจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เราสามารถสร้างผลงานต่าง ๆ ได้มากมาย  ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  สามารถสร้างได้ ที่สำคัญต้องพยายามฝึกคิดนอกกรอบ  โดย วิธีการเรียนรู้ : ฝึกให้รู้จักคิดป็น วิเคราะห์เป็น  และเรียนรู้ข้ามศาสตร์  ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ  ต้องคิดเป็นระบบ  และต้องอยากทำสิ่งใหม่เสมอ    
               5 K’s (2)  ทุนทางความรู้  ในยุคเศรษฐกิจ ฐานความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร มีความสำคัญ และความรู้ที่เรามีจะต้องสด ทันสมัย แม่นยำ ข้ามศาสตร์ 
               5 K’s (3) ทุนทางนวัตกรรม ความสามารถทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า นวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่องคือ 1. มีความคิดใหม่  ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้  2. นำความคิดไปปฏิบัติจริง  3. ทำให้สำเร็จ    
               5 K’s (4) ทุนทางวัฒนธรรม การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ การมีทุนทางวัฒนธรรมจะทำให้คนไทยทุกระดับอยู่ในสังคมประชาคมอาเซียนและสังคมโลกได้อย่างสง่างาม 
               5 K’s (5) ทุนทางอารมณ์ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์  ทุนทางอารมณ์รวมไปถึงภาวะผู้นำ มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง  แนวทางที่ดีในการสร้างทุนทางอารมณ์ คือ ความกล้าหาญ  ความเอื้ออาทร  การมองโลกในแง่ดี  การควบคุมตนเอง  การติดต่อสัมพันธ์
     อุปสรรคของการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์
               1.  หน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ขาดการทำงานแบบบูรณาการ ต่างคนต่างทำ ซ้ำซ้อน  ไม่ได้เน้นคุณภาพเท่าที่ควร  เกิดปัญหาที่สำคัญมากคือ คุณภาพของบัณฑิตที่จบมาในวันนี้ ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และขาดแคลนแรงงานในบางธุรกิจ บางสาขา หรือคุณภาพของแรงงานมีมาตรฐานไม่เพียงพอ
               การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ และพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558  นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง และควรต้องกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
               2.  นโยบายการศึกษาและค่านิยมของคนในสังคมกับการสร้างคุณภาพทุนมนุษย์สายอาชีพ
               ในยุคเปิดเสรีอาเซียน ความต้องการแรงงานในสายวิชาชีพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ  ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาสายอาชีวศึกษาเป็นสิ่งที่จำเป็น
               3.  เอาชนะอุปนิสัยที่ไม่ใฝ่รู้ของคนไทย  จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของสังคมไทยคือ คนไทยไม่ใฝ่รู้  
               แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้มี  3  ทฤษฎีที่สำคัญ
               ทฤษฎีแรก “ทฤษฎี 4 L’s” เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
               L 1  Learning  Methodology  คือมีวิธีการเรียนรู้ที่ดี  เน้นความทันสมัยทั้งเนื้อหา  หลักสูตร  การวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  การวิเคราะห์กรณีศึกษา
               L 2  Learning  Environment  คือสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้  โดยเน้นปรัชญาการศึกษาแบบ  Coaching,  Facilitator และ  Mentoring
               L 3  Learning  Opportunities  คือการสร้างโอกาสในการเรียนรู้
               L 4  Learning  Communities  คือการสร้างชุมชนในการเรียนรู้ 
               ทฤษฎีที่ 2 “ทฤษฎี 2 R’s”  เพื่อการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหา
               R 1  Reality  เรียนรู้จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น
               R 2  Relevance  จะต้องตรงประเด็น  หรือเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตัวเรา 
               ทฤษฎีที่ 3 “ทฤษฎี 2 I’s”  เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน
               I 1  Inspiration  หมายถึง  การเรียนรู้จะต้องจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดพลัง เกิดความกระหายความรู้
               I 2  Imagination  หมายถึง การเรียนรู้จะต้องมีจินตนาการนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
    การทำงานย่อมมีสำเร็จและล้มเหลวซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ จงทบทวนเรื่องราวต่างๆ ผ่านความสงบ/สมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดปัญญา และเป็นที่มาของทฤษฎี 3 L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ
    L 1  Learning from pain  การเรียนรู้จากความเจ็บปวดล้มเหลว
    L 2  Learning from experience  การเรียนรู้จากประสบการณ์
    L 3  Learning from listening  การเรียนรู้จากการฟังคนอื่น
    นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ทฤษฎีที่ล้วนมีคุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ทฤษฎี C & E และทฤษฎี HRDS  ดังนี้
    
    ทฤษฎี C & E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน
    Engaging  การมีส่วนร่วม
    
    ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและการทำงานอย่างมีความสุข คือ
    Happiness  การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม
    Respect  การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
    Dignity  การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
    Sustainability  ความยั่งยืน (เป้าหมายระยะยาว)
      การทำงานเรื่องทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี 8 K’s   ทฤษฎี 5 K’s (ใหม่) และอีกหลายทฤษฎีที่มีคุณค่าให้ประสบความสำเร็จ ต้องนำทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง มาบูรณาการใช้กระตุ้นให้ผู้บริหารเกิดการเรียนรู้ คิดนอกกรอบ และขับเคลื่อนการพัฒนาการเตรียมความพร้อม ทั้งในการดำรงชีวิต และในการทำงานเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป  
    
ลาวัลย์ มณีสุธรรม

อาจารย์จีระ คะ

  ขอส่งการบ้าน เรื่อง การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ ส่งช้าหน่อยอาจารย์ OK นะคะ เพราะงานเยอะมากเลยค่ะ ทำเพื่อองค์กรค่ะ เหนื่อยก็ยอม

การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

นวัตกรรม (Innovation) ของเอดิสันน่าสนใจ และเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เอดิสันเน้นเสมอว่า…นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ที่ทำให้ชีวิตคนเราง่ายขึ้นและดีกว่าเดิม…นวัตกรรมต้องสามารถผลิตขึ้นได้ ใช้งานได้ เป็นที่ต้องการของตลาด และสร้างรายได้ให้คนที่คิดนวัตกรรมนั้นด้วย

    อาจารย์จีระ ให้ความเห็นไว้ว่า นวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ 1 มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ และนำมาผสมผสานความรู้
 2 นำความคิดไปปฎิบัติจริง
 3 ทำให้สำเร็จ

การเคหะแห่งชาติ จะพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนได้ จะต้องมีการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับคน การสร้างหรือพัฒนาทุนทางปัญญา ต้องทำให้การเคหะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์กรโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์กร และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์กร เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน การมีองค์กรแห่งการเรียนรู้นี้จะทำให้องค์กรและบุคลากร มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล โดยมีการเชื่อมโยงรูปแบบของการทำงานเป็นทีม สร้างกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลง เปิดโอกาสให้ทีมทำงานและมีการให้อำนาจในการตัดสินใจ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการคิดริเริ่ม ซึ่งจะทำให้เกิดองค์กรที่เข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาวะการแข่งขัน Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์กรอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์กรมีดังนี้

  1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ

  2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

  3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์กร เป็นความมุ่งหวังขององค์กรที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์กรที่ดี คือ กลุ่มมผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์กรต้องเป็นภาพบวกต่อองค์กร

  4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์กรควรมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์กรทุกระดับ

  5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

    องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ (Learning Base) โดยมีกระบวนการ ดังนี้

  6. กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ คือ 1.1 กลยุทธ์ชี้นำ (Surge Strategy) โดยคณะผู้บริหารระดับสูงร่วมรับผิดชอบและสนับสนุน 1.2 กลยุทธ์ปลูกฝัง(Cultivate Strategy) โดยให้คณะทำงานในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ 1.3 กลยุทธ์ปฏิรูป (Transform Strategy) โดยคณะทำงานพิเศษจากทุก ๆ หน่วยงานในองค์การมาร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ

  7. กำหนดแผนงานให้ชัดเจน ดังนี้ 2.1 ปรับโครงสร้างในการบริหารให้เป็นการทำงานแบบทีม 2.2 จัดทำแผนทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับโครงสร้างในการบริหารงานให้มีลักษณะเป็นการทำงานเป็นทีม โดยวางแผนพัฒนาองค์ความรู้ โดยการฝึกอบรม และพัฒนาประสบการณ์พร้อมทักษะจากการเรียนรู้ในที่ทำงาน 2.3 จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการฝึกอบรม และการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ เช่น ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น

  8. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับรู้กลไกของการพัฒนาและผลกระทบทุก ๆ ด้านที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

  9. พัฒนาพื้นฐานสำคัญขององค์กรเรียนรู้ดังนี้ 4.1 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery) เพื่อให้เก่งในทุก ๆ ด้าน เก่งในการเรียนรู้ เก่งคิด เก่งทำ มีไหวพริบปฏิภาณ มีความเพียรพยายามตั้งแต่เยาว์วัยและใฝ่รู้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based) ที่ต้องมีการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต โดยมีการคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ • การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) ซึ่งได้แก่ความคาดหวังของแต่ละคนที่ต้องการจะให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในชีวิตของตน • มุ่งมั่นสร้างสรรค์ (Creative Tension) มีความขยัน ใฝ่ดี มีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา • ใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจ เพื่อให้มีระบบคิด และการตัดสินใจที่ดี • ฝึกใช้จิตใต้สำนึก (Subconcious) สั่งงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ และได้ผลงานที่ดี 4.2 รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental Model) ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ได้สะสมมาตั้งแต่เด็กกับพื้นฐานของวุฒิภาวะทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล ทำให้ความคิดและความเข้าใจของแต่ละคนแตกต่างกัน และหากปล่อยให้ต่างคนต่างคิดจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เพราะมีการยึดติด กับรูปแบบและวิธีการที่ตนเองคุ้นเคย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว 4.3 การสร้างและสานวิสัยทัศน์ (Share Value) ให้ทุกคนได้รู้ได้เข้าใจ จะได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยมีการนำวิสัยทัศน์ที่ได้สร้างขึ้นมาเป็นเป้าหมายของการกำหนดแผนกลยุทธ์ เพื่อสานให้วิสัยทัศน์เป็นจริงด้วยแผนการปฏิบัติต่อไป

    4.4 การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learn) เป็นการเน้นการทำงานเป็นทีมโดยให้ทุกคนในทีมงานใช้วิจารณญาณร่วมกันตลอดเวลาว่า กำลังทำงานอะไร จะทำให้ดีขึ้นอย่างไร เป็นการเรียนรู้ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลสามัคคี ขยันคิด ขยันเรียนรู้ และขยันทำด้วยความเชื่อว่าการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะช่วยเสริมสร้างอัจฉริยะภาพของทีมงาน 4.5 ความคิดความเข้าใจเชิงระบบ (System Thinking) เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจชัดเจนถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ทำให้มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นภาพรวม จะได้สามารถเผชิญกับภาวะวิกฤติ และการแข่งขันได้

  10. พัฒนาพนักงานในระดับผู้นำองค์กร ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าโครงการ หรือหัวหน้าทีมงาน ให้มีความเข้าใจบทบาทของผู้นำในองค์กรเรียนรู้จะได้มีการปฏิบัติให้มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่นในการปฏิบัติงานให้ราบรื่น

  11. มอบหมายพันธกิจ (Mision) และกระบวนงานต่าง ๆ แก่ทีมงานเพื่อให้สามารถบริหารและรับผิดชอบด้วยตัวเองได้ เป็นการเพิ่มอำนาจให้แก่พนักงาน จะได้เกิดความคล่องตัว

  12. สร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านการพัฒนา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา

  13. ทำการประเมินผล (Assessment) เพื่อปรับปรุงผลงานเสมอ

    การพิจารณารูปแบบการเรียนรู้ขององค์การ (Learning Orientation) นับเป็นขึ้นตอนที่สำคัญที่ต้องทำทันทีควบคู่กันไปกับการวินิจฉัยวัฒนธรรมองค์กร โดยองค์กรจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสมรรถภาพขององค์การ โดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ
    

    1.วิธีการหาความรู้ (Knowledge Source) 2.โฟกัสที่เนื้อหาหรือที่กระบวนการ (Content -process Focus) 3.การเก็บความรู้ (Knowledge Reserve) 4.วิธีการเผยแพร่ความรู้ (Dissemination Mode) 5.ขอบเขตการเรียนรู้ (Learning Scope) 6.Value Focus 7.Learn Focus รูปแบบการเรียนรู้เหล่านี้ไม่มีสูตรสำเร็จว่าอะไรคือรูปแบบที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ช่วยให้ทราบว่าองค์กรมีการเรียนรู้อย่างไร (How Organization Learn)

    การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้าง Learning Organization แนวทางหนึ่งที่นิยมใช้ คือ SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อดูว่าโครงสร้างองค์กรในปัจจุบันเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือไม่ แนวทางการพัฒนา Learning Organization คือการทำให้วิธีการเรียนรู้ที่องค์กรใช้อยู่มีความแข็งแกร่งจนคู่แข่งตามไม่ทัน กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

    1. เน้นการปรับปรุง Facilitating Factors ในกรณีที่วัฒนธรรมองค์กรและรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้เกิดความได้เปรียบในทางธุรกิจ
    2. เน้นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและรูปแบบการเรียนรู้ควบคู่กับการปรับปรุง Facilitating Factors ในกรณีที่วัฒนธรรมองค์กรและรูปแบบการเรียนรู้กลายเป็นจุดอ่อนขององค์กร

การปรับปรุง Facilitating Factors แบ่งเป็น 10 แนวทาง คือ 1.Scanning Imparative การกระตุ้นให้พนักงานองค์กรกระตือรือร้นเพื่อหาข้อมูลภายนอกองค์การ 2.Concern for Measurement การทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของผลต่างระหว่างระดับการปฏิบัติที่เป็นอยู่ 3.Performance Gap การทำให้ทุกคนตื่นตัวและเห็นความสำคัญของผลต่างระหว่างระดับการปฏิบัติที่เป็นอยู่ 4.Organization Curiousity การทำให้เกิดบรรยากาศในการทดลองความคิดใหม่ ๆ 5.Climate of Openness การทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เชื่อใจซึ่งกันและกัน 6.Contious Education การสนับสนุนให้เกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องในหมู่พนักงาน 7.Operational Variety การทำให้พนักงานยอมรับวิธีการทำงานใหม่ ๆ 8.Multiple Leadership การทำให้เกิดผู้สนับสนุนในการเรียนรู้ เริ่มจากผู้จัดการในแต่ละส่วนงาน 9.Innovation Leadership การให้ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของพนักงานเพื่อสนับสนุนในทุกกิจกรรม 10.System Perspective การทำให้มองเห็นภาพการทำงานของทุกหน่วยในองค์กรอย่างเป็นระบบ

นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิ.ย. (เช้า) : บทเรียนเพื่อพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

อ. ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

-Model ธุรกิจ ต้องเชื่อมโยงเหมือนรถที่มี 5 ล้อ คือ ล้อหลัง 2 ล้อคือ การตลาด และการผลิต ล้อหน้า 2 ล้อคือ ฝ่าย HR และการเงิน ล้อหลังสุดท้ายคือ Backup system รถ 5 ล้อบรรทุกผู้โดยสาร/พนักงานซึ่งผู้โดยสารจะต้องคอยบอกให้ข้อมูลต่างๆ เมื่อมีปัญหา ผู้โดยสารทำหน้าที่เสมือนลูกเรือ (Crew Member) มิใช้เป็น Passenger

ล้อที่ 1: การตลอดเราต้องสร้างแบรนด์ให้ลูกค้ามี Trust (ความศรัทธาต่อแบรนด์ กคช. จะต้องมี Show Case สร้าง House แต่คนซื้อ Home)

ล้อที่ 2: การผลิต สร้างสินค้า กคช.ชุมชนเล็กๆ ที่มีคนหลายชนชั้นมาร่วมกัน, แสวงหากัลยาณมิตรร่วมทำโครงการ, ทำให้การผลิตและการตลาดไปด้วยกัน

ล้อที่ 3: การเงิน ส่งพนักงานไปสอบ Certified ด้านการเงิน

ล้อที่ 4: HR. สร้างเวทีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ผู้นำมีบทบาทเปลี่ยนจากคำถาม who is wrong? เป็น What is wrong?

และร่วมกันแก้ไขปัญหา ทำให้ Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge โดย

-                    เล่าสู่กันฟัง Share

-                    สอน ปลอบ ศึกษาเมื่อทำความผิด

-                    ถอดบทเรียนจากคนรุ่นก่อนเป็น Information เกิดเป็น KM.

ล่อที่ 5: Backup System and Information ช่วยให้คนในองค์กรมีส่วนร่วม/มีความเป็นเจ้าของจะได้ช่วยกันรักษาองค์กร

-การทำงานของ กคช. จะต้องปรับให้ล้อทั้ง 5 มาประยุกต์ ทุกอย่างจะต้องไปด้วยกันเชื่อมโยงกัน

นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิ.ย. (บ่าย)

อ. ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

-ตัวอย่างเปลี่ยนองค์กรความรู้ใหม่ คือ หมู่บ้านแม่กำปอง ที่ได้รางวัลการท่องเที่ยว

-เมื่อก่อนเรา Make and Sales ปรับ Paradigm Shift to Sent and Response

- กคช. จะต้องเติมเต็มส่วนที่ขาด อาจจะให้คนอื่นเขา Outside in เพื่อให้รู้เรา และเปลี่ยน 1. Life Style 2. Technology 3. Brand Idea คือ Rebrand for Reborn

- หาจุดแข็งของ กคช. “ซื้อบ้านได้บ้าน”

                กคช. จะต้องทำ 3 อย่าง

  1. Product Development เฉพาะกลุ่มให้ Customized
  2. Marketing and Rebranding
  3. การกระจาย Product บ้านอย่างไร ให้เข้าถึงลูกค้า

-ฝากมุมมอง 5C .ให้องค์กร (มอง Benefit more than Margin)

                1. Connection

                2. Creation

                3. Communication

                4. Competitiveness

                5. Cluster ฝูงความเก่ง

-เลิกคิอ “Make it Better” คิด “Make it different”

-มอง Value มิใช้ Volume

 

นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันศุกร์ ที่ 22 มิถุนายน 2555 (ช่วงเช้า)   : งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

น.อ. ศิรัส ลิ้มเจริญ

 

                -อาจารย์เน้นการจัดทำงบประมาณองค์กร แบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงาน

                -งบประมาณต่างจากเงินเพระงบประมาณจะต้องมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าจะนำไป

ทำไม ต้องมีความจำเป็น ต้องนำไปใช้

                -การจัดทำงบประมาณจะต้องมีข้อมูลดี ครบถ้วน สมเหตุสมผล จึงจะมีโอกาสเจรจาต่อรอง

ได้

-ดร.พงศ์เทพ เสริมสรุปว่า การต่อรองหรือปกป้องงบประมาณที่เสนอของบประมาณเป็น+เรื่องที่ยาก และสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามหรือละเลย คือเอกสารประกอบคำของบประมาณ รวมทั้งองค์กรจะต้องมีแผนงบประมาณสำรองและงบกลางฉุกเฉินไว้ด้วย

 

               

************************

 

นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันที่ 22 มิถุนายน 2555 (ช่วงเช้า)  : การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

ดร.สุวรรณ  วลัยเสถียร

 

                -อาจารย์เน้นให้ความรู้เรื่องงบประมาณครัวเรือน เราควรแยกทรัพย์สินและดูแลทรัพย์สิน

เป็น 2 ประเภท คือ

                                1.ทรัพย์สินกลุ่มที่มีตัวตน เช่น บ้าน รถ ทรัพย์สิน เงิน ทอง เพชร

                                2.ทรัพย์สินกลุ่มไม่มีตัวตน เช่น หุ้น กองทุนประเภทต่างๆ

 

                -การดูแลเงิน/ทรัพย์สิน เราจะต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ แทบจะต้องทุกสัปดาห์ ดูว่า

สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เราจะต้องปรับเปลี่ยนประเภทการลงทุนอย่างไรให้เหมาะสม

กับสภาพแวดล้อมนั้น

 

-สิ่งที่น่าสนใจคือ เรื่องจิตวิทยาการลงทุน มีรูปแบบเปรียบเสมือน พฤติกรรมของสัตว์ต่างๆ คือ    

                -แบบกระทิง         :  เวลาขาขึ้นมีโอกาสทำกำไร ก็จะซื้อราคาถูกแต่ขายแพง

                -แบบหมี               :  แบบขาลงมีโอกาสทำกำไรจะขายตอนถูกแต่จะซื้อตอนถูกกว่า

                -แบบหมู               :  ไม่มีกำไร ตะกละ กินจุ

                -แบบกวาง            :  ไม่มีกำไร ขี้ขลาด

 

-บทเรียนของอาจารย์ปรับใช้กับการเลือกแบบการลงทุนของตัวเราและครอบครัว แต่ต้องพิจารณาโอกาสและความเสี่ยงประกอบ และใช้สอน/ให้คำแนะนำ/เตือน การลงทุนให้ลูกๆ ได้อย่างดี

               

************************

 

นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันที่ 22 มิถุนายน 2555 (ช่วงบ่าย)  : การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

ดร.สุรพงษ์ มาลี

 

- การบริหารความเสี่ยงของรัฐบาลจะ บริหารความเสี่ยงในเรื่อง

                - Risk จากภัยเทคโนโลยี

                                                - Risk จากภัยธรรมชาติ

                                                - Risk จากนโยบายและการดำเนินงาน

                - Key Success Factorsในการบริหารความเสี่ยงคือ Common Goals,     Communications,Commitment และ Co-ordination

                - กระบวนทัศน์ใหม่ ด้านการบริหารความเสี่ยง เป็นการบริหารแบบบูรณาการอย่าง

ต่อเนื่อง พิจารณาในมุมมองกว้าง และเน้นการบรรลุยุทธศาสตร์

- การบริหารความเสี่ยง เน้นการบริหาจัดการเพื่อให้องค์กร หน่วยงาน โครงการหรือกิจกรรมย่อยๆ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้

- การจัดการกับความเสี่ยงเพื่อให้ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ลดผลกระทบของความเสี่ยง และแสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

 

นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันที่ 22 มิถุนายน 2555 (ช่วงบ่าย)  : การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

 

                - การบริหารความเสี่ยงเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ดังนั้นเราจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ต้อง SMART คือ            

                                S : Specific          - เฉพาะเจาะจง

                                M : Measurable   - สามารถวัดได้

                                A : Acheivable    - สามารถบรรลุผลได้

                                R : Relervance    - มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายกลยุทธ์องค์กร

                                T : Timeness       - สามารถกำหนดระยะเวลาในการบรรลุผล

               

                - กระบวนการบริหารความเสี่ยง เป็นเทคนิคในการลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นและเทคนิคในการลดผลกระทบ

                - การบริหารความเสี่ยงของรัฐวิสาหกิจปีบัญชี 2555  กำหนดเกณฑ์การวัดแบบการผสมผสานระหว่างการวัดแบบระดับกับการวัดแบบเกณฑ์ย่อย ซึ่งพวกเราจะต้องร่วมมือกันบริหารความเสี่ยงโดย ปี 2554  การเคหะแห่งชาติผ่านเกณฑ์ระดับ 1-3 และจะต้องช่วยบริหารความเสี่ยงในคะแนนถ่วงน้ำหนัก ซึ่งเป็นเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิ.ย. (เช้า): ด้านการตลาด(การเงิน) วัฒนธรรม/องค์กร/การผลิต

อ.ไกรฤทธิ์, อ.จีระ และ คุณพิชญ์ภูรี

                - ประเด็นท้าทาย กคช.ให้ค้นหาวัฒนธรรมองค์กรเป็น Trap และ Gap

7ข้อ คือ 1) พิธีกรรม (Ritual) 2.การกระทำผลงาน เน้นกระบวนการหรือ Result or Outcome 3) Hero เป๋นอย่างไร

4) ทัศนคติในการแก้ปัญหา 5) ก๊วนพึ่งได้ (Cabals) 6) การสื่อสารภายในองค์กร 7) การตัดสินใจ

                - Technical Side

                                We+Manage+what(องค์กร) =Result

                                We+(New)Manage+(New)What=Result

                                (New)We+(New)Manage+(New)What=(New)Result

                -(New)We สร้างอะไร คำตอบสร้าง 3 อย่าง

                                1. Knowledge ใช้ Second Hand Knowledge เป็นองค์ความรู้เล่าสู่ฟังดี, ฟัง Internet Voice จับประสบการณ์ทั่ฝั่งข้างในออกมาให้เป็น Explicit Knowledge

                                2. Skills เราเรียนรู้จากความผิดผลาด เช่น เราได้บทเรียนอะไรจากากรสร้างบ้านแบบ Site and Services

                                3. Attitude

                - How to plan มีทั้งฝันและ Reality and Fact

                                1. Plan คิดล่องหน้าระวัง Trap  

2. Action ตาม Plan

3. Control สมัยนี้ไม่ใช้เป็นการกำกับดูแลแต่เป็น เข้าใจปัญหา เข้าถึงปัญหาและพัฒนาได้ ผู้ทำจะต้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้มิใช่ กำกับดูแล

อ.จีระ

                - การ Training งาน ไม่เท่ากับ Learning (We) สิ่งสำคัญคือ Intangible ที่อยู่ในตัวเรา เราต้องสร้างบรรยากาศการใฝ่รู้เป็นเรื่องสำคัญ คือ ยอมรับความล้มเหลว คือ

                1. Learning from Pain

                2. Learning from Experience

                3. Listening Well

- ไม่ว่าจะทำอะไรต้องตอบโจทย์ 4 ข้อ

1. Where are we?

2. Where do we want to go?

3. How to get there?

4. How to do it successfully? ซึ่งจะต้องมี Passion, Know yourself learn

 

 นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

 

วันที่ 29 มิ.ย. 55 (เช้า)

-ตลาดเงินตลาดทุน

-ตลาดทุน

-สถาบันการเงินประเภทต่างๆ

-Accounting Basic : Cash Accounting, Accrued Accounting

-Study Finance Statement อย่างง่ายๆ 3 อย่าง

                Balance Sheet, Income Statement and Cash Flow Statement

วิเคราะห์งบการเงิน การลงทุน แหล่งเงินทุนและผลตอบแทนการลงทุน

-Financial Management ทั้งส่วนบุคคลและของธุรกิจ/องค์กร

-Project Financing : โครงการหาแหล่งเงินทุน การพิจารณาการลงทุนและเครื่อ

มือในการตัดสินใจลงทุน(Decision Makeing )

-การเรียนรู้เป็นประโยชน์กับผู้ที่ไม่ใช่เป็นนักการเงิน นักบัญชี สามารถนำความรู้ในการอ่าน Financial  Reports ต่างๆได้เข้าใจมากขึ้น

 

 

 

นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันที่ 29 มิ.ย. 55

อ.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

-ถามตัวเรา

1. Leadership System?

2. สร้างกลยุทธ์อย่างไร

3. ความท้าทายจากภายในและภายนอก

4.ความได้เปรียบของเรา

5. ใครคือ Strategic Partner ของเรา

6. Key Competitor?

7. Deployment กลยุทธ์อย่างไร

8. Process การทำงาน

9. Data ขององค์กร

10. TQA: ผลประกอบการด้านการเงิน การนำกลยุธต์ถ่ายทอดอย่างไร Employee Engagement

อ.รุ่งโรจน์

-โครงการบ้านซื่อตรง เริ่มโดยโอกาสและจังหวะเวลา คือ โอกาสได้รับแหล่งเงินลงทุนและ Demand มีมาก โครงการต่อๆมา มีขนาดใหญ่และประสบความสำเร็จ โครงการบ้านซื่อตรงใช้กลยุทธ์ดึงสนามกอล์ฟ เอเบค และนิคมอุสาหกรรม

เข้ามาในที่ดินโครงการก่อน ทำให้ที่ดินเกิดมูลค่าเพิ่ม

นาง สุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ

วันที่ 30 มิ.ย. 2555

-ได้เรียน/ฝึกปฎิบัติการคิดแบบ Mind Map ซึ่งใช้สมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย

-การบริหารทุนมนุษย์ของ กฟภ.

                Man: Man Power Personal Resource Assets and Human Capital

                Intellectual Capital = competency*Commitment + (Contribution)

                Competency: Training, Site Visit and Meeting

                Commitment: Understanding, Take Care and Engage.

               

22 มิถุนายน 2555

วันนี้ผมได้รู้จักปัญหาการทำงานของคนไทย ส่วนใหญ่มักจะเลี่ยงปัญหาและไม่ชอบเผชิญหน้า ไม่ยอมตัดสินใจ ไม่ตรงต่อเวลา มีข้ออ้างบ่อย ชอบรับคำสั่งมากกว่าจะคิดริเริ่ม ให้ความสำคัญกับบุคคลมากกว่าหน้าที่และความรับผิดชอบ ไม่ให้ความสำคัญกับการวางแผน ไม่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่แสดงความเป็นผู้นำ ชอบฟังคำสั่งจากส่วนกลาง ฟังแล้วเศร้าใจ พนักงาน กคช. เป็นอย่างนี้รึเปล่า? ช่วยบอกหน่อย

นายหัสดิน ไกรเพ็ชร์

28 มิถุนายน 2555

วันนี้เราเริ่มตั้งคำถาม "ความเป็นเลิศมีอยู่จริงใน กคช. หรือ แต่ทำไมเรามองไม่เห็น?" หรือวัฒนธรรมองค์กร กคช. ที่ถูกสอนให้ท่องจำ ไม่เป็นความจริง แต่เราพยายามจะสร้างให้เป็นจริง? กับความจริงที่ตกทอดกันมา 40 ปี คือพฤติกรรมที่เราทำอะไรที่บอกว่าเราเป็นพวกเดียวกัน ว่าเราเลือกวิธีที่ถูกทำหรือเลือกวิธีที่ทำถูก

นายหัสดิน ไกรเพ็ชร์

29 มิถุนายน 2555

วันนี้มีคนมาเล่าให้ผมฟังว่า "การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มืออาชีพเขาทำกันอย่างไร"  เริ่มต้นที่ นักล่าของถูก เน้นซื้อมาขายไปใช้ระยะเวลาลงทุนไม่มาก คือซื้อต่ำกว่าราคาตลาด 20% ไว้ก่อนเช่น บ้านเก่า บ้านมือสอง ซื้อมาจากผู้ร้อนเงิน หรือหลุดขายฝาก สร้างค่าอสังหาริมทรัพย์ ซื้อบ้านเก่ามาปรับปรุงใหม่ ให้เกิดการเพิ่มค่าขึ้นในสายตาของคนทั่วไป ซื้อมาแล้วปล่อยเช่า คือทำเงินได้ 2 ช่องทาง ทางแรกเป็นผลตอบแทนจากค่าเช่าในระว่างถือครอง ทางสองมีโอกาสทำกำไรจากการเพิ่มค่าเมื่อถือครองไปนานๆ ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ทำเงินได้ ก็ต้องเตือนกันไว้ การลงทุนมีความเสี่ยงเสมอครับ

นายหัสดิน ไกรเพ็ชร์

30 มิถุนายน 2555

วันนี้เราถูกสอนให้เรียนรู้แบบทำงานข้ามสายงาน รู้ปฏิบัติสายงานเราอย่างเดียวไม่พอ ต้องฝึกอบรมบ่มนิสัยให้ตัวเองเพิ่มขึ้น และนำมาใช้ทบทวนและสังเคราะห์ให้ตัวเราต้องใช้สมองให้มากขึ้น ใช้ 1% ไม่ได้ต้องใช้ 100% ทั้งหมดทั้งสองซีก ซ้าย-ขวา เพราะเราจะได้รู้ใจ เข้าใจ ใส่ใจ เอาใจ จึงจะได้ใจ ถ้าไม่ได้ต้องทำใจและตัดใจเสีย และเราได้เรียนรู้อีกว่า การเรียนรู้แบบต่างๆที่ทำกันอยู่ในทุกวันนี้ได้ผลอย่างไร
  1. สอนตัวต่อตัว ได้ผล 90%
  2. สอนแบบให้ลงมือปฏิบัติ ได้ผล 70%
  3. แบ่งกลุ่มเรียนรู้ ได้ผล 50%
  4. สาธิตให้ดู ได้ผล 30%
  5. ใช้สื่อต่างๆ ได้ผล 20%
  6. อ่านเอง ได้ผล 10% 7.บรรยาย ได้ผล 5% เราเลือกที่จะเข้ารับการเรียนรู้แบบไหนเลือกเองนะครับ

นายหัสดิน ไกรเพ็ชร์

หนังสือ 8K'S+5K'S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

             เป็นหนังสือที่เตรียมคนไทย ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และประเทศชาติให้มีความพร้อมที่จะก้าวอย่างเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี ด้วย HR ARCHITECTURE
 มองเรื่อง HR ทั้งในระดับ MACRO และ MICRO ทฤษฎี"ทุนมนุษย์ 8K'S และ 5K'S  (ใหม่)" , ทฤษฎี"3 วงกลม" เพื่อการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ทฤษฎี"HRDS", ทฤษฎีเพื่อสร้างวัฒนธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้ 4L'S, 2R'S, 2I'S, ความสำเร็จของงาน HR มาจาก CEO+SMART HR+NON-HR, HR EXECUTION ควรอ่านให้ครบ 3 จบอย่างน้อย

นายหัสดิน ไกรเพ็ชร์

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

      เป็นหนังสือของสองผู้ยิ่งใหญ่ และถือได้ว่าเป็น "ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้" ของไทยและของโลกก็ว่าได้ เป็นคัมภีร์ของคนพันธ์แท้และเป็นจักรวาลแห่งการเรียนรู้อันแท้จริง คนถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นขบวนการตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งได้ตายจากไป เหมาะสำหรับบุคคลในองค์กร CEO และผู้นำประเทศชาติควรอ่านอย่างยิ่ง

หัสดิน ไกรเพ็ชร์

หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ หนังสือเล่มนี้อ่านเถอะครับแล้วเราจะรู้ว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงรักคนไทยมากที่สุด และเราไม่เสียชาติเกิดแน่เพราะเราเกิดมาบนแผ่นดินรัชกาลที่ 9

นายหัสดิน ไกรเพ็ชร์

9 กรกฎาคม 2555

บทความทางวิชาการ เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา การเคหะแห่งชาติ
การบริหารจัดการชุมชนถือเป็นภารกิจอย่างหนึ่งของ กคช. ที่ควบคู่ไปกับการสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนได้ซื้อเป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง การบริหารและการจัดการชุมชน คงเป็นไปตามสภาพชุมชนและอาคารที่อยู่อาศัย เช่น อาคารสูง(อาคารชุด) อาคารแนวราบ( บ้านจัดสรรทั่วไป  บ้านชั้นเดียว บ้านสองชั้น หรือบ้าน 3 ชั้นขึ้นไปเช่น ทาวน์เฮาส์ ไม่ว่าจะเป็นอาคารชุดหรืออาคารแนวราบ ก็มีการบริหารและการจัดการชุมชนตามที่กฎหมายกำหนด เช่น อาคารชุดต้องจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุดขึ้นมาบริหารจัดการ บ้านจัดสรร (แนวราบ)ต้องมีการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร ขึ้นมาดูแลบริหารจัดการทั้งสิ้น สำหรับบ้านแนวราบที่การเคหะแห่งชาติจัดสร้าง ต้องจัดตั้งนิติบุคคลเคหะชุมชนการเคหะแห่งชาติมาบริหารจัดการ ภายใต้ พรบ. การเคหะแห่งชาติ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าที่อยู่อาศัยแบบใดก็มีกฎหมายการบริหารจัดการชุมชนเข้าเกี่ยวข้องทั้งสิ้น การเคหะแห่งชาติในฐานะหน่วยงานหลักของประเทศที่มี 2 บทบาทคือสร้างที่อยู่อาศัยและบริหารจัดการชุมชน ควรพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชน เป็นวิชาชีพที่ต้องได้รับใบอนุญาตเช่นเดียวกับ วิศวกร สถาปนิก เภสัชกร ทนายความฯ โดยกำหนดให้การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยที่ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ บริหารจัดการชุมชน ภาใต้ พรบ.การเคหะแห่งชาติที่กำหนดเงื่อนไข คุณสมบัติ เช่น การศึกษา อายุ หลักสูตรการอบรมและการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ นักบริหารและจัดการชุมชน เพื่อเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการชุมชน โดยการมีส่วนรวมของผู้อยู่อาศัยในชุมชนนั้นๆซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติอีกรูปแบบหนึ่ง

นายหัสดิน ไกรเพ็ชร์

จุฑากาญจน์ ศิริไสยาสน์

 

ธรรมดีที่พ่อทำ

     ในการอบรมผู้บริหารระดับสูงของการเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 1 ได้มี  Workshop  ระดมความคิดเรื่อง “การสร้างความสำเร็จของการเคหะแห่งชาติ โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร” ในกลุ่มและอาจารย์จีระ ได้พูดกันว่า ยาก เพราะเป็นเรื่องนามธรรม แต่เมื่ออ่าน“ธรรมดีที่

พ่อทำ”คุณดนัยและอีกหลายสิบล้านคนรวมทั้งข้าพเจ้าเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล  ทรงเน้นที่สุด ด้านคุณธรรม ความดีงาม ต้นแบบของโลกด้านนวัตกรรม ทรงเป็นภาพลักษณ์ของประเทศเมื่อ เอ่อถึงประเทศไทยTypical ของประเทศ คือ คิงภูมพล

     ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ 65 ปี พระองค์ให้คนไทยให้ประเทศทุกอย่าง พระองค์ขอจากพสกนิกรอย่างเดียวคือ การที่ขอให้ทรงพระเจริญนั้นขอให้คนไทยรวมพลัง ร่วมมือทำหน้าที่ให้ประเทศชาติเจริญ

     หน้าที่ของคนไทย คือ ทำตามสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้ดู ทรงอยู่ด้วยการให้ พระองค์ให้ความสุขที่จะมี

ร่วมกันในการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น การทรงงานของพระองค์กว่า 4 พันโครงการที่ทำมาไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย์

     หลักในการทำงานของพระองค์ คือ อิทธิบาท 4 : ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  ซึ่งทรงทำให้ดู เห็นได้จาก

ภาพข่าวที่ทรงงานต่างจังหวัด

-    มีฉันทะ  คือ  รู้ใจ  ไม่ทำตามใจ ดูว่าประชาชนมีปัญหาอะไร

-    วิริยะ     คือ  ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนก็มุ่งมั่นที่จะช่วยแก้ไขให้ได้

-    จิตตะ     คือ  จดจ่อใส่ใจในงาน พระองค์นำปัญหากลับมาเพื่อหาทางออกอย่างต่อเนื่อง

-    วิมังสา    คือ  ใคร่ครวญอย่างรอบคอบ พระองค์จดบันทึกหรือมอบให้ผู้อื่นจดถวายเพื่อนำมา

                       วิเคราะห์ และชี้แนะผู้ถวายงานต่อไป

การที่พระองค์สามารถแนะนำตั้งแต่ข้าราชการระดับสูงถึงชาวบ้าน เป็นเพราะพระองค์ได้ผ่านการปฏิบัติจริงตั้งแต่ทรงพระเยาว์ มีห้องปฏิบัติการในตำหนักทั้งต่างประเทศและในประเทศ ทำให้รู้จริง ซึ่งหลวงพ่อชา ได้สอนว่า

“รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ” พระองคเน้นการเรียนรู้แบบที่ต้องลงมือปฏิบัติจริงว่าเป็นการทำแบบคนจนไม่มีเงินซื้อตำรา

    และที่สุดหนังสือเล่มนี้ได้สรุปธรรมดีที่พ่อทำที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างการำเนินชีวิต ได้แก่ ความกตัญญู

ความอ่อนน้อมถ่อมตน  ความพอเพียง  ความซื่อสัตย์  ระเบียบวินัย  ความอดทน   ซึ่งแต่ละเรื่องมีพระเจ้าอยู่หัวเป็นต้นแบบอย่างแท้จริง  รวมทั้งเรื่องที่จับใจข้าพเจ้ามากคือ เป็นคนสำคัญนั้นดีแต่เป็นคนดีสำคัญกว่า ทรงมีพระบรมราโชวาทว่า “ถึงจะทำความดีแต่ไม่ได้ผลตอบแทนก็ให้มุ่งทำต่อไป ผลประโยชน์ทางโลกอาจมีคนมาฉกฉวยได้ แต่ผลที่ได้ทางธรรมจะอยู่กับเราไม่มีใครมาแย่งไปได้”

 

จุฑากาญจน์  ศิริไสยาสน์

อบรมผู้บริหาร รุ่นที่ 1

: นายสุริยา ลือชารัศมี : หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1

การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา การเคหะแห่งชาติ

นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown , 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้นการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรม คือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆ เกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

มีผู้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้มากมาย แต่คำจำกัดความของนวัตกรรมที่ดูเหมือนจะครอบคลุมที่สุดคือ Invention + Commercialization  หรือต้องมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าใหม่  ไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง ทั้งทางธุรกิจหรือทางสังคม           ทั้งนี้รูปแบบของนวัตกรรม สามารถแบ่งออกได้ตามรูปแบบของ Product , Service , Process ใหม่ที่ต้องสร้างให้เกิด Value  Creation คือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั่นเอง (ที่มา : วิกิพีเดีย)
The classic definitions of innovation include :
  1. The introduction of something new (Merriam)
  2. A new idea , method or device (Merriam)
  3. The successful exploitation of new ideas (Department of Trade and Industry, UK)
  4. Change that creates a new dimension of performance (peter Drucker) สรุปนิยามของนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับ
  5. การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ
  6. การเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ
  7. การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า
  8. การเปลี่ยนแปลงที่มีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เปลี่ยนแล้วดีขึ้น
  9. การเปลี่ยนแปลง นั้น สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง Value Creation
  10. การเปลี่ยนแปลงทำให้ดีขึ้นในส่วนของ Product , Service , Process ดังนั้น “การสร้างนวัตกรรม” เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง “Change” โดยเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงของความคิด จากความคิดเดิมๆ ให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนที่ดีขึ้นในองค์กรการเคหะ ในส่วนของ Product , Service , Process เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร สร้าง/เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า หรือผู้รับบริการ “การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา” การเคหะแห่งชาติ คือการคิด ริเริ่ม หาวิธีการใหม่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การผลิต หรือพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย/ปานกลางได้มีที่อยู่อาศัย อยู่ร่วมกันในชุมชนที่การเคหะสร้างขึ้น หรือเข้าไปพัฒนาปรับปรุงชุมชนแออัดที่มีอยู่เดิม ให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่อาศัย ผู้อยู่อาศัยในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดี มีองค์ประกอบหลักที่การเคหะฯ กำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนา ได้แก่
  11. ชุมชนเข้มแข็ง
  12. ครอบครัวอบอุ่น
  13. เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
  14. สภาพแวดล้อมดี ภารกิจของการเคหะฯ : พัฒนาที่อยู่อาศัยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน การเคหะแห่งชาติสร้างที่อยู่อาศัย (House) และความอบอุ่นให้กับครอบครัว (Home) ที่อยู่อาศัยในชุมชน จากภารกิจ : ยุทธศาสตร์การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2554 – 2558 ยุทธศาสตร์ที่ 1. การควบคุมความเสียหายและพลิกฟื้นองค์กร (Damage Control
    & Mitigation) ยุทธศาสตร์ที่ 2. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจและองค์กรเพื่อการพัฒนา ทรัพย์สินให้เหมาะกับแต่ละบทบาท และเกิดประโยชน์สูงสุด (Restructuring)
    ยุทธศาสตร์ที่ 3.  การปรับปรุงประสิทธิภายการทำงาน
    
    ยุทธศาสตร์ที่ 4.  การพัฒนาศักยภาพองค์กร เพื่อรองรับแต่ละบทบาทในระยะยาว 
            (Capability Development)
    ยุทธศาสตร์ที่ 5.  การลงทุนและบริหารทรัพย์สิน เพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละบทบาท
    
    ขององค์กร (Investment &Asset management)
    ยุทธศาสตร์ที่ 6.  การเป็นผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพัฒนาเมืองที่มีความเป็น
    

    เลิศด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารชุมชน และการพัฒนาสังคมอย่าง ยั่งยืน (Leader on sustainable urban and housing development) ยุทธศาสตร์ที่ 1, 2, 5 มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา/ปรับปรุง โครงสร้าง การบริหารจัดการ ภายในของการเคหะเองให้มีสถานะองค์กรที่ดี มีความเข้มแข็ง สร้างผลประกอบการที่ดี ลดการขาดทุน เพิ่มกำไรอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที 3, 4, 6 มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ในทุกส่วนของการเคหะ เพื่อรองรับภารกิจในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดี สิ่งแวดล้อมดี การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาของการเคหะ ควรมุ่งเน้นไปในยุทธ์ศาสตร์ที่ 3, 4, 6 ในส่วนของ

  15. การพัฒนา/สร้าง ที่อยู่อาศัย
  16. การบริหารชุมชน สร้างผู้นำชุมชน เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน

การพัฒนา/สร้างที่อยู่อาศัย : มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการออกแบบ วางผัง จัดองค์ประกอบภายในชุมชน ที่เหมาะสม ให้ตอบสนองความต้องการและ สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย คัดเลือก ผู้รับเหมาเพื่อทำการก่อสร้าง ให้มีประสิทธิภาพ ได้สิ่งก่อสร้างที่มีคุณภาพ ในราคาค่าก่อสร้างที่เหมาะ ก่อสร้างแล้วเสร็จทันตามกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง เมื่อบรรจุผู้อยู่อาศัยเข้าในโครงการแล้ว สามารถให้บริการ/ตอบสนอง งานซ่อมแซมที่ผู้อยู่อาศัยแจ้งซ่อมได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และอันดับสุดท้าย มีการติดตาม ประเมินผลการอยู่อาศัยการใช้ประโยชน์ในตัวอาคารพักอาศัย พื้นที่ส่วนกลาง และองค์ประกอบชุมชนตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ หรือการออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆตอบสนองการอยู่อาศัยได้ดีมากน้อยแค่ไหนเพื่อนำมาปรับปรุงแบบ ปรับปรุงการก่อสร้างให้ดียิ่งขึ้น

    สิ่งที่ต้องคิด/ปรับปรุง     
  1. การออกแบบ เริ่มจากพื้นที่ใช้สอยในอาคารของแต่ละหน่วย รูปแบบ
        อาคารองค์ประกอบชุมชน ต้องมีการติดตามประเมินผล
    
    ทั้งจากลูกค้าภายนอกคือผู้อาศัยและลูกค้าภายใน เจ้าหน้าที่สำนักงานดูแลชุมชน (สช.) หน่วยซ่อมบำรุงและ นำมาปรับแบบอย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
    2.  การคัดเลือกผู้รับจ้างการก่อสร้าง    เริ่มต้นจากการพิจารณาราคากลาง เพื่อ
    

    ใช้ในการประกวดราคาหาผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง พิจารณาราคากลางให้เหมาะสม ทันสมัย เป็นปัจจุบัน อย่างรวดเร็ว จัดหาผู้รับจ้างตามวิธีการทางพัสดุให้ถูกต้อง เหมาะสมกับประเภทความเร่งด่วนของงาน มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม จุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการก่อสร้างงานตามสัญญาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา การก่อสร้างต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ดี มีผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่มีความรู้ ความสามารถ ติดตาม/แก้ไขปัญหา ควบคุมงานให้ได้งานก่อสร้างที่มีคุณภาพ อัตราการชำรุด ซ่อมแซมต่ำ การให้บริการซ่อมแซมอาคารที่ชำรุดต้องแก้ไขทำได้อย่างรวดเร็ว

การบริหารชุมชน : เป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุด ในภารกิจของการเคหะ เนื่องจากระยะเวลาของอายุโครงการ อายุของโครงการ เวลาที่ผู้อยู่อาศัยในชุมชน ยาวนานไม่น้อยกวา 30 ปี จริงอยู่ที่การเคหะมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนในแต่ละโครงการ เฉลี่ยประมาณ 5 ปี จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความรู้ เพียงพอที่จะดูแล และพัฒนาชุมชนด้วยตัวของชุมชนเอง ผ่านคณะกรรมการชุมชนที่มี่คุณภาพ จุดนี้อาจทำให้เราคิดว่าระยะเวลาในการบริหารชุมชนที่ยาวนานเกิน 5 ปี จะทำให้เป็นภาระกับการเคหะเพราะคิดค่าใช้จ่ายการบริหารชุมชนในงบประมาณโครงการไว้ประมาณ 5 ปี ทำให้เราคิดวิตกในเรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหาร – ดูแลชุมชนมากเกินไป จนลืมถึงคุณภาพในการให้บริการ การบริหารชุมชนผ่านตัวแทน Out source ก็เป็นเหตุผลหนึ่งในเรื่องปัญหาอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ดูแลชุมชนไม่เพียงพอต่อจำนวนโครงการที่มากกว่า

สิ่งที่ต้องคิด/ปรับปรุง 1. ค่าใช้จ่ายในการบริหารชุมชน : การเคหะไม่มีเกณฑ์หรือมาตรฐานค่าใช้จ่ายในการดูแลบริหารชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีองค์ประกอบทั้ง 4 ที่ก่อสร้างไปแล้ว หรืออีกนัยหนึ่ง ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมไว้อ้างอิง เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่ผ่านมาเราอาจจะบริหารชุมน โดยเอางบประมาณที่มีอยู่เป็นที่ตั้ง ขณะเดียวกันเราอาจใช้งบประมาณนั้น อย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ การมี Out source ก็เป็นแนวคิดหนึ่งที่เราคิดว่าเป็นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนถูกกว่าบริหารจัดการด้วยพนักงานของการเคหะ 2. แนวคิดชุมชนต้นแบบ/อ้างอิง : ในเชิงคุณภาพการเคหะมีองค์ความรู้ วิธีการ แนวทางในการบริหารชุมชนที่ดีที่สุดในประเทศ เพราะผ่านการปฏิบัติพัฒนามามากว่า 30 ปี มีโครงการที่เข้าไปบริหารจัดการให้ความรู้ สร้างตัวแทนผู้นำชุมชน มีกิจกรรมต่างๆ มากเพื่อส่งเสริม สร้างให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง สภาพแวดล้อมดี นับหลายร้อยโครงการ มีงานวิจัยต่างๆ เพื่อศึกษาหาข้อมูลในชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการบริหารชุมชน

    สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน คือ ชุมชนต้นแบบ ที่การเคหะแห่งชาติให้ความสนใจอย่างจริงจังในการเข้าไปบริหารจัดการทั้งหมด ผ่านผู้ปฏิบติงานของการเคหะตั้งเกณฑ์ตัวชี้วัดที่คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน ให้ความรู้ ส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน ด้วยตัวผู้อยู่อาศัยเอง ทำหน้าที่/บทบาท เป็นผู้ประสานการพัฒนาองค์กรภาคี เครือข่าย สนับสนุนกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง ติดตามประเมินผล

สรุป แนวคิดในการปฏิบัติที่เสนอ ไม่ใช่แนวคิดวิธีการปฏิบัติในฝันเป็นแนวคิด “ใหม่” บนโครงสร้าง กระบวนการปฏิบัติงานเดิมที่การเคหะมีบนความรู้ ความสามารถเดิม ส่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงเป็นอันดับแรกคือ การเปลี่ยนแปลงความคิดในตัวพนักงานของการเคหะที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย/โครงการ ที่การจะทำ พนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญ เมื่อเริ่มเปลี่ยนความคิดได้แล้ว จะเกิดความเชื่อในสิ่งที่จะทำว่าดีมีประโยชน์ต่อการเคหะ เกิดความคาดหวังว่าจะเกิดชุมชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทัศนคติที่ดีต่องาน/องค์กร การปฏิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพ มีความสุขในการทำงาน และสุดท้ายได้ผลงานที่มีคุณค่าต่อตนเอง/สังคม

ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”

พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของคนไทยและชาวต่างประเทศทั่วโลก ทรงเป็นที่สุดด้านคุณธรรมความดีงาม ความวิริยะอุตสาหะ ทรงเป็นภาพลักษณ์ที่โดดเด่น (คิงภูมิพล)  ทรงเป็นต้นแบบของโลกด้านนวัตกรรม ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง และพระอัจฉริยภาพอันเป็นเอกอีกหลายสาขา
ท่านทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย เสด็จไปทุกหนแห่งในถิ่นทุรกันดาร โครงการแล้วโครงการเล่าถูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนไทยมีสถานที่ทำมาหากิน สร้างพื้นฐานของชีวิตด้วยความสุขและความพอเพียง คนไทยโชคดีที่สุดในโลก...ที่มีพระเจ้าอยู่หัว คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น Idol ที่ดีที่สุดในโลก แต่เราไม่เคย

I do I do คือ การคิด 1% พูด 4% ลงมือทำ 95% ต้องลงมือทำให้มาก และเป็นการทำด้วยมือและหัวใจ หน้าที่ของคนไทย คือ ทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรง “ทำให้ดู” ทรง “อยู่ด้วยการให้” ด้วยหัวใจสีขาวของพวกเราทุกคน

หลักการทำงานที่คนไทยควรน้อมนำมาปฏิบัติตามพระองค์ท่าน เพื่อเจริญรอยตามความสำเร็จที่มั่นคง และเจริญก้าวหน้าที่ผาสุก คือ หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หมายถึง ความสุข ความเพียร ความตั้งมั่น ใส่ใจในรายละเอียด และการประเมินโดยรอบ นอกจากนี้พระองค์ท่านทรงใช้หลัก 23 ข้อ ในการทรงงาน คือ1)จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ  2)ระเบิดจากภายใน  3) แก้ปัญหาจากจุดเล็ก  4) ทำตามลำดับขั้น  5) ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์  6) ทำงานแบบองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง  7) ไม่ติดตำรา  8) ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด  9) ทำให้ง่าย  10) การมีส่วนร่วม  11) ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม  12) บริการจุดเดียว  13) ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ  14) ใช้อธรรมปราบอธรรม  15) ปลูกต้นไม้ในใจคน  16) ขาดทุนคือกำไร  17) การพึ่งตนเอง  

18) พออยู่พอกิน 19) เศรษฐกิจพอเพียง 20) ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 21) ทำงานอย่างมีความสุข 22) ความเพียร 23) รู้รักสามัคคี

ด้วยพระราชสัจจะจากดวงพระราชหฤทัยในพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงทำ คือ การปกครองแผ่นดินโดยธรรม ทรงใช้ความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ การให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกันต่อพสกนิกรของพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงทำล้วนเป็นความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้
“ธรรมดี” ที่พ่อทำ ธรรมดีที่น่าประทับใจ และควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่าได้แก่ 
     1. ความกตัญญู
     2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
     3. ความพอเพียง (พอเพียง คือ การอยู่ได้ด้วยตนเอง  พอประมาณ คือ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก  พอดี คือ พอแล้ว
               ดี มิใช่ดีแล้วจึงพอ)
     4. ความซื่อสัตย์
     5. ระเบียบวินัย
     6. ความอดทน

พระองค์ท่านทรงทำเพื่อคนไทย โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ คือ การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นบุคคลแรกของโลกที่ได้รับการถวายสดุดี รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ จากองค์การ สหประชาชาติ เนื่องด้วยได้ทรงอุทิศตนตลอดช่วงชีวิตและสร้างคุณค่าของผลงานเด่นเป็นที่ประจักษ์ และเป็นคุณูปการที่ผลักดันความก้าวหน้าในการพัฒนาคน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ความหมายของการพัฒนาของพระองค์มีนัยยะที่ลึกซึ้ง คือ เน้นจากจิตวิญญาณแล้วแผ่ขยายออกมาสู่ภายนอก เมื่อจิตภายในงดงาม ภายนอกก็งอกเงย

ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ทรงยอมทนเหนื่อยยากอย่างแสนสาหัสมาทั้งชีวิต สร้างบ้านให้น่าอยู่ สั่งสอนให้เป็นคนดี ด้วยความรัก ความเมตตานั้น ไม่ใช่เพื่อใคร ก็เพื่อ “คนไทย” แล้วพวกเราล่ะ ได้ทำอะไรเพื่อเป็นการรักษาบ้านอันเป็นที่รัก ผืนแผ่นดินที่เราอยู่ หรืออย่างน้อยเพื่อให้ท่านทรงมีความสุข ความสบายใจ ตอบแทนความเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ท่านบ้าง
สุทธิรักษ์ สูทธิไวยกิจ

นางสุทธิรักษ์ สุทธิไวยกิจ บทเรียนจากหนังสือ 3 เล่ม ที่ อาจารย์จีระฯ แนะนำให้อ่าน

1.เล่มแรกคือ เรื่อง 8K’S + 5K’S ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

-ประเทศไทยควรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ TWIN มาใช้ในโครงสร้างหลักของ HRD  คือ การแข่งขันต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะเมื่อนำทั้งสองเรื่องมารวมกันจะเป็น “ทุนแห่งความสมดุลและยั่งยืน” เป็น Balancedและ Sustainability
-ท่านอาจารย์กล่าวว่า การสร้างคนเพื่อการแข่งขันอย่างเดียวเป็นเรื่อง ที่ “บ้าคลั่ง” เพราะในระยะยาวจะเกิดปัญหามาก ยกตัวอย่างเช่น เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือวิกฤตซับไพร์ม   ดังนั้นประเทศไทยควรจะทำ คือ สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยผ่านการศึกษาตลอดชีวิต และต้องเน้นว่าไม่ใช่รู้เฉพาะสาขาหรือสิ่งที่ตัวเองทำเท่านั้น แต่จะต้องรู้ข้ามศาสตร์ (Cross Functional) หมายถึง สามารถเชื่อมโยงความรู้สร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา
-การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมานั้น อาจารย์เรียกว่า ทุนทางนวัตกรรม(Innovation Capital)  คือ ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่า ดร.จีระฯ  แนะนำว่าการพัฒนาทุนทางนวัตกรรมใช้ทฤษฏี 3C  คือ 
    1. Customers คือ วิเคราะห์ความต้องการลูกค้าทั้งภายในและภายนอก
    2.Change Management คือ บริหารการเปลี่ยนแปลง
    3.Command and Control (ลบ) คือ ลดการควบคุม สั่งการ แต่ต้องพยายาม Participation และ Teamwork
-ทฤษฏีการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้วย   8K’S  และ 5K’S เป็นการพัฒนาแนวทางสถาปัตยกรรมทรัพยากรมนุษย์ (HR Architecture) คือทุนมนุษย์ มีคุณลักษณะ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสร้างสรรค์ คิดสร้างนวัตกรรม มีวัฒนธรรมของสังคมการเรียนรู้และมีจิตใจสาธารณะ
  1. เล่มที่สอง คือ เรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ -กล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งทั้งสองท่านมีผลงานและการทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้ -ทั้งสองท่านมีการทำงานที่ท้าทายข้ามศาสตร์ ของตัวท่าน คือ ท่านพารณฯ เป็นวิศวกร ขณะที่ท่านจีระ ฯ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ แต่กลายเป็นนักปฏิบัติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ -สิ่งที่น่าสนใจคือ คุณพารณฯ ให้ความสำเร็จต่อลูกค้าโดย “เอาคนเป็นพวก” เชิญลูกค้า Supplier ผู้ประกอบการฯลฯ มาพบกันเพื่อสร้างความเข้าใจและเมื่อมีปัญหาก็จะแก้ไขโดยง่าย ท่านไปเยี่ยมพนักงานเป็นประจำและเยี่ยมลูกค้าคู่กันไป ได้สร้างเครือข่ายมากมาย -คุณพารณฯ บริหารคนแบบการลงไปสร้างความคุ้นเคยกับพนักงานทุกจุด ให้ความสำคัญกับคุณค่ามนุษย์มากกว่าเครื่องจักร เครื่องจักรนั้นคุณค่าลดน้อยเสื่อมไป เมื่อเราใช้ไป แต่คุณค่าของคนกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ผู้บริหารในองค์กรควรมองพนักงานเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวองค์กร มิใช่แต่ผู้ร่วมงานในระบบงานพัฒนาคนให้สมดุลใน 3 ทักษะ คือ ทักษะเชิงปฏิบัติการ เชิงแนวคิด และทักษะเกี่ยวกับบุคลิกภาพ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น -ดร.จีระ ฯ กล่าวถึงความจงรักภักดี Loyalty เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ เพราะ ความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา ใช้เวลาสร้างและผู้ที่เป็นผู้นำสร้างความจงรักภักดี ต้องเข้าใจคุณค่า ของมนุษย์ก่อนจึงจะสำเร็จ Loyalty เป็นเรื่องเดียวกับทรัพย์สินทางปัญญา หากคนลาออกจากองค์กร ก็เท่ากับการสูญเสียทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรด้วย -ดร.จีระฯ กล่าวได้อย่างเยี่ยมว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เปรียบเสมือนกับการปลูกข้าวก่อนและต้องดูผลผลิตของการเก็บเกี่ยวเป็นอย่างไร นักเศรษฐศาสตร์อย่าง ดร.จีระฯ จึงเน้นการพัฒนามนุษย์จะต้องขึ้นกับการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การ Motivation และ Intellectual Capital นั่นคือ การสร้างแรงจูงใจและการลงทุนทางปัญญา

3.เล่มสุดท้ายเป็นหัวใจของทุนทางจริยธรรมของมนุษย์ คือ หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”

-   “ทรงพระเจริญเป็นคำพูดของคนไทยที่ตั้งใจ  เต็มใจ  ที่พร้อมกันเปล่งเสียงต่อพระเจ้าอยู่หัวของเรา แต่ถ้าคนไทยต้องการให้พระเจ้าอยู่หัวทรงพระเจริญก็ย่อมหมายความว่า ประเทศของเราจงเจริญ พวกเราคนไทยต้องรวมพลังร่วมมือกันทำให้ประเทศชาติเจริญ ด้วยการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
-คนไทยมี พระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น The Best Idol แต่เราไม่เคย I do   คือ แทบจะไม่มีใครลุกขึ้นมาทำตามบุคคลต้นแบบของเราอย่างจริงจัง
-พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กัลยาณมิตร และ โยนิโสมนสิการ” เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง การครองชีวิตที่ประเสริฐบนเส้นทางแห่งมรรคแปด
    -สมัยพุทธกาล : กัลยาณมิตร คือ พระพุทธองค์
    -ยุคปัจจุบัน : อริยสงฆ์ พ่อแม่ ครู อาจารย์
-กัลยาณมิตรของคนไทยทั้งแผ่นดิน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระเมตตาพระราชทานพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส แก่คนไทยมาตลอดเวลามากกว่า 65 ปี ทรงเป็นดั่ง “ครู” ผู้เป็นกัลยาณมิตรของคนไทย
-ในความคิดเห็นส่วนตัว ท่านทรงรับสั่งเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ว่า  “ เราควรระเบิดจากข้างใน” หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน เตรียมฐานความพร้อมให้เต็มที่ และสร้างแรงบันดาลใจให้คนรอบข้างเปลี่ยนตาม เปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ดุจแสงเทียนและได้จุดต่อกันเรื่อยๆ โดยไม่หยุดสร้างความงดงาม สว่างไสว ในทุกกาลเวลา ทุกสถานที่ ซึ่งเปรียบเสมือนมีการเปลี่ยนแปลงด้วยความเต็มใจจนเป็นสิ่งที่ยั่งยืน : Sustainability ในที่สุด

นายชวนินทร์ พรหมรัตนพงษ์

“การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ”

ในยุคปัจจุบัน และในอนาคตที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ปี พ.ศ. 2558 นวัตกรรม นับว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ และการแข่งขันในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งองค์กรทุกประเภทควรจะต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากถ้าองค์กรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองด้วยสิ่งใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับการแข่งขันในปัจจุบันและในอนาคต องค์กรนั้นก็ยากที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในระยะยาวได้ 
นิยามของ “นวัตกรรม” ตามเกณฑ์การพิจารณารางวัลของรัฐวิสาหกิจด้านนวัตกรรม ปี 2554 คือ “การคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ กระบวนการผลิตหรือกระบวนการบริการใหม่ รวมถึงการปรับปรุงหรือดัดแปลง ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการผลิต หรือกระบวนการบริการที่มีอยู่เดิมโดยใช้ความรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์ทางเทคโนโลยี หรือการจัดการมาพัฒนาเพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ การให้บริการ และยกระดับศักยภาพการแข่งขันขององค์กร รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการภายนอกอุตสาหกรรม/ธุรกิจ ที่เกี่ยวข้อง ประชาชน หรือสังคมในวงกว้าง”
นวัตกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
  1. Product Innovation เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
  2. Process Innovation เป็นนวัตกรรมด้านกระบวนการ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มุ่งเน้นในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต โดยจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิต
  3. Organization Innovation เป็นนวัตกรรมที่เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการและบริหารองค์กร ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ความสามารถในด้านการบริหารการจัดการมาปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่
เมื่อเราลองสังเกตองค์กรที่เป็นผู้นำในแต่ละธุรกิจ จะพบว่าความสำเร็จขององค์กรเหล่านี้เกิดขึ้นจากนวัตกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า/ผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการทำงาน ด้านการจัดการหรือด้านการตลาด ด้านการให้บริการ ซึ่ง STARBUCK เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างนวัตกรรมจัดระบบการบริหารธุรกิจกาแฟให้เข้ากับชีวิตประจำวัน เฝ้าดูลูกค้า สานสัมพันธ์กับลูกค้า ใช้แบรนด์ STARBUCK ในการสร้างนวัตกรรมการบริการและผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าอยากสัมผัส และยอมจ่ายถึง 3 เท่า เพื่อแลกกับความสุข เช่นเดียวกับบริษัท TOYOTA ที่เน้นคุณภาพมีผลผลิตที่มีประสิทธิภาพปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ใช้ยุทธศาสตร์ธุรกิจที่เหนือชั้น เน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อการผลิตที่เร็วกว่า ดีกว่า ถูกกว่า เพื่อการครองตลาดให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่า ผู้ชนะ มีการผลิต/การบริการ/คิดค้นนวัตกรรมที่รวดเร็ว มีวัฒนธรรมเคลื่อนไหวเร็ว ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน เพราะมีความคิดริเริ่มในอัตราที่สูงนั่นเอง
นอกจากองค์กรธุรกิจแล้ว หน่วยงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรหลายแห่งก็เริ่มที่จะพยายามพัฒนาตนเองในเชิงของนวัตกรรมมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้งการเคหะแห่งชาติด้วยเช่นกันที่จะต้องแสวงหาแนวทางและกลยุทธ์การดำเนินงาน โดยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อรองรับการแข่งขันกับภาคเอกชนในตลาดที่อยู่อาศัย อีกทั้งภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 อีกด้วย
การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 โดยที่การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรหลักในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองของประเทศ ให้ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในชุมชน สร้างสรรค์สังคมที่เข้มแข็ง มีคุณภาพ และน่าอยู่อย่างยั่งยืน

บทบาทของการเคหะแห่งชาติ คือ

       - เสนอแนะนโยบายและแผนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประเทศ
       - สร้างความมั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน 
       - สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาที่อยู่อาศัย
       - สนับสนุนและพัฒนาที่อยู่อาศัยตามนโยบายรัฐ และหน่วยงานของรัฐ 
  • สนับสนุนการพัฒนาเมือง และฟื้นฟูชุมชนเมือง แผนงานตามนโยบายรัฐ ประกอบด้วย
    • โครงการบ้านเอื้ออาทร
    • โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน แผนงานตามภารกิจหลักของการเคหะแห่งชาติ ประกอบด้วย
  • โครงการให้บริการหน่วยงานของรัฐนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยให้แก่กลุ่มข้าราชการผู้มี รายได้น้อย พนักงาน หน่วยงานของรัฐผู้มีรายได้น้อย ให้มีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน ในชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีความมั่นคงในการอยู่อาศัยทั้งที่เป็นของตนเองหรือได้เช่าระยะยาวในระดับราคาที่สามารถรับภาระได้ สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยตาม พรบ. แผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจ
       - ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ให้สอดคล้องกับภารกิจ และสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการก่อสร้างในระบบอุตสาหกรรม (Mass Production) ซึ่งจะช่วยลดทั้งค่าใช้จ่าย และระยะเวลาการก่อสร้าง
       - สนับสนุนให้มีการนำทฤษฎีการออกแบบ และเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
       - สร้างพันธมิตรความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อร่วมศึกษา พัฒนา และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างที่อยู่อาศัย
       - จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ให้เป็นฐานข้อมูลระดับชาติ
       - ยุทธศาสตร์เพื่อเป็นศูนย์การสารสนเทศที่อยู่อาศัยแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีฐานข้อมูลที่อยู่อาศัยที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์สำหรับการกำหนดนโยบายวางแผน และการจัดการด้านที่อยู่อาศัยของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป้าหมายการดำเนินเนินงาน
       - พัฒนาเป็นศูนย์วิชาการและสารสนเทศที่อยู่อาศัยแห่งชาติเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการของการเคหะฯ เองและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชน และเพื่อภาครัฐสามารถนำข้อมูลไปเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ
      - สร้างพันธมิตรกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยพัฒนาสมาคมวิชาชีพตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    
    • จัดทำและจัดให้มีระบบฐานข้อมูลทางด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีความถูกต้องเป็นกลาง น่าเชื่อถือ ทันสมัย มีความต่อเนื่องและสามารถเผยแพร่ได้ตามกำหนดเวลา
    • จัดทำ จัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์วิจัย ทางด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีต่อระบบเศรษฐกิจมหภาค รวมทั้งดัชนีชี้วัดทางด้านที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำรูปแบบในการวิเคราะห์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ Demand & Supply เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ และการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตเพื่อส่งสัญญาณป้องกันการเกิดวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ ในการจะทำให้การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organization) เพื่อพัฒนาการเคหะแห่งชาติให้เป็นองค์กรที่ยั่งยืนได้นั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
  • ทิศทางและความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่ชัดเจน: การกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ที่ชัดเจนที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็น Innovative Organization รวมทั้งความมุ่งมั่นและทุ่มเทของผู้บริหาร
  • โครงสร้างองค์กรที่กระตุ้นและก่อให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่น ในระดับที่เหมาะสมที่จะกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร
  • บุคลากร กล่าวคือ ต้องมีบุคลากรที่สำคัญที่จะทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ภายใต้กระบวนการนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าภาพในโครงการ (Champions) หรือผู้สนับสนุน (Promoters) อีกทั้งบุคลากรภายในองค์กรยังจะต้องมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีมมากกว่าปัจเจกบุคคล ในขณะเดียวกันก็ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากการที่บุคลากรจะเป็นผู้ที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้ บุคลากรเองจะต้องมีความรู้และทักษะที่เหมาะสม นอกจากองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นแล้ว องค์กรแห่งนวัตกรรมจะต้องให้ความสำคัญกับบรรยากาศ และสภาวะแวดล้อมในการทำงานด้วย อีกทั้งความเชื่อมโยงกับปัจจัยภายนอกองค์กรก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกด้วย สำหรับการสร้างนวัตกรรมใหม่ในการเคหะแห่งชาติ สามารถสร้างได้โดยอาศัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือการพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาเทคโนโลยี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือการพัฒนาบุคลากร องค์กรที่จะอยู่รอดได้ คือ องค์กรที่สร้างนวัตกรรม และผู้สร้างนวัตกรรมคือมนุษย์ ซึ่งมนุษย์จะสร้างนวัตกรรมดีๆ ได้นั้นขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้นำ ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ สภาพแวดล้อมในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร ทรัพยากรมนุษย์ที่จะสามารถสร้างนวัตกรรมได้ต้องมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนความสุข ทุนทักษะ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำองค์กรที่จะต้องสรรหา ต้องสร้าง และต้องรักษาทุนเหล่านั้นให้มีขึ้นในทรัพยากรมนุษย์ การจะเกิดนวัตกรรมในองค์กรได้ จะต้องอาศัยวัฒนธรรมของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์คือ ต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ต้องไม่ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้กล้าคิด กล้าทำ นวัตกรรมต้องเกิดจากผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ตามและมีผู้นำคอยสนับสนุนทำเป็นตัวอย่าง และต้องอาศัยวัฒนธรรมของปฏิบัติงานหรือผู้ตามตามทฤษฎี 6 ก. คือ 1) กล้าคิด คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 2) กล้าพูด กล้าทำมากขึ้น ในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง 3) กล้าเปิดใจ รับฟัง 4) กล้าเสี่ยง กล้าริเริ่ม การทำผิดเป็นที่ยอมรับได้ 5) กล้าเรียนรู้ ที่ต้องมีคนกล้าเพราะมีคนกลัวอยู่ กลัวล้มเหลว กลัวนายว่า ฯลฯ 6) กล้าทำ ทำจริง พัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระบวนการสร้างนวัตกรรม 1) ต้องมีความคิด คิดนอกกรอบ คิดข้ามศาสตร์ คิดสิ่งใหม่ คิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อประโยชน์ของสาธารณะชน เพื่อเอาชนะปัญหาอุปสรรคต่างๆ ฯลฯ 2) ต้องมี Project เมื่อคิดได้แล้วนำสิ่งที่คิดได้ซึ่งประกอบด้วยการนำความรู้ที่จะต้องคำนึงถึง เช่น 8K, 5K, 4L, 2R, 3Q และ 3C มาบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ทำเป็นโครงการ ทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ทำตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicators: KPI) 3) มีการประเมินผลโครงการ เพื่อเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning Experience) 4) ต้องมีการปรับแผน ใช้แผนสำรอง มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการให้โอกาสบุคลากรในองค์กรได้คิดสร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดได้อย่างอิสระนั้น ในระยะแรกอาจมีไม่มากหรือไม่มีเลย ก็ต้องใช้ปัจจัยควบคุมเป็นตัวกระตุ้น คือ นโยบายการบริหารจัดการองค์กร หรือเป้าประสงค์ขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากนั้นก็สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องกันใน 4 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ นวัตกรรมในด้านการบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นนวัตกรรมที่จับต้องและนำมาใช้ได้ เพื่อดูแลและพัฒนาบุคลากรในองค์กรสู่ยุคแห่งการพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้ โดยนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวเห็นว่าบุคลากรมีความสำคัญและมีค่า หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “บุคลากรเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญอย่างหนึ่งและมีคุณค่ากับองค์กร ที่ต้องดูแลรักษาหรือเก็บรักษาไว้ (Human Capital)” ซึ่งบุคลากรเหล่านี้อาจก่อให้เกิดหรือสร้างนวัตกรรมได้ในภายหลัง และที่สำคัญการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้นั้น ผู้นำต้องสร้างบรรยากาศขององค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ดังนั้นในการที่จะพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ผู้บริหารและองค์กรต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน โดยการพัฒนาบุคลากรแนวใหม่ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาบุคลากรใน 3 มิติ ได้แก่ มิติแรก : การพัฒนาทัศนคติ (Attitude) คือ การทำให้บุคลากรเปลี่ยนวิธีคิดและการทำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีความสำคัญต่อองค์กร มิติสอง : การพัฒนาลักษณะนิสัย (Traits) คือ การทำให้บุคลากรมีความรัก ความผูกพันกับองค์กร มิติสาม : การพัฒนาการจูงใจ (Motivation) คือ การสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรทั้งในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ฯลฯ ซึ่งรูปแบบการพัฒนาบุคลากรทั้ง 3 มิตินี้ เชื่อว่าจะสามารถพัฒนาบุคลากรและองค์กรได้ในระยะยาว เพราะถือเป็นแรงขับที่เกิดขึ้นจากภายในตัวของบุคลากร เพียงแค่นี้ก็จะช่วยให้องค์กรเติบโตและก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน

  • การพัฒนาเทคโนโลยี เทคโนโลยีถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กร เนื่องจากลักษณะบางอย่างของเทคโนโลยี คือ การจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ความรวดเร็ว การทำงานที่ไม่ผิดพลาด และการทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่สามารถนำมาใช้ในงานต่างๆ เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ด้วย เช่น การขาดการจำแนกความแตกต่างที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า การขาดความเฉลียว ดังนั้น จึงต้องนำหลักกการบริหารที่เกิดความสะดวกและง่ายต่อการนำไปใช้ในระบบเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด หลักการดังกล่าวคือ CONVINIENCE สะดวก ง่ายๆ มีประสิทธิภาพ ได้แก่ C = Coordination : การประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร O = Offer : การนำเสนอข้อมูลที่ได้รวบรวม เพื่อเผยแพร่ N = Navigation : มีกระบวนการในการมุ่งสู่เป้าหมาย หรือทิศทางที่วางไว้ V = Validation : กระบวนการตรวจสอบข้อมูลให้สมบูรณ์ ถูกต้อง และใช้เป็นแนวปฏิบัติ I = Individual : มีการตอบสนองความต้องการของแต่ละหน่วยงาน N = Node : สร้างจุดเชื่อมต่อ ประสานระหว่างหน่วยงาน I = Interactive : มีการสนองตอบต่อทุกฝ่าย E = Efficiency : มีประสิทธิภาพ N = Network : จัดทำระบบเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร C = Collaboration : ทุกคนมีส่วนร่วม E = Evaluation : ประเมินผล สำหรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของการเคหะแห่งชาติให้เป็นองค์กรที่มีความทันสมัย สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ได้แก่ การประชุมผ่าน video conference เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานที่อยู่ต่างจังหวัดไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาประชุมที่สำนักงานใหญ่ อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งถือเป็นการลดต้นทุน (cost) ให้กับองค์กรอีกทางหนึ่งด้วย รวมถึงการสั่งงานผ่านคอมพิวเตอร์ เพื่อลดขั้นตอนการสั่งการ และการพัฒนาให้มีระบบลายเซ็น อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น สรุป การสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาการเคหะแห่งชาตินั้น ทั้งผู้บริหารและองค์กรควรที่จะให้การสนับสนุนและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จและยั่งยืนต่อไป

…………………………………….

เป็นบันทึกทียาวและ ชาดาใช้เวลาในการอ่านและติดตามบันทึกหน้านี้อยู่หลายวันทีเดียวค่ะ


 

บทความทางวิชาการ ''เกี่ยวกับการสร้างวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเคหะแห่งชาติ'' 1.ทุนทางนวัตกรรม หรือ Innovation capitae คือ ''ความสามารถทำให้สิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า'' 2.''นวัตกรรม'' มีหลายรูปแบบ เช่น - สินค้าใหม่ (Product Innovation) - การให้บริการใหม่ (Service Innovation) - การบริการจัดการแบบใหม่ (Management Innovation) เช่นการพัฒนาแบรนด์ (Branding) หรือการพัฒนากระบวนการทำงาน (Process Management) การสร้างแรงบันดาลใจ - นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เช่นกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การรักษาสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาทางอาชญากรรม นวัตกรรมทางการศึกษา หรือบางครั้งถูกเรียกว่า CSR (Corporate social responsibility) 3.การสร้างหรือการพัฒนาทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) เรียกว่า"ทฤษฎี 3C" ประกอบด้วย - castomer คือวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ทั้งลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก - change Management คือบริหารการเปลี่ยนแปลง - Comand and Control (-) คือลดการควบคุม สั่งการ แต่พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Participation) และทำงาน เป็นทีม (Teamwork)

   (จากหนังสือ  8K 's + 5K 's ทุนมนุษย์ของคนไทยรอรับประชาคมอาเซียน)
  ตลอดระยะเวลาเกือบ 40  ปี  ท่ีการเคหะแห่งชาติได้ดำเนินงานมา  การเคหะแห่งชาติได้ผลิตบ้านตอบสนองความต้องการของประชาชนในหลากหลายรูปแบบ  การสร้างเมืองใหม่  การพัฒนาชุมชน  การแก้ไขปัญหายาเสพติด  การรักษาสิ่งแวดล้อม  การบริหารจัดการแบบใหม่  ฯลฯ  ซึ่งหมายความว่า การเคหะแห่งชาติ มีทั้งต้นทุนทางนวัตกรรม  มีการสร้างนวัตกรรม  รวมถึงมีการพัฒนาทุนทางนวัตกรรมมาโดยตลอด
   ในการดำเนินงานระยะแรกของการเคหะแห่งชาติ  ได้รับการยอมรับจากสังคม  (Social  Trust) เป็นอย่างดี  แต่ปัจจุบันภาพลักษณ์ของการเคหะแห่งชาติ  ตามสายตาของบุคคลภายนอกน่าจะได้รับการยอมารับที่น้อยลง  ดังนั้นการเคหะแห่งชาติจึงจำเป็นที่จะต้องทบทวนในเรื่องการสร้างหรือการพัฒนาทุนทางนวัตกรรม โดยพิจารณาจาก

1.castomer การเคหะแห่งชาติจะต้องวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ทั้งลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก ลูกค้าภายใน ประกอบด้วย

   - ผู้นำ ต้องคำนึงถึงความต้องการชื่อเสียง ผลตอบแทนและความเป็นเลิศ
   - พนักงาน ต้องคำนึงถึง ความสุขในการทำงาน ชื่อเสียงและผลตอบแทน

ลูกค้าภายนอก ประกอบด้วย

   - คู่แข่ง การเคหะแห่งชาติ จะต้องเข้าใจคู่แข่งเป็นอย่างดี เพราะมีการแข่งขันสูง หลากหลายผลิตภัณฑ์ และคู่แข่งมีศกยภาพสูง
   - คู่แข่ง/พันธมิตร ได้แก่ผู้ประกอบการทางด้านที่อยู่อาศัย และบริการที่เกี่ยวข้อง ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ (กฟน.กฟภ.กฟผ.กปน.กปภ.ทศท.ขสมก.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯลฯ) องค์กรที่มีที่ดิน จำนวนมาก เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมธนารักษ์ สำนักงานทรัพย์สินฯ
   - ข้อมูลลูกค้า ต้องมีข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน ประกอบด้วย เพศ วัย การศึกษา อาชีพ รายได้ Litertuls
    - ผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึง คุณภาพ ราคา รูปลักษณ์ บริการหลังการขาย การพัฒนาชุมชน

2.change Management การบริการการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน จะต้องปรับตัวหรือมีการเปลี่ยนแปลง การเคหะแห่งชาติก็เช่นเดียวกันจำเป็นต้องมีการบริการการเปลี่ยนแปลง โดยมีปัจจัยสำคัญคือ

    ภาระผู้นำ ผู้นำในทุกระดับจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำสูงสุด จะต้องมีความมุ่งมั่นกำหนดวิสัยทัศน์ มีแนวคิดการเปลี่ยนแปลงด้านกระกระบวนการและผลิตภัณฑ์ มีระบบธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
    กระแสโลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงของโลกมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อ การเคหะแห่งชาติ ในหลายด้าน เช่น เทคโนโลยีเปลี่ยนไป รสนิยมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป นโยบายและการดำเนินงานของคู่แข่งที่ฉับไว ฯลฯ ทำให้การเคหะแห่งชาติจะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง เช่น Green Conumunity Eco Vissegs , บ้านผู้สูงอายุ รวมทั้งการเตรียมการรองรับ AEC

3.Conmand & Contron (-) ลดการควบคุมและสั่งการเพื่อดึงศักยภาพของผู้ปฎิบัติงานออกมาใช้ในการทำงานโดย

การมีส่วนร่วม Panticipatirn  ใช้วิธีการระดมสมอง คือให้ทุกคนพูดแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ไม่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ ความคิดของใคร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้มีการนำเสนอ ความคิดเห็นจากผู้ปฎิบัติงานระดับล่างอันจะก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
การทำงานเป็นทีม (Team Work) มีการทำงานข้ามศาสตร์ เห็นความสำคัญของกลุ่มวิชาชีพที่แตกต่าง เรียนรู้เป็นทีม และมีวิสัยทัศน์ร่วม
การให้รางวัล (Inmration Award) มีการให้รางวัล แก่ผู้มีผลงานเป็นเลิศ โดยการจัดประกวด เช่นการประกวดออกแบบบ้าน ประกวดชุมชน (ชุมชนแห่งคุณภาพ ชุมชนแห่งความสุข)
 ความเชื่อมั่น (Trust) การเคหะแห่งชาติจะต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยจะต้องมีการวิธีเรียนรู้ที่ดีสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างโอกาสในการเรียนรู้ และสร้างชุมชนในการเรียนรู้ โดยเรียนเรื่องจริงที่เกิดขึ้น (Reality) และเกี่ยวข้องโยงกับด้วยเรา (Releuame) รวมทั้งจะต้องจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจ (Inepieation) และมีจินตนาการ (Imagimation)
 ถ้าการเคหะแห่งชาติได้มีการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าอย่างชัดเจนตามที่ได้นำเสนอ และนำผลการศึกษาที่ได้รับไปปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้เหมาะสม พร้อมทั้งลดการควบคุมและสั่งการให้น้อยลง การเคหะแห่งชาติจะสามารถพัฒนาทุนทางนวัตกรรมต่อไปได้ไม่รู้จบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท