หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 2


สวัสดีครับชาวบลอคทุกท่าน

18 มิถุนายน 2555 เป็นวันเปิดหลักสูตรวันแรกของโครงการ การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ:รุ่นที่ 2 ซึ่งจะเรียนกันทุกวันจันทร์และวันพุธตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน-17 กรกฎาคม 2555

 

ติดตามความคืบหน้า ร่วมแสดงความคิดเห็น และชมภาพบรรยากาศได้ในบลอคนี้ครับ 

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ภาพวันที่ 18 มิถุนายน 2555

อาจารย์ทำนอง ดาศรี  ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา และคุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

ภาพวันที่ 27 มิถุนายน 2555

หมายเลขบันทึก: 491365เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (249)

ขอต้อนรับทุกท่านรุ่น 2 ที่กรุณาให้เกียรติผมมาร่วมเป็นผู้สอนรุ่น 2

ผมได้พบรุ่น 1 แล้ว 3 วัน  มีความประทับใจมาก หวังว่ารุ่น 2จะเข้มข้นเหมือนเดิมครับ

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

18 มิถุนายน 2555

Learning Forum & Workshop ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • อยากให้คิดถึงแรงบันดาลใจที่ได้จากการมาเรียน 8 วัน
  • ค้นหาพลังภายใน คิดนอกกรอบให้กว้างว่า การเคหะในอนาคตต้องทำอะไรบ้าง
  • ค้นหาตนเอง ต้องสนใจศาสตร์อื่นนอกเหนือจากสาขาตนเองด้วย
  • ผมจะนำความเป็นเลิศของคุณออกมา
  • คุณต้องเป็นทุนมนุษย์ที่เข้มแข็งของการเคหะ
  • ต้องถามว่า เป้าหมายการเคหะในอนาคตคืออะไร
  • ผู้นำที่ดีต้องทำให้ลูกน้องภูมิใจในผลงานที่เกิดขึ้น
  • ภาวะผู้นำเป็นศิลปะในการให้คนอื่นทำเพราะเขาอยากทำ
  • พรแสวงยิ่งใหญ่ที่สุดของการเป็นผู้นำคือการเรียนรู้จากความล้มเหลว เช่นเรียนรู้จากเรื่องโครงการบ้านเอื้ออาทร
  • ผู้นำต้องศรัทธาให้คนยอมรับ อย่าบ้าอำนาจ
  • ไม่มีผู้นำคนไหนที่มีความสุขถ้าลูกน้องไม่ประสบความสำเร็จ
  • ต้องมีความคิดใหม่ๆเกิดขึ้น (ประเด็นโป๊ะเชะ)
  • ต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ถามคำถามมากๆ
  • ผู้นำในการเคหะควรมองโลกให้กว้างกว่าเดิม เช่น สนใจโลกาภิวัตน์
  • อยากให้การเคหะสนใจพลังงานทดแทน
  • ต้องทายอนาคตให้ได้
  • ต้องถามตนเองว่า จะนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาวได้อย่างไร
  • ความฉลาดเฉลียวต้องรวมวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์และ AEC เข้ามาด้วย
  • ความคิดสร้างสรรค์นอกกรอบต้องนำไปสร้างนวัตกรรมแล้วจะเกิดมูลค่ามหาศาลแก่ประเทศไทยและนี่คือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของการเคหะ
  • ทำงานมีผลประกอบการแล้วมีภาวะผู้นำ จะทำให้งานของการเคหะในอนาคตดีขึ้น
  • ผู้นำ
  • เน้นที่คน
  • สร้างศรัทธา ตอนนี้ Stakeholder ภายนอกไม่เข้าใจการเคหะ ต้องนำศรัทธากลับคืนมา ต้องมีมาตรฐานชุมชนและผู้นำชุมชนให้ได้และต้องทำเป็นตัวอย่างให้แก่อาเซียนด้วย
  • สนใจระยะยาว คิดไกล ต้องวางแนวให้คนรุ่นใหม่เข้ามา
  • What , Why
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • เน้นนวัตกรรม
  • Change การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง
  • สร้าง
  • ขยาย
  • ดึงกลับ ถ้าหายไป
  • Self Trust ตัวเราเองต้องภูมิใจในตนเอง ไม่
  • Relationship Trust ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในองค์กร
  • Organization Trust ต้องเป็นองค์กรที่คนยอมรับ มององค์กรเราดี เป็นหน่วยงานด้านความรู้ (เรื่องบ้าน)
  • Social Trust สังคมยอมรับ
    • ต้องถามตนเองว่า จะใช้วิธีใดในการพัฒนาผู้นำการเคหะ
    • ควรทำวิจัยว่า ผู้นำที่จะสร้างขึ้นมาได้ผลสำเร็จจริงๆคืออะไร
    • ผู้นำต้องเรียนรู้ทุกวินาที อย่าพอใจกับการเรียนในห้องเท่านั้น
    • ผู้นำต้องกระจายอำนาจ
    • ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา
    • ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
    • ผู้นำต้องสอนหนังสือด้วย เช่น Jack Welch สอนหนังสือเสาร์อาทิตย์
    • กรณีศึกษาผู้นำจีน 5 รุ่นประยุกต์กับการเคหะฯ
  • ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้จัดการมาก่อน
  • ผู้นำที่ดีก็ต้องเป็นนักคิดที่ดี
  • ผู้นำที่ดีต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์
  • ผู้นำที่ดีต้องมีเสน่ห์ดึงเอาความร่วมมือของคนมาได้ ต้องเป็นคนของประชาชน
  • ผู้นำในยุคต่อไปของการเคหะต้องเปี่ยมไปด้วยศรัทธาของ Stakeholder เพราะเขากำหนดชะตาชีวิตของคุณ
  • การสร้างศรัทธามี 3 ขั้นตอน
  • ควรมีการสำรวจชื่อเสียงการเคหะตลอดเวลา
  • ศรัทธามี 4 ระดับ

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976)

  • เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ
  •  รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก
    • ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมาก
    • ต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่น ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคล

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992)  คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

  • เป็นช่วงที่การเมืองนิ่งแล้ว แต่ระบบเศรษฐกิจแบบรัฐเป็นผู้กำหนด จะไม่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชาติได้ เพราะประชากรมาก – คาดหวังสูง จึงต้องมีเติ้งเสี่ยวผิงมาเป็นผู้นำ
  • เน้นทฤษฎีไปสู่ Practical เป็นผู้ที่พูดว่า “แมวสีอะไรก็ได้ขอให้จับหนูเป็น” คือ เป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ นำเอาทุนนิยมเข้ามา – เชิญต่างประเทศเข้ามาลงทุน ทำให้จีนขยายตัวทางเศรษฐกิจเร็ว เพราะคนจีนขยันและเคยทำการค้ามาก่อน วันนี้จีนเติบโตมากกลายเป็นมหาอำนาจ

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003)  คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

  • เป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก
  • เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก
  • จัดประชุม APEC 2003 ในจีน
  • นำจีนเข้า WTO
  • เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้น
  • ส่งความช่วยเหลือไป Africaและประเทศด้อยพัฒนา

รุ่นที่ 4 (2003 – 2013) 

  • คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)
  • เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ
  • แต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ

รุ่นที่ 5 (2013 – 2023) 

  • คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)
  • ผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน
  • ควรศึกษากรณีศึกษากฟผ.ในการบริหารจัดการชุมชน
  • ก่อนเกษียณ ควรถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนรุ่นใหม่
  • ควรทำ Talent Management ให้กลมกลืนกับองค์กร Target  เขาตั้งแต่อายุน้อยๆแล้วให้อยู่ในบริบทการเคหะ

 

Workshop

กลุ่ม 1

  • รุ่น 1
  • ปี 2516-2530
  • ผู้ก่อตั้งได้แก่ ท่านวทัญญู รตยา
  • ท่านเขียนพิมพ์เขียว แล้วนำเสนอดร.มาลัย นำไปหารือพลเอกประภาส จารุเสถียร
  • เรียกว่าเป็นยุค คิด เขียน เสนอรัฐบาล
  • รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้ทั้งหมด
  • รุ่น 2 ขยายการทำงาน
  • ยุคผู้ว่าดำรง-สมพงษ์
  • ซื้อที่ดินบางพลีและเริ่มทำงานด้านสลัม เปลี่ยนชื่อสลัมเป็นชุมชนแออัด
  • สร้างเมืองใหม่รองรับกรุงเทพมหานคร
  • มีโครงการภาครัฐ ส่งเสริมสร้างบ้านพักข้าราชการและบ้านพักผู้พิพากษา วางแผนระยะยาว
  • ซื้อที่ดินเมืองใหม่ลาดกระบัง ค่อยๆซื้อทีละน้อยทำให้การเมืองแทรกแซงได้น้อยที่สุด
  • ผู้ว่าสุปรีดิ์
  • พบวิกฤติต้มยำกุ้ง
    • รุ่นบ้านเอื้ออาทร เป็นยุครุ่งเรือง
    • ผู้ว่าชวนพิศเก่งมาก ผู้ว่ากล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
    • รุ่นพิษบ้านเอื้ออาทร
    • ผู้ว่าพรศักดิ์ สุชาติ
    • เจรจาแก้ปัญหาสุขุม
    • ยุคผู้ว่าวิฑูรย์
    • เป็นโอกาสในปัจจุบัน
    • ทำโครงการใหญ่ๆ
    • ต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมา
    • ต้องเป็นผู้นำการแก้ปัญหาน้ำท่วมสำหรับที่อยู่อาศัย
  • รุ่น3 ปี 2540-2545
  • รุ่น 4 ปี 2546-2550
  • รุ่น 5 ปี 2551-2554
  • รุ่น 6 ปี 2555 ฟื้นฟูศรัทธาประชาชน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย ทำได้ละเอียดมาก ได้ความรู้

กลุ่ม 2 

โอกาส

อุปสรรค

AEC ลงทุนต่างประเทศ

การทำอาคารเช่า บ้านริมทางรถไฟ

อุทกภัยทำให้เกิดบ้านคูคลอง

พม่าเปิดประเทศ

การเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานเช่น รถไฟฟ้ามหานคร และการรถไฟแห่งประเทศไทย

ภาษา

ความรู้ที่หลากหลาย

ระเบียบข้อบังคับ

การแทรกแซงทางการเมือง ความไม่แน่นอน ทำให้โครงการไม่ได้รับอนุมัติ

ความไว้วางใจ

กลุ่ม 3

Character

คิดบวก

ใฝ่รู้

คุณธรรม

จุดยืนที่มั่นคง

ยืดหยุ่น

กล้าตัดสินใจ

Smart

ความคิดสร้างสรรค์นอกกกรอบ

Skills

ภาษาอาเซียน

การสื่อสารในและนอกองค์กร

ความรู้บริหารธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์

การบริหารความขัดแย้ง

การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร

Process

มีวิสัยทัศน์

มีเป้าหมาย

ให้ความสำคัญทุนมนุษย์

ไอที

ประเมินผล

Value

คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย

การทำงานเป็นทีม

ความเชื่อถือ

กลุ่ม 4

  • ต้องการผู้นำมีคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ กล้าหาญ

Roadmap

  • ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
  • คัดเลือกคนมาพัฒนา
  • ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา นอกเหนือจาก ที่ HR กำหนดให้
  • ผู้บริหารต้องกระตุ้นให้พนักงานกล้าแสดงความเห็น
  • สับเปลี่ยนหมุนเวียนสายงาน

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ทำให้รู้จักการเคหะมากขึ้น
  • โอกาสและอุปสรรคคงหนีไม่พ้นที่กลุ่ม 2 เสนอ
  • อีกอุปสรรคคือนโยบายด้านที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีหน่วยราชการดูแลเต็มๆ
  • ต้องกลับมาดูยุทธศาสตร์ว่าจะเป็นผู้นำแบบใด

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ควรจะนำการวิเคราะห์ผู้นำแต่ละรุ่นของการเคหะมาทำเป็นวิจัย
  • ควรจะมองความต้องการของคนมาอยู่บ้านมาหาเรา
  • คุณสมบัติ Smart ต้องเก่งเรื่องชุมชนด้วย
  • ต้องสร้าง Successor ขึ้นมา
  • ผู้นำต้องเข้มแข็ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ทำให้มีเครื่องมือในการพัฒนาผู้นำมากขึ้น
  • HR ต้องร่วมกับฝ่ายอื่นๆในการพัฒนา ต้องมีผู้นำระดับสูงสนับสนุน
  • ต้องคิดวิธีการทำงานในอนาคต จะช่วยคนจนหรือจะสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ปัญหาคือไม่มีคนทำงานเพราะทดแทนไม่ทัน ต้องวางแผนเป็นพิเศษ
  • การเคหะต้องมองให้รอบด้าน ต้องมองเรื่องผังเมือง
  • การแข่งกับเอกชนทำให้การเคหะเข้มแข็งขึ้น

Workshop

กลุ่ม 1

  • รุ่น 1
  • ปี 2516-2530
  • ผู้ก่อตั้งได้แก่ ท่านวทัญญู รตยา
  • ท่านเขียนพิมพ์เขียว แล้วนำเสนอดร.มาลัย นำไปหารือพลเอกประภาส จารุเสถียร
  • เรียกว่าเป็นยุค คิด เขียน เสนอรัฐบาล
  • รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนให้ทั้งหมด
  • รุ่น 2 ขยายการทำงาน
  • ยุคผู้ว่าดำรง-สมพงษ์
  • ซื้อที่ดินบางพลีและเริ่มทำงานด้านสลัม เปลี่ยนชื่อสลัมเป็นชุมชนแออัด
  • สร้างเมืองใหม่รองรับกรุงเทพมหานคร
  • มีโครงการภาครัฐ ส่งเสริมสร้างบ้านพักข้าราชการและบ้านพักผู้พิพากษา วางแผนระยะยาว
  • ซื้อที่ดินเมืองใหม่ลาดกระบัง ค่อยๆซื้อทีละน้อยทำให้การเมืองแทรกแซงได้น้อยที่สุด
  • รุ่น3 ปี 2540-2545
  • ผู้ว่าสุปรีดิ์
  • พบวิกฤติต้มยำกุ้ง
  • รุ่นบ้านเอื้ออาทร เป็นยุครุ่งเรือง
  • ผู้ว่าชวนพิศเก่งมาก ผู้ว่ากล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
  • รุ่นพิษบ้านเอื้ออาทร
  • ผู้ว่าพรศักดิ์ สุชาติ
  • เจรจาแก้ปัญหาสุขุม
  • ยุคผู้ว่าวิฑูรย์
  • เป็นโอกาสในปัจจุบัน
  • ทำโครงการใหญ่ๆ
  • ต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมา
  • รุ่น 4 ปี 2546-2550
  • รุ่นบ้านเอื้ออาทร เป็นยุครุ่งเรือง
  • ผู้ว่าชวนพิศเก่งมาก ผู้ว่ากล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
  • รุ่น 5 ปี 2551-2554
  • รุ่นพิษบ้านเอื้ออาทร
  • ผู้ว่าพรศักดิ์ สุชาติ
  • เจรจาแก้ปัญหาสุขุม
  • รุ่น 6 ปี 2555 ฟื้นฟูศรัทธาประชาชน
  • ยุคผู้ว่าวิฑูรย์
  • เป็นโอกาสในปัจจุบัน
  • ทำโครงการใหญ่ๆ
  • ต้องตั้งบริษัทลูกขึ้นมา
  • ต้องเป็นผู้นำการแก้ปัญหาน้ำท่วมสำหรับที่อยู่อาศัย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย ทำได้ละเอียดมาก ได้ความรู้

กลุ่ม 2 

โอกาส

อุปสรรค

AEC ลงทุนต่างประเทศ

การทำอาคารเช่า บ้านริมทางรถไฟ

อุทกภัยทำให้เกิดบ้านคูคลอง

พม่าเปิดประเทศ

การเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานเช่น รถไฟฟ้ามหานคร และการรถไฟแห่งประเทศไทย

ภาษา

ความรู้ที่หลากหลาย

ระเบียบข้อบังคับ

การแทรกแซงทางการเมือง ความไม่แน่นอน ทำให้โครงการไม่ได้รับอนุมัติ

ความไว้วางใจ

กลุ่ม 3

Character

คิดบวก

ใฝ่รู้

คุณธรรม

จุดยืนที่มั่นคง

ยืดหยุ่น

กล้าตัดสินใจ

Smart

ความคิดสร้างสรรค์นอกกกรอบ

Skills

ภาษาอาเซียน

การสื่อสารในและนอกองค์กร

ความรู้บริหารธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์

การบริหารความขัดแย้ง

การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร

Process

มีวิสัยทัศน์

มีเป้าหมาย

ให้ความสำคัญทุนมนุษย์

ไอที

ประเมินผล

Value

คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย

การทำงานเป็นทีม

ความเชื่อถือ

กลุ่ม 4

  • ต้องการผู้นำมีคุณธรรม มีวิสัยทัศน์ กล้าหาญ

Roadmap

  • ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
  • คัดเลือกคนมาพัฒนา
  • ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา นอกเหนือจาก ที่ HR กำหนดให้
  • ผู้บริหารต้องกระตุ้นให้พนักงานกล้าแสดงความเห็น
  • สับเปลี่ยนหมุนเวียนสายงาน

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ทำให้รู้จักการเคหะมากขึ้น
  • โอกาสและอุปสรรคคงหนีไม่พ้นที่กลุ่ม 2 เสนอ
  • อีกอุปสรรคคือนโยบายด้านที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีหน่วยราชการดูแลเต็มๆ
  • ต้องกลับมาดูยุทธศาสตร์ว่าจะเป็นผู้นำแบบใด

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ควรจะนำการวิเคราะห์ผู้นำแต่ละรุ่นของการเคหะมาทำเป็นวิจัย
  • ควรจะมองความต้องการของคนมาอยู่บ้านมาหาเรา
  • คุณสมบัติ Smart ต้องเก่งเรื่องชุมชนด้วย
  • ต้องสร้าง Successor ขึ้นมา
  • ผู้นำต้องเข้มแข็ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ทำให้มีเครื่องมือในการพัฒนาผู้นำมากขึ้น
  • HR ต้องร่วมกับฝ่ายอื่นๆในการพัฒนา ต้องมีผู้นำระดับสูงสนับสนุน
  • ต้องคิดวิธีการทำงานในอนาคต จะช่วยคนจนหรือจะสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • ปัญหาคือไม่มีคนทำงานเพราะทดแทนไม่ทัน ต้องวางแผนเป็นพิเศษ
  • การเคหะต้องมองให้รอบด้าน ต้องมองเรื่องผังเมือง
  • การแข่งกับเอกชนทำให้การเคหะเข้มแข็งขึ้น

Panel Discussion การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

โดย ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

       กรณีศึกษาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

       โดย คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

ดำเนินการอภิปรายโดย

       อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • สิ่งสำคัญที่สุดคือ Change Management
  • เวลาเปลี่ยนไป ต้องเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิต ไม่ประมาทเรื่องสุขภาพ ต้องออกกำลังกายทุกวัน และไม่ประมาทเรื่องความรู้ มีความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์
  • การนำเสนอกรณีศึกษากฟผ. ต้องอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนบทบาทจากวิศวกรเป็นพัฒนาชุมชน ต้องเป็นแบบ win-win
  • ต้องดูว่าจะทำให้ชุมชนอย่างเดียวหรือไปแข่งกับเอกชน
  • ต้องดูภูมิสังคมด้วยเพราะมีอิทธิพลต่อการทำงานของการเคหะ

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • บทเรียนจากการชมวีดิทัศน์คือ ประเทศไทยกำลังถูกขวดโคล่าหล่นใส่ การเคหะก็โดนหลายขวด
  • ขวดโคล่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำอย่างไรจะรับมือและอยู่กับมันได้
  • ถ้าต้องการเป็นผู้นำต้องริเริ่มการเปลี่ยนแปลงเอง
  • บทบาทหน้าที่หลักของผู้บริหาร ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง

คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

  • ผมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรไฟฟ้า เคยไปดูแลระบบให้ 80 ประเทศ ล่าสุดไปทำงานให้ซูดานและภูฏาน
  • แนวคิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ไปพบมา
  • ทุกคนมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงส่วนบุคคลตลอดเวลาอยู่แล้ว
  • ปัจจุบันแม้เราไม่สามารถใช้แหล่งพลังงานในไทย ก็ต้องไปใช้ไฟฟ้าพลังน้ำในลาว พอมีวิกฤตินิวเคลียร์ก็ไม่สามารถตั้งโรงงานนิวเคลียร์ได้
  • เราต้องเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
  • การรักษาสถานะ First Choice Energy ทำได้ลำบาก
  • สังคมก็ต่อต้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มาจากโรงไฟฟ้า ก็ทำให้กฟผ.อยู่ไม่ได้
  • ในการลงทุนโครงการใหญ่ๆ กฟผ. ยังมีความเสี่ยงเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจ
  • เมื่อมี AEC ต่างชาติที่ทุนหนาจะมาลงทุนและควบคุมกิจการของภูมิภาค
  • แนวนโยบายรัฐกำหนดกรอบและการชี้วัดของกฟผ.
  • การพัฒนาทีมและองค์กร แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้ กฟผ.จะเปลี่ยนแปลงมุมมองเพื่อสร้างสมดุล ต้องดูว่ามีข้อมูลอะไร เราดูความต้องการไฟฟ้าแล้วพัฒนากำลังการผลิต แต่ไม่ยั่งยืน
  • กฟผ.กำลังเปลี่ยนมุมมองปรับทัศนคติของชาวบ้านเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น
  • เดิมเราเดินตามเทคโนโลยี สร้างสมดุลระหว่าง Demand และ Supply ตอนนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
  • สิ่งสำคัญคือเปลี่ยนความคิดเพื่อเลือกความรู้ที่หลากหลายขึ้น ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลง สร้างสมดุลในการเปลี่ยน
  • ในกฟผ. ผู้ว่าท่านปัจจุบันมองว่า การนำองค์กรเป็น First Choice Energy ก็ต้องมีการปรับ mindset ของ Management Team
  • องค์กรมี Stakeholder รอบด้าน ต้องพัฒนาคนให้มีความรู้หลากหลาย ใช้ความรู้เป็นปัญญา
  • ต้องสร้างค่านิยมองค์กร ให้คนทุ่มเททำงาน
  • กระบวนการสร้างผู้นำ ก็เลือกคนที่มีสมรรถนะสูง และใช้ Executive Coaching

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • เมื่อความเปลี่ยนแปลงเข้ามา จะรับมือกับมันอย่างไร หรือจะลุยเลย
  • ถ้าไม่บริหารการเปลี่ยนแปลงจะเกิดอะไรขึ้น
  • เมื่อ 100 ปีที่แล้วโลกาภิวัตน์ทำให้ไทยเกือบเสียเอกราช
  • ตอนนี้ เราก็ซื้อของจากอียูแล้วเพราะห้างใหญ่ๆก็เป็นของประเทศในยุโรป
  • มองนอกและใน แล้วเลือกทำในสิ่งที่ถูก ทำอะไรเพื่อใคร อย่าทำอย่างเดิม
  • จะเป็นทหารราบสร้างที่อยู่อาศัยให้คนอยู่หรือจะเป็นทหารอากาศจุดประกายให้คนมีที่อยู่อาศัยและเมืองที่ดี ไม่ต้องสร้างเอง
  • มีกลยุทธ์อะไร Do the thing right
  • สคร.ให้ทำ SOD (Statement of Direction)
  • ถ้าจะทำบ้านเอื้ออาทรเอง ต้องดูว่าบุคลากรพอไหม อาจให้ภาคเอกชนช่วยพัฒนาบ้านคนจนอีก
  • กระทรวงการคลังให้การเคหะทำเซป้าซึ่งถือเป็นขวดโคล่า ทำให้การเคหะต้องทบทวนสภาพแวดล้อมและความท้าทายที่มีอยู่
  • ถ้านโยบายและผู้นำมุ่งไปสู่อาเซียน การเคหะต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนโดยเฉพาะลูกค้า ต้องหาคนมาทำงานด้านอาเซียน

Workshop

กลุ่ม 1

  • ช่วงบ้านเอื้ออาทรเหมือนขวดโค้กทั้งลังตกลงมา
  • เราเปลี่ยนแปลงโดย ให้ผู้ประกอบการสร้างให้เรา เรียกว่า เทิร์นคีย์
  • องค์กรเปลี่ยนเป็น CBU ดูว่าโครงการอยู่ที่ไหน เท่าไรที่ควรจะรับโครงการนั้น
  • อุปสรรคการขายคือ ผู้จองบ้านไม่ผ่านการพิจารณาของธนาคาร การเคหะต้องให้เขาเช่าซื้อทำให้มีหนี้ค้าง
  • ปัญหาคือ การดูแลชุมชนแบบเดิมทำได้ยากขึ้น แก้โดย Outsource มาดูแล
  • การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือ Junk Cost  ปรับปรุงจากการลดหน่วย เราต้องบริหาร Junk Cost  โดยขายมันด้วยราคาต่ำกว่าที่เราลงทุนไป
  • ปัญหาการทำบ้านเอื้ออาทรสร้างความเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควรและต้องวางแผนแก้ไขในอนาคต

กลุ่ม 2

  • เราเสียเวลามากในการทำแบบ จึงนำแบบมาตรฐานมาทำ เพื่อให้ได้แบบและราคาที่เหมาะสม จึงคัดหัวหน้าทีมกลุ่มงานมาหารือกัน แล้วหัวหน้ากลุ่มคัดเลือกทีมมาปฏิบัติ แต่เดิมให้เอกชนทำ
  • ตัวมาตรฐานนำไปต่อยอด เราได้ดำเนินการจากงบประมาณใหม่ จะนำมาทำทั้งหมดให้เป็นแนวทางเดียวกัน

กลุ่ม 3

  • เรื่องผู้บุกรุกริมคลองอาศัยอยู่นาน เราได้ทำแผนการสร้างคล้ายเอื้ออาทร แต่ไม่มีการบริหารชุมชนแล้วให้หน่วยงานอื่นรับไปดูแล เราจะสร้างได้ก็ต่อเมื่อเขายินยอมย้ายออก เราไม่มีอำนาจรื้อย้าย
  • เราต้องกำหนดกลยุทธ์ ต้องมีกรรมการระดับชาติมากำกับดูแล
  • ตอนนี้โครงสร้างเรามีฝ่ายก่อสร้าง 4 ฝ่าย แต่บุคลากรไม่พอรองรับภารกิจนี้ บุคลากรช่างเกษียณอายุมาก ไม่สามารถรับคนแทนได้
  • ต้องปรับเปลี่ยนการบริหารโครงการ กำหนดรูปแบบรับซื้อโครงการ ต้องร่วมมือกับเอกชน
  • งบมาจากเงินกู้และเงินอุดหนุน ถ้ากู้อีก รัฐบาลจะมาดูแลอย่างไร
  • การบริหารจัดการโครงการปัจจุบันให้ผู้รับเหมามาสร้างจะพอหรือไม่ ก็ยังสร้างช้า

กลุ่ม 4

  • เรื่องพ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ
  • แนวทางแก้คือ ต้องไม่กู้ จะได้ไม่ขาดทุน หรือต้องเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
  • การทำโครงการสำหรับผู้มีรายได้น้อย รัฐต้องมีทางออกโดยหาแหล่งเงินที่ถูก เช่น โครงการเมืองใหม่บางพลี ทำให้ได้เงินกู้ต่างประเทศมาโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่มีค่าผูกพันเงินกู้ 7% แต่นี่ก็น่าจะเป็นทางออก
  • ปัจจุบัน เราปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการหารายได้เพิ่มขึ้น
  • กำหนดลักษณะโครงการ ฝ่ายโครงการเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์

กลุ่ม 5

  • นโยบายสร้างที่อยู่อาศัยแสนหน่วยตามรถไฟฟ้า การเคหะต้องไปทำแม้ช้ากว่าเอกชน
  • เราอาจดำเนินการเองหรือ รับซื้อหรือร่วมทุนกับเอกชน
  • ถ้าทำเอง ก็มีปัญหาคือที่ดินโดนเอกชนซื้อไปแล้ว
  • การเคหะยังไม่มีการเวนคืนที่ดินและที่ดินตาบอด
  • เรื่องเงินทุน ไม่ใช่ปัญหา รัฐเข้ามาช่วยค้ำประกันหรือเงินสนับสนุนถ้ามีประโยชน์จริง
  • ปัญหาเรื่องบุคลากร ขาดอัตรากำลังในอนาคต
  • ก่อนมีโครงการเอื้ออาทรดำเนินการได้ 3 หมื่นหน่วย ยังไม่ถึงแสน
  • ก็ต้องรับคนเพิ่ม ยืดอายุบุคลากร
  • การรับซื้อโครงการจากเอกชน มักมีปัญหาว่าเป็นโครงการไม่โปร่งใส ต้องตั้งกรรมการ
  • การร่วมลงทุนกับเอกชน ถ้าสร้างแรงจูงใจให้เอกชนมากไป ตนเองจะมีปัญหา

กลุ่ม 6

  • เรื่องเดียวกับกลุ่มที่ 5
  • การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลงทุนบนพื้นฐานของรถไฟฟ้า อาจจะเช่าเซ้ง เพราะพ.ร.บ.เวนคืนที่ดินมีข้อจำกัด
  • หรือการเคหะมีที่ดินใกล้รถไฟฟ้าอาจจะขอให้ทำรถรับส่งถึงรถไฟฟ้า
  • การให้เอกชนดำเนินการแล้วเรารับซื้อ ต้องนำประสบการณ์โครงการเอื้ออาทรมาใช้
  • แหล่งเงินทุนและภาระดอกเบี้ย รัฐ
  • พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ เราจะได้ข้อยกเว้นหรือลดหย่อนไหม

ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

  • ที่ท่านพูดคือเป็นการคาดการณ์รับมือกับการเปลี่ยนแปลง ยังไม่ได้คิดเชิงรุกเท่าไร
  • นำข้อผิดพลาดมาแก้ไข
  • การพัฒนาคนเพื่อสืบทอด
  • เวลาความเปลี่ยนแปลงมา ก็ต้องบริหารความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี บริหารจัดการการเปลี่ยนระเบียบสังคม
  • ต้องเปลี่ยนค่านิยมอุดมการณ์ด้วย
  • ผู้บริหารต้องทำอุดมการณ์ให้แน่วแน่คงอยู่และไปด้วยกัน
  • ต้องเริ่มจากเศรษฐกิจพอเพียงแล้วจัดระเบียบสังคมตามนั้น
  • ต้องสร้างบรรทัดฐานด้วย
  • ต้องพัฒนาคนรุ่นใหม่เรื่องจิตสำนึกคิดถึงคนอื่น
  • จากตัวอย่างราชการสิงคโปร์ เน้นการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า ต้อนรับการเปลี่ยนแปลงและบริหารการเปลี่ยนแปลง

คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด

  • ประเด็นปัญหาคือ นโยบายและทรัพยากร
  • นโยบายรัฐเป็นเรื่องปกติ ต้องเปลี่ยนแปลงตามเขา แต่ถ้าเรามีพลังความรู้และปัญญา ก็จะสร้างสรรค์ได้ ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมก็ได้ นำคนรุ่นอื่นมาเสริมแล้วทางออกจะเกิด
  • ถ้าบูรณาการได้ มีกลุ่มที่เราเป็นพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศทำโครงการใหญ่ๆ
  • สิ่งสำคัญคือสังคมยอมรับหรือไม่ เพราะเขามุ่งหวังความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • ที่ดิน ทุน คนเป็นปัญหาทั่วไป
  • ผู้นำระดับสูงต้องมีคนกล้า Integrate, Create และกล้าตัดสินใจเพื่อความยั่งยืน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

  • ต้องใช้ 2 C คือ Competency ความรู้ความสามารถ และ Collaboration ร่วมมือกับเอกชน

 

ประโยชน์ที่ได้รับและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะแห่งชาติ หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (Executive Development Program 2012)

  1. ให้ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะ 2558 AEC เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือ กับผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน
  2. ให้มีการทบทวน วิเคราะห์ ผลงาน วิธีการ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยทบทวน วิเคราะห์เป็นระยะๆ ในทุกๆ ด้าน เช่น ทรัพยากรบุคคล ขีดความสามารถ, ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ในเชิงปรับปรุงพัฒนาบูรณาการ
  3. เตรียมความพร้อมโดยวางแผนล่วงหน้า ด้านทรัพยากรบุคคล แต่ละกลุ่มอายุที่จะครบอายุการทำงาน กลุ่มใหม่สามารถรับช่วงติดอย่างกลมกลืนหรือไม่
  4. กลุ่มทรัพยากรบุคคลตามข้อ 3 จัดให้มีการเติมความรอบรู้พัฒนาให้ทันกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในงานของการเคหะแห่งชาติ

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตส่งการบ้านค่ะ เมื่อวานได้ส่งมาแล้วคร้ังหนึ่งแต่รู้สึกว่าจะมีปัญหาในการส่ง จึงขอส่งการบ้านใหม่อีกครั้งหนึ่งค่ะ ตามไฟล์ที่แนบนะคะ

อรพิณ

ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร
                      ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง วันที่ 18 มิถุนายน 2555     วิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) โดย ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ คือ มีความเข้าใจองค์ประกอบของผู้นำที่ชัดเจน โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและการบริหาร มีคุณธรรมและจริยธรรม สนใจเรียนรู้และทันต่อเหตุการณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาและกล้าตัดสินใจ มองการณ์ไกล คิดอย่างเป็นระบบ มีบุคลิกภาพดี มีความสามารถในการสื่อสาร เข้าได้กับผู้ร่วมงานทุกระดับในองค์กรและภายนอกองค์กร ให้เกียรติและให้ความเมตตาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                         สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะแห่งชาตินั้น เริ่มจากการมีความมั่นใจในความรู้เรื่องภาวะผู้นำที่ได้รับจากการอบรม และซึมซับแนวคิดดังกล่าวไว้ในจิตใต้สำนึก มีสติและมุ่งมั่นที่จะบริหารงานที่ได้รับมอบหมายทุกเรื่องให้ดีที่สุดแก่องค์กรและตนเอง
                                                                                                                                ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

ได้เรียนรู้ว่า ผู้นำมีหลายประเภทและ ผู้นำที่ดี สมบูรณ์แบบ ต้องมีคุณสมบัติมากมายหลายประการ การจะเป็นผู้นำได้อาจเกิดจากตัวของผู้นั้นเองคือมีพรสวรรค์ในการเป็นผู้นำ หรือเกิดจากการฝึกทักษะ พัฒนาตนเอง จนทำให้เกิดคุณค่าในตัวเองและได้รับความศรัทธาจากลูกน้องและบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่การจะเป็นผู้นำแบบใด ต้องขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือวัฒนธรรมขององค์กร นอกจากนั้น ผู้นำในยุคที่กำลังจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะต้องเข้าใจเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีสถานะการณ์ที่แปลกใหม่เข้ามา เพื่อความอยู่รอดขององค์กรหรือประเทศชาติ ต้องมีการปรับตัวเอง เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานใหม่ คิคค้นแผนงานใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน คิดนอกกรอบ ซึ่งผู้นำจะต้องทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจเรื่องการเปลื่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเกิดการยอมรับในแผนงานที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันกับสถานะการณ์ปัจจุบันและเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประเทศชาติ

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1)

อาจารย์ จีระ   หงส์ลดารมภ์

วันที่ 18/06/2555

ความหมายของผู้นำที่ดีคืออะไร

-  ผู้นำ เป็นผู้ มองอนาคต -  ผู้บริหาร เน้นระบบควบคุม  กำไร/ขาดทุน มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างผู้นำที่ดีของไทย

- พระนเรศวร , ร.5 , ร.9

- อาจารย์สัญญาธรรมศักดิ์ , ดร.ป๋วย , ชวน หลีกภัย

ตัวอย่างผู้นำที่ดีของต่างประเทศ

เติ้ง เสี่ยวผิง  สิ จินผิง

โอบามา เมลเดลา ดาไล ลามะ  อองซานซูจี

ผู้นำและผู้จัดการ

-  Trust หรือศรัทธาของการเป็นผู้นำเกิดได้แก่ทุกๆคน มิใช่แค่มีตำแหน่ง

-  Turst   มีหลายประเภท

- Self Trust  ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอย่างไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา

- Relationship Trust ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

- Organization Turst การสร้าง Brand

- Sociol Trust

วิธีสร้างได้มาซึ่ง trust ระหว่างบุคคล

- พูดจริงทำจริง ยกย้องนับถือเพื่อร่วมงาน

- ทำงานด้วยความโปร่งใส่ ปรับปรุงตนเองเสมอ

วิธีได้มาซึ่ง Social Trust มีบทบาทที่ดีต่อส่วนรวม สร้างความปรองดอง ความมั่นคงของคนในประเทศ

University of Washington ผู้นำต้องมี 4 วิธี

1. Leadership skill การตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง ทำงานเป็นทีม

2. Charactar คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น รองเรียนรู้ มีทัศนคติเป็นบวก มีคุณธรรม

3. Leadership perecess ควรมี Vision มองอนาคตให้ออก

4. Lradeship Valur ที่สำคัญที่สุด คือ Trust ความศรัทธาให้ผู้นำนั้นๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ

แนวคิด หลักการ และวิสัยทัศน์ของผู้นำที่ดี                           

                                                                                                            นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                                                                                             [email protected]

 

สรุปวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ผศ.ปัณรส     มาลากุล  ณ  อยุธยา

วันที่ 18/06/2555

 

ผู้บริหารต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยพิจารณาการณ์รอบด้าน

ต้องเข้าใจความเปลี่ยงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

มองข้างนอกและ ดูสภาพแวดล้อม  จะทำอะไรต่อไป  ต้องเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง

 การเข้าใจด้วยกัน  จะเข้าถึงปัญหามากขึ้น

มีความไว้วางใจ  จะเกิดความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน

การระดมความคิดจากข้างใน   จะเกิดการพัฒนาสมอง มากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาองค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับ

            การมองสถานะการ์ณโดยรอบทั้งภายในและภายนอกเพื่อประกอบการตัดสินใจบริหารความเปลี่ยนแปลง                                                                            

                                                                                                นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                                                                                [email protected]

จารุวรรณ งามกนกวรรณ

หัวข้อที่1: ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

  1. ประโยชน์ที่ได้รับ ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาวะผู้นำที่ดีควรเป็นอย่างไร จะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) และรู้จักการมอบอำนาจ (Empowerment) ซึ่งวัตถุประสงค์ของหัวข้อนี้ทำให้ผู้บริหารต้องศึกษาเรื่องภาวะผู้นำอย่างแท้จริง, การสร้างความตระหนักในการเป็นผู้นำมากกว่าการเป็นผู้บริหาร ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างผู้นำและผู้บริหาร โดยที่ผู้บริหารระดับนี้มักจะมีความชำนาญการด้านการบริหารแต่ยังขาดทักษะและการฝึกฝนในการผู้นำ ได้เข้าใจถึงชนิดของผู้นำ (Types of Leadership) ในแต่ละชนิดว่ามีอะไรบ้างเช่น Autocratic leadership, Bureaucratic leadership, Democratic leadership and Laissez-Faire leadership เป็นต้น แต่ละชนิดคืออะไร ซึ่งมีวิธีการสร้างความเป็นผู้นำในแต่ละชนิดอีกด้วย ที่สำคัญในหัวข้อนี้ยังได้เรียนรู้ถึงคุณสมบัติของผู้นำในหลายๆระดับ ตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับโลก ทำให้เราได้นำคุณสมบัติหรือแบบอย่างที่ดีเหล่านั้นกลับมาพัฒนาและ/หรือเลือกคุณสมบัติที่มีความใกล้เคียงพอที่จะสร้างตนให้เป็นผู้นำได้นั่นเอง การสร้างผู้นำหลายแบบ เช่น The leadership Pipeline, by Ram Charun, The 5E’s cycle model – Engagement, Exploration, Explanation, Elaboration and Evaluation รวมถึงจากอาจารย์จาก University of Washington

  2. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะแห่งชาติ ได้ดังนี้ เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงว่าเราอยู่ในฐานะผู้บริหารที่กำลังจะก้าวสู่ภาวะความเป็นผู้นำ จึงต้องนำความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนิดของผู้นำ (Types of Leadership) แบบอย่างของผู้นำในหลายๆระดับตั้งแต่ระดับองค์กรไปจนถึงระดับโลก, วิธีการสร้างผู้นำหลากหลายวิธีมาปรับใช้ โดยการเลือกคุณสมบัติของผู้นำที่ได้ศึกษามาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งไม่มีผู้นำชนิดไหนที่ดีที่สุดหรือเลวที่สุด มีแต่ผู้นำที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ เช่น หากองค์กรอยู่ในสภาวะการณ์ที่ฉุกเฉินหรือเกิดวิกฤติ เราก็จำเป็นต้องสั่งการหรือเป็นแกนหลักให้ลูกน้องทำตาม มากว่าที่จะปล่อยให้ดำเนินเรื่อยเปื่อยเหมือนในสภาวะปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำคุณสมบัติที่ได้ศึกษามาที่มีความใกล้เคียงกับตนเองมากที่สุด เพื่อเลือกวิธีการสร้างผู้นำที่ง่ายสำหรับตน และฝึกปฏิบัติตนเองทันทีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเป็นระยะเวลา 3เดือน แล้วจึงค่อยประเมินผลอีกที

หัวข้อที่ 2 การบริหารการเปลี่ยนแปลง 1. ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้มีความรู้ ความเข้าใจเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่จะกระแสโลกาภิวัตน์
2.ผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรมีปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกอะไรบ้าง
3.เมื่อกระทบต่อองค์กรแล้วเราในฐานะผู้บริหารขององค์กรจะจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เช่น
    - วิเคราะห์และทบทวน วิสัยทัศน์, โอกาส, ภัยคุกคาม ให้ชัดเจนในภารกิจหลักขององค์กร วัตถุประสงค์, จุดอ่อน ,จุดแข็ง ดูว่าทำอะไร เพื่อใคร
    - กำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง
    - จัดทำ Roadmap ขั้นพื้นฐานของการรับรู้ , ต้องการ, ความรู้ ,ความสามารถ
4.วิธีการบริหารเมื่อมีการปรับโครงสร้างเข้ากระบวนงานและวิธีการทำงาน
    -ปรับระบบการเงิน และงบประมาณ
    -ปรับระบบการบริการบุคคลและค่าตอบแทน
    -ปรับวัฒนธรรมและค่านิยม
    -ฯลฯ

  1. ปรับมาใช้ในการทำงานการเคหะฯ อย่างไร การปรับใช้ในการทำงาน เนื่องจากงาน HR เป็นงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จึงเป็นหน่วยงานที่จะต้องนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรตลอดเวลาด้วย โดยจะมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
    1. การวิเคราะห์และทบทวนวิสัยทัศน์ของฝ่าย ดูโอกาส, สร้างความรู้ภายในภารกิจ, จุดอ่อน, จุดแข็ง งาน HR แล้วมากำหนดวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง 2.จัดทำ Road map และแผนปฏิบัติการทุก process 3.ที่สำคัญต้องมีการวิเคราะห์และกำหนดวิธีการที่จะบริหารการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงออกมาเป็นแผนคู่ขนานออกมารองรับ 4.ตามแผนปฏิบัติการ 5.ประเมินผล

                                     กำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง
      
      

วิเคราะห์และทบทวนวิสัยทัศน์ ภารกิจ จัดทำ Roadmap แผนปฏิบัติการ

    จุดอ่อน  จุดแข็ง ฯลฯ                                                              และแผนบริหารการต้านเปลี่ยนแปลง


       ประเมินผล                                                                        ปฏิบัติตามแผนฯ

ดังนั้นจะนำความรู้ที่ได้รับ มาปฏิบัติในงาน HR ตามเนื้อหาข้างต้น

ธวัช บุญครองเกียรติ

ส่งงาน วันที่ 18 มิย. 55

วันที่ 18 มิ.ย. 55

 

      ได้รับความรู้เกี่ยวกับผู้นำ หลายมุมมอง เช่น ลักษณะผู้นำ วิสัยทัศน์ การยอมรับการเปลี่ยนแปลง ได้รับความศรัทราและความน่าเชื่อถือจากผู้อื่นความสามารถพิเศษในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน เป็นต้น และมองไปถึงผู้นำในอนาคตที่ควรเรียนรู้ปัญหาเศรษฐกิจของโลก และการเมืองในประเทศที่อาจสร้างปัญหาให้กับองค์กรและลูกค้าของ กคช.ในอนาคต จากการยกตัวอย่างผู้นำที่มีชื่อเสียงในอดีตเป็นอย่างที่ดีมาก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับสภาพแวดล้อมและวัฒนะธรรมภายในองค์กร รวมทั้งขจัดปัจจัยภายนอกที่จะมาควบคุมหรือกำกับจนเสียขบวนการบริหารจัดการและภาวะผู้นำ

      เนื่องจากภาวะโลกมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง และเกิดภัยพิบัติ อย่างไม่คาดคิดมาก่อน ทำให้ขบวนการเปลี่ยนแปลงในอดีตไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ และเกิดแนวคิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ๆ อย่างมาก ดังนั้น กคช. ควรที่จะศึกษาภาวะเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจภายในรวมทั้งการเมืองวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จัดสัมมนาผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดทิศทาง การดำเนินงานของ กคช.ใน 10ปีข้างหน้า    

 

นายธวัช  บุญครองเกียรติ

                                                                           รองผอ.ทน.

 

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 18 มิถุนายน 2555 เวลา 08.30 – 12.00 น. หัวข้อวิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

              วันนี้เป็นการเข้ารับการอบรมเป็นวันแรก  จากการได้รับทราบถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ทำให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง ได้ทบทวนความรู้ และได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม  เป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง ได้เข้าใจถึงความต่างของการเป็น “ผู้นำ (Leder)” กับ “ผู้จัดการ (Manager)” อย่างชัดเจน  การเป็นผู้นำได้ต้องเกิดจากความศรัทธา 4 ประการ 1. ศรัทธาต่อตนเอง (Self Trust) 2. ศรัทธาและความสัมพันธ์ของคนในองค์กร (relationship Trust)  3. ศรัทธาในองค์กร โดยองค์กรเป็นที่ยอมรับ (Organization Trust) และ 4. ศรัทธาจากสังคมภายนอก (Social Trust)  การเป็นผู้นำสร้างได้  โดยได้เรียนรู้ถึงการพัฒนาภาวะผู้นำตามทฤษฎิ 5E’s  และความแตกต่างของการพัฒนาผู้นำแบบเก่า และแบบใหม่  โดยผู้นำควรมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ความเป็นตัวตน (character)  มีทักษะ(Leadership kill) มีวิสัยทัศน์  (Leadership process) และมีความศรัทธาในผู้นำนั้น (Leadership value)  ซึ่งอาจารย์ได้ให้ข้อคิดว่า  “ผู้นำที่ดี ต้องเป็นนักคิดที่ดีด้วย”  

วันที่ 18 มิถุนายน 2555 เวลา 13.30 – 16.30 น. หัวข้อวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยอาจารย์ ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา

             ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา  องค์กรต่าง ๆ ทุกภาคส่วน ล้วนแต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งเรื่องที่คาดคิด และไม่คาดคิด  เราจึงต้องปรับตัวและมีวิธีการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดีให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หากเราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ก็จะลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น  องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด  การอบรมในวิชานี้ ทำให้เรามีความรู้ ได้ฝึกหัดที่จะแก้ปัญหา และพร้อมรับต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่คิดท้อถอย โดยเฉพาะการเปลี่ยนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในอีก 3 ปีข้างหน้า   หากเราเตรียมพร้อมอย่างมีสติก็จะสามารถนำพาทีมงานให้พร้อมรับมือ และก้าวเดินไปกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงตลอดเวลา 

สุขุมาภรณ์ จงภักดี

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ และ การบริหารการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ลักษณะของผู้นำที่ดี เช่น มีวิสัยทัศน์ มีความเฉลียวฉลาด ใฝ่รู้ กล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ดีและถูกต้อง มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถสร้างศรัทธาและการยอมรับในวงกว้าง มุ่งมั่น และมีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมเรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น สามารถกระตุ้นคนอื่นให้มีพลัง พร้อมสนับสนุนผู้ร่วมงานให้ไปสู่ความสำเร็จ ฯลฯ
  • แนวทางการสร้างภาวะผู้นำ เช่น การทำตนเป็นตัวอย่าง การเรียนรู้จากประสบการณ์ ฯลฯ
  • แนวทางการสร้างผู้นำ เช่น ค้นหาความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผู้นำขึ้นมาแทนในอนาคต
  • ฯลฯ

 

การนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

  • พยายามที่จะแสวงหาความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนางานขององค์กร และนำมาพัฒนางานของ

         องค์กรให้ดีขึ้น

  • เรียนรู้ที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อดทน ตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล คุณธรรม

                        จริยธรรม  ความถูกต้อง

  • เปิดโอกาส สนับสนุน และแนะแนวทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้ความสามารถของตนอย่าง

                        สร้างสรรค์

  • ทำงานโดยยึดหลัก Good Governance (Accountability, Rule of Law

                Transparency, Democratization, Civil Society, Participation,

                         และ Responsibility)  เพื่อสร้างศรัทธาต่อผู้ร่วมงาน

  • เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนจากประสบการณ์ในการทำงานแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรอง

                        การตัดสินใจ การทำงานเป็นทีม ฯลฯ

 

เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ความเข้าใจว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง และการเรียนรู้ที่จะยอมรับและบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงอย่างฉลาด โดยการวางเส้นทาง (Roadmap)ไปสู่เป้าหมาย จัดสรรทรัพยากรเพื่อการจัดการความเปลี่ยนแปลง สร้างความรู้สึกร่วมในการจัดการความเปลี่ยนแปลงร่วมกัน และตัดสินในการบริหารความเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์
  • เลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน

 

 

การนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

  • ยอมรับความเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและภัยคุกคาม เพื่อหาหนทางรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์
นพดล ว่องเวียงจันทร์
        ส่งการบ้านใหม่ครับ เมื่อวันศุกร์ส่งแล้วมีปัญหาเข้าระบบไม่ได้
                   สรุปบทเรียนเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1)

  ได้ทราบข้อแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร เพราะมีหลายข้อที่เคยคิดว่า ผู้นำต้องทำ

แต่นั่นกลายเป็นงานของผู้บริหารไม่ใช่หน้าที่ของผู้นำ ผู้นำจะต้องมองไปไกลกว่า เช่น 1) ผู้บริหารจะเน้นระบบ แต่ผู้นำจะเน้นเรื่องคนให้ความสำคัญในเรื่อง HR 2) ผู้บริหารจะเน้นการควบคุม ผู้นำจะเน้นเรื่องความศรัทธา (ลูกน้องศรัทธาดีกว่าต้องควบคุมลูกน้องด้วยกฎเกณฑ์) 3) ผู้บริหารมองระยะสั้นแต่ผู้นำต้องมองยาวๆ 4) ผู้บริหารจะเน้น ทำเมื่อไร ทำอย่างไร แต่ผู้นำจะเน้น ทำอะไร และทำไมต้องทำ 5) ผู้บริหารจะมอง แค่กำไร ขาดทุน ทุก 3เดือน แต่ผู้นำต้องมองถึงอนาคต ภาพลักษณ์ 6) ผู้บริหารจะเน้นแค่ทำให้เสร็จทันเวลาและมีประสิทธิภาพแต่ผู้นำจะเน้นว่าจะหานวัตกรรมอะไรมาพัฒนางานนี้ได้อีก 7) ผู้บริหารเน้นความมั่นคง ปลอดภัย ผู้นำต้องกล้าเปลี่ยนแปลง (ชอบท้าทาย)

    ข้อต่อมาได้ทราบคุณสมบัติของผู้นำ ของ Jack  Welch คือ 4E’s Leadership คือ
  Energy (มีพลัง)  Energize ( กระตุ้น) Edge ( เด็ดขาด) Execution (ลงมือทำ)
    และทฤษฎีสร้างผู้นำ 5E’s คือ  Example ( เป็นตัวอย่างที่ดี)  Experience ( ถ่ายทอดประสบการณ์)  Education ( ให้การศึกษา)  Environment (สร้างบรรยากาศที่ดี ) 

Evaluation ( ประเมินผลต่อเนื่อง)

                       ( ก่อนหน้านี้ รู้จักแต่การตลาด 4Ps  : Price Place Product Promotion

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

 ได้เห็นความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพราะจะทำให้องค์

ปรับตัวทัน เห็นโอกาส ไม่ติดขัด ไม่สับสน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 ตัวอย่าง “ขวด” ที่ยกตัวอย่างมา เปรียบเหมือนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนโลก

ตลอดเวลา ทั้งในเรื่อง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง นวัตกรรม การศึกษา พฤติกรรม การทำงาน ฯลฯ ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะ ศึกษา แก้ไข หรือเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เราก็จะ ประสบปัญหา เหมือนเผ่าคนป่าในหนัง ที่มี “ขวด” คือความเปลี่ยนแปลงที่วันหนึ่ง จู่ๆ ก็เดินทางเข้ามาในสังคมของพวกเขา โดยยังไม่ทันตั้งตัวและสร้างปัญหามากมาย คนในเผ่าก็ไม่มีองค์ความรู้เพียงพอที่จะอธิบายและแก้ปัญหา “ขวด” ได้แต่ใช้วิธีง่ายๆคือ ให้ลืมๆ มันไปเสีย (โดยเอาไปฝัง) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบขอไปที ไม่ได้แก้แบบบูรณาการ และในที่สุด ปัญหาที่ถูกซุกไว้ใต้ดิน (ขวดอยู่ใต้ดิน) ก็ถูกขุดขึ้นมาอีก กลายเป็นปํญหาใหญ่ ที่ต้องแก้หนักกว่าเดิม ต้องเอาขวดไปทิ้งถึงขอบโลก???!!....

           มีความเข้าใจเรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงจากหนังเรื่องนี้ดีมาก (จำได้นาน)
 ตอนนี้ “ขวด”  ทางการเมืองของประเทศไทย ก็คือ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องปรองดอง
             “ขวด” เรื่องประชาคมอาเชี่ยนในปี 2558 
             “ขวด”  ของ กคช แก้ปัญหาเอื้ออาทร / พนง เกษียณอายุ ขาดบุคลากร/รายได้องค์กร/

ทิศทางองค์กรในอนาคต…จึงเป็นเรื่องท้าทายมากดังนั้น จึงต้องเข้าเรียน course นี้อย่างต่อเนื่องจะได้มีองค์ความรู้มาแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

                                                                                   นพดล  ว่องเวียงจันทร์
                                                                                  รองผู้อำนวยการฝ่าย พส2

นายดารนัย อินสว่าง

ได้รับความรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างมากในเรื่องของภาวะผู้นำ ทำให้ทราบภาวะผู้นำในแต่ละยุค ไม่เหมือนกัน ผู้นำบางยุคอาจเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว ผู้นำบางยุคอาจเป็นผู้นำ ที่มองการไกล และผู้นำบางยุค อาจมองในเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเรียนรู้เรื่องของภาวะผู้นำทำให้ทราบถึงคุณสมบัติและวิสัยทัศน์ของแต่ละบุคคลก็มีความหลากหลายและแตกต่างกันทั้งผู้นำภายในประเทศและต่างประเทศ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ 

ควรได้รับการศึกษาและนำมาใช้ประกอบการทำงาน ผู้นำบางคนอาจเก่งทางด้านเศรษฐกิจ ผู้นำบางคนอาจเก่งทางด้านสังคม แต่ผู้นำที่น่าสนใจมากที่สุดน่าจะเป็นผู้นำของจีน ที่แต่ละยุคมีความแตกต่างกันและปัจจุบันผู้นำของจีนสามารถพัฒนาประเทศให้มีความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจ

ส่วนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทราบถึงการบริหารต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องมีการคิดนอกกรอบ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำต้องสร้างระบบงานใหม่เพื่อการพัฒนาให้ทันกับสังคมในโลกยุคใหม่ ส่วนการทำงานในองค์กร ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีทำงาน ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ

บรรยากาศวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555

25 มิถุนายน 2555

Learning Forum & Workshop ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โปรดอ่านหนังสือ

1.ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

2.8K’s+5K’s

3.หนังสือคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ใน Harvard Business Review บอกว่า

1.ถ้าคุณขึ้นเป็นผู้นำ ต้องทิ้ง Silo มาเป็นผู้บริหาร Silo เปลี่ยนจาก Specialist เป็น Generalist

โครงการกฟผ. รุ่น 8 บอกว่าสิ่งที่น่ากลัวคือการยึดติด Silo และการขาดการเอื้ออาทรลูกน้อง

2.ในองค์กรมีความแตกต่าง ระหว่าง Tactic กลยุทธ์ และ Strategy ยุทธศาสตร์ ต้องบริหารจัดการให้ดี

สำรวจ

  • Where are we?
  • Where do we want to go?
  • How to get there?
  • How to overcome obstacles and difficulties?
  • องค์กรที่ประสบความสำเร็จในอนาคตต้องมีวิศวกรประจำองค์กร
  • ต้องคิดวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับอีก 10 ปีข้างหน้า
  • ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ที่ Realistic โดยต้องมีการปรึกษาหารือกับคนข้างนอกการเคหะ
  • วิสัยทัศน์การเคหะตอนนี้ยังไม่เน้นความเป็นสากล
  • วิสัยทัศน์ต้องชัดเจน ยุทธศาสตร์จะได้ทราบว่าจะไปไหน
  • การที่วิสัยทัศน์สำเร็จได้ต้องมีแก่นนิยมหล่อหลอมองค์กรเข้าด้วยกัน
  • กำหนดทิศทางแล้วต้องมีคุณสมบัติความเป็นเลิศด้วย
  • เราจะแบ่งปันวิสัยทัศน์กัน
  • จากการวิจัยของ James Collins สิ่งที่ทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน ต้องมีการปรับวิสัยทัศน์ตลอดเวลา
  • แต่ Vision without action ก็ไม่ได้ประโยชน์
  • ภารกิจต้องตอบสนองเป้าหมาย
  • อยากให้มีแก่นนิยมนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กร มีความแม่นยำ สร้างสรรค์ มูลค่าเพิ่มและความสุขในการทำงาน
  • คนที่จะเป็นผู้นำการเคหะต้องมองกว้าง (ข้ามศาสตร์) และลึก
  • ต้องมีการระดมความคิดและรับฟังความคิดเห็นอย่างบ้าคลั่ง
  • ต้องมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยแนะนำ
  • ต้องมีการผสมผสานระหว่างคนในและคนนอก
  • การเคหะอาจจะเป็นผู้นำในบางเรื่องของ AEC ได้ ต้องมีมาตรฐานนักการเคหะอาเซียน
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ โครงสร้างประชากร
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน เช่น จุดแข็งและจุดอ่อน
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องดูว่าอะไรที่ทำได้ดี และอะไรที่เรายังทำไม่ดี
  • ในการคิดเพื่อทบทวนกำหนดวิสัยทัศน์ ต้องดูว่าลูกค้าที่สำคัญคือใคร

Workshop

กลุ่ม 1

ปัจจัยภายนอก

โอกาส

อุปสรรค

การเมือง

  • แม้มีการเปลี่ยนแปลง แต่ทุกรัฐบาลก็สนับสนุนการเคหะ
  • ทำให้ได้งานทำ

สังคม

  • สังคมผู้สูงอายุ
  • ขนาดครัวเรือนเล็กลง มีความต้องการบ้านมากขึ้น
  • การเคลื่อนย้ายประชากร สร้างโอกาสการทำงาน ทำให้ไปสร้างชุมชนที่อยู่อาศัยรอบๆอุตสาหกรรม

วัฒนธรรม

  • ทำให้มีแบบบ้านที่หลากหลาย
  • มีชาวพม่าย้ายเข้ามาอาศัยมากขึ้น ทำให้ขายบ้านดีขึ้น เพราะมีเจ้าของคนไทยแต่พม่าเช่าอยู่
  • อาจจะขยายชุมชนได้

เศรษฐกิจ

  • AEC ขยายเศรษฐกิจ
  • ค่าแรงเพิ่มรายได้

 

 

เทคโนโลยี

  • ได้งานทำมากขึ้น
  • ลดต้นทุน รัฐบาลสนับสนุน
  • ประสิทธิภาพ

กฎหมาย

  • กคช.ได้รับการยกเว้น  
  • กฎหมายจัดสรร
  • ใช้กฎหมายจัดรูปที่ดิน
  • ไม่ต้องเข้าพ.ร.บ.ที่อยู่อาศัย

สิ่งแวดล้อม

  • ภัยพิบัติทำให้มีความต้องการที่อยู่เพิ่มขึ้น
  • การบุกรุก

 

  • นโยบายเปลี่ยนแปลงบ่อยไม่ค่อยต่อเนื่อง

 

 

 

  • ประชากรลดลง ทำให้ต้องปรับตัว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • น้ำมัน
  • วิกฤติยุโรป
  • เพิ่มคู่แข่ง
  • ค่าแรงเพิ่มต้นทุน

 

  • ลงทุนสูง

 

 

 

  • การจัดซื้อจัดจ้าง
  • ข้อจำกัดในการทำโครงการผ่านหลายหน่วยงาน
  • พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ

 

  • พื้นที่ในเขตภัยพิบัติถูกระงับโครงการ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ควรวิจัยระหว่างประเทศ เช่น ทุนทางวัฒนธรรม หรือจำนวนบ้านที่คนไทยซื้อไปให้คนพม่าเช่า
  • ต้องถามว่าคนไทยได้อะไร
  • ความสุขในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญ

กลุ่ม 2

ปัจจัยภายใน

โอกาส

อุปสรรค

ประกาศคณะปฏิวัติ เกิดพ.ร.บ. การเคหะ

  • ทำให้เข้าไปในที่ดินตาบอดได้

การเมือง

  • ได้นโยบายมาโดยตรง

บุคลากร

  • มีสหวิชาชีพ

ระบบการบริหาร

  • ตรวจสอบง่าย

 

 

  • ยังไม่ได้ปฏิบัติ

 

 

  • ขาดวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

 

  • ขาดการพัฒนา

 

  • ช้า ไปต่อไม่ได้

ข้อเสนอแนะ

  • ควรมีการประเมินผลทุกระยะ
  • ควรใช้ระบบบริหารแบบเมตริก นำงานวางไว้แล้วมีหน่วยงานวิ่งมาหางาน

กลุ่ม 4

Stakeholders

1.รัฐบาล นโยบายส่งมอบมาที่การเคหะ

2.นักการเมือง

3.หน่วยราชการต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.รัฐวิสาหกิจต่างๆ และหน่วยงานที่มีที่ดิน Land Bank

5.สถาบันการเงิน

6.ลูกค้า

7.ผู้รับเหมา

8.ชุมชนรอบๆ

9.องค์กรมหาชน

10.บริษัทออกแบบและรับเหมาก่อสร้าง

สิ่งที่ทำได้ดี

  • การพัฒนาที่อยู่ให้ผู้มีรายได้น้อย
  • สร้างชุมชนให้มีคุณภาพ เช่น เมืองใหม่บางพลี
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในการเคหะ
  • คณะกรรมการที่อยู่อาศัย การเคหะริเริ่มและผลักดัน
  • ถ่ายทอดความรู้ให้อบต.

สิ่งที่ทำได้ไม่ดี

  • บ้านเอื้ออาทร
  • พัฒนาที่อยู่อาศัยให้คนมีรายได้ปานกลาง

ข้อเสนอแนะ

  • ควรให้การเคหะเป็น Regulator ด้านที่อยู่อาศัย

กลุ่ม 3

Vision

  • จะเป็นผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยน่าอยู่อย่างยั่งยืนรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Mission

  • พัฒนาที่อยู่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและนโยบายรัฐ
  • ทำสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
  • บริหารและพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับที่อยู่อาศัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • เสนอแนะและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย
  • พัฒนาและเผยแพร่วิชาความรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับอาเซียน
  • พัฒนาศักยภาพคนภายในให้มีความมั่นคง
  • ประสานและร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องพัฒนาที่อยู่อาศัย

Core Values

  • ใฝ่รู้ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน
  • องค์กรการเรียนรู้
  • นวัตกรรมในการทำงาน
  • เน้นคุณภาพ
  • ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
  • ทำงานอย่างมีความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ต้องบริหารจัดการการเมือง
  • ต้องมีกลไกปกป้องจากการเคหะจากการเมือง
  • ต้องรักษาทุนทางจริยธรรมไว้
  • ต้องมี Shared Values เพื่อตัดผ่านไซโล
  • ควรนำสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังมาเรียนด้วย
  • ควรจะมองสื่อเป็น Stakeholder
  • ต้องมี Informal Network และบูรณาการเรื่องประหยัดพลังงาน
  • สุดยอด Core Values
  • ต้องเน้น demand-driven

 

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • วิสัยทัศน์สิ่งสำคัญ การสร้างที่อยู่อาศัยเป็นสุขและยั่งยืน ครอบคลุมเรื่องภัยธรรมชาติแล้ว
  • เรื่องสังคมผู้สูงอายุ ควรมีมาตรการสำหรับกลุ่มนี้
  • ตัวบุคลากรต้องเป็น Learning person และ sharing
  • ถ้าเน้นกลุ่มล่างและปานกลาง ต้องปรับแบรนด์ เพราะยังเกาะกลุ่มล่างอยู่

 

 

Panel Discussion  การบริหารกลยุทธ์องค์กร

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

 

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

3 กลยุทธ์ทำเงิน ในอสังหาริมทรัพย์

1.เป็นนักล่าของถูก (The Bargain Hunter)

  • เน้น “ซื้อมา ขายไป” หรือ “ฟลิบปิ้ง (Flipping)” นิยมทำกันมากในกลุ่มพ่อค้าและนักธุรกิจ เนื่องจากใช้ระยะเวลาลงทุนไม่มาก ลงทุนแล้วไม่ยุ่งยากไม่ต้องเสียเวลาในการบริหารจัดการทรัพย์สินแต่อย่างใด
  • แนวคิดพื้นฐานคือพยายามล่าหาซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้ได้ในราคาต่ำกว่าตลาดมากๆ กฏกำปั้นทุบดิน คือจะต้องซื้อต่ำกว่าราคาตลาดให้ได้มากกว่า 20% ยิ่งได้ราคาต่ำกว่านี้เท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น เพราะ จะส่งผลดีในเรื่องสภาพคล่อง และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในการขายต่อให้เพิ่มขึ้นได้
  • ปัญหาสำคัญของกลยุทธ์นี้ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ราคาถูก มักหาได้ยากมาก
  • เป้าหมายของผู้เลือกใช้กลยุทธ์นี้ ส่วนใหญ่ได้แก่บ้านเก่าหรือบ้านมือสอง บ้านเก่าที่ซื้อมาจากผู้ร้อนเงิน หรือผู้มีความจำเป็นต้องรีบขาย รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่หลุดขายฝาก เป็นหลัก

2.นักสร้างค่าอสังหาริมทรัพย์ (The Value Enhancer)

  • แนวคิดตามกลยุทธ์นี้ ก็คือเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพพื้นๆ หรือทรุดโทรม มาทำการปรับปรุงตกแต่งให้เกิดการเพิ่มค่าขึ้นในสายตาคนทั่วไป จากนั้นก็จะทำการขายต่อทำกำไรต่อไป
  • อสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะกับการใช้กลยุทธ์นี้มาก ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเก่าที่ถูกทิ้งร้าง หรืออาคารที่ถูกละเลยไม่นำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรากฐานหรือโครงสร้างพื้นฐาน ยังคงดีอยู่
  • ในทางปฏิบัติแล้ว ผู้ใช้กลยุทธ์นี้ได้ดี มักได้แก่ สถาปนิก วิศวกร หรือผู้มีความรู้ในด้านสถาปัตถ์ หรือออกแบบภายใน รวมถึงคนในวงการก่อสร้าง ที่สามารถซ่อม ปรับปรุง รีโนเวทได้ดี ในต้นทุนที่ต่ำ

 

3.นักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาปล่อยเช่า (The Rental Property Investor)

  • เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับคนทั่วไป จุดเด่นสำคัญ ก็คือลงทุนแล้ว มีโอกาสทำเงินได้ถึง  2 ช่องทางด้วยกัน โดยช่องทางแรก เป็นผลตอบแทนจากค่าเช่าในระหว่างการถือครอง และช่องทางที่สอง คือมีโอกาสได้กำไรจากการเพิ่มค่า (Appreciation) เมื่อถือครองไปนานๆ ด้วย
  • อสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะนำมาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์นี้ ที่โดดเด่นสุด ก็คือ คอนโดฯ และอพาร์ตเม้นต์ เพราะปล่อยเช่าง่าย และให้ผลตอบแทนค่าเช่าได้สูงสุด ทั้งนี้ในทางการเงินแล้ว ถึงกับจัดให้ เป็นแหล่งรายได้ทางอ้อม(Passive Income) ชั้นดีอันดับต้นๆ ที่แนะนำให้ทุกคนจะต้องมีกัน เพื่อกรุยทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom)  ในอนาคต

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • ต้องกำหนดก่อนว่าเราเป็นใคร จะได้กำหนดกลยุทธ์ได้เหมาะสม

กรณีศึกษาของ สวทช. โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • ผมเข้าไปองค์กรขนาดใหญ่หลายองค์กร
  • สวทช.เป็นองค์กรภาครัฐที่เปลี่ยนองค์กรไปเป็นเอกชน และเป็นต้นแบบของการออกนอกระบบราชการ
  • ต้องถามตนเองว่า จำเป็นไหมที่ต้องปรับเปลี่ยนองค์กร
  • เด็กรุ่นใหม่เข้าถึงเทคโนโลยีไวแต่ไม่ค่อยอดทน
  • การเคหะมีคุณค่าสูงมาก ดูแลปัจจัยสี่ เมืองขยายขึ้น ความต้องการที่อยู่มากขึ้น จะตอบสนองอย่างไร
  • ต้องพัฒนาคน
  • ต้องตอบสนองนโยบายภาครัฐแต่ต้องมีจุดยืน
  • ต้องกำหนดตัวชี้วัดขององค์กร
  • การเคหะสามารถเปลี่ยนวิสัยทัศน์มาเป็นนักธุรกิจได้
  • 10 สุดยอดนักธุรกิจโลกมาจากอสังหาริมทรัพย์
  • สามารถนำที่ดินไปหมุนเวียนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม
  • ต้องทำให้การเคหะเป็นองค์กรเรียนรู้ ทุกอย่างเป็นประสบการณ์ที่สั่งสมเป็นความรู้ที่ได้เรียนรู้มา ถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่
  • ต้องเป็นองค์กรนวัตกรรม
  • ต้องมีการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับองค์กรที่มีศักยภาพ
  • ต้องรักษาคุณภาพ

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • ต้องวางตำแหน่งองค์กร และต้องไม่ลืมพัฒนาคน

อาจารย์สมชาย สาโรวาท

  • การเคหะมีผู้บริหารจำนวนมากที่ได้รับการพัฒนา
  • ผมได้รู้จักผู้ว่าการเคหะหลายท่านตั้งแต่สมัยท่านชวนพิศ ทำให้ได้ทราบความเคลื่อนไหว คนมักมีความคิดว่า การเคหะทำที่อยู่สำหรับคนระดับล่าง
  • ควรนำความคิดคนอื่นมาปรับปรุงให้เหมาะกับกิจการของเรา
  • การเคหะมีวิสัยทัศน์อยู่แล้ว ก็ต้องทำให้ถูก จะได้ขยายตัวได้
  • วิสัยทัศน์จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา
  • ต้องดำเนินการตามภารกิจ
  • ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
  • ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (ดูแลรายได้ประชาชาติ การเมือง รัฐบาล)
  • วิเคราะห์องค์กร
  • มีระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องเปรียบเทียบวัดกับคู่แข่ง ต้องเลือกระบบที่เป็นกลางในการวัด
  • ควบคุมและประเมินผลองค์กร

อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

  • ต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ตนเอง ระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ระบบควบคุมและประเมินผลองค์กร

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • กุญแจคือ Competitive Advantage ต้องเอาจุดเด่นไปจับคู่กับโอกาส
  • จุดเด่นการเคหะคือ
  • ความเชี่ยวชาญอสังหาริมทรัพย์
  • การมีรัฐสนับสนุน (เป็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อย)
  • ไม่ขาดบุคลากร
  • การเมืองแทรก (แปลงเป็นจุดเด่นได้) ก็ขอให้การเมืองช่วย เรื่องที่ตั้งทำเลต่างๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ถ้าเราทำงานยุคใหม่ นอกจากมีวิธีการเชิงยุทธศาสตร์แล้ว ต้องคิดในเชิง Creative Thinking

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • การเคหะต้องตอบสนอง Emotional Value ของลูกค้าให้ได้
  • ต้องกำหนดให้ได้ใครคือลูกค้าในแต่ละกลุ่ม
  • คุณค่าที่สร้างขึ้นต้องเป็นคุณค่าแท้
  • เมื่อเปรียบเทียบกับอาเซียน การเคหะยังสู้ได้ เพราะมีความรู้ดี แต่ต้องสร้างแบรนด์เพิ่มขึ้น
  • สิงค์โปร์เป็นต้นแบบที่ควรเรียนรู้ และเป็นต้นแบบให้จีนสร้างคอนโดมีเนียมหรูสำหรับคนชั้นกลางได้
  • ต้องนำความคิดสร้างสรรค์เข้ามาแล้วนำนวัตกรรมดันออกไป

อาจารย์สมชาย สาโรวาท

  • การเคหะมีแบรนด์อยู่แล้ว
  • การทำให้มีความก้าวหน้าขึ้น อาจจะหา Shareholder เพื่อหารายได้เข้า
  • บางจุดไม่ควรสร้างสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพราะค่าที่ดินแพงกว่านั้น แต่ก็ไม่ควรจะทำแพงเกินไป
  • ในราคาถูก ก็ต้องมีคุณภาพดีด้วย เช่น เดินทางสะดวก สะอาด สภาพแวดล้อมที่ดี
  • การเคหะฮ่องกงสร้างได้มาตรฐานดี มีรถสาธารณะ

ช่วงคำถามและแลกเปลี่ยนความเห็น

คนที่ 1

  • เห็นด้วยกับการ Positioning ตนเอง แต่มีหลายหน่วยงานมาเกี่ยวกับการเคหะมากจึงทำให้ Positioning ผิด ควรจะ Benchmark กับการเคหะประเทศอื่นๆเช่น อังกฤษ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ในการที่ทำใหญ่ได้ ที่ดินเป็นของรัฐบาลสิงคโปร์ ในเรื่อง Branding เราทำที่อยู่หลายรูปแบบ มีชุมชนที่การเคหะเตรียมตัวไว้ทุกอย่าง แต่อาจจะไม่ได้มีการสื่อสารออกไป ต้อง Rebranding ว่า ชุมชนการเคหะไม่ใช่สลัม

 

 

 

คนที่ 2

  • กรณีเราสร้างบ้าน วัตถุดิบเป็นองค์ประกอบในการบริหารกลยุทธ์ด้วยใช่ไหม เรามีที่ดินกระจาย ไม่ติดกัน เราได้ที่ดินมาจากการเมือง จึงไม่มีศักยภาพในการทำโครงการ

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • ในความเห็นส่วนตัว ที่ดินจากการเมืองบางส่วนก็เป็นจุดเด่นและไม่ใช่จุดเด่น สิทธิ์การเช่าทำประโยชน์ได้ด้วยเหมือนกัน
  • ต้องสร้างให้คนอยู่ได้ประโยชน์ทั้งหมด ทำให้เจรจาง่าย
  • ควรเจรจาขอจากฝ่ายการเมือง ถ้าการเคหะทำสำเร็จ การเมืองก็ได้หน้า

ผู้แทนการเคหะ

  • ผมทำงานฟื้นฟูเมืองตรงดินแดง คนอยู่เขาต้องการอยู่ในที่อยู่ใหม่ในราคาที่เขาจ่ายได้ ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ แต่มันมีปัญหาลึกๆเชิงนโยบาย
  • ผมได้ไปขอความร่วมมือจาก Stakeholder

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • ต้องให้ทุกคน win-win
  • แต่ปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยมีคุณค่ามาก ควรให้ทุกฝ่ายได้หน้า

คนที่ 1 (อีกครั้ง)

  • การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยไม่เคยได้รับความสนใจจากรัฐบาล
  • มันยากที่จะจัดสรรผลประโยชน์ลงตัว
  • เราได้ร่วมมือกับ JICA ทำแผนแม่บทดินแดง ทำทุกอย่าง แต่แพ้การเมือง

อาจารย์อนุชา กุลวิสุทธิ์

  • ควร Lobby นักการเมือง เพราะหน่วยราชการยอมนักการเมือง

อาจารย์สมชาย สาโรวาท

  • ทางยุทธศาสตร์ เราต้องมี Value Change Analysis ต้องปรับเปลี่ยนมูลค่า land bank ที่เรามี
  • ที่ดินที่ทำประโยชน์ไม่ได้ ต้องกำจัดออกไป ยอมขาดทุน แล้วนำส่วนที่ได้มาหาวัตถุดิบตรงอื่นที่เราต้องการ
  • เวลาโยกย้ายผู้อาศัยเดิม ก็ต้องให้ประโยชน์ที่เขาพอใจ

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ สร้างนาโกยาเป็นเมืองอิเลคทรอนิกส์ สร้างซูกุบะ โดยมีการคมนาคมต้นทุนต่ำไปเชื่อม
  • ต้องพร้อมยกผลงานการเคหะให้เป็นผลงานของฝ่ายการเมืองเพื่อความก้าวหน้า
  • ต้องมองภาพรวม

คนที่ 1 (ครั้งที่ 3)

  • การเคหะกับประชาชนไม่เคยสามารถพบกันครึ่งทางได้เลย ต้องนำภาษีประชาชนมาใช้อุดหนุน นี่คือเรื่องที่หน่วยงานรัฐต้องคิด

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

  • บางทีตีค่าในมุมอื่นไม่ออก
  • ต้องหาจุดคุ้มทุนให้ได้ โดยให้คนกลางมาทำ

ขอแสดงความยินดีกับคุณอรรคชัย ยืนยงอนันต์ที่ได้เป็นประธานรุ่น 2 ครับ

25 มิย. 55

ได้แนวคิด มุมมอง ทักษะในการคิดวิเคราะห์ การทำ SWOT. จุดอ่อน จุดแข็ง ภายในภายนอก 

ได้วิธีคิด การกำหนด การได้มาของ Vision, Mission, Core Value และได้เรียนรู้จากากรถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมการฝึกปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับ Vision Mision Core Value ของ กคช. ในอนาคต

จากการถ่ายทอดประสบการณืด้านบริหารกลยุทธ์องค์กรฯ ในมุมมองภายนอกของวิทยากรทั้ง 4 ท่าน

ที่สะท้านภาพให้เห็นจุดเด่นจุด้อยของ กคช. เช่น การเมืองแทรกแซง บุคคลากรเชียวชาญเพียงพอ ภาพลักษณ์ไม่สะท้อนภาพความน่าอยู่อาศัย เป็นต้น ทำให้ กคช. ได้แนวทาง ในการทบทวน ปรับปรุงบทบาทหน้าที่การพัฒนาที่อยู่อาศัยของ กคช. ในการตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป

                                                                                                         ธวัช บุญครองเกียรติ

              สวัสดีครับอาจารย์ วันนี้ (18 มิ.ย.2555) เป็นวันแรกที่ผมได้เข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหารของ การเคหะแห่งชาติ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) และวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลงวันนี้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นอย่างมากและการอบรมในลักษณะการเสวนาเป็นเรื่องที่ไม่ได้ดำเนินการมานานแล้ว สำหรับตัวผมเองเป็นผู้ที่ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือมากนักแต่เมื่อได้ฟังอาจารย์บรรยายก็รู้แล้วว่าต้องเริ่มให้ความสำคัญกับการอ่านมากยิ่งขึ้นในอดีตที่ผ่านมากผู้บริหารระดับสูงของการเคหะฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนค่อนข้างน้อยเมื่อไรก็ตามที่มีปัญหาในการทำงานแล้วจะต้องใช้คนเพิ่มขึ้น ผู้บริหารก็จะบอกว่าคุยเรื่องใดก็คุยได้แต่ถ้าคุยเรื่องเพิ่มคนไม่ต้องมาคุย การพัฒนาคนจึงเป็นเพียงการจัดอบรมระยะสั้น ๆ เหมื่อนเป็นการนำความรู้มาใส่คนรับได้บ้างไม่ได้บ้างไม่มีการติดตามผมมีข้อคิดเป็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่พบในการปฏิบัติงานก็คือ ผู้บริหารมักจะตัดบทไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเรียกว่าเด็กเสนออะไรไปก็ผิดหมดนายถูกเสมอนอกจากนี้ยังมีผู้บริหารบางคนก็ติทุกเรื่องไม่ว่าจะเขียนอะไรไปก็จะติ 360 องศา เรียกว่าเจอภาวะผู้นำแบบนี้ทำให้หมดอารมณ์ในการทำงานและไม่อยากเข้าใกล้ แต่มีไม่มากหลอกนะครับ ในส่วนของการบริการการเปลี่ยนแปลงผมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมามาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงาน(พ.ศ.2520) ซึ่งความเป็นพี่เป็นเพื่อนมีมากแต่ยิ่งนานวันกลับน้อยลง พี่กลายเป็นเพื่อน (ชักไม่เกรงใจ) เพื่อนกลายเป็นคู่แข่งกลายเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ดี นอกจากนี้ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงด้าน IT เดิมใช้เครื่องพิมพ์ดีด เมื่อเปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์บรรดาผู้สูงวัยก็พยายามเลี่ยงที่จะใช้ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีให้ใช้กันทุกคนก็ยังมีผู้ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เลยหลงเหลืออยู่อีกที่กล่าวมานี้เป็นเพียงมุมมองเล็ก ๆ ที่ยังไม่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่มองเห็นได้ในปัจจุบันคือการปฏิบัติงานที่รวดเร็วขึ้นเช่น ผู้รับบริการ (ลูกค้า) ได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้นที่เห็นได้ชัดเจนคือการชำระเงินค่าเช่าซื้อเดิมลูกค้าต้องรอชำระเงิน1 รายนานถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง (ถ้าชำระเงินในวันสุดท้าย)เพราะเป็นการออกใบเสร็จด้วยการเขียน แต่ปัจจุบันสามารถชำระเงินได้หลายช่องทางทั้งการชำระเงินผ่านธนาคารหรือ Counter serviceและการเปลี่ยนแปลงของการเคหะฯคงไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้และจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นต่อไปอีก วันนี้ผมขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพียงสั้นๆ ก่อน ผมจะพยายามเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกถึงแม้จะเหลือเวลาทำงานอีกเพียงปีเศษก็ตาม

ขอบพระคุณมากครับ

นพพร แจ่มสว่าง

รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

ภาวะผู้นำเชิงวัสัยทัศน์ (2) 25 มิ.ย.2555

วันนี้ผู้เข้าใจคำว่าผู้นำกับผู้บริหารได้มากยิ่งขึ้นท่านอาจารย์จีระ ได้กรุณาอธิบายว่าผู้นำจะต้องพยายามทิ้ง Silo ให้ได้ ผมได้พยายามหาความหมายของคำว่าผู้นำซึ่งมีผู้รู้หลายท่านให้ความหมายไว้หลากหลาย แต่โดยสรุป ผู้นำ คือ บุคคลที่มีความสามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่าง ๆ ที่ต้องการ ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย ผู้นำจึงเป็น Specialist มีความรู้ในทางลึกมาก ส่วนผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่จะต้องทำงานในเชิงกว้าง Generalist มีความเอื้ออาทรต่อลูกน้องสนใจปัญหาของคน ซึ่งผมได้หาความหมายของผู้บริหารซึ่งมีผู้สรุปความหมายไว้พอสรุปได้ว่าผู้บริหารคือผู้ที่สามารถจัดการกระบวนการของการทำงานและการใช้ทรัพยากรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ และการควบคุม เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหาร ความสามารถของผู้บริหาร สามารถวัดได้จากประสิทธิผลและประสิทธิภาพของงานที่เกิดขึ้น ผู้ที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีจะต้องเข้าใจชั้นเชิง tactic และ กลยุทธ์ Strategy ได้เป็นอย่างดีจึงจะนำพาองค์กรไปได้ดี
สิ่งที่ได้รับในเรื่องผู้นำและผู้บริหารนี้ในอดีตผู้บริหารของ กคช.มักทำตัวเป็นผู้นำคือพยายามลงมือทำงานหรือขอรู้ในรายละเอียดเชิงลึกในเกือบทุกเรื่อง และมักไม่เห็นอกเห็นใจลูกน้อง การทำงานจึงมีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันความเป็นนักบริหารเริ่มมีมากขึ้น คือ พยายามให้ลูกน้องมีอิสระในการทำงานมากขึ้น
การจัดทำกลุ่มโดยสรุปเห็นว่า การเคหะฯ จะได้ประโยชน์จากแนวความคิดของกลุ่มผมเห็นด้วยกับสิ่งที่ควรทำวิจัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งโครงการเคหะชุมชนและโครงการบ้านเอื้ออาทรในจังหวัดสมุทรสาครมีแรงงานชาวพม่าพักอาศัยเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ การเคหะฯ นำอาคารไปให้เช่าเหมาซึ่งการเช่าลักษณะดังกล่าวเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคาม เพราะแรงงานเหล่านั้นพักอาศัยอยู่รวมกับคนไทย และภาษาที่ใช้ในการสื่อสารก็เป็นปัญหากับคนไทยเพราะฟังภาษาพม่าไม่ออก แต่ชาวพม่าฟังภาษาไทยได้ 
การจัดทำโครงการที่เป็น Eco village คือใช้วัสดุที่ประหยัดพลังงานหรือใช้นวัตกรรมใหม่ในการก่อสร้างเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็น Green community ก็เป็นเรื่องใหม่ที่ควรกระจายให้สื่อต่าง ๆ ช่วยเผยแพร่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ การเคหะฯ 
ประเด็นการแทรกแซงทางการเมืองที่ผ่านมาส่วนใหญ่สนับสนุนการเคหะฯ ให้มีงานทำเพราะในช่วงก่อนทำโครงการบ้านเอื้ออาทรนั้น การเคหะฯ กำลังมีปัญหาในเรื่องไม่มีโครงการออกขาย โครงการบ้านเอื้ออาทรที่เกิดขึ้นช่วยให้การเคหะฯ ผ่านวิกฤตมาได้ แต่การขาดการต่อรองที่ดีจึงมีปัญหาตามมาหลายประการ
วิสัยทัศน์ของ กคช.ในอีก 10 ปีข้างหน้า การเคหะฯ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเหตุการณ์การกำหนดวิสัยทัศน์ต้องให้ผู้ปฏิบัติงาน กคช.มีส่วนร่วมในการกำหนดมิใช่เกิดจากผู้บริหาร หรือจ้างผู้อื่นทำ ต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เมื่อเข้าสู่ AEC ก็ต้องมีความพร้อมที่เปิดตัวรับกับสถานการณ์ได้ โดยสรุปวิสัยของ กคช.คงหนีไม่พ้น
AEC + การเตรียมการป้องกันภัยธรรมชาติ + การรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน

นอกจากนี้ Brand ของ กคช.คงต้องปรับเปลี่ยนจุดยืน positioning ของตัวเองใหม่ว่าจะยังเป็นองค์กรที่มีไว้เพื่อคนจนต่อไปหรือไม่ โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าการช่วยเหลือคนจนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่ทิ้งไม่ได้เพราะถ้าไม่ทำแล้วใครจะทำ สิ่งที่อาจจะมีเพิ่มขึ้นคือการย้ายถิ่นฐานแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ในประเทศไทยคนเหล่านั้นควรได้รับการดูแลอย่างมีศักด์ศรีของความเป็นมนุษย์

โดยสรุปแล้วผมเห็นว่าประโยชน์ที่การเคหะฯ ได้รับนั้นเป็นเรื่องที่ผู้บริหารที่เข้ารับการอบรมมีมุมมองเห็นอนาคตของ การเคหะฯ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปให้ทันต่อเหตุการณ์ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารระดับสูงก็ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้บริหารรุ่นใหม่เหล่านี้ด้วย สำหรับข้อคิดเห็นในการอภิปรายนั้น การเคหะฯ ทำแล้วเกือบทั้งสิ้น โดยเฉพาะเรื่องโครงการดินแดงหากไม่มีความขัดแย้งของกลุ่มการเมือง 2 กลุ่มแล้วคงทำโครงการเสร็จสิ้นไปแล้ว ส่วนของตัวผมเองที่ได้รับฟังการบรรยายและการอภิปรายก็ได้รับความรู้และความคิดเห็นจากมุมมองของบุคคลภายนอกมากขึ้นสามารถปรับเปลี่ยนแนวความคิดบางเรื่องได้

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

วันที่ 25 มิถุนายน 2555 เป็นวันที่ 2 ของการอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงโดยภาคเช้าอ.จิระได้พูดถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (VISON) ซึ่งทำให้เข้าใจว่าวิสัยทัสน์ที่ดีนั้นจะต้องเป็นวิสัยทัสน์ที่ชัดเจนถึงทิศทางขององค์กรที่มุ่งไปในอนาคตและการที่วิสัยทัสน์จะเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรจะต้องเปิดโอกาศให้คนในองค์ได้มีส่วนในกระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ ในประเด็นการมีส่วนร่วมนั้นกคช.ยังขาดในส่วนนี้เนื่องจากวิสัยทัศน์จะถูกชี้นำโดยผู้บริหารระดับสูงและสุดท้ายจะถูกแก้ไขโดยคณะกรรมการกคช. พนักงานจึงจำได้เพียงว่าวิสัยทัสน์ กคช.กำหนดไว้อย่างไร

ภาคบ่ายเป็นการรับฟังมุมมองการบริหารจากภาคเอกชน ซึ่งทำให้ได้มุมมองใหม่ในเชิงบวกต่อฝ่ายการเมือง โดยปกติจากประสบการณ์เรามักจะมองว่าฝ่ายการเมืองเป็นอุปสรรคก่อการดำเนินงานของกคช.แต่เราต้องยอมรับความจริงว่าเราหนีการเมืองไม่ได้ เราจึงควรมีกลยุทธ์ที่จะนำการเมืองมาให้สนับสนุนการดำเนินงานของกคช.เพื่อให้สิ่งต่างๆ ที่เรา.อยากทำได้บรรลุ 

25 มิถุนายน 2555 จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 25 มิถุนายน 2555 สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :- 1. การระดมความคิดจากผู้มีประสบการณ์ต่าง ๆ จะพบประเด็นดี ๆ มากมาย โดย Vision ไม่เคยประสบความสำเร็จจากความคิดของผู้นำผู้เดียว 2. การจับประเด็นจากการเปลี่ยนแปลง External – Internal Environment มาเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการวางแผนการรับมือใน 10 ปีข้างหน้า หรือกว่านั้น 3. ให้มีการวิเคราะห์วางแผนความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยประมวลจากปัจจัย ณ วันนี้ 4. ให้มีการมองปัญหาเชิงกว้าง ไม่ใช่ไซโล เพื่อผลักดันให้ดำเนินการต่อไปได้ 5. ให้มีการพิจารณาทุนมนุษย์ ทุนทางวัฒนธรรม ปัจจัยความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาปรับใช้เพื่อวางแผนรับมือ 6. ให้มีการพิจารณาทุนแห่งความยั่งยืน อยู่ได้นาน อยู่ได้ตลอดไป ให้มีการต่อรองเพื่อความยั่งยืน มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม ให้รอดพ้นจากอันตรายด้วยวิธี Defense Mechanism รองรับการเปลี่ยนแปลง 7. ให้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และอย่างถูกต้อง เป็น Learning Organization และมีความ Dynamic 8. ให้มี Net Work มีแนวร่วมกับทุกหน่วยงานที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวกัน เช่น สำนักงบประมาณ, กรมบัญชีกลาง, กทม., กรมธนารักษ์, กรมเจ้าท่า ฯลฯ

                                                               -------------

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(2) อ. จิระ หงส์ลดารมภ์ วันที่ 25/06/2555 เวลา 0830 - 1300 น. หนังสือแนะนำจาก Harvard Business Review กล่าวถึงผู้นำที่ดีคืออะไร

          ผู้นำ เป็นผู้ มองภาพเป็นองค์รวม ต้องสลัด กล่องไซโลของแต่ละฝ่ายออก มองอนาคตวิสัยทัศน์ต้องชัดเจน ยุทธศาสตร์จะไปทิศทางไหน การที่วิสัยทัศน์สำเร็จได้ต้องมีแก่นนิยมหล่อหลอมองค์กรเข้าด้วยกัน กำหนดทิศทางแล้วต้องมีคุณสมบัติความเป็นเลิศ 

ตัวอย่างผู้นำที่ดีของไทย คุณเกษม จาติกวนิช แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การทำ work shop แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่ม 1 เสนอ ปัจจัยภายนอกที่กระต่อการดำเนินงานของ กคช. กลุ่ม 2 เสนอ ปัจจัยภายในที่กระต่อการดำเนินงานของ กคช. กลุ่ม 3 เสนอ Stakeholders ของ กคช. กลุ่ม 4 เสนอ วิสัยทัศน์ของ กคช. ใน 10 ปี ข้างหน้า ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม 1.แนวความคิดของผู้นำ 2.การมองอนาคตของการเคหะแห่งชาติใน 10 ปี ข้างหน้า 3.ผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้กำหนดอนาคตของการเคหะแห่งชาติ ใน 10 ปีข้างหน้า

                                                                                              นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                                          [email protected] 

สรุปวิชาการบริหารกลยุทธ์องค์กร อ.อนุชา กุลวิสุทธิ์ ดร.เฉลิมพล เกิดมณี อ.สมชาย สาโรวาท อ.กิตติ ชยางคกุล วันที่ 25/06/2555 เวลา 1345 – 1700 น. อ.อนุชา เสนอแนวคิด 3 กลยุทธ์การดำเนินงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1.เป็นนักล่าของถูก เน้น “ซื้อมา ขายไปโดยเร็ว” หรือ “ฟลิบปิ้ง (Flipping)” 2.นักสร้างค่าอสังหาริมทรัพย์ คือเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีสภาพทรุดโทรม มาทำการปรับปรุงตกแต่งให้เกิดการเพิ่มค่าขึ้น จากนั้นก็จะขายต่อทำกำไร 3.นักลงทุนที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาปล่อยเช่า คือลงทุนแล้ว ได้ประโยชน์ 2 ทาง 1 เป็นผลตอบแทนจากค่าเช่าในระหว่างการถือครอง 2 มีโอกาสได้กำไรจากการเพิ่มค่า เมื่อถือครองไปนานๆ อ.สมชาย สาโรวาท เสนอแนวคิด กลยุทธ์การดำเนินงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิสัยทัศน์จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา ต้องดำเนินการตามภารกิจ ปฏิบัติงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วิเคราะห์องค์กร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และควบคุมและประเมินผลองค์กร อาจารย์กิตติ ชยางคกุล เสนอแนวคิด กลยุทธ์การดำเนินงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม /ตนเอง/ ระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและควบคุมและประเมินผลองค์กร ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ต้องกำหนดให้ได้ใครคือลูกค้า การเคหะต้องตอบสนอง Emotional Value ของลูกค้าให้ได้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม กรณีศึกษาโครงการฟื้นฟูเมืองตรงดินแดง ต้องให้ทุกคน win-win การพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยไม่เคยได้รับความสนใจจากรัฐบาล มันเป็นการยากที่จะจัดสรรผลประโยชน์ลงตัว JICA ทำแผนแม่บทดินแดง ทำทุกอย่าง แต่แพ้การเมือง ควร Lobby นักการเมือง เพราะหน่วยราชการยอมนักการเมือง

                                                                                                        นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1) ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ 18 มิย.2555 อาจารย์นำเสนอให้ผู้เข้าอบรมทุกคนตระหนักถึงการคิดสร้างสรรค์ นำเสนอผ่านการเรียนรู้จากตำราและการแลกเปลี่ยน โดยผ่านมุมมอง บทเรียนจากองค์กร บุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจากการทำ Workshop สรุปได้ดังนี้ - การแบ่งรุ่นของผู้ว่าการ จะเห็นภาระงานของ กคช. ในอดีตและสรุปบทเรียนเพื่อวางจุดยืนขององค์กรในอนาคต - โอกาสและอุปสรรคขององค์กรเพื่อกำหนดบทบาทในอนาคตได้อย่างเหมาะสม - ลักษณะของผู้นำรุ่นใหม่ที่ดีของ กคช. คุณสมบัติที่ควรจะเป็น - การสร้างผู้นำในอนาคต

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา 18 มิย.2555 อาจารย์นำเสนอได้ชัดเจนและสื่อสารได้ง่ายผ่านทฤษฏีขวดโค้กและจักรยาน ซึ่งสาระหลักสรุปได้ดังนี้ 1.ขวดโค้ก เป็นเหมือนปัญหาอุปสรรคและโอกาสที่เกิดขึ้นต่อองค์กร ซึ่งองค์การต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโดยผ่านการเรียนรู้ เหตุผลการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงและวิธีบริหารการเปลี่ยนแปลง 2.การปั่นจักรยาน มีผู้นำ ผู้ตาม ซึ่งเปรียบเสมือนองค์กรที่ต้องทบทวนระบบและเครื่องมือที่จะรับการเปลี่ยนแปลง

อาจารย์กิตติ เพ็ชรสันทัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 18 มิย.2555 เสนอกรณีตัวอย่างซึ่งอาจารย์จิระได้ย้ำถึงการปรับปรุงองค์กรด้วยกระแส CG/CSR การหาพลังงานเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าจำเป็นที่คนการไฟฟ้าต้องมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ เพื่อการทำงาน ตัวอย่างเช่น วิศวกรจำเป็นต้องเรียนรู้งานมวลชน งานชุมชน เพื่อทำความเข้าใจและบริหารการเปลี่ยนแปลง ไม่ทำงานเฉพาะส่วนเป็น SILO ซึ่งจะสามารถทำงานแบบเชื่อมโยงองค์รวมขององค์กรเพื่อประโยชน์สูงสุด

18 มิ.ย. 2555

ภาวะผู้นำ

            ผู้นำที่ดี คือ ผู้ที่คนทั่วไปเชื่อถือ ศรัทธา ว่าจะทำประโยชน์ให้แก่คนหมู่มากได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้นำคนนั้น ซึ่งการที่คนๆ หนึ่งจะไปถึงจุดที่เรียกว่าผู้นำได้นั้น เขาจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษกว่าคนทั่วๆ ไป เช่น จะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม มีพรหมวิหาร  4 มีสัมมาทิฐิ มีความใฝ่รู้ มีความกล้าหาญ เป็นผู้ที่เวลามองสิ่งใดจะมองเป็นภาพใหญ่ไม่มองแบบแยกเป็นส่วนๆ

            โดยปกติความเป็นผู้นำมักจะได้มาจากพรสวรรค์ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ในปัจจุบันผู้ที่ต้องการเป็นผู้นำสามารถเรียนรู้ ฝึกฝนได้ แต่บางองค์กรผู้นำไม่มีพรสวรรค์ ไม่ใส่ใจเรียนรู้ ไม่พัฒนาตนเอง ได้ตำแหน่งนายใหญ่ขององค์กรมาโดยอิทธิพลหรือผลประโยชน์ตอบแทนบางประการ จึงไม่ได้ศรัทธาจากผู้ร่วมงาน องค์กรจึงไม่เจริญรุ่งเรือง ลักษณะเช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้นำ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

            การเปลี่ยนแปลงเป็นสัจธรรมเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเสมอ แม้ในหลักพระพุทธศาสนาก็ระบุว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เราไม่ชอบไม่อยากแล้วเราจะเป็นทุกข์ ธรรมะสอนให้เราคิดพิจารณาว่าทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์มากหรือทำอย่างไรที่จะไม่เป็นทุกข์เลย (อรหันต์) เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในทางธุรกิจก็เช่นกัน ไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงในทางลบนั้นจะเกิดจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกหากเรายอมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นนั้นโดยไม่แก้ไข ความเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมนำมาซึ่งความเสียหายขององค์กรตั้งแต่เล็กน้อยหรือจนถึงเลิกกิจการได้  ดังนั้น องค์กรจึงต้องมีวิธีการที่จะจัดการกับความเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องมีการปรับ vision  mission strategies มีการนำเทคโนโลยี มีการปรับการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดค่านิยม มีการสร้าง brand หรือดึง brand ที่เคยมีอยู่กลับมา และที่สำคัญที่สุดคือ พัฒนาบุคลากรทั้งองค์กรตั้งแต่ผู้นำลงมาจนถึงผู้ร่วมงานในระดับเล็กสุดให้สามารถทำงานได้อย่างมีผลิตภาพ (productivity) โดยมีความสุขในขณะทำงาน 

25 มิ.ย. 2555

         Vision ที่ดีต้องให้คนทั้งองค์กรร่วมกันกำหนด และต้อง realistic นำไปปฏิบัติได้ vision ของ กคช. “การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน”   

         ยังมีการพูดถึง ยังมีความสงสัยของพนักงานในองค์กรที่ต่ำกว่าระดับ top team ลงมาว่าvision ของ กคช.เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองนั้น กคช.ทำอะไร อย่างไร ดูเหมือนไม่สามารถจับต้องได้หรือฟังดูไม่ชัดเจนตามที่กล่าวอ้างถ้าจะพูดถึงในการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็น่าจะแยกประเภทออกไปว่าประเภทผู้มีรายได้น้อยให้ชัดเจนเลยมั้ยเพราะจากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ กคช.มีส่วนในการจัดหาให้ประชาชนนั้นส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อคนยากจน ส่วนการพัฒนาเมืองใน vision หมายถึงอะไร หมายถึงการทำโครงการเมืองใหม่บางพลีหรือชุมชนขนาดใหญ่ที่โครงการร่มเกล้าในอดีตที่ผ่านมา หรือหมายถึงการพยายามจะ renovate โครงการดินแดง ซึ่งเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์กับท้งประเทศแล้วจำนวนหน่วยที่ กคช.ทำแทบไม่มีนัยสำคัญเท่าใด

            การกำหนด vision จึงควรจะพิจารณาถึงศักยภาพของคนในองค์กรด้วยว่าจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันทำงานให้ไปถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่และปัจจัยอื่นๆ เช่น กฎหมาย หรือหน่วยงานที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของ กคช.ตลอดจนถึงความพึงพอใจของลูกค้า

            ซึ่งเมื่อพิจารณาจากประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แค่เพียงเรื่องการก่อสร้างให้ลูกค้าได้รับสินค้าตามที่ประกาศไว้ กคช.ยังไม่เคยดำเนินโครงการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ตลอดอายุของ กคช.39 ปี ไม่มีบุคลากรของ กคช.ทำงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างด้วยตนเองจนถึงขั้นที่จะนำมาใช้ในการจัดทำโครงการแม้แต่โครงการเดียว  กคช.ยังไม่มีบุคลากรที่มีความเป็นเลิศในด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม การที่เป็นอย่างนี้ กคช.ยังไม่ได้วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะเหตุใดแล้วทำการแก้ไขปรับปรุง

         เมื่อพิจารณาในเบื้องต้นเท่านี้จึงยังไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่ชัดเจนกับ vision ที่ถูกกำหนดขึ้นซึ่งดูน่าภูมิใจ ท้าทายแต่ไม่ realistic จึงเห็นว่า กคช.น่าจะร่วมกันกำหนด vision ขึ้นใหม่เป็นระยะสั้นๆ เป็นเรื่องที่ กคช.ทำได้ดีหรือมีปัจจัยเกี่ยวข้องที่ กคช.สามารถควบคุมได้ คนในองค์กรเข้าใจและพร้อมที่จะร่วมแรงร่วมใจทำหน้าที่ให้บรรลุ vision นั้นได้

การบริหารกลยุทธองค์กร

            การวาง position องค์กรถูกหยิบยกว่าเป็นเรื่องสำคัญเสมอมา กคช.เป็นผู้เลือกที่จะ positioning ตัวเองหรือเปล่า ตั้งแต่ปี 2546 เป้นต้นมา กคช.ทำงานหน้าเดียวคือโครงการบ้านเอื้ออาทรขายคนจนในราคา 390,000 บาท (มีรัฐบาลอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค 80,000 บาทต่อหน่วย)                       

 ปัจจุบันเพิ่งเริ่มเสนอโครงการใหม่ๆ ให้รัฐบาลพิจารณา  ไม่ได้ตำหนิติเตียนใครเพียงแต่ต้องการแสดงให้เห็นว่าในความเป็นจริงบางทีทฤษฎีต่างๆ ก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ห้เกิดประโยชน์ได้

 

18 มิถุนายน 2555 ทำให้ทราบความหมายของลักษณะผู้นำกว้างขวางขึ้น จากความคิดเห็นของตัวเอง และได้นำความรู้ทีได้รับจากอาจารย์มาพิจารณาเทียบกับตัวเองว่า ตัวเรามีลักษณะใดบ้างที่จะมาเติมเต็มความเป็นผู้นำในตัวเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่ การประยุกต์เพื่อนำไปใช้กับการเคหะแห่งชาติ เห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่หน่วยงานจะต้องมีผู้นำทีมีความสามารถ รอบรู้ แก้ปัญหาต่างๆได้ เพราะตัวจักรสำคัญของการทำงาน คือ ผู้นำที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจการต่างๆเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะของความเป็นผู้นำกคช. เป็นไปในทางที่ดี แต่ปัจจุบันหน่วยงาน กคช.ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองจนทำให้ผู้นำไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นคุณสมบัติของผู้นำที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดให้พวกเราได้รับฟัง สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพ ถ้า กคช. มีความเป็นไทอย่างเต็มตัว

             ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์  (2) ศ.ดร.จีระหงส์  ลดารมถ์
25  มิถุนายน  2555  อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำ  Work  Shop  เพื่อร่วมกันคิดและเปลี่ยน  โดยเริ่มจากวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก  จุดอ่อนจุดแข็งของการเคหะฯ  ปัจจัยภายในที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็ง  และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียกับการเคหะฯ  และเสนอจุดแข็งของตัวเอง  เช่น  อะไรที่ กคช.ทำได้ดีที่สุดเพราะอะไร  อะไรที่ทำไม่ดีแต่ยังต้องทำต่อไป  เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และ  Core  Value  ของ  กคช.ในอนาคต

             ความเห็น   การวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น  กคช.เองได้ดำเนินการมาตลอด  แต่ไม่ได้ถือปฏิบัติจริงจัง  ซึ่งควรจะเป็นวาระของการเคหะฯ  ที่ต้องทบทวนทำความเข้าใจกับพนักงานทั้งองค์กรเพื่อมองไปในทิศทางเดียวกัน  และเป็นจุดยืนของการเคหะฯที่จะดำเนินการจากส่วนที่การเคหะฯกำหนดได้เองในแต่ละเรื่อง  ใสส่วนที่ไม่สามารถกำหนดได้เอง  เช่น  จากภายนอก  

การเมือง ก็ต้องกำหนดจุดยืนที่เหมาะสม องค์กรต้องไม่เสียหาย

    การบริหารกลยุทธ์องค์กร  อ.อนุชา,  อ.เฉลิมพล,  อ.สมชาย

บทเรียนและการนำมาประยุกต์ใช้กับ กคช. จากการอบรม

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555

 1ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1)

  • ได้รับความรู้เพิ่มเติมว่า ผู้นำรุ่นใหม่ ควรมีคุณสมบัติอย่างไร
  • การทำ workshop ได้กรอบแนวคิด และวิธีคิด รวมถึงมุมมองในเบื้องต้นของ “ผู้นำรุ่นใหม่” ในอนาคตของ กคช. ว่า ควรมีคุณสมบัติหลัก ๆ อะไรบ้าง  และจะมีปัจจัย +/-  หรือปัญหาอุปสรรคใดบ้าง ที่สกัดกั้นหรือสนับสนุน “ผู้นำรุ่นใหม่” ซึ่งหน่วยงาน HR ควรที่จะสนใจและนำไปเป็น “เชื้อ” ไว้ก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนด้าน HRD ในการพัฒนาผู้บริหารและพนักงานที่เป็น talent ให้เป็น “ผู้นำรุ่นใหม่”
  • ผู้นำที่ดีต้องทำให้ลูกน้องภาคภูมิใจในผลงานที่เกิดขึ้นว่า  เกิดจากการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจของพนักงานทุกคน ซึ่งเห็นว่าในองค์กรควรจะกระทำบ่อย ๆ  เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานฮึกเหิมที่จะทำงานให้องค์กรอย่างเต็มความสามารถ  และควรจะเป็นบทบาทของผู้บริหารหรือหัวหน้างานที่ต้องแสดงให้เห็นเด่นชัด  อย่าแอบ ๆ ชมกันสองสามคน  เพราะต้องการ promote
  • ผู้นำที่ดีควรเรียนรู้จากความล้มเหลวหรือความผิดพลาดในอดีต ที่เรียกว่า  “ผิดเป็นครู”  และจะต้องไม่ให้เกิดซ้ำอีก พึงระวัง  เพราะสถานการณ์ปัจจุบันวงจร  “ผิด/ล้มเหลวซ้ำซาก” อาจหวนคืนกลับมาเกิดซ้ำอีก  เพราะ กคช. ต้องทำงานตามนโยบายรัฐ

 2.   การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  • เอกสารอบรมมีเนื้อหาครอบคลุมดี และสามารถใช้เป็นองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ตลอดเวลา  ไม่ล้าสมัย
  • Case study  ของ กฟผ.  ทำให้เห็นความมุ่งมั่น  ตั้งใจ  และทุ่มเทในการทำงานของ “ผู้นำ”  ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารระดับสูง  และบางเรื่องบางประเด็นสามารถนำมาปรับใช้กับ กคช. ได้  โดยเฉพาะแนวคิดและการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากวิศวกรเป็นนักพัฒนาชุมชน  ซึ่งทำได้สำเร็จ  เพราะภารกิจหลักของ กคช. ประการหนึ่งคือ  การบริหารและพัฒนาชุมชน ซึ่งหากพนักงานสายวิชาชีพ เช่น วิศวกร  สถาปนิก หรืออื่น ๆ หันมาเป็นนักพัฒนาชุมชน  เชื่อว่าจะทำได้ดีมาก
  • บทบาทหน้าที่หลักของผู้บริหารคือ ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง  ต้องรู้เท่าทันโลก  ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วและทันกาล  ซึ่งการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ผู้บริหารระดับสูงต้องมีภาวะผู้นำในการนำองค์กร  และต้องปรับ mindset  ของ  management  team
  • ค่านิยมขององค์กรในปัจจุบันอาจต้องทบทวนและสร้างค่านิยมใหม่ให้สอดรับกับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก  ค่านิยมจึงควรทันสมัย  สั้น  กระชับ  จดจำและเข้าใจง่าย  และต้องมีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจน  เพื่อให้คนในองค์กรทุ่มเมทำงานอย่างผาสุกเพื่อองค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

 

บทเรียนและการนำมาประยุกต์ใช้กับ กคช. จากการอบรม

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555

1. ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

  • รู้ที่มาของการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ (Vision & Mission)

       -          ต้องรู้เขา  รู้เรา

       -          ต้องรู้ suppliers   customers   stakeholders

  • ได้ฝึกคิด ระดมสมอง และ แบ่งปันความคิดกันภายในกลุ่ม  แต่ให้เวลากลุ่มน้อยเกินไป
  • กคช. ควรต้องปรับวิสัยทัศน์ใหม่ให้มองไปอีก 10 ปีข้างหน้า  ที่เน้นความเป็นสากลมากขึ้น  และต้องครอบคลุมถึง AEC ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ด้วย
  • เรามักจะเข้าใจว่า วิสัยทัศน์ตั้งแล้วอย่าไปปรับบ่อยนัก  แต่ James Collins บอกว่า สิ่งที่ทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน  ต้องมีการปรับวิสัยทัศน์ตลอดเวลา  นั่นแสดงว่า วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้จะกี่ปีก็ตาม  ต้องมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น เป็นผู้นำ........... เป็นเลิศ.............เป็นต้น  และต้องมี action มารองรับอย่างเป็นรูปธรรม  ประการสำคัญคือ ต้องแบ่งปัน (share) วิสัยทัศน์ให้กับพนักงานทุกระดับทั่วทั้งองค์กร
  • การกำหนดวิสัยทัศน์ 10 ปี ข้างหน้า ต้องมองอย่างรอบด้าน อาจต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำ จะทำให้เป้าหมายและทิศทางขององค์กรไม่หลงทาง และบรรลุความสำเร็จได้

2. การบริหารกลยุทธ์องค์กร

  • ต้องรู้ตัวเองอย่างชัดเจนก่อน (positioning)  ว่าทำอะไรอยู่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ    กลยุทธ์องค์กรยุคใหม่หากจะปรับเปลี่ยนองค์กร ต้องเข้าใจ culture องค์กรก่อน และปรับเปลี่ยนวิธีคิด --->  พัฒนาคนให้ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้  และการทำงานต้อง

        ปรับปรุง    --->     พัฒนา        --->        innovation

  • หลักเกณฑ์ในการบริหารกลยุทธ์องค์กรบางครั้งต้องใช้ model  การเรียนลัดบ้าง  หมายถึง การลอกความคิดผู้อื่น/หน่วยงานอื่นที่เป็น best practice  มาปรับปรุงและใช้กลยุทธ์ต่อยอด  ซึ่งบางเรื่อง กคช.ควรทำ  โดยเฉพาะถ้าทำเองตั้งแต่ต้นต้องใช้ resource สูง
  • การบริหารกลยุทธ์ท่ามกลางความไม่แน่นอน เช่น อุทกภัย        กคช.จะบริหารกลยุทธ์อย่างไร ต้องเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า
  • ระบบประเมินผล  ควรมีการวัด ติดตาม และประเมินผล ทั้งในระหว่างดำเนินการ และแล้วเสร็จ จึงควรกำหนดเป้าหมายเป็น milestone ให้ชัดเจน และนอกจากเทียบกับเป้าหมายของ กคช.เองแล้ว  ควรเทียบเคียงกับคู่เทียบ (benchmark) และคู่แข่งด้วย  ซึ่ง กคช.ยังไม่เคยทำ ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาไปสู่สากลได้
  • ในมุมมองของวิทยากรถึงปัจจัยที่ทำให้ กคช. ทำงานสำเร็จหรือไม่สำเร็จ ซึ่งเห็นว่าผู้บริหารควรให้ความสำคัญอย่ามองข้าม ได้แก่

ปัจจัยที่ทำให้ทำงานสำเร็จ

1)    ต้อง positioning  ตัวเองให้ชัดเจน

2)    ต้องปรับมุมมองและวิธีคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องยุ่งหรืออุปสรรค ซึ่งจะทำให้ทำงานแบบตั้งรับอย่างเดียว ควรมองให้เห็นโอกาสจากการเมือง  และหาวิธีใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น

ปัจจัยที่ทำให้ทำงานไม่สำเร็จ

1)     การทำงานโดยขาดสำนึกความเป็นเจ้าของ  มักทำงานตามหน้าที่

2)     มองเพียงด้านเดียวว่าการเมืองเป็นอุปสรรค จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการเมือง

3)     กคช. มีผู้บริหารและพนักงานที่เก่งบริหารและเชี่ยวชาญงาน แต่ยังขาดความเป็นผู้นำ

  • case study สวทช. ซึ่งมีความกล้าหาญที่ปรับเปลี่ยนองค์กรจากรัฐเป็นเอกชน  ออกนอกระบบราชการ  และสามารถอยู่ยั้งยืนยงอย่างมีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบัน  เป็นความท้าทายที่น่าสนใจมาก  แต่การเสวนายังไม่เห็นภาพชัดเจนว่า ทำอย่างไร ใช้กระบวนการและวิธีการใด  ปัจจัยเกื้อหนุนและขัดขวางมีอะไรบ้าง และใช้เวลานานเท่าไรจึงสำเร็จ อาจเป็นเพราะเวลาจำกัด หากมีโอกาสในการอบรมวันต่อ ๆ ไป  น่าจะ clear cut เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง
                  การบริหารกลยุทธ์องค์กร อ.อนุชา,  อ.เฉลิมพล,  อ.สมชาย วันที่  25  มิ.ย. 2555
                  โดยสรุป อ.อนุชา นำเสนอการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 3 กลยุทธ์ในการทำเงิน  ซึ่งไม่ตรงประเด็นกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่การเคหะฯดำเนินการอยู่ และ อ.อนุชา ได้นำเสนอการเชื่อมโยงด้านการเงินให้สู่  กคช. ดึงจุดเด่นมาใช้ประโยชน์ให้ได้และที่สำคัญที่สุด  กคช. ต้องวางตำแหน่ง Position ตัวเองให้ชัดเจนในอนาคต

       อ.เฉลิมพล นำเสนอ กคช. ต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง  โดยศึกษาจากกรณีตัวอย่างต่างๆและเน้นเหมือน  อ.อนุชา  คือ การวางบทบาทตัวเองให้ชัดเจน อ.สมชาย นำเสนอกลยุทธ์ด้วยการต่อยอดสามารถลอกแบบ Copy  วิธีคิดมา  แล้วปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง

                  ความเห็น   สาระสำคัญอยู่ที่  กคช.  ต้องทบทวนบทบาทตัวเองให้ชัดเจน  เพื่อ กำหนอเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายต่างๆในอนาคต

การประเมินผล

การประเมินผลผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย

1) ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนมีระยะเวลาในการเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า

    ร้อยละ 80 ของระยะเวลารวมของหลักสูตร

2)  ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีคะแนนสะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากกิจกรรม

     และงานที่ได้รับมอบหมาย (Assignment) ในระหว่างการอบรม            

     โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

               

รายการที่ประเมิน

คะแนน (%)

กำหนดส่งรุ่นที่ 1

กำหนดส่งรุ่นที่ 2

(1) การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่าน Blog                      

     ประกอบด้วย

     (1.1) การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวัน ทุกวัน (8 วัน)

     (1.2) การบ้านเพิ่มเติมจากอาจารย์จีระ

            (อ่านหนังสือต่อไปนี้แล้ววิจารณ์ขึ้น Blog)

-          หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

-          หนังสือ 8K’s 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

-          หนังสือทำดีที่พ่อทำ

 

20

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 26 ก.ค. 55

(2) บทความทางวิชาการ (5 หน้า)                                              

    เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

40

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 31 ก.ค. 55

(3) กิจกรรมประตูสู่ความสำเร็จ: วิเคราะห์กรณีศึกษา (ในห้องอบรม)        

(4) กิจกรรมประตูสู่ความสำเร็จ: ประเด็นท้าทายของการเคหะ 

     ** รวมเป็นงาน  1 ชิ้น (รายกลุ่ม) คือ การจัดทำรายงาน(ไม่เกิน 20 หน้า) และนำเสนอผู้บริหารรวบยอดประเด็นท้าทายและกรณีศึกษาในหัวข้อที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะเป็นผู้กำหนด หรือ อาจเปลี่ยนหัวข้อตามความเหมาะสมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทีมวิทยากร

     ** หัวข้อของการศึกษา (เอกสารแนบ 1) – กรุณาลงชื่อเพื่อเลือกหัวข้อการศึกษาที่คุณภัทรพร (น้องยานี)

40

 

ภายใน

วันที่ 9 ก.ค. 55

ภายใน

วันที่ 6 ส.ค. 55

 

หัวข้อสำหรับการศึกษา (สำหรับงานกลุ่มเพื่อเตรียมนำเสนอสำหรับผู้บริหาร)

รุ่นที่ 1 นำเสนอในวันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม 2555 เวลาประมาณ 10.00 – 12.00 น.                

ณ ห้องประชุม ชั้น 15

รุ่นที่ 2 นำเสนอในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555 เวลาประมาณ 10.00 – 12.00 น.  

ณ ห้องประชุม ชั้น 15

 

หัวข้อที่ 1       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนาคน” ของ SCG – EGAT

                   เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที่ 2       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนานวัตกรรม” ของ Apple - SCG

                   เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที่ 3       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนากิจการการเคหะแห่งชาติ” ของ ประเทศสิงคโปร์และ                                      ประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 4       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน” ของสิงคโปร์และ                                       ประเทศญี่ปุ่นเปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 5       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการสร้างบ้านน่าอยู่” ของ

-                   บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

-                   บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (ลุมพินี)

-                   หรืออื่น ๆ

เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ

หัวข้อที 6       วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา

                   “เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของการพัฒนาที่                                       ยั่งยืน และเสนอแนะยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการเคหะแห่งชาติ

 

หรือ              หัวข้อที่ท่านสนใจอื่น ๆ โปรดเสนอต่อทีมวิทยากรภายใน วันศุกร์ที่ 29 มิ.ย.55 (สำหรับกลุ่ม 1)  และ ภายใน วันจันทร์ที่ 9 ก.ค. 55 (สำหรับกลุ่ม 2 )   

27 มิถุนายน 2555

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ (ด้านการตลาด /การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การผลิต)

ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดย..

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

       ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

       ผู้อำนวยการ

       ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์

       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

       ดำเนินการอภิปรายโดย

      คุณสุภวัส วรมาลี

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • หลังฟองสบู่แตก ผมได้รับมอบจากกระทรวงการคลังไปแก้ปัญหารัฐวิสาหกิจ
  • วัฒนธรรมองค์กรมี Spirit เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ
  • ต้องจับจุดคานงัดให้ได้จะได้เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้บ้าง
  • คนเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร
  • เวลาส่งไม้ต่อให้ผู้สืบทอด ต้องดูว่าวัฒนธรรมองค์กรใดที่ต้องเปลี่ยน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • ผมจะมองความท้าทายจากมุมมองคนนอก
  • จากประสบการณ์ไปทำงานกับรัฐวิสาหกิจ ทำให้ทราบวัฒนธรรมองค์กรว่า คนของรัฐวิสาหกิจมีลูกหลานอยู่ในรัฐวิสาหกิจเดียวกันด้วย แล้วยังต้องมารับภาระหนี้อีก
  • พันธกิจการเคหะตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้วคือสร้างที่อยู่ให้ผู้มีรายได้น้อย
  • ตอนหลัง มีน้ำท่วม คนย้ายไปอยู่ที่อื่น
  • ตอนหลังมีที่อยู่จากเอกชนตามแนวรถไฟฟ้ามาเป็นคู่แข่ง
  • ต้องทำให้ประชาชนเกิดความอยาก เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
  • ต้องมีการวิเคราะห์ทางการตลาด
  • การเคหะต้องเข้าใจช่องว่างทางการตลาด จะได้สร้างผลิตภัณฑ์การเคหะขึ้นมาแล้วตอบสนองช่องว่างการตลาดที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเคหะ
  • ตอนนี้ พฤกษาเข้ามาแข่งในด้านที่อยู่ผู้มีรายได้น้อยราคาต่ำกว่า 1.2 ล้านบาท และได้ BOI ด้วย เพราะมีการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดแล้วว่า มีการเคหะมีคู่แข่ง
  • ผลิตภัณฑ์ที่การเคหะ (NHA) เสนอให้แก่ลูกค้า Boom หรือไม่ เวลาเปลี่ยน ความนิยมก็เปลี่ยนไป คนไทยอาจรวยขึ้น เราอาจไม่ได้ตอบโจทย์นั้น
  • เราเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้

4C จะเปลี่ยนองค์กร

  • Customer/Consumer มีการเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยนตามเขา เขาจะได้ซื้อเรา
  • Competitor คู่แข่งเปลี่ยนไป ถ้าเราไม่เปลี่ยน เขาก็พังเรา เขาเปลี่ยนตามลูกค้า
  • Competitive Environment การรับรู้ของคนจะเปลี่ยน
  • C ที่ 5 ผู้นำในองค์กรคิดให้เปลี่ยน บริษัทนั้นต้องเป็นผู้บุกเบิก บริษัทนั้นอาจมีการเปลี่ยน Generation

พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อบ้าน สนใจ

1.ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ จะมีการ Infrastructure คมนาคมไปถึงในอนาคต

2.แหล่งความเจริญ เป็นแหล่งที่มี Infrastructure อยู่แล้ว

3.ความสะดวกในการคมนาคมและเดินทาง

4.คุณภาพชีวิตและสังคม บางคนซื้อบ้านเกินตัวแต่ซื้อสิ่งที่แพงกว่า ผ่อนนานๆ แต่ซื้อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีกว่า

5.ภาพลักษณ์ทางสังคม เปลี่ยนไป คนไปพักที่ชุมชนเกิดขึ้น คนก็คิดถึงสโมสร ส่วนกลาง Facility Fitness สระว่ายน้ำ ควรมีสิ่งที่ทดแทนสิ่งที่ขาดหายเพื่อให้คนใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในชุมชน

6.ต้นทุนการลงทุน ปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคใจกล้า ขอให้ตั้งราคาผ่อนรายเดือนมา แล้วเขาจะซื้อ เขาคิดว่า ในอนาคตเขาจะขายต่อได้แพงขึ้น

7.ต้นทุนครองชีพ

8.มูลค่าสินทรัพย์

  • การเคหะมีศักยภาพในการหาการขนส่งเข้าไป และเข้าไปสร้างความเจริญในพื้นที่นั้น หลายแห่งทำเลดี ขายหมด ลูกค้าปัจจุบันคือ คนระดับกลางซื้อเพื่อปล่อยเช่า การเคหะได้เปรียบมีการดูแลติดตามชุมชนและลูกค้า
  • ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเคหะมีทั้งสร้างแล้วค่อยขายและขายแล้วค่อยสร้าง การเคหะปล่อยให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าซื้อ การขายแล้วค่อยสร้างช่วยลดความเสี่ยง

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การเคหะขาย Community (Home ความมีหลักแหล่ง) ต่างจากที่อื่นที่ขายบ้าน

ในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

  • ต้องดูว่า บทบาทและจุดยืนการเคหะเปลี่ยนไปไหม
  • ต้องดูว่า การเคหะจะไปไหน
  • ต้องดูว่า อะไรที่การเคหะทำได้และทำไม่ได้
  • ต้องแปลงยุทธศาสตร์เป็นแผนปฏิบัติ
  • ต้องถามว่าเจ้าของเงินต้องการอะไร เช่น คนผ่อนบ้าน
  • ต้องคิดล่วงหน้า จะได้ไม่ตกใจเวลาเจอของจริง
  • ต้องหารือข้ามฝ่าย แล้วเลือกปฏิบัติให้เหมาะสม
  • การเคหะมีจุดแข็งเรื่อง Hospitality การต้อนรับขับสู้
  • การเคหะอย่ากลัวการทะเลาะ เดี๋ยวคนสั่งได้ใจ การเคหะต้องมีภูมิคุ้มกัน
  • การเคหะต้องมีพรรคพวก เช่น กทม. การประปา
  • ในองค์กรต้องมี Infra และ In flow
  • การเคหะอยู่มานาน ต้องเก็บประสบการณ์ผู้บริหารเก่าๆไว้ (Knowledge Management)
  • การเคหะต้องออกหาปลาตอนน้ำลงได้ ต้องทำให้คนซื้อบ้านแม้เศรษฐกิจไม่ดี
  • ต้องฝึกลูกน้องให้ทำได้หลายหน้าที่
  • ต้องสอนให้ลูกน้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น
  • การเคหะต้องเน้นขายความสุขเพราะมีไมตรีจิตอยู่แล้ว

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • ก่อนปี 2540 โมเดลอสังหาริมทรัพย์เป็นแบบสร้างแล้วขาย การเคหะสร้างประสบการณ์ Hospitality, Friendly, Warmness ถือเป็น Customer Experience
  • แต่เดิมไม่ตั้งในเมืองแต่ตั้งรอบเมืองเพราะแพง
  • ต่อมา ขายแล้วสร้าง
    • ทำความเข้าใจลูกค้าแล้วออกแบบบ้านตอบสนองความต้องการ
    • มีความหลากหลายของแปลงที่ดินและแบบบ้าน
    • เน้นผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง
    • ในการวิจัยตลาด
      • ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า
      • กำหนดลูกค้าเป้าหมายของโครงการที่ชัดเจน
      • กำหนด Segment เพราะทำให้ทราบเหตุผลที่แท้จริงของการซื้อ การเคหะยังไม่นำจุดแข็งมาโปรโมท
      • พัฒนาสินค้าที่แตกต่างกันทั้งในด้านทำเล รูปแบบ ตรายี่ห้อ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ยุทธศาสตร์ที่ดีต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

  • Holistic เป็นองค์รวมขององค์กร
  • Longterm  มากกว่า 1 ปี ทั้งด้านผลและกระบวนการ
  • Cross Function ข้ามสายงาน
  • Selective คัดสรร เลือกคน เลือกทำบางโครงการ
  • Change เปลี่ยนแปลง

Workshop

กลุ่มวัฒนธรรมองค์กร 1

นำเสนอโดย นันทนา

  • พิธีกรรม วันสถาปนา
  • การเคหะเน้นการประหยัด ใช้ระบบพี่สอนน้อง ทำเป็นคู่มือสอนรุ่นต่อไป
  • ผู้นำตัวอย่าง คือ คุณถวัลย์ สุนทรวินิจ เป็นกันเอง อบอุ่น สุภาพ โปร่งใส ซื่อสัตย์
  • ก๊วน จากการเข้ารับการอบรมได้เพื่อนร่วมรุ่นมาประสานงานร่วมกัน
  • การสื่อสาร e-mail, internet, ข่าวลือ, ข่าวปล่อย
  • การจัดการปัญหา สู้ตาย สู้ๆ แบบมีกระบวนท่า เช่น มีม็อบ ต้องถอยหลังมาดูปัญหาแล้วค่อยจัดการ
  • การตัดสินใจมีหลายระดับ มีคณะทำงานตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจตัดสินใจ แต่คนมีอำนาจสูงสุดตัดสินใจ

กลุ่มวัฒนธรรมองค์กร 2

  • พิธีกรรม เรื่องวันสถาปนา พนักงานให้ความร่วมมือเพราะถือเป็นวันสำคัญ มีแจกรางวัลพนักงานดีเด่น ตอนเย็นมีสังสรรค์
  • วิธีการทำงาน เน้นกระบวนการ หนังสือเวียนต้องมีใบปะหน้า
  • ผู้นำตัวอย่าง คือ เราดึงข้อดีแต่ละคนมา เช่น ให้โอกาสลูกน้องแสดงความคิดเห็น ให้ความสนิทสนมกับลูกน้อง ให้คำปรึกษาได้
  • ก๊วนที่จะมีผลต่อการเคหะคือ ชมรมผู้สูงอายุ พอรุ่นพี่เกษียณกลับมาถ่ายทอดประสบการณ์ให้รุ่นน้อง
  • การส่งข่าว ถ้าต้องการให้เร็ว ก็โทรศัพท์
  • การแก้ปัญหา สู้ เช่น แก้ปัญหาเอื้ออาทร การขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี พยายามหางานเข้าองค์กร
  • การตัดสินใจ ทำร่วมกัน

คุณสุภวัส วรมาลี

  • มี Unity, Loyalty เช่นการมีชมรมผู้สูงอายุ ร่วมฟันฝ่าอุปสรรค และถ่ายทอดประสบการณ์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • คนของการเคหะน่าจะเป็นคนที่รักและหวงแหนองค์กร เคารพผู้อาวุโสในระดับหนึ่ง ภูมิใจในงานที่ทำเพราะสู้ๆ
  • แต่บางอย่างสะกิดใจ เหมือนมีแต่ละกลุ่มของตนแต่อาจจะไม่มีการ cross กลุ่ม พอข้ามกลุ่มต้องแทงหนังสือ ถ้าไม่ข้ามกลุ่ม พี่น้องช่วยกันสู้ๆ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องคนในทราบ และทำให้ทราบว่าทำอะไร
  • Strong Culture คือการคิดเหมือนกันทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน คนโจมตียาก แต่ทำให้เปลี่ยนยาก
  • ต้องการผลัดใบเสมอ

กลุ่ม Rebrand

จุดแข็ง

จุดอ่อน

  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน
  • โครงการมีองค์ประกอบชุมชนครบ
  • ได้แหล่งเงินทุนจากรัฐ
  • สามารถไปร่วมมือกับรถไฟฟ้า ขสมก. ไฟฟ้า ประปา
  • มีความมั่นใจว่าได้บ้าน
  • วัสดุ
 
  • ทำเล
  • ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • กลุ่มเป้าหมายรายได้น้อย
  • อ่อนประชาสัมพันธ์

วิธี Rebrand

  • ประชาสัมพันธ์ผ่านทีวี วิทยุ
  • เน้นลูกค้าครอบครัวขยาย กลุ่มอายุ 30-45 ปี
  • เพิ่มความตระหนักรู้ในสิทธิในการซื้อเพื่อให้ได้การอุดหนุน

กลุ่มกลยุทธ์แข่งกับพฤกษา

  • มองการเคหะเป็นแบบ Holistic
  • เปลี่ยนไปเป็น (Leader, Facilitator) เป็นผู้นำในการพัฒนาเมืองที่น่าอยู่
  • Gap Filller ทำในสิ่งที่เอกชนไม่ทำ
  • Housing Fund
  • Shared ownership scheme ตอบสนองผู้มีรายได้น้อย
  • เปลี่ยนคู่แข่งเป็นกลไกขับเคลื่อน โดยจะทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่
  • ปรับโครงสร้างองค์กร Privatize บางฝ่ายไปเป็นบริษัทลูก ลดขั้นตอน ทำให้จ้าง CEO เก่งๆมา แล้วส่งรายได้คืนกลับมาให้การเคหะ
  • บริษัทลูกสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และเป็นพันธมิตรกับบริษัทก่อสร้าง
  • เน้นบริการหลังการขยาย เน้นสภาพแวดล้อมที่ดีมีคุณภาพ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

  • ทั้งสองกลุ่มตรงกันมาก
  • ต้องกรองค่านิยมหลัก
  • ต้องทำงานเน้นคุณภาพ
  • Business+Spiritual Culture จะทำให้ Strong ขึ้น
  • ควรจะคิดว่าจะส่งมอบงานให้คนรุ่นต่อไปอย่างไร
  • การเคหะไม่ได้แข่งกับใครแต่ลูกค้ามีทางเลือก
  • หลายองค์กรผูกขาด แต่ก็ตายซากเพราะลูกค้าไม่ใช้

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • บางประสบการณ์ในอดีตอาจทำให้มีความสุขแต่ไม่อาจทำให้ก้าวไปข้างหน้าได้
  • สมัยนี้นักการเมืองท้องถิ่นพร้อมดูแลชุมชน การเคหะควรเป็นพี่เลี้ยงช่วยอย่างมีขอบเขต
  • การเคหะมีปัญหาคือไม่มีกระบวนการการกลั่นกรองทำให้เกิดต้นทุนมากมาย สร้างไม่เสร็จแต่ว่าต้องจ่ายต้นทุนทุกวัน
  • การเคหะมีหนี้ที่ต้องชำระที่จะครบกำหนดชำระในปี 2556 เกือบ 2 หมื่นล้านบาท
  • จะบอกว่าไม่มีคู่แข่งไม่ได้ เพราะของที่การเคหะผลิตต้องขายได้หมด
  • ตอนนี้ คู่แข่งการเคหะน่ากลัวมากคือองค์กรด้านการเงิน

ผู้แทนการเคหะ

  • ข้อมูลที่อาจารย์ได้คือปี 2553 ส่วนปี 2554 งบการเคหะดีขึ้น
  • การเคหะได้รับรางวัลวิสาหกิจดีเด่นด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงและพลิกฟื้นองค์กร (มีหนี้น้อยลง)

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  • การเคหะมีสินค้าคงค้างก็ต้อง Haircut หยุดโครงการที่ควรจะหยุด
  • ควรเพิ่มสัดส่วนเชิงพาณิชย์กับเชิงสังคมมากขึ้น
  • ต้องซื้อ Prime Area แล้วสร้างให้เกิดรายได้
  • ต้องดูสัดส่วนสินทรัพย์กับหนี้สินรวมของการเคหะเพื่อทำภูมิคุ้มกัน
  • ต้องดูสัดส่วนยอดจองกับยอดโอน ยอดจองไม่จำเป็นต้องเป็นยอดโอน
  • ต้องดูสัดส่วนอัตราหมุนเฉลี่ยของสินทรัพย์และผลตอบแทนเฉลี่ย
  • การเคหะต้องหามืออาชีพมาช่วยทำงานในยุคที่เปลี่ยนแปลงไป

 

วันที่ 18 มิถุนายน 2555 ได้มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายหัวข้อวิชา ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1) ได้เห็นตัวอย่างของผู้นำหลายๆ แบบซึ่งประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง รวมทั้งได้ทราบถึงองค์ประกอบของผู้นำที่ดีว่าควรมีลักษณะอย่างไร ซึ่งผู้นำที่เพียบพร้อมเช่นนั้น เป็นผู้นำในฝันของพนักงานการเคหะแห่งชาติทุกคน ขอเรียนตามตรงว่าเมื่อฟังการบรรยายแล้วเกิดความหดหู่ ท้อแท้ใจในบางช่วง เนื่องจากฝันอยู่เสมอว่าอยากให้การเคหะแห่งชาติที่เรารักและเปรียบเสมือนบ้านที่ 2 ได้มีผู้นำที่แข็งแกร่ง กล้าตัดสินใจ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีคุณธรรมและจริยธรรม ใฝ่รู้ มองเห็นวิกฤติเป็นโอกาส และเข้าใจเข้าถึงพนักงานทุกระดับชั้น

และเมื่อนึกไปถึงการก้าวสู่ประชาคมอาเซี่ยนในอีก 3 ปีข้างหน้า พนักงานของการเคหะแห่งชาติจะมีคุณสมบัติเพียงพอหรือไม่ที่จะขึ้นเป็นผู้นำในอนาตค เนื่องจาก ณ วินาทีนี้ยังไม่มีการเตรียมพร้อมเป็นรูปธรรมอย่างใดเลย ซึ่งก็จะเหมือนกับปัญหาที่การเคหะฯ กำลังประสบอยู่ปัจจุบันคือจะขาดช่วงเรื่องบุคลากรในหลายๆ ระดับ ทั้งๆ ที่ทราบมาหลายปีแล้วว่าปัญหานี้จะต้องเกิดแต่แก้ปัญหาไม่ทัน ส่วนหัวข้อวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ข้อคิดว่าต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันโลก ไม่เช่นนั้นเราจะอยู่ไม่ได้ ต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า การมีความรู้เฉพาะด้านจะไม่ประสบความสำเร็จอีกต่อไป ต้องมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ และต้องเลือกผู้นำให้เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดขององค์กรและเพื่อ balance การเปลี่ยนแปลง

อรชร กิจสุบรรณ okitsubun@gmailcom

แนวคิดที่ได้จากการการรับฟังการบรรยายและอภิปรายหัวข้อ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(2) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555 มีดังนี้ 1. ผู้นำจะต้องเป็นผู้บริหาร เปลี่ยนตัวเองจาก specialist เป็น generalist หันมาสนใจการบริหารมากกว่าการปฏิบัติ สนใจปัญหาของมนุษย์ มีความเอื้ออาทรไต่ถามทุกข์สุข ของผู้ใต้บังคับบัญชา

  1. การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดีจะต้อง
    • มีทิศทางที่จะไปโดยต้องสำรวจก่อนว่า where are we และ where we want to go เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ พร้อมวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ต้องเป็นแบบ realistic และเป็นสากล
    • ควรเป็น shared vision ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว คนที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมและเห็นด้วย
    • ต้องศึกษา external environment ซึ่งได้แก่ การเกิดแรงงานย้ายถิ่น ปัญหาปริมาณผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น,steakholder ฯลฯ, รวมทั้ง internal environment ได้แก่ ระบบ วัฒนธรรมองค์กร คุณภาพของคน ฯลฯ
    • มีการกำหนดพันธกิจเพื่อตอบสนองเป้าหมายของวิสัยทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    • ต้องมี core value เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่ง core value ต้องมีองค์ประกอบคือ แม่นยำ สร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่ม และมีความสุขในการทำงาน

ในภาคบ่ายในหัวข้อการบริหารกลยุทธ์องค์กร ได้รับแนวคิดในเชิงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากการอภิปรายของท่านวิทยากร ทั้ง 3 ท่าน ดังนี้ 1. ควร positioning ตัวเองให้เป็น เช่น จะลงทุนในอสังหาฯ ให้ถามตัวเองว่ากำลังจะทำอะไร เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับที่ควรจะเป็น 2. ถามตัวเองว่าเรามีจุดเด่น เชี่ยวชาญอะไร หาคุณค่าของตัวเองให้เจอ และมุ่งสู่การพัฒนาเพื่อนำองค์กรสู่เป้าหมาย 3 .เมื่อโลกภายนอกเปลี่ยน ให้ตั้งคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่เราต้องเปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา เราจะอยู่ได้หรือไม่และถ้าจะต้องเปลี่ยน จะเปลี่ยนอย่างไร improve ,develope หรือ innovation 4. การทำงานในยุคหน้านอกจากจะมีกลยุทธ์แล้ว จะต้องมี creative thinking ด้วยเพื่อให้เกิด value added 5. การเคหะแห่งชาติต้องสร้าง brand ของตนเองให้ได้ เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้สินค้าของเรา 6. การเคหะฯ ควรพัฒนาอย่างไรให้สินค้าของเราแม้จะถูกแต่ก็มีคุณภาพดีด้วย 7.การเคหะฯ ควรคำนึงถึงปัญหาอุทกภัย, การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ, AEC ว่าเราจะตั้งรับอย่างไรในเชิงการวางแผนกลยุทธ์

อรชร กิจสุบรรณ

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

วันที่ 25 มิถุนายน 2555 การบริหารยุทธศาสตร์องค์กร 1. เสริมสร้างให้เกิดมุมมองต่างๆ เช่น จุดแข็ง จุดอ่อน การเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง ทั้งภายในและภายนอก

มุมมองในเรื่องส่วนแบ่งการตลาด การเป็นพันธมิตรส่วนแบ่งการตลาด การเป็นพันธมิตรส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ 
สื่อมวลชนที่หน่วยงานมักจะลืม
  1. การปรับเปลี่ยนบุคลากรที่จะเกษียณอายุใน 2-3 ปี จะต้องคัดสรรบุคลากรที่มีอยู่มาทดแทน, นำมาพัฒนา ความพร้อม, คัดกรอง ภาวะผู้นำการบริหาร
  2. การเตรียมความพร้อมองค์กร เพื่อรองรับ AEC ในปี พ.ศ.2558 ทุกกิจกรรมที่ต้องเกี่ยวข้องกับ External ซึ่งในฝ่าย พส.1 ได้เริ่มวางยุทธศาสตร์ในส่วนนี้ไว้พอสมควร

วันที่ 28 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลง จากการสัมมนาระดมความคิดของพวกเราในรุ่นที่ 2 1. ความเป็นมาในยุคต่างๆ ตั้งแต่ก่อตั้ง สร้างรากฐาน ทำโครงการของตนเอง ขยายตัวทำโครงการขนาดใหญ่ ยุคตกต่ำ (ต้มยำกุ้ง) สู่ยุคขยายตัวอย่างก้าวกระโดด จนเกิดความเสียหายมาสู่ยุคแก้ไข จนปัจจุบันยุคฟื้นฟู และยุคต่อไป เป็นยุครอยต่อของคนรุ่นเก่าที่ต้องเร่งพัฒนาองค์กร สู่ยุคคนรุ่นใหม่ เพื่อรองรับการเปิดเสรี สมาคมอาเซี่ยน 2. เมื่อเราทราบตัวของเราในรูปแบบองค์กรแล้ว เราควรทำอย่างไรเพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความพร้อมที่จะเป็น

ผู้นำองค์กรให้ยั่งยืนรับภารกิจในอนาคต 2-3 ปี ข้างหน้าได้  การเปลี่ยนแปลงให้คนรุ่นใหม่สามารถตั้งรับ
และพัฒนาสู่เชิงรุก จะทำอย่างไรให้พวกเราเกิดแรงกระตุ้นสู่อุดมการณ์ไปจนถึงค่านิยม ที่จะขับเคลื่อน
ไปพร้อมกัน สร้างคนชงกาแฟให้เป็นผู้บริหารร้านกาแฟ
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาประเด็นท้าทายของ กคช. ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ศจ.ภิชานไกรฤทธิ์ บุญเกียรติ อ.สุภวัส วรมาลี วันที่ 27/06/2555 เวลา 0830 - 1700 น. ประเด็นท้าทายของ กคช.ได้จากการวิเคราะห์องค์กร กคช.ได้แก่ 1.การวิเคราะห์องค์กรจากงบการเงินของ กคช.

 รายรับ  รายจ่าย  ต้นทุนการก่อสร้าง รายได้จากการบริหารสินทรัพย์ 
 ค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อรายได้     หนี้สินและทุนของ กคช.  

2.การวิเคราะห์องค์กรจากวิสัยทัศน์และพันธกิจของ กคช.

 ยุทธศาสตร์ กคช. พันธกิจ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ ทางไหน อะไรและอย่างไร

3.การวิเคราะห์องค์กรจากผลิตภัณฑ์(บ้าน)ของ กคช.

 แนวคิดสินค้าสร้างก่อนขาย และแนวคิดสินค้าขายก่อนสร้างกับการบริหารความเสี่ยงของ 

4.การวิเคราะห์องค์กรจากผู้บริโภค(ลูกค้า)ของ กคช.

 การตัดสินใจซื้อของลูกค้ามีผลต่อ สินค้าของ กคช.ที่มี ทำเล ราคา แหล่งงาน การคมนาคม

5.การวิเคราะห์องค์กรจากการเปลี่ยนแปลงภายในของ กคช.

 การปรับโครงสร้างภายใน กคช. เป็นเชิงพานิชย์และเชิงสังคม ตามสัดส่วนมีผลกระทบ

6.การวิเคราะห์องค์กรจากวัฒนธรรมองค์กรของ กคช.

 พฤติกรรมของผู้คนใน กคช.ที่ปฏิบัติต่อกันในองค์กร และต่อลูกค้าหรือบุคคลภายนอกได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรไปในทิศทางใด ดีขึ้นหรือไม่ 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม 1.แนวความคิดของการนำผลการวิเคราะห์มาประยุกใช้ในอนาคตของ กคช. 2.การมองอนาคตของการเคหะแห่งชาติใน 10 ปี ข้างหน้าต้องประกอบด้วยนโยบายชัดเจน ตำแหน่งของสินค้า แผนปฏิบัติที่สอดคล้องกัน นำไปสู่ภาคปฏิบัติที่ทุกคนในองค์กรต้องรับรู้ร่วมกัน 3.การทำ work shop * ระดมความคิดในการค้นหาวัฒนธรรมองค์กร

                         * การค้นหาตำแหน่งขององค์กรในอนาคต

                                                                                              นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                                         [email protected] 
                                        วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ
                     ศาสตราภิชาน  ไกรฤทธิ์  และ ผศ.ดร. พงษ์ชัย  วันที่  27  มิ.ย.  2555วิทยากรทั้ง  2  ท่าน  นำเสนอประเด็นได้ตรงกับปัญหาของการเคหะแห่งชาติมาก  ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร  กคช.  เราที่ต้องทบทวนบทบาทจุดยืน  เพื่อกำหนดอนาคต  สรุปได้ดังนี้
                      อ.ไกรฤทธิ์  นำเสนอประเด็นในภาพรวมระดับ วิสัยทัศน์  พันธกิจ  นโยบาย  กลยุทธ์  โดย กคช.  ต้องตอบ

คำถามตัวเองจะนำองค์กรไปสู่หนใด สถานะที่เป็นอยู่ในจุดไหน จะทำธุรกิจอะไรไม่ทำธุรกิจอะไรโดยต้องชัดเจน เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ได้ถูกต้องไปจนถึงได้แผนปฏิบัติการที่ดี โดยพิจารณาถึงปัจจัยทั้ง ภายนอก ภายใน จากการสรุปบทเรียน

                      อ.พงษ์ชัย  นำเสนอในภาพที่ลงรายละเอียด  โดยให้พิจารณาถึงการตลาด วิเคราะห์วิจัยตลาดพฤติกรรม

ผู้บริโภค จุดอ่อนจุดแข็งของ กคช. หากต้องสู้กับเอกชน และมองโลกในความเป็นจริงกับสถานะขององค์กร สิ่งสำคัญของอาจารย์ที่ กคช. ต้องฉกคิดหากไม่มีนโยบายภาครัฐ กคช. จะดำเนินการอย่างไรในอนาคต

วันที่ 27 มิถุนายน 2555 เป็นวันที่ 3 ของการอบรมในหัวข้อประเด็นท้าทายของการเคหะในด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรม โดยในประเด็นการตลาดสิ่งที่ได้รับคือเมื่อคิดจะทำโครงการต้องหาคำตอบว่าลูกค้าเราเป็นใครและเราจะผลิตสินค้าอะไรเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของเรา การจะตอบคำถามได้ต้องมีการวิเคราะห์เพื่อหาช่องว่างของตลาดและวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าเพื่อผลิตสินค้าให้ตอบสนองของความต้องการของลูกค้า ซึ่งจริงๆ แล้วเวลาคิดโครงการ กคช.มีการวิเคราะห์เช่นกันแต่ไม่แม่นยำเช่นเอกชน บางครั้งวิเคราะห์โดยสมุมติฐาน ไม่ได้วิเคราะห์จากข้อมูลจริง และการเก็บข้อมูลภาคสนามยังไม่สมบูรณ์ รวมทั้งใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจ

ในประเด็นวัฒนธรรมองค์กร อ.ให้ตอบคำถามใน7หัวข้อ 1.พิธีกรรมอะไรในกคช.ที่ท่านนึกถึง 2.วิธีทำงาน(อย่างไร) 3. HERO ยกตัวอย่างบุคคลในองค์กรที่เห็นว่าสามารถเป็นแบบอย่างในองค์กร 4. กลุ่ม ใน กคช. มีการจัดความสัมพันธ์แบบกลุ่มหรือไม่ 5. การสื่อข่าวในองค์กรอย่างไม่เป็นทางอะไร ใช้วิธีอย่างไร6. การจัดการปัญหา (วิธีการ สู้ หนี เลี่ยง โยนกลอง) 7. การตัดสินใจครั้งสำคัญ อะไรที่คิว่าเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ จากคำตอบในworkshop กคช. มีวัฒนธรรมการทำงานที่รวมกันตัดสินใจและร่วมแรงร่วมใจเมื่อเมื่อภัยมาถึง อันนี้ผมเห็นว่าอาจจะช้าไปสำหรับสภาวะที่มีภาระหนี้เงินกู้เป็นหมื่นล้าน
สำหรับประเด็นด้านการเงิน อ.ได้ชี้ให้กคช.เห็นว่าการเงินเป็นสิ่งสำคัญขององค์กร องค์กรย่อมอยู่ไม่ได้หารายจ่ายมากกว่ารายรับ ซึ่งรายรับหลักของกคช.อยู่ที่การขายที่อยู่อาศัยและรายได้จากค่าเช่า ควรหาช่องทางเพิ่มรายได้ ในขณะที่มีรายจ่ายประจำปีละ 800 ล้านบาท และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ หากรายรับไม่เป็นไปไปตามแผนย่อมส่งผลให้องค์กรประสบภาวะขาดทุน ดังนั้นทุกคนในองค์กรต้องตระหนักช่วยองค์กรประหยัดด้วยการลดต้นทุนการผลิต เพื่อที่กคช.จะได้ไม่ต้องอยู่ในสภาวะการขาดทุนต่อเนื่องสามปีเช่นในอดีต 

วันที่ 2 ของการอบรมได้เรียนรู้เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (vision) ต่อเนื่องจาก การอบรมวันแรก วิธีการกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับองค์กรจะต้องมีความชัดเจน ต้องรู้ว่าองค์กรจะไปในทิศทางใด ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องเห็นด้วย มีส่วนร่วมในการกำหนด เมื่อกำหนดวิสัยทัศน์แล้วก็ต้องกำหนดพันธกิจ (mission)หรือภารกิจเพื่อทำให้เป้าหมายของวิสัยทัศน์เกิดผลสำเร็จ และต้องมีค่านิยม (core value)เพื่อหล่อหลอมคนในองค์กรให้ช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้มี่การทำ workshop วิธีการกำหนดวิสัยทัศน์ของการเคหะ ในอีก 10ปีข้างหน้า ทำให้รู้ว่าการเคหะ มีจุดอ่อนจุดแข็งอะไร มีผู้เกี่ยวข้องใครบ้างที่มีผลกระทบต่อการเคหะ การเคหะทำอะไรได้ดีมาก และทำอะไรไม่ได้ดี ควรจะทำต่อไปหรือไม่ ทำให้มองเห็นภาพการเคหะได้กว้างขึ้น ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้นำไปกำหนดวิสัยทัศน์ต่อไป
ภาคบ่ายเป็นการอบรมเรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร ด้านอสังหาริมทรัพย์ เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กฎหมาย สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร วิเคราะห์การปฏิบัติงาน วิเคราะห์คุณค่างาน ประเมินผลและเปรียบเทียบผลงาน สำหรับการเคหะ ต้องมีการวิเคราะห์ตัวเอง ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ การเคหะไปสู่ความสำเร็จ ปัจจัยอะไรที่เป็นปัญหาอุปสรรค ต้องวิเคราะห์ว่าการเคหะกำลังทำอะไรอยู่ ควรมี่การเปลี่ยนแปลง องค์กรหรือไม่อย่างไร หรือต้องปรับปรุง พัฒนาหรือ ทำสิ่งใหม่ๆ การเคหะควรเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นกลไกที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป

วันที่ 3 ของการอบรมได้รับความรู้เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ ต้องมีการวิเคราะห์ด้านต่างๆหลายด้าน เช่น วิเคราะห์วัฒนธรรมของการเคหะ วิเคราะห์ด้านการตลาด กลุ่มลูกค้า คู่แข่งขัน พฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์การผลิต การพัฒนาแบบบ้าน การสร้างบ้านหรือคอนโดให้เสร็จก่อนแล้วจึงขาย หรือ ขายก่อนสร้าง วิเคราะห์ราคาขาย วิเคราะห์การเคหะด้านการเงิน รายรับรายจ่าย แหล่งที่มาของเงินทุน สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 40 ปีก่อน มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่น คู่แข่งด้านอสังหาริมทรัพย์ และควรใช้กลยุทธ์ในการทำธุรกิจด้านใดบ้าง เช่น กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ การสรรหาที่ดินในทำเลที่เหมาะสม กลยุทธ์ด้าน rebranding กลยุทธ์การชนะคู่แข่ง

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

วันที่ 27 มิถุนายน 2555

              การเข้าร่วมสัมนาในวันนี้เป็นครั้งที่ 3 ทำให้พวกเรามีความคุ้นเคยกันมากขึ้น การระดมความคิดทั้งผู้ร่วมสัมนา และอาจายร์ทำให้เห็นภาพจุดแข็ง และจุดอ่อนขององค์กร และของคนในกลุ่ม  ผมมีความมั่นใจและภาคภูมิในการทำงานตลอด 30 ปี ที่ผ่านมา ที่สามารถรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ความเป็นพี่น้อง ความร่วมมือร่วมใจในการทำงานทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แนวทางมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์กรให้แข็งแรง และรองรับกับ AEC ใน 2-3 ปี ข้างหน้า  กำลังคน และระบบงานที่แข็งแรงจะถูกกระตุ้นให้กลับมาแข็งแกร่งดังเดิม
นายดารนัย อินสว่าง

วันที่ 25 มิถุนายน 2555 ได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติมจากท่าน ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ตอนที่ 2 หลังจากที่ได้เรียนในตอนที่ 1 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555 ซึ่งในวันนี้ได้มีการระดมสมองเพื่อให้ทุกคนได้มีการคิดงานใหม่ แนวทางวิธีการ โดยการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร และยุทธวิธี ในรูแบบใหม่ เพื่อองค์กรสามารถพัฒนารูปแบบงานใหม่ โดยเฉพาะงานของการเคหะแห่งชาติอีก 10 ปีข้างหน้าควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งการอบรมในวันนี้ยังได้นำ Workshop เพื่อให้ทุกคนได้ระดมสมอง โดยการเน้นในเรื่องของการดูแลประชากรทุกระดับ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม

นายดารนัย อินสว่าง

วันที่ 27 มิถุนายน 2555 ได้มีการวิเคราะห์ประเด็นท้าทาย ของการเคหะแห่งชาติ ด้านการตลาด การเงิน วัฒนธรรมองค์กร อาจารย์ได้สอนให้ผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องเป็นผู้บริหารในอนาคต จะต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และจะต้องคิดหากลยุทธ์ ด้าน Branding ใหม่ในการนำเสนอลูกค้า เพื่อสร้างแรงจูงใจ และได้มีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของสินค้า ของการเคหะแห่งชาติ

อาจารย์ได้วิเคราะห์สถานะทางการเงินของการเคหะแห่งชาติ แล้วรู้สึกตกใจเมื่อเห็นภาพค่าใช้จ่ายการเคหะแห่งชาติ และรายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นการเคหะแห่งชาติจำเป็นที่จะต้องมีโครงการที่จะต้องสร้างให้เกิดรายได้เพื่อลดการขาดทุนในอนาคต
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมวันที่ 25 มิถุนายน 2555

        “ ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ( 2 ) และ Panel Discussion ” ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การเขียนวิสัยทัศน์ที่สะท้อนถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์กรจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและมีวัตถุวิสัย รวมทั้งเข้าใจคำว่า “ Core Value ” ดีขึ้น ในโอกาสนี้ขอนำเสนอวิสัยทัศน์ของการเคหะแห่งชาติ ดังนี้ 
         “ การเคหะแห่งชาติเป็นผู้นำในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ” 
          สำหรับในภาคบ่ายซึ่งเป็นการอบรมเชิงอภิปรายได้ข้อคิดในการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยตัวเราหรือองค์กรจะต้องรู้สถานะของตนเองก่อนที่จะตัดสินใจวางอนาคต ซึ่งการวิเคราะห์และกำหนดทิศทางการดำเนินงาน จะต้องอาศัยองค์ความรู้ในเชิงศาสตร์ และข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานบริหารสินทรัพย์และอาคารเช่าได้
                                                                                                            ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

27 มิถุนายน 2555

จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2555 สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

  1. องค์กรต้องหาตัวตนให้พบ ในด้านการตลาด การเงิน วัฒนธรรมองค์กร ด้านการผลิต

  2. ด้านการตลาด ค้นหาสินค้านำเสนอให้ลูกค้าเห็นแล้วเกิดความอยาก อยากรู้ อยากได้ โดยการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น จัดกิจกรรม, จัดมหกรรม ฯลฯ

  3. ค้นหาช่วงว่างทางการตลาดให้สินค้าที่จะนำเสนอสอดแทรกในช่องว่างทางการตลาดนั้น

  4. พลิกแพลงปรับปรุงผลิตภัณฑ์/สินค้า ให้ถูกยุคสมัย เป็นที่ต้องตาต้องใจ ไม่มีใครผลิตในลักษณะนี้มาก่อน หรือผลิตสินค้าที่ Boom ขณะนั้นกำลังเป็นที่นิยม

  5. วิเคราะห์ความอยากของคน ณ ขณะนั้น พร้อมทั้งหาปัจจัยสนับสนุน เช่น ช่วงเศรษฐกิจดี ประชาชนมีรายได้สูง นิยมบ้านพักตากอากาศในเมืองท่องเที่ยว และอยู่ในช่วงจ่ายโบนัส หรือตกเบิก เป็นต้น

  6. วิเคราะห์ดูตนเองว่ามีความถนัด มีโนฮาว/เก่ง ที่จำทำกิจการใดสิ่งใด มีความรอบรู้ มีประสบการณ์ในการผลิตสินค้านั้น ๆ มานาน มีความเชี่ยวชาญ

  7. หาจุดแข็งตัวสินค้าว่าเหมาะสมกับยุคสมัย มีคุณประโยชน์สูง เป็นสิ่งจูงใจ

  8. วิเคราะห์ตลาดว่าขณะนั้น มี DEMAND มากน้อยเพียงใด เป็น DEMAND ที่แท้จริง หรือตามกระแส และมีสินค้าสนองตอบแล้วเท่าใด

  9. ระดับราคาเป็นเครื่องชี้สำหรับการตัดสินใจว่า สินค้าเกรดดีราคานี้ เปรียบเทียบกับคู่แข่งขันแล้วได้เปรียบ ดีเด่นกว่าหรือไม่ ผู้บริโภคเลือกเราหรือไม่

  10. วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ดูกลุ่มลูกค้า ความสามารถทางการเงินเทียบกับราคาสินค้า ผู้บริโภคซื้อสินค้า มีเจตนาลำดับอื่นหรือ เช่น เก็งกำไร ซื้อดักรออนาคตของบ้าน/เผื่อลูกโต, เผื่อย้ายแหล่งงาน หรืออยู่อาศัยเอง จึงพัฒนาสินค้า ให้สอดคล้องโดนใจกัน

  11. พิจารณาขีดความสามารถทางการเงินของตนเอง เช่น ผลิตมาก ๆ ขายไว ๆ กำไรต่อหน่วยน้อย หรือผลิตสินค้าไฮเอน สินค้าชิ้นใหญ่ คุณภาพดีในการขายต่ำ แต่ได้กำไรสูง แต่ต้องลงทุนสูงและใช้เวลานาน เปรียบเทียบกัน

จึงสรุปได้ว่าต้องวิเคราะห์ตอนเองในด้าน :-

• ด้านผลิตภัณฑ์

• ลูกค้า

• สภาพแวดล้อม

• พฤติกรรมผู้บริโภค


27 มิถุนายน 2555

18 มิ.ย. 55

 

            ทำให้เราทราบถึงความแตกต่างระหว่างผู้บริหาร กับผู้นำมากยิ่งขึ้น สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้นำ ที่เหนือกว่าผู้บริหารก็คือ ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรและนักสร้างนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอ ต้องรู้จัก
การบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ผู้นำนั้นขาดไม่ได้ คือ การแรงศรัทธาจากคนภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร จึงจะถือได้ว่าเป็นผู้นำที่แท้จริง อีกทั้งผู้นำต้องสอนหนังสือด้วย จึงจะถือได้ว่าเป็นผู้เพียบพร้อมและเต็มเปลี่ยมด้วยความรู้  ความสามารถ เพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ถือเป็นการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ หรือ ทุนมนุษย์ให้เกิดประโยชน์ยิ่งๆขึ้นไปอีก จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ

            ส่วนคุณสมบัติของผู้นำประเทศอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น คุณ Nelson Mandela เป็นคนกล้า ทำงานเงินรุก มีความประนีประนอม ยืดหยุ่น รู้จักบริหารศัตรู คนที่ไม่ชอบต้องยิ่งใกล้ชิด   ส่วน คุณ Obama  สร้างศรัทธาและความมั่นใจ ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างเครือข่ายในทุก ๆ แห่ง และทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม และคุณ Hillary Climton ชอบการเรียนรู้ ก็ต้องเรียนข้ามศาสตร์และคิดนอกกรอบ

Finance for Non finance ดร.กุศยาฯ 29 มิ.ย.55

สวัสดีครับท่านอ.จีระ

          วันนี้ได้ฟังบรรยายภาคเช้าจากดร.กุศยา เรื่อง Finance for Non-Finance ท่านอาจารย์ได้พูดถึงลูกค้าของการเคหะฯ สิ่งสำคัญคือความสามารถในการผ่อนชำระเพราะส่วนใหญ่ยังไม่สามารถจะซื้อเงินสดทั้งหมดได้ การเคหะฯจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้เป็นสำคัญ ผู้บริหารฯ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเงิน การลงทุนและงบประมาณ ซึ่งตลาดการเงินจะแบ่งเป็นในระบบและนอกระบบโดยแบ่งเป็นตลาดเงินและตลาดทุน ตลาดเงินและตลาดทุนจะแบ่งตามระยะเวลามิใช่แบ่งตามจำนวนเงิน ถ้าระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี จะเป็นตลาดเงิน แต่ถ้าเกิน 1 ปีจะเป็นตลาดทุน

          ธนาคารที่จัดตั้งตามกฎหมายเฉพาะไม่ถือว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ธนาคารอิสลาม เป็นต้น

          ช่วงบ่าย เป็นการเสวนาของภาคเอกชนประกอบด้วย อ.ณรงค์ฯ อ.รุ่งโรจน์ฯ จากหมู่บ้านซื่อตรงและอ.อนุชา เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการจัดสร้างโครงการ โดยให้แนวทางว่า

          1.การเคหะจะต้องรู้จุดแข็งของตนเอง เช่นการสร้างสังคมเมืองมิใช่ทำบ้านขายกับเอกชน

          2.การเคหะน่าจะได้เปรียบเอกชนในเรื่องความน่าเชื่อถือเพราะเป็นองค์กรของรัฐ และต้องใช้การเมืองมาปรับให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร

          3.เน้นนวัตกรรมใหม่ๆ คิดโครงการใหม่ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่องค์กร

 

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

25 มิย. 55 08.30-12.00 น. หัวข้อ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

การเคหะแห่งชาติมีหน้าที่จัดสร้างที่อยู่อาศัย โดยเน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลาง  โดยที่การเคหะไม่ได้สร้างบ้านแต่การเคหะสร้างชุมชน  ผู้ซื้อไม่ได้เป็นเพียงเจ้าของบ้าน แต่ทุกคนเป็นเจ้าของชุมชน ทำอย่างไรให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการของการเคหะมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้  นี่คือสิ่งที่พวกเราชาวการเคหะทุกคนพยายาม 

จากผลการวิจัยของ James Collins ที่กล่าวไว้ว่าสิ่งที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ต้องมีการปรับวิสัยทัศน์ตลอดเวลา ดังนั้นคนที่เป็นผู้นำ(ทุกระดับ)ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย จากการเป็น Specialist มาเป็น Generalist ทุกอย่างเริ่มที่คน โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้นำที่มีความหลากหลายทั้งทัศนคติ ทักษะ ความรู้ และองค์ประกอบอื่นที่รวมเป็นทุนมนุษย์ของแต่ละคน มาร่วมกันทำงานในองค์กร ภายใต้กฎ ระเบียบ เดียวกัน แต่การที่วัฒนธรรมในแต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกัน การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์องค์กร จึงควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมด้วย (Shared Vision) ซึ่งต้องเชื่อมโยงถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ขององค์กรด้วย นอกจากการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ แล้ว ควรกำหนด Core Value ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามที่การเคหะกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าจะเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย 13.00-16.30 น. หัวข้อ การบริหารกลยุทธ์องค์กร

การบริหารองค์กรยุคใหม่ ต้องมีความเข้าใจวัฒนธรรม ค้นหาจุดเด่น และความเชี่ยวชาญขององค์กรให้พบ เพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง พร้อมรับมือกับการขยายตัวของเมือง และความต้องการที่อยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีของการเคหะ  โดยการกำหนดกลยุทธ์ต้องบริหารแล้วให้เกิดความคุ้มทุนระหว่าง งาน-คน-เงิน  ทั้งนี้ Brand เป็นสิ่งสำคัญ ในยุคนี้การเคหะไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางเพียงหน่วยงานเดียว เอกชนหลายกลุ่มเข้ามามีบทบาทและทำได้ดี การเคหะจึงต้องสร้าง Brand ของตัวเองให้ได้ ที่ตอบสนองความรู้สึก (Emotion) ของลูกค้าและเมื่อใดที่ลูกค้า คิดถึงบ้าน ต้อง คิดถึงการเคหะ
ในประเด็นที่มองว่าการเคหะมีการเมืองแทรก  ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน หน่วยงานของรัฐต้องทำงานร่วมกับการเมืองอยู่แล้ว เนื่องจากมีประชาชนเป็นกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน  การเคหะน่าจะถือเป็นโอกาสที่จะใช้ประโยชน์ทางการเมืองเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุน ซึ่งโดยข้อเท็จจริงในส่วนของสายงานชุมชน การเมืองมักจะนำประโยชน์เข้ามาในชุมชนมากกว่า แต่ก็อาจะจะทำงานยากบ้าง เพราะอาจจะถูกมองว่าไม่เป็นกลาง  ประเด็นสำคัญคือ เรื่องของคน การเคหะต้องพัฒนาคนในองค์กรให้เป็นบุคคลากรที่ใฝ่รู้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีคุณภาพ อีกทั้งองค์กรควรให้ความมั่นคงแก่บุคคลโดยพร้อมช่วยเหลือยามเมื่อเกิดความผิดพลาดบุคลากรก็จะเกิดขวัญและกำลังใจที่จะทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้นเอง

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

ขออนุญาตส่งการบ้านครั้งที่ 2 ค่ะ

อรพิณ

สรุปผลการเรียน วันที่ 27 มิถุนายน 2555

วัฒนธรรมองค์กร

                วัฒนธรรมคือสิ่งที่บ่งบอกว่าเราเป็นพวกเดียวกัน (โดยไม่ได้เขียนเอาไว้) วัฒนธรรมเกิดจากคนในองค์กร โดยวัฒนธรรมมีทั้งสิ่งที่ช่วยเอื้อและสิ่งที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผู้บริหารต้องพิจารณาว่าวัฒนธรรมใดควรคงไว้ วัฒนธรรมใดควรปรับเปลี่ยน โดยเราต้องค้นหาให้ได้ว่าอะไรปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้  และในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรต้องให้สอดคล้องกับบทบาทและทิศทางที่เราจะเดินไป

             อ.ไกรฤทธิ์เห็นว่าบุคลากรของการเคหะเด่นในเรื่องต้อนรับขับสู้มาตลอดไม่เคยเปลี่ยน แต่สิ่งที่ควรเปลี่ยนคือต้องรู้เท่าทันคนนอก  เราต้องทะเลาะกับคนอื่นบ้างไม่ใช่ยอมตลอด

 

ด้านการตลาด

                การตลาดคือทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้คนที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าของเราเกิดความอยาก เราต้องสร้าง Brand ของเราเองให้ได้ ซึ่งทำได้โดยการวิเคราะห์ทางการตลาด เวลาเปลี่ยน ความนิยมก็เปลี่ยนไป การเคหะต้องเข้าใจช่องว่างทางการตลาดจะได้สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้วตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้  ต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของคู่แข่งขัน  ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้บริโภคใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อบ้าน เช่น  ตำแหน่งที่ตั้งโครงการ ความสะดวกในการคมนาคม  คุณภาพชีวิตและภาพลักษณ์ทางสังคม รวมทั้งมูลค่าของทรัพย์สินในอนาคต เป็นต้น ทำสินค้าให้แตกต่างจากคู่แข่งขัน เช่น สื่อให้ลูกค้ารู้ว่า เราขาย Home ไม่ใช่ House

 

ด้านการเงิน

                อาจารย์เห็นว่าควรวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เช่น ผลตอบแทนจากการลงทุน  , ความมั่นคงทางการเงิน (D/E Ratio) อัตราหมุนเวียนเฉลี่ยของทรัพย์สิน เป็นต้น

ด้านการผลิต

                อาจารย์ให้พิจารณาระหว่างผลิตก่อนขาย หรือขายก่อนผลิต  และเราต้องควบคุมต้นทุนการผลิตให้ดี

หาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต เพื่อภาพลักษณ์ของสินค้าและประหยัดต้นทุน

 

ประโยชน์ที่ได้จากการอบรม

  1. ทำให้เข้าใจเรื่องวัฒนธรรมองค์กรว่ามีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย
  2. เข้าใจว่าการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กร และเป็น Dynamics เราต้องปรับตัวให้ทันตลอดเวลา
  3. ด้านการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราต้องรอบคอบและวางแผนระยะยาวให้รัดกุม
  4. ด้านการผลิตก็สำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมให้บรรลุเป้าหมาย ด้านการตลาดและการเงิน
  5. ทั้งนี้ ผู้บริหารต้องทำงานต้องเป็น Generalist ไม่ใช่ specialist ต้องบริหารงานแบบข้ามศาสตร์ ไม่ใช่แบบ Silo  และต้องเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้มาก ๆโดยเฉพาะในเรื่องการสื่อสาร

 

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 27 มิ.ย.55 08.30-16.30 น. การอบรมในวันนี้ เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ทางด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กรและการผลิต
- โดยภารกิจของการเคหะ ควรเน้นในเรื่องของการตลาดเป็นลำดับแรก และตามด้วยการผลิต การเงิน และการบริหารบุคคล เพราะการเคหะเป็น Service Org. - เน้นการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุน - ในเรื่องของการขาย ต้องคิดว่าจะขายบ้านอย่างไรตอนเศรษฐกิจไม่ดี - การเคหะต้องมีพันธมิตร เช่น กทม. การไฟฟ้า การประปา เป็นต้น ซึ่งต้องเข้ามาร่วมทำโครงการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะปัจจุบันการเคหะเปรียบเสมือนผู้ประกอบธุรกิจอสังหาฯ ทั่ว ๆ ไป ซึ่งในโครงการที่ทำเพื่อผู้มีรายได้น้อยตามนโยบายรัฐ รัฐก็ควรให้องค์กรภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมให้การสนับสนุนอย่างจริงจังด้วย โดยเฉพาะโครงการใน กทม. ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ที่ดินอย่างมาก ติดขัดเรื่องกฎ ระเบียบของ กทม. ไปหมด - การเคหะต้องเอาจุดแข็งมาเป็นจุดเด่น เช่น Friendliness, Happiness - จากการวิเคราะห์งบการเงินของอาจารย์ ซึ่งมองว่าการเคหะเป็นเรือที่กำลังจะจม เนื่องจากไม่มีรายได้ระยะยาวที่จะทำให้องค์กรอยู่รอด เรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจในองค์กร แต่ข้อเท็จจริง ในการบริหารทรัพย์สินที่มีอยู่เช่นที่ดินบางแปลง หรือที่ดินแปลงย่อยในชุมชนที่ไม่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อจัดทำโครงการได้ และการเคหะก็ไม่สามารถขายได้ เนื่องจากถูกกระแสสังคมคัดค้าน และบางครั้งก็มีเรื่องของการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง
- ในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร การเคหะก่อตั้งมา 38 ปี มีวัฒนธรรมบางอย่างที่ฝังลึก อาจจะยากที่จะเปลี่ยนแปลง และมีช่องว่างจากการเว้นช่วงบรรจุพนักงาน - ในการทำ Workshop สนุกสนาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้จักสนิทสนมกันมากขึ้น โอกาสเช่นนี้ไม่มีบ่อย ๆ ในการเคหะ เท่าที่จำได้บรรยากาศแบบนี้เกิดตอนเราอบรม Mini MBA. รุ่น 6 ประมาณ 10 กว่าปีมาแล้ว - สุดท้ายต้องคิดให้ได้ว่า การเคหะเป็นใคร ทำอะไรอยู่ และจะก้าวไปทางไหน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันเปิดโครงการ จันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2555 เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ โดย อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

เช้านี้ อาจารย์ แจ้งวัตุประสงค์ของการอบรม เพื่อค้นหาผู้นำ  และเป็นการพัฒนาผู้นำในอนาคตของ กคช.  ดังนั้นในวันนี้ จึงขอฝากผู้นำยุคใหม่ไว้ 3 สิ่ง คือ แรงบันดาลใจที่ได้เกิดขึ้นจากเรียน   สิ่งที่สองคือค้นหา Energy ที่เป็นพลังโดยคิดนอกกรอบ   และสิ่งสุดท้ายการค้นหาตัวเองระหว่างที่อยู่กับ อ.จีระ/อ.ปัณรส และอ.กิตติ

อาจารย์จีระฯ ได้แลกเปลี่ยนทัศนความรู้ และความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้นว่า ผู้นำ นั้นต่างกับ ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ควบคุม จัดการระบบและควบคุมให้สำเร็จตามเป้าหมายให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในระยะสั้น ส่วน ผู้นำ จะจัดการที่เน้นคนหรือองค์กร โดยจับหลักการความสำคัญว่าจะมีวิธีการ (what) และ How ทำอย่างไรให้สำเร็จ และเกิดศรัทธาจากองค์กร ภาวะผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่นั่นหมายถึง Vision Mission Strategies และ Core Value ในอนาคต พร้อมการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และองค์กรมีความสุข ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สามารถมาจาก การเรียนรู้ และฝึกฝน ตลอดเวลาและไม่มีผู้นำคนไหนที่มีความสุข จากลูกน้องที่ไม่ประสบความสำเร็จ การพัฒนาภาวะผู้นำ ใช้หลักทฤษฎี 5E’s คือ Example Experience Education Environment และ Evaluation เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง ช่วงบ่ายวันนี้ อาจารย์ ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา ได้กล่าวถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยเปรียบเทียบในการขี่จักรยานคันเดียวที่มีผู้ขี่ 2 คน คนแรกคือผู้นำ ที่ต้องขับเคลื่อนองค์กรว่าจะไปอย่างไร ทิศทางไหน และตัวอย่างของหนังเรื่องเทวดาท่าจะบ๊องส์ เมื่อมีขวดโค๊กใบหนึ่งดตกในหมู่บ้านคนป่าที่อยู่อย่างสงบในดินแดนห่างไกลอารยธรรม นิเชาเก็บและนำกลับบ้านโดยเข้าใจว่าเป็นของขวัญจากพระเจ้า นับตั้งแต่นั้นมาทุกคนในหมู่บ้านก็เปลี่ยนไป เริ่มจากการมีทรัพย์สิน จากวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีแต่การแบ่งปัน ก็เริ่มมีการอิจฉาริษยา การทะเลาะเบาะแว้ง ความโกรธเคือง ความรุนแรง จึงตัดสินใจว่าขวดโค๊กเป็นสิ่งชั่วร้ายที่นำความขัดแย้งมาสู่หมู่บ้านของเขาโดยอาสาเดินทางอันแสนไกลเพื่อนำไปคืนพระเจ้า สรุปบทบาทของผู้บริหาร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือการบริหารการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากการบริหารการปฏิบัติงานประจำ ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก-ภายใน ผลกระทบ และโอกาสเพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดี ทำให้องค์กรดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และอยู่อย่างยั่งยืน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่สองของโครงการ จันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ • รู้และให้เข้าใจในความหมาย Vission – Mission • Vission ของ กคช.ที่กำหนดไว้ว่าใช้ในปี 2554-2558 ดูแล้วเป็นบทบาทมากกว่าที่จะเป็นทิศทางที่จะไป ไปแล้วจะทำให้เราอยู่รอด หรือทำให้เก่งกว่าคนอื่น และทำให้เราดูแลลูกค้าของเราได้ นอกจากนี้ ไม่เห็นภาพถึง 10 ปี ดังเช่นความหมายของ Vission • หนังสือ BUILT TO LAST โดย JAMES COLLIN ได้วิเคราะห์ว่า ธุรกิจจะอยู่อย่างยั่งยืน ผู้นำและคนในองค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา • การฝึกความคิดความเข้าใจจากผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 ซึ่งต่อไปจะเป็นผู้นำยุคใหม่ ให้ทบทวน-กำหนดวิสัยทัศน์ของ กคช. โดยวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก ภายใน Stakehoders เพื่อรองรับการเปลี่ยนในอีก 10 ปี

การบริหารกลยุทธ์องค์กร ทำให้เห็นมุมมองต่าง ๆ ในการบริหารกลยุทธ์จากหน่วยงานอสังหาฯ โดย อ. อนุชา กุลวิสุทธิ์ อ.เฉลิมพล เกิดมณี และอ.สมชาย สาโรวาท ซึ่งมุ่งเน้นของการทำเงิน แต่ กคช. เพื่อสังคม หรือประชาชนผู้ด้อยโอกาศได้มีที่อยู่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นั่นก็คือ การมองตัวเองว่าอยู่ในPosition ตรงไหน จึงจะคุ้มทุนหรือจุดผ่าน

วัฒนธรรมองค์กร 27 มิ.ย.2555

วัฒนธรรมองค์ขึ้นอยู่กับ คน และเรื่องของ คน จะไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเป็นหนึ่งอย่างเดียว SPIRIT ของการเคหะฯ ก็เป็นตัวหนึ่ง แต่การเคหะฯ ก็ต้องดูว่าวัฒนธรรมใดบ้างที่ต้องปรับแต่งและจะปรับแต่งอย่างไรคนในองค์กรนั้นเท่านั้นที่จะรู้ได้ แต่จุดเด่นของการเคหะฯ ในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร คือ มีความรักองค์กรอย่างเหนียวแน่นมีการตั้งชมรมผู้สูงอายุทำให้ผู้เกษียณอายุยังคงช่วยการเคหะฯ เหมือนเป็น back up มีความเคารพในรุ่นพี่รุ่นน้อง ภูมิใจในการทำงาน รักงานและต่อสู่กับปัญหามาโดยตลอด การที่คิดเหมือนกันมากๆ ก็ต่อสู่กับคนอื่นได้ ปัญหาของการเคหะฯ ที่เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ เรื่องหนึ่ง คือ มี ผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นผู้บริหารอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อผู้บริหารรุ่นนี้เกษียณอายุ ผู้ที่จะทดแทนเป็นรุ่น 40-45 ปี การเคหะฯ ต้องศึกษาเรื่องวัฒนธรรมองค์กรให้ดีว่าผู้บริหารรุ่นใหม่จะขึ้นมาทดแทนได้อย่างไร

วิเคราะห์ความท้าทายของการเคหะฯ มุมมองของคนภายนอกเห็นว่าเดิมการเคหะฯ ทำธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่งขันเพราะทำงานช่วยคนจนมาโดยตลอด ปัจจุบันมีคู่แข่งแล้วจึงควรมองปัญหาอุปสรรคของตนเอง เช่น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง พรบ.ร่วมลงทุน นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องการเงินที่ต้องกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนแม้จะมีรัฐบาลค้ำประกันแต่มีหนี้สิ้นที่จะต้องชำระในระยะเวลาอันใกล้เป็นจำนวนมาก

วิเคราะห์ทางด้านการตลาด การเคหะฯ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องค้นหาช่องว่างของตลาดว่าการเคหะฯ จะมีผลิตภัณฑ์อะไร ผลิตภัณฑ์ของการเคหะฯ ที่อยู่ในตลาด Boom หรือไม่ มีลูกเล่นอย่างไรให้เป็นที่นิยมในตลาด จุดยืนทางการตลาดของการเคหะฯ อยู่ตรงไหน วันนี้มีการดำเนินงานช่วยคนจน 80% หารายได้ 20% จุดยืนที่เป็นการหารายได้ใน Location นั้นคู่แข่งขายถูกกว่าหรือไม่ คู่แข่งที่เห็นว่าลงมาขายในตลาดผู้มีรายได้ปานกลางคือ Pruksa real estate ที่ทำบ้านขายราคาต่ำกว่า 1.2 ล้านบาทวันนี้การเคหะฯ มีความคิดที่จะต่อสู้แล้วอย่างไร ทั้งนี้ข้อได้เปรียบของ Pruksa ที่เห็นได้อย่างหนึ่งก็คือได้รับการสนับสนุนส่งเสริมการลงทุน BOI ปัจจุบันบ้านเอื้ออาทรไม่ได้ Boom เหมือนก่อน เพราะคนเข้ามารู้จักสินค้าแล้ว จึงควรดูว่ามีผลิตภัณฑ์อะไรอีกที่เป็นความต้องการของลูกค้า Brand ของการเคหะฯ มีการเปลี่ยนแปลงแล้วสื้อความหมายได้ตรงกับ Brand หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการเมืองเข้ามาชี้นำการบริหารประกอบกับผู้บริหารไม่มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งจึงทำให้การเคหะฯ ได้ที่ดินทำเลที่ไม่เหมาะสมเป็น Land bank มากและต้องแก้ปัญหาที่ดินเหล่านั้น การขายในปัจจุบันมิใช่เป็นการขายเฉพาะขาประจำ ส่วนใหญ่ลูกค้าของการเคหะฯ เป็นขาจรซึ่งก่อนจะซื้อมักศึกษาข้อมูลใน Website ก่อน การเคหะฯ ควรสือให้เห็นว่าการเคหะฯ ไม่ได้เป็นผู้เพียงแต่ขายบ้านเท่านั้น แต่ยังขายความเป็นชุมชน Community ด้วย ซึ่งถือเป็น Mission ของการเคหะฯ หน่วยงานที่ไม่เปลี่ยน Mission อาจเป็นเพราะ Mission เดิมดีอยู่แล้ว หรือผู้บริหารดื้อมาก การจะเปลี่ยนก็ต้องดูจุดยืนด้วยว่าเปลี่ยนหรือไม่ รอบ ๆ ตัวเราเปลี่ยนหรือไม่ แล้วจึงดูว่าเราจะไปในทิศทางใด หัวหน้าหน่วยยังคงมีความเฉียบคมหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงของ กคช.ในมุมมองของอาจารย์ไกรฤทธิ์ เห็นว่าการต้อนรับขับสู้ยังคงดีเหมือนเดิม ส่วนที่เปลี่ยนคือรู้เท่าทันคนนอก เช่น กฟน. กทม. การเคหะฯ อย่างใจดีเกินไป คนไม่ดีก็ไม่ต้องไปกลัว เครื่องมือเครื่องใช้ก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก มีวิธีการจัดเก็บความรู้ที่เป็น KM เป็นอย่างดี พี่ๆ ต้องให้ความรู้แก่น้องๆ

ในมุมมองของผมเห็นว่าจุดยืนของการเคหะฯ ในอนาคต 10 ปี ข้างหน้าคงเปลี่ยนแปลงบ้างแต่ไม่มาก อย่างไรก็คงทิ้งภาพการเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ช่วยเหลือคนจนไปไม่ได้ เพราะถ้าไม่ทำก็คงไม่มีหน่วยงานไหนทำ การเคหะฯ มีพื้นที่ที่ต้องเช่าที่ดินของหน่วยงานของรัฐทำอาคารแฟลตเช่าเพื่อช่วยเหลือคนจนไม่ว่าจะเป็นการท่าเรือฯ โครงการแฟลตเช่าคลองเตย การนิคมอุตสาหกรรมฯ โครงการแฟลตเช่าบางชัน เดิมค่าเช่าที่ดินมีราคาถูกการเคหะฯ ให้เช่าแฟลตเดือนละ 300 -1,000 บาท ปัจจุบันหน่วยงานเหล่านี้ก็ขึ้นค่าเช่าจนการเคหะฯ บริหารงานต่อไปไม่ได้แฟลตเช่าคลองเตยต้องส่งคืนการท่าเรือไป แฟลตเช่าบางชันก็กำลังพิจารณาจะส่งคืนการนิคมอุตสาหกรรมฯ เช่นเดียวกัน คำถามของสังคมก็คือถ้าหน่วยงานของรัฐคิดกันแต่เพียงการหารายได้คนจนจะอยู่ในสังคมได้อย่างไร ในอนาคตอันใกล้การเคหะฯ มีงานที่ต้องรีบดำเนินการคือการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับผู้บุกรุกพื้นที่คูคลองเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม กทม. คนของการเคหะฯ รู้ดีเลยว่าไม่ใช้เรื่องง่ายทำปีนี้อีกกี่ปีจะเสร็จ ประสบการณ์การรือย้ายแบบนี้การเคหะฯ เคยทำมาแล้ว รือแล้วจะควบคุมไม่ให้มาสร้างใหม่ได้อย่างไร กทม.มีแผนรองรับแล้วหรือยัง การก่อสร้างโครงการในอนาคตจะเป็นโครงการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีแผนการทำโครงการที่ใช้วัสดุที่ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น อาคารแฟลตมีการศึกษาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อการบำบัดน้ำเสียของอาคาร ปัญหาที่ดิน Land bank ผมไม่มองว่าเป็นปัญหาไปเสียทุกแปลงในอดีตการเคหะฯ ซื้อที่ดินบางพลี และร่มเกล้า ราคาเฉลี่ยไร่ละ 20,000 กว่าบาท ในวันนั้นคนด่ากันทั้งเมืองว่าแพง ในวันนี้ที่ดินทั้ง 2 แปลงทำรายได้ให้การเคหะฯ มากมายมหาศาล การได้รับฟังการอบรมในวันนี้ทำให้ผู้บริหารในอนาคตตระหนักถึงแนวคือของบุคคลภายนอกที่เป็นห่วงอนาคตของการเคหะฯ ว่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างไร สิ่งที่การเคหะฯ จะดำเนินการต่อไปคงได้นำข้อคิดเห็นไปวิเคราะห์ปัญหาได้ ผู้นำของการเคหะฯ ในอนาคตต้องมีความกล้าหาญ ต้องมีความเฉียบคมเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานจึงจะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

ธวัช บุญครองเกียรติ

วันที่ 27 มิย. 55

จากการนำเสนอ ชี้แนะ ให้ข้อคิดเห็น ประเด็นวิเคราะห์ วิสัยทัศน์ พันธะกิจ กลยุทธย์ วัฒนธรรมองค์กร การตลาด การเงิน และการผลิต ของ กคช. จากมุมองภายนอกของ วิทยากรทั้ง 3 ท่าน ที่ คอยๆกระตุ้น เปิดโอกาสให้พนักงานทุกท่านได้ช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ หรือเป็นการดึงศักยภาพโดยรวมของพนักงาน ให้แสดงออกโดยแชร์ความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือความคิดเห็นใหม่ในประเด็นท้าทาย กคช.หลายมุมมอง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าว ถือว่าเป็นการจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไปของ กคช.และสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องทุนมนุษย์


                                                                         ธวัช บุญครองเกียรติ
ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันพุธที่ 27 มิย.55 วันนี้เป็นหัวเรื่อง การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. ในด้านวัฒนธรรม การตลาด การผลิต และการเงิน

วัฒนธรรมองค์กร ถูกสร้างขึ้นด้วยคน แต่ก็ยังไม่เป็นคำตอบที่ถูกนัก ต้องมี Spilrit ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ส่วนของ กคช. มุมมองของ อ.ไกรฤทธิ์ฯ ในฐานะที่ได้สัมผัสกับองค์กรมาหลายยุค โดยได้เข้ามาหลายครั้ง คนในองค์กรต้อนรับขับสู้เหมือนเดิมซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ดีสืบทอดกันมา แต่มีสิ่งหนึ่งที่เห็นสมควรเปลี่ยน คือการรู้เท่าทันกับสิ่งแวดล้อมภายนอก

วัฒนธรรม กคช. ที่หลายคนรับรู้ และดำเนินอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้แก่ กิจกรรมวันสถาปนา กคช. วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นเป็นตอนนำเสนอตามลำดับสายการบังคับบัญชา การเคารพผู้อาวุโส

ด้านการตลาด อ. พงษ์ชัยฯ ให้ความหมายไว้ว่า การทำอย่างไรหรือวิธีไหนก็ได้ให้เกิดความอยาก เมื่อ 40 ปีก่อน กคช. ไม่มีคู่แข่งการทำบ้านราคาถูก เพราะส่วนหนึ่งรัฐอุดหนุน แต่ขณะนี้ มีหลายบริษัทที่ทำอสังหาฯราคาที่ถูกกว่า กคช. ดังน็น กคช. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องหาช่องว่าของตลาดให้ได้ว่า ควรจะผลิด หรือมีผลิตภัณฑ์อะไรกันแน่ ที่จะสามารถเสนอให้ลูกค้าหรือไม่ หรือมีลูกเล่นอย่างไรให้เป็นที่นิยมในตลาด

 วิเคราะห์การผลิต เป็นการสร้างจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนผลิต และรูปแบบบ้านไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบชานเมือง เป็นการสร้างแล้วขาย หากขายแล้วสร้างจะเน้นระดับรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง

วิเคราะห์การเงิน กคช.จะมีรายรับจากการโอนที่อยู่อาศัย และบริหารสินทรัพย์เช่า แต่มีค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ รวมถึงต้นทุนสินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่นกัน จึงมีความเสี่ยงทางการเงินในสินค้าคงค้าง และภาระหนี้ระยะยาวที่ค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่างบการเงินในปี 2553 กคช. ไม่ติดลบก็ตาม และในอนาคตงบการเงินเป็นอย่างไร หากติดลบ เป็นด้วยปัจจัยอะไร ที่ทุกคนจะต้องแก้ปัญหา

ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2555 หัวข้อ “ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ ”

        ( ด้านการตลาด / การเงิน / วัฒนธรรม / การผลิต )
                ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้ทราบถึงวิธีการวิเคราะห์ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กร โดยประเมินจากหัวข้อ 
    ดังนี้
         1. พิธีกรรม
         2. วิธีการทำงาน
         3. Hero
           4.ก๊วน
         5. การสื่อสาร
         6. การจัดการปัญหา
         7. การตัดสินใจ
               โดยการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ถ้า 2 กลุ่มมีข้อสรุปที่ตรงกันมาก แสดงว่าองค์กรมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
                นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการสร้างแบรนด์ใหม่ ( rebrand )
                   สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน คือ ทำให้เกิดแนวคิดเชิงบริหาร และแนวคิดทางการตลาด ซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน รวมทั้งมีความเข้าใจดียิ่งขึ้นว่าทุกกระบวนการในการทำงานขององค์กรมีความเกี่ยวข้องกับการตลาด สอดคล้องกับระบบการประเมินผลรูปแบบใหม่ ( SEPA ) ซึ่งเน้นด้านการตลาดและลูกค้า เป็นสำคัญ
                                                                                                            ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

    ผู้นำ ถือว่ามีส่วนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กร สถาบัน ชุมชน หรือครอบครัว อยู่รอด ให้เจริญเติบโต อย่างยั่งยืน ให้ได้ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
    จากการอบรม ได้เรียนรู้สไตล์ หรือรูปแบบของผู้นำแต่ละท่านที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแต่ละท่านจะต้องสร้างเสริมศรัทธา บารมี อำนาจ ความน่าเชื่อถือ ความนิยม (เสน่ห์) สามารถยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยน 
    ผู้นำต้องเป็นนักคิดและวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Thinking) ประเมินสถานการณ์ (Swot Analysis) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย (Goals) การทำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (Implementation) การควบคุมและประเมินผล (Evaluation and Control) ผู้นำต้องมีทักษะในการตัดสินใจ การเจรจาต่อรอง การทำงานเป็นทีม ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ และเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ให้กับผู้ตาม 
    การที่จะเป็นผู้นำของการเคหะแห่งชาติ สามารถนำองค์กรให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ในสภาพการแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรุนแรง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานเหล่านี้ และพัฒนาการให้เกิดทักษะ (Skill) ที่สามารถกระจายไปสู่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร (Share Value) หรือ Knowledge Management

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลง

    การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะขององค์กร และบุคลากร รวมทั้งเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการ เริ่มจากการมองภาพภายในองค์กร (Inside out) และมองภาพจากภายนอกองค์กร (Outside In) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ว่าแต่ละช่วงนั้นมีค่านิยม วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ มีความชัดเจน มีความเชื่อมโยง สอดคล้อง และมีส่วนร่วมของบุคลากร ที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย ได้มากน้อยเพียงใด
หลักการบริหารการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่สำคัญ
    1. การบริหารจัดการทิศทางการเปลี่ยนแปลง
    2. การพัฒนาความสามารถของบุคลากร
    3. การพัฒนาปรับปรุงบุคลากรให้เข้ากับองค์กร
    4. การพัฒนาความพร้อมขององค์กร
วัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง
               - การสร้างความภาคภูมิใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร
       - การปรับวัฒนธรรมที่ต้องเสริมการทำงานร่วมกัน
       - การทำงานที่มุ่งผลสำเร็จร่วมกัน
       - การมุ่งเน้นการทำงานที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
กิจกรรมที่จะผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน
        - การจัดกิจกรรม Team Builling 
        - การส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ
        - การมอบหมายบทบาทและหน้าที่การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
        - การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน
                - การขยายผลการจัดทำ Workshop ของ Change Agent Team จากระดับบนสู่ระดับกลางและระดับล่าง
กระบวนการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง
1. พิจารณาวิสัยทัศน์ขององค์กร ว่ามีภาพอนาคต หรือปลายทางที่หวังให้เป็น หรือให้ไปถึงอย่างไร ต้องเป็นภาพที่ชัดเจนแน่นอน สามารถไปถึงได้ และทุกคนในองค์กรต่างรับรู้ร่วมกัน 
    2. กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ / กิจกรรม / โครงการ ที่สามารถบรรลุวิสัยทัศน์
3. กำหนดเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ว่า องค์กรมีความคาดหวังอะไร
4. สังคมวิเคราะห์ จากประเด็นยุทธศาสตร์ ว่ามีกระบวนการ หรือวิธีการดำเนินการอย่างไร ที่สามารถผลักดันให้ประเด็นยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จ

การวิเคราะห์ต้านการตลาด และประเด็นท้าทายที่กระทบ การเคหะแห่งชาติ

Marketing Research การค้นหาความต้องการของลูกค้าในมุมมองของวิทยากร ต่อ กคช. ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ส่งผลให้การจัด Segment และกำหนด Tarket Market ไม่ชัดเจน การวาง Positioning เพียงเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้มีรายได้น้อยเท่านั้น จึงไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ หรือเกิดความเสี่ยงสูงมากในการประกอบการของ กคช.
เพราะฉะนั้น กคช. ควรจะกำหนด Segment tarket Market และ Positioning ให้ชัดเจนกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันลูกค้ามีทางเลือกมากกว่าอดีตที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้สินค้าคงเหลือมียอดสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบทางไม่ดีต่อการประกอบการของ กคช.
ที่ผ่านมา กคช. มีข้อเสนอที่ดีที่เห็นเด่นชัดคือ Price ในอนาคต ควรจะเป็นทั้งผลิตภัณฑ์ สถานที่ทั้งโครงการ รูปลักษณ์ของตัวอาคาร หรือมีลูกเล่นทางด้าน Emotion ด้วย แทนที่จะเน้นแต่ Function อย่างเดียว เงื่อนไขที่ดี และหลากหลายพร้อมด้วย Pricing ก็ควรจะคงไว้ แต่เพิ่มเติมด้าน Place และ Emotion ให้มากขึ้น เพื่อการเจาะหาลูกค้าใหม่ให้มากขึ้น
การกำหนด Strategies ให้สอดคล้องกันทั้งระดับ Corperat Policy Business Unit และ Fuction เพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำ Actionplan และ Implementation 
Evaluation and Control ควรนำระบบ BSC และ KPi มาใช้และกระจายหัวข้อ หรือประเด็นที่จะวัดให้มากขึ้นกว่านี้
ประเด็นท้าทายของ กคช. 
* ภัยธรรมชาติ , เศรษฐกิจ , การสื่อสารไร้พรมแดน , วัฒนธรรม , สังคม , การเมือง , กฎหมาย , การเน้นตลาดเฉพาะกลุ่มที่มีมากขึ้น , การรวมตัวของอุตสาหกรรม , การเพิ่ม/ลดการแทรกแซง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี โลกาภิวัตน์
การบริหารจัดการการตลาดในอนาคต ควรจะให้ความสำคัญกับตลาดบูรณาการ (Folistic Marketing) 
การตลาดภายในองค์กร (Internal Marketing) คือ การประสมเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่ระดับบน กลาง ล่าง ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร    ให้บรรลุเป้าหมาย
* การตลาดภายนอกองค์กร (External Marketing) เน้นการสื่อสาร ปริมาณลูกค้า และตัวแทนจำหน่าย ให้เกิดความเชื่อมั่น (Royalty Brant)
* การตลาดที่มีความสัมพันธ์ภาพ (Relationship Marketing) คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเก่า ตัวแทนการจัดจำหน่าย และผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดทำ CRM อย่างสม่ำเสมอ
* การตลาดเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Responsibility Marketing) ให้ความสำคัญกับชุมชน สถานที่ตั้งโครงการ ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าเราในอนาคต ลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อองค์กร เงินให้ทุน ปลูกฝังเพื่อสร้างความศรัทธาและให้ชาวชุมชนสนับสนุน (CSR)
Workshop การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ :โดยการเขียนMind Map
1) วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร(การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร
2) ถ้าการเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดยุทธศาสตร์โดยเน้น LC – Learning Culture และ LO – Learning Organization
3) การเคหะฯ กำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่ความสำเร็จ
4) การเคหะฯ จะต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมแบบข้ามสายงาน” หรือ “Cross Functional Team” กำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม

กลุ่ม 1 วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร(การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร

ความสำเร็จขององค์กร มาจากรากฐานที่สำคัญ คือการมีคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน

คุณสุทธิเดช    คุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืนเป็นนามธรรม การจะทำต้องมีตัวอย่างให้ดู มีคนนำในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์

อาจารย์ธัญญา  กลุ่มนี้เลือกคนนำเสนอได้ดีมากให้คะแนนเต็ม  ฝากให้ดูภาพยนตร์อินเดีย เพราะสอดแทรกเรื่องจริยธรรมได้ดีมาก

อาจารย์รวิภาส  เรื่องคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในระยะเวลาสั้น ๆ  คุณธรรมจริยธรรม อย่างเดียวไม่พอ ต้องทำควบคู่กับระบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วย  

อาจารย์ทำนอง  คุณธรรมและจริยธรรม เป็นรากฐานที่สำคัญ ต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก

กลุ่ม 2 ถ้าการเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กำหนดยุทธศาสตร์โดยเน้น LC – Learning Culture และ LO – Learning Organization

อาจารย์ทำนอง  สามารถเพิ่มเติมประเด็นได้มากกว่านี้อีกหรือไม่ในอนาคต

กลุ่ม 2  ในอนาคตต้องดูว่าจะทำให้ลึกว่านี้ได้มากเพียงใด เพราะจุดนี้เป็นแค่กรเริ่มต้น คงต้องรออีก 2-3 ปี

อาจารย์รวิภาส  ต้องเขียนว่าอะไรเป็นยุทธศาสตร์ในส่วนของ LC นอกจากการสร้างความผูกพันในองค์กร แล้วควรเพิ่มอย่างอื่นอีก

อาจารย์ธัญญา  mind map ยังมีรูปน้อยไป  แต่ควรเพิ่มจากสมองซีกขวาให้มากกว่านี้  ควรเขียน 2 ใบ ใบแรกควรใส่สิ่งที่คิดลงไปทั้งหมดก่อน แล้วใบที่สอง ค่อยเน้นเรื่องความสวยงาม ในเรื่องพี่สอนน้อง อาจได้แค่เรื่องประสบการณ์จริง ควรสอนเรื่องใหม่ๆด้วย

คุณสุทธิเดช   เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่จะสามารถทำ LOได้ง่าย ควรสร้างความเป็นทุนมนุษย์ของบุคคลากรภายใน เรื่องของจริยธรรม ของคนในองค์กร เพื่อสร้างให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง

กลุ่ม 3 การเคหะฯ กำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management ให้ประสบความสำเร็จ กำหนดยุทธวิธีเพื่อไปสู่ความสำเร็จ

ปัจจัยที่ทำให้เกิด Talent Management คือ

คุณสุทธิเดช  การหาTalent group ต้องให้กลุ่มที่มีระดับเดียวกันให้ความเห็นเบื้องต้นว่าจะคัดเลือกใคร 

อาจารย์ธัญญา  Talent Management ในเรื่องการบริหารค่าจ้าง จะทำให้การบริหารคนเก่งทำได้ยาก ระบบญี่ปุ่น มีการจ่ายเงินเดือนตามความต้องการของแต่ละคน เช่น คนมีบุตรจะได้เงินเดือนต่างจากคนที่ไม่มีบุตร

อาจารย์รวิภาส เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร บทสรุปของยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่ Talent Management ยังไม่ชัดเจน  ต้องมีการจัดการกระบวนการให้ดี ว่ากระบวนไหนเป็น Talent และต้องที่ยอมรับของคนในองค์กรได้  และต้องมีวิธีการที่จะรักษาคนเก่งไว้ให้ด้วย

กลุ่ม 4 การเคหะฯ จะต้องสร้างการทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะ “ทีมแบบข้ามสายงาน” หรือ “Cross Functional Team” กำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม

การกำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสม ต้องมีการมองปัญหาในองค์กรให้ได้ก่อน ถึงจะสามารถกำหนดยุทธวิธีได้

อาจารย์รวิภาส  มีการวิเคราะห์ปัญหาก่อน แล้วค่อยทำ Cross Functional Team ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่ดีมาก

อาจารย์ธัญญา  เป็นกลุ่มที่มีการเขียน Mind Map ที่ดีมาก ทั้งเรื่องเนื้อหา และวิธีคิด

คุณสุทธิเดช  เรื่อง Cross Functional Team เป็นเรื่องที่ยาก แต่กลุ่มนี้สามารถเขียนออกมาได้ดีมาก

ในการเข้ารับการอบรมในวันที่ 27 มิถุนายน 2555 วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ (ด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การผลิต) ได้แนวคิดจากการฟังการบรรยายของดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล เป็นการเปิดมุมมองทางด้านการตลาดในเชิงธุรกิจภาคเอกชนซึ่งสามารถมาปรับใช้กับองค์กรของเราได้ ดังนี้ 1. สิ่งที่การเคหะฯทำอยู่ตอบสนองช่องว่างทางการตลาดหรือไม่ ถ้าไม่ ควรหาช่องว่างทางการตลาดเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาตอบสนองความต้องการของลูกค้า 2. ทำอย่างไรให้สินค้าเป็นที่นิยมของตลาด 3.ในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

ในความเห็นส่วนตัว ณ ขณะนี้การเคหะฯ ควรมุ่งเน้นทางด้านการตลาดมากกว่าเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลงานของการเคหะฯ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัย สร้างบ้านของลูกค้าเป็น home มากกว่า house เพราะที่ผ่านมา การเคหะฯ สร้างผลงานมากมายด้านการดูแลหลังการขาย แต่มิได้สื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบมากเท่าที่ควร

ส่วนในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร เมื่อได้ทำ workshop แล้ว ในกลุ่มที่ทำเรื่องเดียวกัน ได้แนวคิดออกมาคล้ายๆ กัน แสดงให้เห็นว่าเราสามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรของเราได้เข้มแข็ง น่าปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็น่าจะมีผลเสียอยู่บ้างคือแนวคิดที่ฝังรากลึกอาจเปลี่ยนแปลงยากหากต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงในยุค AEC

อรชร กิจสุบรรณ

27 มิ.ย. 2555 สรัญญ์ โสภณ การบริหารกลยุทธองค์กร

ในการดำเนินงานขององค์กร โดยทั่วไปสิ่งที่จะทำให้องค์กรขับเคลื่อนหลักๆ มีอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ การตลาด การผลิต การเงิน  และการบุคคล โดย 4 องค์ประกอบนี้จะทำได้ดีเพียงใดจะต้องมีหน่วยสนับสนุนที่ดีด้วย
ประสบการณ์ที่ผ่านมาของ กคช.ในยุคแรกๆ เรียกได้ว่ามีการตลาดนำก็ว่าได้ คือ กคช.มีการศึกษาความต้องการที่อยู่อาศัยในภาพรวมของประเทศ โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติประชากรที่เพิ่มขึ้น การรื้อถอนบ้านพักอาศัยและการปลูกบ้านใหม่ ฯลฯ ว่าในระยะเวลา 5 ปี ประเทศจะมีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเท่าใด จากนั้นจะวิเคราะห์ว่าภาคเอกชนจะเข้ามารับจัดหาที่อยู่อาศัยไปเท่าใดเป็นประชากรที่มีระดับรายได้เท่าใด กคช.จะรับหน้าที่จัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับประชากรที่มีรายได้น้อยจำนวนเท่าใด ซึ่งก็เหมือนกับว่ามีความชัดเจนว่าจำนวนที่อยู่อาศัยในส่วนของผู้มีรายได้น้อยนี้จะหน้าที่จะเป็นตลาดของ กคช.โดยไม่มีคู่แข่งเนื่องจากในแง่ของธุรกิจแล้วที่อยู่อาศัยที่ กคช.รับภาระนี้จะไม่สร้างกำไรที่น่าพึงพอใจให้กับนักลงทุน โดย กคช.มีบุคลากรที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ในจำนวนที่เหมาะสมกับภารกิจที่จะดำเนินการ
ต่อมาเมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนที่ลูกค้าของตนคือผู้มีรายได้สูงเริ่มอิ่มตัวประกอบกับมี การแข่งขันสูง ทำให้ภาคเอกชนเริ่มหันเข้ามาหาผู้ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูก ทำให้ดูเหมือนว่าผู้มีรายได้น้อยมีทางเลือกในด้านที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น หรือ กคช.ถูกภาคเอกชนเข้ามาแย่งตลาด แต่ในความเป็นจริงลูกค้าส่วนใหญ่ของภาคเอกชนยังเป็นผู้ที่มีรายได้สูงกว่าลูกค้าของ กคช.โดยสามารถพิจารณาได้จากการเข้าถึงสถาบันการเงินได้ไม่ยากนัก ดังนั้น การที่เห็นว่าที่อยู่อาศัยของ กคช.ขายไม่หมดมีสินค้าคงเหลือจำนวนมาก ไม่ใช่มีผลพวงมาจากคู่แข่งภาคเอกชนของ กคช.เท่านั้น แต่เป็นผลพวงมาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ทำเลที่ตั้งโครงการไกล ส่งผลต่อความไม่สะดวกในการเดินทางไปทำมาหากินและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง  ส่งผลต่อการการขาดแคลนสาธารณูปโภคสาธารณูปการบางประการ ฯลฯ ตลอดจนการดำเนินโครงการของ กคช.ที่ล่าช้าไม่แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดไว้ทำให้ผู้สนใจต้องขวนขวายหาซื้อที่อยู่อาศัยจากภาคเอกชนแทน ซึ่งเหตุที่เป็นเช่นนี้มีปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่อิทธิพลทางการเมือง ต้นทุนที่อยู่อาศัยต่อรายได้ของผู้มีรายได้น้อย การที่รัฐไม่สามารถจัดการให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ในปัจจุบันยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของ กคช.
อย่างไรก็ดี กคช.ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและมีความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่ โดยได้ผลักดันให้องค์กรเดินไปข้างหน้าโดยมีการวางตำแหน่งขององค์กรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของชาติ มีการพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบ  ต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการเมือง  เศรษฐกิจทั้งในระดับชาติหรือภูมิภาค สังคม เทคโนโลยี นิเวศวิทยา และกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรต้องร่วมมือช่วยกันให้กลยุทธ์ที่วางไว้บรรลุผลให้ได้

2 กรกฎาคม 2555 จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

1. ได้เข้าใจตรงกันในความหมายของทุนมนุษย์ คือ ผู้ที่อยู่ในองค์กรมองว่าเป็นทุน เป็นแรงงานของคนในองค์กร เป็นสินทรัพย์ที่ทรงคุณค่า นำไปต่อยอดบูรณาการได้ทุกเรื่อง

2. ให้เข้าใจตรงกันในความหมายของคำว่ากลยุทธ์ Strategy เป็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์เป็นสิ่งที่เป็นกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้าย หรือเป้าหมายมีลำดับความเป็นไป

3. การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ คือ การเอาศักยภาพของมนุษย์ในองค์กรมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ทำให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ (ที่กำหนดไว้) ขององค์กร (ACTION PLAN)

4. เมื่อทราบความหมายที่แท้จริง และตรงกันแล้ว จึงสามารถดำเนินการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์อย่างเป็นกระบวนการต่อไป

5. กระบวนการจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของ กคช. สามารถดำเนินการได้เป็นลำดับ ดังนี้

• วิเคราะห์ภาวะภายในองค์กร และภายนอกองค์กร หาจุดอ่อนจุดแข็งโดยใช้ SWOT ANALY SYS หาขนาดประชากร ลูกค้า เป้าหมายวิเคราะห์ปัญหาที่คาดว่าจะมีมาในอนาคต เพื่อหาวิธีรับมือกับปัญหานั้น ๆ

• เมื่อได้ข้อมูลแล้วให้มากำหนดทิศทางอนาคตองค์กร กำหนด VISION 10 ปีโดยประมาณ

• วิเคราะห์ทุนมนุษย์ในองค์กร วิเคราะห์ส่วนงานแต่ละส่วนถึงความมีอยู่ ความเหมาะสม ลดขนาด แบ่งส่วนเพิ่มขนาดของแต่ละ UNIT

• พัฒนาคนให้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

• กำหนด Action Plan

• ปฏิบัติให้บรรลุตามยุทธศาสตร์ 6 แผนที่กำหนดไว้

6. ทำให้ทราบว่าการสู่ความสำเร็จตามแผนยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ของ กคช. จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้

6.1 ความเป็นผู้นำในองค์กรต้องมีการพัฒนาสมรรถนะของคน และต้องพัฒนาต่อเนื่อง มี Leader Ship ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์

6.2 มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์ครบถ้วนถูกต้องตามกระบวนการ เช่น การวิเคราะห์ นำปัญหามาสังเกต วิเคราะห์ความสามารถของคนในองค์กร มาเป็น Action Plan และ นำไปปฏิบัติ

6.3 ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ มีการพัฒนา มีการจ้างเพิ่ม มีวิธีการรักษาคนเก่าไว้ในองค์กร

6.4 การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร เน้นหวังผลลัพธ์ ต้องนำไปสู่เป้าหมายได้ผลตรงตาม วัตถุประสงค์ขององค์กร

ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารทุนมนุษย์ ณ ปัจจุบันสู่กลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ของ กคช. ได้ทุก ๆ กระบวนการ เพราะทุนมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างชาติ ต้องจัดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพมากำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อรับมือและแก้ปัญหาที่จะมีมาในอนาคต

-------------

2 กรกฎาคม 2555

อรพิณ สุขทรงศิลป์

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตส่งการบ้านคร้ังที่ 4 ค่ะ

อรพิณ

นายดารนัย อินสว่าง
              เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 ได้รับคณะอาจารย์มาให้ความรู้ในเรื่องการบริหารทุนมนุษย์ เชิงกลยุทธ์  ซึ่งจากการรับฟังของคณะอาจารย์ทั้ง 4 ท่าน ทำให้เราได้เข้าใจถึงทุนมนุษย์ที่แท้จริง 

การดำเนินการเพื่อจะทำกิจกรรมอะไรก็ตามจะต้องมีต้นทุน ต้นทุนที่สำคัญก็คือคน คนจะต้องมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานจึงจะทำให้องค์กรมีความเจริญ การบริหารมนุษย์เชิงกลยุทธ์ คือ การบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยการทำแผนตามยุทธศาสตร์ขององค์กร ซึ่งการเคหะแห่งชาติมียุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์

การอบรมในวันนี้นับได้ว่าได้ประโยชน์อย่างมาก และช่วงบ่ายได้มีกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มได้มีการระดมสมองในเชิงวิชาการให้ได้ความรู้ความเข้าใจในการทำแผนงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในอนาคต
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ อ.ทำนอง ดาศรี อ.วิภาส กล่ำทวี อ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์ อ.ธัญญา ผลอนันต์ วันที่ 02/07/2555 เวลา 0830 - 1700 น.

   ทุนมนุษย์ คือ บุคลากรที่มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถสูง มีจิตผูกพันรักในองค์กร

และเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มุ่งแสวงหาโอกาสเพื่อผลประโยชน์ขององค์กรอย่างยั่งยืน

   ความหมายของทุนมนุษย์ที่นำไปสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์
      เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
      ความคิดใหม่มุ่งเน้นไปที่พนักงานแต่ละคน
      การลงทุนคือกุญแจสำคัญ

MIND MAP คือเครื่องมือในการจดบันทึกที่ใช้สมองทั้ง2ซีกของมนุษย์ในการคิด เขียนเรื่องราว เพื่อที่จะสามารถจด จำ ได้อย่างแม่นยำ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม การทำ work shop แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เพื่อทำ mind map ตามหัวข้อ 1.วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร 2.การเคหะฯ จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3.การเคหะฯ กำลังจะกำหนดนโยบาย Talent Management 4.การเคหะฯ จะต้องสร้างการทำงานเป็นทีม “Cross Functional Team”

                                                                                   นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 หัวข้อ “ การบริหารมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ”

           ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรมคือ ได้รับรู้เครื่องมือการสร้างทุนมนุษย์ ของ กฟภ. ซึ่งดำเนินการอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย
         -  Learning  Organization
           -    Balanced  Scorecard
           -    Multi-Level  Marketing
           -    Best  Practices
           -    Walk  Rally @ Org.Level
              นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้การทำ  Mind  Map  ซึ่งเป็นเครื่องมือแปลงความคิดออกมาเป็นภาพอย่าง

เป็นระบบ ครอบคลุม และมีเหตุผล

            สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างทุนมนุษย์ในระยะแรก คือ การเสนอให้จัดสัมมนาเพื่อระดมความเห็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ส่วนความรู้จากการจัดทำ Mind Map จะนำไปใช้ในการจัดทำรายงานกลุ่ม และบทความทางวิชาการเรื่องนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการทำงานของการเคหะแห่งชาติต่อไป
                                                                                                                          ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
วิญญา สิงห์อินทร์
                                                        สรุปหนังสือ 8 K's + 5K's
                                               8 K's ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์
                K1  ทุนมนุษย์ (Human Capital) มาจากการศึกษา/ โภชนาการ/ ฝึกอบรมการศึกษาไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบ  เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพของทุนมนุษย์จากสมรรถนะ,  ทักษะเป็นต้น
                K2  ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) มาจากการคิดวิเคราะห์  เพื่อแก้ปัญหาสำคัญที่การคิดเป็น  ซึ่งสามารถได้จากการเรียนรู้ได้โดย - วิธีการเรียนรู้/  สร้างบรรยากาศการเรียนรู้/  สร้างโอกาสการเรียนรู้/  สร้างชุมชนการเรียนรู้
                K3  ทุนทางคุณธรรมจริยธรรม (Ethical Capital)  มาจากการคิดดีทำดีมีจิตสาธารณะ
                K4  ทุนแห่งความสุข (Hapiness Capital) เป็นพฤติกรรมที่มนุษย์ควรให้สอดคล้องสมดุลกับการดำเนินชีวิตการทำงาน  เพราะถ้าคนเราทำงานอย่างมีความสุขคุณภาพงานก็จะดี
                           4K แรกเป็นส่วนบุคคล (ปัจเจก)  4K หลังเกี่ยวกับสังคม/  สิ่งแวดล้อม
                K5  ทุนทางสังคม (Social  Capital ) เครือข่ายที่เกี่ยวข้องเป็นต้นทุนอย่างดีในการทำงาน  การมีเครือข่ายที่ดีจะเสริมการงานให้ประสบความสำเร็จ
                K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability  Capital)  ปัจจัยที่ทำให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                      -  มองระยะยาว
                      -  สอดคล้องสภาพแวดล้อม
                      -  มีคุณธรรมจริยธรรม
                      -  คิดเป็นวิทยาศาสตร์
                      -  กระจายอำนาจและทรัพยากร
                      -  พึ่งพาตัวเองได้
                K7  ทุนทางเทคโนโลยี (Digital  Capital) ให้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่จะให้ความรู้ความสามารถ  เพื่อพัฒนาด้านต่างๆ
                K8  ทุนทางอัจฉริยะ (Talented  Capital) คนที่ต้องมีเพื่อความสำเร็จ 
                      -  ทักษะ
                      -  ความรู้
                      -  ทัศนคติ  

                                              5 k’s ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพ
                K1   ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)  มาจากการคิดนอกกรอบมีจินตนาการ
                K2  ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)  ต้องรู้ตามความเป็นจริงและตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ 

(มีข้อมูลเอกสารที่จำเป็นและสำคัญอย่างเพียงพอ)

                K3 ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ความสามารถทำสิ่งใหม่ๆให้มีคุณค่ามี  3  องค์ประกอบสำคัญ
                      -   คิดใหม่สร้างสรรค์และนำมาผสานความรู้
                      -   นำไปปฏิบัติได้จริง
                      -   ทำให้สำเร็จ
                 K4  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  Capital) ตระหนักในความสำคัญทางวัฒนธรรม  ซึ่งสำคัญในการสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มในสังคม
                 K5  ทุนทางอารมณ์ (Emotional  Capital) รวมถึงภาวะผู้นำในระดับบุคคล ชุมชนประเทศชาติ
วรุณพร กาญจนวัฒน์

วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 เป็นวันที่ 4 ของการอบรม ได้รับความรู้เรื่องการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ทำให้เข้าใจว่าเรื่องทุนมนุษย์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่สำคัญขององค์กร แต่ไม่ใช่ต้นทุน องค์กรต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของคนในองค์กรให้มากที่สุด ต้องมีกลยุทธ์ที่จะเค้นหรือคั้นเอาศักยภาพ ทักษะ ความสามารถ ภูมิปัญญา สติปัญญา ของคนออกมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน เพื่อทำให้ วิสัยทัศน์ขององค์กรประสพผลสำเร็จ โดยองค์กรจะต้องมีการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร วิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญๆที่เป็นจุดอ่อนซึ่งก็คือ คน ทำอย่างไรเพื่อให้ทุนมนุษย์มีศักยภาพ เตรียมจัดทำแผนระยะสั้นระยะยาว วิเคราะห์แรงงานในองค์กรว่าควรจะเพิ่มหรือลด วิเคราะห์ทักษะความสามารถของคน ต้องเสริมเพิ่มเติมทักษะด้านใด เช่นด้านภาษาเพื่อเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หรือ ทักษะด้านเทคโนโลยี เพื่อให้ทันต่อวิวํฒนาการของโลก โดยเฉพาะบุคคลที่จะเตรียมเป็นผู้บริหารในอนาคต เมื่อวิเคราะห์ได้แล้วว่าจะรับคนเข้ามาอย่างไรก็ต้องมีแผนพัฒนาคนทั้งคนใหม่และคนเก่า เพื่อทำให้เขาทำงานอย่างมีศักยภาพ ยาวนาน จนเกษียนอายุ และต้องมีการติดตามประเมินผล ปรับเปลี่ยน และแก้ไขตามสถานะการณ์ต่างๆ มีการยกตัวอย่างการบริหารองค์กรของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำให้รู้และเข้าใจโครงสร้างและการบริหารงาน ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องทุนมนุษย์เช่นกัน เป็นองค์กรหนึ่งที่ประสพความสำเร็จและเป็นองค์กรตัวอย่างที่ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้เรื่อง mind map เป็นการช่วยบันทึกความคิดลงในกระดาษเพื่อสามารถนำไปใช้งานต่อได้ ทันทีทุกครั้งที่ต้องการ เป็นการทบทวนเรื่องที่ทำแล้ว หรือเพื่อนำไปเขียนรายการโครงการต่าง ๆ ช่วยให้สมองของเราอย่างสนุกสนานกับมันเสมอ ทำให้ความคิดไหลลื่นอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงกับความคิดใหม่ ๆ ไม่มีกรอบมากั้นโดยวิธีให้คิดเป็นภาพ ด้วยการลากเส้นจากแก่นแกนที่เปรียบเหมือนต้นไม้ ตรงแก่นแกน จะเน้นความสำคัญของประเด็นหลัก และลากเส้นที่เรียวโค้งคล้ายกิ่งของต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขา ตรงกิ่งก้านที่แตกแขนงออกมา จะลงรายละเอียดประเด็นย่อยที่เชื่อมโยงกับประเด็นหลัก แยกย่อยไปเรื่อยๆ เท่าที่จะคิดได้ และแต่ละกิ่งก้านก็ลงสีสันต่าง ๆ พร้อมทั้งเน้นความหนาบาง เพื่อให้เด่นและจำง่ายขึ้น ช่วยในการวางแผนงาน บริหารงานและการตัดสินใจ

วิญญา สิงห์อินทร์
                    การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์   2 ก.ค. 2555   อ.ธัญญา,  อ.ระวีภาส,  อ.สุทธิเดช
              อ.ระวีภาส  นำเสนอทุนมนุษย์เป็น Asset มีมูลค่านำไปต่อยอดได้  สำคัญที่ต้องเค้นเอาศักยภาพในแต่ละคนมาตอบสนองแผนตามยุทธศาสตร์ที่องค์กรวางไว้  กลยุทธ์ที่ดีต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายคือเป้าหมาย  ฉะนั้นกระบวนการจึงสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์  โดยเริ่มจาก Vision → Mission → Action โดยเริ่มวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนทำ SWOT ปัจจัยภายในภายนอก  ซึ่งจุดอ่อนส่วนมากเป็นเรื่องของคน
              อ.สุทธิเดช  นำเสนอเน้นกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับ กฟภ. ทุนทางปัญญา/  ความสามารถ/  ความผูกพันองค์กร   

ความสามารถมาจาก - ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน/ ประชุม/ สัมมนา ความผูกพันมาจาก - เข้าใจ ใส่ใจ เอาใจ ได้ใจ เข้าใจ ตัดใจ เป็นต้น ส่วนที่น่าจะปรับใช้กับ กคช. การจัดกลุ่มแนวขวางคือ จัดพนักงานข้ามสายงานอบรมด้วยกันทั้งองค์กรกลุ่มละ 70 – 80 คน เพื่อให้ผูกพันเรียนรู้เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรในอนาคต

   อ.ธัญญา  เน้นการใช้  Mind map  ซึ่งเป็นประโยชน์ช่วยเสริมวิธีคิดและจินตนาการ  ซึ่งทำให้ง่ายในการแยกแยะประเด็นและการหาทางแก้ไข
จารุวรรณ งามกนกวรรณ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ ขอส่งการบ้านวันที่ 25 มิ.ย. 55 ค่ะ

  1. เรื่อง ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ครั้งที่ 2 (เช้า) วันนี้ได้ความรู่ความเข้าใจเรื่องความหมายของ Mission , Mission , Vision, Core Value วิทยากรได้เน้นความรู้เกี่ยวกับ Mission , Vision, Core Value ที่ดีเป็นอย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง US ARMY มหาดไทย ฯลฯ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์สิ่งแวกล้อมภายในภายนอก จุดอ่อนจุดแข็งขององค์กร วิเคราะห์ Stakeholder ขององค์กร ฝึกกำหนด Mission , Vision, Core Value ขององค์กรในอนาคต อีก 10 ปีข้างหน้า เอามาปรับใช้อย่างไร หลังจากฝึกอบรมแล้ว ก็จะดำเนินการกำหนด Mission , Mission , Vision, Core Value ตามกระบวนที่ได้ฝึกทำใน Workshop ทั้ง 4 กลุ่ม โดยผ่านกระบวนการคิดที่เป็น Creative Thinking

  2. เรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร (บ่าย) สิ่งที่ได้ ได้เปิดรับกลยุทธ์การบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ โดยวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้ให้เสนอแนะให้การเคหะ Positioning ตัวเองให้ชัดเจน ว่ากคช. จะทำอะไร และขณะนี้ทำอะไรอยู่ รวมทั้งให้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดค้องกับการ Positioning ตัวเองเพื่อเติบโตอย่างยั่งยืน ถ้าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งปรับเปลี่ยน Mind Set ของคนในองค์กรก็ต้องทำ รวมทั้งเสนอ ให้ศึกษา Benchmarking ขององค์กรที่ใกล้เคียงกัน แล้วนำมากำหนดกลยุทธ์ของตนเอง เอามาปรับใช้อย่างไร ขั้นต้นต้องคิดว่า จะต้องกำหนด Positioning องค์กรตัวเองให้ชัดเจนและกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน แล้วมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตัวเอง แล้วมาหากลยุทธ์ แนวทางกำจัดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งของตนเอง จะนำมาดำเนินการในแผนยุทธศาสตร์ปี 2556 -2559

จารุวรรณ งามกนกวรรณ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ ขอส่งการบ้านวันที่ 27 มิ.ย. 55 ค่ะ เรื่องการวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ - การวิเคราะห์การตลาด การเงิน วัฒนธรรมองค์กร และการผลิต ของการเคหะแห่งชาติ สิ่งได้มีความรู้ความเข้าใจจากการวิเคราะห์ การตลาด การเงิน การผลิต และองค์กร จากวิทยากรทั้ง 2 ท่าน รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติ การวิเคราะห์ การตลาด การเงิน การผลิต เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน และกคช. จะเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างไร

เอามาปรับใช้อย่างไร

ซึ่งะนำความรู้ที่ได้มาฝึกให้ผู้บริหารการเคหะฯ ได้วิเคราะค์ การตลาด การเงิน การผลิต เปรียบเทียบกันคู่แข่งขัน เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ

จารุวรรณ งามกนกวรรณ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ

ขอส่งการบ้านวันที่ 2 ก.ค. 55 ค่ะ

เรื่องการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

สิ่งได้จากการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจความหมายทุนมนุษย์ แนวคิดของทุนมนุษย์ กระบวนการสร้างทุนมนุษย์ ได้รับทราบกรณีศึกษากระบวนการสร้างทุนมนุษย์ในกฟภ. เครื่องมือในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยการใช้ Mind Mapping พร้อมทั้งได้ฝึกทำWork Shop โดยใช้สมองทั้งสองซีกทำ Mind Mapping ตามโจทย์ที่ได้รับคือ วิเคราะห์ยุทธวิธีที่จะสร้างความสำเร็จขององค์กร(การเคหะฯ) โดยเน้นการสร้างทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและทุนแห่งความยั่งยืนในองค์กร ซึ่งอาจารย์เสนอว่าจะทำต้องมีตัวอย่างให้ดู มีคนนำในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์ และคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในระยะเวลาสั้น ๆ คุณธรรมจริยธรรม อย่างเดียวไม่พอ ต้องทำควบคู่กับระบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วย การจะให้คุณธรรม จริยธรรมเป็นรากฐานที่สำคัญ ต้องมีการปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก

เอามาปรับใช้อย่างไร

เอามาปรับใช้ดดยการฝึกใช้สมองทั้งสองด้าน โดยการทำ Mind Mapping ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ ฝึกค้นคว้า คิด คุย เพื่อหาข้อมูล เพื่อหาความรู้ฝึกคิดให้กว้างและลึก รู้จักจับประเด็น และวิเคราะห์ประเด็น และนำแนวคิดในการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์มาใช้ในกคช. ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ 2 กรกฎาคม 2555 รายงานจากนายอรรคชัย ยืนยงอนันต์ ทุนมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งต่อองค์กร ผู้นำและผู้บริหารจะต้องให้ความใส่ใจและจัดทำนโยบายและแผนให้เป็นยุทธศาสตร์หลัก เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและทันต่อการเปลี่ยนแปลง การอบรมในช่วงเช้า เป็นการปรับกระบวนการคิด เมื่อผ่านการอบรมในช่วงเช้า ในช่วงบ่ายก็มีการทำ Work Shop ใน 4 หัวข้อ 1. วิเคราะห์การสร้างความสำเร็จขององค์กร โดยเน้นคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน 2. องค์กรแห่งการเรียนรู้ 3. Talement Management 4. ทีมแบบข้างสายงาน Gross Eunelion หลังจากอบรมวันนี้ก็นำมาประมวลผลเปรียบเทียบกับองค์กร การเคหะแห่งชาติ

การเรียนรู้   คัดสรร  การรักษาให้อยู่กับองค์กร

ผู้นำ 14 ท่าน อบรมร่วมหน่วยงานภายนอก เชื่อมโยง คุณธรรม จริยธรรม

สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน 

ผู้บริหารระดับสากล อบรมภาวะผู้นำ การบริหารติดตาม ภาษาสากล ความโปร่งใส คุณธรรม การยอมรับ สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน ผู้บริหารระดับต้น Mini MBA ความรู้ ความสามารถ ความทุ่มเท สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นความรัก ต่อองค์กร ในยุคปัจจุบันของการเคหะแห่งชาติ เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งบุคคลากรรุ่นเก่าที่จะออกไปเกือบหมดในปี ๒๕๕๘ และสมาคมอาเซียน (AEC) ที่จะเข้ามา จึงต้องมียุทธศาสตร์หลายรูปแบบให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง 1. ยุทธศาสตร์แห่งการเรียนรู้ เมื่อมีการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ที่เรามีอยู่ เราจึงต้องคัดสรรกลุ่มคนมาเสริมปัญญาด้วยการเรียนรู้ในแนวทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร การเรียนรู้การเป็นผู้นำ ผู้บริหารที่ดี การเรียนรู้ให้สามารถตั้งรับกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ เมื่อเรียนรู้ทางปัญญาแล้วก็ต้องเสริมสร้างจิตใจ ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานด้วยความโปร่งใส ที่สำคัญต้องรักษาไว้ให้ดี ทุนมนุษย์เหล่านี้เราต้องสร้างเพราะการนำเข้ามา จะได้บุคคลากรที่ไม่รักองค์กรเท่าที่ควร มักแสวงหาแต่ผลประโยชน์ 2. ยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันหลายๆฝ่าย ต้องละลายพฤติกรรมคน ที่ทำงานแบบไซโล ปลุกเค้นความรู้สึกในการพัฒนาองค์กร โดยทำงานร่วมกันในทุกฝ่ายทุกสาขาอาชีพ ทำงานเพื่อทุกไซโล

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

แก้ไขรายงานชุดที่ส่งไม่ถูกต้อง

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ

2 กรกฎาคม 2555

รายงานจากนายอรรคชัย  ยืนยงอนันต์

ทุนมนุษย์นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งต่อองค์กร  ผู้นำและผู้บริหารจะต้องให้ความใส่ใจและจัดทำนโยบายและแผนให้เป็นยุทธศาสตร์หลัก  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและทันต่อการเปลี่ยนแปลง

การอบรมในช่วงเช้า  เป็นการปรับกระบวนการคิด  เมื่อผ่านการอบรมในช่วงเช้า  ในช่วงบ่ายก็มีการทำ Work Shop ใน 4 หัวข้อ

  1. วิเคราะห์การสร้างความสำเร็จขององค์กร โดยเน้นคุณธรรม จริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน
  2. องค์กรแห่งการเรียนรู้
  3. Talent  Management
  4. ทีมแบบข้างสายงาน Cross Functional Team

หลังจากอบรมวันนี้ก็นำมาประมวลผลเปรียบเทียบกับองค์กร การเคหะแห่งชาติ

 

การเรียนรู้

คัดสรร

การรักษาให้อยู่กับองค์กร

ผู้นำ 14 ท่าน

อบรมร่วมหน่วยงานภายนอก  เชื่อมโยง

คุณธรรม จริยธรรม

 

สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน

ผู้บริหารระดับสากล

อบรมภาวะผู้นำ

การบริหารติดตาม

ภาษาสากล

ความโปร่งใส

คุณธรรม

การยอมรับ

สร้างแรงจูงใจผลตอบแทน

ผู้บริหารระดับต้น

Mini MBA

ความรู้

ความสามารถ

ความทุ่มเท

สร้างแรงจูงใจ

กระตุ้นความรัก

ต่อองค์กร

ในยุคปัจจุบันของการเคหะแห่งชาติ  เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งบุคคลากรรุ่นเก่าที่จะออกไปเกือบหมดในปี ๒๕๕๘  และสมาคมอาเซียน (AEC) ที่จะเข้ามา  จึงต้องมียุทธศาสตร์หลายรูปแบบให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง

1.  ยุทธศาสตร์แห่งการเรียนรู้  เมื่อมีการวิเคราะห์ทุนมนุษย์ที่เรามีอยู่  เราจึงต้องคัดสรรกลุ่มคนมาเสริมปัญญาด้วยการเรียนรู้ในแนวทางที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร  การเรียนรู้การเป็นผู้นำ  ผู้บริหารที่ดี  การเรียนรู้ให้สามารถตั้งรับกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ  เมื่อเรียนรู้ทางปัญญาแล้วก็ต้องเสริมสร้างจิตใจ ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานด้วยความโปร่งใส  ที่สำคัญต้องรักษาไว้ให้ดี  ทุนมนุษย์เหล่านี้เราต้องสร้างเพราะการนำเข้ามา  จะได้บุคคลากรที่ไม่รักองค์กรเท่าที่ควร  มักแสวงหาแต่ผลประโยชน์

2.  ยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันหลายๆฝ่าย  ต้องละลายพฤติกรรมคน ที่ทำงานแบบไซโล ปลุกเค้นความรู้สึกในการพัฒนาองค์กร  โดยทำงานร่วมกันในทุกฝ่ายทุกสาขาอาชีพ  ทำงานเพื่อทุกไซโล

วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 การบรรยายหัวข้อ การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ ด้วยแนวคิดที่ว่าทุนมนุษย์มิใช่ต้นทุนแต่เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าต่อองค์กร ดังนั้น บุคลากรในองค์กรจึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ควรได้รับการเอาใจใส่ ให้เขาเหล่านั้นมีจิตผูกพันรักองค์กร โดยส่วนตัวแล้ว ตลอดชีวิตการทำงานร่วม 30 กว่าปีที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นการมุ่งเน้นด้านการพัฒนาคนอย่างจริงจัง อาจเป็นเพราะขาดงบประมาณสนับสนุน หรือขาดมุมมองเชิงธุรกิจ แต่ก็ยังแอบหวังว่าในอนาคต การเคหะฯ อาจมีการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านเสริมสร้างประสิทธิภาพของบุคลากรเป็นยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย

ส่วนภาคบ่าย มีการให้ความรู้เรื่องการใช้ mind map เป็นเครื่องมือในการจดบันทึกโดยใช้สมอง 2 ซีกทั้งซ้ายและขวาอย่างเต็มที่ ด้วยแนวคิดที่ว่าธรรมชาติสร้างมาให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานร่วมกันเพื่อเกิดผลงานเต็มร้อย ได้มีการแบ่งกลุ่มทำ work shop กันอย่างสนุกสนาน มีการวาดรูปประกอบในการฝึกทำ mind map ด้วย นอกจากจะนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานแล้ว ยังแอบคิดจะนำไปใช้ในเรื่องส่วนตัวด้วย เช่น การวางแผนใช้เงินในยามเกษียณ ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ อรชร กิจสุบรรณ

ธวัช บุญครองเกียรติ

วันที่ 2 กค. 55 การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

การอบรมครั้งนี้ ทำให้เข้าใจเรื่องทุนมนุษย์มากฃึ้น เช่น เป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า เป็นแรงงานในองค์กร เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีค่าเสื่อม และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการส่งเสริมสนับสนุน ให้การเรียนรู้ ศึกษา อบรม  สัมมนา ดูงาน

เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นของทุนมนุษย์อีก เช่น มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีประสบณ์การที่สั่งสมในตัวเองตั้งแต่เกิด มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตใจผูกพันรักองค์กร ถ่ายทอดพลังจิตใจและสติปัญญาเพื่อองค์กร มุ่งแสวงหาโอกาศเรียนรู้อยู่เสมอและ มีความสร้างสรรค์ใหม่ๆอยู่เสมอเป็นต้น

กลยุทธ์ จะมีจุดเริ่มต้นที่ดีและบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้สำเร็จ จะต้องดึงขีดความสามารถของทุนมนุษย์

มาปรับให้สอดคล้องกับแผนยุทธ์ศาสตร์ขององค์กรอย่างเหมาะสม โดย ดึงศักยภาพของทุนมนุษย์มาร่วมวิเคราะห์ กำหนดทิศทางองค์กร เช่น ช่วยกันวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ภายใน ภายนอก ประเทศ กำหนดทิศทาง ดำเนินธุรกิจหลัก วิเคราะห์แรงงาน ความรู้ ความสามรถ ทักษะ การเพิ่ม/ลดคน จัดลงให้เหมาะสมในแต่ละหน่วยงาน ตามแผนยุทธ์องค์กร

Mind Map ได้ความรู้มากกว่าที่เคยรู้มาก่อน เช่น เป็นการคิด เชื่อมโยง จัดกลุ่ม ไม่มีรูปแบบที่แน่นนอน เป็นการถ่ายทอดทุนปํญญาอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง เป็นการบูรณาการของสมองสองซีก และเป็นการย่อความจากตัวอักษร ถ่ายทอดออกมา เป็น เส้น สี  สัญญาลักษณ์ หรือ คำผสมภาพ เป็นภาพหนึ่งภาพในหน้าเดียว 

ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการ วิเคาระห์ปัญหา วางแผน การตัดสินใจ การนำเสนอ ได้อย่างรวดเร็ว

                            ธวัช บุญครองเกียรติ
                                                                                                                                      8 กค. 55

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ อบรมวันที่ 2 ก.ค. 2555

ความหมาย ทุนมนุษย์ (Human capital) ข้อมูลจากบทความ รองศาสตราจารย์เทื้อน ทองแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต หลักคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์ “เป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งไม่มีตัวตน (Intangible) ตามปกติแล้วไม่สามารถวัดเทียบค่าทางธุรกิจ แต่สามารถแปรสภาพให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถวัดเทียบคุณค่าออกมาได้ เมื่อเทียบคุณค่าออกมาได้สามารถวัดได้และก็สามารถจัดการได้ การจัดการในทุนมนุษย์ คือ การลงทุนมนุษย์ เป็นการลงทุนในตัวบุคคล เพิ่มศักยภาพบุคคล เพื่อไปเพิ่มคุณค่าผลผลิตในรูปของการสร้างคุณค่าและการฝึกอบรม เป็นการลงทุนทรัพย์ที่สำคัญที่สุด (Becker.2006,P1) ในการลงทุนทรัพยากรมนุษย์ คนงานได้รับการฝึกฝนและเรียนรู้จากภายนอกโรงเรียน โดยทักษะจากการทำงาน เป็นการเพิ่มประสบการณ์ จึงเป็นการสะสมทุนมนุษย์ นอกจากนั้น การดูแลรักษาทางการแพทย์ถือว่าเป็นการรักษาสุขภาพส่วนบุคคลให้สมบูรณ์ ทุนมนุษย์จึงประกอบด้วยทั้งศักยภาพและสุขภาพของมนุษย์” สิ่งที่ได้รับจากการอบรมวิทยากรได้ให้ความเห็นว่าเรื่องทุนมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของต้นทุน เพราะว่าคนถือเป็นสินทรัพย์ Asset เป็นสิ่งที่มีคุณค่า พัฒนาได้ ต่อยอดได้ เป็นความสำคัญที่ผู้บริหารทั้งโลกคิดถึงก่อนเสมอ กลยุทธ์ ก็คือแผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในยุคปัจจุบันนี้จะเป็นการเที่ยงตรงมากกว่าหากพิจารณาว่า Strategy คือขบวนการตัดสินใจอันซับซ้อนซึ่งเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายสุดท้าย (Ends) เข้ากับ วิถี หรือ หนทาง (Ways) และวิธีการ หรือเครื่องมือ (Means) ในอันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ นั้น เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงบรรลุวัตถุประสงค์กลยุทธ์ การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ สรุปโดยง่ายก็คือการเค้นเอาความสามารถของบุคลากรในองค์กรออกมาทำกิจกรรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แผนยุทธศาสตร์สำเร็จตรงตามวิสัยทัศน์ขององค์กร การวิเคราะห์ความเข้มแข็งขององค์กรใน SWOT เป็นตัววิเคราะห์ สิ่งที่ กคช.ควรวิเคราะห์ต่อไป คือ จุดแข็ง : ประชาชนรักใคร่ ชื่นชม ศรัทธา มีความสามารถในการช่วยเหลือประชาชนได้ดีกว่าหน่ายงานอื่น จุดอ่อน : โครงสร้างขององค์กรที่ทำงานอย่างราชการ การเมืองแทรกแซง คนขององค์กรไม่มีภูมิคุ้มกัน กคช.จะทำยุทธศาสตร์ก็ต้องหาวิธีการควบคุมจุดอ่อนให้ได้ กคช.ต้องวิเคราะห์บริบทในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องแรงงานที่ไหลเข้า ไหลออก มีมากน้อยเพียงใด ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยเป็นอย่างไรและต้องมองไปข้างหน้า 5 – 10 ปี ก็จะจัดการกับปัญหาระยะยาวได้ ในส่วนของการบริหารทรัพยากรบุคคลไม่ใช่เป็นงานของ HR โดยลำพัง ผู้บริหารระดับสูงต้องร่วมกันพิจารณา คนที่มีอยู่ต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ผู้ที่รับเข้ามาใหม่ก็ต้องรักษาให้อยู่นาน ๆ ต้องเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านภาษาต่างประเทศให้ทันกับ AEC ความรู้ทางด้าน Technology ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องหาแรงจูงใจให้คนเก่งและดีอยู่กับหน่วยงานเป็นเวลานาน สิ่งที่ควรพิจารณาเพื่อเพิ่มศักยภาพของคนคือ การปรับปรุงกฎเกณฑ์ ระเบียบ วิธีปฏิบัติให้สอดคล้องกับทุนมนุษย์ ซึ่งรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก เช่น กฟภ. การเคหะฯ เองก็น่าจะพัฒนาไปในแนวทางเดียวกันได้ การวิเคราะห์กระบวนการทำงานมีรูปแบบการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Mind map แผนที่ทางความคิด ซึ่งเป็นการทำการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ โดยการวาดแผนทางทางความคิดซึ่งสามารถใช้ความสามารถของสมองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถนำศักยภาพที่ไม่เคยได้ใช้นำมาใช้ได้อย่างคาดไม่ถึง โดยส่วนตัวเห็นว่า Mind map เป็นเรื่องที่เพิ่งเคยนำมาใช้ ในความเป็นจริงแล้วควรได้ทำการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กจะทำให้เด็กพัฒนาสมองได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของเราที่เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ใช่ว่าจะนำมาใช้ไม่ได้ เพียงแต่อาจต้องใช้ระยะเวลามากกว่าผู้ที่เคยใช้บ่อย ๆ เท่านั้น

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

2 กค. 2555 การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ทุนมนุษย์ คือบุคลากรที่มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถสูง มีจิตใจผูกพันรักองค์กร มีคุณธรรม จริยธรรม มุ่งแสวงหาโอกาสที่จะได้ถ่ายทอด และปลดปล่อยพลังสติปัญญา และพลังจิตใจ เพื่อประโยชน์ขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องยั่งยืน กลยุทธ์ เป็นกระบวนการ มีจุดเริ่มต้น และสิ้นสุดที่เป้าหมายขององค์กร จึงสรุปได้ว่า มนุษย์เป็นสิ่งที่มีมูลค่า เป็นสินทรัพย์ ไม่ใช่ภาระที่ไปเพิ่มต้นทุน การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ คือการค้นหาศักยภาพ ขีดความสามารถของมนุษย์ในองค์กร เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องตามแผนและยุทธศาสตร์และบรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้การบริหารทุนมนุษย์ประสบผลสำเร็จประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก-ภายใน การวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง วิเคราะห์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมแผนรองรับ กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ การติดตามประเมินผล ตลอดจนการเพิ่มทักษะทางความคิดทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ที่มีความเป็น Generalist มากกว่าความเป็น Specialist และต้องเป็นผู้มีความสามารถ (Ability) ถ้าจะกล่าวว่าคนทุกคนมีศักยภาพ องค์กรจะต้องดึงเอาศักยภาพของคนเหล่านั้นออกมาให้ได้ จริง ๆ แล้วมันเริ่มต้นตั้งแต่การอบรม เลี้ยงดู และประสบการณ์(ดีๆ)ที่สั่งสมมา จึงจะเป็นคนดี คิดดี และคิดเป็น แต่เมื่อองค์กรมีทั้งคนที่มีศักยภาพสูงและคนที่มีศักยภาพน้อย องค์กรจึงต้องอบรม พัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้การศึกษา(ให้ทุนไปเรียนเพิ่มเติม) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ให้ได้ตามที่องค์กรต้องการ แล้วดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนออกมาให้ได้ แต่บางครั้งอาจจะต้องคัดสรรคนดี คนเก่ง จากภายนอกเข้ามาบ้าง เมื่อองค์กรได้คนดีแล้ว ก็ต้องรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรตลอดไป ช่วงสุดท้ายคือการทำ Workshop โดยใช้ Mind Map ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ทำให้เรารู้จักคิด และคิดโดยต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ เกิดความเชื่อมโยงทางความคิด สามารถนำไปใช้กับการทำงานได้ทุกเรื่อง

2 กค. 2555 สรัญญ์ โสภณ ทุนมนุษย์ (Human Capital)

มนุษย์ เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กรตั้งแต่เริ่มตั้งองค์กรและเป็นเฟืองสำคัญที่ทำให้องค์กรมีความยั่งยืน
องค์กรที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมา 4 ทศวรรษบางองค์กรเรียนรู้อะไรจากเดือนปีที่ผ่านมาบ้าง บางทีอาจจะเป็นโชคช่วยก็ได้ที่ทำให้องค์กรนั้นยังอยู่มาได้ถึงวันนี้ อาจเป็นเพราะผู้นำและทีมในยุคก่อนหน้านี้มีศักยภาพสูงและร่วมมือช่วยกันทำให้องค์กรมีอายุมาได้จนถึงปัจจุบัน  แต่ในช่วงปลายๆ ของทศวรรษที่ 4 นี้ องค์กรได้หยุดพิจารณาถึงตัวคน (บุคลากร) ในองค์กรซึ่งถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งบ้างหรือไม่ว่าศักยภาพของคนในองค์กรได้ลดลงหรือหายไปมาก  ได้มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะเค้นเอาศักยภาพของคนในองค์กรปัจจุบันออกมาเพื่อทำภารกิจต่างๆ ขององค์กรให้ได้ผลลัพธ์ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้หรือไม่ ได้มีการพัฒนาคนในองค์กรอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หรือจะเห็นว่าการลงทุนในการพัฒนาคนเป็นภาระเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับองค์กรจึงดูเหมือนว่าปัจจุบันองค์กรขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพ มีการพูดถึงการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  เหมือนกัน แต่ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนว่าได้มีการนำมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมหรือสามารถนำผลมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับการทำงานขององค์กรอย่างจับต้องได้บ้างหรือไม่
โดยปกติเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาทำงานในองค์กร นอกเหนือจากการพิจารณาความรู้ความสามารถจากการศึกษาที่สำเร็จมาแล้ว การเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ ทักษะ การสร้างให้เขามีจิตใจผูกพันรักองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม ฯลฯ การรักษาคนๆ นั้นไว้ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คนที่มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถสูงนั้นๆ มีโอกาสมีความตั้งใจที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้และสั่งสมไว้ให้แก่องค์กรด้วยจิตใจที่ผูกพันต่อองค์กรเพื่อให้องค์กรได้มีความยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
กคช.เป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของคนยากไร้ แต่ภารกิจขององค์กรที่ได้รับมอบจากรัฐบาลก็มีมูลค่าทางการเงินมหาศาล จึงมักมีเรื่องของผลประโยชน์เกี่ยวข้องมากมายโดยเฉพาะกับทางการเมือง  ดังนั้น นอกจากการสร้างคนในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถแล้ว การทำให้คนดังกล่าวเป็นคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมก็เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งด้วย โดยแรกที่สุดผู้นำองค์กรต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นตัวอย่าง  ส่งเสริมคนดีให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานในองค์กร ป้องกันไม่ให้คนไม่ดีขึ้นมาเป็นใหญ่ ทำให้คนในองค์กรเห็นจริง เชื่อมั่น ศรัทธาว่าการเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมจะทำให้คนในองค์กรทำงานอย่างมีความสุข ประชาชนมีความสุขจากผลงานขององค์กร และประเทศชาติเจริญก้าวหน้าโดยมีที่มาส่วนหนึ่งจากองค์กรของเรา และนั่นจึงจะเป็นทุนมนุษย์ที่สมบูรณ์

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง การบริหารธุรกิจในยุค AEC

บรรยายโดย รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555

 

ในปี 2015 จะเกิดอะไรขึ้น

การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน

  • ยกตัวอย่างการสร้าง Learning Organization – การเน้น The Fifth Discipline  คือ Systematic Thinking  คือการคิดอย่างเป็นระบบ
  • Knowledge Management คือการรู้ให้รอดต้องรู้จริง
  • System Thinking – Input ออกมาเป็น Out Put

ความคิดในเชิงระบบแบ่งเป็น 2 ความคิด คือ

1.Systematic Thinking

2. System Thinking

ระบบความคิด

คนที่คิดเป็นระบบสามารถสร้างทฤษฎี และพัฒนาอย่างเป็นระบบ สามารถบริหาร AEC ได้

  1. รู้อย่างเดียวไม่รอด
  2. ต้องรู้จริง
  3. ต้องตระหนัก
  4. สามารถนำสิ่งที่รู้ไปใช้

Learning  Process กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีจุดเริ่มต้น และจุดจบ

เริ่มจากรู้  รู้จริง ตระหนัก ส่งผลถึงการเห็นสิ่งที่รู้จริงภายใต้ความแตกต่าง

ระบบ System Thinking คืออะไร

-          มีองค์ประกอบคือ วงกลม   แต่ละวงกลมมีฟังก์ชั่น   เกิดความร่วมมือและมีการปฏิสัมพันธ์   

-          การคงอยู่ของระบบ ขององค์กร

 

-          ความคงอยู่ขององค์กร อธิบายด้วยการมีกำไรต่อเนื่อง ทำให้คนที่อยู่ในองค์กรมีความสุขด้วย  สามารถใช้กับชีวิตของคนเราได้ และเมื่อไรมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ เชื่อมชีวิตส่วนตัวและการทำงาน จะทำให้ทุกวันมีความสุข

-          การบูรณาการในการบริหารการจัดการ

Systematic Thinking  คือ เป็นคนที่รู้จักการจัดระบบความคิด เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน  เป็นลักษณะ Think Forward คนที่ฉลาด ทุกอย่างต้องชัดเจน ห้ามมั่ว ต้องตรงประเด็น

มีคน 2 ประเภท คือที่มาของการบริหาร AEC

  1. 1.      คนที่สมองมีแต่ขี้  การรับข้อมูลเยอะมากเกินไป ถ้าบริหารข้อมูลไม่เป็นจะเกิดอาการยิ่งเรียนยิ่งโง่ คือ IOKO
  2. 2.      คนที่มีความคิดแตกต่างจากคนทั่วไป

-          ระบบของชีวิตเป็นกระบวนการที่มาจากอดีต แต่ต้องวางแผนกระบวนการในอนาคตเพื่อความอยู่รอด ต้องเข้าใจว่ามาจากไหน และไปที่ไหน

-          การขยายตัวของเขตการค้าเสรี รวมถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สิ่งแรกที่เป็น Key Success Factor คือ จะบริหารการจัดการข้อมูลอย่างไรบ้าง

-          เริ่มต้นการมองศักยภาพตนเอง และศึกษาการขยายได้  การเป็นได้มากกว่าสิ่งที่ตนเองเป็น คืออะไร แต่อย่าเป็นได้ทุกอย่าง ต้องรู้ทิศทางตัวเองว่าจะไปทางไหน

-          องค์ประกอบของความสำเร็จในการบริหารองค์กร 35-40% มาจาก Passion  เป็นการเรียนเพื่อค้นพบตัวเองเจอ  ดูตัวอย่าง Bill Gate ,Steve Job ,Mark Zuckerberg

นักคิดเชิงกลยุทธ์

-          ต้องเปลี่ยนจากโง่เป็นฉลาด

-          รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

-          ต้องไม่เป็นโรค IOKO

-          ต้องทำงาน และคิดเป็นระบบ

-          สามารถทำนายอนาคตได้

-          ต้องรู้จริง

-          การบริหารไม่มีทางรอด ถ้าปรับ Mindset เป็นระบบคิด ทุกอย่างในโรคนี้จะเป็นกระบวนการ

-          ของจริงต้องเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น

วิธีการปรับ

  1. ต้องรู้จริง ตระหนัก เป็นกระบวนการ
  2. อยากจะพัฒนาตรงนี้ได้ ทุกอย่างต้องตรงประเด็น ไม่มั่ว
  3. เปลี่ยนวิธีการตั้งคำถาม จากอะไร ทำไม ทำอย่างไร
  4. ถ้าทำได้จะทำให้บริหารเยี่ยมมาก ๆ
  5. ทำงานเพื่อความอยู่รอด
  6. ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากันหมด บางเรื่องตัดได้ บางเรื่องต้องเก็บไว้ เพื่อไม่ให้เป็นโรค IOKO
  7. ต้องรู้ว่าจะไปอะไร ทิศทางไปตรงไหน ทิศทางต้องรอด วิเคราะห์อาชีพที่เรารัก  เลือกอาชีพที่ตรงกับอนาคต ตรงกับการเปลี่ยนแปลง บางเรื่องขยายได้ บางเรื่องทำได้
  8. ข้อมูลที่สำคัญนิดเดียวก็ชนะแล้ว 5% สามารถชนะ 95% ได้

การบริหารการจัดการที่ดีควรทำอย่างไร

  1. การปรับวิธีคิด เปลี่ยนระบบคิดเป็นตอบคำถาม Why ? กับ How to ? ช่วยในการมองเป็นองค์รวม (องค์รวมเหนือกว่าระบบ เพราะเห็นทั้งระบบ) ต้องทำตัวเหมือน Google เห็นทั้งโลกภายในเวลานิดเดียว  เอาเฉพาะสิ่งสำคัญ บริหารเฉพาะขั้วสำคัญ
    1. บริหารสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง 

เช่น Bank เอากลยุทธ์ของเคี้ยงเอมไพน์ กับ MK สุกี้มาใช้ในการบริหาร Bank

คือเครือข่าย ต้องอยู่ในบริเวณมีคนหนาแน่น จึงไปเปิด Bank ใน Department store ได้

สิ่งที่แตกต่างกันคือ เป็นธุรกิจลูกชิ้น  สุกี้  แบงค์

สิ่งที่เหมือนกันคือ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนต้องการ One Stop Service

สรุปเวลาเข้าใจ AEC ต้องรู้จริง คิด และทำนายต่อได้

Systematic คือการเปลี่ยนจากยากไปง่าย เรียนหนังสือไม่จำเป็นต้องหลายปี

 

AEC คืออะไร

  1. ตลาดและฐานการผลิตร่วม
  2. เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

AEC ลอกมาจาก EEC

-          ประชาคมเศรษฐกิจทุกแห่งในโลกคือมีความหมายเหมือนกันคือการเป็นตลาดร่วม

-          ตลาดร่วมที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ ตลาดร่วมยุโรป ประสบความสำเร็จในปี 1992

-          ประชาคมเป็นเรื่องเดียวกับตลาดร่วม เป็นเรื่องเดียวกับ AEC

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 แบบ

  1. แบบหลวม ๆ
  2. แบบเข้มข้น

AEC คือกระบวนการ

-          เขตการค้าเสรี คือแบบผสม

ตัวอย่าง บุหรี่ เป็นอัตราภาษีของประเทศที่ใช้ความอนุเคราะห์  จึงมีความจำเป็นต้องรู้เรื่อง WTO  การเปิดเสรีในการค้าและบริการ ถ้าไม่อยู่ใน WTO จะเสียมากกว่า 10 %

-          เรื่องอาเซียนเสรี เริ่มตั้งแต่ปี1993 มีการตกลงกันแล้ว แต่ยังไม่เริ่มจริงจัง

-          อาเซียนคือการรวมตัวที่ลึกซึ้งกันมานานแล้ว

-          ข้อตกลงร่วมพิกัดอัตราภาษี  ถ้าเป็นสินค้ารวมทั้งบุหรี่ จะเก็บในอัตราน้อยกว่าเดิมเช่นจาก 20% เหลือ 15% เป็นต้น แต่ข้อตกลงประเภทนี้หลังจากประชุมรอบอุรุกวัยบอกว่าห้ามทำเนื่องจากเป็นการเลือกปฏิบัติ

-          ทฤษฎีเกมส์ บางครั้งแกล้งโง่เพื่อให้ได้มากกว่าเก่าเช่น อเมริกา ยอมให้เปิดเสรีทางการเกษตรแลกกับเปิดเสรีทางการเงินเป็นต้น

เขตการค้าเสรี หมายถึงรวมตัว เปิดเสรีการค้าอย่างเดียว ความหมายจริง  ๆ ของการเปิดการค้าเสรี คือเปิดเฉพาะสินค้า ลดกำแพงภาษีนำเข้าจนถึง 0  รวมถึงบุหรี่ด้วย

การบริหารจัดการ

  1. ต้องมองเป็นระบบ
  2. ต้องมองหลังปี 2015

AEC

-          คือสินค้า บริการ และเงินทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี

-          ถ้าเป็นเรื่องสินค้า 99 % ภาษีเหลือ 0 แล้ว มีตัวอย่างใน 4 ประเทศ ที่กำแพงภาษีเหลือ 9%

สหภาพศุลกากรคืออะไร

-          มีการเปิดเสรีทางสินค้า

-          มีการปรับภาษีนำเข้าของสินค้าแต่ละประเทศให้กับประเทศนอกกลุ่ม

-          ตัวอย่าง National Treatment เป็นการเปิดเสรีให้ต่างชาติที่สนิทมาก ปฏิบัติเยี่ยงชาติเช่น การอำนวยความสะดวก การส่งเสริม

การเปิดเสรี 2015

-          เกิดจากการกำหนดอุตสาหกรรม 12 ประเภท

-          อาเซียนเป็นเจ้าของได้ 70% หลังปี 2015 จะเพิ่มจาก 71-72 สู่ 100%

-          เงินทุน ถ้าเป็นนักวิชาการจะมีปัญหา

การเปิดเสรีทางการลงทุนแบ่งเป็น 2 ส่วน

-          เงินทุนเสรี คือการเอาเงินออกเท่าไหร่ก็ได้ แลกเป็นเงินสกุลอะไรก็ได้ 

-          ในส่วนของ AEC จะเอาเงินเราออกไปได้มากขึ้น แลกเงินได้มากขึ้น ซื้อของได้มากขึ้น

-          ไทย มีอาเซียน +3+6

การรวมเงินสกุลเดียวกัน

  1. ต้องมีอัตราแลกเปลี่ยนในระดับเดียวกัน
  2. ต้องปรับเงินงบประมาณให้ขาดดุล 3% ของ GDP

สำหรับ AEC ในอนาคตคาดว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย ใช้เงินบาทมากขึ้นเนื่องจากจะลดดอลล่าร์ บทบาทของหยวน เยน วอน มากขึ้น

วิธีการการเปิด AEC

1.ขจัดอุปสรรค คือการเปิดด่าน

2. การประสานนโยบาย

3. การทำให้ครบวงจร

การปรับ Mindset เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดขององค์กร

ต้องมีความชัดเจนว่าลูกค้าคือใคร

  1. ต้องมีความชัดเจน แพงไม่ว่า แต่ต้องบริหารให้ดี เป็น Value Chain
  2. ต้องรวดเร็ว และสามารถบริการอย่าง One Stop เป็นลักษณะ Hospitality เช่น บำรุงราษฎร์

การเข้าสู่ AEC ต้องทำอย่างไร ?

  1. การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน
  2. ปรับกฎเกณฑ์
  3. ปรับโลจิสติกส์
  4. การสร้างความสัมพันธ์ของ อาเซียนกับประเทศอื่น ๆ
นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 การบ้าน 1.2 หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้

หลังจากที่ผมได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ 2 รอบ  รอบแรกอ่านข้ามๆ  ในรอบที่ 2 อ่านให้ละเอียดแล้วทำการวิเคราะห์กับองค์กร ก่อนที่ได้รับการอบรมถึงครั้งที่ 4 ผมคิดว่าหลายๆ เรื่อง ผมอยากให้องค์กรในส่วนที่ผมอยู่เป็นอย่างไร ผมก็พัฒนาน้องๆ ที่อยู่ในกองให้พัฒนาตามแนวทางนั้นซึ่งก็ตรงกับที่ทางอาจารย์ ได้ทำไว้กับปูนใหม่
เมื่ออบรมผ่านไป 4 ครั้งแล้วกลับไปอ่านหนังสือใช้แนวทางวิธีคิดตามที่อบรม ทั้ง MILP MAP, การมององค์กรในแนวดิ่งและแนวระนาบ, การจัดแบ่งคนเป็น A, B, C การคัดสรรค์เพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่  และเค้นคนรุ่นเก่าให้ช่วยในฐานที่เป็นพี่ นี่คือประเด็นที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้  และที่สำคัญทำให้เกิดกระบวนการคิดย่างต่อเนื่อง
หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าอย่างยิ่ง ผมมองภาพเป็น 2 แนวทาง 

แนวทางที่ 1 วิธีการสัมภาษณ์ ที่สามารถเก็บรายละเอียดเพื่อการเรียนรู้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้

             สามารถนำมาใช้ร่วมกับการฝึกอบรมเป็นมุมมอง กว้างๆ จนเจาะลึกลงไปกับองค์กร การเคหะแห่งชาติ
                ในแง่มุมต่างๆ เพื่อตั้งรับการเปลี่ยนแปลงทั้งบุคลากรที่ขาดตอน และในรูปแบบ AEC

แนวทางที่ 2 มีตัวอย่างบุคคลมากกว่า 2 ท่าน ที่ทรงคุณค่าไม่เคยหมดไฟ ยังคงพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

             เพื่อให้เป็นรากฐานของชาติ เป็นภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืน, ทำให้ผมเกิดมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานต่อไป
               หลังเกษียณอายุกับงานที่ผมเชี่ยวชาญ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ในด้านที่ผมถนัดมีประสบการณ์ 
      30 ปี

หมายเหตุ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่มอบหนังสือที่มีคุณค่าให้อ่าน, วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้

                                                  ขอบคุณครับ
                    นายอรรคชัย  ยืนยงอนันต์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 การบ้าน 1.2 หนังสือ 8K’S+5K’s K1. ทุนมนุษย์ คนเมื่อได้รับทรัพยากรต่างๆ เข้าไปเท่ากันหรือน้อยกว่าแต่คนๆ นั้น สามารถดูดซับ ประมวลผล

 และนำมาปฏิบัติดีกว่ากัน ก็ได้ผลที่สูงกว่ากัน

K2 ทุนทางปัญญา ปัญญาไม่ใช่มาจากกระดาษแผ่นเดียว นับเป็นขบวนการที่น้อยเกินไป ปัญหาต้องมาจาก

  การรับรู้ มองในเชิงวิเคราะห์ การต่อยอดนำมาปฏิบัติ

K3 ทุนทางคุณธรรมจริยธรรม ข้อนี้นับว่าสำคัญที่สุด ทุนมนุษย์ดี ทุนปัญญาดี แต่ขาดคุณธรรมจริยธรรมก็จะ

  สร้างปัญหาให้สังคมคนขี้โกงที่อันตรายที่สุดเพราะมีพลังใน 2 ข้อแรก ดังนั้น ต้องใช้ 4 เก่ง 4 ดี เข้าไป
  ให้เป็นระบบ มีคุณธรรมจริยธรรมไม่ทำอะไร, ไม่ถ่ายทอดให้ใคร, ไม่คิดพัฒนาต่อ, ไม่เรียนรู้ให้ทันกับยุคสมัย 
  หรือสภาพแวดล้อมก็ไม่สร้างประโยชน์

K4 ทุนแห่งความสุข ความสุขที่แท้จริงน่าจะมาจากเป็นผู้ให้ ทำในสิ่งที่ตนเองและรอบข้างมีความสุข หมอรักษาโรค

  ที่คิดการรักษาแพงๆ ความสุขของตนมีแต่ก็ไม่ภาคภูมิใจ ชีวิตที่เกิดมาไม่สร้างสรรค์ น่าจะขาดทุนมากกว่า

K5 ทุนทางสังคม เมื่อทั้ง 4 ทุนดี มีประสิทธิผล แน่นอนทุนทางสังคมก็จะดี สภาพภายนอกจากสมาคม

  โลกที่มองกลับมาจะเป็นเชิงบวก น่าคบหาสมาคม  มีความไว้วางใจกัน

K6 ทุนแห่งความยั่งยืน ความยั่งยืนมิใช่มาจากรวยที่สุด เพราะไม่แน่นอนมีเงินก็ไม่มีความสุข ความสุขที่มีก็

  เป็นช่วงระยะสั้นๆ  ไม่มีความยั่งยืน ถ้ามีทุนทั้ง 6 ทุนที่ 6 ก็จะเกิด

K7 ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศหรือ IT ผมขอกล่าวในข้อนี้ก่อนทุนยังยื่น ถ้าทุนข้อนี้ตามไม่ทัน ความเติบโต

 ก็จะหยุดชะงัก เพราะการสื่อสารจะขาดตอน ความต่อเนื่องก็จะไม่มีความยั่งยืนก็จะหมดไปจึงเห็นว่า
 น่าจะมาก่อน

K8 ทุนอัจฉริยะ ผมมองในมุมเพิ่มขึ้นจากที่ควรเป็นทักษะ และความรู้ อัจฉริยะจะเกิดได้ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

  ยิ่งกว่านั้นต้องฝึกฝน และถ่ายทอด  ผมเห็นว่าผู้เป็นอัจฉริยะได้ต้องเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม และทัศนคติ
   ที่ดีของคนคนนั้นต้องเป็นเชิงบวก

5K ในยุคใหม่ K1 ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากจินตนาการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่จินตนาการนั้นต้องนำมาปฏิบัติ

  แล้วต่อยอด คิดแล้วต้องรีบจดไว้เดี๋ยวจะลืม  พรุ่งนี้ลองทำแล้วต่อยอดต่อรากฐานจากจินตนาการนั้น  
  เช่น การทำอาหารแปลกใหม่ การคิดสิ่งที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งจิตใจและทรัพย์สิน

K2 ทุนแห่งความรู้ ผมชอบทฤษฎีของอาจารย์จิระ ทีต้องสร้างให้เป็น Learning Culture วัฒนธรรมการเรียนรู้

 ที่ถูกสร้างขึ้นจนเป็นนิสัย เรียนรู้ทุกวันทุกเรื่อง แต่ K2 นี้ต้องเพิ่มขึ้นอีก  ต้องสังเคราะห์จากความรู้ที่ได้รับ 
มาสู่ความเป็นจริงเป็นที่ยอมรับ เพราะจะเกิดเป็นทฤษฎีใหม่ๆ  ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

K3 ทุนทางนวัตกรรม ผมว่าเกิดจาก K1 และ K2 ที่ถูกนำมาทำให้เป็นจริง เช่น หลักสูตรใหม่ๆ ที่จะตอบสนอง

  ความต้องการที่ไม่สิ้นสุด  สิ่งที่คิดค้นนำมาทำ  เช่น หลักสูตรที่จะต้องสอนให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง

K4 ทุนทางวัฒนธรรม ผมคิดว่าวัฒนธรรมที่ดีของเราควรรักษาไว้ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตลอดเวลา ส่วน

  วัฒนธรรมของชาติอื่นที่ดีก็ควรนำมาปฏิบัติต่อยอด เช่น วัฒนธรรมในการเรียนรู้ วัฒนธรรมในระเบียบ
  วินัย วัฒนธรรมความซื่อสัตย์

ทุนที่ 5 ทุนทางอารมณ์ ผมคิดว่าข้อนี้สำคัญมากเกือบจะพอกับความซื่อสัตย์ เพราะเราขาดอยู่มากไม่มี

       การเรียนรู้ในเด็กเลย  เราขาดอย่างรุนแรง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้  เป็นเหตุ
       ให้เกิดการป้องกันตนเองและผู้อื่น  ยิ่งถ้าเป็นผู้บริหารหรือผู้นำถ้าไม่มีทุนเดิมก็จะเป็นปัญหาในระดับ
       องค์กร หรือระดับชาติได้
ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยาย Panel Disscussion

การบริหารธุรกิจไทยในยุค ASEAN Economic Community

โดย  คุณอรุณี พูลแก้ว ผู้บริหารของกรมเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศ กระทรวงพาณิชย์   

        ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

        ดร.โสภณ พรโชคชัย   ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัย และประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย

ดำเนินการอภิปรายโดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

คุณอรุณี พูลแก้ว:   การเคหะควรเน้นเรื่องการพัฒนาชุมชนของประเทศไทย  

              

4 เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียน

  1. 1.      การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม
  2. 2.      การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน
  3. 3.      การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  4. 4.      การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

AEC  โดยสรุป

  1. ภาษีต้องเป็นศูนย์
  2. คนเข้ามาลงทุนอย่างเป็นเสรีมากขึ้น ต่างชาติมาลงทุนได้ 70%
  3. มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี  มีสิทธิเข้ามาขอใบอนุญาต ในอาชีพ 7 อาชีพ
  4. เคลื่อนย้ายเงินลงทุนได้อย่างเสรี

การบริการอสังหาริมทรัพย์

หมายถึง บริการเกี่ยวกับการขาย การเช่า และการจัดการสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์

อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

ความสามารถในการแข่งขันของบริการก่อสร้างไทย  เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนก็ติดอันดับต้นๆ

โอกาสและความท้าทายต่อการเคหะ

-         พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในและต่างประเทศ

-         แหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น

-         ทางเลือกสินค้า บริการที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น และถูกลงด้วย

-         การขาดแคลนแรงงาน จะทำให้มีการแข่งขันสูงขึ้น  ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล และการตัดสินใจของผู้บริหารของการเคหะ

  • อาจารย์จีระ   บอกว่าต้องมีทัศนคติที่จะมองโลก อาเซียนเสรีให้กว้างขึ้น บทบาทของการเคหะไม่ได้เป็นธุรกิจตรงเพียงอย่างเดียว แต่จะมีผลกระทบเรื่อง ชายแดน  การเงิน แรงงาน การก่อสร้าง  ต้องให้ความสำคัญเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย  ผู้บริหารควรเพิ่มศักยภาพของตัวเอง ทั้งด้านภาษา ด้านทัศนคติ ให้ความรู้ชุมชนให้เข้าใจเรื่อง AEC

 

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล:  

ประเด็นสำคัญในการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน

เราจะได้ประโยชน์จาก AEC อย่างไร

  1. สิ่งก่อสร้างจะถูกลง ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างถูกลง สามารถแข่งขันในประเทศเพื่อนบ้านได้เร็ว
  2. การรวมอาเซียนแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ยอดปิรามิด  (สิงคโปร์ มาเลฯ บางส่วน) กลางปิรามิด (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์) ต้นปิรามิด (ได้แก่ กัมพูชา พม่า ลาว)

ถ้ารวมกันได้ทั้ง 3 ส่วน จะได้ประโยชน์อย่างมากจากการรวมตัวเป็นอาเซียน

อาจารย์จีระ อยากให้ดูในเรื่อง Production ภาษี วัตถุดิบต่าง ๆ ด้วย

-          คนแก่ในเมืองไทยไม่เปลี่ยน แต่ Youth เปลี่ยนแน่นอน เนื่องจากอยู่ในสังคม วัฒนธรรมเดียวกัน

-          การเคหะอยู่ที่ปลายน้ำเป็นหลัก  ถ้ามองไปที่กลางน้ำ ต้นน้ำได้ จะช่วยประโยชน์จาก AEC ได้เยอะ

เปิดอาเซียนจะช่วยเปิดตลาดให้ใหญ่ขึ้น 

-         มี เส้นทางสายไหม East West Economic Corridor

-         การท่าเรือ อยากให้ดูตัวอย่างของการท่าเรือสิงคโปร์เป็นหลัก  

สรุปคืออยากให้การเคหะดูภาพที่ใหญ่ขึ้นเพื่อฉกฉวยแหล่งเงินทุนต่าง ๆ

-          ในมุมมองของการปรับตัวอาเซียน เป็น Globalization มากขึ้น ต้องกล้าคิดให้ถึงชายแดน และเมืองชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าสร้างการเคหะชายแดนจะมีคนใช้ Facility  เพิ่มขึ้นด้วย

การ Shaking

  1. ทุกคนจะวิ่งหาความเจริญ  เกิดเมืองชายแดนเป็นลักษณะเศรษฐกิจ
  2. เกิดสำนักงานการลงทุน ธุรกิจระหว่างประเทศมากขึ้น
  3. เกิดชุมชนคนต่างชาติมากขึ้น  ฐานปิรามิดจะเป็นคนนำเข้ามา  นักธุรกิจฮ่องกงจะขยับฐานปิรามิดขึ้น
  • อาจารย์จีระ บอกว่า การเคหะมีภารกิจอย่างหนึ่งที่เด่นมากคือการบริหารชุมชน  คนในการเคหะที่เก่งมากในอดีตคือดูแลชุมชนทางการเคหะ สิ่งหนึ่งที่การเคหะต้องคิดให้ดีคือบริหารชุมชนที่มี Diversity มากขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น เวลาศึกษาอาจไป Benchmark กับชุมชนที่เกิดแล้ว เช่น EU หรือที่อื่น ๆ เป็นต้น
  • ต้องมี Professionalism, Internationalism, เป็นคนไทยแต่ต้องอยู่ในอาเซียนให้ได้

ความคิดเห็นจากการเคหะ ฯ

ชุมชนทางการเคหะ สิ่งที่การเคหะเข้าไปดำเนินการคือเรื่องเงินอุดหนุน สามารถได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติได้หรือไม่

บทบาทของการเคหะอยู่ใน 2-3 แท่งเรื่องการตกลง

1.ความมั่นคง 2. การค้า และเงินทุน 3.การช่วยสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

อาจารย์จีระ บอกว่าต้องมีการพัฒนาคน ควรมีการทำวิจัย และมีการทำ In depth interview และการทำ Focus group เน้นประเด็นเรื่องการพัฒนาชุมชน

คนในการเคหะฯ ต้องดูแลชุมชน

Financial กับ Investment Capability

  • อาจเป็นจุดอ่อนของการเคหะ
  • การทำ Financing ของตนเองอย่างแลนด์แอนด์เฮ้าส์ อาจเป็นประโยชน์ในการหาเงินได้มากขึ้นเยอะ
  • การระดมทุนต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ

Professional  Management  and  Marketing Team  

  • ต้องมี New Business Plan ใหม่ ๆ
  • Network กับ Alliance ต่าง ๆ
  • ต้องมีพันธมิตรต่าง ๆ วิเคราะห์ Supply Chain มีบริษัทลูกที่คล่องตัว

ดร.โสภณ พรโชคชัย   

  • ยกตัวอย่างเรื่องภาษีที่ดิน เมืองนอกมีภาษีมรดก  แต่ประเทศไทยไม่มี
  • มีมาตรการการขึ้นภาษีคอนโดฯอย่างเช่นต่างชาติจะมาซื้อต้องเสียภาษีเยอะขึ้น

อาจารย์จีระ บอกว่า การเคหะฯ ควรมีการวางแผนการทำบริษัทลูก ซึ่งเป็นประเด็นที่ดีมาก

  •  สิงคโปร์ขาดความมั่นคงทางการเมือง การสร้างบ้านต่าง ๆ ยังไม่ค่อยให้มากเท่าไหร่
  • การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามีการขยายไปมากขึ้น อาจกลับมาที่กรุงเทพฯ  การขยายตัวอาจไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้นการขยายตัวอาจไปต่างประเทศมากขึ้น แต่อย่างเวียดนาม พบว่าการขยายตัวอยู่ในขาลง  ในสิงคโปร์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาบูมมากแต่ช่วงระยะหลังเมื่อเศรษฐกิจถดถอยการขยายตัวก็ลดลงเช่นกัน 
  • การทำแบบสอบถามประเมินอาเซียน เมื่อปีถึง2ปีที่แล้วพบว่า มีอัตราขยายตัวดีขึ้น และคาดว่า 2 ปีถัดไปจะดีขึ้นกว่านี้เยอะ  ปัญหาจากต่างประเทศมองว่าดีขึ้น มีเพียงประเทศไทยที่มองว่าเท่าเดิมหรือดีขึ้นไม่มาก
  • ความท้าทายของการสร้างท่าเมืองทวายในพม่ามีการคาดการณ์ว่าใหญ่กว่ามาบตาพุดถึง 10 เท่า นับเป็นสิ่งที่ท้าทายของการสร้างการก่อสร้างบ้านจัดสรร อาจมีแนวทางในการสร้างบ้านให้ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ เป็นต้น
  • ลักษณะที่ดินของการสร้างที่พม่าจะเป็นลักษณะการเช่า 10 ปี  แต่ที่กัมพูชาอาจเป็นลักษณะของการใช้สิทธิ
  • สรุปคือเราต้องมี Partner ที่ดีเพื่อสามารถคัดเลือกสถานที่ และที่ดินได้ถูกต้อง
  • Housing Finance Mechanism    
  • ถ้าไปต่างประเทศต้องเน้นการสร้าง Brand ให้ดี จะเลือกร้านไหนขึ้นอยู่กับการสร้าง Brand  ตัวอย่างเช่น SCG  หรือ NHA ต้องทำแบรนด์ให้เป็น Inter  Brand  เช่น Intel Inside

วิธีการสร้าง Brand คือ           

-    ต้องมีการทำ Promotion ด้วย 

-          มีการทำ Corporate Goodwill, Personal Goodwill

 

Workshop

  1. วิเคราะห์ AEC – จุดแข็งของการเคหะฯ – โอกาส (Opportunities) – ยุทธวิธีในการฉกฉวยโอกาสจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะ ฯ
  2. วิเคราะห์ AEC - จุดอ่อนของการเคหะฯ – ความเสี่ยง (Opportunities) – ยุทธวิธีในการลดความเสี่ยงจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะฯ
  3. เสนอโครงการเตรียมความพร้อมเรื่อง “ทุนมนุษย์และการบริหารจัดการ”ของการเคหะฯ พร้อมรับ AEC
  4. เสนอโครงการ 2 โครงการที่น่าสนใจเชิงรุกในการเชื่อมโยงการเคหะฯ สู่ AEC และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เสนอว่าควรสร้าง Institutional  Building

กลุ่ม 1วิเคราะห์ AEC – จุดแข็งของการเคหะฯ – โอกาส (Opportunities) – ยุทธวิธีในการฉกฉวยโอกาสจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะ ฯ

จุดแข็ง

  1. ระยะเวลา 39 ปี ทำให้มีความรู้ในการสร้างบ้าน
  2. การพัฒนาในชุมชนการเคหะฯ  องค์กรในประเทศไทยยังไม่มีภาคเอกชนที่ดูแล
  3. การเคหะฯ เชี่ยวชาญการสร้างบ้านผู้อยู่อาศัยรายได้น้อย

จุดอ่อน

  1. ต้องสร้างเครือข่าย
  2. ความเป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องปรับตัวให้รับกับการดำเนินงานต่าง ๆ
  3. บุคลากรยังไม่มีความพร้อม ถ้าร่วมมือและให้เชิญผู้มีความรู้อบรมพัฒนารองรับกับ 3 ปีที่เกิดขึ้น

โอกาส

  1. ได้ทุนต่ำลง
  2. เรามีโอกาสได้ความรู้ใหม่ ๆ จากวิศวะ หรือสถาปัตย์
  3. การไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศจะได้ Partnership ใหม่ ๆ  ถ้าเรียนรู้และพิจารณารอบคอบ การล้มจะไม่มี
  4. การแบ่งกลุ่มใหม่ ๆ เป็นตัวสำคัญ  ทำให้เติบโตได้ช้า

 

อาจารย์จีระ

บอกว่าต้องให้นักการเมืองเข้าใจว่าโอกาสทางการเคหะของต่างประเทศนับเป็นวาระแห่งชาติ 

ถ้าเอาจริงกับการเคหะฯ ต้องส่งเรื่องนี้ไปให้ผู้มีอำนาจกับรัฐบาล  ถ้ามีข้อมูลจะเป็นประโยชน์

 

กลุ่ม 2 วิเคราะห์ AEC - จุดอ่อนของการเคหะฯ – ความเสี่ยง (Opportunities) – ยุทธวิธีในการลดความเสี่ยงจาก AEC  ที่เหมาะสมของการเคหะฯ

 

จุดอ่อน

1.กระบวนการทำงานค่อนข้างล่าช้า กว่าจะได้รับอนุมัติโครงการช้ามาก

2.แบบบ้านไม่เป็นแบบมาตรฐาน เราต้องทำให้เป็นมาตรฐานเพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง

3.โครงการไม่ตอบสนองต่อผู้ใช้แรงงาน มีการทำอาคารชุดชาวต่างชาติไม่สามารถซื้อได้ ถ้าให้อยู่ต่าง ๆ ต้องทำอาคารเช่า

4. กฎระเบียบ ไม่รองรับชาวต่างชาติ

5.งบประมาณของรัฐ 

6.ไม่มีนโยบายที่แน่นอน

ความเสี่ยง

1.ไม่มีสินค้าส่งตามเป้าหมาย

2.ความล้าช้า ส่งไม่ตรงเวลา

ยุทธวิธี

  1. ปรับปรุงกฎระเบียบ แบบบ้านให้เป็นแบบมาตรฐาน
  2. ขึ้นทะเบียนผู้รับจ้าง
  3. การสร้างอาคารมากขึ้น
  4. นโยบายรัฐบาลในการอุดหนุนต้องชัดเจน

 

กลุ่มที่ 3 การไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศจะได้ Partnership ใหม่ ๆ  ถ้าเรียนรู้และพิจารณารอบคอบ การล้มจะไม่มี

  • การเคหะมีทุนมนุษย์ที่ไม่ธรรมดา แต่ยุทธวิธีไม่ได้มีการพัฒนาทุนมนุษย์เลย
  • อันดับแรกวิสัยทัศน์ พันธกิจ กับบุคลากรที่มีอยู่เหมาะสมหรือไม่ ยังไม่เพียงพอ บุคลากรเก่าทำอย่างไร ใหม่ทำอย่างไร

บุคลากรเก่าต้องเตรียมความพร้อมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ภาษา วัฒนธรรม จริยธรรม เทคโนโลยี การพัฒนาข้ามศาสตร์ คิดนอกกรอบ การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างประเทศ ต้องให้ทุนในการเพิ่มพูนความรู้ ทำวิจัยส่วนไหนที่ขาด เช่นให้คนรุ่นใหม่ไปเรียนปริญญาโทมากขึ้น

  • การปรับโครงสร้าง เพื่อมุ่งไปสู่ AEC ได้ประสบความสำเร็จมากขึ้น
  • การบริหารแบบมีส่วนร่วม ต้องมีการกระจายอำนาจในหลาย ๆ เรื่อง ผู้นำต้องเป็นผู้นำที่รอบรู้ นำสู่ AEC ได้ ต้องมีแผนชัดเจน มีระยะเวลาปฏิบัติตามแผน ในอนาคตจะรับคนใหม่ ต้องรับคนเก่งเข้ามาไม่ใช่เส้น ต้องรักษาคนเก่งไว้ให้ได้ เช่น แรงจูงใจ ค่าตอบแทน การหาความรู้เพิ่มเติม

 

  • การสร้างพันธมิตรในประเทศและต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนทุนมนุษย์
  • จริยธรรมต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วย

อาจารย์จีระ บอกว่า การเข้าสู่ AEC ต้องเตรียมความพร้อม วิสัยทัศน์ต้องมี Action ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นแค่ Dream  , ต้องมีการนำไปสื่อสารกับผู้ใหญ่  มีโต๊ะอาเซียน ต้องรู้ให้จริง ต้องพัฒนาคน และทำวิจัยด้วย

 

กลุ่มที่ 4 เสนอโครงการ 2 โครงการที่น่าสนใจเชิงรุกในการเชื่อมโยงการเคหะฯ สู่ AEC และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1.โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านที่อยู่อาศัย

  • อาจารย์จีระยกตัวอย่าง Sport Academy ที่ มศว. อย่าง การเคหะฯ อาจมีการทำ Housing Academy เป็นต้น อยากให้เริ่มต้นด้วยการมี International Dialogue

2.มีการเคลื่อนย้ายประชากรในประชาคมอาเซียน ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่เช่น แรงงานที่บ้านชายแดนติดกับเรา

 

ดร.พงษ์ชัย

จากที่กลุ่ม 2 พูดเรื่องพันธกิจของการเคหะ จากโอกาสกลุ่ม 1 นั้นต้องไปแก้พันธกิจบางอย่าง

จุดอ่อน มีกฎระเบียบที่ไม่เอื้อคือ 1.พันธกิจของตัวการเคหะเอง 2. กฎระเบียบ 3.วิธีการทำงานที่ช้าไม่ได้มาตรฐาน

เสนอว่า ถ้านำทุกอย่างมาเรียงร้อยกันที่ติดใน พ.ร.บ. กับกฎระเบียบต่าง ๆ  ต้องขยาย Scope เพิ่มขึ้น น่าจะเป็นประเด็นหลัก ๆ ที่เชื่อม

จากที่กลุ่ม 1 จุดแข็งพูดมาไม่สะท้อนภาพลักษณ์ปัจจุบัน อาจต้องมีการ Rebrand ใหม่

แหล่งเงินทุน ถ้ามีการเปลี่ยนพ.ร.บ. อาจต้องมีการนั่งคุยกันว่าจะปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.รูปแบบไหนให้เดินไปได้มากขึ้น  ต้องมี SBU ที่ชัดเจน  อาจมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อระดมทุนได้

กลุ่ม 3 โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ

หน่วยงานคล้ายเราคือสิงคโปร์ การที่การเคหะฯ ลุกขึ้นมาเป็น Leader  ต้องทำหน้าที่เป็นคนชงในเรื่อง Agenda ที่เราต้องการเสนอต่อผู้นำระดับประเทศ ไม่ใช่แค่เรื่องสัมมนา แต่เป็นการยิงเป็น 1 กิจกรรม ที่เราต้องแสดงออกมาให้เห็นว่าเมื่อเป็น Low Income Housing ต้องนึกถึงการเคหะอันดับแรก สรุปคือคิดมากกว่าสัมมนา แต่ต้องคิดว่า 2-3 ปีจะเป็นองค์กรชั้นนำ ด้าน Low Income Housing อย่างไร และมีกิจกรรมอะไรบ้าง

กลุ่ม 4

อยากให้คิด Business Model ให้ชัด กำไรขาดทุนให้ชัด ให้คิดว่าสุดท้ายเป็น Brand ของการเคหะฯ ต้องให้เรายืนอยู่ได้ด้วยตนเอง

ดร.โสภณบอกว่า

  • การมี National Housing Authority สามารถขยายตัวได้
  • อาคารเช่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร วางแผนอย่างไร
  • Cross Subsidy ต้องสร้างบ้านราคาแพงหน่อย รู้ว่าเพื่อช่วยในการสร้างบ้านคนจน

อาจารย์จีระ บอกว่าการเคหะฯ ต้องเปลี่ยนจากปลามาเป็นไก่ เคลื่อนจากความรู้สึกจากลบมาอยู่ตรงกลาง  เปลี่ยนจาก Quantity เป็น Quality

  • ต้องคิดที่จะเสนอปรับปรุง Amendment  พัฒนาสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร
  • การพัฒนายั่งยืน ระยะสั้นต้องช่วยให้ระยะยาวอยู่รอด  เนื่องจากเราต้องอยู่ใน Community ให้ได้ เราต้อง Collaborate กับเพื่อนบ้าน เราต้องเข้มแข็งและอยู่กับต่างประเทศให้ได้ เราต้องสามารถพึ่งตนเองได้
  • ต้องเขียน Project proposal ,Project Document ให้เป็น

ดร.โสภณ    

  • ตัวอย่าง Model ที่มีอยู่แล้วต้องลองให้คนอยู่ฟรี
  • บุคลากร ต้องดูแลบุคลากรให้ดีตัวอย่างเช่น สายการบินต่าง ๆ ธนาคารต่างๆ
  • ปัจจัยการผลิตแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ต้องเลือกคนดี ๆ มาทำงาน ให้สวัสดิการดี ๆ รักษาคนดีให้อยู่กับเรา เพื่อสร้างทางเลือก

ผอ.อรุณี

  • จุดแข็งของการเคหะฯสมัยก่อนดังกว่านี้ แต่ปัจจุบันเริ่มเลือนไป จุดแข็งเอาใครเป็น Benchmark เก่งในประเทศไทย เก่งเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ มาเลเซีย เขารู้จักเราหรือเปล่า
  • การชงเรื่องอย่าง Bottom Up เราต้องวิเคราะห์อย่างดีแล้ว ถ้าเด็กข้างล่างไม่เอาด้วย ข้างบนจะไปไม่รอด
  • โครงการฯ เรื่องลดความยากจน กับการศึกษาสามารถมองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประชุมสัมมนา และเสนอข้อมูล
  • ตัดมาเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยได้

 

 

 

 

ธวัช บุญครองเกียรติ

2 กค. 55 การบริหารธุรกิจในประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) มีข้อสรุปดังนี้ - AEC มีความเป็นมาอย่างไรและมีทิศทางต่อไปอย่างไร - มองภาพ AEC เป็นองค์รวม และไกลไปถึง AEC+3 , AEC+6
- มองจุดสำคัญที่หน้าสนใจด้านอื่นๆ ในตลาดของ AEC เป็นการเพิ่มช่องทางขยายสินค้า บริการ - AEC เป็นตลาดร่วมมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี เช่น สินค้า เงินทุน บริการ แรงงาน และมีการแข่งขันมากขึ้น - คิดเป็นระบบ มองการเชื่อมโยงของ AEC กับ FTA , WTO มีผลกระทบภาษีนำเข้า ส่งออก - ต้องรู้เขารู้เราและรู้จริงจึงรอด - หาจุดประสงค์กลุ่มเป้าหมายลูกค้าใน AEC เกี่ยวกับการอยู่อาศัย - ประชากร AEC มีไม่น้อยกว่า 600 ล้านคน กคช. ได้รับผลกระทบจาก AEC อย่างไรบ้าง - เป็นการเปิดธุรกิจการผลิตและบริการ ใน AEC ให้ใหญ่ขึ้น - ต้องเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่แข็งแรง - การนำเข้าของวัสดุก่อสร้าง นวัตกรรมใหม่ มีการเสียภาษีน้อยลง ระยะเวลาการก่อสร้างลดลง ราคาถูกลง - ต้องใช้มืออาชีพที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ยอมรับมาตรฐานวิชาชีพใน AEC - ต้องมีการปรับปรุงกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การบริการชุมชน ที่เกี่ยวข้องให้รองรับ AEC - ใช้จุดแข็ง ปรับจุดอ่อน ดึงทุนมนุษย์มาใช้ในการก้าวไปสู่ AEC - ต้องมี MODEL ใหม่ๆมากขึ้น - ฐานรายได้ต่างกันมาก - มีการเชื่อมโยงระบบคมนาคมระหว่างประเทศมากขึน เพื่อรองรับระบบขนส่ง

                                                                                             ธวัช บุญครองเกียรติ
                                                                                                    9 กค. 55

สวัสดีครับทุกท่านในรุ่น 2 วันที่ 9 มิถุนายน 2555 เราเรียนเรื่องเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งก่อนเรียนผมมีคำถามในใจว่าทำไม่เราต้องสนในเรื่องประชาคมอาเซียนในขณะที่ข่าวจากหนังสือพิมพ์กำลังวิพากษ์วิจารย์ปัญหาของอียูที่เกิดในกรีก สเปน อิตาลี จะทำให้อียูต้องล่มสลายหรือไม่ แล้วประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเริ่มต้นในปี 2015 จะมีปัญหาในอนาคตแบบอียูหรือไม่ อ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ซึ่งได้มาบรรยายในภาคเช้าได้ให้คำตอบผมว่าประชาคมอาเซียนนั้นไม่เหมือนอียูเพราะประชาคมอาเซียนเป็นการรวมกันเป็นเขตการค้าเสรี แต่อียูได้มีการพัฒนาจากเขตการค้าเสรีไปจนถึงการใช้เงินสกุลเดียวกัน ปัญหาที่เกิดในอียูจะไม่เกิดกับประชาคมอาเซียนเพราะเป็นเพียงการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งจะมีการเปิดเสรีทางการค้าโดยมุ่งให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในกลุ่มประชาคมอาเซียนในด้านสินค้า/แรงงาน/บริการ/เงินทุน นอกจากนี้อ.สมชายได้นำเสนอว่าการมองโลกเศรษฐกิจปัจจุบันให้มองเป็นโลกในแนวราบ(มองจากกูเกิลใช้ไม่ได้) อีกทั้งปัจจุบันโลกเราเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารมากมายแต่เดิมเราเรียนกันตรี/โท/เอกเพื่อหาความรู้ ซึ่งใช้ไม่ได้ในปัจจุบันเพราะการเรียนมากอาจทำให้เรากลายเป็นคนโง่และเราไม่สามารถเรียนรู้ได้หมด (อันนี้ท่าจะจริงเหมือนองค์กรเราแสวงหาเครื่องมือหรือต้องถูกบังคับให้ทำ และมีที่ปรึกษามากมายมาช่วยในการบริหารแต่ทำให้พวกเราต้องทำงานหนักเพื่อตอบคำถามเครื่องมือเหล่านั้น) ดังนั้นเทคนิคในการบริหารจัดการยุคโลกภิวัฒน์ การมองต้องมองอย่างเป็นองค์รวม คิดเป็นระบบ จัดระบบความคิด ต้องมีการบริหารจัดการข้อมูล ข้อมูลอะไรควรศึกษาอย่างลึกซึ้ง หรือข้อมูลอะไรควรปล่อยผ่านและทิ้ง(อันนี้ปฏิบัติได้ทันที) และการบริหารจัดการที่ดีต้องคิดอย่างเชิงกลยุทธ์ รู้เข้ารู้เรา มองให้เป็นระบบ และทำนายอนาคต

สำหรับภาคบ่ายมีอ.อรุณี พูลแก้ว จากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มาบรรยาเพิ่มเติมในรายละเอียดของการเป็นประชาคมอาเซียน และอ.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุลมาพูดถึงแนวโน้มและการปรับตัว โดยแนวโน้มที่อ.พงษ์ชัย คาดการณ์ประการหนึ่งผมคิดว่าน่าสนใจสำหรับการเคหะฯ คือจะมีคนจนในเมืองใหญ่ๆ มีมากขึ้น ปัญหาชุมชนมีมากขึ้น และความต้องที่อยู่อาศัยมีมากขึ้น ( เหมือนกับเวลาที่การเคหะฯ นำเสนอโครงการที่อยู่อาศัยจะมีคำพูดแบบนี้) ซึ่งนำไปสู่การทำ workshop ในการวิเคราะห์การเคหะฯว่าจะทำอะไรเมื่อเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน โดยส่วนตัวผมยังมองไม่เห็นถึงผลกระทบของการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนกับการดำเนินงานของการเคหะฯ หรือการแสวงหาโอกาสในการดำเนินงานใหม่เพราะในชั่วโมงก่อนหน้านี้ อ.พงษ์ชัยได้มาเน้นย้ำแล้วว่าสถานะทางการเงินของการเคหะฯ เป็นอย่างไรเมื่อมีรายจ่ายประจำสูงถึงปีละ 800 ล้านบาท  ดังนั้นผมยังมองไม่เห็นโอกาสครับเพราะการจะทำอะไรต้องลงทุนจะหวังพึงเงินอุดหนุนจากรัฐคงไม่เพียงพอ ซึ่งอ.จิระพยามแนะนำให้คิดโครงการให้โดนใจฝ่ายการเมืองเพื่อได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลมทำ แต่เงินอุดหนุนไม่ได้เป็นแหล่งรายได้ที่เราจะนำมาแก้ไขปัญหาเรื่องรายรับ-รายจ่ายของทุกๆปี น่ะครับ

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 อบรมในหัวข้อการบริหารธุรกิจในยุค AEC ขอเรียนว่าเป็นหัวข้อที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมมากที่สุดเพราะในฐานะบุคลากรขององค์กร ก็อยากทราบว่าองค์กรต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร และต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง ซึ่งท่านวิทยากร ประกอบด้วย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, คุณอรุณี พูลแก้ว , ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล และดร.โสภณ พรโชคชัย ได้กรุณามาให้ความรู้และแนวคิดในรูปแบบการอภิปราย ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ยอมรับว่าการอบรมวันนี้ไม่มีอะไรมารบกวนสมาธิได้ มีสิ่งมองแล้วน่าจะเป็นโอกาส และภัยคุกคามควบคู่กันไป เนื่องจากการเข้าสู่ AEC ถ้าองค์กรหรือหน่วยงานใดไม่มีความพร้อม และไม่ปรับเปลี่ยนก็จะอยู่ไม่ได้ ถ้าพร้อมจะมองเห็นโอกาสมากมาย

สิ่งที่การเคหะแห่งชาติต้องเตรียมพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก มองภาพใหญ่ ๆ เป็น 2 เรื่อง คือการพัฒนาทุนมนุษย์ และการบริหารจัดการองค์กรรองรับ AEC ซึ่งในกลุ่มได้รับโจทย์หัวข้อนี้พอดี และได้รับความกรุณาจากท่าน ศ.ดร.ย์จีระฯ และ ผศ.ดร.พงษ์ชัย ชี้แนะให้เห็นแนวทาง ดังนี้ การพัฒนาทุนมนุษย์เน้นการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ การให้ทุนศึกษาต่อ การเน้นทักษะทางด้านภาษาของสมาชิก AEC การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับประเทศ อาจจะเป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างชาติในเนื้องานที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องของกันและกัน การบริหารจัดการ อาจต้องตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อรองรับ AEC ,การบริหารแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่แบบ top down เพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ AEC อาจมีผลกระทบกับการเคหะฯ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ กรณีที่มีบุคลากรขององค์กรที่มีฝีมือและประสบการณ์สูง อาจถูกซื้อตัวไปอยู่ต่างประเทศซึ่งมีแรงจูงใจที่ดีกว่า หรือ หากมีแรงงานข้ามชาติเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าขอเช่าบ้าน บุคคลต่างชาติที่ประสงค์จะเข้าทำงาน หรือต้องการมายื่นซองเสนอราคา ฯลฯ การเคหะแห่งชาติจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องการสื่อสาร กฏ ระเบียบข้อบังคับ ก่อนล่วงหน้าพอสมควร

ประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN อบรมวันที่ 9 ก.ค.2555

                ผู้บริหารที่เก่งต้องรู้ว่าทุกวันนี้เราอยู่ในสังคมข่าวสาร สังคมแห่งความรู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ KM (knowledge Management) สำหรับเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ Peter M. Senge เป็นชื่อที่หลายคนคงคุ้นหู โดยเฉพาะผู้ที่รักการเรียนรู้และแสวงหาแนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นคนเก่งคนดี มีวินัยในการพัฒนาและต่อยอดความสามารถของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้พื้นฐานวินัย 5 ประการ ที่ทุกคนจะต้องศรัทธาและร่วมถือปฏิบัติ โดยเชื่อว่าบุคคลสามารถผสมผสานความใฝ่ฝันของตนเองเข้ากับการทํางานที่ดีขึ้นในระยะยาว และผลจากความพยายามดังกล่าวจะนําไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด พื้นฐานวินัยดังกล่าว ได้แก่
                1. Personal mastery เพิ่มศักยภาพของตนเองได้ เพื่อผลสําเร็จที่ดีกว่าโดยมุงมั่นในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีการกําหนดจุดมุ่งหมายในตัวเอง
                2. Mental models มุ่งสะทอนความคิด ทัศนคติ และการยอมรับทั้งของตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งจะพัฒนาต่อเป็นพื้นฐานด้านอารมณ์ (EQ) ของคน
                3. Share vision มุ่งเน้นการมีสวนร่วมทางความคิด การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้แนวคิดที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับของทุกคน
                4. Team learning มุ้งเน้นการทํางานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิด การเรียนรู้และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
                5. System thinking การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ มีเหตุและผล ซึ่งการคิดอย่างเป็นระบบนี้จะพัฒนาขึ้นตามวัย ส่วนจะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

                สำหรับวินัยข้อที่ 5 หรือเรียกว่า The Fifth discipline การคิดอย่างเป็นระบบมีความแตกต่างกันระหว่างคำว่า Systematic thinking กับคำว่า Systemic thinking หรือ System thinking
                Systemic thinking หรือ System thinking เหมือนกัน คือ การคิดเชิงระบบเป็นกระบวนการในการเรียนรู้มีหลักอยู่ 4 ประการ คือ
                (1) รู้
                (2) รู้อย่างเดียวไม่รอดต้องรู้จริง
                (3) ตระหนัก
                (4) นำสิ่งที่รู้ไปใช้ได้เป็นล้าน ๆ ครั้ง

                Systematic thinking คือ การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่คนมีความสามารถในการจัดระบบความคิดทำให้สิ่งที่ยากกลายเป็นสิ่งที่ง่าย คนพวกนี้จะมีความคิดต่อไปข้างหน้า  

                สมองของคนเรามีความจำกัดในเรื่องที่จะจดจำ การทำงานต้องวางแผนล่วงหน้าให้แก่ตนเอง ถ้าวางแผนดีจะมองเห็นทั้งโลกในเวลาเพียงเล็กน้อย สมองจึงควรจดจำในสิ่งที่ควรจดจำ ถ้าไม่ใช่ก็ตัดออก คนที่ทำงานเก่ง คือ พวกที่ทำงานด้วยจิตใจ จิตวิญญาณ ทำให้ค้นพบตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญอย่าทำอะไรที่เป็นแต่ Core competency เพราะจะไม่ประสบความสำเร็จ ควรค้นหาตัวตนว่ามีความชำนาญในเรื่องอื่น ๆ จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าอยากทำแต่ทำเองไม่ได้เพราะไม่ชำนาญก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยและคิดอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดกำไรได้ ตัวอย่างที่เห็นในปัจจุบัน คือ การทำงานของ Bank มีการเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของลูกค้าที่ชอง one stop service จึงมีการเปิดทำการในห้างสรรพสินค้า ทำงานนอกเวลาปกติ มีธุรกรรมอื่น ๆ เช่น ให้สินเชื่อรถยนต์ การให้บริการประกันภัย บัตรเครดิต

                ประชาคมเศรษฐกิจ ทุกแห่งในโลกจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ สินค้า บริการ แรงงาน และเงินทุนเสมอ นอกจากนี้ยังมีลักษณะเป็นตลาดร่วม และเป็นตลาดเดียว
                ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน พื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) Asean จะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากจนคิดไม่ถึง

                AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
                1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
                2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
                3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
                4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

                เมื่อเปิดเสรีการเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆ ประกอบด้วย การลงทุนจะเสรีมากขึ้นใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและการบินเพราะว่าอยู่กลาง Asean การค้าขายจะขยายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะการค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมาก ภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้จะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหารเพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง

                การขนส่งที่เปลี่ยนแปลง East-West Economic Corridor (EWEC) การขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.เส้นทางเริ่มที่ เมืองท่าดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศ ลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆ ถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองมะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย มันจะมีผลที่ดีคือ การขนส่ง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก การที่ไทยอยู่ตรงกลางทำให้เราขายของได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้  ที่ดินในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้น
                พม่า มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่,ท่าเรือขนาดใหญ่) ที่เส้นทางสอดคล้องกับ East West Economic Corridor โดยทวายจะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดีย หรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีน เช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน

                การเคหะฯ ควรมีบทบาทยกระดับสู่ AEC และต้องพิจารณาว่าอะไรมีผลกระทบกับ กคช.ทั้งโอกาสและภัยคุกคาม ควรกำหนดยุทธศาสตร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า เรื่องที่ควรจะมีบทบาทมากที่สุดคือควรเป็นผู้นำในเรื่อง Low income Housing ของภูมิภาค Asean เรียกได้ว่าเมื่อจะพูดถึง Low income Housing ต้องนึกถึงการเคหะฯ พื้นที่บริเวณชายแดนมีอยู่หรือไม่จะทำอะไรกับพื้นที่เหล่านั้นควรคิดโครงการได้แล้ว

                พันธกิจของ กคช.ต้องตอบสนองจุดแข็งได้โดยเฉพาะในเรื่องความสามารถของคนของ กคช.ที่มีความเชี่ยวชาญควรรักษาไว้ ในเรื่องของจุดอ่อนคือกฎระเบียบ (พรบ.การเคหะฯ) การทำงานล่าช้าทำให้ส่งสินค้าไม่ทันเวลาควรได้รับการแก้ไข การทำบ้านพักแรงงานประเภทเช่าควรพิจารณาดำเนินการเพราะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ แหล่งเงินทุนก็เป็นเรื่องที่สำคัญต้องมีความคล่องตัวแต่ไม่ถึงกับแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อาจทำเป็น SBU (Strategic Business Unit) เพื่อให้ทำการระดมทุนได้ง่ายขึ้น การขายบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อยต่อไปก็ต้องคิดถึงกำไรไว้ด้วย 

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

10 กรกฎาคม 2555 จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 เรื่องการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

1. ได้ทราบถึงที่มาตั้งแต่เริ่มแรกการจัดตั้งวิวัฒนาการ STEP ต่าง ๆ ของ AEC การรวมตัวที่ผ่านมา และทราบถึงอนาคตว่ามีข้อตกลงในด้านต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนย้ายแรงงานได้ การปรับเปลี่ยนพิกัดภาษีของสินค้า ทราบชนิดสินค้าที่จะมีการปลด/ยกเลิกภาษี เป็นต้น

2. เมื่อทราบถึง STEP ต่าง ๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วให้พิจารณาสถานภาพความสามารถ ศักยภาพ จุดแข็งจุดอ่อนของเราเองในทุก ๆ ด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ เพื่อให้ชนะในตลาดได้

3. วิเคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างของความสามารถในการแข่งขันทุก ๆ ด้าน วิเคราะห์ความต้องการ แนวโน้ม ทิศทางการลงทุน การเคลื่อนย้ายทรัพยากร นำมาปรับกลยุทธ์ กำหนดยุทธศาสตร์ของ กคช. เพื่อการรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงและการรุกไปข้างหน้าอย่างมืออาชีพ

4. ให้มีการเฝ้ามองและติดตามการเปลี่ยนแปลง และวิเคราะห์เพื่อทราบก่อน และเตรียมพร้อมรับมือในอนาคต

5. ให้ตระหนักว่าต้องรอบรู้จริงเชิงลึก และต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ที่ได้รับการฝึกฝนมาดีด้วยวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพจึงจะเข้าสู่การแข่งขันระห่าง AEC อย่างผู้ชนะได้

6. การเคหะแห่งชาติมีความชำนาญในการพัฒนาชุมชนสร้างชุมชนใหม่ ชำนาญการบริหารการก่อสร้าง มีวิศวกร และสถาปนิก ช่างเทคนิค ที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์จำนวนมาก สามารถพิจารณาหาแนวทางสร้างที่อยู่อาศัย สร้างชุมชน เพื่อรองรับบริการย่านการค้าชายแดน และเส้นทางคมนาคมหลัก เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายประชากร และการเคลื่อนไหวของผู้คนในทิศทางต่าง ๆ ได้

7. การเคหะแห่งชาติสามารถแลกเปลี่ยน/ส่งออกเทคโนโลยีและวิศวกรรมการบริหารการก่อสร้าง การบริหารชุมชน โดยแลกเปลี่ยน/ส่งออกไปยังประเทศสมาชิกได้

8. การเคหะแห่งชาติสามารถเข้าสู่การแข่งขัน AEC ได้ โดยต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลง เช่น ปรับโครงสร้างตั้งหน่วยงานรองรับการมุ่งไป AEC จัดการให้มีการบริหารแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น ด้านผู้นำต้องรอบรู้ ให้ความสำคัญและพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง มียุทธศาสตร์ชัดเจน มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน การรับบุคลากรใหม่ต้อง RECRUDE อย่างมีทิศทาง หรือรับคนเก่ง ๆ มาเป็นพนักงาน มีความสัมพันธ์/แลกเปลี่ยนทุนมนุษย์กับสมาชิกในกลุ่ม AEC

9. จัดทำโครงการร่วมมือระหว่างประเทศด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย

10. เสนอแนะรวบรวมและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง/ชุมชน/ที่อยู่อาศัย ที่ล้าหลัง เป็นอุปสรรค และทำให้เปิดกว้างสู่ปฏิบัติการระหว่างประเทศได้

-------------

10 กรกฎาคม 2555

วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 อ.รวิภาส กล่ำทวี โดย สุพจน์ มัฆวิบูลย์

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

ทุนมนุษย์ ในที่นี้หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร สามารถพัฒนาต่อยอดได้

ขีดความสามารถเชิงกลยุทธ์

หมายถึง ขีดความสามารถ ศักยภาพของมนุษย์ในองค์กร ที่นำมาทำกิจกรรมในองค์กรให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์ SWOT ขององค์กร จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ในความเห็นของ อ.รวิภาส จุดอ่อนในองค์กร เกิดจากคนในองค์กร และโครงสร้างองค์กร การวิเคราะห์ SWOT ต้องวิเคราะห์ปัญหาทั้ง ระยะกลาง และระยะยาว 2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ เอาผลวิเคราะห์จาก SWOT ซึ่งต้องนำทั้งภายใน – ภายนอก พิจารณา / การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ต้องพิจารณาแต่ละหน่วยงานในองค์กรหน่วยงานใดต้องเพิ่มความสามารถที่เหมาะสม เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ความรู้ทางด้านเทคนิคในงาน 3. กำหนดแผนงานที่ชัดเจน 4. การนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เช่น การรับพนักงานเพิ่มในกรณีขาดแคลนพนักงาน 5. การติดตามผล และการควบคุมดูแล ปรับปรุง แลประเมินผล ทุนมนุษย์ จะประกอบด้วย 1. ความรู้ 2. ทักษะ 3. สมรรถนะ / ศักยภาพในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ปัจจัยที่ทำให้การบริหารทุนมนุษย์ประสบผลสำเร็จ 1. ความเป็นผู้นำในองค์กรจะต้องเกิดขึ้น และมีความต่อเนื่องไม่สิ้นสุด 2. ต้องมีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์ให้รอบด้าน โดย

 2.1  วิเคราะห์การบริหารองค์กร

2.2 เอาปัญหามากำหนดเป็นทิศทางองค์กร 2.3 เขียน / จัดทำแผนปฏิบัติการ 2.4 นำไปปฏิบัติ 2.5 ติดตาม / ประเมินผล ข้อเสนอแนะ 1. การสร้างมนุษย์ควรเป็นวาระแห่งชาติ 2. ต้องมีระบบการศึกษาที่เอื้อต่อการสร้างมนุษย์เพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่ สี่ ของการเข้าโครงการ ในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 วันนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ของคำว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นมนุษย์ที่อยู่ในองค์กรต่าง ๆ ให้หมายถึง ทรัพย์สิน โดยมีความเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเพิ่มเติมความรู้ จากการบริหารจัดการหลัก ๆ ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ เป็นการนำสองคำมาเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนมนุษย์ กับกลยุทธ์ กลยุทธ์ หรืออีกมุมมองหนึ่ง ก็คือยุทธศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน หมายถึง กระบวนการที่มีตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงเป้าหมายสุดท้าย ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ก็คือ การดึงเอาขีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และภูมิปัญญาของบุคคล ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับภาระกิจต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ตรงตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กรที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการหลัก 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ต้องวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ SWOT 2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง 3. วิเคราะห์อัตรากำลังในองค์กร ซึ่งเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบุคคลเท่านั้น ผู้บริหารทุกท่านจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ ว่าความชำนาญด้านใดที่จำเป็น หากองค์กรมีกลยุทธ์มุ่งไปสู่ AEC เป็นต้น 4. กำหนด แผนปฏิบัติการ ตั้งแต่การจ้างบุคคลากร จนถึงกระบวนการนำไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถ เพื่อไปปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ 5. IMPLEMENT THE ACTION PLAN 6. MORNITOR , EVALUATE , AND REVISE PLAN การสร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ ความรู้ความสามารถ ปัจจัยที่สำเร็จในการบริหารทุนมนุษย์ ก็คือ LEADERSHIP หมายถึงว่า ผู้นำในองค์กรจะต้องให้เกิดการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ครบถ้วน เชิงบูรณาการ และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นเรื่องที่หวังผลลัพธ์ นอกจากนี้ มีการฝึกกิจกรรม การใช้สมองด้านขวา เหมือนว่าเป็นการเค้นเอาความรู้ความสามารถตอบโจทย์ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด กิจกรรมนี้ชอบมาก รวมทั้งให้คิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือ MIND MAP

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่ สี่ ของการเข้าโครงการ ในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 วันนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ของคำว่า ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นมนุษย์ที่อยู่ในองค์กรต่าง ๆ ให้หมายถึง ทรัพย์สิน โดยมีความเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเพิ่มเติมความรู้ จากการบริหารจัดการหลัก ๆ ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ เป็นการนำสองคำมาเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนมนุษย์ กับกลยุทธ์ กลยุทธ์ หรืออีกมุมมองหนึ่ง ก็คือยุทธศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน หมายถึง กระบวนการที่มีตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงเป้าหมายสุดท้าย ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ก็คือ การดึงเอาขีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และภูมิปัญญาของบุคคล ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับภาระกิจต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ตรงตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กรที่ตั้งไว้ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการหลัก 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ต้องวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ SWOT 2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง 3. วิเคราะห์อัตรากำลังในองค์กร ซึ่งเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบุคคลเท่านั้น ผู้บริหารทุกท่านจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ ว่าความชำนาญด้านใดที่จำเป็น หากองค์กรมีกลยุทธ์มุ่งไปสู่ AEC เป็นต้น 4. กำหนด แผนปฏิบัติการ ตั้งแต่การจ้างบุคคลากร จนถึงกระบวนการนำไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถ เพื่อไปปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ 5. IMPLEMENT THE ACTION PLAN 6. MORNITOR , EVALUATE , AND REVISE PLAN การสร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ ความรู้ความสามารถ ปัจจัยที่สำเร็จในการบริหารทุนมนุษย์ ก็คือ LEADERSHIP หมายถึงว่า ผู้นำในองค์กรจะต้องให้เกิดการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ครบถ้วน เชิงบูรณาการ และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นเรื่องที่หวังผลลัพธ์ นอกจากนี้ มีการฝึกกิจกรรม การใช้สมองด้านขวา เหมือนว่าเป็นการเค้นเอาความรู้ความสามารถตอบโจทย์ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด กิจกรรมนี้ชอบมาก รวมทั้งให้คิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือ MIND MAP

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

ขออนุญาตส่งการบ้านครั้งที่ 5 นะคะ

อรพิณ

สรุปการอบรมครั้งที่ 5  วันที่  9  กรกฎาคม 2555

เรื่อง การบริหารธุรกิจในยุค AEC

           อ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ สอนให้คิดเป็นระบบ และต้องบริหารข้อมูลให้เป็น การรู้ข้อมูลมากแต่เพียงอย่างเดียวโดยรู้ไม่จริง อาจจะไปไม่รอด ข้อมูลใดที่ไม่สำคัญ ต้องตัดทิ้งบ้าง ต้องตระหนัก และความรู้ที่มีต้องเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

           องค์กรจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน นอกจากจะมีกำไรแล้ว คนในองค์กรต้องทำงานอย่างมีความสุขด้วย งานที่ออกมาจึงจะมีประสิทธิภาพ

นักคิดเชิงกลยุทธ์

          ต้องรู้ว่าขณะนี้เราอยู่ตรงไหน  ต้องการไปไหน และจะไปด้วยวิธีใด

การบริหารการจัดการที่ดี  ควรปรับวิธีคิด :  บริหารสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง 

AEC (ลอกมาจาก EEC)  ก่อให้เกิด

  1. ตลาดและฐานการผลิตร่วม
  2. เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

AEC  โดยสรุป

  1. ภาษีต้องเป็นศูนย์
  2. คนเข้ามาลงทุนอย่างเป็นเสรีมากขึ้น ต่างชาติมาลงทุนได้ 70%
  3. มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี  มีสิทธิเข้ามาขอใบอนุญาต ในอาชีพ 7 อาชีพ ได้แก่ หมอ  หมอฟัน นางพยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ นักบัญชี
  4. เคลื่อนย้ายเงินลงทุนได้อย่างเสรี

AEC  ทำให้ประชาคมเศรษฐกิจทุกแห่งในโลกคือมีความหมายเหมือนกันคือการเป็นตลาดร่วม

การเข้าสู่ AEC จะต้อง

  1. เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน
  2. ปรับกฎเกณฑ์
  3. ปรับโลจิสติกส์

ผลกระทบของAEC ที่มีต่อการเคหะ   คือการเพิ่มตลาด  และเพิ่มแหล่งเงินทุน

   พร้อมทั้งควรเน้นเรื่องการพัฒนาชุมชนของประเทศไทยด้วย                  

บรรยากาศ เรื่อง การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ และ คุณอนุรัตน์ ก้องธุรณินทร์ ดำเนินการอภิปราย

บรรยากาศ การบรรยายร่วม หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ และ คุณอนุรัตน์ ก้องธุรณินทร์ ดำเนินการอภิปราย

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

โดย คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ และ ดร.สุรพงษ์ มาลี

ดำเนินการอภิปรายโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

สนใจใน 2 เรื่องคือ

  • 3 Laws Performance ทำอย่างไรให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม
  • บริหารธุรกิจครอบครัวทำอย่างไร

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

  • การบริหารความเสี่ยง ได้เข้ามาติดตามและประเมินผลของการเคหะแห่งชาติ นับว่าการเคหะเป็นองค์กรแรก ๆ ที่เข้าสู่ระบบ KPI  ,PMQA, Sepa
  • ระบบรัฐวิสาหกิจทุกอย่างต้องขอจากกระทรวงการคลังหมด ต้องมีความสามารถในการแข่งขันด้วย ดังนั้นขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงมีความสำคัญสูงมาก ได้ปรึกษา WTO เรื่องแนวทางการพัฒนาการกำกับดูแลในเรื่องผลงาน ควรกำกับดูแลอย่างไร  กระทรวงการคลังจึงจัดตั้งการกำกับดูแลในเรื่องของ Trist ขึ้นมาทำเรื่อง Rating   รวมถึงการมองในเรื่องการพัฒนา Infrastructure ต่าง ๆ ได้มีการจัดทำประเมินผลรัฐวิสาหกิจขึ้นเป็นครั้งแรก
  • ปี 2538 การประเมินผลรัฐวิสาหกิจ เริ่มโดย Trist ต่อมา ก.พ. เริ่มมีความตื่นตัวด้วยเช่นกัน
  • การประเมินผลในระยะแรก เน้นประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินงาน
  • คุณภาพของการบริหารจัดการองค์กร ในระยะแรก ๆ เริ่มดูมากขึ้น แต่ยังไม่เข้มข้นเท่าไหร่
  • การประเมินผลงานอย่างเดียว ต้องมีแนวคิดจาก 2 ข้างที่สำคัญเหมือนกัน  แต่ต่อมาเริ่มมีปัญหาเนื่องจากผลงานที่ทำนั้นมีปัญหาหรือไม่ หรือเป็นได้แค่ระยะสั้น ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เท่ากัน คณะที่ปรึกษาไม่แน่ใจว่าจะได้รับข้อมูลทั้งหมด พอทำไปรัฐวิสาหกิจเริ่มแข็งแกร่งขึ้น พบว่ารัฐวิสาหกิจมี 2 บัญชี คือ บัญชีจริง และบัญชีที่ใช้เสนอกับกระทรวงการคลัง  ต่อมาทางกระทรวงการคลัง และผู้ทรงคุณวุฒิเริ่มมาดูเรื่องคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรก็มีส่วนสำคัญ เริ่มแรกคือ เรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์  
  • การดูในเรื่องระบบการควบคุมภายใน ,การดูในเรื่องระบบการควบคุมไอ.ที.  ,การเน้นการให้ความสำคัญเรื่องการบริหารความเสี่ยง  พบว่าการบริหารความเสี่ยงของรัฐวิสาหกิจเริ่มมีความเข้มแข็ง สามารถทำได้ลักษณะ Best Practice ได้เลย  การพัฒนาอย่างเอาจริงเอาจัง การบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ทำให้การประเมินผลของการเคหะฯอยู่ในระยะ 3 ปลาย ๆ ใกล้ 4 จาก 5 คะแนน
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงใหม่ ๆ เป็นความเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ (ความเสี่ยงที่อยู่ภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Strategic risk, Emerging risk, ฯลฯ)
  • ปี 2546  Trist ได้ทำงานที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาระบบข้าราชการ 20 กระทรวง 140 กรม 76 จังหวัด  ได้นำความเสี่ยงในเรื่องนี้เข้าไป
  • เริ่มแรก ส่วนราชการมีความเสี่ยงเป็น 0 ไม่มีความเสี่ยง ส่วนใหญ่เป็นลักษณะนามธรรม

ดร.สุรพงษ์  มาลี

  • การบริหารความเสี่ยงในภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรราชการแท้ ๆ อาจยังไม่มีความชัดเจน แต่วันหนึ่งอยากทำให้เป็นระบบมากขึ้น
  • ทำไมองค์กรภาครัฐต้องบริหารความเสี่ยง

1.เป็นเรื่องที่จัดไว้ในบรรษัทภิบาล เพื่อเป็นการการันตีในหลักธรรมาภิบาล ให้คนได้รับบริการได้รับความสะดวกมากขึ้น และยุติธรรมมากขึ้น

2. ผู้บริหารต้องเผชิญกับการตัดสินใจ ที่เป็นลักษณะ Micro

3. เพื่อสร้างวิธีการบริหารจัดการที่รอบด้านเพื่อบรรลุเป้าหมาย

  • การเช็คความเข้าใจผิด 3 ประการเรื่องความเสี่ยงว่าตัวท่านเองมีหรือไม่
  1. การมองความเสี่ยงเป็นเรื่องเลวร้าย เป็นสิ่งไม่ดีหรือไม่ 

ในมิติของความเสี่ยงในปัจจุบัน การมองเป็นเรื่องเลวร้ายอย่างเดียวอาจไม่ใช่ เพราะมีมุมมองเชิงบวกอยู่ด้วย และเกิดขึ้นทั่วไป

  1. มีความเสี่ยง และต้องขจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้นไป ไม่เหลืออยู่เลย

ในโลกนี้ไม่มี risk free world หมายถึงทุกที่ทุกแห่งมีความเสี่ยงตลอดเวลา ไม่สามารถทำความเสี่ยงเป็น 0 ได้ แต่จะบริหารความเสี่ยงได้อย่างไร

  1. ไม่เสี่ยงเลย ทำตัวให้ปลอดภัยดีที่สุดPlay Save ดีกว่า

หมายถึงถ้าทุกคนเป็นแบบนี้ทุกอย่างจะอยู่คงที่ นวัตกรรมก็ไม่เกิด

สูตรสำเร็จของความล้มเหลว

คือคิดว่าทุกอย่างที่เราทำแบบนี้ดีอยู่แล้ว หมายถึงการมีความพอใจกับสิ่งที่เราเป็นอยู่

 

กระบวนการบริหารความเสี่ยง กับการควบคุมภายในเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่

  • การควบคุมภายใน ควรมีการบริหารและควบคุมความเสี่ยงได้
  • แสดงถึงความเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กัน

 

กระบวนการบริหารความเสี่ยง (Strategic Risk Management)

  • มุมมองในเรื่องบริหารความเสี่ยงต้องคิดตลอด
  • ต้องควบคุมดูแล แล้วสุดท้ายจะบรรลุผล
  • ต้อง Align กับความสำเร็จองค์กร กับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
  • ขึ้นอยู่กับ Framework กรอบ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
  • อันดับแรกต้นน้ำระบุได้ถูกต้องหรือไม่ ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจของท่านหรือไม่
  • กำหนด Category ออกมา ทำให้คนที่ทำมีความชัดเจน มีกรอบดำเนินงาน
  • การบริหารจัดการ ต้องใส่ทรัพยากรลงไป แล้วทำอย่างไรให้ตอบโจทย์

 

การประเมินความเสี่ยง  (เป็นการคาดเดา คาดการณ์)ขั้นพื้นฐาน

ตัวอย่างถ้าท่านอยู่ที่เมืองท่องเที่ยวทางทะเลที่อเมริกา จะทำการบริหารความเสี่ยง โดยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือปลาฉลามกัด ท่านจะเลือกอย่างไร  ถ้าเป็นผู้บริหารจัดการองค์กร ท่านจะเลือกอะไร  ถ้าเป็นนายกเทศมนตรีจากการเลือกตั้ง จะเลือกความเสี่ยงอะไร

  1. ดูจากโอกาสของความเสี่ยงนั้นจะเกิด (Probability) ตัวอย่างในอเมริกา โอกาสเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ 0.015  โอกาสที่เกิดปลาฉลามกัด 0.0005
  2. เมื่อเกิดแล้วมีความรุนแรงหรือผลกระทบมากน้อยแค่ไหน (ค่าคาดหมาย Expective Value)
  3. ต้องเพิ่มการประเมินความเสี่ยงในเชิงนโยบายและการเมืองด้วย
  4. ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา

สรุปการประเมินความเสี่ยงส่วนใหญ่ดูจากโอกาส และ ผลกระทบ แต่ถ้าเรามี Prioritize เราจะมีการจัดลำดับความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ในระบบราชการดูความน่าจะเป็น และผลกระทบ นำสู่การทำแผนที่ความเสี่ยง ตรงไหนวิกฤติ  ตรงไหนสามารถปล่อยได้ สรุปคือผลพวงจากการประเมินความเสี่ยงจะได้ระดับความเสี่ยงที่องค์กรท่านรับได้  การบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวโยงกับขั้นตอนการจัดการ ประเมินความเสี่ยง

วงจรการบริหารความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์

  1. Identify the risks and define a framework
  2. Evaluate the risks
  3. Assess risk appetite
  4. Identify Suitable responses to risk
  5. Gain Assurance About the effectiveness
  6. Embed and review

(สามารถย้อนกลับมาสู่ข้อ 1,2,3,…,4,5,6 ตามลำดับ)

การบริหารโอกาส และผลกระทบ

  • คือพยายามลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง  ลดผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยง

ตัวอย่าง สึนามิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ท่านไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ หมายถึงท่านไม่สามารถลดโอกาสที่จะเกิดได้ แต่ท่านสามารถลดผลกระทบความสูญเสียได้ เช่นมีการเตือนภัย มีศูนย์อพยพ เป็นต้น

  • ในทุกวิกฤติมีโอกาส มีช่องทางในการบริหารความเสี่ยง  ตัวอย่างเช่น ในเรื่องการเกษตร ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ระบบปิด ส่งผลให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย 

หลักการจัดการกับความเสี่ยง

  1. Pre Event Control ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง
  2. Post-Event Control ลดผลกระทบของความเสี่ยง
  3. Emerging-Opportunity แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

5Ts of Risk Management

  1. Tolerate การยอมรับความเสี่ยงเมื่อ Cost ไม่คุ้มกับ Benefit ที่จะเกิดขึ้น
  2. Treat การลด /ควบคุมความเสี่ยง
  3. Transfer การกระจาย/โอนความเสี่ยง
  4. Terminate การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง อย่างธุรกิจ คือยกเลิกธุรกิจนั้น แต่ในภาครัฐกฎหมายจะบอกให้ทำ ต้องทำ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็เปลี่ยนไป Treat
  5. Take opportunity

 

วิธีการควบคุมความเสี่ยงตามหลักการควบคุมภายใน:ก่อน

Directive :

การกำหนดให้ทำตามหลัก กฎเกณฑ์ และกระบวนการที่กำหนดไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการที่มีความเสี่ยง เช่น ชุดทำงานในที่อันตราย การฝึกอบรมก่อนทำงาน

เป็นการลดปัจจัยแรกของการจัดการความเสี่ยง

Preventive:

การควบคุมที่มุ่งลดผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การเซ็นเช็ค การสั่งจ่าย การให้สัมภาษณ์

Detective:

การควบคุมที่มุ่งค้นหาว่า ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนาคตเช่น การตรวจนับสินค้าคงคลัง การทบทวนหลังการนำนโยบายบางอย่างไปปฏิบัติ

Corrective:

การควบคุมที่มุ่งแก้ไขผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือบรรเทาผลกระทบให้ทุเลาลง เช่น การเขียนเงื่อนไขในสัญญาให้มีการชดใช้หากมีการจ่ายเงินเกิน หรือ การประกันภัย

 

เมื่อมีการแก้ไขเรียบร้อย และปรับเรียบร้อย  ต้องมีการ Embest and review เข้าสู่กระบวนงาน

  • ต้องมีแผนเป้าหมาย ชัดเจน หรือตัววัดของความเสี่ยง
  • ระดับความเสี่ยงลดลงถึงระดับรองรับได้
  • วัดกิจกรรมของความเสี่ยง

 

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

ระบบบริหารความเสี่ยง

  • กระบวนการอะไรต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับคน ต้องทำให้ตัวองค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายขององค์กร
  • ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง คือความจำเป็นที่ต้องบริหารความเสี่ยง
  • มีระบบที่ดีช่วยทำให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์ ก่อให้เกิดการสื่อสาร มี Owner , Center การบริหารความเสี่ยงไม่ค่อยยั่งยืน ก่อให้เกิดการบริหารองค์กรมากนัก
  • การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องของบุคลากรทุกคน ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความจำเป็นมากในการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมาย ช่วยให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ก่อให้เกิดการปรับปรุงต่อเนื่อง ช่วยเรื่อง Internal Audit Program มีการ Focus มากขึ้น
  • Internal Audit /Control ต้องไป Focus ในเรื่องความเสี่ยงที่สำคัญ ๆ กับองค์กร

ความเสี่ยง คือการจัดการความไม่แน่นอน

  • การบริหารความเสี่ยงที่นำไปใช้คือนำไปเสนอแผนยุทธศาสตร์ อนุมัติงบประมาณโครงการ โครงการนั้น ๆ ควรทำหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ของ สพร.ในอนาคต น่าจะมีการปรับตรงนี้เรื่องการตีค่าการบริหารความเสี่ยง มากกว่าการดูเรื่องแรงจูงใจ  ทำให้ Stakeholders มั่นใจ
  • การบริหารความเสี่ยงช่วยให้เราค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น

กระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ

  • การกำหนดคู่มือ การกำหนดโครงสร้าง มีบทบาทอย่างไร อยู่ในโครงสร้างองค์กรอย่างไร มีการติดตามและประเมินผลอย่างไร
  • Infrastructure ด้าน IT , Data base, ตัวชี้วัดต่าง ๆ ,KRI
  • สิ่งที่ต้องใส่ในค่านิยมองค์กรคือให้ทุกคนมีการตระหนัก รับรู้ในเรื่องความเสี่ยง
  • การสร้างภูมิคุ้มกันในการบริหารความเสี่ยง การบริหารโอกาส สร้าง Risk Awareness Culture มี commitment

ระบบบริหารความเสี่ยง

  • ในประเทศไทยจะยึด COSO ERM อย่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยก็ยึดให้ใช้ระบบนี้
  • วงการอุตสาหกรรมเริ่ม ISO 31000
  • ประเด็นที่ Comment COSO ERM  เกิดจากสถาบันการเงิน  ที่มีวิกฤติการสถาบันการเงินล้ม หลังจากที่ได้ปรึกษากับ Price Waterhouse แต่มี Comment ว่าอาจเป็นเครื่องมือไม่ชัดเจนหรือเหมาะกับสถาบันการเงินเท่านั้น เนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่นำไปใช้ได้เหมาะสม และการวัดที่แน่นอน ต่างกับ ISO 31000 ที่มีวิธีการวัดที่ชัดเจน เป็นต้น

หลักการบริหารความเสี่ยงหลัก ๆ ใช้แนว SOFC

  1. S ความเสี่ยงอันเกิดจากการที่กำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก
  2. Oความเสี่ยงอันเกิดจากการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งเป็นผลมาจากบุคลากร กระบวนการทำงาน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการทุจริตภายในองค์กร
  3. F  ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านการเงินต่อองค์กร
  4. C  ความเสี่ยงอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังค้บ โดยครอบคลุมถึงกฎ ระเบียบของทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่กำกับดูแลองค์กร
  • Strategic Risk และ External Risk เป็น Uncontrollable คือความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ตัวอย่าง คะแนนเต็ม 5 หมายถึงโอกาสน้อยกว่า 1 แต่เกิดแล้วหายนะเป็นต้น  ดังนั้นในระดับองค์กร OFC ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาหลาย 10 ปีแล้ว ค่อนข้างไม่ค่อยมีปัญหา แต่ที่ควร Focus คือ Strategic Risk กับ External Risk

หลักการเขียนวัตถุประสงค์ของความเสี่ยง ต้องอยู่ในลักษณะ SMART

  • Specific ( เฉพาะเจาะจง ) มีความชัดเจนและกำหนดผลตอบแทนหรือผลลัพธ์ที่ต้องการที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจน
  • Measurable (สามารถวัดได้) สามารถวัดผลการบรรลุวัตถุประสงค์ได้
  • Achievable (สามารถบรรลุผลได้) มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้เงื่อนไขการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • Relevant (มีความเกี่ยวข้อง) มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายในการดำเนินงานขององค์กร
  • Timeliness (มีกำหนดเวลา) สามารถกำหนดระยะเวลาที่ต้องการบรรลุผล

ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่เป็นไปตามหลักการ SMART

  • เพิ่มระดับการบริการของศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) ให้ลูกค้ามีความพึงพอใจที่มากกว่าปีที่ผ่านมาอย่างน้อย5% ภายใน ธันวาคม 2555
  • ขยายการดำเนินงานด้านสินเชื่อรถยนต์ให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้วงเงินเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปีที่ผ่านมา ภายใน 3 ปีข้างหน้า
  •  พัฒนาบุคลากรในหน่วยงานตรวจสอบภายใน ให้ได้เป็นผู้ตรวจสอบภายในวิชาชีพอย่างน้อย 5 คน ภายในธันวาคม 2555

ตัวอย่างวัตถุประสงค์ที่ไม่เป็นไปตามหลักการ SMART

  •  เพิ่มระดับการบริการให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด (ไม่ชัดเจนว่ามากที่สุดคือเท่าใด ไม่ระบุว่าวัดผลอย่างไร ไม่กำหนดเวลา)
  • ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมภูมิภาคใหม่ๆ ภายในไตรมาสแรกของปี (ไม่ชัดเจนว่าจะขยายในส่วนงานใด ภูมิภาคใด

        ไม่ระบุว่าวัดผลอย่างไร เป็นไปได้ยากที่จะบรรลุได้ภายในเวลาที่กำหนด)

  • พัฒนาบุคลากร (ไม่ชัดเจนว่าผลที่ต้องการคืออะไร ไม่ระบุว่าวัดผลอย่างไร ไม่กำหนดเวลา)

 

สรุป คือ เราต้องเน้นการลดความเสี่ยง และบริหารความเสี่ยงให้ตรงตามเป้าหมายขององค์กร

การบริหารความเสี่ยง ต้องเน้นการลดโอกาสและลดผลกระทบ

  • ในเรื่องสัญญาต้องดูให้ดี ทำให้ดี ต้องดูให้รัดกุม
  • มีระบบ Sourcing, KM
  • ฯลฯ

การบริหารความเสี่ยงเป็นการดูทั้งองค์กร องค์รวม

ความเสี่ยงจะได้รับการประเมินจากการทำภาพรวม ให้ผู้บริหาร และ Board ทราบ มีมาตรฐานการติดตามและประเมินความเสี่ยง

เกณฑ์ประเมินผลของสพร.

  • ปัจจุบันใช้ระบบ GRC คือ มี Governance ,Risk ,Compliance มาใช้
  • Link กับ Risk และ Policy
  • โครงการที่จะได้รับการ Approve ไปประเมินการต่อ จะต้องดูเรื่องความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยง
  • เรื่อง Culture ,Value ,Intensive, Value Enhancement , Value Creation ให้มองลักษณะการเชื่อมโยงกัน

การเคหะแห่งชาติกำลังเข้าสู่การประเมินตาม Sepa

คือการประเมินการบริหารการเปลี่ยนแปลง

การเตรียมความพร้อม Risk

Preventable Risk คือตัว O,F,C สามารถควบคุมได้ เราต้องนำสิ่งเหล่านี้ใส่ไปในองค์กร

  • คนที่ใช้ต้องปลอดภัย
  • ต้องให้ความสำคัญ Value กับ Stakeholder
  • ปลูกฝังองค์กรตั้งแต่ Vision Statement

Strategic Risk ให้ดูตัวอย่าง Sumsung กับ Sony , BB กับ I-phone เป็นตัวอย่าง

การทำ Strategy Map ต้องมีการกำหนด KRI ด้วย

External Risk จัดการโอกาสไม่ได้เลย ต้องดูผลกระทบอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ปัญหา Hamberger Crisis, หนี้เสียที่ยุโรป  การเคหะมีจุดไหนทีต้องทำ Strength Testing , และการสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ เข้ามา

ดู Scenario Planning, whole planning

ฝากการบ้านว่า ความรู้ กลยุทธ์ด้านการจัดการความเสี่ยงจะนำมาใช้ที่การเคหะได้อย่างไร

 

คำถามจากผู้เข้ารับการอบรมฯ

  1. Trist ดูแลในรัฐวิสาหกิจ และภาครัฐ ความเสี่ยงคืออะไร และบริหารจัดการคืออะไร
  2. ข้อเสนอแนะในการเชื่อมโยงหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ Trist ประเมินเป็นอย่างไร

ตอบเรื่องความเสี่ยง

  1. ความเสี่ยงทำงานเยอะ ๆ จะดูแลพนักงานอย่างไร จะตามมาด้วยพนักงานที่ Turn over และคุณภาพของงาน
  2. Trist ใช้ Resource ทุ่มเทกับ Project ใหญ่ ๆ ทั้งระบบ เกิดสัญญาใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นจุดวิกฤติทันที
  3. การทำงานของ Trist เสมือนผูกขาด อยู่มาประมาณ 20 ปี
  4. งบประมาณของ กพร.ถูกตัดไป 70 % แต่ต้องทำงานเท่าเดิม
  5. รัฐวิสาหกิจเริ่มมีความเสี่ยงเนื่องจากกระทรวงการคลังจะตั้งมูลนิธิฯ เพื่อเป็นมือเป็นไม้ทำทางด้านนี้เอง  Trist ต้องไป Diversify บริษัทเอกชนให้เยอะขึ้นแล้ว

สรุปคือในอนาคตมีความท้าทายมากที่ต้องปรับตัว เนื่องจากความเสี่ยงเยอะมาก

ตอบเรื่องการเชื่อมโยง

  • กพร. มียุทธศาสตร์ใหญ่ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน ถูกถ่ายทอดเป็นเป้าประสงค์ พันธกิจต่าง ๆ
  • ปัญหาคือข้อตกลงในการประเมินผล ยังไม่ได้รับการรับรอง ดังนั้นจึงควรปรับกระบวนการตรงนี้ให้สอดคล้องกันก่อน เพราะควรทำพร้อมกัน
  • การทำแผนบริหารความเสี่ยง ให้ดูสิ่งที่ได้เงินแล้วใส่แผนบริหารความเสี่ยงเข้ามาเพื่อให้ไปด้วยกัน และมีความสอดคล้องกัน
  • การเชื่อมโยงมีการเหลื่อมกันบ้าง มีเรื่อง Joint KPI ช่วยลดความซ้ำซ้อนการใช้งบประมาณภาครัฐได้อย่างดี

 

คำถาม

  • การขอความเห็นจาก Trist บางครั้งถามไป แต่การขอคำแนะนำจาก Trist ยังไม่ได้เท่าที่ควร

 

  • ตัวของ Trist จะมีการเปลี่ยนพนักงานบ่อยมาก คนที่ประสานอาจเกิดปัญหา ขาดความต่อเนื่อง ทาง Trist ได้มีการ KM หรือไม่ เนื่องจากการเคหะฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ ปีนี้เป็นปีแรกที่การเคหะฯ ไต่มาที่ระดับ 3 จากเดิมเป็นแค่เพียงระดับ 2 อยากถามถึงพี่เลี้ยงของอันดับหนึ่งไม่ต้องมีคู่แข่ง คือใคร
  • โจทย์ที่ได้จาก Trist ไม่มีโจทย์ที่ชัดเจน  การส่งไม้ระหว่าง Trist กับ สพร. มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

ตอบ ขอนำข้อสังเกตนี้ไปให้ Trist ดูแลในการปรับปรุงเรื่องต่าง ๆ ต่อไป  เป็นโจทย์ที่ สพร. กับ Trist ต้องคุยกันอย่างชัดเจน การประเมินต้องเป็นประโยชน์ ถ้าอันไหนที่เป็นภาระต้องกล้าทบทวน

วิญญา สิงห์อินทร์

อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 9 ก.ค. 2555 รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ดร.สมชาย เน้นเรื่องการจัดระบบคิดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
โดยการเรียนรู้กระบวนการ รู้ รู้จริง ตระหนัก นำมาใช้ได้ในทุกเรื่อง โดยมองแบบเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ

นักบริหารต้องเปลี่ยนระบบคิดเปลี่ยนคำถามจาก What เป็น  Why และ How เห็นสิ่งที่เหมือนภายใต้ความแตกต่าง  ซึ่งการเปลี่ยนระบบคิด  ได้เป็นอย่างนี้สามารถกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
การที่ไทยก้าวสู่  AEC  ในปี  2015 ตามแนวคิด  ดร.สมชาย  หากนำเรื่องระบบคิดมาปรับใช้เราสามารถกำหนดแนวทางได้เหมาะสมกับตัวเอง  โดยเน้นที่ตลาดและฐานการผลิตร่วม  ซึ่งสำคัญที่สุดสิ่งแรก  4  ด้าน ที่เกิดขึ้นในการเป็น  AEC
-  เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี,  เคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
-  เคลื่อนย้ายการบริการเสรี,  เคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี

ภาคบ่าย อ.อรุณ, ดร.โสภณ, ดร.พงษ์ชัย, และ ศ.ดร.จิระ

เป็นความต่อเนื่องจากที่ อ.สมชาย นำเสนอ  โดยวิทยากรทุกท่านได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากไทยก้าวสู่  AEC 2015  สิ่งที่องค์กร  (กคช.)  เองต้องตระหนัก  คือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอุปสรรคและโอกาสของ กคช. เอง   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีเฉพาะปี 2015 แค่นั้นเป็นการเริ่มต้น  ซึ่งต้องมีการทำ  Work Shop  อย่างจริงจัง  เพื่อจะได้กำหนดทิศทางขององค์กร

 

บทเรียนและการนำมาประยุกต์ใช้กับ กคช. จากการอบรมวันที่ 27 มิถุนายน 2555

 

การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช.  ด้านการตลาด  การเงิน  วัฒนธรรมองค์กร และการผลิต

 

  • วัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับ “คน” ในองค์กรอย่างแยกไม่ออก “คน” แสดงพฤติกรรม  ความรู้สึกนึกคิดออกมา  ย่อมสะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กร  กคช.มีการกำหนดวัฒนธรรมองค์กร “3S” ไว้อย่างชัดเจน  แต่ “คน” ในองค์กรยังรับรู้อย่างผิวเผิน  ต้องสื่อสารให้ “คน” ในองคฺกรรับรู้อย่างเข้าใจและทั่วถึง  เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นนิสัย -------->  Strong  Culture ---------> ค่านิยมองค์กร
  • กคช. มีพันธกิจตามกฎหมายในการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน  โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง  ในอดีตโครงการของ กคช. เคยเป็น “หนึ่ง” ที่ประชาชนมีความต้องการสูง  แต่ปัจจุบัน โลกเปลี่ยน เศรษฐกิจเปลี่ยน ความนิยมเปลี่ยน เอกชนเข้ามาเป็นคู่แข่ง  สร้างเร็ว เสร็จเร็ว บริการดี และราคาไม่แตกต่างจาก กคช. กคช. ต้องหาช่องว่างทางการตลาด (niche  market) .ให้พบ  โดยการวิเคราะห์ทางการตลาด  วิเคราะห์คู่แข่ง  ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมถึงการหาความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของลูกค้า เพื่อตอบสนองและรักษาลูกค้าที่ดีไว้
  • กลยุทธ์การสร้างแล้วขาย (Production Focus)  เช่น การสร้างในรูปแบบเดียวกันจำนวนมาก เพื่อให้ต้นทุนการก่อสร้างต่ำ นั่นคือ เน้น Economy of scale ซึ่งตรงกับที่ กคช. ได้ดำเนินการมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยแต่ละโครงการจะสร้างในปริมาณมากตั้งแต่ 100 หน่วยขึ้นไป แต่ยังไม่ได้ Economy of scale เพราะมีต้นทุนทั้ง direct  cost และ overhead ค่อนข้างสูง  ประกอบกับการบริหารโครงการมักไม่แล้วเสร็จตามแผนงาน หากสามารถควบคุมและบริหารโครงการไม่ให้ล่าช้า ก็อาจทำให้ กคช. มี Economy of scale ได้
  • กคช. ควรให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่มีผลทางการเงิน เช่น ความเสี่ยงเรื่องการบริหารสินค้าคงค้าง  เนื่องจาก กคช. ยังมีอาคารคงเหลือค่อนข้างสูง ความเสี่ยงภาระโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้     ความเสี่ยงเรื่องสัดส่วนเชิงพาณิชย์กับเชิงสังคม เป็นต้น
  • คุณสมบัติของยุทธศาสตร์ที่ดี  “Holistic  Longterm   Cross function  Selective  และ  Change ต้องนำมาใช้ตรวจสอบยุทธศาสตร์ของ กคช. ในปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทเรียนและการนำมาประยุกต์ใช้กับ กคช. จากการอบรมวันที่ 2 กรกฎาคม 2555

 

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

 

  • ทำให้เข้าใจความหมายของทุนมนุษย์ และกระบวนการบริหารจัดการทุนมนุษย์ อย่างชัดเจน

ทุนมนุษย์  (Human Capital) หมายถึง  asset = คนที่เป็น work force หรือแรงงานในองค์กรที่จะนำไปต่อยอดและพัฒนาได้

กระบวนการบริหารจัดการทุนมนุษย์

วิเคราะห์บริบท -------> กำหนด Vision -------> วิเคราะห์แรงงาน --------> พัฒนาแผนปฏิบัติการ

 (รู้เขารู้เรา)

ในแต่ละ milestone มีวิธีการดำเนินการ  ขั้นตอน และกิจกรรมหลัก ๆ ที่ กคช.สามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี

  • การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญขององค์กรที่ผู้นำระดับสูงสุด ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง จะต้องร่วมกันกำหนดทิศทาง วางกลยุทธ์ และหามาตรการที่จะทำให้ทุนมนุษย์ในองค์กรมีประสิทธิภาพ  เพื่อไม่ต้องใช้เวลาทำงานมานั่งประชุมแก้ปัญหา และเป็นการจัดเตรียมกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ รองรับการดำเนินงานในอนาคต
  • นอกจากนี้ผู้นำสูงสุดต้องแสดง Vision และเปิดกว้างให้ผู้บริหารในองค์กรได้แสดง Vision ของตนได้อย่างเต็มที่
  • Case study ประสบการณ์การสร้างทุนมนุษย์ใน กฟภ. เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งได้กล่าวถึง สูตร เครื่องมือการสร้างทุนมนุษย์ กระบวนการสร้างทุนมนุษย์ วินัย 5 ประการ ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นการ share ประสบการณ์ที่มีคุณค่า  ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติม และจะนำมาปรับใช้ในการทำงานต่อไป
  • การทำ work shop  “Mind  Map” ทำให้มองการทำงานเป็นกระบวนการมากขึ้น และมองเห็นตั้งแต่ต้นน้ำ -------> ปลายน้ำ ที่แตกกิ่งก้านสาขาออกไป

 

สาวิตรี โสภณ

 

 

 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
วันที่ 27 มิย. 55

ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ (การวิเคราะห์ตลาด)

การวิเคราะห์ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทบ้าน  จะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า  ประกอบด้วย รูปแบบอาคาร , ที่ตั้ง , ทำเล , สภาพแวดล้อม , เส้นทางคมนาคม  โดยเฉพาะเรื่อง  ราคา  โดยดูกลุ่มลูกค้าว่าอยู่ในระดับใด  สามารผ่อนชำระได้หรือไม่ และวิเคราะห์คู่แข่ง
- การจะขยายอสังหาริมทรัพย์ได้หรือไม่  นอกจากองค์ประกอบข้างต้นจะดีแล้วประชาสัมพันธ์ จะต้องเลือกช่องทางที่ดี  เหมาะสมและเข้าถึงลูกค้า หากลูกค้าไม่ทราบว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เขาต้องการก็จะทำให้องค์กรเสียโอกาสที่จะขายสินค้านั้นได้  และปัญหาที่ตามมาคือการขาดทุนขององค์กร
-  การวิเคราะห์ รายรับ – รายจ่าย  เป็นปัจจัยที่จะบอกว่าควรจะกำหนดแนวทางการลงทุนให้ได้กำไรได้อย่างไร  ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะหากไม่วิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย จะทำให้ไม่สามารถกำหนดทิศทางของการลงทุนได้

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
วันที่ 25 มิย.55

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ และการบริหารกลยุทธ์องค์กร

-  ทำให้มองเห็นว่า  วิสัยทัศน์ หรือทิศทางขององค์กรเป็นหัวใจขององค์กรแต่จะต้องมีการปฏิบัติ จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายได้    “คน”  ขององค์กรต้องเป็นผู้มีความคิดกว้างไกล  ใผ่รู้  ทันสมัย ทุกด้าน  ปรับตัวตลอดเวลาเพื่อปรับการทำงานที่จะพาองค์กรสู่ความสำเร็จ  มีชื่อเสียง  เป็นที่ยอมรับของลูกค้าและภาคี
-  ในเรื่องของการบริหารจัดการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ได้รับความสำเร็จตามเป้าหมายจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร  วางแผนการทำงานและประเมินผล  ซึ่งผู้นำองค์กรต้องมีนโยบายที่แน่นอนด้วย  แต่ในทางปฏิบัติจะมีระบบการเมืองมาแทรกแซงให้องค์กรไม่สามารถดำเนินการตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ได้
-  เรื่องการประเมินผลเป็นตัวองค์กรว่าจะอยู่รอดหรือไม่  ดังนั้นการจัดทำรายงานความก้าวหน้า  ปัญหาอุปสรรค  ผลการดำเนินงาน  เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์คู่แข่ง เป็นเรื่องผู้นำจะละเลยมิได้
-  กลยุทธ์การสร้างมูลค่าในอสังหาริมทรัพย์  เป็นแนวทางที่ กคช. ควรตระหนักและศึกษารายละเอียดให้มากเพราะเป็นเรื่องของเราโดยตรง เช่นการปรับปรุงอาคารให้ดีขึ้นเพื่อให้ขายได้ราคาดี  หรือปรับค่าเช่าได้มากขึ้น  แต่ข้อที่ควรคำนึงของ กคช. คือทำเลที่ตั้งจะเป็นสิ่งบ่งบอกอีกอย่างหนึ่งว่า อสังหาริมทรัพย์นี้จะประสบผลสำเร็จหรือไม่ นั้นคือนอกจากรูปที่เหมาะสม สวยงาน อสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องตั้งอยู่ในทำเลที่ดีด้วย


                        พรรณี     วิชิต  รุ่น 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
วันที่ 2 กค. 55

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

ทุนมนุษย์ คือ  ทุนที่มีค่าเหมือนทรัพย์สินอื่นๆ โดยทั่วไปจะเข้าใจว่า ทุนมนุษย์เป็นภาระต้นทุน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนการบริหารทุนมนุษย์จึงเป็นการค้นหาความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อบริหารองค์กรให้มีความเจริญ ทุนมนุษย์จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีคือ  ต้องเป็นผู้มีความรู้ , ความสามารถ , มีทักษะ และมีสมรรถนะ  ผู้นำองค์กร ต้องอุทิศเวลาให้กับการพัฒนามนุษย์ ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์โดยต้องหาวิธีการรักษา  ทุนมนุษย์ที่มีความสามารถไว้ในองค์กรให้นานที่สุด 
การสร้างทุนมนุษย์ จะต้องสร้างด้วยการฝึกอบรม , ให้ความรู้ , ประชุม , ดูงานและสร้างด้วยการดูแลจิตใจ เริ่มที่  รู้ใจ  เข้าใจ  เอาใจ  ได้ใจ  ทำใจ เพราะมนุษย์มีชีวิตจิตใจจึงต้องดูแลเข้าไปให้ลึกถึงจิตและวิญญาณ  ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรขึ้นอยู่กับคนทำงาน องค์กรจะต้องสร้างสิ่งที่สนับสนุนบุคคลขององค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จประกอบด้วย  ความมั่นคงในการทำงาน  รายได้  สวัสดิการ  ความภาคภูมิใจ  ความศรัทธาและความมีศักดิ์ศรี ในทางตรงกันข้าม            ความล้มเหลวขององค์กรจะเกิดจาก  ความไม่ต่อเนื่อง , ไม่จริงใจ , ไม่มีวิสัยทัศน์  อิทธิพลภายนอกสองมาตรฐานและการเอาตัวรอด
นอกจากเรื่องการบริหารทุนมนุษย์แล้ว การบริหารวิธีการทำงานก็ควรจะต้องมีรูปแบบของการทำงานที่คล่องตัว เข้าใจง่าย  การบริหารงานในรูปแบบของ Mind  Map  เป็นรูปแบบที่ทำให้เรามองเห็นระบบการทำงานเส้นทางเดินของงานได้อย่างชัดเจอ  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมาก

บรรยายบ่ายวันที่ 11 กรกฏาคม 2555 หัวข้อการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร และ นาวาเอกศิรัส ลิ้มเจริญ และคุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

บรรยายบ่ายวันที่ 11 กรกฏาคม 2555 หัวข้อการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร และ นาวาเอกศิรัส ลิ้มเจริญ และคุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร และ น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ

ดำเนินการอภิปรายโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

 

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

  • งานขององค์กรกับงานของครอบครัว

ถ้าครัวเรือนไม่แข็งแรง ครอบครัวการเงินไม่ดี แน่นอนที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร

ชมรมคนออมเงิน

ยกตัวอย่างนักมวยชื่อบัวขาว ที่เมื่อชกมวยแล้วต้นสังกัดจะขอส่วนแบ่ง 50% แต่เมื่อบัวขาวมีชื่อเสียงมากขึ้นรู้สึกว่าไม่คุ้ม น้อยเกินไป ต่อมาจึงมีการปรับสัดส่วนเป็นต้นสังกัด 40 % บัวขาวได้ 60 % ส่วนกิจกรรม ต้นสังกัดได้ 25 % บัวขาวได้ 75% ต่อมาบัวขาวเลยแขวนนวมของใช้แต่สิทธิทางปัญญาแทน เพราะคิดว่าดีกว่า ด้วยศักยภาพของร่างกายที่เริ่มอายุมากขึ้นและรู้สึกไม่คุ้มกับการชกมวย

การออมเงิน

  • เรื่องหนี้สิน ไม่เล่นการพนัน  ไม่มีหนี้สิน
  • การออมเงิน      ให้ใช้เงิน 80% ออม 20%

ทรัพย์สมบัติ

1.ทรัพย์สินมีตัวตน เช่น บ้านที่ดิน คอนโด (สิ่งที่ให้ความสำคัญเพราะบ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย 4)

2.ทรัพย์สินไม่มีตัวตน เช่น เงินฝาก  หุ้น

3. พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุน  (ในปี 2555 คาดว่าหุ้นราคาดีควรซื้อ)

4. ทอง คำ เพชรพลอย เป็นสิ่งที่ให้คุณค่าด้วย

5. เงินสด

6. การลงทุนต่างประเทศ ต้องเก่งภาษาด้วย

หนทางสู่ความมั่นคั่ง  

1)         ขยันขันแข็ง  หนักเอาเบาสู้

2)         ประหยัดอดออม  คนที่สุ่รุ่ยสุร่ายไม่มีโอกาสร่ำรวย

3)         ใฝ่หาความรู้ มีความคิดริเริ่ม รู้จักหาทางออก แก้ปัญหา

4)         ทำบุญกุศล 

มีครบทั้งสี่อย่าง  ร่ำรวยแน่นอน

ปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่ คือ

1)     ยังไม่นิยมวางแผนการเงิน

2)     ขาดความอดทน  ไม่มีวินัย

3)     ขาดความเพียรพยายาม

4)     ชอบสบาย  รักสนุก

5)     ไม่ชำนาญเรื่องการลงทุน

6)     ทำให้มีปัญหาทางการเงิน

เนื่องจากประเทศไทยผ่านความสบายเยอะ

วิธีแก้ไขคือ

1)         ต้องหันมาวางแผนการเงิน

2)         รู้จักประหยัด  คุมรายจ่าย

3)         เพิ่มความพยายาม  สร้างวินัย

4)         ต้องเก็บออมตั้งแต่เริ่มทำงาน / มีรายได้

5)         ขวนขวายหาความรู้ทางการเงิน

6)         รู้จักลงทุนในสิ่งที่ตัวเองถนัด / ชอบ

7)         ภาษีต้องเป็นตัวช่วยไม่ใช่ตัวถ่วง

รู้จักตัวเอง – Know Yourself

-           คุณชอบลงทุนอะไร?  -  นิทานเรื่องทองคำ

-           ถนัดหรือมีความรู้ความชำนาญในทางไหน?  บ้าน ที่ดิน หุ้น กองทุน ทองคำ ลงทุนต่างประเทศ

-           มีเงินมากน้อยเพียงใด?

-           จัดอันดับความเร่งด่วน Prioritization

-           มีคนช่วยคิด/ช่วยทำ

-           บลจ., ผู้จัดการกองทุน, Broker, SET  ตลาดหลักทรัพย์

-           ลงทุนต่างประเทศ       -   ศึกษาให้ รอบคอบ

                                                -   โอกาศและความเสี่ยง

                                                -   อัตราแลกเปลี่ยน

ถ้าสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับหุ้น ถามคนที่เรียนรู้

-          ศึกษาหุ้นที่มีโอกาสเติบโต แต่เติบโตน้อย เช่น ปตท.  โรบินสัน  KTB

-          หุ้นที่เติบโตเยอะ เช่น  Makro  SCG TISCO

วางแผนการเงินและภาษีตั้งแต่ต้นปี

1)     ปีนี้มีรายได้มากน้อยเท่าใด  - ออมอย่างมีวินัย

2)     กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  -  หักภาษีได้ 15% ของรายได้ ปีหนึ่งไม่เกิน 1 ล้านบาท และเลือกลงทุนได้แบบ      Employee Choice

3)         กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund - กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ) และ LTF (Long Term Equity Fund  - กองทุนหุ้นระยะยาว) เพื่อลดหย่อนภาษี

4)    ประกันชีวิต

5)    ค่าผ่อนบ้าน

6)    การหักภาษีของลูกกตัญญู  บิดามารดาอายุ 60 ปี รายได้ไม่เกิน 30,000

 7)    ใช้เครดิตภาษีให้เต็มที่ ขอคืนภาษี 15% ของ ดอกเบี้ย หากมีรายได้ไม่เกิน 760,000 บาทต่อปี

 8)    เงินบริจาค ใบเสร็จรับเงินต้องลงวันที่ในปี 2555

 9)    เก็บรักษาเอกสารหลักฐาน

ดูแลการเงิน

1)    ช่วง Weekend วิเคราะห์ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา การลงทุนเป็นอย่างไรบ้าง  เช่น  หุ้น  ทองคำ 

        ดอกเบี้ย

2)    คาดคะเนว่าในสัปดาห์ใหม่จะลงทุนอะไร ปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนอย่างไรบ้าง 

3)    หากไม่แน่ใจ   Do nothing จับกระแสตลาด

4)    หุ้นตัวใดกำไรพอเพียงแต่คาดว่าจะขึ้นต่ออาจขายไปครึ่งหนึ่งก่อน  ที่เหลือเอาไว้

 

 

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting)

โดย น.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ

  • แต่ก่อนเวลาทำอะไรจะประหยัดไปทั้งหมด แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว ผู้บริหารต้องตัดสินใจลงทุนตลอดเวลา ที่ไหน เมื่อไร  และอะไรคือประโยชน์ต่อองค์กร และประชาชน
  • สิ่งที่กำลังเป็นเงื่อนไขด้านงบประมาณ (เครื่องมือของประเทศรูปแบบหนึ่ง เช่นการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล)
  • ประเด็นที่น่าสนใจคือการได้ผลลัพธ์หรือผลผลิตที่ตรงตามความคาดหวัง
  • ระบบงบประมาณเป็นตามกฎหมาย งบประมาณมาจากภาษีอากรของประชาชน กระทบต่อเศรษฐกิจ จึงกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการกระจายรายได้
  • งบประมาณมีจำกัด  มุมมองของเราขณะนี้คือทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ จึงเกิดการตัดสินใจเลือกลงทุน  อาศัยคำว่าข้อมูลจริง อะไรคือจริง อะไรคือเท็จ ผู้บริหารที่สูงมากเท่าไหร่จะอยากได้ข้อมูลที่เขาอยากได้เท่านั้น
  • กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างภาพลวงตาให้กับเรา เพื่อสร้างความแกว่งแห่งการตัดสินใจที่เราต้องถูกลวงตาตลอดเวลา ประเด็นสำคัญคือเวลาที่กำลังตัดสินใจ มีข้อมูลมากน้อยแค่ไหนในการตัดสินใจ

ปัจจัยการทำ Risk Management

  • สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคืออย่ามีข้อมูลเยอะเกินไป จะทำให้การตัดสินใจมีปัญหาทันที

   ถ้างบประมาณมีจำกัด ใครมีข้อมูลจริงมากที่สุดจะถือว่ามีแต้มต่อ ดังนั้นทักษะที่ผู้บริหารต้องมีคือการต่อรอง  ระวังในฐานะที่เป็นผู้บริหารต้องขจัดภาพลวงตาออกในแง่มุมหนึ่ง ส่วนอีกแง่มุมหนึ่งอาจต้องสร้างภาพลวงตา เพื่อเบี่ยงเบนการตัดสินใจ

งบประมาณ คือ

  • แผนการปฏิบัติงาน... ที่แสดงถึงความตั้งใจในการปฏิบัติในห้วงระยะเวลาหนึ่ง
  • แผนการใช้จ่ายเงิน... ที่แสดงทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับทรัพยากร

 

 

งบประมาณ

  • งบประมาณ ไม่ใช่แค่เงิน แต่งบประมาณคืองานที่จะเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาต่อรองงานของท่าน งานของท่านคืออะไร ความสำคัญงานของท่านคืออะไร
  •   What ? + How? หมายถึงผลิตอะไร ผลิตให้ใคร ท่านรู้หรือไม่ว่าลูกค้าต้องการอะไร
  • งบประมาณก่อให้เกิดผลสำเร็จใน Output + Outcome อย่างไรต้องอยู่ในแผนงาน

งบประมาณคือการวางแผนล่วงหน้า

งบประมาณ ไม่มีสูตรสำเร็จ เป็นเพียงการเจรจาต่อรองภายใต้ข้อมูลจริง

  • ทำอะไรแล้วเกิดประโยชน์ ผลดีที่สุด ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองภายใต้ข้อมูลจริงไม่มี Bias ทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและผู้รับบริการจริง ๆ จะทำให้ตอบคำถามว่าได้รับประโยชน์อะไร

สรุปคือ การมีข้อมูลจริง จริยธรรม ปราศจากอคติ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารควรระลึกถึงตลอดเวลา

จากที่ ดร.สุวรรณ บอกว่าการจัดการครอบครัวที่ดี จะส่งผลกระทบเชิงบวกในงานที่เราทำ

ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร กล่าวถึงปรัชญาแห่งชีวิต ที่ตั้งใจว่า

1)     ต้องไม่เป็นคนจน

2)     เพิ่มพูนปัญญาความรู้

3)     สร้างความมั่นคงทางการเงินให้ครอบครัว

4)     สุขภาพดี มีความมั่งคั่ง

5)     เป็นคนดีของสังคม

Reaching Target  -  บรรลุเป้าหมาย

1)ตั้งงบไว้เท่าใด  -  5 ล้านบาท   ลงทุน ดอกเบี้ย / ผลตอบแทน 9%

   ปีละ 450,000 / เดือนละ 37,500 บาท

                        -  ผ่อนบ้านหมดเร็ว

                        -  ไม่มีหนี้

                        -  อยู่อย่างพอเพียง  ระวังเรื่องเจ็บป่วย

มนุษย์เงินเดือน

1)    รายได้คงที่  -  ต้องออมเงินทุกเดือน

2)    จัดสรรเงินโบนัส

3)    ทุ่มเทการทำงานเพื่อความก้าวหน้า

4)    เรียนรู้ 3 ภาษา

5)    ช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร

6)    ปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง

ตรวจสุขภาพการเงิน (1)

1)   ออมได้เดือนละเท่าใด

2)   ในครอบครัวมีตัวช่วยหรือตัวถ่วง?

3)   รายได้จากการลงทุน

4)   ดอกเบี้ย                   

         -  หุ้นกู้ภาคเอกชนปลอดภัยไหม?

         -  อัตราผลตอบแทน 5+%

         -  ขอคืนภาษี 15% คุ้มไหม?

         -  รายได้ไม่เกินปีละ 760,000 บาท

5)    ข้อดีของดอกเบี้ย  -  ไม่ต้องลงแรง

6)   เงินปันผล  -  ผลตอบแทนอาจดีกว่าดอกเบี้ย

      แต่ราคาหุ้นผันผวน

7)   หุ้นบางบริษัทให้เงินปันผลมากกว่าดอกเบี้ย

8)   การใช้เครดิตภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผล

9)   ใช้เครดิตภาษีของบริษัทแต่ต้องบวกเครดิตภาษีเป็น

      รายได้ก่อน

ตรวจสุขภาพการเงิน (ต่อ)

1)  ระวังเรื่องตกงาน

2)   ปรับเปลี่ยนการใช้เงิน

3)   ถนอมเงินที่ได้มา

4)   ลงทุนด้วยความระมัดระวัง

วิธีประหยัดเงิน

1)   อย่าเล่นการพนัน

2)   ใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ทุกเดือน

3)   ต้องการเก็บเงินเดือนละ 2,000 บาท

      เงินเดือน         10,000 บาท

      วันที่เงินเดือนออก เอา 2,000 บาท ฝากแบงก์ทันที

      ที่เหลือ 8,000 บาท ใช้ให้พอในเดือนนั้น

4)   ทำต่อเนื่องทุกเดือนอย่างมีวินัย

5)   ภริยาและสามีช่วยกันประหยัด

6)   ระวังหนี้สินบัตรเครดิต ควรมีบัตรเครดิตใบเดียว

การขจัดหนี้ (1)

1)   มุ่งมั่นใช้หนี้

2)   ตีกรอบการใช้บัตรเครดิต

3)   บอกลาหนี้นอกระบบ

4)   ปฏิเสธหนี้ที่มาทางโทรศัพท์

5)   อยู่ห่างจากชีวิตเงินผ่อน

6)   ใช้บัตรเครดิตใบเดียว

7)   ใจแข็งเมื่อถูกยืมเงิน

 8)        เลือกจ่ายหนี้ดอกเบี้ยสูง ๆ ก่อน

 9)        อย่าค้ำประกันส่วนตัว

10)                  ปรึกษาผู้รู้เมื่อถูกเอาเปรียบ

11)                  เก็บหลักฐานหนี้สิน

12)                  เจรจาต่อรองเพื่อลดหนี้

การลงทุนทองคำ

1) ทองแท่ง  –  ซื้อจากร้านใหญ่

      Ausiris  -  ออมทอง Gold On Line, Gold Real Time

      (www.ausirisgroup.com) โทร. 02-613-0888

2) Gold ETF (Exchange Traded Fund)  -  BCHAY

3) ทองรูปพรรณ

4) เหรียญกษาปณ์ทองคำ กระทรวงการคลัง ซื้อที่กรมธนารักษ์ ถนนพระราม 6 และกองเหรียญตรา

      วัดพระแก้ว

5) กองทุนทองคำ  Gold Fund  ซื้อจากธนาคาร หรือ บลจ.

6)  ลงทุนทองคำล่วงหน้า  Gold Future  ผันผวน

7) ซื้อหุ้นเหมืองทอง

8) ลงทุนไม่เกิน 15% ของเงินทุน เว้นแต่คุณถนัดซื้อขายทองคำ

คุณเป็นนักลงทุนทองประเภทใด

1) นักลงทุนระยะยาว         -    Investor

      ลงทุนระยะยาว 1 ปีขึ้น หรือเก็บไว้ยามฉุกเฉิน  ยามเกษียณ

2) นักค้าทอง                    -  Gold Trader

      ขายเมื่อได้กำไรบาทละ 500+ บาท หรือ ซื้อ Gold ETF เช่น BCHAY

3) นักเก็งกำไร                  -  Speculator

      เก็งกำไรกับทองล่วงหน้า Gold Future  ราคาขึ้นลงเร็ว     กำไรและขาดทุนก็เร็ว

ปรัชญาในการลงทุน

อย่าเป็นหมู –โลภมาก ตะกรุมตะกราม

อย่าเป็นแกะ –ขี้ขลาด ไม่กล้าลงทุน ไม่ยอมรับความเสี่ยงเลย

กรมธรรม์แบบบำนาญ       

1) หักภาษีได้เพิ่ม 200,000 บาทต่อปี

2) แต่ติดเพดาน 500,000 บาทของส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ RMF

3) จ่ายบำนาญตั้งแต่ 55+  จนไม่ต่ำกว่า 85 ปี

4) ห้ามจ่ายผลประโยชน์ก่อนรับบำนาญ  ยกเว้นตาย

5) ตายก่อนรับบำนาญ  -  ได้เงินคืน + ผลประโยชน์อีกเล็กน้อย

6) ตายขณะรับบำนาญ  -  ได้รับเบี้ยคืน  หักประโยชน์ที่รับไปแล้ว

7) ต้องจ่ายบำนาญเป็นรายเดือน / รายปี

8) มีชื่อกรรมธรรม์  “บำนาญแบบลดหย่อนได้”

การลงทุนในปี 2555

1)         มีบ้านของตัวเอง  คอนโด  บ้านเช่า

2)         กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, RMF, LTF      ออมเงิน  +  ลดภาษี  มีกำไร

3)         หุ้น / กองทุนหุ้น  -  หุ้นปันผลดี

4)         ทองคำ

5)         กองทุนตราสารหนี้ระยะ 6 - 12 เดือน  ผลตอบแทน 2 - 3%  ความเสี่ยงต่ำ

6)         ลงทุนต่างประเทศเป็นทางเลือกใหม่   เสี่ยง ควรรอไว้ก่อน

7)         มองการณ์ไกล

หากท่านมีเงิน 20 ล้าน ท่านควรใช้ประโยชน์ ดังนี้

1) บ้านและที่ดิน                                                  8   ล้าน

2) รถ 2 คัน                                                          2   ล้าน

3) ฝากธนาคาร  มั่นคง  และมีสภาพคล่อง         1   ล้าน

4) ซื้อหุ้นและพันธบัตร                                         3   ล้าน

5) ที่ดิน - คอนโด          อยู่เองหรือให้เช่า              3   ล้าน

6) ทองคำ                                                            2   ล้าน

7) ลงทุนกิจการอื่นที่ชอบ                                     1   ล้าน

                                                                          -----------

                                                                รวม     20   ล้าน

น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ

  • เรื่องงบประมาณ มีประเด็นในเรื่องการทำงาน  ปัญหาสิ่งหนึ่งที่การบริหารงบประมาณแล้วราชการต้องเจอ คือเป้าหมายองค์กรกว้างมาก หมายถึงว่าทำอะไรก็ถูกไปหมด ปรัชญาเรื่องนี้คือความชัดเจน  เมื่อใดก็ตามมีความชัดเจน ก็จะเข้าใจและไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง 
  • บางครั้งมีความชัดเจน  แล้วคิดว่าเข้าใจ แล้วไปปฏิบัติ แล้วปฏิบัติผิด เป็นปัญหาขององค์กรอย่างมาก
  • การบริหารเน้นที่ผลผลิต ผลลัพธ์ กระบวนการที่ดี ถ้าองค์กรขาดความชัดเจนที่นำองค์กรไป ท้ายสุดถ้าสื่อสารองค์กรไม่ชัด แล้วประสบการณ์จะบอกว่าเป็นอย่างไร
  • เราต้องยอมให้องค์กรเปลี่ยนแปลงและยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น ทำอย่างไรไม่ใช่ให้เกิดประโยชน์แค่องค์กร แต่เกิดประโยชน์กับประชาชนด้วย

การแสดงความคิดเห็น

  • ถ้ามีสหกรณ์หนึ่งจ่ายปันผลในอัตราที่สูงกว่าสหกรณ์ทั่ว ๆ ไป ถ้าไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเขาเลยควรสมัครเขาหรือไม่ ถ้ารู้ข้อมูลว่ามีองค์กรสนับสนุนหรือเอาเงินไปเบื้องหลัง

ตอบ ต้องดูจากบัญชีงบดุลว่ารายได้เขาเท่าไหร่ เช่นรายได้ 12 จ่าย 10 ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ารายได้ 8 แล้วจ่าย 10 จะมีปัญหา สรุปคือ 1. ดูจากงบว่าจ่ายอย่างไร 2. สักถามกรรมการว่าทำไมจ่ายเราได้มากกว่าที่อื่น เอารายได้มาจากไหน ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องไปลงทุน

  • การแต่งบัญชี  มีการทำให้สมาชิกเข้าใจผิดหรือไม่
    ตอบ ถ้าดอกเบี้ยสูง โอกาสที่คนเป็นหนี้จะหนีหนี้จะมี  อยากให้รู้ให้ดูว่ามีกรมส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรเข้ามาเช็ค แต่ขนาดแบงค์มีแบงค์ชาติเช็คสมัยวิกฤติต้มยำกุ้ง แบงค์ยังเจ๊งได้  แสดงว่าสหกรณ์ก็มีสิทธิเจ๊งได้เช่นกัน สรุปคือ ดูรายรับรายจ่าย และการซัก-ถามประจำปี
  • กรณี Auditor Comment ช่วยได้หรือไม่

ตอบ บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะสุ่ม บางครั้งที่ดินมาจำนอง แต่ราคาที่ดินไม่ถึงก็ทำให้บัญชีดูด้อยค่าไป

  • การบวกค่าการจัดการความเสี่ยง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเกินความจำเป็น การวางงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป มีวิธี Focus ตรงไหนบ้าง เช่น เงินอุดหนุนต่าง ๆ  มีวิธีลดงบประมาณ ลดความเสี่ยง ชะลอความเสี่ยงอย่างไรได้บ้าง

ตอบ  ความเสี่ยงคือสิ่งที่ทำให้เราไม่บรรลุภาระกิจ การจัดการความเสี่ยงจะเพิ่มต้นทุนในการทำงาน ซึ่งแม้งบประมาณที่ได้มีอยู่เล็กน้อยอยู่แล้ว แต่เราต้องไปเพิ่มต้นทุนในการจัดการความเสี่ยง  การเพิ่มการทำงานทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ โอกาสที่ได้รับเงินอุดหนุนในการดำเนินงานจากรัฐบาล  เป็นเงินที่สำนักงบประมาณควบคุมรายการ สำนักงบประมาณไม่อยากเพิ่มรายการนี้ ค่อนข้างที่จะตีเส้น แล้วบอกว่าให้อยู่แค่นี้ไม่ต้องโต แต่การทำงานแต่ละปี ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเป็นปกติ นี่คือความขัดแย้งในการบริหารตามความเป็นจริง เป็นสิ่งที่สำนักงบประมาณทำคือตัดงบประมาณ ทำให้ไม่เกิดความสมดุลกับองค์กรเรา ดังนั้นต้องถามว่าองค์กรจะลงทุนอะไร(What?) แล้วลงทุนไปทำไม(Why?) แล้วทำอย่างไร(How?)  มีวิธีการอื่นเป็นนวัตกรรมใหม่ได้หรือไม่

 

  • ถ้าเกษียณแล้วได้เงิน 7 ล้านบาท จะทำอย่างไรดี

ตอบ ซื้อกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ปีละ 9% จะอยู่ได้อย่างสบายไม่หายไปไหน แต่ถ้าอยากได้มากกว่านี้ เอา 5 ล้านบาท ไปซื้อกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เอา 2 ล้านบาท ไปซื้อกองทุน IMF ซึ่งขึ้นปีละ 17 % แต่อาจมีความเสี่ยง หรือเอาไปลงทุนหุ้น ก็อาจได้เพิ่มขึ้นแต่ต้องเลือกหุ้นดี ๆ เพราะอาจมีความเสี่ยงเช่นกัน

 

  • คุณอนุรัตน์เสนอให้ลองเอารูปแบบของสิงคโปร์มาใช้ได้บ้าง หรือตัวอย่างของประเทศที่ทำสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ มาเป็นแบบอย่าง ไม่จำเป็นต้องคิดขึ้นมาใหม่ ก็น่าจะนำมาปรับใช้เพื่อสร้างประโยชน์ได้เช่นกัน

 

 

 

 

 

 

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่ สี่ ของการเข้าโครงการ  ในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555

            วันนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจ ของคำว่า ทุนมนุษย์  ซึ่งเป็นมนุษย์ที่อยู่ในองค์กรต่าง ๆ  ให้หมายถึง ทรัพย์สิน โดยมีความเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเพิ่มเติมความรู้ จากการบริหารจัดการหลัก ๆ ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี 

             การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์   เป็นการนำสองคำมาเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนมนุษย์  กับกลยุทธ์

            กลยุทธ์ หรืออีกมุมมองหนึ่ง ก็คือยุทธศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน หมายถึง กระบวนการที่มีตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงเป้าหมายสุดท้าย

            ดังนั้น  การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์  ก็คือ การดึงเอาขีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และภูมิปัญญาของบุคคล ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับภาระกิจต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ตรงตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กรที่ตั้งไว้

            สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการหลัก 6 ขั้นตอน ดังนี้

  1.  ต้องวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ SWOT  
  2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง
  3. วิเคราะห์อัตรากำลังในองค์กร   ซึ่งเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบุคคลเท่านั้น  ผู้บริหารทุกท่านจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ ว่าความชำนาญด้านใดที่จำเป็น หากองค์กรมีกลยุทธ์มุ่งไปสู่ AEC เป็นต้น
  4. กำหนด แผนปฏิบัติการ ตั้งแต่การจ้างบุคคลากร จนถึงกระบวนการนำไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถ เพื่อไปปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
  5. IMPLEMENT THE ACTION PLAN
  6. MORNITOR ,  EVALUATE ,  AND REVISE PLAN

                การสร้างทุนมนุษย์  เพื่อการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ  ความรู้ความสามารถ   ปัจจัยที่สำเร็จในการบริหารทุนมนุษย์ ก็คือ  LEADERSHIP   หมายถึงว่า ผู้นำในองค์กรจะต้องให้เกิดการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง   มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ครบถ้วน เชิงบูรณาการ และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นเรื่องที่หวังผลลัพธ์

                นอกจากนี้ มีการฝึกกิจกรรม การใช้สมองด้านขวา  เหมือนว่าเป็นการเค้นเอาความรู้ความสามารถตอบโจทย์ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด  กิจกรรมนี้ชอบมาก   รวมทั้งให้คิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือ MIND MAP

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันเปิดโครงการ  จันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2555

เรื่อง  ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์   โดย อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

          เช้านี้ อาจารย์ แจ้งวัตุประสงค์ของการอบรม เพื่อค้นหาผู้นำ  และเป็นการพัฒนาผู้นำในอนาคตของ กคช.  ดังนั้นในวันนี้ จึงขอฝากผู้นำยุคใหม่ไว้ 3 สิ่ง คือ แรงบันดาลใจที่ได้เกิดขึ้นจากเรียน   สิ่งที่สองคือค้นหา Energy ที่เป็นพลังโดยคิดนอกกรอบ   และสิ่งสุดท้ายการค้นหาตัวเองระหว่างที่อยู่กับ อ.จีระ/อ.ปัณรส และอ.กิตติ

           อาจารย์จีระฯ ได้แลกเปลี่ยนทัศนความรู้ และความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้นว่า ผู้นำ นั้นต่างกับ ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ควบคุม จัดการระบบและควบคุมให้สำเร็จตามเป้าหมายให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในระยะสั้น   ส่วน ผู้นำ จะจัดการที่เน้นคนหรือองค์กร โดยจับหลักการความสำคัญว่าจะมีวิธีการ (what)  และ How ทำอย่างไรให้สำเร็จ และเกิดศรัทธาจากองค์กร  ภาวะผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่นั่นหมายถึง Vision  Mission  Strategies และ Core Value ในอนาคต พร้อมการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และองค์กรมีความสุข    ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สามารถมาจาก การเรียนรู้ และฝึกฝน ตลอดเวลาและไม่มีผู้นำคนไหนที่มีความสุข จากลูกน้องที่ไม่ประสบความสำเร็จ

            การพัฒนาภาวะผู้นำ ใช้หลักทฤษฎี 5E’s  คือ  Example     Experience   Education Environment   และ Evaluation

เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง

             ช่วงบ่ายวันนี้ อาจารย์ ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา  ได้กล่าวถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยเปรียบเทียบในการขี่จักรยานคันเดียวที่มีผู้ขี่ 2 คน  คนแรกคือผู้นำ ที่ต้องขับเคลื่อนองค์กรว่าจะไปอย่างไร ทิศทางไหน   และตัวอย่างของหนังเรื่องเทวดาท่าจะบ๊องส์ เมื่อมีขวดโค๊กใบหนึ่งดตกในหมู่บ้านคนป่าที่อยู่อย่างสงบในดินแดนห่างไกลอารยธรรม  นิเชาเก็บและนำกลับบ้านโดยเข้าใจว่าเป็นของขวัญจากพระเจ้า นับตั้งแต่นั้นมาทุกคนในหมู่บ้านก็เปลี่ยนไป เริ่มจากการมีทรัพย์สิน จากวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีแต่การแบ่งปัน ก็เริ่มมีการอิจฉาริษยา การทะเลาะเบาะแว้ง ความโกรธเคือง ความรุนแรง จึงตัดสินใจว่าขวดโค๊กเป็นสิ่งชั่วร้ายที่นำความขัดแย้งมาสู่หมู่บ้านของเขาโดยอาสาเดินทางอันแสนไกลเพื่อนำไปคืนพระเจ้า

              สรุปบทบาทของผู้บริหาร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือการบริหารการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากการบริหารการปฏิบัติงานประจำ   ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก-ภายใน ผลกระทบ และโอกาสเพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดี ทำให้องค์กรดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และอยู่อย่างยั่งยืน

              หากพิจารณาในส่วนของ กคช.  ซึ่งผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการ ได้มองในเรื่อง ที่ กคช. ได้รับมอบหมายให้จัดสร้างที่อยู่อาศัยจำนวนถึง 600,000 หน่วย ภายในเวลา 5 ปี  ก็จริงอยู่ค่ะ เพราะ ในอดีต กคช. มีความสามารถทำใด้เฉลี่ยปีละ 20,000 หน่วยเท่านั้น ผู้นำ ณขณะนั้น ต้องรับนโยบายและเร่งให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมกับ ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างองค์กร  การปรับกระบวนการทำงาน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่สองของโครงการ     จันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

  • รู้และให้เข้าใจในความหมาย Vission – Mission
  • Vission ของ กคช.ที่กำหนดไว้ว่าใช้ในปี 2554-2558  ดูแล้วเป็นบทบาทมากกว่าที่จะเป็นทิศทางที่จะไป ไปแล้วจะทำให้เราอยู่รอด หรือทำให้เก่งกว่าคนอื่น และทำให้เราดูแลลูกค้าของเราได้ นอกจากนี้ ไม่เห็นภาพถึง 10 ปี ดังเช่นความหมายของ Vission
  • หนังสือ BUILT TO LAST โดย JAMES COLLIN  ได้วิเคราะห์ว่า ธุรกิจจะอยู่อย่างยั่งยืน   ผู้นำและคนในองค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
  • การฝึกความคิดความเข้าใจจากผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 ซึ่งต่อไปจะเป็นผู้นำยุคใหม่  ให้ทบทวน-กำหนดวิสัยทัศน์ของ กคช. โดยวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก ภายใน  Stakehoders   เพื่อรองรับการเปลี่ยนในอีก 10 ปี

 การบริหารกลยุทธ์องค์กร

ทำให้เห็นมุมมองต่าง ๆ ในการบริหารกลยุทธ์จากหน่วยงานอสังหาฯ โดย อ. อนุชา กุลวิสุทธิ์    อ.เฉลิมพล เกิดมณี  และอ.สมชาย สาโรวาท   ซึ่งมุ่งเน้นของการทำเงิน  แต่ กคช. เพื่อสังคม หรือประชาชนผู้ด้อยโอกาศได้มีที่อยู่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม   นั่นก็คือ การมองตัวเองว่าอยู่ในPosition ตรงไหน จึงจะคุ้มทุนหรือจุดผ่าน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันพุธที่ 27  มิย.55 

          วันนี้เป็นหัวเรื่อง การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. ในด้านวัฒนธรรม การตลาด  การผลิต และการเงิน

          วัฒนธรรมองค์กร ถูกสร้างขึ้นด้วยคน  แต่ก็ยังไม่เป็นคำตอบที่ถูกนัก ต้องมี  Spilrit  ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่ง    ส่วนของ กคช.  มุมมองของ อ.ไกรฤทธิ์ฯ ในฐานะที่ได้สัมผัสกับองค์กรมาหลายยุค โดยได้เข้ามาหลายครั้ง คนในองค์กรต้อนรับขับสู้เหมือนเดิมซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ดีสืบทอดกันมา  แต่มีสิ่งหนึ่งที่เห็นสมควรเปลี่ยน คือการรู้เท่าทันกับสิ่งแวดล้อมภายนอก  

           วัฒนธรรม กคช.  ที่หลายคนรับรู้ และดำเนินอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้แก่  กิจกรรมวันสถาปนา กคช.     วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นเป็นตอนนำเสนอตามลำดับสายการบังคับบัญชา   การเคารพผู้อาวุโส

           ด้านการตลาด  อ. พงษ์ชัยฯ ให้ความหมายไว้ว่า  การทำอย่างไรหรือวิธีไหนก็ได้ให้เกิดความอยาก   เมื่อ 40 ปีก่อน กคช. ไม่มีคู่แข่งการทำบ้านราคาถูก เพราะส่วนหนึ่งรัฐอุดหนุน  แต่ขณะนี้ มีหลายบริษัทที่ทำอสังหาฯราคาที่ถูกกว่า กคช.  ดังน็น กคช. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องหาช่องว่าของตลาดให้ได้ว่า ควรจะผลิด หรือมีผลิตภัณฑ์อะไรกันแน่   ที่จะสามารถเสนอให้ลูกค้าหรือไม่  หรือมีลูกเล่นอย่างไรให้เป็นที่นิยมในตลาด

            วิเคราะห์การผลิต  เป็นการสร้างจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนผลิต และรูปแบบบ้านไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบชานเมือง  เป็นการสร้างแล้วขาย   หากขายแล้วสร้างจะเน้นระดับรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง

            วิเคราะห์การเงิน  กคช.จะมีรายรับจากการโอนที่อยู่อาศัย และบริหารสินทรัพย์เช่า แต่มีค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  รวมถึงต้นทุนสินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่นกัน  จึงมีความเสี่ยงทางการเงินในสินค้าคงค้าง และภาระหนี้ระยะยาวที่ค่อนข้างสูง  ถึงแม้ว่างบการเงินในปี 2553 กคช. ไม่ติดลบก็ตาม   และในอนาคตงบการเงินเป็นอย่างไร หากติดลบ เป็นด้วยปัจจัยอะไร ที่ทุกคนจะต้องแก้ปัญหา

 

วิญญา สิงห์อินทร์

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ดร.สุรพงษ์ 11 มิ.ย. 2555

การบริหารความเสี่ยงสามารถนำมาใช้ได้ในเชิงบริหารที่ไม่ได้มองความเสี่ยง  แค่เป็นการรายงานเพื่อลดความเสี่ยงที่องค์กรได้ประเมินไว้  โดยมองหา 1.  โอกาส  
  1. ควบคุมความเสี่ยงอยู่ในจุดจัดการได้ 3. ยอมให้มีความเสี่ยงได้ในระดับสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งหมดให้มองเป้าหมายองค์กร (ยุทธศาสตร์) องค์กรเป็นตัวตั้งแล้วหากลยุทธ์ที่จะบรรลุเป้าหมายและความเสี่ยงที่ควรพิจารณาในการประเมิน ติดตามก็ต้องมาจากความเสี่ยงที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เป็นความเสี่ยงที่แต่ละหน่วยงานภายในกำหนดขั้นมาเองโดยไม่เชื่อมโยง

    อ.สมชาย นำเสนอวิวัฒนาการการบริหารความเสี่ยงผลมาจากการประเมินของ สคร. และอนาคตจะใช้ระบบ SEPA ซึ่งต้องมองการเชื่อมโยงถึงกระบวนการทำงานด้วย และองค์กรต้องให้ความสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนในการบริหารงานความเสี่ยงเพราะองค์กรจะได้ประโยชน์ในการบริหารงานก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตอบยุทธศาสตร์ขององค์กร ไม่ใช่เพียงแค่ผลการประเมินเพื่อคะแนน

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

การอบรม วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 ครั้งที่ 5 ของการอบรม ช่วงเช้า อาจารย์สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ - ให้ความรู้ด้านการบริหาร - ให้ความรู้ในด้าน AEC ด้านบริหาร ให้คิดทำอย่าง Systematic Thinking ต้อง รู้, รู้จริง, ตระหนัก, สิ่งที่รู้ไปใช้ได้สารพัด รับข้อมูล ประมวลข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์

    ใช่, ไม่ใช่,ขยะ   จัดเก็บอย่างเป็นระบบ  จะนำข้อมูลไปใช้


            การเชื่อมโยง

            มีอะไร

ด้าน Economic Conmenity ให้ทราบถึงที่มา ซึ่งเหมือน EEC แตกต่างบนความเข้มข้น การดำเนินการการ และจะต้องดำเนินการต่อไป ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันด้วยหลัก สินค้า, บริการ, เงินทุน, แรงงาน ช่วงบ่าย ให้ทราบถึงรายละเอียดของพันธมิตรที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ปัจจุบันต้องเตรียมตัวอย่างไรให้มองไปถึงนอกกลุ่ม 10 ประเทศ ยังมี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ประเด็นสำคัญหลังปี 2558 1. ภาษาเป็น 0 2. ต่างชาติ มาลงทุนคือหันได้ 70% 3. การเคลื่อนย้ายแรงงานได้ 7 อาชีพ 4. เคลื่อนย้ายเงินลงทุนได้เสรี

การเคหะแห่งชาติ  ควรตั้งหน่วยงานภายในให้สามารถเตรียมการ และร่วมมือกับชาติอื่นๆ ในการเป็นต้นแบบทำโครงการที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับความเจริญของเมือง และอุตสาหกรรม  ตัวอย่าง
  • ประเทศพม่า ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมท่าเรือ ก็ต้องพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และการสร้างเมืองใหม่ รองรับกับอุตสาหกรรม
  • ประเทศลาว เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าและปูนซีเมนต์ที่สามารถขายในลาว และเวียดนาม
  • ประเทศเวียดนาม เปิดแนวอุตสาหกรรมพื้นฐานพร้อมที่อยู่อาศัย เพราะเวียดนามจะเป็นพันธมิตรกับจีน จึงเป็นโอกาสของไทย
  • ประเทศกัมพูชา ทำธุรกิจทางทรัพยากร
  • ประเทศสิงคโปร์ พันธมิตรในการลงทุนทั้งเครือข่ายสารสนเทศ และสื่อสารบันเทิง
จารุวรรณ งามกนกวรรณ

วันที่ 9 กรกฎาคม 2555

การบริหารธุรกิจในยุค AEC

ความรู้ที่ได้รับ 1.1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาเศรษฐกิจอาเซียน ในเรื่องข้อตกลงต่างๆที่ประเทศไทยได้ไปเซ็นสัญญา การบริหารคืออะไร คุณสมบัติผู้บริหารในยุคปัจจุบันต้องเป็น Systematic thinking คิดเป็นภาพรวม มองภาพใหญ่ ตัดเรื่องไม่สำคัญออก คิดเฉพาะเรื่องสำคัญของงานบริหารในสิ่งที่เหมือนบนความแตกต่าง 1.2. AEC - คืออะไร พิจารณาจากข้อตกลงอะไร ศึกษาข้อดีข้อเสียของข้อตกลงต่างๆที่ประเทศไทยได้ไปตกลงนามกับนานาชาติได้ รวมทั้งผลกระทบต่อข้อตกลงต่างๆของหน่วยงาน และผลกระทบต่อวิธีการบริหาร 1.3. กคช.ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง - อาจจะต้องปรับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของข้อตกลงจาก AEC ที่กำลังจะเกิดขึ้น

สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน

จะนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการจัดทำแผนและบริหารภายใต้ข้อตกลงของ AEC

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ ความรู้ที่ได้รับ 1.1. มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารงลประมาณส่วนตัว เทคนิคการบริหารเงินในครอบครัวเพื่อให้มีความสุขในการทำงาน ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอ และการบริหารงบประมาณแผ่นดิน เรียนรู้ถึงระบบงบประมาณ, รายได้ของประเทศ, การวางแผนงบประมาณ รวมถึงการจัดทำงบประมาณ 1.2. ระบบการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างงบประมาณกับ vision strategic plan ระบบบริหารแบบมุ่งเน้นผลงานการจัดทำแผน 1.3. แนวคิดในการคิดต้นทุนในการผลิต การคำนวณต้นทุนของผลผลิต และการการจายต้นทุน 1.4. การประเมินผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดผลิตผลของ QQCT รูปแบบการประเมินผล

สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน
ในเนื้อหาการอบรมดังกล่าวสามารถนำมาใช้ทั้งชีวิตส่วนตัว นำระบบการออมและการลงทุนมาปรับใช้เตรียมตัวสู่ชีวิตเกษียณอายุ และสามารถนำมาใช้ในการทำงาน คือนำความรู้ด้านการบริหารมาใช้ในการตั้งงบประมาณต่างๆ ไปจนถึงการประเมินผล

11 กรกฎาคม 2555

     จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ และการบริการงบประมาณเชิงกลยุทธ์ สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

1. เนื่องจากความแปรปรวนจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกที่มากระทบการดำเนินการขององค์กร เป็นเหตุให้ผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงเป็นเหตุให้จำเป็นต้องมีการพิจารณาเชิงลึกถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เรียกว่าความเสี่ยงกันอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มศักยภาพ ขีดความสามารถ และรับมือกับภาวะปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงลิ่ว

2. จากการศึกษาพบว่าความเสี่ยงมีทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เป็นภาวะแวดล้อมที่ป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ จึงต้องมีการศึกษารับมือเป็นกรณี ๆ ไป เช่น ภัยจากสึนานิ ป้องกันไม่ได้ แต่สามารถจัดการโดยลดความเสียหาย หรือหลีกเลี่ยงที่จะปะทะได้ ซึ่งก็คือการจัดการกับความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เป็นต้น

3. การจัดการกับความเสี่ยงต้องดำเนินเป็นกระบวนการ สำหรับความเสี่ยงที่ป้องกันได้ องค์กรต้องหาวิธีการป้องกัน โดยคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ จัดให้มี Work Shop ให้ทุกคนมีส่วนร่วมจึงจะได้ผล ต้องคิดเลือกว่าประการใดเป็นความเสี่ยงหลัก หรือความเสี่ยงลำดับรอง ๆ จำเป็นต้องแยกให้ออกและให้น้ำหนักการจัดการ ซึ่งการป้องกันความเสี่ยงหลักจะมีผลโดยตรงต่อผลงาน

4. ต้องมีการประเมินผลทุกระยะโดยต้องประเมินด้านประสิทธิภาพประสิทธิผลของการดำเนินการ/วิธีดำเนินการ คิดตัวชี้วัดประเมินการบริหาร การจัดการก็คือการประเมินผลงานนั่นเอง

5. ในองค์กรพบว่ายังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเรื่องความเสี่ยง แต่ยังมีผู้มองความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ไม่ดี ยังเข้าใจว่าความเสี่ยงต้องขจัดให้หมดสิ้นไป หรือมีทัศนคติที่ระมัดระวังจนกระทั่งไม่ตัดสินใจ/ไม่ทำอะไร ซึ่งเป็นผลเสียหายอย่างยิ่ง ดังนั้น ภายในองค์กรจึงต้องเริ่มจากการปรับพื้นฐาน ทำความเข้าใจให้ตรงกัน ให้ถูกต้องตามหลักบริหารความเสี่ยง

6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการบริหารความเสี่ยง เช่น ช่วยในการสื่อสารแก่กัน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ช่วยการตรวจสอบภายใน จากการที่มีการทบทวนเป็นระยะ ๆ รอบเวลา ทำให้พบช่องทางหรือโอกาสหรือวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในองค์กร

7. ทำให้ทราบว่าการจัดการบริหารความเสี่ยงมีวิธีการหลัก ๆ 3 วิธี คือ

    1. ความเสี่ยงที่ป้องกันได้ สามารถจัดการโดยกำหนดให้เป็นข้อปฏิบัติเป็นข้อบังคับให้ทำโดยกำหนดให้เป็นมาตรฐาน

    2. ความเสี่ยงบางประเภทแก้ไขได้ โดยการลดผลกระทบจากความเสี่ยงให้เบาบางลงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

    3. ความเสี่ยงที่เกิดจากภายนอกที่เราจัดการไม่ได้ เช่น แผ่นดินไหว, พายุรุนแรง, สึนามิ เราสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการย้ายโครงการ ย้ายที่ทำการ เป็นต้น

8. การบริหารความเสี่ยงสามารถดำเนินได้ ตามข้อเท็จจริงและสถานการณ์ ดังนี้ • การยอมรับความเสี่ยง โดยยอมให้มีได้ภายในระดับต่ำ

    • การลดหรือควบคุมความเสี่ยง เช่น ทำประกันภัย, กระจายการลงทุน

    • การกระจายความเสี่ยง โอนความเสี่ยง การเคหะแห่งชาติอาจจะลดขนาดโครงการ หรือแบ่งเป็น 2 โครงการ 2 ทำเล

    • หาโอกาสใช้ประโยชน์จากความเสี่ยง โดยการเคหะแห่งชาติอาจจะสร้างบ้านลอยน้ำขายกรณีหลังน้ำท่วมใหม่ หรือไปทำโครงการบนเนินเขาสูง ๆ ขาย เป็นต้น

9. การบริหารความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยงเท่ากับเป็นการควบคุมภายในองค์กรโดยเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง แล้วค้นหาความเสี่ยงโดยมองว่าอะไรคือความเสี่ยงในธุรกิจของการเคหะแห่งชาติ เช่น ราคาวัสดุก่อสร้าง/การปรับเพิ่มค่าแรงงาน เป็นที่แน่ชัดว่า หากการเคหะแห่งชาติตั้งหัวข้อความเสี่ยงได้ถูกต้อง ก็จะส่งผลต่อผลสำเร็จของการขายบ้านของการเคหะ ต้องให้ได้ความว่าความเสี่ยงที่ตั้งไว้จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเป้าหมาย

10. การประเมินความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ตั้งหัวข้อประเมินแล้วพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดในแต่ละข้อ ดูว่ามีความถี่ในการเกิดบ่อยหรือนาน ๆ ครั้ง กรณีที่เกิดแล้วมีผลกระทบด้านใด เรื่องใด รุนแรงเพียงใด จากนั้นให้วิเคราะห์ว่า อยู่ในระดับยอมรับได้หรือไม่ หรือชะลอไว้ก่อนได้ หรือต้องจัดการก่อน เป็นต้น

11. ในการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดยหลัก ๆ ผู้บริหารต้องพิจารณาจาก WHAT – HOW – WORK โดยตัดสินใจลงทุนมุ่งให้ได้ผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหวัง หรือตั้งเป้าหมายไว้

-------------

11 กรกฎาคม 2555

ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วันที่ 9 กรกฎาคม 2555 เรื่อง การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

    ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้รู้แนวคิดเชิงระบบเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งระบบจะต้องประกอบด้วย
    - องค์ประกอบ
    - หน้าที่ขององค์ประกอบ
    - ปฏิสัมพันธ์
    - ความคงอยู่ของระบบ
    สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีลักษณะเป็นตลาดร่วม โดยเปิดเสรีทางด้านสินค้า บริการ 

แรงงาน การลงทุนและการเงิน โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ

    1. Free  Trade  Area (AFTA)
     2. Custom  Union
     3. Common  Market
     4. Economic  Union
     5. Total  Economic  Union
     ความรู้จากการอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ที่แสดงความเชื่อมโยงกัน ขณะที่ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับระดับความร่วมมือของ AEC ช่วยให้การเสนอแนวทางในการเตรียมความพร้อมของการเคหะแห่งชาติเพื่อการแข่งขันใน AEC ตรงประเด็นและบรรลุเป้าหมายการเป็นองค์กรที่มีความสำคัญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน
    ส่วนการอบรมในภาคบ่ายได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความร่วมมือและบทบาทของการเคหะแห่งชาติในการช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยแก่ ประเทศสมาชิก AEC ที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่าประเทศไทย อย่างไรก็ดี การเคหะแห่งชาติจะต้องเตรียมความพร้อมด้านทุนมนุษย์อย่างเร่งด่วน ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

                                                                                                          ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี

    อาจารย์สมชาย  ไตรรัตนภิรมย์
    ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงในด้านการควบคุมความเสี่ยงตามหลักการควบคุมภายในทั้งก่อนและหลังการดำเนินงาน คือ
    1. ก่อนดำเนินการใช้วิธี ดังนี้
      1.1   Directive  การกำหนดให้ทำตามหลักเกณฑ์ กฎเกณฑ์และกระบวนการที่กำหนดไว้ เช่น การ

ใส่ชุดทำงานป้องกันในพื้นที่อันตราย

      1.2   Preventive  การควบคุมที่มุ่งลดผลกระทบอันไม่พึงประสงค์ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การ

เซ็นต์เช็ค การสั่งจ่าย การให้สัมภาษณ์ เป็นต้น

     2. หลังการดำเนินงานใช้วิธี ดังนี้
      2.1   Detective  การควบคุมที่มุ่งค้นหาว่าผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร เพื่อเป็นบท

เรียนสำหรับอนาคต

      2.2   Corrective  การควบคุมที่มุ่งแก้ไขผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ให้บรรเทาลง เช่น การเขียนเงื่อน

ไขในสัญญาให้มีการชดใช้หากมีการจ่ายเงินเกิน

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร

    น.อ.ศิรัส  ลิ้มเจริญ
    ประโยชน์ที่ได้รับ คือ รู้ว่าการของบประมาณหรือจัดหางบประมาณจะต้องใช้ข้อมูลที่เป็นจริงในการชี้แจงต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ โดยระบุความจำเป็น วิธีการดำเนินงาน ระยะเวลา งบประมาณ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งควรมีตัวชี้วัดหรือ KPI ในแต่ละกิจกรรม นอกจากนั้น ยังได้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินจาก ดร.สุวรรณ  วลัยเสถียร โดยจะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน โดยกำหนดสัดส่วนการใช้จ่าย การลงทุนและการออม
     ทั้งนี้ การอบรมทั้งภาคเช้าและภาคบ่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนและบริหารความเสี่ยงของการเคหะแห่งชาติได้ดีขึ้น และภาคบ่ายสามารถเขียนโครงการเพื่อของบประมาณได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

                                                                                                                ดร.อภิวัฒน์  บุญส่ธร

วันที่ 9 ก.ค.2555 อบรมเรื่องอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้รับความรู้เรื่อง ความเป็นมา AEC ตั้งแต่เริ่มเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียน วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ที่ผ่านมาจนกระทั่งมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาเซียนจะกลายเป็นตลาดร่วมอย่างสมบูรณ์ อาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง อาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้าถึงกับเศรษฐกิจโลกดังนั้นเราจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเข้าสู่ AEC ด้วยการจัดการความรู้หรือความคิดในเชิงระบบ เชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความคงอยู่ขององค์กร การเรียนรู้ต้องรู้ให้จริง ต้องตระหนัก และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความคิดในเชิงระบบ เป็นกระบวนการบริหารการจัดการ ซึ่ง AEC ก็เป็นการบริหารจัดการในเชิงระบบ

ภาคบ่ายเรียนเรื่อง AEC เพิ่มเติมทำให้เข้าใจ  AEC ชัดเจนยิ่งขึ้นประโยชน์ต่างๆ ที่  

ประเทศสมาชิกจะได้รับ เมื่อเข้าสู่ AEC มีการทำ WORKSHOP เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของการเคหะฯ การเคหะฯ จะได้รับประโยชน์จากAEC อย่างไร การเตรียมบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าร่วม AEC และหาโครงการใหม่ ๆ ที่จะเชื่อมโยงสู่ AEC

วันที่ 11 ก.ค.2555 อบรมเรื่อง การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ได้ ทราบความเป็นมาของการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลัง ที่จ้างบริษัท TRIS เข้ามาประเมินผลงานของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเชื่อมโยงไปยังการบริหารความเสี่ยง ทำไมต้องมีการบริหารความเสี่ยง เป็นเรื่องที่กำหนดไว้ในหลักธรรมาภิบาล เป็นการป้องกันผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดกับการบริหารจัดการองค์กร การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในเป็นเรื่องเดียวกัน บริหารความเสี่ยงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ความเสี่ยงเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร ทำให้เกิดการสื่อสารที่ดี ช่วยในการบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและทำให้เกิด การตรวจสอบภายใน

ภาคบ่ายได้เรียนรู้เรื่อง  การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์  เริ่มจากการบริหารงบประมาณของตัวเองก่อนการวางแผนการเงิน  การลงทุน  การดูแลการเงินทำอย่างไรจึงจะสามารถเก็บเงินได้และทำอย่างไรให้เงินที่เก็บไว้มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
สำหรับองค์กร  การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์  การทำงาน  

ในแง่งบประมาณจะต้องคำนึงถึงว่าเราจะทำอะไรที่ไหนอย่างไรและเกิดประโยชน์แก่องค์กรอย่างไร งบประมาณเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้บริหารจัดการองค์กร เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการตัดสินใจเลือกการลงทุน การทำงบประมาณ เป็นเรื่องของการเจรจาต่อรอง ต้องมีข้อจริงชัดเจน ข้อมูลที่ดี เพียงพอ จะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น และต้องมีจริยธรรม ปราศจาก อคติ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

ขออนุญาตส่งการบ้านคร้ังที่ 6 ค่ะ

 

อรพิณ

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
          สรุปวิชาการบริหารธุรกิจในยุค AEC
                    วันที่ 9 กรกฏาคม 2555 (ช่วงเช้า)  
                โดย รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

AEC คืออะไร 1.ตลาดและฐานการผลิตร่วม 2.เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน 3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจแบ่ง เขตการค้าเสรี คือแบบผสม แบ่งเป็น 2 แบบ แบบหลวม ๆ และ แบบเข้มข้น วิธีการเปิด AEC 1.ขจัดอุปสรรค คือการเปิดด่าน 2. การประสานนโยบาย 3. การทำให้ครบวงจร วิธีการเข้าสู่ AEC 1.การเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน 2.ปรับกฎเกณฑ์ 3.ปรับโลจิสติกส์ 4.การสร้างความสัมพันธ์ของ อาเซียนกับประเทศอื่น ๆ

การบริหารการจัดการที่สามารถเข้าสู่ประชาคม AECได้อย่างดีควรทำอย่างไร

   ต้องเปลี่ยนจากโง่เป็นฉลาด
    รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
    ต้องไม่เป็นโรค IOKO
      ต้องทำงาน และคิดเป็นระบบ
    สามารถทำนายอนาคตได้
    ต้องรู้จริง
    การบริหารไม่มีทางรอด ถ้าปรับ Mindset เป็นระบบคิด 


                                                                                              นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                                        [email protected] 
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

สรุปวิชาการบริหารธุรกิจไทยในยุค ASEAN วันที่ 9 กรกฏาคม 2555 (ช่วงบ่าย)
โดย อ.คุณอรุณี พูลแก้ว ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ดร.โสภณ พรโชคชัย

เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint
  1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่ว
  2. การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก วัตถุประสงค์หลักของ AEC โดยสรุป 1.ภาษีต้องเป็นศูนย์ 2.คนเข้ามาลงทุนอย่างเป็นเสรีมากขึ้น ต่างชาติมาลงทุนได้ 70% 3.มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี มีสิทธิเข้ามาขอใบอนุญาต ในอาชีพ 7 อาชีพ 4.เคลื่อนย้ายเงินลงทุนได้อย่างเสรี โอกาสและความท้าทายต่อการเคหะแห่งชาติ
  5.   พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในและต่างประเทศ
    
  6.   แหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น
    
  7.   ทางเลือกสินค้า บริการที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น และถูกลงด้วย
    
  8.   การขาดแคลนแรงงาน จะทำให้มีการแข่งขันสูงขึ้น  
    
  9.      สิ่งก่อสร้างจะถูกลง ทำให้ต้นทุนการก่อสร้างถูกลง
    

การทำ Workshop 1.วิเคราะห์ AEC – จุดแข็งของการเคหะฯ – โอกาส (Opportunities) – ยุทธวิธีในการฉกฉวยโอกาสจาก AEC ที่เหมาะสมของการเคหะ ฯ 2.วิเคราะห์ AEC - จุดอ่อนของการเคหะฯ – ความเสี่ยง (Opportunities) – ยุทธวิธีในการลดความเสี่ยงจาก AEC ที่เหมาะสมของการเคหะฯ 3เสนอโครงการเตรียมความพร้อมเรื่อง “ทุนมนุษย์และการบริหารจัดการ”ของการเคหะฯ พร้อมรับ AEC 4.เสนอโครงการ 2 โครงการที่น่าสนใจเชิงรุกในการเชื่อมโยงการเคหะฯ สู่ AEC และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                                                                                              นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                           สรุปวิชาการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ
                              วันที่ 11 กรกฏาคม 2555 (ช่วงเช้า) 

โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี อ.สมชาย ไตรรัตนภิรมย์ อ.อนุรัตน์ ก้องธรณินทร์

            - Risk จากภัยเทคโนโลยี
            - Risk จากภัยธรรมชาติ
            - Risk จากนโยบายและการดำเนินงาน
            - Key Success Factorsในการบริหารความเสี่ยงคือ Common Goals,     Communications,Commitment และ Co-ordination
            - กระบวนทัศน์ใหม่ ด้านการบริหารความเสี่ยง เป็นการบริหารแบบบูรณาการอย่าง

ต่อเนื่อง พิจารณาในมุมมองกว้าง และเน้นการบรรลุยุทธศาสตร์ - การบริหารความเสี่ยง เน้นการบริหาจัดการเพื่อให้องค์กร หน่วยงาน โครงการหรือกิจกรรมย่อยๆ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ - การจัดการกับความเสี่ยงเพื่อให้ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ลดผลกระทบของความเสี่ยง และแสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

            - การบริหารความเสี่ยงเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ดังนั้นเราจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ต้อง SMART คือ            
                            S : Specific          - เฉพาะเจาะจง
                            M : Measurable   - สามารถวัดได้
                            A : Acheivable    - สามารถบรรลุผลได้
                            R : Relervance    - มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายกลยุทธ์องค์กร
                            T : Timeness       - สามารถกำหนดระยะเวลาในการบรรลุผล

            - กระบวนการบริหารความเสี่ยง เป็นเทคนิคในการลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นและเทคนิคในการลดผลกระทบ
            - การบริหารความเสี่ยงของรัฐวิสาหกิจปีบัญชี 2555  กำหนดเกณฑ์การวัดแบบการผสมผสานระหว่างการวัดแบบระดับกับการวัดแบบเกณฑ์ย่อย ซึ่งพวกเราจะต้องร่วมมือกันบริหารความเสี่ยงโดย ปี 2554  การเคหะแห่งชาติผ่านเกณฑ์ระดับ 1-3 และจะต้องช่วยบริหารความเสี่ยงในคะแนนถ่วงน้ำหนัก ซึ่งเป็นเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปวิชาการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 (ช่วงบ่าย) ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนหลังวัยเกษียณ ด้านงบประมาณครัวเรือน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

            1.ทรัพย์สินกลุ่มที่มีตัวตน เช่น บ้าน รถ ทรัพย์สิน เงิน ทอง
            2.ทรัพย์สินกลุ่มไม่มีตัวตน เช่น หุ้น กองทุนประเภทต่างๆ
 ต้องปรับเปลี่ยนประเภทการลงทุนให้เหมาะสมกับ วัน เวลา และสภาพแวดล้อม

อาจารย์เปรียบเทียบการลงทุนออกเป็น 4 ประเภทคือ

      1.วัวกระทิง เปรียบเหมือนกับ  เวลาขาขึ้นมีโอกาสทำกำไร ก็จะซื้อราคาถูกแต่ขายแพง
      2.หมีเปรียบเหมือนกับ   เวลาขาลงมีโอกาสทำกำไรจะขายตอนถูกแต่จะซื้อตอนถูกกว่า
      3.หมู  เปรียบเหมือนกับ  เวลา ไม่มีกำไร แต่กินจุ
      4.แกะ เปรียบเหมือนกับ   เวลา ไม่มีกำไร ขี้ขลาด

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ น.อ. ศิรัส ลิ้มเจริญ

การจัดทำงบประมาณองค์กร แบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงาน ต้องมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน  ต้องมีความจำเป็น ต้องนำไปใช้ ต้องมีข้อมูลดี ครบถ้วน สมเหตุสมผล จึงจะมีโอกาสเจรจาต่อรองได้
                                                                                               นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 

สรุปผลการอบรมในวันที่ 11 กรกฎาคม2555

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ได้ข้อคิดเห็นเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานคือ 1. ในการบริหารความเสี่ยง เมื่อความเสี่ยงลดลงแต่ผลไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ แสดงว่าเราระบุความเสี่ยงไม่ถูกต้อง (บริหารสิ่งที่ไม่เกิดประโยชนฺ) 2. ความเสี่ยงบางครั้งมีมุมมองเชิงบวกอยู่ในตัว หากไม่มีความเสี่ยงก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือพัฒนา นวัตกรรมก็ จะไม่เกิด 3. หลักการจัดการกับความเสี่ยง

3.1 ยอมรับ ต้องยอมให้มีความเสี่ยงบ้าง ในกรณีที่จัดการความเสี่ยงแล้วไม่คุ้มกับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
3.2 ควบคุม ทั้งโอกาสและผลกระทบในระดับที่ยอมรับได้
3.3 แบ่ง/ผ่องถ่ายความเสี่ยง  ผ่องถ่ายให้กับบุคคลที่สามร่วมรับความเสี่ยง เช่น การทำประกัน 
3.4 หลีกเลี่ยง  ความเสี่ยงบางอย่างควบคุมได้โดยการยกเลิก เป้าหมาย โครงการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง
3.5 การฉวยใช้ประโยชน์  ความเสี่ยงบางอย่างนำมาซึ่งโอกาสในการบริหารจัดการ

ในภาคบ่าย หัวข้ออบรมเรื่องการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธฺ ท่านอาจารย์ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ได้ชี้ช่องทางสู่ความมั่งคั่ง 4 ประการ 1. ขยัน หนักเอาเบาสู้ 2. อดออม 3. ใฝ่หาความรู้ มีความคิดริเริ่ม รู้จักหาทางออก แก้ปัญหา 4.ทำบุญกุศล

การลงทุนตามช่วงเวลาของชีวิต 1. วัยหนุ่มสาว เสี่ยงได้ บ้าน 40% หุ้น 40% ตราสารหนี้ 10% ทองคำ 10% 2. วัยกลางคน ลดความเสี่ยง บ้าน 35% หุ้น 30% ตราสารหนี้ 25% ทองคำ 10% 3. วัยเกษียณ ลงทุนต้องไม่เสี่ยง บ้าน 20% หุ้น 30% ตราสารหนี้ 35% ทองคำ 15%

ได้รับความรู้ในการบริหารจัดการตนเองหลังเกษียณเป็นอย่างมาก ซึ่งในบางเรื่องก็แอบดีใจที่ได้ทำบ้างแล้วแบบถูกทาง ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.สุวรรณฯ ที่ได้มาชี้ช่องทางการวางแผนการเงินรองรับวัยเกษียณ ซึ่งจะได้นำมาใช้อย่างแน่นอนค่ะ

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันที่ 9 กรกฏาคม 2555   การบริหารธุรกิจในยุคอาเชียน

            ช่วงเช้า หลังจากที่ได้ฟัง อาจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  วิเคราะห์ประเด็นความรู้เกี่ยวกับงประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน พร้อมกับสอนการเตรียมตัวของผู้บริหาร ให้เป็นผู้ที่อยู่ในจุดที่มองเห็นโลกได้ทั้งหมดเปรียบเสมือนโลกแบน  ด้วยการวางแผนให้เป็นระบบไปสู่อานาคต ว่ามาจากไหน จะไปทางไหน เป็นการฝึกเพื่อให้มีทักษะการทำนายอนาคต     สำหรับเนื้อหาตามความเข้าใจสามารถสรุปได้ ดังนี้

            ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ( AEC ) ที่ทุกคนในขณะนี้รู้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2558   หากมองย้อนหลังออกไปจะเห็นว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  และมนุษย์อยู่ในสังคมแห่งความรู้   ข่าวสาร  เทคโนโลยี  ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ  แต่การก่อกำเนิดของอาเชียนได้รวมตัวมากันตั้งแต่ปี 2510 และต่อยอดออกมาเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(AFTA) เขตการค้าเสรีในปี 2536    ความตกลงด้านการค้าบริการ และเขตการลงทุนอาเชียนในปี 2538 เป็นต้นมา  ดังนั้น ข่าวสารความรู้  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหาร หรือผู้นำ จะต้องรู้ให้รอด  รู้จริง  มีความตระหนัก และเห็นสิ่งจริงภายใต้การแตกต่าง  นั่นก็คือการคิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking)  ซึ่งความหมายของคำว่า “ระบบ”  จะต้องมีองค์ประกอบคือฟังก์ชั่น หลาย ๆ ฟังก์ชั่นที่เชื่อมสัมพันธ์กัน ถ้าเปรียบกับการบริหาร หมายถึงกระบวนการงานบริหารจัดการในแต่ละหน่วยงานจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน  ทำให้เกิดความมั่นคงของระบบ องค์กรอยู่อย่างยั่งยืน และมีความสุข

              นอกจากนี้ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มองจุดเห็นโลกทั้งหมด โดยเห็นว่าโลกแบน  และต้องเป็นนักคิดกลยุทธ์หมายถึง รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง  ให้คิดเป็นระบบมองอนาคต ทุกอย่างในโลกนี้เป็นกระบวนการ ให้ปรับเปลี่ยนความคิดจากคำถามว่า อะไร เป็น ทำไม และ ทำอย่างไร  แล้วจะเห็นสิ่งที่เหมือนกัน  ดังนั้นในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  การบริหารจัดการองค์กรที่ดีผู้บริหารจะต้องฝึกระบบคิด เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และปรับกฏเกณฑ์

   

    ช่วงบ่าย จะเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ ของวิทยากร และอาจารย์  โดยให้ความหมาย AEC        ก็คือตลาดร่วม หรือตลาดเดียว ที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และเงินทุนโดยเสรี ไม่มีเส้นกั้นระหว่างประเทศ  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะ 10 ประเทศใน เอเชี่ยนเท่านั้น เนื่องจากแต่ละประเทศไปทำสัญญากับประเทศอื่น ๆ ดังนั้นอาจหมายถึงครึ่งหนึ่งของโลกทีเดียว   เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ผู้บริหาร กคช. ควรได้มีการระดมความคิดที่เป็นระบบ เตรียมพร้อมการเข้าสู่ยุคประชาคมอาเชียน   หาโอกาส และลดผลกระทบจากจุดอ่อนในอดีตที่ผ่านมา  สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์บ้างก็ตาม เพื่อให้องค์กรได้คงอยู่อย่างยั่งยืน

   วันนี้ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจและมีประโยชน์มากทีเดียวสำหรับผู้บริหารที่เตรียมพร้อมจะเป็นผู้นำต่อไปในยุค AEC   

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2555 

เรื่องที่ 1  การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

            วิทยากรโดยคุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์  รองกรรมการผู้จัดการบ.ทริส   ได้มาบอกเล่าความเป็นมาของระบบประเมินผล และการก่อตั้งหน่วยงานทริส เข้ามามีบทบาทในการประเมินผลของรัฐวิสาหกิจให้กับสำนักงานกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ  กระทรวงการคลัง  โดยในช่วงแรก ๆ จะเป็นเรื่องของการวัด KPI และตัวชี้วัด   สะท้อนถึงประสิทธิภาพที่มุ่งสู่ประสิทธิผลหรือการบรรลุได้ตามผลงานอย่างเดียว   ในแนวคิดนี้  ต่อมามีคำถามที่เกิดขึ้นตามมาว่า  ผลงานที่สำเร็จนั้นจะทำให้องค์กรอยู่อย่างยั่งยืนหรือไม่  เพราะการแสดงของข้อมูลอาจจะไม่ใช่สำหรับการบริหารองค์กรที่แท้จริง   ดังนั้น ในปี 25544 กระทรวงการคลัง จึงปรับจุดมุ่งเน้นในเรื่องการบริหารจัดการองค์กร เพิ่มขึ้น ได้แก่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์  ระบบการควบคุมภายใน  ระบบเทคโนโลยี และต่อมาอีก 2-3 ปี ก็ให้ความสำคัญของเรื่อง ความเสี่ยง ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญหนึ่งในการบริหารองค์กร (Good Governance)

               อาจารย์สุรพงษ์ มาลี  มาให้ความรู้ในเชิงทฤษฎี ว่า การบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานอาจทำมานานแล้วแต่ยังไม่ชัดเจน  เพราะบางเรื่องเป็นความเสี่ยง แต่บางเรื่องไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง  และในสถานะที่เป็นผู้บริหาร อาจจะต้องเผชิญกับการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่ไม่ทราบผลลัพธ์ที่แน่นอน  จึงจะต้องกำหนดให้มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เป็นตัวช่วย     การบริหารความเสี่ยงมีกระบวนการและเทคนิคประกอบด้วย  การระบุความเสี่ยง  ประเมินความเสี่ยง  จัดการกับความเสี่ยง  และติดตามผลการบริหารความเสี่ยง 

               ความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยง เป็นเรื่องที่ไม่ดี ต้องกำจัดให้หมดไป ไม่ให้เหลือเลยเพิ้อทำตัวให้ปลอดภัยดีกว่านั้น ไม่ถูกต้องเพราะในโลกใบนี้การดำเนินชีวิตทุกๆย่างก้าว ทุก ๆ แห่ง มีความเสี่ยงตลอดเวลา    ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง เพื่อจัดการปัองกันให้อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้โดยยึดหลัก 5Ts   of Risk Management ดังนี้

  1. Tolerate  การยอมรับให้มีความเสี่ยงบ้าง
  2. Treat  การจัดการควบคุมความเสี่ยง  แต่มิใช่ให้หมดไป เป็นการควบคุมทั้งโอกาสและผลกระทบให้อยู่ในระดับที่รับได้
  3. Transfer  การกระจาย/โอนความเสี่ยงให้บุคคลที่สามร่วมรับความเสี่ยง
  4. Take  การฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงบางอย่างอาจนำมาซึ่งโอกาสในการบริหารจัดการ        

              ความรู้ในหัวข้อนี้ เพื่อให้ผู้บริหาร ได้ทบทวนความจำเป็นของการบริหารความเสี่ยง เพื่อสามารถนำไปใช้เป็นหลักการบริหารองค์กรที่ดี ในการจัดการกลยุทธ์ และมาตรฐานการควบคุมภายใน ซึ่งช่วยในการเพิ่มโอกาสให้หน่วยงานบรรลุเป้าประสงค์และพันธกิจที่ตั้งไว้ พร้อมกับการพัฒนาผลงานขององค์กรทั้ง การพัฒนาสินค้าและบริการ  การใช้ทรัพยากรองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป

 

เรียน ท่านอาจารย์ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

           ขออนุญาตส่งการบ้านร่วมยอด 6 ครั้งนะคะ  โดยยืนยันว่าแต่ละคร้ังได้สรุปไว้ในสมุดเป็นประจำ แต่ยังไม่มีโอกาสเข้า blogs ค่ะ

วันที่ 18 มิ.ย.2555
หัวข้อ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(1) และการบริหารการเปลี่ยนแปลง(1)

          วันแรกของการอบรม: ได้รับรู้ความคิดของกูรูหลายท่าน ซึ่งจำกัดความ"ผู้นำ"ได้ลึกซึ้ง ที่สำคัญการอบรมในวันแรกนี้ทำให้ได้รู้ว่า AEC ที่จะมาถึงในอีก3ปีข้างหน้า บุคลากรในหน่วยงานทุกแห่ง จะต้องปรับตัวและแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถอยู่ในโลก ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้
           อ.ดร.จิระฯ ให้ความรู้และเล่าประสบการณ์ของท่าน ได้รู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดจาก การเข้าสู่ AEC ของประเทศไทยที่ชอบคือ ท่านวิเคราะห์ผู้นำได้ชัดเจนดี 
           การอภิปรายในช่วงบ่ายเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง วิทยากรทุกท่านมีความรู้ดีมาก เนื้อหาทางวิชาการ และประสบการณ์ของทุกท่านนำมาปรับใช้ในการทำงานได้จริง

วันที่ 25 มิ.ย. 2555 หัวข้อ ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์(2) และการบริหารกลยุทธองค์กร

           วันที่สองของการอบรม: วันนี้อ.ดร.จิระฯ ได้เล่าประสบการณ์ในการทำงานในหน่วยงานหลายแห่ง ที่ท่านเป็นที่ปรึกษา/เป็นผู้จัดอบรมให้ โดยนำมาโยงกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งชี้ให้เห็นบทบาทของการเคหะแห่งชาติ ที่ควรจะเป็นเพื่อเข้าสู่ AEC 
            ในช่วงบ่าย การอภิปรายเรื่องการบริหารกลยุทธองค์กร ได้รับความรู้ใหม่ๆ หลายอย่างโดยเฉพาะ อ.อนุชา พูดถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แบบมืออาชีพ เห็นภาพชัดเจนดี 

วันที่ 27 มิ.ย. 2555 หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ

           วันที่สามของการอบรม: วันนี้สนุกทั้งภาคเช้า/บ่าย เนื่องจาก อาจารย์ได้นำสิ่งที่ใกล้ตัวมาบรรยายให้เป็นขั้นเป็นตอน ทั้งเรื่องการตลาด การเงิน การผลิต และวัฒนธรรมองค์กรของการเคหะ อาจารย์ปูพื้นความคิด และช่วยวิเคราะห์ทุกประเด็นได้ดี ทำให้รู้ว่าการเคหะควรปรับตัวอย่างมากทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่วัฒนธรรมองค์กร ซึ่งอ.ไกรฤทธิ์ฯ ให้กำลังใจว่า มีของดีอยู่หลายอย่างแล้ว แต่คนการเคหะส่วนหนึ่งยังไม่รู้จึงไม่พยายามรักษาไว้ ภาพรวมในวันนี้ดี ทั้งเนื้อหาสาระ และการแสดงความคิดเห็นร่วมเห็นภาพชัดเจนมาก

วันที่ 2 ก.ค. 2555 หัวข้อ การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ

          วันที่สี่ของการอบรม: ชอบคำจำกัดความคำว่า "ทุนมนุษย์" ของอ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์ ทุนทนุษย์คือ "บุคลากรที่มีสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถสูง มีจิตใจผูกพันธ์กับองค์กร มีคุณธรรมและจริยธรรม มุ่งแสวงหาโอกาส ได้ถ่ายทอดและปลดปล่อยพลังสติปัญญา และพลังจิตใจ เพื่อประโยชน์แก่องค์กรอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน" ถ้าคนในองค์กรทุกแห่ง เป็นมนุษย์ที่มีทุน ประเทศชาติคงเจริญน่าดู
           ความรู้เรื่องการเขียน Mind Map ช่วยให้สามารถรวบรวมและต่อยอดความคิดได้กว้างไกลขึ้น จริงดั่งคำจำกัดความของ อ.ธัญญา ผลอนันต์ ที่ว่า "แตกกิ่งความคิด พิชิตด้วย Mind Map"

วันที่ 9 ก.ค. 2555 หัวข้อ การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community

           วันที่ห้าของการอบรม: ชอบอ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ มานานแล้ว วันนี้ได้ความรู้เพิ่มมากทีเดียว อาจารย์ชวนคิดเรื่องความเป็นมาของ ASEAN และมองภาพ ASEAN ได้ชัดเจน เห็นเป้าหมายทั้งสี่ด้าน คือ 
           1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม ซึ่งจะต้องเปิดเสรีการค้า ทั้งสินค้า บริการ การลงทุน และเงินทุน
           2.สร้างเสริมขีดความสามารถการแข่งขัน ด้วยการร่วมมือกันในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
           3.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค เช่น การลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า/ใหม่ เป็นต้น
           4.การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เช่น การสร้างเครือข่ายการผลิตและจำหน่าย และการจัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค เป็นต้น
            นอกจากความรู้เรื่อง ASEAN ที่ชัดเจนขึ้นแล้ว ยังได้ความรู้ถึงประโยชน์ ที่ประเทศไทยจะได้รับ ภายใต้ AEC จากการอภิปรายในช่วงบ่าย ซึ่งมีผลดีมากกว่าที่เคยรู้ 

วันที่ 11 ก.ค. 2555 หัวข้อ การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ และการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ

           วันที่หกของการอบรม: ภาคเช้า ดร.สุรพงษ์ มาลี (ฟังเสียงท่านแทบทุกวันที่ 96.5MHz) และอ.สมชาย ไตรรัตนภิรมย์ วันนี้ท่านพูดถึง การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจได้ดีทั้งสองท่าน สรุปให้เห็นว่า ความเสี่ยงเป็นเรื่องของแต่ละองค์กรที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ว่าเป็นความเสี่ยงหรือไม่ และยอมรับความเสี่ยงนั้นๆ ได้มากน้อยเพียงใด ได้รู้วิธีการกำหนด แนวคิด กระบวนการ และเทคนิคในการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเป้าประสงค์ ความเสี่ยง และการควบคุม ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นการพัฒนาผลงานขององค์กรอีกทางหนึ่งด้วย ในภาคบ่าย การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ อ.ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร บรรยายเรื่องการบริหารเงิน โดยวิธีชี้ทางออก บอกทางรวยได้น่าฟัง และสามารถนำมาใช้ในชีวิตได้จริง เอกสารของ อ.ดร.สุวรรณฯ และModel การใช้ประโยชน์เงิน20ล้าน น่าจะเป็นคู่มือสู่ความร่ำรวยได้

การอบรมวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

      การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการเพื่อป้องกันผลกระทบหรือสิ่งที่ไม่ต้องการเพื่อรับประกันผลงานที่ดำเนินจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ในบางสถานการณ์พบว่าปัญหามีความไม่แน่นอนจะตัดสินใจอย่างไรให้ได้รับความสำเร็จก็ต้องบริหารความเสี่ยง การบรรลุเป้าหมายจะรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมาย ก็ต้องมีระบบรองรับว่าได้จัดการบริหารความเสี่ยงไว้รอบด้านแล้วจึงสำเร็จมิใช่เกิดจากฟลุก หรือคู่แข่งอ่อนแอ

      - ความเสี่ยงไม่ใช้สิ่งที่เลวร้าย ที่ใดมีความเสี่ยงสูงก็ย่อมมีผลตอบแทนสูงด้วย (High risk high return)
      - ทุกแห่งมีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความเสี่ยงเป็น 0 ไม่ได้ แต่สามารถที่จะควบคุมให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ถ้าไม่ทำอะไรที่เสี่ยงก็จะไม่เกิด “นวตกรรม”
      - การควบคุมภายในเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงไม่จำเป็นต้องทำทุกกิจกรรมเพราะเป็นต้นทุนที่สูง การบริหารที่ดีคือบริหารความเสี่ยงที่เป็นความเสี่ยงขององค์กร ถ้าดำเนินการได้ก็ถือว่าการควบคุมภายในนั้นถูกต้อง

      การบริหารความเสี่ยงต้องเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยง และอะไรคือความเสี่ยง ในองค์กรใด องค์กรหนึ่งความเสี่ยงเดียวกันอาจมีความสำคัญแตกต่างกัน

การประเมินความเสี่ยงเป็น Technique ที่จะจัดการความเสี่ยงเรื่องใดก่อน การจัดการความเสี่ยงได้ดีต้องมีข้อมูลทางสถิติ และควรจัดทำเป็นตัวชี้วัด (KPI) การบริหารความเสี่ยงควรทำให้เป็นวัฒนธรรม เมื่อลดความเสี่ยงแล้ว ผลที่ได้รับต้องทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วย ถ้าลดความเสี่ยงแล้วแต่ KPI ไม่บรรลุเป้าหมายก็แสดงว่าการวางแผนบริหารความเสี่ยงไม่ถูกต้อง ถ้าลดความเสี่ยงได้ แต่ Performance ลดลงด้วยก็แปลว่า something wrong

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์

      คนต้องมีวินัยในการออมเสียก่อน ต้องใช้สมองมากกว่าแรงงาน สำหรับการเคหะฯ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องอสังหาริมทรัพย์ การวางแผนด้านการเงินต้องเริ่มตั้งแต่การวางแผนในระดับครัวเรือนคนที่มีการจัดการครอบครัวที่ดีจะมีผลในการทำงานได้อย่างดีด้วย สามารถนำมาใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ การทำงานที่ดีต้องมีข้อมูลดี มีข้อมูลเพียงพอไม่มากไม่น้อยเกินไป ใช้เทคนิคในการเจรจาต่อรองให้เกิดประโยชน์และต้องใช้คุณธรรมในการปฏิบัติงานด้วย การวิเคราะห์การลงทุนต้องดูว่าองค์กรที่เราจะลงทุนเขาเอาเงินไปลงทุนมีผลตอบแทนสูงเขาเอาอะไรมาจ่ายดอกเบี้ย และเอาเงินปันผลมาจ่ายเราได้อย่างไร

      การเปลี่ยนแปลงมุมมองของการบริหารงบประมาณเดิมเน้นประหยัด แต่ปัจจุบันการประหยัดอย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์โดยเฉพาะในเรื่องของงบประมาณต้องดูว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ประโยชน์ต้องเกิดแก่ประชาชน เพราะงบประมาณเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ การบริหารงบประมาณที่ดี คือ การบริหารการต่อรองและการต่อรองที่ดีต้องมีข้อมูลที่ดีด้วยเช่นกัน

      องค์กรที่มีความชัดเจนผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจเพราะมีประสบการณ์การบริหารงบประมาณก็จะชัดเจน ถ้าไม่ชัดเจนหรือไม่เข้าใจแล้วยังคิดว่าเข้าใจก็จะปฏิบัติงานผิด ยิ่งการสื่อสารในองค์กรไม่ชัดเจนอีกด้วยก็จะเป็นปัญหา ผู้นำต้องเข้าใจและให้ภาพที่ชัดเจนความคิดที่เห็นว่าถูกทุกข้อจะใช้ต่อไปอีกไม่ได้ ถ้าคนในองค์กรทำงานด้วยความสุข ประชาชนก็มีความสุขด้วย
ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันพุธที่ 11 กรกฏาคม 2555 (ต่อค่ะ)

เรื่องที่ 2  การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

                        งบประมาณ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งประกอบด้วย แผนการปฏิบัติงาน ผนวกกับ แผนการใช้จ่ายเงิน  นั่นก็คือ แผนการดำเนินงานทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งโดยแสดงออกในรูปตัวเงินในการบริหารกิจกรรม โครงการ และค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลผลิตและผลลัพธ์ โดยใช้จ่ายอย่างประหยัดและคุ้มค่า

                        การจัดทำงบประมาณไม่มีสูตรสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการต่อรองข้อมูลจริงที่ดีเพียงพอว่าถ้าจัดสรรแล้วการดำเนินงานได้ประโยชน์อย่างไร  สำหรับงบประมาณระดับประเทศ  จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณ ได้แก่ สำนักงบประมาณ  สภาพัฒน์ฯ และ แบ๊งค์ชาติ  โดยมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่มีการแถลงนโยบายการบริหารประเทศ นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอนุมัติ ก่อนเสนอวุฒิสภา ก่อนขึ้นปีงบประมาณใหม่  และตราออกมาเป็นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจะต้องดำเนินการบริหารงบประมาณภายใต้กฎหมายวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548    กระบวนการต่อไปเป็นการควบคุมการใช้จ่ายซึ่งใช้เครื่องมือของระบบ GFMIS   และการติดตามประเมินผลด้วยเครื่องมือระบบ PART   ทั้งนี้การขอจัดสรรงบประมาณของส่วนราชการ ต้องคำนวณต้นทุนผลิตต่อหน่วย  เพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนของหน่วยงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทุกระดับในการวัดผลการดำเนินงาน และปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ    

                        พวกเราได้ฟังการบริหารงบประมาณ ในฐานะที่เป็นผู้บริหารขององค์กรแล้ว   ก็ยังได้รับฟังการบริหารงบประมาณครอบครัว โดยอาจารย์สุวรรณ วลัยเสถียร   ซึ่งเป็นปรมาจารย์ของการใช้เงินให้ทำงาน  และชี้หนทางสู่ความั่งคั่ง  ด้วยคาถา 4 อย่างที่ควรท่องจำไว้ ดังนี้

  1. ขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้
  2. ประหยัดอดออม คนที่สุรุ่ยสุร่ายไม่มีโอกาสร่ำรวย
  3. ใฝ่หาความรู้ มีความคิดริเริ่ม รู้จักหาทางออก  แก้ปัญหา
  4. ทำบุญกุศล  

สวัสดีครับ เมื่อวันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555 ภาคเช้าเราเรียนวิชาการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจโดยมี ดร.สุรพงษ์ มาลี และคุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ มาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ โดยดร.สุรพงษ์ ได้พูดถึงการบริหารความเสี่ยงกับองค์กรและการจัดการ แนวคิด กระบวนการและเทคนิคในการบริหารความเสี่ยง และคุณสมชายได้ชี้ให้เห็นอุปสรรคของการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงคือการขาดความเอาใจใส่จากผู้บริหารระดับสูง ระดับปฏิบัติการไม่มีส่วนร่วมในความเสี่ยงจึงไม่ใส่ใจในการประเมิน ซึ่งผมเห็นว่าทุกคนที่เข้ารับการอบรมรุ่น 2 นี้แทบทุกคนเคยเรียนเรื่องความเสี่ยงมาแล้ว ตั้งแต่วิธีประเมินความเสี่ยง การจัดการกับความเสี่ยง และการติดตามรายงานผลการบริหารความเสี่ยง แต่การทำความเสี่ยงของเรายังเป็นการทำเพื่อเอาค่าคะแนนยังไม่สะท้อนมาถึงวิธีการดำเนินงานของการเคหะ ซึ่งผมเห็นว่าการบริหารความเสี่ยงของการเคหะฯที่ยังไม่ค่อยบรรลุผลในแง่ของผลลัพท์ที่ออกมาน่าจะมีสาเหตุประการหนึ่งคือเราบริหารความเสี่ยงที่มีเป้าหมายที่แตกต่างกันเฉพาะหน่วยของตนเองยังไม่ได้บริหารความเสี่ยงเพื่อองค์กร

สำหรับภาคบ่ายเป็นวิชางบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ซึ่งมีดร.สุวรรณ วลัยเสถียรและน.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ  มาเป็นวิทยากร ดร.สุวรรณ ฯ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษีโดยเฉพาะการวางแผนภาษีเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (ภาษาชาวบ้านทำอย่างไรให้เสียภาษีน้อยที่สุด)    ดังนั้นสิ่งที่ได้ประ โยชน์จากท่านคือวิธีการออม หนทางสู่ความมั่งคั่ง วิธีการลงทุน มั่นตรวจสุขภาพทางการเงิน รวมทั้งแนวคิดว่าเราจะจัดสรรเงินโบนัสอย่างไร(เราจะได้รับกันแล้ว เย้ เย้ ในวันพรุ่งนี้หลังจากลุ้นมาข้ามปีว่าจะได้เท่าไรไม่รู้จะสายไปหรือเปล่าเพราะถูกจัดสรรไปล่วงหน้าแล้ว!!! )สรุปดร.สุวรรณได้ประโยชน์สำหรับการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล และน.อ.ศิรัส ซึ่งมาจากบัญชีทหาร ได้พูดถึงหลักการของงบประมาณ ตั้งแต่การจัดทำงบประมาณ  อนุมัติงบประมาณ และการติดตามงบประมาณ ซึ่งงบประมาณการเคหะฯ มีกระบวนการจัดทำเช่นเดียวกับส่วนราชการ โดยปัจจุบันมุมมองของการบริหารงบประมาณเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทิภาพ ประหยัดคุ้มค่า มาเป็นการปฏิบัติที่มุ่งถึงผลสัมฤทธิ์ ผลลัพธ์ ของการปฏิบัติงานที่ได้รับ ซึ่ง น.อ.ศิรัสได้ยกตัวอย่างบ้านเอื้ออาทรที่ไปสร้างให้ทหารเรือที่สัตหีบว่าปัจจุบันได้มีการต่อเติมเต็มพื้นที่หมดแล้ว แสดงว่าบ้านที่การเคหะสร้างผลลัพธ์ยังไม่ถูกใจลูกค้า  นอกจากนี้งบประมาณเป็นเรื่องการเจรจาต่อรอง การจะต่อรองได้ต้องมีข้อมูลให้ครบถ้วนอย่างตกอยู่ภายใต้ภาพลวงตา จริงครับงบประมาณเป็นการเจรจาต่อรอง แต่เราไม่แน่นใจว่าที่ผู้ที่จะต่อรองกับเราจะต่อรองเพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้เสียภาษีหรือไม่

ภาพบรรยากาศ วันที่ 16 กรกฏาคม 2555 หัวข้อ วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ, อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ และมีผมร่วมการอภิปราย

ภาพบรรยากาศ วันที่ 16 กรกฏาคม 2555 หัวข้อ วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ, อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมการอภิปราย

บรรยากาศ การ Workshop ช่วงบ่าย วันที่ 16 กรกฏาคม 2555

บรรยากาศ การ Workshop ช่วงบ่าย วันที่ 16 กรกฏาคม 2555

บรรยากาศ การ Workshop ช่วงบ่าย วันที่ 16 กรกฏาคม 2555

16 กรกฎาคม 2555

วิชา วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

       อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

       อ.ทำนอง ดาศรี

ร่วมวิเคราะห์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

.........................................................

อาจารย์จีระ

-      Peter Drucker พูดไว้ว่าDo it effectively

-      หลักสูตรนี้..ไม่ใช่ความรู้ใหม่ ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ แต่คือ ความจริงที่เกิดขึ้นต่อการเคหะฯ คืออะไร?

-      คนเก่งต้องใฝ่รู้ ต้องทำงานเป็นทีม.. และคนเก่งที่แท้จริงจะต้อง Contribute ให้แก่องค์กร สังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน

อาจารย์ไกรฤทธิ์

-          โจทย์ที่น่าสนใจของการเคหะฯ วันนี้ คือRe-Discovery NHA - ลองค้นหาตัวเอง แล้วดูว่าเราค้นพบอะไรบ้างที่เป็นขุมทรัพย์ของการเคหะฯ (แม้ว่าจะไม่มีอะไรเพิ่มเติมเลย ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ เงิน คน ฯลฯ) Re-Discovery NHA จะนำมาสู่ Re – Inventing NHA

-          Peter Drucker บอกว่าคนที่เก่งสุดไม่ใช่แค่ทำถูกวิธีเท่านั้น (Efficiency= สมรรถภาพ) แต่ระดับของผู้บริหารจะต้องเน้น Effectiveness = สัมฤทธิ์ผล

-          Efficiency = Doing things right คือ ทำอะไรถูกวิธี

-          แต่ในยุคของท่าน การเคหะฯ ต้องทำในสิ่งที่เรียกว่ามากกว่าแค่ทำอะไรถูกวิธี

-          วัฒนธรรมองค์กร

-          ทำถูกวิธีมีมากกว่า 1 คำตอบ มีมากกว่า 1 กระบวนการ

-          Effectiveness = Doing the right things (เลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง เลือกทำอันที่ถูกต้อง)

-          Effectiveness = Results ประกอบด้วย

1.      TIME – บริหารเวลาเป็น

วิธีการที่น่าสนใจ คือ ลองเอาไดอารี่มา 3 เล่ม

เล่มที่ 1 จะทำอะไร (เอาไว้ที่โต๊ะทำงาน)

เล่มที่ 2 วันนี้ทำอะไร (เอาไว้ที่หัวนอน)

เล่มที่ 3 ให้เลขาฯ จดว่าเราทำอะไรบ้าง (เอาไว้ที่เลขาฯ)

การบริหารเวลาที่ดี คือ ทั้ง 3 เล่มจะต้องตรงกัน

มีประโยชน์มากสำหรับ นาย – ลูกน้องคนโปรด – ลูกคนโปรด

2.      Priority – อะไรก่อน

ทุกอย่างที่ทำให้เรียงลำดับ 12345 แต่ให้ทำแค่เบอร์ 1 เบอร์เดียว

รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ทำข้อนี้ไม่ได้

3. Contribution –สมมติว่าท่านรับเงินเดือน 50,000 บาท ลองแบ่งดูว่าใน 50,000 บาทนี้ เราทำอะไรบ้าง? เขาจ้างคุณมาทำอะไร? เราทำงานคุ้มมั๊ย?

4.      Strength – จุดแข็ง

ใช้จุดแข็งของคน

5. Problem Solving + Decision Making (ใครสนใจ search KRENOR+TREGOR)

 

อเมริกาแก้ปัญหายังไง? ดู Time Magazine เล่มปัจจุบัน

-          อเมริกาเอาอะไรค้ำ Bank ดอลล่าร์

-          อเมริกามีธุรกิจอยู่ 15 อย่าง ที่แต่ละอย่างใหญ่กว่า 10 เท่าของงบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย ประกอบด้วย

  1. การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  2. งานสถาปัตยกรรม
  3. งานศิลปกรรม
  4. สินค้าศิลปะพื้นบ้าน
  5. งานออกแบบ
  6. วงการธุรกิจแฟชั่น
  7. วงการภาพยนตร์
  8. วงการดนตรี
  9. งานการแสดงและละคร
  10. ธุรกิจการพิมพ์
  11. งานวิจัยและพัฒนา
  12. ธุรกิจซอฟแวร์
  13. ของเล่นและเครื่องกีฬา
  14. ทีวีและวิทยุ
  15. ธุรกิจวิดีโอเกมส์

-          Peter Drucker

  • เรียนจากลูกศิษย์
  • มีคำถามที่น่าสนใจมากว่ามีคำตอบที่ 1+1=2 แต่สังคมไทยไม่ชอบมีโจทย์แปลก ๆ แต่ชอบทำสิ่งที่ซ้ำซาก

อ.ไกรฤทธิ์

เราต้องภูมิใจในสิ่งที่เราทำ สิ่งที่น่าสนใจจากกรณีศึกษาของอเมริกา คือ เกือบทุก ๆ ชิ้นงานของเขาเป็น “มาสเตอร์ พีซ”

อ.จีระ

วันนี้หากจะสรุปในช่วงแรก ขอมองแบบ “V” 3 ตัว

V ตัวแรก คือ  Value Added – เริ่มจากจุดแข็งของเรา

 

V ตัวที่สอง คือ Value Creation – เริ่มจาก 0 คือ ร่วมกันสร้าง Value ใหม่ เกิดจากการปะทะกันทางปัญญา เกิดเป็นปัญญายกกำลัง

 

V ตัวที่สาม คือ Value Diversity – ใช้ความหลากหลายสร้างให้เกิด Value ขึ้นมา

สิ่งที่ท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์พูด คือ เราต้อง Re-Invent ตัวเราเอง

…………………………………………………………

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

-          Concept “Play & Learn” เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการเคหะฯ

-          วันนี้เรากำลังผ่านยุค Modern มาสู่ Post Modern

-          ยุคนี้ Emotional มาแทน Functional

-          วันนี้คนรุ่นใหม่อยู่บ้านการเคหะฯ รู้สึกอย่างไร? - - สะท้อนให้เห็นความสำคัญของ Emotional

-          ความสนใจของนักวิจัยสมัยใหม่ เรากำลังสนใจเรื่อง Self คือ การศึกษาความเป็นตัวตน

-          นักการตลาดและนักพัฒนาทั้งหมดวันนี้ต้องคิดกลับด้าน เอาความต้องการนำ เอาความเป็นตัวตนนำ เอาความต้องการพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในสังคมเป็นตัวนำ

-          วันนี้ถึงเวลาที่การเคหะฯ ต้อง Re-Brand เพื่อ Re-Born เรา Core Competence หรือความเก่งของเรากลับคืนมา

-          การเคหะฯ มีจุดแข็ง คือ ความมั่นใจสำหรับลูกค้า (ซื้อบ้านการเคหะฯ แล้วไม่ต้องกลัวไม่ได้บ้าน)

-          บ้านคนรุ่นใหม่ Location ควรอยู่ที่ไหน? วันนี้เราต้องไม่มองแค่ภายในองค์กรแต่ต้องมองผลกระทบจากภายนอกด้วย

-          โครงการบ้านเอื้ออาทรตอบโจทย์ความต้องการของคนในสังคมหรือไม่?

-          จากประสบการณ์ซึ่งเคยถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อย่างใกล้ชิดเรื่องการพัฒนาหญ้าแฝก ได้แก่

  • Supply Chain Management ของหญ้าแฝก
  • Product Development ของหญ้าแฝก - -น้ำหอมจากหญ้าแฝก
  • Cottage Industry จากหญ้าแฝก

-          เมื่อนำสิ่งที่ได้ศึกษามาทั้งหลายทั้งปวงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สิ่งที่ได้รับจากท่าน คือ ข้อตำหนิ เพราะว่าคิดทั้งหลายที่เราคิดกันต่าง ๆ นานานั้น เราลืมว่าเราจะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ข้อแรกซะก่อน พระเจ้าอยู่หัวฯ สอนให้เรียนรู้ว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์หลักของเรากรณีศึกษาของการพัฒนาหญ้าแฝกทำให้ได้เรียนรู้ว่าเราลืมไปว่า Objective ของหญ้าแฝก คือการรักษาหญ้าดิน

-          วันนี้โครงสร้างประชาการของเรากำลังเปลี่ยนไปเป็น Y Shape (วันนี้มีใครอ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครบหมดหรือไม่)

-          อนาคตอีก 10 ปี จะมีข้าราชการจำนวนเท่าไหร่ที่เกษียณอายุ และคนกลุ่มนั้น คือ ลูกค้าที่ดีของท่าน เขาเหล่านั้นอยากอยู่บ้านแบบไหนในอนาคต แต่จากข้อมูลหน้าเว็บไซต์ การเคหะฯ ประกาศขายที่ดินที่เชียงใหม่ซึ่งน่าเสียดาย เพราะท่านน่าจะพัฒนาที่ดินเหล่านั้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตของการเคหะฯ ได้อย่างดี

-          กรณีศึกษาของ Union Frozen Product เจ้าของธุรกิจ “พรานทะเล”

-          วันนี้ประเทศไทยกำลังผ่านยุคที่หอมหวานไปแล้ว คือ Labor Intensive

-          วันนี้ดีไซน์ของบ้านการเคหะฯ ควรจะเป็นที่อยู่อาศัยที่อยู่แล้วเท่ห์กว่าอยู่บ้านของเอกชน

-          โอกาสและประเด็นท้าทายในการก้าวสู่การเป็น..Green & Creative Industry ไม่ใช่หมายถึงสีเขียว สิ่งแวดล้อมเท่านั่น แต่หมายรวมถึง ความสุขของครอบครัว

-          โลกวันนี้เปลี่ยนมาสู่ยุคความคิดสร้างสรรค์

-          โครงการที่น่าสนใจสำหรับการเคหะฯ ในอนาคต คือ

  • บ้านน่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุ
  • บ้านสำหรับคนรุ่นใหม่ อาจจะลองคิดแถว ๆ การรถไฟฯ มักกะสัน (จับมือกับการรถไฟฯ) เน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • Networking เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการเคหะฯ ในอนาคต

-          วิธีการสร้างแบรนด์

     Brand Building – Naming

-          The Art of Living (self) เป็นเรื่องที่เราต้องค้นหาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนในปัจจุบัน

-          ชุมชนการเคหะฯ บนโลก Cyber เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องทำด้วย

-          กำจัดจุดอ่อน (The Weakest Links)

-          Holistic framework

-          โครงการทอดผ้าป่าวัฒนธรรม จะเป็นโครงการที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก้การเคหะฯได้ และยังสามารถลดปัญหาสังคมได้มากมาย

..............................................

WORKSHOP

ให้แต่ละกลุ่มทำเรื่องเดียว

สโลแกนปัจจุบัน – อนาคต

กลุ่มที่ 1

  1. CEO / Board ผู้ว่าและบอร์ด

สโลแกนปัจจุบัน

CEO – พิราบปีกหัก

พิราบสื่อถึงการสื่อสารแต่ปีกหักเพราะว่าสื่อสารไปแล้วไม่ได้รับการตอบรับ ซึ่งไม่แน่ใจว่าเหตุผล คือ อะไร?

Board – ติดเบรก

สโลแกนอนาคต

CEO – เสือติดปีก

คือ มีเขี้ยวเล็บ และยังมีความสามารถทำในสิ่งที่หลาย ๆคนทำไม่ได้ด้วย ซึ่งควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1)      Innovation

2)      Negotiation

3)      Connection

4)      Leadership

5)      Ethic

6)      Charisma (มีบารมี)

7)      มีคุณสมบัติ 5 ประการของ Peter Drucker

Board – ป๋าดัน

1)      เป็น Cheer leader

2)      มี Connection

3)      ต้องรู้และเข้าใจภารกิจของการเคหะฯ อย่างจริงจัง

 

 

 

 

 

 

กลุ่มที่ 2

  1. Corporate ตัวการเคหะฯ

ชื่อและโลโก้ของการเคหะฯ ในปัจจุบันค่อนข้างจะเก่าและฟังดูไม่ทันสมัย เพราะฉะนั้นในอนาคตน่าจะใช้คำว่า N – H –A ซึค่งสามารถสื่อให้คนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเรา เช่น ลองคิดแบบกว้าง ๆ

N – National, New, Network

H – Home, House, Happy, Hope, Help, Health

A – Authority, Active, Alive

และโลโก้ในอนาคตควรการออกแบบโดยพนักงานการเคหะฯ ทุกคน เช่น จัดการประกวดโลโก้

 

กลุ่มที่ 3

  1. Old Stocks สินค้าล้างสต๊อค

1)      โครงการเอื้ออาทร (ปัจจุบันคงเหลืออยู่ 3 หมื่นกว่าหน่วย)

มองเชิงบวก เป็น Housing Stock คือ เป็นบ้านที่พร้อมสำหรับคนที่ขาดที่อยู่อาศัย

นำมาสู่สโลแกนในปัจจุบัน “บ้านแห่งความหวัง” (มีทั้งบวกและลบสมหวัง / ผิดหวัง)

พัฒนาเป็นสโลแกนในอนาคต “บ้านสำหรับคนรุ่นใหม่”

และจะพัฒนาเป็นสโลแกน “บ้านโดนใจคนไฟแรง”

2)      โครงการเคหะชุมชน

สโลแกนในปัจจุบัน คือ บ้านพร้อมขาย

พัฒนาเป็นสโลแกนในอนาคต บ้านตามใจผู้ซื้อ

และจะพัฒนาเป็นสโลแกน บ้านพร้อมขายตามใจผู้ซื้อ

กลุ่มที่ 4

  1. Next New Product
  2. Improved Services

 

-          วิเคราะห์โดยดูจากวัตถุประสงค์หลักของการตั้งกิจการเคหะฯ

-          โมเดลใหม่ ดูจากปัญหาเรื่องเงิน (Pre กับ Post Finance)

-          กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย (House Fund)

  • Public
  • Private

-          เปลี่ยนจากเช่า กับ ซื้อ มาเป็น

  • พัฒนา / ยกระดับแหล่งชุมชน
  • Share Ownership Housing
  • Rent to Home Buy เช่าไปก่อน 5 ปี แล้วสามารถซื้อได้

-          ดูรูปประกอบ

 

 

 

 

Comments

อาจารย์จีระ

1)      คำถามสำคัญกว่าคำตอบ ต้องขอยกย่องทั้งอ.ไกรฤทธิ์ และอ.มาร์คซึ่งตั้งโจทย์ได้น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคตของการเคหะฯ อย่างมาก

2)      สิ่งที่ทั้ง 4 กลุ่มได้นำเสนอในวันนี้ทำให้เราได้เรียนรู้มากมาย โดยเฉพาะ

-     เป้าหมายของบอร์ด ต้องไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายโดยรวมขององค์กร

-          Stakeholders ที่สำคัญของการเคหะฯ คือ วิชาการ+สื่อ

-          ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ KBank ในการ Re-Brand ได้ดีมาก

-          กลุ่มที่ 3 ค่านิยมของคนนอกในการถล่มเอื้ออาทรมีมาก แต่อยากให้มีการทำวิจัยว่าสิ่งที่ดีคืออะไร ไม่ดีคืออะไร และควรจะปรับปรุงอย่างไร? เราต้องพยายามใช้บทเรียนราคาแพงครั้งนี้มาตั้งต้นที่จะทำงานในอนาคต

-          การผสมผสานศาสตร์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์และหาทางออกให้กับปัญหาเป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็น และจะทำให้เราเห็นภาพทั้งหมด

-          อยากให้นำความคิดและวิธีการของพวกเราในวันนี้ไปทำให้เกิดความสำเร็จ

 

อาจารย์ณรงค์ศักดิ์

-          วันนี้..ได้เรียนรู้ไปด้วย และชื่นชมวิธีการตอบโจทย์ของกลุ่มที่ 4 

-          Connection - Creation – Communication – Competitiveness – Commission (Win/Win)

-          อย่าหยุดคิดวิธีการคิดแบบนี้

-          ใช้ New Media (facebook ซึ่งมีคนใช้อยู่ 10 ล้านคน) ช่วยในการสื่อสาร มีคนรอฟังเราอยู่ ใช้ให้เป็นประโยชน์

-          อยากเห็นการปฏิวัติผ่านเฟซบุ๊คส์

-          บริบทโลกกำลังเปลี่ยน บริบทของสังคมไทยก็กำลังเป็น

-          แนะนำให้เอากลุ่ม 4+ กลุ่ม 2 เห็นโลโก้ใหม่ เช่น NHA – Happiness Provider

-          อยากให้มีการนำสิ่งที่เราได้ทำด้วยกันวันนี้นำไปคิดต่อ ทำต่อ ทำให้สำเร็จ เริ่มลงมือได้เลย

 

อาจารย์ไกรฤทธิ์

-    รู้สึกยินดีมากที่ได้มาร่วมกิจกรรมแบบนี้ กับ ผู้บริหารการเคหะฯ ทั้ง 2 กลุ่ม พวกเรากำลังแสวงหาสมบัติสุดขอบฟ้า

-    ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ ในวันนี้ คือ การแสวงหาความคิดให้อย่างต่อเนื่อง Answer to the challenging issues of NHA “through

 

- Source of Creativity ของ สตีฟ จ๊อบส์

1)      Community – ตั้งก๊วน

2)      Next door – เปิดประตูอีกบาน

3)      Dialogue – สุนทรียสนทนา

4)      Hunch – ลางสังหรณ์

5)      Serendipity – การพลัดหลงและค้นพบ

6)      Error – ความผิดพลาด

7)      Borrow – ยืมไอเดีย

8)      Platform – มีจุดยืนที่มั่นคง

9)      Network – มีเครือข่าย

 

 

โจทย์ที่น่าสนใจแต่เราไม่ได้ทำในวันนี้ คือ

Innovative Target Market ของการเคหะฯ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่น่าสนใจต่อนี้

1)     วัยรุ่น

2)     Retired – New life

3)     New modern home

 

อ.จีระ สรุปว่า

วันนี้นอกจากสาระของเรื่องที่เราพูดกันเรื่องประเด็นที่ท้าทายเพื่อการทำงานของการเคหะฯ ในอนาคตจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีประสบการณ์ที่หาตัวจับยากทั้ง 2 ท่าน แล้ว วันนี้เราทุกคนได้เรียนรู้จากสิ่งอื่น ๆ ที่เรามองไม่เห็นร่วมกัน สิ่งที่อยากจะฝากไว้ คือ วิธีการเรียนรู้ที่สำคัญและได้ผล จาก 3 L คือ

-          Learn from pain

-          Learn from experiences

-          Learning from listening

........................................................

นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

รายงานการอบรมครั้งที่ 6 วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 การบริหารความเสี่ยง

การเคหะแห่งชาติ  ถูกกำกับดูแลและประเมินผลโดยกระทรวงการคลังได้ให้ที่ปรึกษา บ.ทวิส เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี 2538  ซึ่งในช่วงแรกๆ เป็นช่วงทำความเข้าใจ  จนปัจจุบันได้มีการประเมินอย่างเข้มข้นและวัดผลอย่างละเอียด  ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันและลดความเสี่ยงโดยผลจาก KPI และเริ่มใช้ระบบ SEPA เข้ามาในองค์กร การวัดจะวัดประสิทธิภาพ, ประสิทธิภาพ และคุณภาพการบริหารองค์กร  เราควรเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงกับทุกๆ คน  ในองค์กร  ความเข้าใจผิดในเรื่องความเสี่ยงมีอยู่ 3 ลักษณะคือ
  1. ความเสี่ยงเป็นเรื่องเลวร้ายมาจัดการควบคุม, ป้องกัน, ลดความรุนแรงที่จริงแล้ว อาจไม่ใช่บางสิ่งมิได้เลวร้ายเสมอไป บางเรื่องเป็นความเคยชิน
  2. ความเสี่ยงต้องหาวิธีลดลงให้เป็น 0 สิ่งนี้ก็ไม่จริง ที่จริงเป็นการลดความเสี่ยงให้เหลือพอที่จะรับได้ในระดับหนึ่ง
  3. ทำงานแบบ PCAY SAFE ทำไปเรื่อยๆ ไม่พัฒนาตนเอง จนถึงจุดหนึ่งอาจเสียหายรุนแรง หรือคิดว่าความเสี่ยงมากจะส่งผลกำไรมาก ความเสี่ยงภายใน ความเสี่ยงภายนอก
  4. ความเสี่ยงด้านการเงิน - ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
  5. ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (คู่มือ) - ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ
  6. ความเสี่ยงทรัพยากรบุคคล (อบรม) - ความเสี่ยงความปลอดภัย
  7. ความเสี่ยง IT (Bcm, Bep) และสิ่งแวดล้อมภัยธรรมชาติ การประเมินความเสี่ยง
  8. อะไรเห็นความเสี่ยงที่แล้วไง
  9. โอกาสที่จะเกิดมากน้อยระดับไหน
  10. ความรุนแรงเมื่อเกิดขึ้น
  11. ความเสี่ยงเชิงนโยบายและการเมือง การบริหารความเสี่ยง 5T (ยอมรับได้ระดับไหน, ลดความเสี่ยง, กระจายความเสี่ยงหรือโอน, หลีกเลี่ยง, หาประโยชน์จากความเสี่ยง เครื่องมือส่วนหนึ่งภายในองค์กร “ควบคุมภายใน”
  12. การประเมินตามเกณฑ์แบบวัดระดับและแบบเกณฑ์ย่อย

การอบรมวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

      คนเก่งที่ทำถูกวิธีใช้ Cost ต่ำที่สุด ถือว่ามีสมรรถนะ (Efficiency) แต่มีสมรรถนะอย่างเดียวยังไม่พอต้องทำให้ได้สัมฤทธิผล (Effectiveness) ด้วย เรียกได้ว่าทำทุกอย่างถูก Do the right thing การทำงานเรื่องเดียวกันนั่นมิได้มีวิธีที่ถูกต้องเพียงวิธีเดียว การทำงานจึงควรมีการสอบทานวิธีการทำงานให้เป็นขั้นตอน

      Peter Drucker ได้กล่าวถึงการเลือกสิ่งที่ถูกต้องทำ (Do the right thing) คนที่ทำอะไรสำเร็จมีคุณสมบัติ 5 ประการ ถ้าไม่มีก็ให้พัฒนาคุณสมบัติ ดังนี้

      1.    Time ต้องบริหารเวลาเป็น (Time management) วิธีปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างได้คือ การบันทึกการทำงานใน Diary 3 เล่ม เล่มที่ 1 บันทึกเองว่าวันนีเราทำอะไร เล่มที่ 2 บันทึกก่อนนอนที่บ้านว่าวันนี้เราทำอะไร เล่มที่ 3 ให้เลขาบันทึกว่าวันนี้เราทำอะไรบ้าง เมื่อครบ 1 ปีนำบันทึกมา Review จะพบว่าไม่ตรงกัน ถ้าตรงกันก็ถือว่ามีการบริหารเวลาได้ดี
      2.    Priority จัดลำดับอะไรควรทำก่อน ให้ทำสิ่งที่สำคัญก่อน เรื่องอื่น ๆ เอาไว้ทีหลัง หรือจะไม่ทำลำดับรองลงมาเลยก็ได้
      3.    Contribution เป็นลักษณะของการร่วมทุกข์ร่วมสุข ในบางครั้งเพียงแค่การร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขาก็เพียงพอโดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้เขาก็ได้ เราต้องนึกดูว่าวันนี้ การเคหะฯ จ้างให้เรามาทำอะไร
      4.    Strength ดูที่จุดแข็งในบางครั้งคนมีจุดแข็งเพียงเรื่องเดียวแต่เป็นเรื่องที่สำคัญแก่การปฏิบัติงานก็ถือว่าเพียงพอแล้ว จุดอ่อนที่ไม่เกี่ยวกับงานก็ไม่มีความสำคัญอะไร
      5.    Problem solving and decision making ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จควรมีคุณสมบัติที่สำคัญ อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาก็คือ การคิด วิเคราะห์และตัดสินใจที่รวดเร็วและถูกต้อง จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และต้องใช้ปัญญาหรือการมองไปถึงอนาคต คนบางคนทำอะไรถูกต้องตลอดเวลาแต่ไม่มีความเติมโต อาจเป็นเพราะไม่เลือกสิ่งที่ถูกทำ

Creative thinking

      การเคหะฯ ควรดูทุนเดิมของตนเองว่ามีอะไร อะไรที่เป็นอัตลักษณ์ เรามีแล้วลืมไปหรือเปล่า วันนี้เราอยู่ตรงไหน เดิมงานจะเป็น Modern คือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ ทหาร แต่วันนี้เป็น Post modern เป็นยุคแห่งการแข่งขันจำเป็นต้องเป็นสหวิทยาการต้องรู้ในหลาย ๆ ศาสตร์ แต่เดิมเป็น Functional นำ แต่ปัจจุบันเป็น Emotional นำ กคช.หากจะพลิกฟื้นจำเป็นต้อง Rebrand เอาความเก่งของเรานำกลับมาให้คนรับรู้ การทำงานก็จำเป็นต้องทำให้ตรงตามวัตถุประสงค์ (Objective) แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองเป้าหมายเป็นหลัก ถ้าจะจับความพอเพียงมาใช้ หากจะให้ Technology ก็ต้องเป็น Technology ที่พอเพียง 
      โอกาสที่การเคหะฯ น่าจะมองไปข้างหน้าอาจเป็นเรื่อง หมู่บ้านที่เป็น Wireless ทั้งหมู่บ้าน หรือมีประชากรหลักเกษียณอายุมากก็สร้างบ้านเพื่อผู้สูงอายุหลังวัยเกษียณ การ Rebrand มีสิ่งที่ควรทบทวน คือ
      1.    Brand building ต้องทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าตรงใจอย่างชัดเจนก็ถือว่าทำสำเร็จ เราก็สามารถขายสินค้าราคาสูงได้
      2.    Art of living and Technology of the self ถ้ารู้ความต้องการของลูกค้าก็ตอบสนองความต้องการได้

      การเคหะฯ ควรดำเนินการ ดังนี้
      1.)   ควรตั้งคำถามแก่ตัวเองหลาย ๆ ด้าน และมีความคิดที่แตกต่าง 
      2.)   ผู้บริหารควรเป็นผู้สนับสนุน ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์มากเกินไป
      3.)   Stakeholder จะต้องเป็นวิชาการ + สื่อ
      4.)   ชื่อ “การเคหะแห่งชาติ” ต่อไปจะใช้ไม่ได้ใน AEC
      5.)   ผู้เข้ารับการอบรมวันนี้เมื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคตต้องนำสิ่งที่พูดในวันนี้ไปทำให้สำเร็จ
      6.)   การนำเสนอผลงานของทั้ง 4 กลุ่มเป็นเรื่องที่ต้องนำมา Intergrades แล้วจะเกิดการ Rebrand ที่สมบูรณ์

      การสร้างบรรยากาศในการทำงานของ Apple ที่ การเคหะสามารถนำมาใช้ได้ประกอบด้วย
      (1)   Community = การตั้งก๊วนต่าง ๆ ในการทำงาน
      (2)   Next door = เปิดประตูอีกบานเมื่อเจอทางตัน
      (3)   Dialogue = สุนทรียสนทนา
      (4)   Hunch = ลางสังหรณ์
      (5)   Serendipity = การพลัดหลงและค้นพบ, โชคดีที่บังเอิญเจอ
      (6)   Error = ความผิดพลาด
      (7)   Borrow = การยืมความคิดของคนอื่นมาใช้
      (8)   Platform = มีจุดยืนที่มั่นคง
      (9)   Network = มีเครือข่าย

                                                                                    นพพร แจ่มสว่าง  รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์จีระ

วันนี้.. สุชาดาไม่ลง Blog ไม่ได้แล้ว.. ต้องลงให้ได้ การอบรมในวันนี้ (16 กค.55) “วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)” มีประโยชน์มาก ๆ สำหรับสุชาดาเพราะว่าได้พยายามค้นหา ตัว(กคช.)เอง มานานแล้ว ตัว(กคช.)เองที่ realistic and relevant ทำในสิ่งที่ need to do ไม่ใช่แค่ nice to do ทั้ง doing things right และ doing the right thing ที่ท่านอาจารย์ไกรฤทธ์ได้สอนในวันนี้

จากวันก่อตั้งการเคหะ ฯ 12 กุมภาพันธ์ 2516 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้เป็นระยะเวลาเกือบ 40 ปี แล้ว การเคหะ ฯ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ มีบทเรียนจาก trials and errors มากมาย และบทเรียนเหล่านั้นนับเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศเนื่องจากในยุคนั้น ยังไม่มีสถาบันใดที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยื่งสำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

• บ้านสร้างบางส่วนที่เรียกว่า site and services ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีราคาต่ำซึ่งผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อหาเป็นเจ้าของได้ก่อนและเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถต่อเติมได้ในภายหลัง แต่ไม่เป็นที่ยอมรับเท่าใด หรือ

• โครงการเมืองใหม่บางพลีที่เป็นเมืองใหม่แห่งแรกที่การเคหะฯสร้างขึ้นโดยมีแนวคิดหลักให้เป็นเมืองที่สมบูรณ์ (self-contained town) และคำนึงถึงความสมดุลย์ในการเดินทางระหว่างบ้านกับสถานที่ทำงาน (job-housing balance) การดำเนินการโครงการนี้นับเป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ของการเคหะฯและประเทศในเวลาต่อ ๆมา หรือ

• โครงการบ้านเอื้ออาทรที่โด่งดังในหลายแง่มุม แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าบ้านเอื้ออาทรนี่แหละที่ทำให้ธนาคารต่าง ๆ ได้โบนัสกัน 7-8 เท่า ไม่ค่อยมีใครทราบว่า

o กรณีที่ลูกค้าผ่านเกณฑ์การให้สินเชื่อจากธนาคาร หากลูกค้ากลุ่มนี้ขาดส่งเงินงวดจำนวน 90 วันขึ้นไป การเคหะ ฯ ต้องรับประกันการซื้อคืนทั้งก้อน มิฉะนั้นกลุ่มผู้ที่กำลังยื่นขอกู้จะไม่ได้รับการพิจารณาจากธนาคาร o กรณีที่ลูกค้าไม่ผ่านเกณฑ์การให้สินเชื่อจากธนาคาร การเคหะ ฯ ได้ให้โอกาสโดยการให้เช่า-ซื้อกับการเคหะฯ เอง

แต่การเคหะฯ ก็ได้สร้างสิ่งที่น่าภูมิใจไว้ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น

• รางวัล Habitat Scroll of Honor Award ที่ได้รับจากโครงการแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing) ในโครงการเซ่งกี่ซึ่งเป็นนวัตกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในขณะนั้น โดยทั่วไปในการปรับปรุงสลัมหรือชุมชนแออัด การเคหะฯ ดำเนินการ 2 วิธีคือ การปรับปรุงในที่ดินเดิม (Slum Upgrading) และการจัดหาที่อยู่ใหม่ (Slum Relocation) แต่สำหรับ Land Sharing การเคหะ ฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานประโยชน์ระหว่างเจ้าของที่ดิน กับเจ้าของบ้านผู้บุกรุกที่ดินซึ่งการเคหะ ฯ จะพยายามขอให้เจ้าของที่ดินยินยอมให้ผู้บุกรุกสามารถอยู่ต่อในที่ดินเดิมได้โดยการเช่าที่ดินในราคาถูกระยะยาว ซึ่งผลการดำเนินงานด้านการปรับปรุงสลัมหรือชุมชนแออัดนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถดำเนินการได้หลานแสนครัวเรือน ทำให้มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง (พชม.) ขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของการเคหะฯ ซึ่งสำนักงานนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งดำเนินการโครงการบ้านมั่นคงในปัจจุบัน

• การก่อสร้างบ้านพักนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ประมาณ 5,000 คน สำหรับ การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ สนามกีฬาเชียงใหม่ 700 ปี ในปี 2537 ซึ่งมีเวลาดำเนินการจำกัดเมื่อเทียบกับปริมาณและความซับซ้อนของงาน แต่สามารถดำเนินการได้เสร็จทันเวลา เรียกได้ว่า สามารถทำ Mission impossible ให้ possible ได้ ซึ่งได้รับคำชื่นชมมากมายว่า “สวยสดงดงามอย่างหาที่ติไม่ได้” อย่างหนึ่งน่าจะเป็นเพราะไม่มีสายไฟฟ้าให้เห็นรกสายตา

• ริเริ่มจัดทำและผลักดันให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศมีกรอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะยาว และเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติขึ้นเพื่อให้เป็นผู้บริหารจัดการยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาตินี้มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรองประธานคนที่สอง

• ริเริ่มและผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐานที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยได้สำเร็จ เนื่องจากมาตรฐานต่างๆ ที่ระบุไว้ในกฎหมาย เป็นมาตรฐานสำหรับประชาชนทั่วไปทุกกลุ่มทุกรายได้ แต่สำหรับผู้มีรายได้น้อย มาตรฐานหมายถึงต้นทุน โดยในกฏกระทรวงฉบับที่แก้ไขฎหมายนี้ การเคหะ ฯ ยังได้ออกแบบและเสนอบ้านแบบใหม่สำหรับผู้มีรายได้น้อยขึ้นให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้มีรายได้น้อย เรียกว่า “บ้านกลุ่ม”

เหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เคยค้นหา แต่ยังรู้สึกหลง และเขียนเป็นหนังสือไว้ชื่อว่า A Remembrance of the Variety of Activities in 39 Years of the National Housing Authority of THAILAND

หลังจากได้เข้าอบรมในวันนี้แล้ว คิดว่าน่าจะค้นเจอ เพราะได้ความรู้อีกมากมาย เรียนไม่หมด สรุปได้ความรู้ทั้งในส่วนของท่านอาจารย์ไกรฤทธิ์และอาจารย์ Mark ดังนี้

• รู้หลักการ 5 ข้อที่จะทำอะไรให้เกิดผลของ Peter Drucker (Time, Priority, Contribution , Strength, and Problem-solving & Decision-making) • ชอบประโยคที่โดนใจว่า Every piece must be a masterpiece. ขะนำไปใช้กับงานทุกชิ้นให้ได้ • ได้แนวคิดที่เป็น Creative thinking จากอาจารย์ Mark • ต้องค้นให้เจอ “Where are we now?” • ในการออกแบบบ้านของ กคช. ต้องคำนึงถึง functional & emotional คิดว่าอาจจะต้องไปสำรวจหรือวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ • อีกเรื่องหนึ่งคือ ทำวัตถุประสงค์ข้อ 1 ข้อเดียว แต่ต้องทำให้ดี ให้สมบูรณ์

ประการสำคัญ การทำ workshopในตอนบ่ายรู้สึกว่าได้ใช้ความคิดให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ได้คิดตามโจทย์ของทุกกลุ่ม มีของกลุ่ม 2 ที่คิดชื่อใหม่การเคหะ ฯ ว่า NHA แต่ในความเห็นของสุชาดาคิดว่าน่าจะเป็น THA_Thailand Housing Authority (การเคหะแห่งประเทศไทย) มากกว่า ไม่ชอบคำว่า National มานานแล้วเพราะสื่อไม่หมด คิดว่าคำว่า “Thailand” นี้ดีที่สุดเพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จะ AEC หรือ EU หรือที่อื่นก็ตาม จะรู้ว่าเป็นไทย

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่าน โดยเฉพาะท่านอาจารย์จีระ ที่ได้มอบสิ่งที่ดี ๆ ให้กับสุชาดา และการเคหะ ฯ ค่ะ

                        สุชาดา

9 กค. 2555 สรัญญ์ โสภณ ประชาคมอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY[AEC])

พิจารณากรณีเป้าหมายเพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม โดยมุ่งให้เกิด
  1. การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
  2. การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
  3. การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี
  4. การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
  5. การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี จำนวน 7 วิชาชีพแรก ที่ประกอบด้วยวิชาชีพ สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมอยู่ด้วย นั้น กคช.เป็นองค์กรจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ที่มีสถาปนิกและวิศวกรที่มีความสามารถและประสบการณ์ด้านนี้ รวมทั้งบุคลากรด้านการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนให้ดีขึ้น เป็นจำนวนมาก พอที่จะจัดสรรบุคลากรไปช่วยประเทศสมาชิกใน AEC ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ยากจนและยังขาดแคลนที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพตามผลการศึกษาของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยได้อย่างสบาย Brand ของ กคช.ในเรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกเหล่านั้นทราบดีและเปิดรับ กคช. ในการเข้าไปจัดการเรื่องที่อยู่อาศัยและการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี จึงเห็นว่านี่ถือเป็นโอกาสของ กคช. โดย กคช.จะต้องปรับปรุงองค์กรบางประการในเรื่องของ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับด้านการจัดหาเงินทุน การประสานงานกับหน่วยงานที่กำกับดูแล การแสดงศักยภาพให้ประเทศสมาชิกใน AEC ยอมรับ การหา Partnership ที่ดีใน AEC กคช.ก็จะสามารถเข้าไปมีส่วนในเรื่องของการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประเทศสมาชิกใน AEC ได้อย่างไม่ยากเย็น

11 กค. 2555   สรัญญ์  โสภณ

การบริหารความเสี่ยง

โดยทั่วไป องค์กรส่วนใหญ่จะมีการจัดการความเสี่ยงเสมือนเป็น pattern ขององค์กรอยู่แล้ว คือ มีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง (โอกาสเกิดและผลกระทบ) การจัดการกับความเสี่ยง  (การยอมรับความเสี่ยง การจัดการควบคุมความเสี่ยง การกระจายหรือผ่องถ่ายความเสี่ยง การหลีกเลี่ยงหรือยกเลิกเป้าหมายโครงการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง และการฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง) และการติดตามผลการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้องค์กรผ่านสิ่งที่จะทำให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ดี  ยังมีความเสี่ยงที่ยากแก่การจัดการอีก 2 ตัว คือ ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์และความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

บรรยากาศ การ Workshop ช่วงบ่าย วันที่ 16 กรกฏาคม 2555

เช้า วันอังคารที่ 17 กรกฏาคม หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

บรรยากาศช่วงบ่าย วันที่ 17 กรกฏาคมคม หัวข้อ Finance for Non- Finance& Financial Perspective

โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

17 กรกฎาคม 2555

วิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

 

QUOTES

“Business is about people.  In fact life is only people – family, friends, colleagues, bosses, teachers, coaches, neighbors.  At the end of the day, it’s only people that matter.”

                                                Jack Welch in WINNING

“Human Capital is the most valuable asset in any Organization”

                                                K.Paron Issarasena,

                                                Former Cement Thai

Leader à Do the right thing

Manager à Do the thing right

Supervisor à Execution Expert

 

Human Performance Framework

 

Competency (Knowledge-Skills-Attitude) – มีองค์ประกอบหลายตัวที่ส่งผลต่อ Competency นั่นคือ Motivations

 

เรามีหน้าที่จูงใจลูกน้องให้ทำงานให้สำเร็จ

It is the job of every manager to manage employees’ performance

  • ทำอย่างไรถึงจะมีการเปลี่ยนแปลง และทัศนคติต้องเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
  • การเคหะมียอดขายหมื่นกว่าล้านบาทถือว่าใหญ่
  • ปตทซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมียอดขายปีละ 2 ล้านล้านบาทต่อปีเท่ากับขนาดงบประมาณประเทศไทย ดังนั้นการบริหารปตท.กับประเทศไทยงบเท่าๆกันเพราะฉะนั้นต้องใช้คนเก่งมากๆ
  • บริษัทวอลมาร์ทเป็นบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกมียอดขาย 4 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 12 ล้านล้านบาท ดังนั้นผู้บริหารต้องเก่งมาก
  • โทมัส เอดิสันเป็นเจ้าของบริษัทจีอี(General Electric)
  • แจ็ค เวลซ์เก่งมาก มีเทคนิคบริหาร เวลาที่เขามาเยี่ยมบริษัทในประเทศไทย เขาให้เวลากับคนในองค์กร เช่นไปพบผู้บริหารปตท. การบินไทย ผู้ว่ากฟผ. นั่งคุยกับผู้บริหารองค์กรที่ให้ข้อคิดในการบริหารองค์กร
  • ธุรกิจการเคหะเกี่ยวกับคน
  • ชีวิตก็ประกอบด้วยคนทั้งนั้น คนเท่านั้นสำคัญที่สุด เช่น หัวหน้า ลูกน้อง คนในชุมชน
  • การเป็นผู้นำต้องดูแลคนให้ได้
  • บริหารคนในองค์กรให้เหมือนบริหารลูก ไม่ว่ามีลูกน้องมากหรือน้อย การบริหารคนก็ยังมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
  • คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทยถือว่าทุนมนุษย์สำคัญที่สุด
  • หน้าที่หลักขององค์กรคือต้องสร้างให้มี Performance (ผลงาน) นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้แต่ละคนอยู่ในองค์กรได้
  • ผลงานของลูกน้องทำให้คุณมีผลงาน เพราะฉะนั้นต้องทำให้ลูกน้องมีผลงาน
  • จะมีผลงานได้ ก็ต้องมี Competency (ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อองค์กร) พร้อมที่จะทำงานและ Motivation (แรงจูงใจ เช่น เงินเดือน โบนัส ตำแหน่ง คำชม ชื่อเสียง ความสุขในการทำงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงานดี เครื่องมือดี Passion)
  • ผู้นำต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกน้องทำงาน
  • ทฤษฎีมาสโลว์บอกว่า แรงจูงใจเริ่มจากปัจจัยสี่ขึ้นไปสู่การได้บรรลุในสิ่งที่ตนเองอยากเป็น
  • เวลาคิดระบบ ต้องดูว่า ระบบนั้นเพิ่ม Competency และ Motivation ให้คนมีผลงานในองค์กรหรือไม่
  • วิธีการประเมินผลงานได้โดยวัดให้ยุติธรรมที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ปัญหาคือก็มีโควตา แม้ผลงานดีแต่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • ต้องมีความชัดเจนในการวัดผลงานทำได้โดยเริ่มจากเป้าหมาย แต่ก็ทำได้ยากโดยเฉพาะงานที่ไม่เกี่ยวกับตัวเลข
  • ต้องมีการควบคุมดูแลสนับสนุนลูกน้อง
  • ถ้าลูกน้องทำงานสำเร็จ ก็ต้องยกย่องชมเชยให้รางวัล
  • ถ้ามีความแตกต่างระหว่างเป้าหมายและผลงาน หัวหน้าต้องเข้าไปสอนเพื่อช่วยให้ลูกน้องสู่ความสำเร็จ ต้องวินิจฉัยปัญหา (Diagnose) ก่อนโดยซักถาม อย่าด่วนสรุป

CHANGE MANAGEMENT

THE IMPORTANCE OF THE LEADER ROLE

“Change before you are forced to change” Jack Welch Ex. President & CEO General Electric

The rate of change is not going to slow down anytime soon.  If anything, competition in industries will probably speed up even more in the next few decades”

 

แจ็ค เวลช์ กล่าวว่า เปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน มิฉะนั้นมันจะสายเกินไป

การคาดว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่สำคัญ – (ภายใน 3 – 6 เดือน การเคหะฯ จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง?)

  • คนที่เก่งการบริหารการเปลี่ยนแปลงต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงเก่ง
  • การเคหะได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น การเมือง นโยบาย ลูกค้า AEC คู่แข่ง อัตราดอกเบี้ย กฎหมาย
  • องค์ประกอบภายในที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเคหะคือ นโยบาย ผู้นำ โครงสร้าง เทคโนโลยี

 

Change Management - Definitions

Emerging during the 90 ties as a “label” for the increasingly important role for Management to deal with change and improvements of the company

Change Management refers both to setting goals and strategies, operational efficiency, organizational structure, processes, leadership, people, customers, vendors etc

Change Management is cross functional and multi disciplinary in its characters

Today’s Business Environment
Has Little Tolerance for the Status Quo

Forces of Change

É Increasing globalization

É Emergence of new competitors

É Changing customer demands

É Shortened product life cycles

É Capital markets’ demand for short-term performance

É Heightened environmental concerns

É Increasing regulatory demands

All evidence indicates that the pace of change is increasing dramatically as well.

2 Strategies for Changes

1) Top Down (Programmatic)

    “Teaching & Application of Existing Knowledge”

Ò Change driven by management

Ò Careful planning

Ò Many experts involved

Ò Inspiration from success cases

Ò Well-tried and documented methods

Ò From ‘existing status’ to ‘desired status’

Ò Focusing on a single (or few) theme(s)

Ò Draws upon experience / skills / knowledge from few selected managers / employees / experts

Ò Limits the organizational capacity to deal with well-defined problems or a “frozen” picture of existing and desired state affairs

 

2) Bottom-Up (Learning)

“Stepwise Creation of Meaning & Understanding”

Ò Top down & Bottom-up

Ò Decentralized change responsibility

Ò Many people involved

Ò Growing by broadening i.e. several focuses

Ò Lead by visions

Ò Improvisation and planning

Ò Considering external factors

Ò Draws upon the experiences / skills / knowledge of many actors

Ò Increase the organizational capacity to continuously solve changing environmental and complex demands

 

MANAGERIAL COMMITMENT TO THE CHANGE PROCESS

Ò Consistency words – actions

Ò Acting as a driving force

Ò Following up actively

Ò Willing to re-evaluate own ideas

IMPLEMENTATION SKILLS

Ò Sustainability

Ò Applying appropriate change methods

Ò Reinforcing and correcting feedback loops

Ò Developing shared mental models

THE ROLE OF THE LEADER WHEN IMPLEMENTING CHANGE

Ò The leader represents the company and the change – However needs to listen to the staff

Ò The leader tends to overestimate how to inform the staff

Ò The leader must create good communication channels

 

What Matter Most in Change Management

  1. Accepting that organizations are complex & adaptive human system not mindless machines
  2. Understanding that organizations are more driven by process rather than structure
  3. Understanding the differences between the first and the second order changes
  4. Understanding the need to integrate the Policy Learning and Operational learning - Strategy Learning
  5. Accepting and using the inevitability events.
  6. Accepting professionalization of direction givers

Change Management : some of key success factors

1)      Eliminate source of complacency – create sense of urgency.

2)      Promote support from key stakeholders – “Stakeholder Analysis”,

3)      Commitment from all is critical.

4)      Promote short term win – “quick win”

5)      Change Management Roadmap -  well planned execution with substantial deliverables, good communication plan and clear mile stones is key.

6)      Implement change management as part of organization development plan – OD approach is vital.

Change Management Skills

Ÿ   Adaptability

Ÿ   Strategic  Focus

Ÿ   Results Focus

Ÿ   Foster a Collaborative Approach

Ÿ   Facilitate Openness and Understanding

Ÿ   Encourage Learning 

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1.ต้องยอมรับว่าองค์กรของท่านซับซ้อน ประกอบด้วยคนซึ่งเป็นสิ่งที่ยากจะจัดการ

2.เข้าใจว่า องค์กรถูกผลักดันในกระบวนการการทำงานมากกว่าโครงสร้าง จึงจะโตได้เร็ว เพราะกระบวนการที่ดีช่วยลดความผิดพลาดและประหยัดเวลา

3.ต้องเข้าใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆต่อไป

4.การเรียนรู้ในองค์กรต้องบูรณาการกันไปในทิศทางเดียวกัน

5.ต้องใช้เหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ให้เป็นประโยชน์

6.ต้องยอมรับความเป็นมืออาชีพของหัวหน้า

ปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ

1.อย่าภูมิใจในองค์กรเสียจนไม่ทำอะไรเลย อย่าเป็นเหยื่อของความสำเร็จขององค์กรคุณ ต้องมีความตื่นตัวพัฒนาตลอด

2.ทำอะไรต้องวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องสนับสนุนและตอบสนองเขาให้ได้

3.ต้องสร้าง Commitment ในองค์กร

4.เรียนรู้ที่จะทำสิ่งที่ทำง่ายได้ผลเร็วก่อน Keep it simple (KISS)

5. เปลี่ยนแปลงอะไรต้องมีแผน Roadmap ให้ชัด

6. การใช้การพัฒนาองค์กร (เช่น เปลี่ยนระบบงานและเปลี่ยนโครงสร้าง) สำคัญมาก

ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1. ปรับตัวได้ดี

2. คิดเชิงกลยุทธ์ ทำงานที่ตอบสนองต่อทิศทางขององค์กร ต้องรู้จัก Work out (เลิกทำงานที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร เช่น รายงานที่หัวหน้าที่ไม่ใช้หรือไม่มีคนอื่นใช้ประโยชน์)

3. เน้นผลงาน อย่าให้ค่าแก่คนขยัน แต่ให้ค่าผลงานดีกว่า

4.ทำงานเป็นทีม

5.เปิดใจ เข้าใจกัน

6.ส่งเสริมการเรียนรู้

การเปลี่ยนแปลงแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ สิ่งที่อยากให้เกิด และสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดแต่มันจะเกิด

กระบวนการทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของจีอีมี 3 ขั้น

1.ก่อนการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างความต้องการร่วมกันให้ได้แล้วทุกคนก็จะช่วย ผู้นำต้องสร้างวิสัยทัศน์ให้คนอื่นเห็น สร้างความร่วมมือ

2.ระหว่างการเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงสำคัญที่จะจัดการมันได้ ระยะเวลาขึ้นกับความซับซ้อนของแต่ละเรื่อง ต้องรู้จักบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง

3.ผลการเปลี่ยนแปลง ดูผลการเปลี่ยนแปลง ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืนโดยเปลี่ยนระบบและโครงสร้าง

  • ถ้าเปลี่ยนความคิด คุณก็จะเปลี่ยนความเชื่อ
  • ถ้าเปลี่ยนความเชื่อ คุณก็จะเปลี่ยนความคาดหวัง
  • ถ้าเปลี่ยนความคาดหวัง คุณก็จะเปลี่ยนทัศนคติ
  • ถ้าเปลี่ยนทัศนคติ คุณก็จะเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ถ้าเปลี่ยนพฤติกรรม คุณก็จะเปลี่ยนผลงาน
  • ถ้าเปลี่ยนผลงาน คุณก็จะเปลี่ยนชีวิต

16 กรกฎาคม 2555

วิชา วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

   อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

   อ.ทำนอง ดาศรี

ร่วมวิเคราะห์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้ทราบความแตกต่างของคำว่า Efficiency-สมรรถภาพ กับ Effecttiveness- สัมฤทธิ์ผล

  • Efficiency = Doing things right คือ ทำอะไรถูกวิธี เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งอาจจะมีหลายวิธี และมากกว่า 1 กระบวนการ ข้อเสียของการทำอะไรถูกวิธี คือ อาจเลือกอันที่ผิดแต่ทำถูกวิธี

  • Effectiveness = Doing the right things (เลือกทำในสิ่งที่ถูกต้อง เลือกทำอันที่ถูกต้อง) ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหาร การที่ผู้บริหารจะรู้ว่าเลือกอันที่ถูกทำมีอยู่ 5 วิธี คือ

  • TIME – (time management) บริหารเวลาเป็น อาจารย์ได้แนะนำกลยุทธ์ในการตรวจสอบการบริหารเวลาของเราโดยหาไดอารี่มา 3เล่ม

เล่มที่ 1 เขียนว่าจะทำอะไร (เอาไว้ที่โต๊ะทำงาน)

เล่มที่ 2 วันนี้ทำอะไร (เอาไว้ที่หัวนอน)

เล่มที่ 3 ให้เลขาฯ จดว่าเราทำอะไรบ้าง (เอาไว้ที่เลขาฯ)

การบริหารเวลาที่ดี คือ ทั้ง 3 เล่มจะต้องตรงกัน

  1. Priority – หาว่าใน 5 อย่างเราจะต้องทำอะไรและ rank ว่าควรทำอะไรก่อนและทำสิ่งนั้นเพียงสิ่งเดียว

  2. Contribution – ให้แจกแจงว่าถ้าท่านรับเงินเดือน 50,000 บาท ลองแบ่งดูว่าใน 50,000 บาทนี้ เราทำอะไรบ้าง? เขาจ้างคุณมาทำอะไร? เราทำงานคุ้มหรือไม่?

  3. Strength – ให้ดูที่จุดแข็งของคนที่สามารถสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้มีเพียง 10 % ก็เพียงพอแล้ว

(ใช้จุดแข็งของคน)

  1. Problem Solving + Decision Making สอนคนแก้ปัญหา/ตัดสินใจเป็นระบบ(ใครสนใจ search KRENOR+TREGOR)

สำหรับหัวข้อ Creative thinking ได้แนวคิดใหม่ ๆ สำหรับการพัฒนาองค์กรเพื่อก้าวเข้าสู่ AEC เนื่องจากหากเราหยุดนิ่ง เราจะไม่มีที่ยืนแน่นอน 1. concept “Play & Learn” 2. การทำ Re-brand 3. ปรับเปลี่ยนจาก Functionl เป็น Emotional เช่น ตั้งคำถามว่า วันนี้คนรุ่นใหม่อยู่บ้านการเคหะฯ รู้สึกอย่างไร? - อนาคตอีก 10 ปี จะมีข้าราชการจำนวนเท่าไหร่ที่เกษียณอายุ และคนกลุ่มนั้น คือ ลูกค้าที่ดีของท่าน เขาเหล่านั้นอยากอยู่บ้านแบบไหนในอนาคต - สะท้อนให้เห็นความสำคัญของ Emotional 4. Networking เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการเคหะฯ ในอนาคต เช่น ทำไมไม่ร่วมมือกับการรถไฟฯ สร้างบ้านสำหรับคนรุ่นใหม่

 ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

อรชร กิจสุบรรณ

-

..............................................

การอบรมวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 การบริหารการเปลี่ยนแปลง อาจารย์ประกาย ชลหาญ

      การบริการในยุคปัจจุบันต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง Customer centric จึงจะชนะใจลูกค้าได้

      Jack Welch กล่าวว่า “Business is about people. In fact life is only people – family, friends, colleagues, bosses, teachers, coaches, neighbors. At the end of the day, it’s only people that matter.”   ธุรกิจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน ครอบครัว, เพื่อน, เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ครู โค้ช เพื่อนบ้าน ในชีวิตจริงเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนทั้งสิ้น ในที่สุดคนเท่านั้นที่สำคัญ

      ผู้นำต้องมีเวลาให้กับองค์กร พ่อที่ดีต้องมีเวลาให้กับลูก ผู้บริหารที่ดีอย่างใช้เวลาให้หมดไปกับเรื่องอื่น ๆ จนไม่คำนึงถือคนในองค์กร การบริหารคนไม่ว่าจะมีจำนวนมากน้อยแตกต่างกันเพียงใด การบริหารก็ไม่แตกต่างกันเพราะทุกคนในองค์กรย่อมผลิตผลงานให้กับองค์กรเสมอ ผลงานนั้นเกิดจาก
      - Competency ความสามารถเชิงสมรรถนะ ซึ่งคนจะมีไม่คงที่อาจสูงหรือต่ำได้
      - Motivation แรงจูงใจ เป็นกระบวนการที่บุคคลถูกกระตุ้นโดยจงใจ ให้กระทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 
      จะให้ลูกน้องทำงานต้องมีการกระตุ้น ผลงานที่ได้ต้องตรงตามเป้ามหมายและควรมีระบบตอบแทนผลงานที่เหมาะสม จะทำได้ระบบต้องมีความเที่ยงธรรม ชัดเจน เมื่อไรก็ตามเมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ตามเป้าหัวหน้าต้องรีบเข้าไป Coach ให้ลูกน้องทำงานให้ได้ หัวหน้าที่ไม่ดีมีลักษณะเมื่อพบปัญหาก็ทึกทักเอาเอง ดังนั้นเจอปัญหาให้หาสาเหตุเสียก่อนโดยการพูดคุยกันเพื่อหาทางเลือก และทุก ๆ ทางเลือกย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเสมอ ต้องจัดการความเสี่ยงนั้นให้ได้ ผู้นำเมื่อจะตัดสินใจให้ผู้ตามต้องปฏิบัติมักจะมีสถานะการหรือสิ่งแวดล้อม Situation มาสนับสนุนการตัดสินใจ หากมิใช้เรื่องกฎระเบียบ หรือกฎหมายก็อาจตัดสินใจตามสถานะการได้ แต่เป็นเรื่องกฎหมายต้องเป็นเรื่องถูกหรือผิด

      การบริหารความเปลี่ยนแปลงโดยปกติคนจะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง การประเมินการเปลี่ยนแปลง Estimate จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้นำที่เก่งย่องคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงได้แม่นยำ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นผู้นำต้องจัดการ (Manage) อย่าปล่อยให้เกิดขึ้นตามยถากรรม ถ้าไม่บริหารจัดการโอกาสที่จะเกิดผลดีย่อมน้อยกว่าโอกาสที่จะเกิดผลเสีย แต่สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแน่ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย
      1.)   ทัศนคติ การบริหารคนในองค์กรเป็นเรื่องที่ชับซ้อน
      2.)   องค์กรในปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยกระบวนการ (Process) มากกว่าโครงสร้าง (Structure) ถ้า Process ดีจะเป็นเครื่องรับประกันได้ว่าผลงานจะออกมาดี
      3.)   การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใหญ่ ๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงย่อย ๆ อีกมาก
      4.)   การทำงานต้องบูรณาการ (Integrate) ทั้งแผน การปฏิบัติ และกลยุทธ
      5.)   การทำงานย่อมมีสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับและแก้ไข
      6.)   ต้องยอมรับความเป็นหัวหน้าอย่างมืออาชีพ และต้องให้ความร่วมมือ
      ถ้ารู้สึกอึดอัดก็ต้องปรับทัศนคติ (Mindset) ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และต้องมีความอดทนอย่างสูงกับสิ่งที่เกิดขึ้น

      การบริหารความเสี่ยงที่เป็น Key success factor ประกอบด้วย
      1.    หลีกเลี่ยงการทำงานที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตแล้วหยุดอยู่ตรงนั้น (Complacence) ถ้าถึงจุดที่หยุดนิ่งต้องรีบตื่นตัวและธุรกิจจะต้องทำ Reinvent 
      2.    ต้องได้รับการสนับสนุนจาก Stakeholder ทุก ๆ ส่วน ทั้งจากลูกค้า ผู้ถือหุ้น ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร ฯลฯ และธุรกิจต้องตอบสนอง Stakeholder ธุรกิจนั้นจึงจะไปรอด
      3.    Commitment ของคนในองค์กรต้องเป็นหนึ่งเดียว
      4.    มีอะไรที่เป็นผลประโยชน์ที่เก็บเกี่ยวง่ายให้รีบเก็บเกี่ยวก่อน (Quick win) แล้วจึงทำเรื่องยาก
      5.    การใช้ระบบ Organization development 

GE’s Change Model : Change acceleration process Leading change (1) มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง Creating a share need (2) ต้องสร้างความต้องการร่วมกันให้ได้ Shaping a vision (3) สร้างความฝันที่สัมผัสได้ มีตัวตน Mobilizing commitment (4) ผลักดันให้เกิดมีแนวร่วม Monitor process (5) ติดตามความคืบหน้าตลอดเวลา Making change last (6) ในที่สุดเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน Changing system & structure (7) เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้าง

      การเคหะแห่งชาติ เคยผ่านกระบวนการการเปลี่ยนแปลงมาแล้วหลายครั้ง ที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนระบบบัญชี การเงิน โดยใช้ระบบ SAP ทำให้หลายหน่วยงานเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน เป็นการทำงานที่รวดเร็วขึ้น แต่เมื่อในช่วงการเปลี่ยนแปลงระยะแรกมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายจนกลายเป็นทำงานช้ากว่าเดิมและมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นหลายประการ ส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดขึ้นเพราะไม่พบการบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ได้รับการอบรมในครั้งนี้ และในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบ SAP อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งย่อมมีผลกระทบเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ฝ่าย IT ควรพิจารณาการบริหารความเสี่ยงไปพร้อมกับการพิจารณา Up grade ระบบ SAP ด้วย

Finance for non Finance

ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

      ผมเองเป็นคนที่ไม่มีความรู้ทางด้านการบัญชีมาก่อนแม้แต่น้อย จึงพยายามทำความเข้าใจซึ่งท่านวิทยากรได้กรุณาอธิบาย อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ผมเข้าใจในเรื่องตลาดเงิน และตลาดทุนได้มากขึ้น การซื้อขายล่วงหน้า Future market เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงผมก็คงไม่กล้าเข้าไปเสี่ยงด้วยอย่างแน่นอน เรื่องของการออมมีความเข้าใจอยู่แล้วแต่ก็ได้รับความรู้มากขึ้นสามารถปรับปรุงการออมเงินได้โดยเฉพาะในวัยใกล้เกษียณมีเงินยังชีพไม่มากก็จำเป็นที่จะไม่เสี่ยง หรือมีความเสี่ยงน้อยสามารถลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ฝากธนาคาร เพื่อให้มีเงินใช้ได้ยาวนาน แม้จะไม่มีความรู้ในเรื่องการลงทุน การวิเคราะห์งบการเงิน แต่ก็เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุนที่ไม่วิเคราะห์ข้อมูลให้ดีเสียก่อน ถึงอย่างไรก็มีประโยชน์แก่ตัวผมมาก

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

สรุปบทเรียน วันที่ 9 กค. 2555 พรรณี วิชิต รุ่น 2

หัวข้อ การบริหารธุรกิจไทยในยุค ASEAN Economic Community

AEC  คือ  การเคลื่อนย้ายสินค้า  เงินทุน  แรงงาน เป็นไปอย่างเสรี  เพื่อให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน  ตามกระแสโลกให้ทัน  ไม่มีอุปสรรคทางการค้า  เกิดความร่วมมือในด้านต่างๆ ภาษีนำเข้าสินค้าต้องเป็นศูนย์ ซึ่งนั้นคือ อาเซียนจะเป็นตลาดร่วมอย่างสมบูรณ์
- อาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง พัฒนามาตรการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคควบคู่กับมาตรการด้านเศรษฐกิจ บังคับให้มีแผนปฏิบัติการสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและแผนงานด้านลิขสิทธิ์
- อาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันและมีการบูรณาการเข้ากับ เศรษฐกิจโลก

หัวข้อ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC : แนวโน้มและการปรับตัว

การเปิดตลาดการค้าสินค้า  การค้าบริการและการลงทุน  ทำให้ชาวต่างชาติสามารถให้บริการข้ามพรมแดนมายังไทยได้และคนไทยไปใช้บริการในต่างประเทศได้  เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติให้ธุรกิจบริการ เป็นต้น  ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาคือปัญหาโครงสร้างของผู้มีรายได้น้อยแรงงานต่างชาติ            จำนวนมาก  ปัญหาชุมชนมีมากขึ้น  ความต้องการที่อยู่อาศัยมีมากขึ้น  เกิดเขตเศรษฐกิจใหม่และชุมชนตามชายแดนเศรษฐกิจ                 มากขึ้น  เป็นต้น
ผลประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้าและลงทุน เช่น ได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียน  วัตถุดิบถูกลง มีแนวร่วมในการเจรจาต่อรองในเวทีการค้าโลก เป็นที่สนใจของประเทศอื่น ที่จะมาทำข้อตกลงการค้าเสรี เป็นต้น

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์จีระ

ขออนุญาตส่งการบ้านครั้งที่ 7 ค่ะ

อรพิณ

 

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์จีระ

หนูขออนุญาตส่งการบ้านครั้งที่ 8 ค่ะ

 

อรพิณ

 

นายดารนัย อินสว่าง

วันที่ 9 ก.ค. 2555 ได้เข้ารับการเรียนรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ทำให้มีความรู้มากขึ้นในการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน การรวมตัวของอาเซียนจะกลายเป็นตลาดร่วมอย่างสมบูรณ์ 4 เป้าหมายหลักของอาเซียนคือ การเป็นตลาดและฐานผลิตร่วม การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกจิอย่างเสมอภาค และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

จากการอบรมในวันนี้ ได้รับความรู้จากวิทยากรทุกท่านที่มีความสามารถและมีความรอบรู้อย่างมาก ซึ่งการเคหะแห่งชาติในวันนี้ในฐานะผู้สร้างที่อยู่อาศัย ก็ต้องหวลกลับมามององค์กรว่าจะพัฒนาระบบการสร้างที่อยู่อาศัยไปสู่อาเซียนอย่างไร 

เพราะถ้าจะเพิ่มตลาดภายในประเทศอย่างเดียวคงจะเป็นไปไม่ได้

นายดารนัย อินสว่าง
             วันที่ 11 ก.ค. 2555 วันนี้ได้รับการอบรมและเรียนรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ และการบริหารงบประมาณ

เชิงกลยุทธ์ ทั้ง 2 วิชา มีความเกี่ยวข้องกับการเคหะแห่งชาติอย่างมากโดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยง วันนี้ทุกองค์กรจะต้องเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงและจะต้องลดความเสี่ยงอย่างไรเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและปลอดภัยที่สุด การตัดสินใจภายใต้ภาวะความเสี่ยง จะต้องมีการวิเคราะห์และหาทางเลือกเพื่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งทุกคนในองค์กรควรให้ความสำคัญและศึกษาเรื่องการบริหารความเสี่ยงให้มากที่สุด และจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงในแต่ละปี

ส่วนเรื่องการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะใช้กับชีวิตประจำวันโดยเฉพาะการสอนให้รู้จักการออม และการใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด รวมถึงการลงทุน เพื่อให้ได้ประโยชน์ตอบแทนมากที่สุด

16 กรกฎาคม 2555

          จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2555 เรื่อง วิเคราะห์กรณีศึกษาการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดยศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ, อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

          1. ทำให้ทราบว่าการบริหารให้สัมฤทธิผลนั้น เนื่องจากในองค์กรมีวาระที่ต้องดำเนินการจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องจัดลำดับ และคัดเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาทำก่อน ต้องทำเรื่องเดียวหรือทำครั้งละ 1 เครื่องที่สำคัญที่สุด ความยากคือการเลือกเรื่องที่จะทำ เลือกข้อที่ถูกต้องมาทำ และหาวิธีที่ถูกต้องมากระทำ จึงตอบโจทย์ว่า ทำอะไร และทำถูกวิธี

          2. EFPECTIVE – RESULT พิสูจน์ผลลัพธ์ 5 ข้อ ดังนี้

              2.1 TIME

              2.2 PRIORITY ทำอะไรก่อน อะไรคือข้อที่ต้องถูกทำก่อน เรียงลำดับให้ได้

              2.3 CONTIBUTION หาคำตอบว่า จ้างมาทำอะไร มีหน้าที่ทำอะไร เอาไว้ทำอะไร คุ้มค่าหรือไม่

              2.4 STRENGTH พิจารณาเฉพาะจุดแข็ง หาจุดเพียงพอมาใช้ให้เป็นประโยชน์

              2.5 PROBLEM SOLVING DECISION MAKING การมอง/อ่านปัญหา วิเคราะห์แล้วตัดสินใจ ฟันธงอย่างถูกต้อง จะได้ผลลัพธ์ที่ดี ต้องเลือกอันที่ถูก ทำให้ถูกเท่านั้น จึงสัมฤทธิ์ผล

          3. บทเรียนเพื่อการพัฒนานั้น ต้องหาตัวตนของตนเองให้พบอย่างแท้จริงก่อน เช่น การเคหะแห่งชาติมีทุนเท่าใด (อย่างไร) ที่เป็นทรัพย์สิน เช่น ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง หรือความรอบรู้ การจัดการชุมชน มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะตอบได้ว่า เราควรทำอะไรอย่างไร และ MAKING DECISION

          4. อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ได้นำเสนอการวิเคราะห์การบริหารธุรกิจ บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติในยุค POST MODERN ที่การแข่งขันมีความเข้มข้นร้อนแรงมาก เป็นยุคสหวิทยาการ กล่าวคือต้องรอบรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง รู้มาก ทุก ๆ ด้าน ในทุก ๆ สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้อง เป็นบริบท EMOTIONMAL นำหน้าทั้งวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ

          เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการเคหะแห่งชาติต้องหาตัวตนให้พบเสียก่อน แล้วเอาความต้องการของลูกค้า (ผู้จะซื้อบ้าน) มาเป็นปัจจัยนำหน้า เช่น

          • กคช.ต้อง RE-BRAND เพื่อ RE-BORN

          • เอาความเก่าเก็บขึ้นมาทบทวนวิเคราะห์ให้ลงตัว เหมาะสมกับยุคนี้

          • ให้ตระหนักถึงปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการเคหะแห่งชาติโดยตรง

          • ทบทวนวัตถุประสงค์ว่ายังเหมาะสมกับตลาดปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสม ตกยุค ผิดเป้าหมาย จะปรับเปลี่ยน/แก้ไขอย่างไร

          • วิเคราะห์โครงสร้างประชากร หากลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มใหม่ เหล่านี้เป็นต้น

          5. ในการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีปฏิบัติจะอยู่ในกรอบ หรือวิธีเดิม ๆ ไม่ได้ ต้องหากลยุทธ์และยุทธวิธีการ ทั้งการคิด – เป้าหมาย และกรรมวิธีใหม่ ๆ มาใช้ ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ และ IT ให้เกิดประโยชน์

          6. การเข้าสู้ NET WORK เช่น ประสานร่วมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กระทรวง, หน่วยงานใหม่ ๆ เพื่อเติมเต็ม หรือลดช่องว่างทางการตลาด หรือให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ต่อไป

                                                   -------------

                                                16 กรกฎาคม 2555

วันที่ 16 ก.ค.2555 การรอบรมในวันนี้ได้เรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ เพื่อการพัฒนาการเคหะ การเคหะฯจะต้องรู้จักตัวเอง หรือค้นหาตัวเองก่อน เพื่อให้เกิด Effectiveness (สัมฤทธิ์ผล) ต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง (Doing the right thing ) ซึ่งเป็นทฤษฎี ของ Peter Drucker การจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้ จะต้องประกอบด้วย

    1.Time การบริหารเวลา
    2.Priority ต้องวางแผนว่าจะทำอะไรก่อนหลัง
    3.Contribution ต้องตามตัวเองว่า เขาจ้างคุณทำอะไร  คุ้มหรือไม่
    4.Strength ต้องหาจุดแข็ง
    5.Problem solving และ Dicision  Making ต้องมีวิธีแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ 
การเคหะฯ ต้องทบทวนวัตถุประสงค์ขององค์กรใหม่ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์  ต้องคิดสมัยใหม่  ต้อง reinvent   และ rebranding เพื่อที่จะ reborn การเคหะต้องทำอะไรให้เกิด Value Added, Value Creation และ Value Diversity ด้วยการคิดหานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง  ทำให้เป็นวัฒนธรรมประจำองค์กร  การคิดอย่างอิสระ  เพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กร  เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

วันที่ 17 ก.ค.2555 อบรมในหัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องคน

เริ่มจากการเป็นผู้นำ  Jack Welch  อดีต CEO ของ บริษัท GE กล่าวว่า  ความเป็นผู้บริหารองค์กรจะต้องมีเวลาให้กับคนในองค์กรถึงแม้ว่าจะยุ่งแค่ไหน  สิ่งที่ทำให้ผลงาน  แตกต่างกัน  คืออารมณ์  ร่างกายสิ่งแวดล้อม  ลูกน้อง  เจ้านาย  และองค์ประกอบอีกมากมาย  ซึ่งผู้นำจะต้องหาสาเหตุ  และแก้ปัญหา  เพื่อทำให้ผลงานบรรลุเป้าหมาย  Jack Welch  กล่าวว่า  การบริหารการเปลี่ยนแปลง  เราควรเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน แรงผลักดัน  การเปลี่ยนแปลง        มีจากภายนอกและภายในองค์กร  เราต้องเรียนรู้การบริหารการเปลี่ยนแปลง  ดังนี้
    1.ต้องเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรในองค์กร
    2.ต้องเข้าใจว่าองค์กรในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยขบวนการมากกว่าโดยโครงสร้าง
    3.ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
    4.ต้องคิดในเชิงบูรณาการ  คิดให้ครบทุกขบวนการ  คิดภาพใหญ่ขององค์กร
    5.ต้องยอมรับและแก้ไขเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
    6.ต้องยอมรับความเป็นมืออาชีพของหัวหน้า  ต้องยอมรับ  ร่วมมือและปรับตัว
ภาคบ่าย  ได้เรียนรู้เรื่อง  การบริหารการเงิน  หลักการเมื่อได้เงิน คือ 1 ต้องเก็บออม 2 ใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงชีพ 3 เก็บไว้เมื่อฉุกเฉิน  การลงทุน  วิธีต่างๆ  การตัดสินใจลงทุน  เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจการลงทุนที่เสี่ยง  การลงทุนที่ปลอดภัย  การทำงบการเงิน  การวิเคราะห์การเงิน  การทำ  Finance Project  
จารุวรรณ งามกนกวรรณ

การบ้าน วันที่ 16 กรกฎาคม 2555

Finance for Non-finance ความรู้ที่ได้รับ วันนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องตลาดการเงินทั้งในระบบ และนอกระบบ ตลาดแรกและตลาดรอง สถาบันการนเงินในประเทศ การอ่านงบการเงินอย่างง่าย มีงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน
สามารถนำมาปรับใช้ทั้งด้านการเงินส่วนตัวและการงาน ในฐานะผู้บริหารต้องสามารถอ่านงบการเงินได้ เพื่อจะบริหารโครงการได้ รู้กำไร ขาดทุน จะได้นำมาวิเคราะห์ก่อนการตัดสินใจในเรื่องการลงทุนต่างๆได้ดี

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ความรู้ที่ได้รับ วันนี้ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเพื่อให้ได้ performance ที่ดี มีกระบวนการอย่างถูกต้องทั้ง competency และ motivations ในแง่ competency ก็ต้องพัฒนา ส่วนในแง่ของ motivations จะมีแนวทางอย่างไร และมีกระบวนการอย่างไร อาจารย์ได้สอนให้ตระหนักในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องการเปลี่ยน ก็จะต้องมีคนมาเปลี่ยนแปลงเราอยู่ดี ตามคำพูดของ Jack Welch ไหนๆจะเปลี่ยนอยู่แล้ว ก็ต้องเปลี่ยนให้เป็นระบบ change acceleration process สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน
เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง มีเกิดขึ้นเป็นการทำ change ของโครงการ ERP เมื่อมีการนำระบบบริหารงานบุคคลใหม่ๆ PMS หรือแม้กระทั่งมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรทุกครั้ง จึงเห็นว่าหัวข้อนี้มีประโยชน์กับงานมาก นำไปใช้ได้เลย และนำมาพัฒนางานที่ทำอยู่ได้ทันที

การบริหารธุรกิจ

ความรู้ที่ได้รับ วันนี้ได้รับความรู้ที่เปิดกว้างในแง่ของความคิด กาคิดนอกกรอบ คิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นการปรับเปลี่ยนกรอบความคิด และได้มีความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารงานที่ประสบความสำเร็จขอ งPeter Drucker และวิทยากรทั้งสองท่านได้เปิดโอกาสให้พวกเราได้ทำ Workshop โดยการกระตุ้นให้พวกเราแสดงความคิดเห็น และได้คิดนอกกรอบ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนการเคหะแห่งชาติโดยไม่มีข้อจำกัด เป็นกิจกรรมที่สนุกได้รวมกลุ่มระดมความคิดร่วมกัน

สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน

ในสายงานที่ทำอยู่โชคดีที่ได้รับผิดชอบงานด้านการพัมนาบุคลากรของการเคหะแหง่ชาติให้มีโอกาสได้รับความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ และนำวิธีการคิดนอกกรอบที่ได้รับจากการอบรมมาพัฒนาหลักสูตรของการพัฒนาทางด้านบุคลากรของการเคหะแห่งชาติ
นายอรรคชัย ยืนยงอนันต์

รายงานการอบรมครั้งที่ 6 วันที่ 11 กรกฎาคม 2555 การบริหารความเสี่ยง

การเคหะแห่งชาติ  ถูกกำกับดูแลและประเมินผลโดยกระทรวงการคลังได้ให้ที่ปรึกษา บ.ทวิส เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี 2538  ซึ่งในช่วงแรกๆ เป็นช่วงทำความเข้าใจ  จนปัจจุบันได้มีการประเมินอย่างเข้มข้นและวัดผลอย่างละเอียด  ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันและลดความเสี่ยงโดยผลจาก KPI และเริ่มใช้ระบบ SEPA เข้ามาในองค์กร การวัดจะวัดประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล และคุณภาพการบริหารองค์กร  เราควรทำความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงกับทุกๆ คน  ในองค์กร  ความเข้าใจผิดในเรื่องความเสี่ยงมีอยู่ 3 ลักษณะคือ
  1. ความเสี่ยงเป็นเรื่องเลวร้ายมาจัดการควบคุม, ป้องกัน, ลดความรุนแรงที่จริงแล้ว อาจไม่ใช่บางสิ่งมิได้เลวร้าย เสมอไป บางเรื่องเป็นความเคยชิน
  2. ความเสี่ยงต้องหาวิธีลดลงให้เป็น 0 สิ่งนี้ก็ไม่จริง ที่จริงเป็นการลดความเสี่ยงให้เหลือพอที่จะรับได้ในระดับหนึ่ง
  3. ทำงานแบบ PLAY ทำไปเรื่อยๆ ไม่พัฒนาตนเอง จนถึงจุดหนึ่งอาจเสียหายรุนแรง หรือคิดว่าความเสี่ยงมากจะส่งผลกำไรมาก ความเสี่ยงภายใน ความเสี่ยงภายนอก
  4. ความเสี่ยงด้านการเงิน - ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
  5. ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (คู่มือ) - ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ
  6. ความเสี่ยงทรัพยากรบุคคล (อบรม) - ความเสี่ยงความปลอดภัย
  7. ความเสี่ยง IT (Bcm, Bcp) และสิ่งแวดล้อมภัยธรรมชาติ การประเมินความเสี่ยง
  8. อะไรเป็นความเสี่ยงที่แท้จริง
  9. โอกาสที่จะเกิดมากน้อยระดับไหน
  10. ความรุนแรงเมื่อเกิดขึ้น
  11. ความเสี่ยงเชิงนโยบายและการเมือง การบริหารความเสี่ยง 5T (ยอมรับได้ระดับไหน, ลดความเสี่ยง, กระจายความเสี่ยงหรือโอน, หลีกเลี่ยง, หาประโยชน์จากความเสี่ยง) เครื่องมือที่ใช้ “ควบคุมภายใน”
  12. การประเมินตามเกณฑ์แบบวัดระดับและแบบเกณฑ์ย่อย

    ธรรมดีที่พอทำ เป็นหนังสือที่เมื่ออ่านแล้วจะต้องเปรียบเทียบกับงานของเรา เพราะจะเป็นปรัชญาที่กล่าวสั้นๆ แต่จะตีความหมายได้อย่างมากมาย ดังนั้น การที่จะนำมาเขียนจึงทำได้เพียงเปรียบเทียบกับงานของตนเองเท่านั้นจะมองในมุมใดก็ได้ แต่จะเป็นแนวทางที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้และผลพิสูจน์แล้ว ถึงผลงานอันยิ่งใหญ่แต่สำเร็จได้ด้วยความศรัทธา พอเทียบเคียง 23 ข้อ ที่ท่านทรงทำงานไว้

    1. ศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องค้นหา และแยกข้อมูลให้เป็นระบบ เป็นข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน ให้ระวังข้อมูลที่ตกแต่งเพื่อให้ดูดี
    2. ระเบิดจากภายใน ทีมทำงานต้องเข้าใจสนใจจะทำ แยกให้ออกระหว่างคุณค่ากับมูลค่า งานที่สร้างคุณค่าต่อไปก็จะมีมูลค่า มีมูลค่าต่อไปก็จะไม่มีคุณค่าก็ได้
    3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก อะไรที่ทำได้ทำซะ คิดแต่สิ่งที่ยากมีโจทย์มากๆ ทำยาก ทำซ้ำเสียเวลา แก้ทีละเปราะจากต้นเหตุ งานไม่เดินใช้คนผิดงานจะเดินได้อย่างไร
    4. ทำตามลำดับขั้น ปัญหาหรือขั้นตอนการทำจะต้องถูกเรียงลำดับจะทำอะไรก่อนหลัง อะไรทำง่ายหรือยาก ถ้าไม่เป็นไปตามขั้นตอนจะไม่สำเร็จหรือเกิดปัญหาภายหลัง
    5. ภูมิสังคม, ภูมิศาสตร์, สังคมศาสตร์ รู้เขารู้เราจะทำอะไรในสถานที่ใดต้องรู้สถานที่นั้นสังคมนั้น เป็นอย่างไร และสังคมของเราเป็นอย่างไรต้องปรับไปตามภูมิประเทศและสังคม ออกแบบบ้านก็ต้องตามใจผู้อยู่ ไม่ใช่ตามใจผู้ออกแบบ
    6. ทำงานแบบองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง ทำโครงการก็ต้องดูลูกค้า ดูนโยบาย ดูภูมิประเทศ ดูวัฒนธรรม เมื่อดูทั้งหมดแล้วจะทำอย่างไรก็ทำตามองค์รวมนี้
    7. ไม่ติดตำรา คิดตามตำราบางครั้ง นำมาใช้กับงานบางประเภทไม่เหมาะสมก็ต้องทำตามที่ถนัดแล้วร่วมกันพัฒนา ฝืนให้ทำตามตำรา ผลสุดท้ายก็จะล้มเหลว
    8. ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด บางครั้งเราขาดความใส่ใจ ทำให้ทำงานยากต้องใช้ต้นทุนสูงเมื่อนำไปทำงานปริมาณมากๆ ยิ่งเสียหายมาก ก็ไม่ประหยัดงบประมาณ และเวลา ก็ต้องสร้างทุนทางมนุษย์ให้วิเคราะห์ออก อย่าปล่อยให้ทำผิดซ้ำๆ วัน
    9. ทำให้ง่าย บางครั้งคนที่ทำกับคนที่วางแผนการทำต้องคุยกันให้ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ของดีๆ ด้วยวิธีง่ายๆ
    10. การมีส่วนร่วม ปัญหาจะแก้ไม่ได้ถ้าไม่ให้คนทำมีส่วนร่วมระดมความคิดหาวิธีทำแล้วทำร่วมกัน จะไม่โทษกันช่วยกันทำ
    11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม ถ้าพวกเขาเห็นว่าเป็นประโยชน์ของพวกเขาของครอบครัวพวกเขาก็ยินดีที่จะทำให้สำเร็จ ดังนั้น มนุษย์เงินเดือนหากไม่มีความรักต่อองค์กร คิดแต่ประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ดูประโยชน์ส่วนรวมก็จะเกิดปัญหา ดังนั้น ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง
    12. บริการจุดเดียว อะไรที่เป็นโครงข่าย ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ก็สามารถนำไปรวมเป็นจุดเดียวกัน จะสร้างประโยชน์สูงสุด

    13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ใช้ข้อดี ใช้คนดี ปรับข้อเสีย คนไม่ดีให้เจือจาง ลดลงไปตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา ให้เป็นตัวอย่างเป็นแนวทางผลสุดท้ายทุกคนที่เห็นว่าดีก็จะทำตาม

    14. ให้ธรรมปราบอธรรม เมื่อทุกคนตระหนักอะไรดี ให้เขาแยกแยะให้ออก ทำให้เป็นแนวร่วม ทำให้เป็นตัวอย่าง สิ่งที่ไม่ดีก็จะไม่กล้า หยุดแล้วลดลงไปเอง ถ้าใช้วิธีปราบทันทีบางครั้งดีแต่บางครั้งจะไม่ได้ผล ผลสุดท้ายสิ่งที่ไม่ดีทำง่ายทุกคนก็จะไปทำแบบนั้น
    15. ปลูกป่าในใจคน จิตสำนึกที่ทุกคนเห็นว่าดีต้องปลูกฝัง 1 ให้ขยายเป็น 2 ต้องขยายเป็น 4 ถ้าทุกคนรู้สำนึกที่ถูกปลูกฝัง ผลก็จะขยายเป็นทวีคูณได้
    16. ขาดทุนคือกำไร
          บางอย่างวัดเป็นเงินไม่ได้ มนุษย์เป็นการลงทุนที่ต้องค่อยเป็นค่อยไปจะหวังหากำไรไม่ได้ แต่เมื่อมนุษย์มีปัญหารู้วิธีการคิด กระตุ้นให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี นำคน 36 คนมา Input ผ่าน Process ได้ผู้นำที่ดีมา 1-5 คน ก็เป็นกำไรแล้ว จะนำมาเปรียบเทียบตัวเลขไม่ได้ เพราะทุนมนุษย์ที่ไม่เท่ากันผลที่ได้ก็ย่อมต่างกันจะเทียบทางสถิติคงเป็นไปได้ยาก แต่ควรใช้วิธีการคัดสรรไปพัฒนาแล้วต่อยอดอีกครั้ง
      
    17. การพึ่งตนเอง ถ้าเราคิดว่าจะต้องนำเข้ามาเป็นหลัก แทนที่เราจะมองหาการพึ่งตนเองเป็นหลัก แล้วเราจะรู้ปัญหาได้อย่างไร เราต้องพึ่งพากันและกันพี่ต้องสอนน้อง ต้องหาคนเก่งๆ เข้ามาช่วยแนะนำแต่อย่าหวังว่าคนที่มาแนะนำจะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ถ้าพี่น้องไม่พึ่งพากัน พี่ไม่ดุไปทุบบ้างน้องจะดีขึ้นหรือ
    18. พออยู่พอกิน พออยู่พอกินมิใช่ใช้น้อยกินน้อย แต่ต้องให้ทุกคนรู้ในสำนึกทำงานน้อยก็มีรายได้น้อย ถ้าอยากกินดีอยู่ดีก็ต้องทำงานให้เพียงพอให้สมดุลกัน ถ้าทำให้ทุกคนเข้าใจเราก็คงเจริญได้อย่างเยอรมัน ญี่ปุ่น ถ้าคิดอย่างคนไทยอีกหน่อยแพ้เวียดนามแน่ๆ เพราะเข้าเป็นวัฒนธรรม ความขยันจนกลายเป็นนวัตกรรมอันแข็งแกร่งของเขา
    19. เศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรของเราถ้าไม่รู้จักพอเพียงกับรายได้ของตนเอง ผลสุดท้ายก็จะไปทำในสิ่งที่ผิด นอกจากตนเองพอเพียงแล้ว ถ้าครอบครัวไม่พอเพียง สังคมในที่ทำงานไม่พอเพียงก็จะเกิดการแข่งขันทำลายกัน ผลสุดท้ายครอบครัวนั้น สังคมนั้นก็เหมือนคนติดยาเสพติดแล้วจะเหลืออะไรในสังคมในครอบครัว
    20. ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน จริงใจต่อกันถ้าไม่สุจริต ไม่ซื่อสัตย์ จะเป็นกลุ่มก้อนที่จะสร้างความเสียหาย เช่น ชุมชนที่ดูแลบ่อน จริงใจกันมากผลสุดท้ายชุมชนอื่นครอบครัวอื่น ก็จะหายนะได้ ดังนั้น การได้ใจคนทำให้คนยอมรับในสิ่งผิดไม่แยกแยะ ผลสุดท้ายก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ชุมชนผมเสียหาย ประเทศผมเสียหายก็ต้องต่อสู้กัน
    21. ทำงานอย่างมีความสุข ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในการเคหะแห่งชาติ บางท่านอยู่มาแล้ว 8-10 ปี เขาเหล่านี้เงินเดือนก็ไม่ขึ้นถามเขาดูเขาบอกว่าอยู่แล้วความสุข แต่ดูแล้วเราเอาเปรียบพวกเขา ถ้าเราไม่ใส่ใจต่อเขาสักวันที่อื่นมีความสุขกว่าเขาเห็นว่าเราไม่จริงใจเขาก็จะจากไป เขาพิสูจน์มา 10 ปี เรายังรับคนใหม่ได้ คงต้องถามทรีสหรือทรัพยากรบุคคลว่าถูกต้องแล้วหรือ

    22. ความเพียร ความเพียรความพยายาม มุมานะจะช่วยให้คนนั้น กลุ่มคนนั้น สังคมนั้น ประเทศนั้น เจริญก้าวหน้าทันที ยิ่งกว่าสิงใด

    23. รู้รักสามัคคี ต้องสร้างทุนมนุษย์ทั้งหมดที่เรามีอยู่ ต้องมีความรู้ที่ไม่ใช่ไปเรียนหนังสือท่องจำแต่อย่างเดียว รู้แล้วต้องคิดเป็น คิดเป็นแล้ว จิตใจไม่ดี ไม่รักกัน เกียจชังกันไม่ให้อภัยกัน ปัจจุบันเราพบปัญหานี้อย่างมาก ความสามัคคี ถ้าเราแตกแยกกันเราจะทำอะไรให้สำเร็จได้อย่างไร เมื่อแต่ละคนไปคนละทิศละทางนี่เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานการกระทำการใช้สมองการใช้ปัญญา พระองค์ท่านสร้างมนุษย์ด้วยจิตใจ ทุนมนุษย์ที่ผู้นำต้องนำมาปฏิบัติ หลักการของทุนมนุษย์ต้องทำด้วยใจ (จิตใจ) ตั้งใจให้เกิด ใส่ใจในการติดตาม จริงใจต่อองค์กรและเพื่อนมนุษย์ทุกคน ผลลัพธ์ ภูมิใจ “ผมคิดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านคงภูมิใจที่ทำ ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพวกเรา และท่านก็คงสุขใจที่ได้เห็นพวกเราเป็นคนดีสืบทอดความดีนี้ได้ ต้องตั้งคำถามทำไมมีคนบางคนยังสร้างความทุกข์ใจให้ท่าน
จารุวรรณ งามกนกวรรณ

วิเคราะห์หนังสือ

ธรรมดีที่พ่อทำ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

คนไทยจำนวนมากได้แต่รัก และศรัทธาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พากันเปล่งคำว่า “ทรงพระเจริญ” เพื่อ แสดงความจงรักภักดี บางคนปลื้มปิติจนหลั่งน้ำตาเมื่อมีโอกาส เห็นเพียงพระพักตร์ของพระเจ้าอยู่หัวทางโทรทัศน์

แต่จะมีสักกี่คนที่จะลุกขึ้นมาเดินตามรอยพระยุคคลบาท ปฎิบัติตัวดำรงตามที่พระองค์ทรงทำให้ดูตลอดระยะเวลามากกว่า 65 ปีที่ผ่านมา
-เรามี Idol ที่ดีที่สุดในโลก แต่เราไม่เคย I do I do คือ
    การคิด      1   เปอร์เซ็นต์
    พูด           4   เปอร์เซ็นต์
    ลงมือทำ       95  เปอร์เซ็นต์
-เรามีบุคคลต้นแบบที่คนทั่วโลกพากันยกย่องชื่นชม แต่แทบไม่มีใครลุกขึ้นมาทำตามบุคคลต้นแบบของเราอย่างจริงจิง

หนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-ปัญหาใหญ่ขององค์กรที่เผชิญอยู่ จึงต้องให้พนักงานมีวิธีคิดแบบ HR (Human Relationship) Happy Relationship คือ ต้องสร้างความสัมพันธ์ของคนในองค์กรให้มีความสุขและนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร จนพัฒนาไปสู่การไว้วางใจและบรรยากาศ ในที่ทำงานจะเกิดสังคมที่ดี คนในองค์กรก็จะมีความสุข

-ดี 4 ประการของคุณพารณ อดีต CEO SCG ย่อเป็น ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม ทำให้เกิด ธรรมาภิบาล ขององค์กรในทางที่ดี ในองค์กรต้องรู้จักกัน เข้าใจกัน เป็นพวกเดียวกัน จนเกิดความไว้วางใจ ต้องหาสมดุลของการอยู่ร่วมกัน นั่นคือ การจัดการสิ่งสองสิ่งให้ไปอยู่ร่วมกันได้ เป็นการบริหารงานในองค์กร ต้องยอมรับคนทุกคนไม่เท่ากัน เราต้องหาจุดสมดุล เพื่อนำไปสู่การบริหารงาน ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งความสุขขึ้น

-ทำให้ทราบถึงกระบวนการที่จะทำให้คนซึ่งมีทรัพยากรไม่เท่ากัน สามารถนำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการบริหารคนเป็นเรื่องยาก เพราะคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน มีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน “การบริหารคน” เป็นนั้น เป็นภารกิจสำคัญที่ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคล ในทุกๆงานอย่างเต็มที่ ตั้งแต่ สรรหา พัฒนา รักษา และใช้ประโยชน์ เพราะคนถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร

-การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดีต้องอยู่ภายใต้หลัก “คุณธรรม” ด้วย เพราะบนพื้นฐานการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาลนั้น การบริหารคนจะต้องอยู่บนพื้นฐานระบบคุณธรรมที่ส่งเสริม และพัฒนา ให้พนักงานมีความสามารถที่สูงขึ้น มีจริยธรรม สามารถปฎิบัติงานอย่างมืออาชีพ มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยยึดหลัก

-ความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นเกณฑ์ในการจูงใจและความเติบโตในงาน
-ความเสมอภาค มั่นคงในโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
-ความมั่นคงในอาชีพ คือ หลักประกันขั้นพื้นฐานที่ให้ความคุ้มครองบุคคลที่ว่าจะไม่ถูก กลั่นแกล้งหรือถูกให้ออกจากงาน โดยปราศจากความผิด
-ความเป็นกลาง คือ ไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้อิทธิพลแทรกแซงในการทำงาน

วันที่ 16 กรกฎาคม 2555

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)

                  วันที่เจ็ดของการอบรม:    วันนี้สนุกดี อ.ไกรฤทธิ์ อ.ณรงค์ และ ดร.จิระ นำความรู้จากหนังสือของ PETER

DRUCKERกูรูด้านการบริหาร มาบรรยายให้ฟังเรื่องวิธีบริหารงานโดยเน้น 5 ข้อคือ ต้องบริหารเวลาให้เป็น จัดลำดับความสำคัญของงานให้ได้ เลือกทำงานที่คุ้มค่า รู้จุดแข็งหรือข้อดีของงานที่ทำ และทำงานน้ันอย่างถูกต้องแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และยังได้รู้ว่าธุรกิจที่ทำให้อเมริกายิ่งใหญ่ 15 ประเภทมีอะไรบ้าง อาจารย์ท้ัง 3 ท่านแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการบริหารและให้ข้อคิดเรื่องการพัฒนาการเคหะ ทิศทางที่ควรจะเป็น และข้อดีข้อด้อยได้อย่างถูกต้องทำให้ได้รู้ว่าถึงเวลาที่การเคหะแห่งชาติต้องเปลี่ยนแปลงถึงข้ัน Re-Brand แล้ว

                  ภาคบ่ายที่ทำกลุ่ม สรุปว่าพวกเราเห็นพ้องตามที่อาจารย์กล่าวถูกประการ
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

การบ้าน วันที่ 9 กค. 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น. เรื่อง การบริหารธุรกิจในยุด Asean Ecomomic Community

โดยที่เป้าหมายสำคัญของ AEC. คือการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม  สร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน  พัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค  และบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก  เพื่อให้ก้าวทันและบรรลุเป้าหมายองค์กรที่จะเป็นหนึ่งในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  การเคหะฯ จะต้องหาที่ยืนอย่างมั่นคง และฉกฉวยโอกาส  ทั้งการนำเข้า และส่งออกสินค้า  บริการ  และการลงทุน เพื่อเสริมภารกิจและบทบาทของการเคหะฯ ให้เข้มแข็ง  ก่อนอื่นต้องสร้างความเชื่อมั่น และสร้างคนของการเคหะฯให้ใฝ่รู้ เมื่อรู้ ต้องรู้จริง และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ บริหารจัดการข้อมูลเป็น สามารถตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว  หากเป็นไปได้ควรตั้งหน่วยงานขึ่นมารับผิดชอบและจัดทำ Blueprint ของการเคหะฯ เพื่อกำหนดทิศทางที่จะก้าวไปสู่ยุด AEC. อย่างมั่นใจ

การบ้าน วันที่ 11 กค. 2555 เวลา 08.30 – 12.00 น. เรื่อง การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

ในการทำงานแต่ก่อนเรายังไม่รู้จักและใช้คำว่า “การบริหารความเสี่ยง” แต่ไม่ว่าเราจะทำงานอะไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เราก็จะคำนึงถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทำให้งานมีอุปสรรค หรือไม่สำเร็จ และก็จะค้นหาทางขจัดปัญหา อุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งกีคือการบริหารความเสี่ยงในปัจจุบันนั่นเอง  แต่ทุกวันนี้เรากลับกลัวและเป็นกังวล และทำอะไรกันไม่ค่อยถูก ดูเป็นเรื่องยาก เมื่อต้องเข้ามารับผิดชอบในงานบริหารความเสี่ยง ปํญหาที่พบบ่อยส่วนหนึ่งเกิดจากการโยกย้าย สับเปลี่ยน บุคลากรที่รับผิดชอบ ทำให้การทำงานขาดความต่อเนื่อง   แต่เมื่อได้มาเรียนรู้จากอาจารย์ ทำให้เข้าใจมากขึ้น และรู้ว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ไม่เสี่ยง เราอยู่กับเสี่ยงตลอดเวลา ทั้งการใช้ชีวิต และการทำงาน  เราจึงต้องค้นหา ควบคุม และลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง หรือความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้  รวมถึงแม้จะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติที่เราไม่สามารถลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงได้ แต่เราสามารถลดผลกรทบของความเสี่ยงนั้น ๆ ได้ แต่องค์กรต้องบรรลุเป้าหมายด้วย จึงจะถือว่าการบริหารความเสี่ยงได้มีการคิด วางแผน และดำเนินไปอย่างถูกต้อง

อังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555

           การเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 เรื่อง LEARNING FORRUM AND WORKSHOP (การบริหารการเปลี่ยนแปลง 2) และ FINANCE FOR NON-FINANCE & FINALCIAL PERSPECTIVE โดยอาจารย์ประกาย ชลหาญ และ ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ พร้อมด้วยวิทยากรพี่เลี้ยง ดร.วีรชัย กู้ประเสริฐ สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ :-

          1. ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ธุรกิจหรือองค์กรใดก็ตาม ดำเนินต่อไปโดยไม่มีการปรับเปลี่ยน ไม่สามารถปรับตัวให้ชนะสภาวะแวดล้อม เช่น ลูกค้า การตลาด เทคโนโลยี คู่แข่งขัน ย่อมต้องสูญสลายจบสิ้นได้ การเปลี่ยนแปลง (CHANGE) เป็นทั้ง CHANGE ตนเอง และจากภายนอก

          2. ทำให้ทราบว่าการดำเนินธุรกิจเพื่อให้อยู่รอดได้อย่างเข้มแข็งในด้านหนึ่ง คือ CUSTOMER CENTRIC เป็นหลักการหนึ่งของ JACK WELCH อดีต CEO ของ GE กฎข้อนี้ไม่เคยตาย การนำเอาหลักการ CUSTOMER CENTRIC เอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เท่ากับว่าทำอย่างไร เพื่อให้สนองตอบความต้องการของลูกค้า และจะมีการปรับเปลี่ยน (CHANGE) ตามลำดับเวลาตลอด เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตามยุค และสภาพแวดล้อมไม่หยุดนิ่ง

          3. การยึดหลักการ CUSTOMER CENTRIC เท่ากับว่ามี CHANGE โดยเปลี่ยนไว้ที่หลาย ๆ องค์ประกอบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และใช้ได้กับทุกองค์กร ต้องดำเนินการพร้อมกันหลายแนวทาง และหลายวิธีการ เช่น

          • CEO และผู้บริหารต้องมีเวลาให้กับคนในองค์กร อาทิเช่น การสัมมนาแลกเปลี่ยน การมีส่วนร่วมของคนในองค์กร เพื่อหาข้อสรุปมาตรฐานสินค้าและบริการ การรับฟังปัญหาเชิงบริหาร/บริการ การฟังเสียงสะท้อนกลับเหล่านี้ เป็นต้น

          • ต้องให้พนักงานมีความรู้สึกที่แท้จริงว่าองค์กรนี้พึ่งพาได้ ให้ความอบอุ่น เอาใจใส่ต่อพนักงาน โดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อที่จะให้พนักงานมีความจริงใจ จงรักภักดี หวงแหน ห่วงใยองค์กร และจรรโลงองค์กรระยะยาว เหล่านี้ต้องกระทำโดยผู้บริหาร และสม่ำเสมอ

          • ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด เข้าศึกษาต่อ อบรมสัมมนา ให้ทุกคนมีความสามารถใช้ IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

          • ให้ทุกคนมีผลงาน

             o COMPETENCY โดยความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

                (KNOWLEDGE SKILLS)

             o มี MOTIVATION ด้านร่างกายจิตใจ สิ่งแวดล้อม เพื่อนร่วมงาน ตลอดจน

               เครื่องมืออุปกรณ์ IT

          4. มีเป้าหมาย – กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น มีเกณฑ์วัดให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย โดยกำหนดเป้าหมายก่อนให้ชัดเชนทุกคน มีการประเมินสม่ำเสมอตามรอบเวลา การวัดผลต้องเที่ยงตรงยุติธรรม เพราะจะส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กร

          5. ต้องมี PERFORMANCE COACHING มีการกำกับ มีสอนงาน มีการให้ข้อมูลที่ดีครบถ้วนถูกต้องทันสมัย อยู่ในกรอบแนวทางนโยบาย

          6. การแก้ปัญหาซึ่งมีทุกงานทุกแห่ง ต้องมีการหาสาเหตุแห่งปัญหา ไม่ด่วนสรุป ให้หาสาเหตุ หาข้อมูล วิเคราะห์หาทางเลือก และประเมินความเสี่ยงแล้วตัดสินใจ

          7. ในประเด็น CHANGE MANAGEMENT มีคำถามพื้น ๆ ที่ต้องหาคำตอบให้ คือ เปลี่ยนแล้วได้อะไร ผลออกมาเป็นอย่างไร เปลี่ยนทำไม มีอะไรเสียหรือเสียหายหรือไม่

          8. ในฐานะผู้บริหาร/ผู้นำ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ต้องอยู่ในสายตา รับทราบ เข้าใจตลอดเวลา เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญ เพื่อ MAKE DECISION ต้องพร้อมเสมอเพื่อรองรับการตัดสินใจ ผู้นำ/ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้ที่ประมวลสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และคาดเดาถึงผลที่จะเกิดได้ถูกต้องแม่นยำและตัดสินใจ

                                                      -------------

                                                  17 กรกฎาคม 2555

ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 เรื่อง วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ โดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

   อาจารย์ณรงค์ศักดิ์  ผ้าเจริญ

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2555

    ประเด็นการบรรยายมุ่งเน้นการประเมินองค์กรโดยการค้นหาสถานะขององค์กร (Re – discovery NHA)โดยพิจารณาจาก EFFICIENCY และ EFFECTIVENESS (=RESULT) ดังนี้
   - EFFICIENCY (สมรรถภาพ)   -------->  Doing  Thing  Right  (ทำอะไรถูกวิธี)
    - EFFECTIVENESS (สัมฤทธิ์ผล)   -------->  Doing  The  Right  Thing  (เลือกอันที่ถูกต้องทำ)
    ทั้งนี้ การทำให้เกิด EFFECTIVENESS ได้จะต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ ตามข้อเสนอของ Peter  Drucker  ดังนี้
    1. Time  Management
     2. Priority  Management
     3. Contibution (การให้น้ำหนักของงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ)
     4. Strength (มองในจุดแข็งของผู้ใต้บังคับบัญชา)
     5. Problem  Solving  and  Decision  Making
     อาจารย์ได้บรรยายถึงความจำเป็นที่การเคหะแห่งชาติจะต้อง re – brand โดยทำการศึกษาวิจัยเพื่อเข้าถึงความเป็นตัวตน (self) ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างแนวความคิด Art  of  Living 
     การอบรมในวันนี้ทำให้ได้แนวความคิดในการนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาด้านการบริหารงานของ กคช. ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการบรรยายของอาจารย์ช่วยกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์การทำงานให้มีสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น
                                                                                                      ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555 เวลา 9.00-12.00 น. เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยอาจารย์ประกาย ชลหาญ

        Chang Management refer both to setting goals and strategies,operational efficiency,organizational  structure,processes,leadership,people,customers,venders etc.
         Chang Management is cross functional and multidisciplinary in its characters.
         หัวใจสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ ความสามารถในการประเมินการเปลี่ยนแปลง โดยต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งการบริหารการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรในองค์กร โดยที่มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ดังนั้น การพัฒนามนุษย์จึงเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

ตัวอย่าง แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงของ General Electic (GE’s)

                                                     Transition State

                     1. การบริหารเปลี่ยนแปลง ต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง
                  2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างความ                                 Improved  State             
                         ต้องการร่วมกัน                                                                  (ผลของการบริหาร

Current State 3. ผู้นำที่ดี ต้องสร้างวิสัยทัศน์ (Vision) ให้เป็นที่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลง

                  4. มีกระบวนการผลักดันให้เกิดแนวร่วม                                         อาจดีขึ้น เหมือนเดิม  
                  5. ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน                                                   หรือ แย่ลง)
                  6. มีการติดตามความก้าวหน้า                                                           
                     7. เปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้าง

         การเรียนครั้งนี้ ได้รับความรู้และความเข้าใจการบริหารการเปลี่ยนแปลงดีกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา และคาดว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของ กคช. ได้อย่างดี
                                                                                                ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00-16.00 น. เรื่อง Finance for Non – Financial Perspective โดย Dr.Kusaya Leerahawong

        เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารจะต้องเข้าใจแนวคิดทางการเงินอย่างเป็นระบบ  Dr. Kusaya  Leerahawong  อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับ ตลาดเงิน ตลาดทุน สถาบัน-การเงิน งบการเงิน การลงทุน การวิเคราะห์การเงินและการบริหารการเงินได้อย่างดี และทำให้ผู้รับการอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรและธุรกิจส่วนตัวได้
                                                                                                ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
นายดารนัย อินสว่าง
      วันที่ 16 ก.ค. 2555 ได้รับการบรรยายจาก อาจารย์ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

และอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ในเรื่องเกี่ยวกับกรวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ อาจารย์ได้ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะการดำเนินงานขององค์กรหรือการบริหารองค์กร เพื่อให้เกิดความอยู่รอดและเจริญรุ่งเรือง จะต้องมีแนวทางการบริหารและการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ได้แก่ 1. TIME = บริหารเวลาเป็น ทดลองการทำเบื้องต้นโดยให้ลองนำไดอารี่มา 3 เล่ม นำไว้ที่ต่างกัน และลองดูว่า โดยการบันทึกจะตรงกันหรือไม่

  1. Priority = อะไรก่อน คือการเรียงลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง

  2. Strength = จุดแข็ง ใช้จุดแข็งของคนให้เกิดประโยชน์

วันการเคหะแห่งชาติควรคิดถึงแนวทางการสร้างบ้านของคนรุ่นใหม่ต้องการอย่างไร รูปแบบที่เหมาะสม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนทำโครงการ

นายดารนัย อินสว่าง

วันที่ 17 ก.ค. 2555

     ได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณโดยการลงทุนที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้องค์กรขาดทุน แนวทางการบริหารงบประมาณที่ถูกต้องควรจะเป็นรูปแบบอย่างไร ซึ่งได้รับประโยชน์จากอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างมาก ที่ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจัดทำงบประมาณ และการใช้งบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรให้มากที่สุด
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 16 กค. 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น. วิชา วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ

          การทำงานให้มีสมรรถภาพ (Efficiency) คือ” Doing things right”  และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล (Effectiveness)

คือ “Doing the right things” ซึ่งกระบวนการทำงานให้ดีประกอบด้วย

         1.Time  การบริหารเวลาเป็น
         2. Priority  การเรียงลำดับทำอะไรก่อนหลัง
         3. Contribution  มองถึงความคุ้มค่า  และการทำงานอย่างร่วมทุกข์ร่วมสุข
         4. Strength  มองที่จุดแข็ง
         5. Problem Solving and Decision Making  วิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างถูกต้อง
         โดยต้องมีความเชื่อมั่นว่ามนุษย์มีความเป็นเลิศที่ซ่อนอยู่ข้างใน และความเป็นเลิศของมนุษย์ต้องมีอิสระ 

ซึ่งการบริหารคนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยเป็นศิลป์ถึง 90%

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 17 กค. 2555 เวลา 08.30 – 12.00 น. วิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

          -  Jack Welch กล่าวไว้ว่า  “ท่านต้องเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน”
          -  การตัดสินใจไม่มีผิดหรือถูก ขึ้นอยู่กับเหตุ และ ผล
          -  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องมีผู้นำและประเมินการเปลี่ยนแปลงให้ดีที่สุด
          -  ผู้บริหารจะเก่ง (Smart) ต้องรู้จักคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง
          -  การเป็นผู้นำต้อง บริหาร จัดการ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่าปล่อยปละละเลยตามยถากรรม เพราะโอกาสจะเกิดผลเสียมีมากกว่า
          -  ผู้นำต้องสร้างความต้องการร่วมกัน (Shared need)
          -  การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องดีขึ้น หรือ แย่ลง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 
          -  แรงผลักดันที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ประการคือ
             1. องค์ประกอบภายนอก (External) เช่น ภัยธรรมชาติ  การเมือง
             2. องค์ประกอบภายใน (Internal)  เช่น เทคโนโลยี  นโยบาย  บุคลากรเกษียณอายุ
          จากการเรียนรู้ได้เทคนิคการทำงานหลาย ๆ อย่างโดยเฉพาะการวินิจฉัยปัญหา (Diagnose) อย่าเพิ่งด่วนสรุปและตัดสินใด ๆ จนกว่าจะได้มีการพูดคุย ซักถาม ลูกน้องก่อน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในทุกเรื่องทุกสถานการณ์
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

วันที่ 17 กค. 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น. วิชา Finance for Non – Financial and Financial Perspective

วันนี้ได้เรียนรู้ในเรื่องของตลาดการเงิน ที่มีทั้งตลาดการเงินในระบบ และนอกระบบ  ตลาดทุน  สถาบันการเงิน        ซึ่งมีทั้งที่เป็นธนาคาร และไม่ใช่ธนาคาร แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร   การจัดทำงบกำไร-ขาดทุนเบ็ดเสร็จ  งบกระแสเงินสด     งบดุล  การลงทุนทางตรง - ทางอ้อม  แหล่งเงินทุน และผลตอบแทนจากการลงทุน  ตลอดจนการเรียนรู้ถึงเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุน ซึ่งประกอบด้วย การคิดจุดคุ้มทุน  ระยะเวลาในการคืนทุน  การคิดมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (IRR)  ซึ่งได้ประโยชน์อย่างยิ่งถึงแม้ว่าการทำงานจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของการทำบัญชี  แต่ก็ได้ความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาใช้ในการทำงาน  โดยเฉพาะเรื่องของตลาดเงิน และตลาดทุน นำมาในชีวิตประจำวันได้ 

วิเคราะห์หนังสือ หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” (ดนัย จันทร์เจ้าฉาย)

หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” ได้มีผู้ทรงเกียรติได้สรุปคำนิยมไว้หลายท่าน อาทิ

 “เราหลงลืมอะไรไปหรือเปล่า เราลืมไปว่า คนไทยโชคดีแต่ไหนที่มีพระเจ้าอยู่หัว ...พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงรักคนไทยมากที่สุด” 

 “ธรรมดีที่พ่อทำ” ...พระจริยานุวัตรขององค์พระมหากษัตราธิราชเจ้า ผู้ทรงคุณูปการต่อแผ่นดินอันจะหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างแก่มหาชนทั้งหลายได้ปฏิบัติตามเบื้องพระยุคลบาท...  

พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธิ์ วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

 “ธรรมดีที่พ่อทำ” เป็นหนังสือที่คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้อัญเชิญพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยมารวมรวม วิเคราะห์ เทียบเคียง เป็นข้อคิดให้พสกนิกรชายไทยได้หันมาพิจารณาตนเองและปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท  ...                 

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

 “ธรรมดีที่พ่อทำ” ...เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่พสกนิกรชายไทยควรอย่างยิ่งที่จะได้อ่านไว้กันลืม แล้ะเพื่อระลึกถึงพสกนิกรชายไทยควรอย่างยิ่งที่จะได้อ่านไว้เพื่อกันลืม และเพื่อรำลึกพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม ที่มีต่อพสกนิกรชายไทย มานานกว่าหกทศวรรษ  

ดร.มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

 “ธรรมดีที่พ่อทำ” หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วนสำคัญที่จะพาสังคมไทยของเราไปสู่ความเจริญรุ่งเรื่องในทาง “ธรรม” บังเกิด คนเก่ง คนดี ขิ้นเป็นจำนวนมาก มีความปรองดอง สมานฉันท์และสุขสงบร่มเย็น อันจะยังความโสมมนัสให้เกิดแก่ “พระเจ้าอยู่หัว” ของเรา

นายแทพย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ สมาชิกวุฒิสภา

 ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเห็นด้วยกับผู้ทรงเกียรติทุกท่านและต้องบอกว่าขอบคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย จริง ๆ จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ผมเป็นหนึ่งในคนไทย 66 ล้านคนที่รักและเทิดทูลพระเจ้าอยู่หัว พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท ผมจดจำเท่าที่สติปัญญาจะรับได้มาตลอดชีวิต ผมเห็นด้วยกับคำที่ว่า “พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นต้นแบบที่ดีที่สุดในโลก” คนไทยโชคดีที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย และมีพระมหากษัตริย์ทรงพระนาม “ภูมิพล”
 คนไทยจำนวนมากได้แต่รักและศรัทธาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พากันเปล่งคำว่า “ทรงพระเจริญ” เพื่อแสดงความจงรักภักดี บางคนปลื่มปิติจนหลั่งน้ำตาเมื่อมีโอกาสเห็นแม้เพียงพระพักตร์ของพระเจ้าอยู่หัวทางโทรทัศน์ แต่จะมีสักกี่คนที่จะลุกขึ้นมาเดินตามรอยพระยุคลบาท ปฏิบัติตัวดำรงตนตามที่พระองค์ทรงทำให้ดูตลอดระยะเวลามานานกว่า 65 ปีที่ผ่านมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างให้ทุกคนต้องทำหน้าที่ ดังนั้นคนที่เปล่งคำว่าทรงพระเจริญต้องทำหน้าที่ของตนให้สุดกำลังด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำทุกโครงการในพระราชดำริสำเร็จลุล่วงด้วยหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย

ฉันทะ การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ วิริยะ ความมุ่งมั่นเพียงพยายามในการงาน จิตตะ ความจดจ่อใส่ใจในงาน วิมังสา คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ/ตรวจสอบ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีได้บรรยายว้าคนไทยสามารถน้อมนำไปปฏิบัติได้ประกอบด้วย หลัก 23 ข้อ คือ

(1) จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องดูข้อมูลให้ลึกซึ้ง (2) ระเบิดจากภายใน สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำมิใช่สั่งให้ทำ แยกให้ออกระหว่างคุณค่ากับมูลค่า (3) แก้ปัญหาจากจุดเล็ก มองภาพร่วมก่อน แต่การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ (4) ทำตามลำดับขั้น เริ่มทำจากความจำเป็นก่อน สิ่งที่ขาดคือสิ่งที่จำเป็น (5) ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ ทำงานทุกอย่างต้องคำนึงถึงภูมิศาสตร์ (6) ทำงานแบบองค์รีวม โดยคิดความเชื่อมโยก แก้ปัญหาอย่างเชื่อมโยง (7) ไม่ติดตำรา ไม่ยึดติดกับทฤษฎี (8) ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด ทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น (9) ทำให้ง่าย ทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นสิ่งง่าย ๆ (10) การมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็น (11) ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม เมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์เราเองก็ได้ประโยชน์ (12) บริการจุดเดียว One stop service (13) ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ มองธรรมชาติให้ออก (14) ใช้อธรรมปราบอธรรม เอาปัญหามาช่วยขจัดปัญหา (15) ปลูกป่าในใจคน ต้องปลูกจิตสำนึกก่อน (16) ขาดทุนคือกำไร อย่ามองกำไรขาดทุนเป็นตัวเงินมากจนเกินไป (17) การพึ่งตนเอง การพึ่งตนเองได้ทำให้ไม่ต้องเป็นทาสใคร (18) พออยู่พอกิน พออยู่พอกินก่อนแล้วค่อยพัฒนา (19) เศรษฐกิจพอเพียง (20) ความซื้อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน (21) ทำงานอย่างมีความสุข (22) ความเพียร ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรค (23) รู้ รัก สามัคคี คิดเพื่องาน และคิดเพื่อตัวเราเอง

 การทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุดกำลังความสามารถน่าจะเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนตอบแทนพระคุณพระเจ้าอยู่หัวได้ ด้วยตัวเราเอง

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องการเห็นประชาชนมีความสุข มีความสามัคคี ทรงใช้ความพอเพียงเอาชนะความยากจน ความรักของพระเจ้าอยู่หัวไม่มีกาลเวลา ไม่มีชนชั้นวรรณะ ไม่มีเทีอกเถาเหล่ากอ ไม่มีคำว่าแบ่งแยก มีแต่คำว่าเสมอภาคและเท่าเทียม ทรงครองใจคนไม่ใช่ครองแผ่นดิน ดั่งพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงเลือกที่จะครองแผ่นดิน เป็นการแสดงถึงพระราชประสงค์ที่จะทรงให้ความรัก ความเข้าใจ การให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกันต่อพสกนิกรของพระองค์อย่างทั่วทั้งแผ่นดิน 

 ยุทธศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทิศพระวรการอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย มุ่งพัฒนาประเทศให้พ้นความยากจน พัฒนาชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ คือ การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกัลยาณมิตร คือ เป็นบุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนำ ชี้แจง ชักจูง ช่วยบอกช่องทาง หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นดำเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกฝนอบรมอย่างถูกต้อง ของคนไทยทั้งแผ่นดิน

 มรรคาที่เป็นอริยมรรคมี 8 ประการ คือ

(1) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง (2) สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง (3) สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง (4) สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง (5) สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง (6) สัมมาวายามิ คือ ความพากเพียรถูกต้อง (7) สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง (8) สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

 คุณสมบัติของกัลยาณมิตร ผู้เป็นมิตรแท้และผู้นำทางปัญญามี 7 ประการ คือ

(1) น่ารัก เปี่ยมไปด้วยเมตตา (2) น่าเคารพ วางตนสมแก่ฐานะ (3) น่ายกย่อย ทรงภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา (4) มีวาทศิลป์ เป็นผู้รู้จักศิลปในการพูด (5) มีความอดทนต่อถ้อยคำ มีใจกว้าง อดทน อดกลั้น ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียว (6) ทำเรื่องยากให้ง่าย มีศิลปในการถ่ายทอดเรื่องราวที่ยุ่งยากให้ง่าย (7) ไม่แนะนำในเรื่องอันไม่ควร ไม่แนะนำพร่ำสอนในทางที่เสียหาย

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างแห่งความรอบคอบทรงทำการบ้านก่อนลงมือทำงานจริงในการเสด็จทรงงานจะมีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ แผนที่และเข็มทิศ ซึ่งติดอยู่กับนาฬิกาข้อพระกร ดินสอ และกล้องถ่ายรูปเสมอ ทรงจำเส้นทาง ชื่อตำบล และหมู้บ้านได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่วมทุกร่วมสุขกับพสกนิกรทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะในยามสงบหรือในยามสงคราม ทรงอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับเหล่าพสกนิกรเสมอ วันนี้พระองค์ท่านทรงเหน็ดเหนื่อยมาทั้งชีวิต แล้วเราได้ทำอะไรให้ท่านสบายใจเพื่อตอบแทนความเหน็ดเหนื่อยบ้าง

 ธรรมดี ทำดี ที่น่าประทับใจและควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่า ได้แก่
  1. ความกตัญญู พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นตัวอย่างของ “สุดยอดกตัญญู” ทำหน้าที่ลูกกตัญญูอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด
  2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือพระองค์ไม่มีช่องว่างระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน
  3. ความพอเพียง คนนิสัยประหยัดแม้จะยากจนก็มักมีเหลือเก็บ ความสำคัญของความพอเพียง คือ ความไม่เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงทำเป็นตัวอย่างด้วย
  4. ความชื่อสัตย์ ต่อหน้าที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนส่วนรวม
  5. ระเบียบวินัย ทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และควรเป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา
  6. ความอดทน คนเก่งแพ้คนขยัน คนขยันก็ยังแพ้คนอดทน

    หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ ได้นำเสนอแบบอย่างที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ถ้าทำแม่แต่เพียงครึ่งเดียวประเทศไทยก็จะมีความปกติสุข การดำเนินชีวิตก็สุขสบายอย่างพอเพียง คนไทยที่รัก พ่อ ก็ให้ปฏิบัติธรรมอย่างที่พ่อปฏิบัติ จึงเป็นหนังสือที่ควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

วิเคราะห์หนังสือ

ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ โดยศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

      พลังแห่งโลภาภิวัฒน์ได้ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จท่ามกลางภาวะการแข่งขันที่รุนแรงนี้ได้ หนังสือเล่มนี้ คือ อีกคำตอบหนึ่งต่อคำถามที่ผู้บริหารทั่วโลกกำลังเพียรพยายามค้นหาความเป็น HR.CHAMPIONS คือ ผลึกทางความคิดจากนักคิดและนักปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับสูงสุดของเมืองไทย 

      ความดีงามของการปฏิบัติตนของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นความจริงที่กล่าวได้ว่า นี่แหละ คือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร และการทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาเรื่องคนเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ การที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า เราต้องทำตนให้เป็นผู้มีคุณค่า

      การถ่ายทอดวิทยาการของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในรูปแบบหนังสือเล่มนี้ จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการบริหารและในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

      หนังสือพรัยากรพันธุ์แท้ จัดเป็นช่องทางที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ควาสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม โดยนำบุคคลที่ทรงคุณค่า และได้รับการยอมรับนับถืออย่างกว่างขวางทั้งสองท่านในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ทั้งด้านเป็นผู้นำทางความคิด ผู้บุกเบิก และปฏิบัติ มานำเสนอในรูปแบบการสนทนา เนื้อหาในหนังสือ
      เรื่องของสองแชมป์ เป็นการกล่าวถึงความเชื่อและศรัทธาและความมุ่งมั่นเรื่องคนที่ตรงกันของทั้งสองท่าน
      คัมภีร์คนพันธุ์แท้ เป็นช่วงที่บอกถึงแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เรื่องปรัชญาที่ว่า “คนถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร” การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ ถือเป็นการเรียงร้อยความรู้และประสบการณ์ให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ
      จักรวาลแห่งการเรียนรู้จากการพัฒนาองค์กรในช่วงที่แล้ว ช่วงนี้เป็นการขยายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ภาคประชาชน เน้นให้ประชาชนเป็น Good learner เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
      สูตรเพิ่มผลผลิตเป็นการสร้างศักยภาพการแข่งขัน โดยการร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคนักวิชาการและภาคแรงงาน เป็นที่มาของนิยาม ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

      ผมเห็นด้วยกับท่านผู้ทรงเกียรติที่ให้เขียนคำนิยมให้แก่หนังสือเล่มนี้เพื่อเมื่ออ่านแล้วทำให้รู้ว่า“คน” ทรัพยากรมนุษย์ (Human resources) ไม่ใช้เรื่องแรงงานสัมพันธ์ แต่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งถือว่ามีสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในองค์กร การทำงานไม่ใช้แต่จะรู้ Know how อย่างเดียวต้อง Know who ด้วย ปัจจัยที่ทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ คือ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร พนักงานระดับหัวหน้างานจะต้องเปิดประตูตลอดเวลาเพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือเสมือนเป็นคนในครอบครัว การพัฒนาคนต้องกล้าที่จะลงทุน เปิดโอกาสให้คนที่มีศักยภาพและให้โอกาสในการทำงานโดยไม่ได้ดูเรื่องอาวุโส การทำงานที่ดี คือ การทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน สังคมเราไม่ได้ต้องการผู้ใหญ่ที่เก่งและดีเท่านั้นแต่ต้องการผู้ใหญ่ที่อบอุ่นด้วย 

      เจ้านายที่ดีต้องเป็นผู้ที่ครองใจลูกน้องได้จนทำให้ลูกน้องต้องการทำงานเพื่อให้เจ้านาย “ชื่นใน” และไม่กล้าทำให้เจ้านายผิดหวัง เจ้านายที่ดีต้องทำงานผสมผสานระหว่างทำงานด้วยจิตใจ กับ ระบบ คือ จิตใจดี พื้นฐานดี แล้วได้ระบบดี สิ่งที่ถ่ายทอดออกมาก็ย่อมดี เป็นต้นแบบ 4 เรื่อง คนเก่ง คนดี แบ่งเป็นเก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย 

      การสอนให้คนรู้หนังสือ รู้ในเรื่องศาสตร์ต่าง ๆ เป็น Education person นั้นสำคัญก็จริง แต่การทำให้คนมี Education mind สำคัญกว่า คนที่มีการศึกษา Education person ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีจริยธรรม Education mind 

      Competitiveness ไม่ใช่เรื่องการเงิน ไม่ใช่เรื่องภาษีอากร ไม่ใช่เรื่องการเปิดตลาด ไม่ใช่เรื่องที่นักเศรษฐศาสตร์ในแบงค์ชาติกับสภาพัฒน์ฯ พูดกัน แต่เป็นเรื่องคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ประเทศที่ประสบความสำเร็จด้าน HR รายได้ของประเทศเหล่านั้นกลับพุ่งไปอย่างรวดเร็วนำหน้าหลาย ๆ ประเทศ สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในปัจจุบันไม่ใช้ Communities หรือสินค้าแต่เป็นความรู้ “คุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญเพราะมันมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรง หรือถ้าการศึกษาเป็นจุดอ่อนองค์กรจะทำแทนด้วยการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ หรือ Learning Organization ได้ไหม” ทั้งสองท่านเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าปัญหาอีกประกอบของการพัฒนาคน คือ การลงทุน คุณค่าของคนนั้น จะวัดกันด้วยการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องดูด้วยว่าคนเหล่านั้นมีความสามารถในการสร้างผลผลิต หรือ Productivity แค่ไหน องค์กรที่เต็มไปด้วย “คนเก่ง” แต่คนเก่งเหล่านั้นกลับมีปัญหาในการทำงานเป็นทีม ย่องไม่เกิดประโยชน์ หากปราศจากความเป็น “คนดี” ด้วย

      เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารเข้าถึงปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า “คน” ถือเป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่สำคัญที่สุดขององค์กรย่อมหมายความว่า ผู้นำขององค์กรนั้น ได้มีความเชื่อและศรัทธาในเรื่องคน และพร้อมจะกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจังไว้เป็นปรัชญาขององค์กร นี่ต่างหากคือหัวใจของงานบริหารบุคคลที่ไม่ควรจำกัดอยู่กับบทบาทเดิม ๆ อาทิ ระบบโครงสร้างเงินเดือน การับสมัครบคลากร การประเมินผล หรือการดูแลด้านสวัสดิการ และการประกันสังคม ซึ้งเป็นงานการพัฒนาคนในสายงานสังคมศาสตร์เท่านั้น

      ประเทศไทยมีพื้นฐานการปกครองแบบระบบกษัตริย์ซึ่งซึกลึกด้านความจงรักภักดีอยู่ในสายเลือด นโยบายด้าน HR ของบริษัทที่ดีถ้าเกิดวิกฤติจริง ๆ เขาจะพยายามลดต้นทุนให้ถึงที่สุดเสียก่อนจึงจะปลดคน คือ ในกรณีจำเป็นจริง ๆ บริษัทจะต้องปล่อยเขาออกในสภาพที่เชื่อมั่นได้ว่าเมื่อเขาออกไปแล้ว เขาจะยังคงอยู่ดีกินดีตามสมควร เมื่อลูกน้องถูก lay off เจ้านายก็ต้องพิจารณาตัวเองด้วย บริษัทที่ดีต้องยึดหลักปฏิบัติภายใต้ปรัชญาว่า “จะดูแลพนักงานอย่างดีตั้งแต่วันแรกที่เขาเดินเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ และวันสุดท้ายที่เข่าก้าวออกไป” เรื่องนี้ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การเคหะแห่งชาติ ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับกับปรัชญานี้

      แรงจูงใจ หรือ Motivation เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ผู้นำองค์กรต้องตระหนัก กลยุทธ์การจ่ายค่าจ้าง (Compensation strategy) อย่างที่เคยใช้จะใช้ต่อไปไม่ได้ผล สิ่งที่จะใช้ได้ต่อไปคือ การมีส่วนร่วมในองค์กร การทำงานที่ท้าทาย การได้ทำงานเป็นทีม การให้รางวัลพิเศษ การไปเพิ่มพูนความรู้ วัฒนธรรมองค์กร การประเมินผลอย่างโปร่งใส การได้รับความยกย่องในผลสำเร็จของงาน ความเป็นธรรมในการบริหารปกครองของผู้นำ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม จะทำให้คนอย่างทำงานมากที่สุด

      ผู้เรียนรู้ที่ดีจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ไม่ใช่แค่ระดับประเทศเท่านั้น คนไทยต่องพร้อมที่จะสู้กับกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ ทำให้คนยุคใหม่แสวงหาโอกาสที่กว้างไกลขึ้น นอกเหนือจากในประเทศของตน และการศึกษายุคใหม่จำต้องปรับเปลี่ยนให้เพื่อช่วยส่งเสริมให้คนเหล่านี้ รู้จักประโยชน์จากโอกาสที่มาถึงให้ได้สูงสุุด

แนวคิดหลักของ Global Citizens เห็นว่าคนยุคใหม่นั้นควรเป็นผู้ซึ่งมีคุณลักษณะเหล่านี้

 -  มีความมั่นใจและความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี

 -  รู้จักพัฒนาตนเองผ่านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 -  สามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ

 -  สามารถโยกย้ายถิ่นฐานและอาจสนใจการเรียนรู้และการทำงานในระดับนานาชาติ

 -  สนใจและเข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ

 -  ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ความร่วมมือทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติเกี่ยวกับประเด็นที่มีผลกระทบระดับโลก

      ต้นแบบการเรียนรู้ กรณีโรงเรียนดรุณสิกขาลัย คุณพารนได้สร้างองค์ความรู้แบบลงมือทำโครงการ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และเรียนรวมกันเป็นกลุ่มเป็นทีมได้อย่างกัลยาณมิตร จนติดเป็นนิสัยใฝ่รู้จนตลอดชีวิต ปลูกฝังทักษะ 5 ด้าน คือ IQ = ทักษะในกระบวนการคิด EQ = ทักษะให้มีความมั่นคงในอารมณ์ AQ = ทักษะในการเผชิญหน้ากับปัญหา TQ = ทักษะในการใช้เทคโนโลยี่ MQ = ปลูกฝังความเป็นไทยมีจริยธรรมจนเป็นนิสัย กรณีศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ ดร.จีระ กระตุ้นให้ผู้บริหารโรงเรียนกระตือรือร้นหาความรู้ รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นวิธีการสอนที่น่าสนใจให้นักเรียนสนใจรวมทั้งการคิดนอกกรอบ ทำให้เกิดนวตกรรมใหม่ ๆ

      โดยสรุปหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” เป็นหนังสือที่อ่านง่าน เข้าใจง่าย ให้หลักคิดที่ดีที่ผู้บริหารควรได้อ่านซึ่งจะทำให้เกิดความคิดริเริ่มที่จะสร้างสรรค์องค์กรให้เกิดความก้าวหน้า และเห็นคุณค่าของ “คน” ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กร องค์กรใดที่ไม่เห็นคุณค่าของ “คน” องค์กรนั้นจะประสบปัญหาจนในที่สุดผู้บริหารนั้นก็จะอยู่ไม่ได้ งานจะไม่ประสบความสำเร็จและองค์กรก็จะล้มเหลวในการบริหาร

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันจันทร์ที่  16 กรกฎาคม 2555 

         วันนี้ อ.ไกรฤทธิ์ฯ  และ อ.ณรงศักดิ์ฯ   ได้วิเคราะห์และให้ความคิดเห็นกรณีศึกษาต่าง ๆ ด้านการบริหารธุรกิจ  เพื่อให้ผู้บริหาร ได้ตระหนักและสามารถนำไปประยุกต์กับการพัฒนา กคช.  โดยสรุปประเด็นที่สำคัญ ๆ ดังนี้

        - ในการบริหารองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ผู้บริหารนั้นเป็นผู้ที่มี สมรรถภาพ  (EFFECIENCY)  และมีสัมฤธิ์ผล (EFFECTIVENESS)    ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการดำเนินงานที่ต้องทำอะไรให้ถูกวิธี   ซึ่งในทฤษฎีของ  Peter Drucker  ว่าการบริหารงานของผู้บริหาร ต้อง Doing the Righting  ในการเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้   5 ประการ คือ

  1. Time  การบริหารกาลเวลาให้เป็น ตัวอย่างเช่น จัดหาสมุดบันทึก 3 เล่ม ไว้ที่ โต๊ะ ,เลขา และ หัวเตียงนอน  โดยให้จดบันทึกของแต่ละวัน  จะพบว่า ทั้ง 3 เล่มมีเนื้อเรื่องไม่ตรงกัน
  2. Priority   วางแผนว่าจะต้องทำอะไร และให้เลือกว่าจะทำอะไรก่อน
  3. Contribution  หมายถึง การถามตนเองว่า องค์กรจ้างมาให้ทำอะไร แล้วคุ้มค่าหรือไม่  
  4. Strength  ให้มองแต่จุดแข็งของผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เช่นความสามารถการปฏิบัติงานมีเพียง 10%  ก็เพียงพอแล้ว
  5. Problem Soving  และ Decision Making   การแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เป็นระบบ         

       -   แนวคิด Creative Thinking ของอาจารย์ มารค์ ก็คือ การมองภาพ กคช. ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร   การทำไปวิเคราะห์ไป  การวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน  และ สิ่งสำคัญ การเล่นและการเรียนรู้       อาจารย์ได้สอนให้ผู้บริหารรู้จักการมองความเป็นตัวตน (Self)  เพื่อเกิดแรงบันดาลใจคิดสร้างสรรค์ต่อไป  หรือ คิดกลับด้านจากผลงานในอดีตเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย   ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่มุ่งเน้นการสัมฤทธิ์ผลไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ได้คำนึงถึง วัตถุประสงค์  ขององค์กรว่าเพื่ออะไร  และการเข้าสู่ AEC  ถ้า กคช. ไม่ขยับ หรือคิดหาแนวทางการเปลี่ยนแปลง จะส่งลห้องค์กรเสียประโยชน์ได้  

        - บริบทที่ควรจดจำ “ Imagination is more important Than knowledge, For Knowledge is limited “

วันนี้เป็นอีกวัน ที่ได้รับความรู้มากมาย ว่าผู้บริหารที่เก่งนั้นมิใช่ว่าต้องเป็นผู้ที่มีความสมารถในการขีดเขียน  แต่จะต้องบริหารงานให้เกิดสัมฤทธิ์ผลภายใต้การบริหารเวลา เลือกสิ่งที่ทำอะไรก่อน  คิดว่าองค์กรจ้างเราทำอะไรที่ใหความคุ้มค่า   มองจุดแข็งของลูกน้อง  และ เลือกปัญหาเพื่อการตัดสินใจ

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555    (วันสุดท้ายของการเรียนรู้)

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

            อาจารย์ประกายฯ มาให้ความรู้ในความหมายของผู้นำในธุรกิจและบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยสรุปสาระดังนี้

  • ทฤษฎีของ Jack Welch  การดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนทั้งสิ้น ทั้งในชีวิตจริงตั้งแต่ครอบครัว  เพื่อนบ้าน ครู   เพื่อนเรียน  ผู้บังคับบัญชา  ซึ่งในทุก ๆ วัน จะยุ่งวุ่นวายกับคนทั้งนั้น    ดังนั้น   ผู้นำที่ดี ต้องมีเวลาในกับคนในองค์กร
  • คนในองค์กรเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด    ในแต่ละหน่วยงานอาจจะมีคนมากหรือน้อย การบริหารคนไม่มีความแตกต่างกัน เพราะทุกคนทำงานเพื่อบรรลุผลงานของตนเองซึ่งผู้นำจะทราบจากการติดตามประเมินผล ที่เกิดจาก ความรู้ความสามารถ และทักษะ (Competency) โดยแต่ละคนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผู้นำที่คอยกระตุ้นสร้างแรงจูงใจได้อย่างไร เพราะองค์ประกอบมีมากมาย หลายอย่าง เช่น อารมณ์ ครอบครัว สภาพแวดล้อม หรือเจ้านายเป็นต้น
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง  ก่อนอื่น   ผู้นำต้องรู้จักและจัดการเปลี่ยน ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน อันเนื่องมาจากปัจจัยขององค์ประกอบภายนอก และภายใน
  • โมเดล ขบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  1. Leader Change  มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร
  2. Creating A Shared Need สร้างความต้องการร่วมที่มุ่งสู่ความเปลี่ยนแปลง
  3. Shaping A Vision สร้างวิชั่น หรือวิสัยทัศน์ให้คนอื่นเห็น
  4. Mobilizing Commitment ผลักดันให้เกิดการยอมรับ หรือมีแนวร่วม
  5. Making Change Last  การจัดการช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
  6. Monitoring Progress  ติดตามความคืบหน้า
  7. Changing System & Structure   เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงการและระบบ

Finance for Non-Finance & Financial Perspective

            อาจารย์ กุศยา ลีฬหาวงศ์   ได้ให้ความรู้กับผู้บริหารที่มิใช่นักการเงิน เพื่อให้เข้าใจและทราบถึงความสำคัญและความจำเป็น    และประโยชน์ของความรู้ทางการเงินให้นำไปประยุกต์ ใช้กับการบริหารในหน่วยงานที่รับผิดชอบ   โดยเนื้อหา อธิบายถึงความหมายของตลาดการเงินและตลาดทุน   รายการสำคัญในงบแสดงฐานะทางการเงิน  งบกำไรขาดทุน   และงบกระแสเงินสด  รวมทั้งการวิเคราะห์การลงทุนโครงการ  ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งการบริหารการเงินองค์กร และส่วนบุคคล

   

                

วิเคราะห์หนังสือ

8K’s + 5Ks ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเชียน

      อาจารย์จีระเลือกที่จะเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แทนที่จะเลือกเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคารที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง เพราะรู้ว่างานที่เลือกมีคุณค่า (Value) มีความหมาย (Meaning) และมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพราะธรรมศาสตร์เปิดกว้างให้โอกาสและส่งเสริมคนเก่งเสมอ ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์เรื่องอาวุโส อาจารย์จีระได้พยายามผลักดันให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์จนเกิดเป็นกระแสสังคมว่าจะต้องมีสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานจนเป็นที่มาของกฎหมายประกันสังคม และอีกกระแสสังคมหนึ่งคือเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายแรงงานให้ “แรงงานสัมพันธ์”เดินทางไปในทิศทางเดียวกันเพื่อลดความขัดแย้งในอดีตเน้นการเจรจาประนีประนอมจนเกิดแรงงานสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันก็สอบให้ผู้นำแรงงานเข้าใจเรื่องการแข่งขัน การสร้างทุนมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อรองรับโลกาภิวัตน์ สามารถตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์และเป็นผู้อำนวยการคนแรก ตลอดจนจัดตั้งมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศขึ้น ซึ่งมูลนิธิบริหารจัดการด้วยปรัชญา 3 ข้อ คือ 
      (1)   ความเสมอภาค
      (2)   การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน
      (3)   การสร้างศรัทธา (Trust) และความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

      สร้างสรรค์งาน “สื่อ” เพื่อสร้างคุณภาพทุนมนุษย์สู่สาธารณชน เพราะสือเป็นเครื่องมือช่วยเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และแนวคิดดี ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ออกไปได้กว่างขวางมากที่สุด สื้อที่ใช้มีทั้ง วิทยุ โทรทัศน์ Youtube Blog Facebook Twitter หรือบทความต่าง ๆ การพัฒนาคุณภาพผ่านอุปสรรค ความยากลำบาก แต่ถ้าตั้งใจจริงจะสำเร็จได้ หากแต่จะต้องไม่หยุดย่ำอยู่กับที่เมื่อเกิดแล้วต้องทำให้มีคุณค่า อย่าลือคำว่า การนำเสนอในรูปแบบใหม่ (Reinventing) เพราะมันจะช่วยให้ตัวเราไม่หยุดการเรียนรู้ ไม่หยุดการพัฒนา 

      8K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ หรือ ทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

      K1 Human Capital  ทุนมนุษย์ การเรียนในระบบการศึกษาแบบทางการ รวมทั้งการลงทุนในด้านโภชนาการ หรือการฝีกอบรมเป็นการสร้างทุนมนุษย์ขั้นแรก

      K2 Intellectual Capital   ทุนทางปัญญา ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ได้วัดที่ระดับการศึกษาแต่เป็นการมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคตดังนั้นปัญญาอาจไม่ใช่ปริญญา การศึกษาต้องสอบให้คนคิดเป็น ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ ทฤษฎี 4 L’s

        L1 learning methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ
        L2 learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้
        L3 learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้
        L4 learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
                 วิธีกระตุ้นให้เกิดพลังเกิดแรงบันดาลใจ ผ่านวิธีการเรียนที่สนุกได้มุมมองใหม่ ๆ ใช้ทฤษฎี 2 R’s 
             R1 Reality มองความจริง
             R2 Relevance มองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ

      K3 Ethical Capital    ทุนทางจริยธรรม เกิดเพราะสังคมต้องการคนดี ต้องได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เยาว์วัย ครอบครัว โรงเรียน ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของการปลูกฝัง ความดีต้องคู่กับความเก่งจึงจะเรียกว่าเก่งและดี 

      K4 Happiness Capital  ทุนทางความสุข คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ คนเมื่อมีความสุขในการทำงาน ผลงานที่ออกมาก็จะมีคุณภาพดี

      คุณภาพของทุนมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่การเรียนในระบบหรือการมีปริญญาเท่านั้น แต่การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ คือ การมีปัญหา คิด วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและสร้างความก้าวหน้า ความสำเร็จในชีวิตได้ นอกจากนั้นสิ่งทีสำคัญที่สุดต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตสาธารณะสร้างทุนแห่งความสุข นี้คือสาระสำคัญ 4 ทุนแรกเพื่อการสร้างคุณภาพทุนมนุษย์ของสังคมไทย

      K5 Social Capital     ทุนทางสังคม หรือ เครือข่ายเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น ต้องพยายามสร้างเครือข่ายใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร รู้จักการเจรจาต่อรอง

      K6 Sustainable Capital y  ทุนทางความยั่งยืน คือ ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร และที่สำคัญต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว

      K7 Digital Capital    ทุนทางเทคโนโลยี่สารสนเทศหรือ IT ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้

      K8 talented Capital   ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ปัจจัยที่ทำให้คนประสบความสำเร็จต้องมี 3 อย่างนี้พร้อมกัน คือ ทักษะ (Skills) ความรู้ (Knowledge) และทัศนคติ (Attitude) 

      ลองสำรวจตัวเองว่า ทุนมนุษย์ขั้นพื้นฐาน 8 ประการ หรือ 8 K’s ที่กล่าวมายังมีช่องว่าง (Gap) หรือจุดอ่อนหรือไม่ อย่างไร ลองจัดลำดับความสำคัญหาแนวทางและลงมือทำเพื่อพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ขั้นพื้นฐานของเราให้สมบูรณ์ สามารถปรับใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล ครองครัว องค์กร ชุมชน แม่แต่ในระดับประเทศ

5K’s ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซี่ยนเสรี

      ทฤษฎี 5 K’s ใหม่ ประกอบด้วย

      Creativity Capital    ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ สามารถสร้างได้แต่ต้องคิดนอกกรอบ ตอบโจทย์โดยหาทางออกหลาย ๆ ทาง

      Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนความรู้ต่าง ๆ จะล้าสมัยเร็วมากต้องมีการติดตามข้อมูลข่าวสารเป็นประจำ ความรู้สมัยเรียนจะใช้ไม่ได้แล้ว

      Innovation Capital    ทุนทางนวตกรรม ความสามารถทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีคุณค่า ต้องมีความคิดใหม่โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมความรู้ นำความคิดไปปฏิบัติจริง ทำสิ่งที่คิดให้สำเร็จ

      Cultural Capital  ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของประเทศ เป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มในสังคมยุคโลกาภิวัตน์

      Emotional Capital     ทุนทางอารมณ์ คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ เช่น ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่อ่อนไหว หดหู่ ตกใจ ตื่นกลัวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบตัวเรา รู้จักใช้สติใช้เหตุผล การมองโลกในแง่ดี

      ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงโลกาภิวัฒน์ และการก้าวสู่สังคมประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน คนไทยจะต้องสร้างความได้เปรียบและความแตกต่างเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก ทุนใหม่อีก 5 ประการ (5K’s ใหม่) มีความสำคัญและจำเป็น เพราะวันนี้คนไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างทุนทางความคิด สร้างสรรค์ทุนทางความรู้เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรม และรวมถึงการสร้างทุนทางอารมณ์ วันนี้ท่านมีวิธีการพัฒนาทุนเหล่านี้อย่างไร ? จำทำสำเร็จได้อย่างไร ? เมื่อมีไอเดียแล้วต้องนำไปทำ แล้วทำให้สำเร็จ

ประเด็นสำคัญที่คนไทยควรจะต้องรู้เพื่อก้าวไปกับอาเซี่ยนเสรีอย่างมั่นคงและสง่างาน

      (1)   ต้องรู้ว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ASEAN Economic Community (AEC) คืออะไร
      (2)   ข้อตกลง 3 เรื่องใหญ่ประกอบด้วย
          - เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
          - สังคมและวัฒนธรรม
          - ความมั่นคงทางการเมือง
      (3)   คำว่า “เสรี” คือสินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้วจะไม่มีการกรีดกัน สามารถขายสินค้าและบริการให้แก่ประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร และการลงทุนประเทศใดระดมทุนได้มากก็สามารถเข้าไปลงทุนในประเทศกลุ่มอาเซียนได้
      (4)   ต้องค้นหาตัวเอง ต้องคิดวิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อมจะฉกฉวยโอกาสและหลีกเลี่ยงการทูกคุกคามได้อย่างไร
      (5)   การปรับตัวต้องเข้าใจว่าโอกาสเปิดกว้างมากขึ้น ต้องปรับทัศนคติว่าเราต้องอยู่กับประเทศในกลุ่มอาเซี่ยนได้
      (6)   ต้องรักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าของความเป็นไทยไว้ให้ได้
      (7)   ต้องพัฒนาคนไทยให้สื่อสารภาษาอังกฤษ + ภาษาอาเซี่ยนให้ได้
      (8)   สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
      (9)   พัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์เพื่ออยู่รอดและแข่งขันได้
     (10)   การบริหารความเสี่ยงด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

      หนังสือเล่มนี้ได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยที่จะพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อให้รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไว้หลายแง่มุม มีผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นและข้อคิดที่เป็นประโยชน์ดั่งคำนิยมที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาได้กล่าวไว้ว่า “ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับผลกระทบจากการเปิดเสรีต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ จำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทุนมนุษย์.. แนวคิทฤษฎี 8K’s กับแนวคิดทฤษฎี 5K’s จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพเพียงพอสามารถยืนหยัดแข่งขันได้ในทุกเวที ไม่ว่าจะเป็นเวทีอาเซียนเสรีหรือเวทีโลก อย่างไรก็ตามขอเน้นย้ำว่าความสามารถในการแข่งขันต้องมาจากพื้นฐานความคิดในแนวทางการพึ่งตนเองซึ่งเป็นแก่นของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานโดยเฉพาะการมีภูมิคุ้มกัน ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างขึ้น การพัฒนาทุนมนุษย์ภายใต้แนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวได้ว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง

นพพร แจ่มสว่าง รองผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน

ส่งการบ้านวันที่ 17 กค.2555 การบริหารการเปลี่ยนแปลง คำพูดของ Jack Welch อดีต CEO ของ บริษัท GE ที่กล่าวว่า “ท่านต้องเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน” เป็นสัจจธรรมอย่างยิ่งในยุคที่ทุกคนต้องก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง และเนื่องมาจาก แรงผลักดัน การเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีทั้งจากภายนอกและภายในองค์กร เราต้องเรียนรู้การบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1.ต้องเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรในองค์กร
2.ต้องเข้าใจว่าองค์กรในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยกระบวนการมากกว่าโดยโครงสร้าง
3.ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
4.ต้องคิดในเชิงบูรณาการ  คิดให้ครบทุกกระบวนการ  คิดภาพใหญ่ขององค์กร
5.เหตุการณ์ใดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับและแก้ไข อีกทั้งใช้ประโยชน์จากมัน
6.ต้องยอมรับความเป็นมืออาชีพของหัวหน้า โดยให้ความร่วมมือและปรับตัว

ปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 1. ต้องพัฒนาตลอด อย่าเป็นเหยื่อของความสำเร็จขององค์กรเสียจนไม่ทำอะไรเลย 2 ต้องวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสามารถสนับสนุนและตอบสนองเขาได้ 3. ต้องสร้าง Commitment ในองค์กร 4. ทำสิ่งที่ทำง่ายได้ผลเร็วก่อน : Keep it simple simple (KISS)

ภาคบ่ายได้เรียนวิชา Finance for Non – Financial and Financial Perspective
ได้เรียนรู้เรื่อง การบริหารการเงิน ได้รู้จักตลาดการเงินในรูปแบบต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจจะพบ เช่น ซื้อทองแท่งควรรับทองมาไม่ควรรับกระดาษเพราะอาจถูกโกงได้ การตัดสินใจลงทุนในตลาดเงินต่างๆ ซึ่งได้ความรู้เพิ่มชึ้นมาก ทำให้เข้าใจเลยว่าทำไมจึงมีการเตือนเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยง

นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้อาจารย์วิธีอ่านงบการเงิน และการวิเคราะห์การเงินของโครงการ(Financing Project) ก่อนตัดสินใจลงทุน ได้รับความรู้มากจริงๆค่ะ

อรชร กิจสุบรรณ

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

          หลังจากที่ได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่ดิฉันได้ใช้เวลากับตัวหนังสือทั้งวัน  แล้วก็รู้สึกโชคดีที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง เพราะดิฉันได้รับการพิจารณาเลื่อนระดับรองผู้อำนวยการฝ่ายในเดือนมิถุนายน ศกนี้   ถ้าจะต้องวิจารณ์แล้วขอกล่าวอย่างเดียวว่า  มีคุณค่ามากจริง ๆ เป็นการบ่งบอกถึงการดำเนินธุรกิจใด ๆ ก็ตามเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนทั้งสิ้น และ คำว่าทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ก็คือ อาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ได้เผยแพร่ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม จากการนำประสบการณ์ในชีวิตงานที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การมุ่งมั่นในเรื่อง “คน”

          เนื้อหาหลัก ๆ ของอาจารย์ทั้งสองท่าน  แบ่งออกเป็น 4 ช่วง พอสรุปได้ดังนี้

         1.  เรื่องของสองแชมป์  เป็นช่วงที่กล่าวถึงภูมิหลังของอาจารย์ทั้งสองท่าน ที่มีความคล้ายคลึงกันและอยู่ในชนชั้นของสังคมเหมือน ๆ กัน  และกล่าวถึงผลงานด้านที่เกี่ยวกับคนและแนวทางการทำงานของอาจารย์ทั้งสองท่าน  โดยคนทั้งคู่เป็นผู้ฝ่เรียนรู้ และยังคงกระหายกับการแสวงหาความรู้อย่างไม่รู้จักอิ่ม  ซึ่งปรัชญาชีวิตของอาจารย์พารณฯ ว่า  เราต้องเกิดมาเพื่อจะเรียนรู้  และเรียนรู้   ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ พันธุ์แท้  ที่มีความคิดริเริ่มแนวใหม่ๆอยู่เรื่อย และมีลักษณะของคนหลายแนวความคิด หากเป็นสินค้าจะมีนวัตกรรม หรือ innovation อยู่ตลอดเวลา เลยเป็นพันธุ์แท้ที่อยู่ได้อย่างสมบูรณ์

           2.  คัมภีร์คนพันธุ์แท้  เป็นการอธิบายแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร  โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กรจากแรงจูงใจที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยเฉพาะการมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์ซึ่งนับวันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

                      วิธีคิดของอาจารย์พารณฯ กับการพัฒนาทัพยากรมนุษย์โดยกำหนดกรอบคิด 4 ประเด็น  ได้แก่ แนวความคิด  เป้าหมาย  วิธีการ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เพราะการทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาเรื่องคน เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ได้รับการพัฒนาก็เป็นดั่งทุน(Capital)  ที่นับวันมีแต่จะเสื่อมค่าลงอย่างต่อเนื่อง

                       สำหรับอาจารย์จีระฯ ได้นำประสพการณ์คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ ว่าทรัพยากรมนุษย์จะมีคุณค่าจะต้องมี ทุน 8 ประการหรือ ทฤษฎี  8k's  ประกอบด้วย  ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข  ทุนทางสังคม  ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนทางเทคโนโลยีฯ  และทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ   นอกจากนี้จากกระแสโลกาภิวํมตน์แรงขึ้น ทุน 8 ประการยังไม่เพียงพอ  จึงได้ค้นพบอีก 5 ทุน หรือ ทฤษฎี 5 k's ประกอบด้วย ทุนแห่งการสร้างสรรค์  ทุนทางความรู้  ทุนทางนวัตกรรม  ทุนทางอารมณ์  และทุนทางวัฒนธรรม

            3.  จักรวาลแห่งการเรียนรู้  เป็นเรื่องราวของการสร้างนวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา ที่สันกำแพงและที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย  โดยมุ่งมั่นให้เป็น Good learner  ที่มีความสามารถในการเรียนรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต  เพื่อให้คนไทยก้าวสู่ระดับโลก  Global citizen   ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่ความคล่องแคล่วในภาษาไทย-อังกฤษ    เทคโนโลยี่   และมีคุณธรรม

             4.  สู่การเพิ่มผลผลิต  เป็นเรื่องราวแนวคิดในการขยายผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อมุ่งมั่น ของอาจารย์จีระฯ ในการพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ และสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับประเทศ  โดยนำบทเรียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเป็นกรณีศึกษา โดยมีแนวคิดการสร้างนวัตกรรมของการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

  1.  ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา
  2. เมื่อมีความคิดใหม่แล้ว ต้องลงมือทำ เพราะถ้าคิดแต่ไม่ทำ  นวัตกรรมไม่เกิด
  3. ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลในมุมมองหลาย ๆ คน และผู้มีส่วนใด้ส่วนเสีย

บทสุดท้ายของหนังสือ หัวเรื่อง ส่งท้าย.......คนพันธุ์แท้   เป็นการกล่าวย้ำที่ให้ความหมายชัดเจนแล้ว่า อาจารย์ทั้งสองท่านที่มีเส้นทางชีวิต คนหนึ่งวิศวกรนักบริหาร และอีกคนนักเศรษฐศาสตร์แต่มีความที่คล้ายคลึงกัน คือการทำงานมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยจิตและวิญญาณ จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับอย่างก้วางขวางจากสังคมไทยและนานาชาติ   พร้อมที่จะเป็น ผู้ให้ ทั้ง ความรู้และความรัก ทุกคน 

                                                        ผ่องศรี  ปลอดประดิษฐ์

                                             รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการเงินและการลงทุน

สวัสดีครับ วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2555 ภาคเช้าเรา มีอ.จีระ,อ.ไกรฤทธิ์และอ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญมาร่วมวิเคราะห์ให้ข้อคิดเห็น สำหรับ อ.ณรงค์ศักดิ์ เดิมทางไกลมาจากเชียงใหม่ มาชี้ให้เห็นว่าโลกปัจจุบันไม่ใช้โลกของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแต่เป็นโลกของยุคสหวิทยาการต้องมีความรู้ในหลายๆ ด้าน ศึกษาความเป็นตัวตนของตนเอง นักการตลาดจะมองหาความเป็นตัวตนเพื่อนำเสนอสินค้าตอบสนองความเป็นตัวตนของกลุ่มลูกค้า (ทำให้ผมนึกถึงโฆษณษขายคอนโดของLH" เราไม่ได้มองหาบ้านแต่เรามองหาความภูมิใจ" ) เราต้องวิเคราะห์์วิจัยข้อผิดพลาดในอดีต เพื่อจะได้ไม่เจ็บซ้ำสอง อันนี้โดนครับอยากให้การเคหะนำไปใช้บางเพราะเรากำลังจะทำผิดซ้ำสองเพื่อตอบสนองฝ่ายการเมือง ในตอนบ่ายเป็นการwork shop ซึ่งผมอยู่ในกลุ่มวิเคราะห์ ผู้ว่าการ/บอร์ด ปัจจุบันอนาคต โดยในรุ่น2ได้พิจารณาคุณลักษณะของผู้ว่าการว่า ต้องมีเครือข่าย สามารถประสานงานได้/มีคุณธรรมจริยธรรม/บริหารเวลาเป็น/ต้องกล้าตัดสินใจ/มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ /ตรงเวลา/มีการปรุชุมอย่างมีประสิทธิภาพ จะหาได้หรือไม่ผู้ว่าแบบนี้ นะ

สวัสดีครับผู้เข้ารับการอบรมรุ่น 2 วันนี้ที่ 17 กรกฎาคม 2555 เป็นวันสุดท้ายของการอบรมแล้ว ไชโย ๆ ๆ วันนี้จึงนัดรับประทานอาคารกลางวันร่วมกัน โดยในรุ่นเรามีพ่อครัวเอกของการเคหะ.พี่จู๋ รอง ผอ.ชช. 3 ซึ่งรับอาสาเป็นผู้ทำกับข้าวให้พวกเราทาน ช่วงเช้าเป็นหัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง Change Management โดยอ.ประกาย ชลหาญ อ.เล่าว่า โอบามาชนะประธานาธิบดีได้เพราะคำว่า Change คำเดียว แต่การลงชิงชัยสมัยที่ 2 ปลายปี 2555 นี้จะชนะหรือไม่ยังไม่แน่เพราะผ่านมาจะครบเทอมแล้วยังไม่เห็นผลงาน Change สำหรับเรื่อง Change Management ไม่ใช้เรื่องให่มในการเคหะ พบ.ได้เชิญวิทยากรมาพูดให้เราฟังบ้างแล้ว ซึ่งการเคหะก็พยายามจะ Change เมื่อคราวที่เราเริ่มโครงการบ้านเอื้ออาทร แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ พนักงานยังไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนความคิดหรือวิธีการทำงาน สุดท้ายก็ได้แต่ Change โครงสร้างหน่วยงาน ซึ่งบ่อยมากแต่ไม่สามารถยุบหน่วยงานที่ไม่จำเป็นลงได้

ภาคบ่ายเป็นเรื่องการเงิน โดยดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ซึ่งทำให้รู้จักตลาดการเงิน ตลาดทุน  โดยตลาดเงินแบ่งเป็นตลาดการเงินในระบบ มีกฎหมายรองรับ และตลาดการเงินนอกระบบ ตกลงกันเองเช่นเงินด่วนตามเสาไฟฟ้า และยังแบ่งอีกเป็นตลาดการเงินที่ส่งมอบทันที่ (Spot Market) และตลาดซื้อขายล่วงหน้า(Future Market) สำหรับตลาดทุนก็แบ่งเป็นตลาดแรก (Primary Market)และตลาดรอง (Secondary Market) และประเภทของสถาบันการเงิน ซึ่งแบ่งเป็นสถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร(Bank) และสถาบันการเงินที่ไม่ใช้ธนาคาร(Non-Bank) เช่น กองทุนสำรอง สหกรณ์ โรงรับจำนำ นอกจากนี้ยังได้ความรู้วิธีการอ่านงบดุลเพื่อจะได้รู้สถานะของบริษัท และวิธีการลงทุน วิธีการบริหารการเงินทั้งส่วนบุคคลและระดับองค์กร 
16.00 สิ้นสุดการอบรมทีมงาน อ.จิระประมวลภาพของการอบรมตลอดระยะเวลา 8 วันของการอบรม ฉายให้พวกเราดู และรผว.(จำเนียร)เป็นผู้แทนฝ่ายบริหารมามอบวุฒิบัตรให้ผู้เข้ารับการอบรม ถือว่าสิ้นสุดการอบรมในห้องครับแต่ภาระกิจของผู้เข้าอบรมยังไม่จบครับเพราะยังต้องส่งรายงานนวตกรรมอีก 5หน้า ผมมีหัวข้อแล้วว่าจะเขียนนวตกรรมทางด้านบริหารชุมชน ครับ
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555 เวลา 9.00-12.00 น. เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยอาจารย์ประกาย ชลหาญ

      Chang Management refer both to setting goals and strategies,operational efficiency,organizational  structure,processes,leadership,people,customers,venders etc.
       Chang Management is cross functional and multidisciplinary in its characters.
       หัวใจสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ ความสามารถในการประเมินการเปลี่ยนแปลง โดยต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งการบริหารการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรในองค์กร โดยที่มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร ดังนั้น การพัฒนามนุษย์จึงเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ทั้งนี้ โดยมีแนวคิดและวิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
       1. การบริหารเปลี่ยนแปลง ต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง
       2. การบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างความต้องการร่วมกัน                                                                               
       3. ผู้นำที่ดี ต้องสร้างวิสัยทัศน์ (Vision) ให้เป็นที่ยอมรับ                                                                                       
       4. มีกระบวนการผลักดันให้เกิดแนวร่วม                                       
       5. ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน                                                    
       6. มีการติดตามความก้าวหน้า                                                           
       7. เปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้าง
       การเรียนครั้งนี้ ได้รับความรู้และความเข้าใจการบริหารการเปลี่ยนแปลงดีกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา และคาดว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของ กคช. ได้อย่างดี
                                                                                                ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร

หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00-16.00 น. เรื่อง Finance for Non – Financial Perspective โดย Dr.Kusaya Leerahawong

        เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารจะต้องเข้าใจแนวคิดทางการเงินอย่างเป็นระบบ  Dr. Kusaya  Leerahawong  อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับ ตลาดเงิน ตลาดทุน สถาบัน-การเงิน งบการเงิน การลงทุน การวิเคราะห์การเงินและการบริหารการเงินได้อย่างดี และทำให้ผู้รับการอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับองค์กรและธุรกิจส่วนตัวได้
                                                                                                ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ของการเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2

  ความรู้และข้อคิดจากการอ่านหนังสือ 8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของประเทศไทย รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ 12 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีบทสรุปดังนี้
 1. การวิเคราะห์โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย
 2. HR Architecture
 3. ทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
 4. ทฤษฎีทุน 8 ประการ 8K’s
 5. ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ 5K’s
 6. ทฤษฎี 4L’s
 7. ทฤษฎี 2R’s
 8. ทฤษฎี 2I’s
 9. ทฤษฎี C&E
10. ทฤษฎี HRDS
11. ทฤษฎี 3L’s
12. เปรียบเทียบเรื่องทฤษฎีทุนมนุษย์
 ทฤษฎีและแนวคิดดังกล่าวกลั่นออกมาจากความรู้ระดับสูงที่สามารถนำไปใช้ในการกำหด

นโยบายพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการศึกษาของประเทศไทยควรนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายระดับประเทศเพื่อปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้คนไทยเป็นผู้มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ ประพฤติดีและมีคุณธรรม

  สำหรับการนำมาประยุกต์ใช้กับงานของการเคหะแห่งชาติ มีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินทักษะความสามารถ (Competencies) ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการวัด โดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรพิจารณาทฤษฎี 3 วงกลม ในเรื่องของ Competencies ประกอบด้วย 5 เรื่องที่สำคัญ ดังนี้
 1. Functional Competency คือ ความรู้เพิ่มเติมในการทำงาน
 2. Organizational Competency คือ ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อองค์กร
 3. Leadership Competency คือ ภาวะผู้นำ
 4. Entrepreneurial Competency คือ ความคิดในเชิงผู้บริหาร
 5. Macro and Global Competency คือ มีความรู้รอบตัว
                                                                         ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                สรุปวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง
                                           17 กรกฎาคม 2555 (เช้า)
                                         โดย อ.ประกาย ชลหาญ

สิ่งที่สำคัญในการบริหารการเปลี่ยนแปลง 1.องค์กรมีความซับซ้อนโดยเฉพาะคนเป็นการยากจะจัดการ 2. องค์กรถูกผลักดันในกระบวนการการทำงานมากกว่าโครงสร้าง 3.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆด้วย 4.องค์กรต้องมีพัฒนาการกันไปในทิศทางเดียวกัน 5.องค์กรต้องใช้เหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ให้เป็นประโยชน์ 6.องค์กรต้องยอมรับความเป็นมืออาชีพของหัวหน้าทีม ปัจจัยไปสู่ความสำเร็จ 1.ต้องมีความตื่นตัวในการพัฒนาองค์กรตลอดไป 2.ต้องวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการสนับสนุนและตอบสนองให้ได้ 3.ต้องสร้าง Commitment ในองค์กร 4.เรียนรู้ที่จะทำสิ่งที่ทำง่ายได้ผลเร็วก่อน 5. การเปียนแปลงใดๆต้องมีแผน Roadmap ชัดเจน

                                                                                   นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 
                                              สรุปวิชา ตลาดเงิน
                                           17 กรกฎาคม 2555 (บ่าย)
                                          โดย อ.กุศยา  ลีฬหาวงศ์

บทเรียนได้สรุปเนื้อหาของคำว่า ตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดการเงินคืออะไร และตลาดทุนคืออะไร ตลาดเงินในระบบ ตลาดเงินนอกระบบ ตลาดเงินส่งมอบทันที ตลาดเงินซื้อขายล่วงหน้า สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร สถาบันการเงินที่ไม่เป็นธนาคาร วิธีดูงบการเงิน และการวิเคราะห์การเงินเพื่อเป็นแนวทางในการลงทุน

                                                                                   นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2” ความรู้และข้อคิดจากอ่านหนังสือ “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”

      อาจารย์พารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา และศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ เริ่มจากการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างจริงจัง โดยอาจารย์พารณฯ มีนโยบายเริ่มจากการรับบุคลากรเข้าทำงานในบริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ โดยคัดเลือกจากผู้มีความรู้ความสามารถ มีคณะกรรมการพิจารณา ผู้ที่จะเข้าทำงานได้จะต้องผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ พนักงานจะต้องเข้ารับการอบรม 7 – 10 วันต่อปี มีทุนการศึกษาต่างประเทศ เชิญนักวิชาการจากต่างประเทศมาให้ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจแก่พนักงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยฯ มีผลประกอบการที่ดีเป็นบริษัทชั้นนำของเมืองไทย นอกจากนั้น อาจารย์พารณฯ ยังเป็นผู้นำที่มีความรู้ มีคุณธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี
       สำหรับ ศ.ดร.จีระฯ นับเป็นบุคคลที่เป็นปรมาจารย์ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ของเมืองไทย โดยเป็นผู้เขียนแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์อย่างเป็นระบบและครอบคลุม มีวิสัยทัศน์และบุคลิกที่เป็นผู้นำ มีบารมีและอิทธิพลในการสร้างแรงบรันดาลใจให้แก่ลูกศิษย์และผู้เข้ารับการอบรม ให้เป็นผู้รักการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง
                                                                                   ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
ดร.อภิวัฒน์ บุญสาธร

การอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 ความรู้และข้อคิดจากการอ่านหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”

     ศาสตราจารย์เกียรติคุณ  นายแพทย์เกษม  วัฒนาชัย  องคมนตรี ได้บรรยายหลัก 23 ข้อ ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว ที่คนไทยสามารถน้อมนำไปปฏิบัติ ไม่ว่าจะนำไปใช้กับการงานใด งานนั้นย่อมสำเร็จลุล่วงเสมอ
     1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
     2. ระเบิดจากภายใน
     3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
     4. ทำตามลำดับขั้น
     5. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์
     6. ทำงานแบบองค์รวมโดยคิดความเชื่อมโยง
     7. ไม่ติดตำรา
     8. ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด
     9. ทำให้ง่าย
    10. การมีส่วนร่วม
   11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม
   12. บริการจุดเดียว
   13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
   14. ใช้อธรรมปราบอธรรม
   15. ปลูกป่าในใจคน
    16. ขาดทุนคือกำไร
    17. การพึ่งตนเอง
    18. พออยู่พอกิน
    19. เศรษฐกิจพอเพียง
    20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน
    21. ทำงานอย่างมีความสุข
    22. ความเพียร
    23. รู้รักสามัคคี
     ควรอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้า 57 – 66
                                                   ดร.อภิวัฒน์  บุญสาธร
    นางพรรณี    วิชิต  รุ่น 2
            สรุปบทเรียน

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ วันที่ 11 กค. 2555

หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้ให้ความสำคัญเรื่องการบริหารความเสี่ยงในการทำงาน ดังนั้นกระทรวงที่กำกับดูแลหน่วยงานจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  เช่นกัน  โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจจะมี                  บริษัท TRIS  เป็นบริษัททำหน้าที่ประเมินผลการทำงานเพื่อให้รัฐวิสาหกิจที่มีประสิทธิภาพ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง สามารสรุปได้ดังนี้

1.เข้าใจว่า “ความเสี่ยง” เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องเลวร้าย 2.ต้องขจัดความเสี่ยง ให้หมดไปจากองค์กร แต่ในโลกนี้ไม่มีที่ใดที่ไม่มีความเสี่ยง สามารถที่จะทำเราไม่สามารถที่จะทำให้ความเสี่ยงเป็น “ศูนย์” ได้ 3.ทำอะไรก็ได้ทึ่ไม่เสี่ยงเลยดีกว่า ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่องค์กรจะเป็นผู้วิเคราะห์ ความเสี่ยงขององค์กรหนึ่งอาจไม่ใช่ความเสี่ยงของอีกองค์กรหนึ่ง

การประเมินความเสี่ยง

ความเสี่ยงเป็นเรื่องของการคาดเดา , การคาดการณ์ ต้องวิเคราะห์โอกาสเกิดและผลกระทบ ว่าจะยอมรับความเสี่ยงนั้นได้หรือไม่ได้ เมื่อประเมินความเสี่ยงแล้วนำไปปฏิบัติ ความเสี่ยงนั้นลดลงหรือไม่ 
ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้จากภายในองค์กร หรือว่าเกิดจากองค์กรภายนอก  ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดจากองค์กรภายนอกจะเป็นความเสี่ยงสูง ดังนั้นหน่วยงานจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์คู่แข่งด้วย  ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญ  หากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง มีการสร้างแรงจูงใจในการช่วยลดความเสี่ยง ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและมีการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับให้ลดความเสี่ยง เพื่อความอยู่รอดขององค์กร
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                    วิจารณหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้          
"ทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ (CHAMPIONS)" การที่ได้เข้ามารับการอบรมจากอาจารย์  เป็นการชี้ทางให้กับเราว่า

กำลังเดินอยู่บนทางที่ถูกที่ควรหรือไม่ หรืออาจจะหลงทางอยู่
1.ความหมาย ปรัชญา และพื้นฐานของคำว่า “ทรัพยากรมนุษย์” ว่าเราควรมีหลักปฏิบัติอย่างไรและมีวิถีแนวทางความคิดและการนำไปใช้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีของคุณพารนในแง่ของปรัชญาที่ว่า “ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร” หรือจากอาจารย์จีระที่สอนให้มีมุมมองมนุษย์เป็น “มูลค่าเพิ่ม” ก็ตาม ล้วนแต่นำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ในสิ่งที่ทรงคุณค่าให้กับตัวบุคคลได้ ส่วนพื้นฐานของการเรียนรู้ให้ตัวเรานั้นเกิดมูลค่าเพิ่ม อาจารย์ได้สอนให้นำหลัก 4 L’s เข้ามาใช้และเป็นหลักวิธีคิดที่ทำให้คนที่ยังไม่รู้ ได้เปิดโลกกว้าง มีวิสัยการพัฒนาได้กว้างไกลขึ้นอย่างชัดเจน 2.Vision of “Know-how”, “How-to” and “Successful” เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อองค์กร คือเมื่อรู้จักที่จะ adapt ทฤษฎีความรู้เข้ามาแล้วยังต้องต้องชัดเจนในด้านภาคปฏิบัติและวัดผลคุณภาพว่าเป็นอย่างไร ได้มาตรฐานตามที่เราคาดหวังหรือไม่ หากมาถึงข้อนี้ มักจะมีการชะงักตรง “How-to” และ “Successful” การแก้ไขที่จะทำให้เราฟันฝ่าอุปสรรคไปได้นั้น เราต้องกลับไปพิจารณาข้อ #1 ว่าเราได้เข้าใจ 100% แล้วหรือยัง เรายังมีข้อผิดพลาดจุดไหน และสำรวจว่าเราจะมีการปรับปรุงได้อย่างไร เพื่อที่จะให้เรานั้นได้เดินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสำเร็จ 3.ข้อวิจารณ์ 1.“อย่าพึ่งใคร ให้พึ่งตัวเองก่อน” ไม่ว่าจะเป็นด้านการคิดค้นนวัตกรรมแบบใหม่ขึ้นมาในสังคมไทย จุดเริ่มต้นควรมาจากความคิดของเราก่อน อย่าไปลอกเลียนแบบ เพราะการลอกเลียนแบบนั้นไม่ได้ช่วยทำให้ความเป็น original นั้น มันอาจจะอยู่ได้ แต่อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเสื่อมถอยหายไป นอกจากนี้เมื่อเรามีความคิดสร้างสรรค์ที่จะผลิตนวัตกรรมขึ้นมาสู่สายตาโลกแล้ว เราต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เราคิดค้นนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นการคิดค้นจากฝีมือตนเองและน่าภาคภูมิใจรวมถึงเป็นตัวอย่างกับคนอื่นที่ยังไม่เข้าถึงการคิดค้นตรงนี้ได้ 2.เห็นได้ชัดเจนเลยว่าทั้งท่านพารณและอาจารย์จีระ มีความมุ่งมั่นมากในการพัฒนาคน ท่านพารณได้สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร ทำให้คนของปูนซิเมนต์ไทยเป็นคนที่มีคุณภาพ สร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขันให้บริษัท การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดในบริษัท ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว 3. เช่นเดียวกับอาจารย์จีระผมเห็นว่าการที่อาจารย์พยายามผลักดันให้ผู้บริหารประเทศเห็นความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคนเป็นการมองกาลไกลมาก เพราะประเทศจะเจริญได้อย่างมั่นคงและยั้งยืน คนในประเทศต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ 1.ได้แนวคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งเรื่องส่วนตัว งาน และสังคม 2.ได้ทบทวนการปฏิบัติงานประจำและนำมาเทียบกับทฤษฎีและประสบการณ์ที่ผู้มีชื่อเสียงค้นพบเพื่อนำไปถ่ายทอดต่อในองค์กร 3.ทราบถึงความเข้มข้นของการแข่งขันทั้งในประเทศและทั่วโลกว่า”เพียงแค่ก้าวหน้าอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ต้องก้าวให้เร็วกว่าถึงจะอยู่รอบและชนะ” 4.ได้ข้อคิดให้กลับมาทบทวนเรื่องนโยบายว่าด้วย”ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคนภายในองค์กร”ได้มีตัววัดหรือแผนปฏิบัติและสำเร็จมากน้อยเพียงไร

                                       นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์                                                                                        
                                   [email protected] 
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
             สรุปวิชาวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ
                                     16 กรกฎาคม 2555 ( เช้า และบ่าย)

โดย ศจ.ภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ อ.ทำนอง ดาศรี

    การเคหะแห่งชาติพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง  จากปัจจัยต่อไปนี้
  1. การ Re-Discovery NHA คือการค้นหาตัวเอง แล้วดูว่าเราค้นพบอะไรบ้าง
  2. การหาสิ่งที่เป็นขุมทรัพย์ของการเคหะฯ
  3. การ Re – Inventing NHA
  4. วัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร การเคหะจะเตรียมความพร้อมอย่างไร
      1. บริหารเวลาเป็น
      2. ลำดับความสำคัญของงาน
      3. พิจารณาตนเองว่าจะทำอะไรให้การเคหะบ้าง
      4.   ดูจุดแข็งขององค์กร
       5. วิเคราะห์ปัญหาการตลาด
    
    ดังนั้นปัจจัยสำคัญของการเตรียมความพร้อมขึ้นอยู่กับ 3 V
             Value Added
             Value Creation
             Value Diversity 
    
    สิ่งสำคัญที่การเคหะแห่งชาติต้องนำมาพิจารณาสำหรับการเคหะฯ ในอนาคต คือ 1.บ้านน่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุ 2.บ้านสำหรับคนรุ่นใหม่
       3.การสร้างแบรนด์
       4.ต้องค้นหาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนในปัจจุบัน
       5. ชุมชนการเคหะฯ บนโลก Cyber 
       6. กำจัดจุดอ่อน 
    

    WORKSHOP ให้วิจารณ์

  5. CEO / Board ผู้ว่าการ และบอร์ด
  6. Corporate ตัวการเคหะฯ
  7. Old Stocks สินค้าล้างสต๊อค
  8. Next New Product
  9. Improved Services

                                                                                   นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์
                                                                            [email protected] 
    

งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ วันที่ 11 กค. 2555

งบประมาณ  เป็นรายจ่ายของประเทศมาจากภาษีของประชาชน  งบประมาณจะประกอบด้วยแผนที่แสดงถึงความตั้งใจในการปฏิบัติในห้วงระยะเวลาหนึ่งและแผนที่แสดงทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับทรัพยากร
การวางแผนงบประมาณ เป็นแรงขับให้กำหนดเป้าหมายในการทำงาน แผนงบประมาณเป็นการวางแผนล่วงหน้า อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้แผนงบประมาณที่วางไว้เกิดความคลาดเคลื่อนได้  ดังนั้นหน่วยงานจึงต้องมีข้อมูลข่าวสารหรือModel ต่างๆ พยากรณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น  ข้อมูลที่ดีจะช่วยให้การวางแผนดีไปด้วย
องค์ประกอบของแผน ประกอบด้วย
Who -     ใครทำ           When     -     ทำเมื่อไร
What   -     ทำอะไร         Why       -     ทำทำไม
       Where  -     ทำที่ไหน            How to   -     ทำอย่างไร
ผู้บริหารระดับสูง ควรมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายองค์กรและติดตามประเมินผลเป็นประจำ       ซึ่งต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจน  เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้ทำแผนสำหรับการปฏิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

วิทยากรชี้ช่องทางการออมทรัพย์  ออมเงิน หรือวางแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ , หุ้น , กองทุน , ซื้อทองคำ , ฝากธนาคาร เป็นต้น  แต่แม้ว่าเราจะไม่มีเงินลงทุนมากมายแต่หากให้เงินอย่างประหยัด ขยันทำงาน  ควบคุมรายจ่าย  เก็บออมตั้งแต่เริ่มทำงาน ก็สามารถทำให้คนเราเดินทางไปสู่ ความมั่งคั่งได้เช่นกัน

สรุปบทเรียน วันที่ 17 กค. 55 พรรณี วิชิต รุ่น 2

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงคือการทำให้ทุกอย่างดีขึ้น  จริงหรือไม่ ในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งจะมีคำว่า เปลี่ยนทำไม  เปลี่ยนแล้วได้อะไร  ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนแปลงจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
ในองค์กร หรือ ธุรกิจ มี “คน”  เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก  ภายในคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากคน  คนจะเปลี่ยนแปลงต้องมาจากอารมณ์  สิ่งเร้า  สภาพแวดล้อม แรงจูงใจ  เป็นต้น  ส่วนการเปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ภัยธรรมชาติ ต่างๆ
ผู้นำจะต้องทำความเข้าใจกับลูกน้องให้ยอมรับถึงความเปลี่ยนแปลง เพื่อมิให้เกิดการต่อต้าน  การเปลี่ยนแปลงเป็นการพัฒนา ทำให้เกิดการตื่นตัว ในหน่วยงานการเปลี่ยนแปลงจะมี 2 รูปแบบ คือ Top down และ Bottom  up ผู้นำองค์กรควรต้องประเมินการเปลี่ยนขององค์กรในอนาคตให้ใกล้เคียงที่สุด  องค์กรหรือหน่วยงานใดคาดการณ์ในอนาคตได้มากเท่าใดก็จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้นเท่านั้น

“เริ่มต้นจากเปลี่ยนความคิดก็อาจสามารเปลี่ยนชีวิตของเราได้”

การเงิน

แบ่งเป็น  ตลาดการเงิน และ ตลาดทุน  ทั้งในระบบและนอกระบบ  วิทยากรอธิบายให้ผู้เข้าอบรมทราบเรื่องของ สถาบันการเงินในประเทศไทยว่าแบ่งเป็นสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารและที่ไม่ใช่รูปแบบของธนาคาร
งบดุล ปัจจุบันเรียกใหม่ว่า  งบแสดงฐานะการเงิน   ณ วันใดวันหนึ่ง
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ  แสดงผลการดำเนินงานเป็นรายไตรมาสหรือรายปี
งบกระแสเงินสด     แสดงทุกรายการที่เป็นเงินสด
การบรรยายหัวข้อ ครั้งนี้  อาจทำให้เข้าใจได้ว่า  ต้องการให้ผู้บริหารรู้จักเรื่องของการทำบัญชี  งบประมาณ  การลงทุน  ในรูปแบบของแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน รู้จักคำจำกัดความของวิชาบัญชี  การเงิน  การธนาคาร  รู้จักคำว่า  เงินสดรับ  เงินสดจ่าย  กำไรสุทธิ  งบประเภทต่างๆ  นอกจากนี้ยังพูดถึงการลงทุน  แหล่งเงินทุน  ผลตอบแทนจากการลงทุน , การหาแหล่งเงินทุนและการจัดสรรเงิน , การบริหารการเงินส่วนบุคคล , การบริหารการเงินธุรกิจ / องค์กร , จุดคุ้มทุน เป็นต้น
ซึ่งก็ทำให้ผู้เข้าอบรมได้รับรู้ในภาพกว้าง แต่ยากที่จะเข้าใจสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาด้านบัญชีโดยตรง อย่างไรก็ดีก็มีประโยชน์สำหรับผู้บริหารที่จะรู้จักเรื่องการวิเคราะห์การลงทุน จุดคุ้มทุน  ซึ่งมีผลต่ดความอยู่รอดขององค์กร

ข้อติดที่ได้จากหนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

การได้อ่านหนังสือเล่มนี้ได้เปิดโลกทัศน์ให้เห็นแง่มุมใหม่ในการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยมีความเชื่อว่าหากมนุษย์ได้พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องจะส่งเสริมให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ท่านอาจารย์ ดร.จีระฯ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์อันยาวนานในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ของประเทศผ่านทฤษฎี8K's ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ หรือ ทุน 8 ประการเป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและทฤษฎี 5K's ซึ่งเป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี  ซึ่งท่านอาจารย์ได้สรุปว่าทฤษฎีของท่านมาจากองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ
       - ครอบครัว 
       - การศึกษา
       - กีฬา
       - การทำงาน
       - สมาธิ
       - ความใฝ่รู้

ทฤษฎี 8K's ประกอบด้วย

  K1  ทุนมนุษย์ (Human Capital)   การเรียนในระบบการศึกษาแบบทางการ รวมทั้งการลงทุนในด้านโภชนาการ หรือการฝีกอบรมเป็นการสร้างทุนมนุษย์ขั้นแรก

  K2  ทุนทางปัญญา ( Intellectual Capital)    ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ได้วัดที่ระดับการศึกษาแต่เป็นการมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต ดังนั้น ปัญญาอาจไม่ได้มาจากปริญญา  ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ และคิดเป็น  ในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ต้องประกอบด้วย ทฤษฎี 4L's คือ

    L1 learning methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ
    L2 learning Environment คือ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้
    L3 learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู้
    L4 learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
             ผ่านวิธีการเรียนที่สนุกได้มุมมองใหม่ ๆ ใช้ทฤษฎี 2 R’s 
         R1 Reality มองความจริง
         R2 Relevance มองสิ่งที่ตรงกับความต้องการ

  K3  ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital ) ต้องมีการปลูกฝังเรื่องความดีงามความถูกต้องตั้ง ผู้ที่มีส่วนปลูกฝังทุนทางจริยธรรมนี้ คือ ครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา และศาสนา

  K4  ทุนทางความสุข (Happiness Capital)   คือ พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ หากคนเรามีความสุข ความสมดุลในชีวิต ทำงานอย่างมีความสุข ผลงานจะออกมาดี

  K5  ทุนทางสังคม (Social Capital)  หมายถึงการมีเครือข่ายที่กว้างขวาง มีคุณค่าต่อการทำงาน  จะทำให้ทุนมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้น ต้องพยายามสร้างเครือข่าย  ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร  รู้จักการเจรจาต่อรอง

  K6  ทุนทางความยั่งยืน (Sustainable Capital)   คือ การที่ตัวเราจะต้องมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ต้องมองให้ออกว่าสิ่งที่จะทำในระยะสั้นคืออะไร และที่สำคัญต้องไม่ขัดแย้งหรือสร้างปัญหาในระยะยาว

  K7  ทุนทางเทคโนโลยี่สารสนเทศหรือ IT (Digital Capital)    ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้

  K8  ทุนอัฉริยะ (Talented Capital)   คนที่ประสบความสำเร็จต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือ ทักษะ ความรู้ และทัศนคติ การเริ่มทำตั้งแต่อายุน้อยจะเป็นการดีมาก

5K’s ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซี่ยนเสรี

  ทฤษฎี 5 K’s ใหม่ ประกอบด้วย

  Creativity Capital    ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ พลังแห่งจินตนาการสำคัญกว่าความรู้ สามารถสร้างผลงานต่างๆ ได้มากมาย  ต้องพยายามฝึกคิดนอกกรอบ ฝึกตอบโจทย์โดยหาทางออกหลาย ๆ ทาง

  Knowledge Capital  ทุนทางความรู้   ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนความรู้ต่าง ๆ จะต้องใม่ ทันสมัย แม่นยำ ข้ามศาสตร์คือ จะต้องใฝ่รู้นั่นเอง

  Innovation Capital    ทุนทางนว้ตกรรม  นวัตกรรมต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ มีความคิดใหม่  นำความคิดไปปฏิบัติจริง และทำให้สำเร็จ

  Cultural Capital    ทุนทางวัฒนธรรม คือ การมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานของการดำรงชีวิต ยังหมายรวมถึงการมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี  

  Emotional Capital     ทุนทางอารมณ์ คือ การรู้จักควบคุมอารมณ์และบริหารอารมณ์ เช่น ไม่โกรธง่าย ไม่เครียดง่าย ไม่อ่อนไหว หดหู่ ตกใจ ตื่นกลัวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบตัวเรา รู้จักใช้สติใช้เหตุผล การมองโลกในแง่ดี

  เมื่อหันมามององค์กรของเรา พนักงานการเคหะฯ จะต้องตระหนักว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทุกคนจะต้องปรับตัวเตรียมรับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งโอกาสดีๆ หรือเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบให้กับการเคหะฯ อย่างสูง หากเรายังหยุดอยู่กับที่

  อย่างไรก็ตาม มีข้อควรตระหนักว่าการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศใดๆ ก็ตาม หากไร้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นเลิศนั้นๆ ก็จะขาดความยั่งยืนอย่างแน่นอน

อรชร กิจสุบรรณ

หนังสือธรรมดีที่พ่อทำ

หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบเกิดความรู้สึกในใจว่า ความจงรักภักดีที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้น ไม่จำเป็นต้องบรรยายร้อยเรียงเป็นถ้อยคำให้มากมาย รู้แต่เพียงว่าเมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งใด จะรู้สึกเต็มตื้นทุกทีไป

ข้อคิดที่ได้จากหนังสือผ่านถ้อยคำของผู้ที่ใกล้ชิดพระองค์ท่าน สามารถเรียบเรียงได้เป็นข้อ ๆ แห่งความประทับใจและควรยึดถือเป็นแบบอย่าง ดังนี้ 1. เคล็ดลับในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ คือยึดถือหลัก อิทธิบาท 4 2. คิดแล้วไม่กล้าทำ จะไม่มีอะไรสำเร็จ 3. ทำทุกอย่างด้วยใจ ไม่ใช่ทำตามใจ 4. ถ้าเราเอาแต่ชนะ มันก็ต้องมีแพ้ ถ้าเราปรองดองกัน มีแต่ชนะไม่มีแพ้ 5. ความพอเพียงเอาชนะความยากจน 6. รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ เพราะการรู้จริง คือการลงมือทำ ลงมือปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์จริงที่สัมผัสด้วยตัวเอง 7. การเรียนรู้ คือ สินทรัพย์ที่สามารถแปลงมาเป็นปัญญาได้เสมอ 8. การรักษาใจให้เที่ยงตรงเป็นกลาง ไม่มีอคติฝ่ายชอบหรือชัง ความรู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นความรู้แท้ 9. ความประพฤติดีกว่าชาติกำเนิด 10. อย่าอ้างแต่กรรมเก่า ให้สร้างกรรมใหม่ เพราะมนุษย์อยู่เหนือกรรม เพราะมีสิทธิ์เลือกกระทำ แต่หากไม่เลือก ผู้นั้นย่อมมี

 ชีวิตตามยถากรรม
  1. ทุกคนควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและยิ่งใหญ่สมกับการที่ได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ และควรมีแผนที่และเข็มทิศชีวิตที่ ชัดเจนในการเดินหน้าต่อไป เนื่องจากชีวิตแสนสั้น เวลาผ่านไปรวดเร็วและไม่ย้อนกลับมา
  2. สติและปัญญาเป็นเครื่องมือป้องกันตัวเองได้ดีที่สุดในทุกกรณี โดยเฉพาะยุคที่ถูกล้อมไปด้วยข้อมูลข่าวสารทั้งจริงและเท็จ
  3. เจ้านายที่ดีต้องเป็นคนช่างสังเกต มีน้ำใจ ห่วงใย อาทร
  4. เป็นคนสำคัญนั้นดี แต่เป็นคนดีสำคัญกว่า
  5. ความสุขที่ยั่งยืน คือ การใช้ชีวิตที่สงบเย็นและพอเพียง

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

อรชร กิจสุบรรณ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ดร.จีระ ฯ

ศิษย์ขอส่งการบ้านค่ะ

ชื่อหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ (HR. Champions) (พิมพ์ครั้งที่ 5) พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของ 2 สุภาพบุรุษ ที่มีความแตกต่างในความเหมือนและมีความเหมือนในความแตกต่าง

ทั้งสองท่านถึงแม้จะต่างวัย ต่างคุณวุฒิ แต่มีพื้นฐานครอบครัวที่ดีเหมือนกัน มีใจตรงกัน เห็นตรงกันว่า “คน เป็นสินทรัพย์สำคัญ (ที่สุด) ขององค์กร และของประเทศ” ซึ่งผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยงพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลาเพื่ให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ตามความเห็นของผู้ที่คุ้นเคยกับท่านทั้งสองเห็นว่า ทั้งสองท่านต่างก็มี “หัวถึงฟ้า ขาติดดิน” ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่แท้จริง ทั้งสองท่านเน้นเรื่องวัดผล สนใจเรื่องความยั่งยืนระยะยาว และต่างก็สนใจแสวงหาความคิดใหม่ ๆ เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ท่านทั้งสองสนใจเรื่องเดียวกัน มีวิธีที่ต่างกัน แต่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการมุ่งมั่นพัฒนา “คน” ด้วยทฤษฎี 4L’s ของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่ในกรอบแนวคิดเดิม ๆ แบบแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน หากแต่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งไม่ได้คิดว่า “คน” เป็นเพียง “ต้นทุน” การผลิตเท่านั้น แต่ “คน” คือ “ผลกำไรที่แท้จริงขององค์กรหากได้รับการดูแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพโดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอและเป็นระบบ”

การพัฒนาคนจึงไม่ได้เป็นต้นทุนขององค์กร แต่เป็นการลงทุนที่ให้กำไรที่แท้จริง เนื่องจาก เมื่อองค์กรและผู้บริหารให้ความใส่ใจ ฝึกฝน อบรม หรือพัฒนาให้บุคลากรมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน รวมทั้งให้การดูแลชีวิตความเป็นอยู่และทุกข์สุขของบุคคลากรแล้ว ย่อมจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตขององค์กร แท้จริงแล้ว คุณภาพของ “คน” กับ “การเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement)” ล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด การพัฒนา “คน” กับ “การเพิ่มผลผลิต” เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จสองดอกที่น้อยคนนักจะมองเห็น

หนังสือเล่มนี้ เป็นชีวประวัติของสุภาพบุรุษ 2 ท่านที่มีวัยวุฒิ และคุณวุฒิต่างกัน แต่มีแนวคิดและเป้าหมายในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมือนกัน คือ คน เป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดในองค์กร

สุภาพบุรุษท่านแรกชื่อ “พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา” CEO ที่ทรงคุณค่ายิ่งของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสังคมรู้จักในฐานะผู้บริหารที่มุ่งมั่น เรื่องทรัพยากรมนุษย์ กล่าวได้ว่า บริษัทปูนซีเมนต์ไทยเป็นบริษัทเอกชนลำดับต้นๆ ที่ให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานบริหารทุกระดับชั้นผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยชั้นนำ TOP 10 ในต่างประเทศทั้ง short courses และปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จำนวนหลายร้อยคน และกล้าลงทุนนับล้านๆบาท เพื่อพัฒนาผู้บริหารที่มีความสามารถโดยจ้างผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่าง Wharton School แห่ง University of Pennsylvania มาพัฒนาพนักงานบริหารในประเทศไทย และยังส่งพนักงานบริหารไปเข้า Advanced Management Program และ Program for Management Development ของ Harvard Business School ติดต่อกันมาหลายปีจนทุกวันนี้ ท่านกล่าวว่า “เมื่อผมได้มาทำงานด้านบริหารบุคคล ผมก็เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ด้วยความเชื่ออันนี้เมื่อผมเกษียณอายุ ผมมองดูประเทศไทยแล้วพบว่า เด็กไทยเป็นสมบัติอันมีค่าที่สุดของประเทศไทย ผมจึงลงมาใช้ชีวิตบั้นปลายในเรื่องการศึกษา” ไม่มีใครเคยคาดเดามาก่อนว่า จากวิศวกรสู่การเป็นนักบริหารบุคคลมืออาชีพและนักอุตสาหกรรมมือฉมังในวันนี้ จะอิ่มสุขอยู่กับความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษารูปแบบใหม่ ภายใต้แนวคิด Constructionism อย่างเอาจริงเอาจังเพื่อสร้างความพร้อมให้เด็กไทยก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลก หรือ Global Citizen อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ นั่นคือต้องคล่องแคล่วใน 3 เรื่อง ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยี ดังการเกิดขึ้นของหลายโครงการตั้งแต่ Village that learn, School that learn, Industry that learn จนถึง Nation that learn ทั้งหมดนี้เป็น Mission ที่นำไปสู่ vision ที่ Being a competitive nation

สุภาพบุรุษท่านนี้เป็น “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้” การทำงานของท่านเป็นที่รู้จักและถูกกล่าวขานตลอดเวลา ประการสำคัญ ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการริเริ่มก่อตั้ง “สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ” เป็นคนจริงที่ทุ่มเทสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทั้งภาครัฐและเอกชนว่า “การเพิ่มผลผลิตคือกุณแจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข็งขันของทุกกิจการในเมืองไทย”

สุภาพบุรุษอีกท่านหนึ่งชื่อ “ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์” เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง จบปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ ก่อนได้รับปริญญาโทอีก 2 สาขา สอนหนังสือที่ธรรมศาสตร์ ครั้งแรกตอนอายุ 25 ปี สอนอยู่ 3ปี ได้ทุนร็อคกี้เฟลเลอร์ไปต่อปริญญาเอก 5 ปี จบกลับมาธรรมศาสตร์อีกทีก็อายุ 33 ปี ได้รับโอกาสเป็นประธานจัดตั้งสถาบันด้านแรงงาน แต่ถูกกรมแรงงานคัดค้านด้วยเกรงว่าจะทำงานซ้ำซ้อนกัน แต่ทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าบริหารสถาบัน ฯ เห็นด้วยและสนับสนุน แต่ให้หลีกเลี่ยงคำว่า “แรงงาน” ซึ่งในที่สุดก็เป็น “สถาบันทรัพยากรมนุษย์” ท่านเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์เมื่อปี 2523 (ไม่มีคำว่า “พัฒนา”) เป็นผู้อำนวยการถึง 4 สมัย ซึ่งไม่เคยมีในประวัติศาสตร์มาก่อนในระบบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุภาพบุรุษท่านนี้วิเคราะห์ตัวเองเห็นว่า การที่ตัวท่านมีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคมได้ทุกวันนี้ “ความเป็นธรรมศาสตร์”มีส่วนสร้างเพราะในเวลานั้น ธรรมศาสตร์เป็นแบรนด์ที่สื่อมวลชนให้ความสนใจมาก น้อยครั้งที่การเคลื่อนไหวทางความคิดด้าน HR ในรั้ว เหลืองแดง จะไม่ตกเป็นข่าว เนื่องจากท่านใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีอิทธิพลต่อนโยบายของประเทศ นอกจากนี้ยังได้ผลักดันให้มีการก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศขึ้นตามมติ คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต พ.ศ. 2539 มีนาย อาสา สารสิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานมูลนิธิคนแรก โดยตัวท่านเป็นเลขาธิการมูลนิธิ ท่านเป็นผู้เสนอในที่ประชุมคณะกรรมการสภาความมั่นคงแห่งชาติว่า ประเทศไทยควรตั้งองค์กรที่สามารถเป็น Think Tank ด้านทรัพยากรมนุษย์ระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ท่าน เคยพูดว่า ชีวิตท่านดูเหมือนจะมีโชคกับการสร้างองค์กร ทุกครั้งที่ “ต้นไม้ใหม่” ที่ท่านปลูกเริ่มหยั่งรากสะบัดใบ ในสมองของท่านมักจะเริ่มลงมือคิดจะปลูก”ต้นไม้ใหม่” อีกหน อย่างไรก็ตาม โดยประสบการณ์แล้ว ท่านพยายามเข้าไปศึกษาและยึดท่าน “พารณฯ” เป็นต้นแบบอยู่เสมอ

ท่านเป็นผู้ที่กล้ากระโดดออกมาจาก”กล่อง”โดยเกษียณตัวเองจากงานสอนประจำที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่ออายุ 55 ปี บนพื้นฐานแนวคิดว่า สามารถเป็นอาจารย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ท่านสามารถขยายฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ได้กว้างขว้างกว่าเดิมผ่านรายการโทรทัศน์ “สู่ศตวรรษใหม่” ที่ดำเนินงานต่อเนื่องถึง 16 ปี ทาง สทท.11 (NBT) และรายการ “คิดเป็น...ก้าวเป็น...กับ ดร.จีระ ฯ “ทางเคเบิลทีวี หรือรายการวิทยุ “สู้ต่อไป” ซึ่งต่อมาเป็น HUMAN Talk ทาง FM 96.5 อสมท. ทุก 6 โมงเช้าวันอาทิตย์

สุภาพบุรุษท่านนี้มีแง่คิดว่า ใครหลงยึดติดกับความเก่งของตัวเอง..อันตราย นอกจากนี้ ท่านชื่นชมท่าน ”พารณ ฯ“ ว่าเป็นต้นแบบของผู้ใหญ่ที่สังคมไทยต้องการ “สังคมเราไม่ได้ต้องการผู้ใหญ่ที่เก่งและดีเท่านั้น แต่ต้องการผู้ใหญ่ที่อบอุ่นด้วย”

ทั้งนี้ ทั้งสองท่านมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และทำงานอย่างต่อเนื่อง ถือเป็น “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”ที่แท้จริง

โดยสรุป หนังสือเล่มนี้นำเสนอเส้นทางชีวิตที่ทั้งสองท่านได้เดินทางผ่านมาแล้ว ซึ่งเต็มไปด้วยแง่มุมแง่คิดที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่คนรุ่นหลังในการที่จะเรียนรู้จาก ประสบการณ์ในการพัฒนาคนที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

หมายเหตุ
1. คำว่า “ปัญญา” ในบทที่1 หน้า 30 บรรทัดที่ 4 “.....เป็นองค์กรขับเคลื่อนเพื่อคนจน เกรงจะเป็นฐานซ่อนมวลกลุ่มชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งอาจสร้างปัญญาการเมืองต่อไป...” ไม่ทราบว่าพิมพ์ผิดหรือไม่ หรือว่าเป็นคำว่า “ปัญหา” คะ ?

  1. หน้า 47 ในตารางช่องขวา “4L’s พารณ” น่าจะเป็น “4L’s จีระ” ใช่หรือไม่คะ ?

ด้วยความเคารพยิ่ง

สุชาดา ศิโรรังษี

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ดร.จีระ ฯ

ศิษย์ขอส่งการบ้านค่ะ

ชื่อหนังสือ 8 K’s + 5 K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรับรองการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 นี้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ หนังสือนี้ให้สาระและแนวทางที่ดีสำหรับคนไทยในการนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและบ้านเมือง โดยท่าน ศ.ดร.จีระ ฯ ได้นำเอาแนวคิด 8 K’s + 5 K’s ซึ่งท่านได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจที่กระทรวงพาณิชย์และกำลังพยายามผลักดันให้เกิดการจัดตั้งสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจแห่งชาติ โดยเน้นให้มองโจทย์ 4 ข้อที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. Where are we ? 2. Where do we want to go ? 3. How to do it ? 4. How to do it successfully ?

ตามแนวคิดของท่าน ศ.ดร.จีระ ฯ ในหนังสือนี้ “คุณภาพของทุนมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่การเรียนในระบบหรือการมีปริญญาเท่านั้น แต่การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพคือ การมีปัญญา คิด วิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหาและสร้างความก้าวหน้า ความสำเร็จในชีวิตได้ นอกจากนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณชน สร้างทุนแห่งความสุข”

ทั้งนี้ ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ 8 K’s ของท่าน ประกอบด้วย
K1 ทุนมนุษย์
K2 ทุนทางปัญญา K 3 ทุนทางจริยธรรม K 4 ทุนทางความสุข K 5 ทุนทางสังคม K 6 ทุนทางความยั่งยืน K 7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT K 8 ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ หรือ ทุนอัจฉริยะ

สำหรับทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพเพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี 5 K’s ของท่าน ประกอบด้วย

1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์
2. ทุนทางความรู้
3. ทุนทางนวัตกรรม
4. ทุนทางวัฒนธรรม
5. ทุนทางอารมณ์

ทุนทั้งสองประเภทนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการเสริมสร้างศักยภาพของคน (ไทย) ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด สามารถแข่งขันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่กำลังจะมีการเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 หรือในโลกไร้พรมแดนได้

นอกจากนี้ ท่านยังได้ให้แนวคิดในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎี 4 L’s ของท่านอีกด้วย แนวคิดนี้ ประกอบด้วย

L 1 _ Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
L 2 _ Learning Environment คือ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
L 3 _ Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสในการเรียนรู้
L 4 _ Learning Communities คือ สร้างชุมชนในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น

แนวคิดของศ. ดร.จีระ ฯ ดังกล่าว เป็นภูมิคุ้มกันสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ประการสำคัญ ในการที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีต่างๆ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะภาครัฐต้องมีการเตรียมตัว ซึ่งก่อนที่จะได้เข้าอบรมหลักสูตรนี้และก่อนที่จะได้อ่านหนังสือนี้ เป็นความว้าวุ่น กังวลมากเพราะไม่มีหลักและแนวคิดที่จะยึดถือ และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นความอยู่รอดของคนไทย บ้านเมืองไทย

อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนา “ทุนมนุษย์” ให้มีคุณภาพไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง แต่เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำ และจะต้องช่วยกันทำทุกฝ่าย ทั้งตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หน่วยงาน รวมไปถึงภาพใหญ่ระดับชาติ หรือแม้แต่ในระดับโลก เพราะการมี “ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ” จะทำให้สังคมไทยและสังคมโลกพัฒนาไปบนพื้นฐานของความยั่งยืน ความสุข และความสมดุลของคนในสังคม

หนังสือเล่มนี้ ให้ประโยชน์ต่อข้าพเจ้าอย่างยิ่ง ทำให้ข้าพเจ้าหันกลับมาทบทวน ตรวจสอบทั้งในส่วนของตัวเองและในส่วนขององค์กร เป็นการ “หยุด” เพื่อหาทางที่ดีกว่าในการก้าวต่อไป เป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้ามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจต่อไปโดยใช้แนวคิดเรื่อง เป็นเครื่องมือในการนำทางอย่างมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อยที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัย รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่ยังไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ด้วยความเคารพยิ่ง

สุชาดา ศิโรรังษี

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ ดร.จีระ ฯ

ศิษย์ขอส่งการบ้านค่ะ

ชื่อหนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ตอนแรกที่ได้ทราบว่าต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ ขอเรียนท่านอาจารย์ตรง ๆ เลยว่าแอบค่อนอยู่ในใจว่า ให้อ่านในสิ่งที่ทราบอยู่แล้ว แต่พอมาอ่านจริง ๆ ก็ขอเรียนท่านอาจารย์ตรง ๆ อีกว่า อ่านไปยิ้มไป เมื่อถึงตอนถนน “ดิสโก้” อ่านไปน้ำตาไหลไปเมื่อถึงตอนที่สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกราบและหวีผมให้ แต่เมื่อได้อ่านจบแล้วก็รู้สึกว่า โชคดีที่ได้เกิดเป็นคนไทยเพราะมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่สุดในด้านคุณธรรมความดีงาม ความวิริยะอุตสาหะ ทรงทำเพื่อประโยชน์สุขของคนไทยและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นต้นแบบของโลกด้านนวัตกรรม และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ที่สำคัญที่สุดตามความเห็นของข้าพเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น“ต้นแบบ” แห่งความดีทั้งปวง พระองค์ท่านทรงได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกมาตลอดระยะเวลาตั้งแต่ขึ้นครองราชย์ นอกจากนี้ พระองค์ท่านยังทรงเป็นนักสังเกตที่ดีเยี่ยมอีกด้วย ท่านทรงสังเกตเห็นว่า “หญ้าแฝก” ช่วยชะลอการพังทลายของดิน จึงทรงได้รับการถวายรางวัลระดับโลก หรือการที่ท่านทรงสังเกตเห็นบาดแผลของข้าราชการที่ยืนมือสั่นกางแผนที่ถวายและแผนที่ปิดคลุมมือทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นนอกจากพระองค์ท่าน ซึ่งได้เสด็จไปหยิบพลาสเตอร์มาจากรถพระที่นั่งแล้วปิดแผลให้ข้าราชการผู้นั้น ประการสำคัญ หนังสือเล่มนี้ได้ทำให้ทราบถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านในการสร้างจิตสำนึกต่อแผ่นดินและการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ที่เป็นประชาชนของพระองค์ท่าน ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้เขียนได้นำเสนอเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีค่าอย่างยิ่ง ที่เป็นคำสอนของพระองค์ท่านหรือแง่คิดในเรื่องต่าง ๆ ที่พระราชทานแก่ข้าราชบริพาร เช่น คำสอนที่พระราชทานแก่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ที่ว่า
“มาอยู่กับฉันนั้น ฉันไม่มีอะไรจะให้นอกจากความสุขที่จะมีร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น” นอกจากนี้ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้ค้นคว้า “ธรรมะดีๆ” ที่พระเจ้าอยู่หัวของเราทรงยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติพระองค์ พระองค์ท่านทรง “ทำให้ดู” ทรง “อยู่ด้วยการให้” จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างจิตสำนึกต่อแผ่นดิน “ธรรมดีที่ “พ่อ” (ในที่นี้หมายถึง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”) ทำ ได้แก่ 1. ความกตัญญู 2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน 3. ความพอเพียง 4. ความซื่อสัตย์ 5. ระเบียบวินัย 6. ความอดทน
หมายเหตุ หน้า 265 ข้อ 5 ความอดทน ควรจะเป็น ข้อ 6 ธรรมดีที่ “พ่อ”ทำ ทั้ง 6 ข้อนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่พระองค์ท่านทรง “ทำให้ดู” ทั้งสิ้น ผู้ที่ดำเนินรอยตาม ธรรมดีที่ “พ่อ”ทำนี้ ไม่เพียงจะอยู่รอดในยุดอาเซียนเสรีเท่านั้น ในยุดโลกไร้พรมแดนก็อยู่ได้ นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังได้ประมวลภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยากไว้ครบถ้วน รวมถึงเนื้อหาที่สมบูรณ์สอดแทรกหลายแง่มุมที่แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักคนไทยมากมายเพียงใด ในยุคที่ประเทศไทยกำลังจะเปิดเสรีอาเซียนนี้ คนไทยควรจะมาร่วมผนึกเป็นใจดวงเดียวกันเผยแพร่ความดีอันงดงามนี้ไปยังเพื่อนคนไทยและคนทั่วโลก ทำให้ทุกอณูในแผ่นดินไทย เป็นดินแดนที่น่าอยู่ที่สุดในโลก และสร้างบุญใหญ่ด้วยการเจริญรอยตาม “ธรรมดีที่พ่อทำ” โดยเชื่อมโยงหัวใจ ถักทอความรักของตนแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยสองมือและหัวใจตัวเอง เพื่อให้โลกรู้ว่า...คนไทยโชคดีที่สุดที่มีพระเจ้าอยู่หัว และมีบุญสูงสุด ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อ พสกนิกร ได้ทุกลมหายใจเช่นนี้ ด้วยความเคารพยิ่ง สุชาดา ศิโรรังษี

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

วิจารณ์หนังสือหนังสือ 8K's+5K's ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน

 เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นหนังสือที่มีสาระและจะเป็นแนวทางที่ดีให้คนไทยนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้นเพราะการลงทุนเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์นั้นเป็นการลงทุนที่แม้จะใช้เวลาและทรัพยากรมาก แต่ก็คุ้มค่าที่สุด ในขณะที่คนส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพและการแข่งขันในด้านทุนนิยม โดยละเลยการพัฒนาด้านจริยธรรม คุณธรรมและคุณค่าแห่งชีวิต แต่การพัฒนาทุนมนุษย์ 8K's + 5K's ตามแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จะเป็นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ดังนั้น 8K และ 5K สามารถกล่าวโดยสรุปดังนี้

 8K โดยสรุป

 K1. ทุนมนุษย์ คนเมื่อได้รับทรัพยากรต่างๆ เข้าไปแล้วย่อมดูดซับ ประมวลผล

        และนำมา  ปฏิบัติได้ไม่เท่ากัน

  K2 ทุนทางปัญญา ปัญญาต้องมาจาก การรับรู้ มองในเชิงวิเคราะห์ การต่อยอด

        นำมาปฏิบัติ

   K3 ทุนทางคุณธรรม จริยธรรม สำคัญที่สุด ถ้าทุนมนุษย์ ทุนปัญญา ขาดคุณธรรม

         จริยธรรมก็จะ สร้างปัญหาให้สังคม คนขี้โกงที่อันตรายที่สุด

   K4 ทุนแห่งความสุข มาจากเป็นผู้ให้ ทำในสิ่งที่ตนเองและรอบข้างมีความสุข

   K5 ทุนทางสังคม เมื่อทั้ง 4 ทุนดี มีประสิทธิผล ทุนทางสังคมก็จะดี

   K6 ทุนแห่งความยั่งยืน ไม่ใช่มาจากความร่ำรวย ความสุขมีก็เป็นช่วงระยะสั้นๆ

        ไม่มีความยั่งยืน ต้องมาจากทุนทั้ง 5 ดังกล่าว

   K7 ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศ ถ้าการสื่อสารขาดตอน ความต่อเนื่องก็จะ

        ไม่มีความยั่งยืน

    K8 ทุนอัจฉริยะ ทักษะ และความรู้ ก่อให้เกิดอัจฉริยะ ซึ่งจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

 5K โดยสรุป

    K1 ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากจินตนาการที่เต้องนำมาปฏิบัติ

    K2 ทุนแห่งความรู้ ต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยทำจนเป็นนิสัย เรียนรู้ทุกวัน

          และต้องสังเคราะห์จากความรู้ที่ได้รับ

    K3 ทุนทางนวัตกรรม เกิดจาก K1 และ K2 ที่ถูกนำมาทำให้เกิดความเป็นจริง

         ในทางปฏิบัติ

    K4 ทุนทางวัฒนธรรม ต้องรักษาไว้ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตลอดเวลา

    K5 ทุนทางอารมณ์ เปรียบเหมือนกับความซื่อสัตย์ จะขาดไม่ได้

                     นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

               [email protected]

เรียน อาจาร์ค่ะ ตามที่ได้ส่งการบ้านวิจารณ์หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ ได้กลับเข้าไปอ่านหลังจากส่งไปแล้ว หัวข้อที่เป็นแนวคิดมีทั้งหมด 15ข้อ แต่พอส่ง หัวข้อกลับไม่เป็นแต่ละบรรทัดตามที่พิมพ์ และ ข้อ 11-15 ก็กลายเป็น 1-5 ทำให้ผิดความหมายไปเยอะเลยค่ะอาจารย์ ไม่ทราบว่าข้อความมันถูกบีบโดยอัตโนมัติหรือเปล่า เลยดูไม่สละสลวย กราบขอประทานโทษด้วยค่ะ

อรชร กิจสุบรรณ

วิจารณ์หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

 หนังสือเล่มนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดและทัศนคติด้านทรัพยากรมนุษย์ ผ่านบทสนทนาของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้ที่มีความเชื่อว่าพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการลงทุน มิใช่ต้นทุน ต้องเอาใจใส่ดูแลและพัฒนา โดยได้นำเสนอความคิดสอดแทรกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ พอจะสรุปประเด็นที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปพัฒนา ดังนี้
  1. องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี เราควรจะต้องดูแลบุคลากรตั้งแต่รับเข้าทำงาน ให้การอบรมพัฒนา จนกว่าเขาจะเกษียณออก ไป

  2. ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงาน เพื่อการเรียนรู้ข้ามศาสตร์

  3. ปัจจับที่จะทำให้เพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ คือสร้างวัฒนธรรมองค์กรเรื่องความจงรักภักดีและวินัยของคน

  4. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์กร

  5. การเปิดโอกาสให้คนที่มีศักยภาพได้เติบโตโดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโส เป็นวัฒนธรรมที่น่าชื่นชม

  6. การทำงานหากเน้นเรื่องการวัดผล จะมีความยั่งยืนในระยะยาว

  7. สังคมเราไม่ได้ต้องการผู้ใหญ่ที่เก่งและดีเท่านั้น แต่ต้องการผู้ใหญ่ที่อบอุ่นด้วย

  8. การศึกษารูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด Constructionism ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนลงมือทำสิ่งที่ตัวเองชอบ และบูรณาการ สิ่งอื่นเข้ามา เป็นการสร้างความพร้อมให้เด็กไทยก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลก อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และต้องคล่อง แคล่ว 3 เรื่อง คือ

       -  ภาษาไทย-อังกฤษ
       -  IT
       -  คุณธรรม
    
  9. คนเราต้อง เก่ง 4 ดี 4 กล่าวคือ

       -  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด และเก่งเรียน
       -  ประพฤติดี  มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม
    
  10. การทำงานควรมีเครือข่าย สร้างแนวร่วมกับหน่วยงานภายนอก และภายในองค์กรที่ทำงานต่างสายกัน

  11. ควรมีโลกทัศน์ที่กว้าง และมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

  12. เมื่อการแข่งขันมากขึ้นในอนาคตในยุคเสรีทางการค้า เราจะมองเรื่อง คน เฉพาะภายในไม่ได้ ต้องมองคนออกเป็น 2
    ประเภทคือคนภายในองค์กร และคนภายนอกองค์กร ซึ่งหมายถึงลูกค้า นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง การพัฒนางานค้องควบคู่ไปกับพัฒนาคน เพราะ "คน" จะเป็นผู้สร้างสรรค์ พัฒนางานให้บรรลุสู่เป้าหมายและส่งผลให้องค์กรยืนหยัดอย่างยั่งยืน

หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำพ่อทำ”

เป็นการเล่าเรื่อง พระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากคำพูดบทสัมภาษณ์ ข้อเขียน และบทบรรยายของผู้ที่เคยได้  ตามเสด็จฯ และถวายงาน มารวบรวม วิเคราะห์ เทียบเคียงกับคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นข้อคิดเพื่อให้ชาวไทยได้หันมาพิจารณาตนเอง และปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท

ธรรมดีที่พ่อทำ เป็นหนังสือเกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของคนไทย และชาวต่างชาติ ทรงเป็นที่สุดด้านคุณธรรมความดีงาม ความวิริยะอุสาหะ ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจนานัปการอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อย พวกเราโชคดีที่มีบุญที่ได้เกิดมาอยู่ในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นต้นแบบที่ดีที่สุดในโลก แต่เราไม่เคยทำตามท่านอย่างจริงจังเลย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเน้นย้ำอยู่เสมอว่าคนไทยต้องรวมพลัง ร่วมมือกันทำให้ประเทศชาติเจริญ ด้วยการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด อย่ามัวแต่คิดต้องลงมือทำเลยเป็นโอกาสทองของชีวิตที่เราจะร่วมกันสร้าง “บุญใหม่” ตามรอยพระยุคลบาทหน้าที่ของคนไทย คือทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรง “ทำให้ดู” ทุกสิ่งที่ท่านทำ ทุกโครงการในพระราชดำริสำเร็จลุล่วงด้วย อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ ท่านทำงานด้วยความรักที่จะทำนุบำรุงสุขแก่ประชาชน วิริยะ แม้ลำบากเพียงใดท่านก็เสด็จเยี่ยมเยียนประชาชนทุกหนทุกแห่ง จิตตะ ท่านความจดจ่อใส่ใจในงานที่ทำ วิมังสา ท่านคิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบและติดตามตรวจสอบงานที่ทำ

ท่านทรงงานด้วยใจ  ความสุขของพระองค์ท่านคือ ทรงอยากให้ประชาชนมีความสุข  ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ยอมเหนื่อยยากเพื่อคนไทยทุกคน เพื่อพัฒนาประเทศ

ท่านเรียนรู้ผ่านหัวใจด้วยการลงมือทำ ทรงงานสามารถอดทนปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้เป็นเวลานาน โดยไม่เหน็ดเหนื่อย

ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวมีหลัก 23 ข้อ ได้แก่

1.จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 2.ระเบิดจากภายใน 3.แก้ปัญหาจากจุดเล็ก 4.ทำตามลำดับขั้น 5.ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ 6.ทำงานแบบองค์รวมไทยคิดความเชื่อมโยง 7.ไม่ติดตำรา 8.ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด 9.ทำให้ง่าย 10.การมีส่วนรวม 11.ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 12.บริการจุดเดียว 13.ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 14.ใช้อธรรมปราบอธรรม 15.ปลูกป่าในใจคน 16.ขาดทุนคือกำไร 17.การพึ่งตนเอง 18.พออยู่พอกิน 19.เศรษฐกิจพอเพียง 20.ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ 21.ทำงานอย่างมีความสุข 22.ความเพียร 23.รู้รักสามัคคี

หลัก 23 ข้อนี้  เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง  คนไทยสามารถน้อมนำไปปฏิบัติ  ไม่ว่านำไปใช้กับการงานใด  ย่อมสำเร็จลุล่วงเสมอ
ผู้เขียนได้  วิเคราะห์พระราชกรณียกิจและพระบรมราโชวาทของพระเจ้าอยู่หัว  เปรียบเทียบกับศาสนาพุทธ  ทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงนำทศพิธราชธรรมมาปกครองประเทศและครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประเทศสุขของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง และคนไทยโชคดีแค่ไหนที่มีพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงรักคนไทยมากที่สุด

หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ 2 ผู้ยิ่งใหญ่ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ดร.จิระ หงส์ลดารมย์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งเป็นนักบริหาร, นักวิชาการ,นักคิด และนักปฏิบัติ ที่เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญของคนคือ คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด และเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร ดร.จีระ เป็นผู้ทุ่มเทให้กับการก่อตั้ง สถาบันทรัพยากรมนุษย์อย่างไม่รู้จักคำว่าเหนื่อย จนประสพความสำเร็จจนเป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับในระดับประเทศ และต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการและภาคธุรกิจเอกชน ก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องคน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์กร ทำให้องค์กรประสพความสำเร็จ ตลอดจนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า สำหรับคุณพารณ อดีตผู้บริหารระดับสูงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นผู้มีแนวคิดมีอุดมการณ์เช่นเดียวกับ ดร.จีระ คือ เห็นคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ด้วยคน คุณพารณ จึงเป็นผู้บริหารที่ทุ่มเท และเพียรพยายามในการพัฒนาพนักงานของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยให้มีความรู้ ความสามารถขึ้นเรื่อยๆ มุ่งเน้นการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องไม่หยุด ตลอดเวลาที่ทำงาน เช่นเดียวกับ ดร.จีระ ซึ่งมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ เผยแพร่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งในสถาบันของราชการ ธุรกิจเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อปลูกฝังความคิดเรื่องความสำคัญของคนให้ฝังรากลึก หนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอเรื่องราวของ 2 ผู้ยิ่งใหญ่ในรูปแบบการสนทนา ทั้งบทสนทนาโดยตรงจากท่าน และจากผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับท่าน ทำให้เข้าใจเสมือนเปิดโลกทัศน์ใหม่ในเรื่องความสำคัญของคนอย่างลึกซึ้ง เข้าใจคำว่ามนุษย์พันธุ์แท้คืออย่างไร และท่านทั้ง 2 ก็คือมนุษย์พันธุ์แท้ ของประเทศอย่างแท้จริง สมควรแล้วที่บุคคลที่ได้รู้จักท่านจะเคารพนับถือ และยกย่องท่านอย่างจริงใจ

หนังสือทฤษฎี ทุนมนุษย์ 8K’s บวก 5K’s เป็นทฤษฎีที่ ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ สร้างขึ้นเป็นทฤษฎีพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ เนื่องจาก ดร.จีระ ได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าของสังคมไทย เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนและจำเป็นต้องขยายวงออกไปให้กว้างมากที่สุด อย่างมีคุณภาพ เป็นการเตรียมคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้รองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี ค.ศ.2015

ทฤษฎี 8K’s ประกอบด้วย

K1 ทุนมนุษย์ (Human Capital) K2 ทุนปัญญา (Intellectual Capital - Networking) K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital) K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) K5 ทุนทางสังคม (Social Capital) K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) K8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital)

ทฤษฎี 5K’s (ใหม่) คือทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี  ประกอบด้วย
    1.ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Capital)
    2.ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)
    3.ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)
    4.ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)
    5.ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)

เมื่อศึกษาทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของดร.จีระ แล้วทำให้เข้าใจความสำคัญของเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น และตระหนักว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการอันดับแรก เพื่อเตรียมตัวการเป็นสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดร.จีระเป็นผู้มีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีศักยภาพ อย่างแท้จริง ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s สามารถนำไปเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ ทุกทฤษฎีมีความสำคัญเท่าเทียมกัน จนไม่อาจขาดทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีประโยชน์และอย่างมีคุณค่าอย่างยิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นับว่า ดร.จีระ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์อันยาวนาน ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถนั้น ลงบนหนังสือทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ที่อ่านง่าย เข้าใจง่ายน่าติดตาม เป็นหนังสือทางวิชาการที่ดีมากเล่มหนึ่ง

พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

หนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเอาพระจริยวัฒน์และพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่เก้า อีกทั้งข้อคิดสอนใจจากบุคคลสำคัญต่างๆที่ผู้เขียนได้ประสบมา เหล่านี้ล้วนแต่เป็นคุณธรรมอันน่าปฏิบัติตาม หนังสือเล่มนี้สอนทั้งการทำงานและการดำเนินชีวิต สอนให้มีความมุ่งมั่น พยามยาม เสียสละเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคำสอนที่ยังนำมาใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย เรียกได้ว่ามีความพอเพียงและยั่งยืนนั่นเอง ข้อคิดเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงเป็นหลักในการทำงาน ตัวอย่างเช่น การรู้จักหน้าที่, การทำเพื่อเพื่อนมนุษย์, อิทธิบาท 4, ความตั้งใจมั่น, การเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ, การมองภาพรวมและสภาพแวดล้อมของปัญหา, การประหยัด, การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมไปถึงเรื่อง one stop service และ การปลูกจิตสำนึกในใจผู้ทำงาน และ การมีความสุขกับการทำงาน, การคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ (Critical thinking) หรือ กาลามสูตร ตามหลักพระพุทธศาสนานั่นเอง, มีสติและสมาธิ, การรับฟังคำวิจารณ์ด้วยจิตใจที่เป็นกลาง คำพูดหนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวที่อ่านแล้วรู้สึกประทับใจก็คือ “จะท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน” เพราะการกระทำของเรานั้นนอกจากจะกำหนดชีวิตของเราเองแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความสำเร็จและอนาคตของหน่วยงาน เพื่อนร่วมงาน และประชาชนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอีกด้วย

วิญญา สิงห์อินทร์

วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 อ.ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ, อ.ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

                                      วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ
ทั้ง  2  อาจารย์นำเสนอหลักคิดที่น่าสนใจมาก  โดยเฉพาะของ  Peter   drucker  สาระสำคัญต้องค้นหาตัวเองให้เจอ  และเลือกอันที่ถูกต้องทำซึ่งสำคัญ   และต้องทำให้ถูกวิธี การทำให้ประสบความสำเร็จให้พิจารณา
-  เวลา  จะทำอะไร  ได้ทำอะไร
-  ลำดับการดำเนินการให้ความสำคัญก่อนหลัง
-  ร่วมทุกข์ ร่วมสุข
-  ดูจุดแข็ง
-  การคัดสินใจ
อ.ณรงค์ศักดิ์  เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ให้ความสำคัญกับการวิจัย  เพื่อจะ

Re brand กคช. จะอยู่ได้

วิญญา สิงห์อินทร์

วันที่ 17 กรกฎาคม 2555 อ.ประกาย ชลหาญ

 การบริหารการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยที่สำคัญในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
1.  ปรับทัศนคติของคนในองค์กรให้ไปทางเดียวกัน
2.  องค์กรขับเคลื่อนด้วยกระบวนการมากกว่าโครงสร้าง  ต้องมีกระบวนการทำงานให้ชัดเจน
            3.  ต้องเข้าใจลำดับก่อนหลังการเปลี่ยนแปลง  เพราะจะกระทบเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมา 
             4. สามารถคิดเชิงบูรณาการเป็นกระบวนการใหม่ทั้งองค์กรให้คนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อองค์กร
5.  สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ต้องยอมรับ  เช่นน้ำท่วมอุทกภัย  เป็นต้น
6.  ยอมรับความเป็นมืออาชีพของหัวหน้า (มีวินัย)
นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

วิจารณ์หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ 

               หากมีการตั้งคำถามว่า ในโลกปัจจุบัน ประมุขของประเทศใดเป็นที่รักและเคารพยกย่องอย่างสูงสุด ของทั้งคนในชาติและต่างประเทศทั่วโลก บุคคลนั้น คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของคนไทยทั้งประเทศ มีการตั้งคำถามกันมากมายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  ถ้ามองย้อนกลับไป 65 ปีที่ผ่าน จนถึงปัจจุบัน คำตอบที่ชัดเจนอยู่ในหัวใจคนไทยทุกคน คือ พระองค์ท่านทรงรักคนไทยมากที่สุด
    "ธรรมดีที่พ่อทำ" เป็นการสะท้อนความรู้สึกของ คนไทยผู้รู้สึกและสำนึกเสมอว่าตนเองโชคดีมีบุญได้เกิดมาอยู่ในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
     "ธรรมดีที่พ่อทำ" เป็นหนังสือที่เขียนด้วยหัวใจ เพื่อสะกิดความรู้สึกของคนไทยให้ลงมือกระทำ และเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในขณะที่ทุกคนยังมีโอกาส  และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญพระฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยากยิ่งมาตีพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้

                                                สุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                         [email protected]

วิญญา สิงห์อินทร์
    สรุปหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
คุณพารณ  เครือซิเมนต์ไทย  ให้ความสำคัญกับคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด  จนทำให้เครือซิเมนต์ไทยมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งเกิดขึ้นตามธรรมชาติตั้งแต่การคัดเลือกคนทำงาน  สืบทอดวัฒนธรรม  เพิ่มผลิตสร้างเครือข่าย  จนพนักงานมีความจงรักภักดีกับองค์กร  และคุณพารณ  มีความเป็นประชาธิปไตยในการบริหารให้ทุกคนมีส่วนร่วมตัดสินใจ  มองการพัฒนาอบรมคนเป็นการลงทุนไม่ใช่ต้นทุน  และคนเป็นผู้นำต้องอย่าดีแต่พูดต้องทำให้เกิดเป็นผลงานและจะมีศรัทธาตามมา  

สิ่งที่เครือซิเมนต์มีหลักสำคัญที่ควรยึดถือในการประเมินคน 2 องค์ประกอบ

ความสามารถในการทำงาน (ในหน้าที่)
                     การเป็นที่ยอมรับจากทุกระดับ
         ดร.จีระ  ในทรัพยากรทั้งหลายในการผลิต  ทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สุดเป็นผู้นำเสนอทฤษฎี  3  วงกลม  สำหรับการรับมือการเปลี่ยนแปลง  Change  management
         วงที่ 1   Context    เป็นองค์กรให้คล่องตัว  แวดล้อมเอื้อต่อการทำงาน  เน้นแบบ

Process ใช้ IT

          วงที่ 2  Competencies  สมรรถนะทักษะความสามารถโดยเน้นทักษะงานที่นำความรู้ที่เป็นประโยชน์องค์กร  ภาวะผู้นำริเริ่มสร้างสรรค์  ความรู้รอบตัว  
          วงที่ 3  Motivation  สร้างแรงจูงใจที่เป็นตัวเงินไม่เป็นตัวเงิน
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

หนังสือ “8K’s + 5K’s ทุนมนุษย์ของขนไทย รองรับประชาคมอาเซียน” โดย จีระ หงส์ลดารมภ์

หนังสือเล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ไทยเพื่อรองรับการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2015 นี้ เนื่องจากการเปิดเสรีอาเซียน โดยเฉพาะการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอันเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อคนทั่วทั้งภูมิภาค เช่นเดียวกับโลกาภิวัตน์ในด้านอื่นๆและที่อื่นๆของโลก ย่อมมีทั้งผู้ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากปรากฎการณ์นี้ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่เราจะเตรียมพร้อมโดยการพัฒนาทรัพยากรหรือทุนที่สำคัญที่สุด คือทุนมนุษย์นั่นเอง ทั้งนี้ด้วยการวางแผนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการตอบคำถามเช่น เราเป็นใคร อยู่ตรงไหน มีศักยภาพเช่นไร เป้าหมายของเราคืออะไร และทำอย่างไรจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ผู้เขียนได้แจกแจงว่าทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพนั้นจะต้องประกอบด้วย 8K’s คือ Human Capital การลงทุนในตัวมนุษย์เช่นการเลี้ยงดู การให้การศึกษาอบรม ในทุกช่วงอายุ, Intellectual Capital การมีวิสัยทัศน์ การคิดสร้างสรรค์ที่เหมาะกับสถานการณ์, Ethical Capital การมีจิตสำนึกในความถูกต้องและการทำเพื่อส่วนรวม, Happiness Capital มีความรักในงานที่ทำ และรู้ว่าควรจะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อการทำงานที่มีความสุข, Social Capital การสร้างเครือข่ายจะทำให้เราได้เปิดรับข้อมูลข่าวสาร ทักษะความรู้ และทำให้การเจรจาร่วมมือเป็นไปได้ราบรื่น, Sustainable Capital การพัฒนาอย่างยั่งยืนและพอเพียง ด้วยแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและทำได้จริงในระยะยาว, Digital Capital การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสื่อสารและค้นคว้าพัฒนาตนเอง, Talented Capital บุคคลากรจะต้องมีพร้อมทั้ง ทักษะ ความรู้ และทัศนคติที่ดีและไม่หยุดที่จะพัฒนา ทฤษฎี 5K’s นั้นถูกคิดขึ้นมาเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ของไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรี คือ Creativity Capital ความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ และคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ, Knowledge Capital ใฝ่หาความรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ, Innovation Capital การคิดใหม่ โดยเกิดจากแบ่งปันและมีส่วนร่วม, Cultural Capital ความเข้าใจในรากฐานทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของตนเอง, Emotional Capital การรู้จักควบคุมอารมณ์ ใช้สติและเหตุผล รวมไปถึงการมีภาวะผู้นำและการมองแง่บวก ที่สำคัญคือจะต้องรู้ว่า ASEAN Economic Community คืออะไร และส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร เช่นการแข่งขันทั้งในตลาดสินค้า, แรงงาน และทุน โอกาสที่ชัดเจนที่สุดคือการขยายตลาด จึงต้องเตรียมพร้อมโดยการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ เปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนความคิดกัน ทั้งนี้แม้จะเป็นการพัฒนาเพื่อการแข่งขันระดับระหว่างประเทศแต่เราต้องไม่ลืมภูมิปัญญาแบบไทยๆด้วย แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ – วิธีการเรียน บรรยากาศในการเรียน โอกาสในการแลกเปลี่ยน สถานที่เรียนเช่นบนอินเตอร์เน็ต - Key words – Reality & Relevance พัฒนาอย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และมีความเกี่ยวเนื่องกับตัวผู้เรียนเองและความต้องการของตลาดด้วย - Inspiration & Imagination แรงบันดาลใจ ความกระหายใคร่รุ้ และการคิดสร้างสรรค์ คิดวิพากษ์

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 2: ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2  รุ่น2

 

               -Vision เป็นแผนภาพระยะยาว ต้อง Sharpening ตลอดเวลา  ผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมกันกำหนด Vision และต้องมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

                - Mission เป็นภารกิจที่ต้องทำเพื่อสนองเป้าหมายของ Vision  เช่น Vision ของ

ประธานาธิบดี JOHN F. KENEDY คือส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์เป็นประเทศแรกMissionก็คือต้องสร้างยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์

                -นอกจากกำหนด Vision และ Mission  แล้ว จะต้องมี Core Value หรือแก่นนิยมขององค์กร เช่น Core Value ของกองทัพสหรัฐ คือ ความกล้าหาญ ศักดิ์ศรี ความถูกต้อง

                 -วิธีคิดทบทวนเพื่อกำหนด Vision คือ

             1) ศึกษา External Environment : คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี่ วัฒนธรรม ฯลฯ

   มองจุดแข็งกับจุดอ่อน อะไรจุดอ่อนก็ Vision เรื่องนั้นนัอยเพราะทำไม่ได้

             2) ศึกษา Internal Environment : คือ องค์กร คุณภาพคน วัฒนธรรม ฯลฯ

             3) อะไรที่เราทำได้ดีที่สุด อะไรที่เราทำยังไม่ดี

 

การบริหารกลยุทธ์องค์กร

           เราจำเป็นต้องมีเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Mission เปลี่ยนแปลงได้ งาน เงิน คน สำคัญที่สุด ต้องเปลี่ยนแปลงความคิดและเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลง  วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วย Change  รวมทั้งต้องจัด Priority  สิ่งที่จะส่งผลต่อ Vision และMission

          การสร้างการมีส่วนร่วม Bottom up , การทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( เช่น อบรมพนักงาน , มีเวทีแสดงความคิดเห็น, Best practices) , มี Innovation   รวมทั้งจะต้องมี Competitive Advantage สามารถนำไป Matching กับโอกาส  มีการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยขององค์กร มีการ Benchmarking ลักษณะการทำงาน การลงทุน กับองค์กรที่มีลักษณะใกล้เคียงจะช่วยทำให้องค์กรมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้……นี่คือแนวความคิดที่ได้เรียนรู้จากการอบรมในคาบนี้

 

………………………………………

         

       

             

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 3 : วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ

โดย: นพดล  ว่องเวียงจันทร์ รอง ผอ.พส2 รุ่นที่2

 

               จากการฟังบรรยายในครั้งนี้ ทำให้ได้ประเด็นท้าทาย การเคหะฯ และข้อนำองค์ความรู้จากกาบรรยายมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ดังนี้ คือ

-  Competitive Environment  การเคหะฯ ต้องสามารถวางยุทธศาสตร์ที่แม่นยำในการ   

     แข่งขันให้ได้  มิฉะนั้นองค์กรจะอยู่ไม่ได้ โดยจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้

ช่องว่างทางการตลาด : สินค้าของการเคหะฯ คือการสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยจนถึงปานกลาง  ปัจจุบันมีคู่แข่งเข้ามาจับลูกค้าในกลุ่มรายได้ปานกลางมากขึ้น เช่น บริษัทพฤกษา  เรียลเอสเตท  บริษัทลุมพินีทาวน์เวอร์  ดังนั้นยังเหลือสินค้าในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยยังเป็นกลุ่มลูกค้าของการเคหะฯ อยู่  และเป็นกลุ่ม Mass ด้วย

พฤติกรรมผู้บริโภค : ลูกค้ากลุ่มนี้ยังภักดีต่อสินค้า Brand การเคหะฯอยู่หรือไม่ ? ขอตอบว่าลูกค้ากลุ่มนี้มีทางเลือกไม่มาก เนื่องจาก โครงการของภาคเอกชนต้องเก็บเงินดาวน์บ้านก่อนจำนวนหนึ่ง และค่อยให้ลูกค้าทำสัญญาจ่ายกับธนาคาร ซึ่งถ้า Post Finance ไม่ผ่านลูกค้าก็ซื้อไม่ได้  ซึ่งการเคหะฯมีข้อได้เปรียบในเรื่องนี้ เพราะเก็บเงินดาวน์น้อยมาก และสามารถให้ลูกค้าเช่าซื้อกับการเคหะฯได้ถ้า Post Finance กับธนาคารไม่ผ่าน ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากกว่าโครงการเอกชน

                    แต่ปัญหาที่ต้องระวังก็คือ การเคหะฯต้องสร้างระบบการจัดเก็บเงินค่าผ่อนชำระ  บ้านให้มีความยืดหยุ่นพอสมควร ถ้ายังคงยึดระบบผ่อนส่งให้ครบทุกดือนแบบธนาคาร การเคหะฯจะมีปัญหาหนี้เสียแบบนี้ตลอดไป เพราะลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีสภาพการเงินไม่คล่อง จึงโดนธนาคารปฎิเสธ  ปัญหาหนี้เสียต้องมีแน่นอนแต่มีเท่าไรที่การเคหะฯยอมรับได้

เนื่องจากการเคหะฯ หากินกับลูกค้ากลุ่มเสี่ยงจึงต้องมีการบริหารความเสี่ยงเผื่อไว้ด้วย เช่น สร้างระบบผ่อนส่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นค่าเช่ารายดือนได้กรณีที่ลูกค้าขัดสนเงินในช่วงนั้น

และเปลี่ยนเลนมาผ่อนตามปกติเมื่อลูกค้ามีสภาพคล่อง  ทางเลือกแบบนี้เป็นนวัตกรรมทางด้านการผ่อนส่งที่ธนาคารคนจน (Grameen Bank) ที่บังคลาเทศใช้อยู่ ทางเลือกแบบนี้จะทำให้การเคหะฯมีหนี้เสียน้อยลงมีเงินเข้าระบบมากขึ้น และทำให้คนจนโดนยึดบ้านน้อยลง

การวิเคราะห์การผลิต :

       การเคหะฯ ได้เปรียบเอกชนในเรื่องราคาขาย เพราะมีเงิน Subsidy อุดหนุน รวมทั้งไม่ต้องเข้ากฎหมายจัดสรรที่ดิน และมีกฎหมายอาคารสำหรับผู้มีรายได้น้อยเป็นตัวช่วย

       แต่ในเรื่อง Product การเคหะต้องพัฒนาให้ดูทันสมัยและสนองประโยชน์ได้มากขึ้น ของราคาถูกก็ทำให้เท่ห์ได้ เช่น รถนิสสันมาร์ช เป็นตัวอย่าง ถึงเป็นรถราคาถูก แต่รูปทรงและประสิทธิภาพก็โดนใจทุกคน

            ระบบการผลิตก็เช่นกัน  การเคหะฯต้องออกแบบและวาง Line การผลิตในระบบอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ เพราะการก่อสร้างในระบบ Mass Product ต้องเป็นระบบอุตสาหกรรมชิ้นส่วนสำเร็จรูปเท่านั้นจึงจะก่อสร้างได้เร็วและประหยัดค่าก่อสร้าง  แต่ในปัจจุบันการเคหะฯยังออกแบบในระบบ Conventional ที่ต้นน้ำ และให้ผู้รับจ้างเสนอเป็นแบบอุตสาหกรรมมา ทำให้การเกิดทำงานที่ซับซ้อนและเสียเวลา

วิเคราะห์การตลาด : การเคหะต้องสร้าง Add Value ในตัวสินค้าซึ่งการได้รับ Subsidy ทำให้สินค้าของการเคหะสามารถขายในราคาที่ต่ำกว่าที่เป็นจริงได้ซึ่งเป็น Add Value ตัวหนึ่ง / โครงการของ การเคหะฯเป็นโครงการสำหรับผู้มีรายได้น้อยแต่ มีความน่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน เพราะเป็นโครงการของรัฐจึงต้องปฎิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารและกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด/มีการพัฒนาชุมชนหลังการอยู่อาศัย/ ความสะดวกในการเข้าถึงโครงการ และการผ่อนชำระที่สามารถยืดหยุ่นได้ ซ่งน่าจะนำมาเป็นจุดขายเพิ่มความสนใจให้ลูกค้ามากขึ้น

วิเคราะห์การเงินและต้นทุนโครงการ : การเคหะฯต้องพยายามลดต้นทุนโครงการเพื่อสามารถแข่งขันในตลาดได้ เช่น ลดขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างการก่อสร้าง  การทยอยแบ่งเฟสส่งงานเป็นส่วนๆแทนการก่อสร้างจนแล้วเสร็จทั้งโครงการ เพื่อให้กระแสเงินเข้าระบบได้เร็วขึ้นเพื่อลดภาระดอกเบี้ยและบรรจุลูกค้าเข้าอยู่ได้เร็วขึ้นช่วยแก้ปัญหาลูกค้าจองอาคารแล้วทิ้งเนื่องจากต้องรอบรรจุพร้อมกันทั้งโครงการ

            นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การเคหะฯจะต้องมีการบริหารจัดการตัวแปรต่างๆที่จะส่งผลกระทบต่อ การเคหะฯ ด้วยคือ   Political / Social / Economic / Technology / Ecology / Law

 

………………………………

 

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่4: การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

โดย นพดล ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ. พส2  รุ่นที่2

 

         -การบริหารจัดการทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์   (Strategic Human Capital Management: SHCM)

คือการเค้นเอาขีดความสามารถของบุคคลในองค์กรไปทำแผนยุทธศาสตร์ให้บรรลุและสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์องค์กรให้ประสบผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้

        -Vision / Mission / Strategic ต้องได้รับการปฏิบัติโดยทุนมนุษย์ในองค์กร

       -ปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ประกอบด้วย

1)  ประชากร (People)

2) กระบวนการ (Process)

3) เทคโนโลยี่ ( Technology)

     สิ่งสำคัญที่สุดในปัจจัย 3 ตัวนี้คือ คน หรือ ทุนมนุษย์   และ ทุนมนุษย์ในองค์กรเป็นเหมือนทรัพย์สิน สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

        -กระบวนการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ( SHCM Planning)

1) วิเคราะห์กลยุทธ์ ปัจจัยภายนอกและภายใน

2) กำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร

3) วิเคราะห์แรงงานในองค์กร และเปรียบเทียบส่วนที่ต้องเพิ่ม-ลด คนรวมทั้ง Skill ส่วนไหนต้องเสริมให้พนักงานในองค์กร

4) กำหนดแผนปฏิบัติการในการรับคนเข้ามา และแผนพัฒนาทักษะความสามารถเพื่อให้ทำงานได้ ตามแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้

         -องค์กรในอนาคตต้องการคนมีทักษะในการทำงานหลากหลาย (Generalist) มากกว่าคนมีความรู้เฉพาะทาง ( Specialist)

          -การสร้างทุนมนุษย์ สร้างด้วย

1) Competency –C1 : โดยการฝึกอบรม การศึกษา การสัมมนา การประชุม การดูงาน ฯลฯ

2) Commitment –C2: สร้างด้วยการดูแลจิตใจ

    -Contributtion : จัดให้มีเวที สัมมนา ประชุมกลุ่ม สร้างเครือข่าย  เปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

   - Intellectual Capital (I.C.) = C1xC2

    -เครื่องมือสร้างทุนมนุษย์ : Learning Oganization, Best Practices, Multi-Level Market,Balanced Scorecard,  etc

    -Learntng Organization(L O) : หมายถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ที่ทุกคนสามารถสามารถขยายขอบเขตความสามารถของตนเป็นที่ส่งเสริมให้เกิดและขยายแนวคิดใหม่ๆออกไป สามารถแสดงออกทางความคิดอย่างมีอิสระและเป็นที่ที่เรียนรู้ด้วยกัน  LO ทำให้องค์กรยั่งยืน การตั้ง LO ในองค์กรเหมือนปลูกต้นไม้ ให้มีผลไม้คือความรู้ ( Knowledge) โดยมี KM ( Knowing Management) เป็นการบริหารจัดการต้นไม้

   - ข้อบ่งชี้ของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ :

              -ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรประกาศนโยบาย LO

              -ทรัพยากรในองค์กร เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องสมุด  ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ ฯลฯ 

                พร้อมใช้งาน

              -พนักงานมีจิตใจใฝ่รู้

              -เวทีนำเสนอเปิดกว้างและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

    - การพัฒนาทุนมนุษย์ ต้องมี

              - Knowledge : ถ้าเรารู้ทฤษฎีพื้นฐานเวลาลงสู่ภาคปฏิบัติจะง่าย

              - Skill: ต้องมีทักษะเชิงความคิด รู้จักใช้เทคโนโลยี่ พูด เขียน ฟัง สังเกต เป็น

              -Efficiency: มีสมรรถนะ มีความสามารถ

 

………………………………

 

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 5 : การบริหารธุรกิจในยุค Asean Economic Community (AEC)

โดยนพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ. พส2 รุ่นที่2

 

             กลุ่มประเทศอาเซียน(Assosiation of South East Asian Nations)หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2510 ประกอบด้วย 5 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ต่อมา ปี2527 ประเทศบรูไน เข้าร่วม

             ปัจจุบันกลุ่มประเทศอาเซียนมีสมาชิกอยู่  10 ประเทศ โดยมี กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เข้ามาเป็นสมาชิก และได้มีการกำหนดกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียน คือ เขตการค้าเสรีอาเซียน( AFTA)  กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (AFAS) และเขตการลงทุนอาเซียน (AIA)

              ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN  Economic  Community :AEC)

              จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2558  โดยประเทศสมาชิก 10 ประเทศของกลุ่มอาเซียน

เป้าหมายหลักของ AEC คือ เปิดเสรีทางการค้า การลงทุน การบริการและแรงงาน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน เงินทุน งานบริการ สินค้าได้เสรี เปิดโอกาสให้นักลงทุน ในชาติอาเซียนเข้าไปถือหุ้นในสาขาบริการได้ถึง 70% ในปี 2558 ( เทคโนโลยี่สารสนเทศ สุขภาพ ท่องเที่ยว การบิน

ลอจิสติกส์ ) และลดภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 0% (ยกเว้นสินค้าในกลุ่ม High Sensitive List ส่วนสินค้าในกลุ่ม Sensitive List ต้องเก็บภาษีน้อยกว่า 5%)

           นอกจากนี้ AEC ยังให้นักวิชาชีพในอาเซียนสามารถจดทะเบียนหรือขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในประเทศนั้นๆ โดยมี 7 สาขาอาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร นักสำรวจ นักบัญชี

         แผนงานสำคัญภายใต้ AEC Blueprint

1)            เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม :คือตลาดอาเซียนรวมเป็นหนึ่งเดียว ประมาณ 570 ล้านคน

เลือกใช้วัตถุดิบ แรงงาน เทคโนโลยี่และสถานผลิตจากที่ต่างๆในอาเซียนได้

2)            เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน: ความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่นไม่มีกำแพงภาษีสินค้าที่ส่งมาขาย  การคุ้มครองผู้บริโภค   ทรัพย์สินทางปัญญา  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

3)            การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

4)            การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก: เช่น จัดทำเขตการค้าเสรี ( Free Trade Area:FTA) กับประเทศนอกภูมิภาค ASEAN-China , ASEAN-Korea,  ASEAN-Japan,ASEAN-India

ASEAN-Australia/NewZealand, ASEAN-EU, ASEAN- US(TIFA)

 

  ผลประโยชน์จาก AEC :

-เป็นตลาดขนาดใหญ่ ประชากรกว่า 570 ล้านคน

-Economy of Scale

-ดึงดูดการลงทุนจากประเทศนอกอาเซียน

-ได้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียน

-วัตถุดิบ ต้นทุน ถูกลง ขีดความสามารถแข่งขันสูง

-เพิ่มกำลังต่อรองกับประเทศต่างๆ

-แนวร่วมในการเจรจาต่อรองเวทีการค้าโลก WTO

-เป็นที่สนใจประเทศอื่นที่จะมาทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)        

             สินค้าที่ไทยจะได้เปรียบใน AEC คือ สินค้าเกษตรและอุปโภค บริโภค สินค้าหัตกรรม สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าที่ไทยจะเสียเปรียบคือ น้ำมันปาล์ท(มาเลเซีย) เมล็ดกาแฟ(เวียดนาม)  มะพร้าว(ฟิลิปปินส์) และชา(อินโดนีเซีย)

               บริการที่ไทยจะได้เปรียบ คือ การท่องเที่ยว บริการด้านสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล  สปา

นวดแผนไทย บริการที่ไทยจะเสียเปรียบ เช่น โลจิสติกส์ โทรคมนาคม สาขาที่ต้องใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยี่สูง ธุรกิจสถาปนิกขนาดกลางและขนาดเล็ก

             โอกาสและความท้าทายต่อการเคหะฯ

       -แหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้น เงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี การทำโครงการร่วมทุนขนาดใหญ่มีโอกาสสูง เช่น โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง

      -มีการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้จังหวัดที่ติดชายแดนของไทยจะเกิดการพัฒนา พื้นที่ตามบริเวณนี้ของ การเคหะฯจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและจะมีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น

     -การเคหะสามารถใช้ประสบการณ์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยไปร่วมทุนหรือเป็นที่ปรึกษากับโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับรัฐบาลในกลุ่มประเทศ AEC ได้ เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม ไม่มีการเคหะแห่งชาติ

     -การเคหะฯต้องมองให้กว้างขึ้น จะสู้กับคนที่จะมาแข่งอย่างไร ในเรื่อง Know How/ทุน/แรงงาน/เทคโนโลยี่  คู่แข่งจะมีมาก การเคหะฯต้องหาระบบก่อสร้างต้นทุนต่ำ

     -การเคหะฯในบริบทของอาเซียนควรทำบริษัทลูกให้เร็วขึ้นเพื่อความคล่องตัวในการลงทุนและการทำงาน

     -การเคหะฯ ต้องปรับ Mind set ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดขององค์กร ต้องมองอย่างเป็นระบบ ไม่รู้จริงลำบาก หรือรู้จริงแต่ปรับไม่ได้ก็ลำบาก

     -ต้องตั้งคำถามจาก What เป็น Why และทำอย่างไร พยายามบริหารสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 6 : การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย นพดล ว่องเวียงจันทร์ รอง ผอ. พส2 รุ่น2

       - ความเสี่ยง ( Risk) คือ สิ่งที่อาจขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้

        - บริหารความเสี่ยง ( Risk  Management )เพื่อ 

1) ให้เกิดความเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่า การดำเนินการในองค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 2) ตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีทางเลือกมากกว่าหนี่งทางเลือก และในแต่ละทางเลือกไม่ทราบผลลัพท์ที่แน่นอน ไม่มีข้อมูลในแต่ละทางเลือกให้พิจารณา

     - ความเข้าใจผิด 3 ประการเกี่ยวกับความเสี่ยง
1)   ความเสี่ยงเป็นสิ่งเลวร้าย  : จริงๆแล้วความเสี่ยงไม่เลวร้ายเพราะมีแง่บวกด้วย คือเพิ่มโอกาสบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  ทำให้องค์กรเกิดการพัฒนา

2) ต้องกำจัดความเสี่ยงให้หมดสิ้น : ความเสี่ยงไม่สามารถทำให้เป็นศูนย์ได้ เพียงแต่ควบคุมได้ 3) ไม่เสี่ยงเลยจะทำให้ปลอดภัย : แต่จะทำให้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เป็นปัญหานวัตกรรมองค์กร

  • ประเภทของความเสี่ยง S O F C 1) Strategic Risk : ความเสี่ยงจากการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินการ และการนำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อม 2) Organization Risk: ความเสี่ยงอันเกิดจากการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่งเป็นผลมาจากบุคลากร กระบวนการทำงาน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการทุจริตภายในองค์กร 3) Financial Risk : ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านการเงินขององค์กร 4) Corporate Risk: ความเสี่ยงอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ โดยครอบคลุมถึงกฎระเบียบหน่วยงานภายในและภายนอกที่กำกับดูแลองค์กร

  • หลักการประเมินความเสี่ยง : จะดู 2 ปัจจัย คือ 1) ความเป็นไปได้ของโอกาสที่จะเกิดเรื่องนั้น มาก น้อย แค่ไหน ( Likelihood ) 2) ความรุนแรงของผลกระทบ มาก น้อย แค่ไหน (Impact) เช่น โอกาสเกิดน้อย เกิดแล้วผลกระทบไม่รุนแรง ก็ไม่ต้องควบคุมความเสี่ยงให้เปลืองทรัพยากร ถ้าโอกาสเกิดสูง เกิดแล้วผลกระทบรุนแรง สร้างความเสียหายต่อการดำเนินงานและภาพลักษณ์องค์กร ก็จะต้องมีการบริหารและควบคุมความเสี่ยง

  • การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง ( Risk Prioritisation ) = โอกาสที่จะเกิด x ผลกระทบx โอกาสและความสามารถในการปรับปรุงความเสี่ยงx กรอบเวลาในการปรับปรุงความเสี่ยง

  • หลักการจัดการความเสี่ยง ( Address Risk Responses ) 1) ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ( Pre-Event Control) : ถ้าลดได้ก็บริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล แต่บางเรื่องลดโอกาสเกิดไม่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ แต่ลดความเสียหายได้ 2) ลดผลกระทบความเสี่ยง ( Post-Event Control ): เช่นใส่หมวกกันน็อคลดความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ 3) แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง ( Emerging Opportunity )

  • 5Ts ของ การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) 1) ยอมรับความเสี่ยง (Toerate): ถ้าต้นทุนการจัดการความเสี่ยงไม่คุ้มกับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น 2) การลด/ควบคุมความเสี่ยง ( Treat): การควบคุมทั้งโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้ 3) กระจาย/โอนความเสี่ยง (Transfer): ผ่องถ่ายให้บุคคลที่สามร่วมรับความเสี่ยง เช่น การประกันภัย 4) การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ( Terminate): ความเสี่ยงบางอย่างควบคุมได้ ด้วยการยกเลิกเป้าหมาย โครงการ งานหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง 5) การฉวยใช้ประโยชน์ ( Take): ความเสี่ยงบางอย่างนำมาซึ่งโอกาสในการบริหารจัดการ เช่น ความเสี่ยงในการโดนปรับถ้าก่อสร้างไม่เสร็จทันเวลา ทำให้ต้องจ้างมืออาชีพมาบริหารจัดการงานก่อสร้าง

  • กระบวนการบริหารความเสี่ยง เทคนิคในการลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น : เช่นมีการตรวจสอบ มีการจัดทำคู่มือการทำงาน มีการอบรม มีการควบคุม มีการสอนงาน มีการจัดทำแผนล่วงหน้า มีการวิจัยและพัฒนา มีการทดสอบ เทคนิคในการลดผลกระทบ : เช่น ทำประกันภัยกระจายความเสี่ยง มีการสื่อสารสาธารณะ มีแผนพลิกฟื้นภัยพิบัติ มีการกำหนดเงื่อนไขสัญญา มีแผนสำรอง มีแผนป้องกันการทุจริต

    ลดแหล่งที่จะเกิดความเสี่ยง
    
    • การควบคุมความเสี่ยงตามหลักการควบคุมภายใน: ก่อน รูปแบบการควบคุม Directive : ควบคุมก่อน เช่น กำหนดให้ทำตามหลัก กฎเกณฑ์ และกระบวนการที่กำหนดไว้ การฝึกอบรมก่อนการทำงาน ควบคุมความปลอดภัยในที่อันตราย Preventive: กันไว้ เช่น การควบคุมเพื่อลดผลกระทบไม่พึงประสงค์ให้น้อยที่สุด เช่น การเซ็นต์เช็คสั่งจ่าย การแบ่งหน้าที่เพื่อป้องกันการทุจริต
    • การควบคุมความเสี่ยงตามหลักการควบคุมภายใน: หลัง รูปแบบการควบคุม Detective : การควบคุมที่มุ่งค้นหาผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไรเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนาคต เช่น การทบทวนหลังการนำนโยบายบางอย่างไปปฏิบัติ การตรวจนับสินค้าคงคลัง Corrective : การควบคุมที่มุ่งแก้ไขผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือบรรเทาผลกระทบให้ทุเลาลง เช่น การเขียนเงื่อนไขสัญญาให้มีการชดใช้ / การทำประกันภัย
  • ประโยชน์ของการบริหารจัดการความเสี่ยง : นอกจากทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้แล้ว ยังเกิด 1) ทำให้เกิดการสื่อสารในองค์กร 2) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสีย 3) ส่งเสริมการปรับปรุง พัฒนา 4) ช่วยเรื่องการควบคุมภายใน 5) ลดผลกระทบ การตื่นตระหนก 6) สร้างความมั่นใจผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย 7) พบโอกาสใหม่ๆ 8) สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์และแผนธุรกิจ

  • ความเสี่ยงภายในองค์กร (Internal Risk) ไม่ค่อยมีปัญหา เราควบคุมได้ แต่ ความเสี่ยงภายนอก (External Risk) กับ ความเสี่ยงของแผนยุทธศาสตร์ ( Strategic Plan) สำคัญต่อองค์กรเพราะควบคุมไม่ได้ ได้แต่ควบคุม (Prevent)

  • การกำหนดวัตถุประสงค์ความเสี่ยง ต้อง S M A R T คือ 1) Specific : เฉพาะเจาะจง ทุกคนเข้าใจชัดเจน 2) Measurable: สามารถวัดผลการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ 3) Achievable: สามารถบรรลุผลได้ ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด 4) Relevant: มีความเกี่ยวข้อง สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมาย 5) Timeliness: มีการกำหนดเวลา

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ - งบประมาณ คือ แผนการปฎิบัติงาน + แผนการใช้จ่ายเงิน แผนการปฏิบัติงาน คือ แผนที่แสดงถึงความตั้งใจในการปฏิบัติในห้วงระยะเวลาหนึ่ง แผนการใช้จ่ายเงิน คือ แผนที่แสดงทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับทรัพยากร - งบประมาณแผ่นดินประเทศไทยสถิติ ไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์ของ GDP - ทรัพยากรทางการเงินมีจำกัด แต่ความต้องการไม่จำกัด จึงต้องจัดทำการบริหารงบประมาณ เชิงกลยุทธ์ - การจัดทำงบประมาณไม่มีสูตรสำเร็จ ถ้ามีข้อมูลเพียงพอจะช่วยตัดสินใจได้ดีขึ้น มีแค่การใช้การเจรจาต่อรองทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการให้ดีที่สุด - งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน = การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (เป้าหมาย) + แผนงาน+ แผนเงิน+ การควบคุมและการประเมินผล - การมีข้อมูลจริง มีจริยธรรม ปราศจากอคติ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการงบประมาณ - ถ้าองค์กรสื่อสารกันไม่ชัดเจน แต่คิดว่าเข้าใจเพราะมีประสบการณ์ร่วมกัน อาจประสบผลเสียหายได้ - โลกเปลี่ยนตลอดเวลา แต่องค์กรยังทำงานแบบเดิมๆ งบประมาณไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมดเพราะมีจำกัด ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ให้ถามว่า ทำทำไม? เปลี่ยนได้ไหม? บางอย่างไม่เกิดประโยชน์ต้องเลิกทำ - ข้อพึงระลึกในการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 1) กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล แหล่งข้อมูล ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการเก็บ ต้องครอบคลุม ถูกต้อง ทันสมัย 2) วัดผลการดำเนินงานแล้วต้องนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนงาน ถ้าไม่คิดนำไปใช้อย่าวัด เสียเวลา 3) ผู้บริหารต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับการประเมิน 4) การวัดผลการดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาไม่ใช่จับผิด ไม่บรรลุก็หาสาเหตุและปรับปรุง 5) ผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายองค์กรและติดตามประเมินผลประจำ 6) ในการกำหนดตัวชี้วัด ควรระดมความคิดเพื่อกำหนดประเด็นที่ต้องการวัด และตัววัดเสียก่อน 7) อย่าเขียนตัววัดเพื่อชี้นำประเด็น 8) เขียนอธิบายสิ่งที่ต้องการวัดให้ชัดเจนเพื่อใช้ในการตรวจสอบหากเกิดข้อสงสัย รวมทั้งสามารถพัฒนาตัวชี้วัดให้ดีขึ้นในอนาคต

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 7 : วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2 รุ่นที่2

 

          -การทำงานต้องคำนึงถึง

1) Efficiency : ประสิทธิภาพ สมรรถภาพ เลือกทำในสิ่งที่ถูก ( Do the right things ) ซึ่งมีมากกว่า 1 วิธี มากกว่า 1 กระบวนการ ในการไปถึงจุดหมาย ดังนั้นต้องเลือกทำให้ถูกวิธีด้วยเพราะถ้าเลือกทำผิดวิธี จะทำให้ประสิทธิภาพในงานนั้นลดลงด้วย

2) Effectiveness : ประสิทธิผล การสัมฤทธิ์ผล เป็นการเลือกทำถูกวิธี(Do the things right )

 

-                   Peter Drucker ให้หลักการ 5 ประการในการทำให้เกิด Effectiveness

1)            Time Management  : ต้องรู้จักบริหารเวลา

2)            Priority : รู้จักจัดลำดับความสำคัญของงาน อะไรทำก่อน อะไรทำหลัง

3)            Contribution: รู้จักแบ่งสัดส่วนการทำงานต่างๆคุ้มค่ากับเงินและเวลาที่เสียไป

4)            Strength: ให้ดูจุดแข็งในการทำงาน จุดอ่อนที่ไม่เกี่ยวกับงานไม่ต้องไปดู

5)            Problem solving: ตัดสินใจเป็นระบบ

 

-                   การเป็นผู้บริหารที่สร้างสรรค์ : ในธุรกิจที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ ซึ่งอเมริกา

ครอบครองธุรกิจนี้ประมาณ 10% ของโลก

1)            การโฆษณาประชาสัมพันธ์: ประเทศภูฏาน , K-POP ของเกาหลี ให้บริษัทอเมริกาทำBranding ให้

2)            งานสถาปัตยกรรม

3)            งานศิลปกรรม

4)            สินค้าศิลปะพื้นบ้าน

5)            งานออกแบบ

6)            งานธุรกิจแฟชั่น

7)            งานภาพยนตร์

8)            งานดนตรี

9)            งานการแสดงละคร

10)     ธุรกิจการพิมพ์

11)     งานวิจัยและพัฒนา: เรา Copy&Development ก็ได้ไม่ต้อง Research&Development

12)     งานธุรกิจ Software

13)     ของเล่นและเครื่องกีฬา

14)     ทีวีและวิทยุ

15)     ธุรกิจวีดีโอเกมส์

          การเคหะฯ จะนำแนวคิดในธุรกิจเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของการเคหะได้อย่างไร เช่น

วารสารบ้านและเมือง จากทำแจก มาทำขายได้ไหม (ธุรกิจสิ่งพิมพ์)/งานหัตถกรรมของคนในเคหะชุมชน มาขายในงานต่างๆ ฯลฯ

 

-Creative Thinking:  โลกทุกวันนี้ผ่านยุค Modern ไปแล้ว  ที่เน้นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ยุคนี้เป็น Post Modern หรือยุคสหวิทยาการ คนต้องรอบรู้ข้ามศาสตร์ เช่น หมอมาเป็นนักธุรกิจ นักร้อง

( Multi Disciplinary)  การเคหะฯ เกี่ยวกับอาเซียนได้ไหม ,หมู่บ้านการเคหะฯเป็นหมู่บ้านWirelessVillage & EcoVillage, การเคหะฯ ทำโครงการที่อยู่อาศัยรองรับผู้สูงอายุในสังคมไทย (Aging  Society) ฯลฯ

-Competitive advantage : ขีดความสามารถของการเคหะฯ ยังมีอยู่หรือไม่ หา network พันธมิตรกับการเคหะฯ เช่น ที่การรถไฟ  ที่กรมธนารักษ์  ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อลดต้นทุนค่าที่ดินสร้างความได้เปรียบการแข่งขันเอกชน การเคหะฯไม่ต้องใช้กฎหมายจัดสรรทำบ้านเดี่ยวน้อยกว่า 50 ตรว. ได้

-การเคหะฯ ต้อง Reset เพื่อ Reborn และ Reborn เพื่อ Rebrand

-ความรู้แต่ละสาขาต้องนำมา Integrate

-เดี๋ยวนี้ สินค้าไม่ใช่เรื่อง Function แต่เป็นเรื่อง Emotional รวมทั้งต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไป ด้วย นักการตลาด นักพัฒนา กำลังคิดความเป็นตัวตนของผู้ใช้(Self) เข้าไปด้วย

 

………………………………………

 

 

 

 

             

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ครั้งที่ 8 : การบริหารการเปลี่ยนแปลง ( Change Managemet )

โดย นพดล   ว่องเวียงจันทร์   รอง  ผอ. พส2 รุ่นที่2

 

         ทำไมต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง  เหตุผลก็เพราะ โลกเราทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี่ ประชากร  สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมผู้บริโภค ฯลฯ

         “ Change  before you are Forced to change”  Jack Welch  (ประธานและ CEO ของบริษัท

General Electric ) กล่าวไว้

         เราต้องประเมินการเปลี่ยนแปลง และคาดเดา ให้ได้มากและแม่นยำกว่าคนอื่น จึงจะบริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดี รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการเรื่องความเสี่ยงด้วย

         การเคหะฯ จึงต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ก็เพราะมีแรงขับจากภายนอก ( External Force) ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจาก เศรษฐกิจ  สังคม การเมือง นโยบาย  ประชากร สิ่งแวดล้อม ลูกค้า ฯลฯ กับแรงผลักดันจากภายใน ( Internal Force ) ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจาก นโยบาย

เทคโนโลยี่ ในองค์กร โครงสร้างการบริหาร  การเงิน  หัวหน้างาน พนักงาน ฯลฯ

         สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1)            ต้องปรับทัศนคติ ยอมรับความเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก องค์กรมีความซับซ้อนการบริหารคนไม่เหมือนบริหารเครื่องจักร เพราะคนมีความคิด มีจิตใจ บางคนต่อต้านความเปลี่ยนแปลง

2)            ต้องเข้าใจว่าองค์กรในปัจจุบันขับเคลื่อนโดย Process มากกว่าโครงสร้าง เพราะว่างานทุกอย่างทำโดย Process  / การทำงานทุกอย่าง Process ต้องชัดเจน / Process จะเป็นตัวผลักดันองค์กร ประกันคุณภาพ ความถูกต้อง

3)            ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง First order of change กับ Second oder of change คือการเปลี่ยนแปลงใหญ่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงย่อยๆตามมา

4)            ต้องคิดเชิงบูรณาการ คิดครบกระบวนการ ดูภาพใหญ่ขององค์กรเป็นหลัก ทั้งด้านนโยบาย

การทำงาน กลยุทธ์  งานใดสำคัญต่อองค์กรก็จะต้องทำด้วยความตั้งใจ

       5)  ต้องยอมรับการทำงานกับเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ เพียงแต่ เรา   

             มีแผนบริหารและรับมืออย่างไร

6)            ต้องยอมรับในมืออาชีพของหัวหน้า ทุกคนไม่ได้เก่งเสมอ แต่ต้องยอมรับและให้ความ 

ร่วมมือ จะได้บริหารการเปลี่ยนแปลงได้ดี

 

 

Sussess factor of Change Management

1)            อย่าหยุดพัฒนาปรับปรุงเพราะพอใจกับความสำเร็จในอดีต ต้องสร้าง sense of urgency

2)            ต้องได้รับการสนับสนุนจาก Stakeholder  เช่น จากกระทรวง รัฐมนตรี ผู้ว่า กคช ลูกค้า

ผู้รับเหมา พนักงาน ฯลฯ

3)            ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

4)            เวลาทำงานต้อง Quick win อะไรได้ผลประโยชน์ง่ายๆต้องเก็บเกี่ยวไว้ก่อน

5)            ต้องมีแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีการวางแผน  การตรวจวัด  การสื่อสารที่ดี

6)            ต้องคิดเสมอว่า การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนี่งของการพัฒนาองค์กร

Ge’s Change Model : Change Acceleration Process

1)            สร้างความต้องการร่วม ( Creating A Shared Need)

2)            สร้างความฝันที่สัมผัสได้ ( Shaping A Vision )

3)            ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ( Mobilizing Commitment)

4)             สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ยั่งยืน ( Making Change Last)

5)            ติดตามความก้าวหน้า (Monitoring Progress)

…………………………………..

Finance for Non Finance & Financial Perspective

        การวิเคราะห์ทางด้านการเงิน (Financial Analysis) ความมุ่งหวังเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของบริษัท โดยดูจาก

1)             Profitability ratio  ความสามารถในการทำกำไร

2)             Asset management   บริหารทรัพย์สินอย่างไร

3)             Dept ratio  ดูทรัพย์สินต่อหนี้

4)             Liquidity ratio  ดูสภาพคล่องของบริษัท ,คน

5)             Trend Analysis  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

การลงทุน (Investment) มี 2 แบบ

-                   ลงทุนโดยตรง : ได้ผลตอบแทนโดยตรงจากการดำเนินงานเอง เช่น เปิดกิจการทำธุรกิจต่างๆ

-                   ลงทุนทางอ้อม: ได้ผลตอบแทนจากการไปร่วมลงทุน เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล  ซื้อหุ้น

ผลตอบแทนการลงทุน : ดูได้ 2 แบบคือ

-                   คิดในรูปของตัวเงิน ข้อเสียคือเปรียบเทียบไม่ได้ระหว่างการลงทุนในแต่ละธุรกิจ เช่น กำไร 10 ล้านแต่ไม่ได้บอกว่าลงทุนเท่าไร คืนทุนกี่ปี

-                   คิดในรูปแบบร้อยละ จะเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างธุรกิจได้ชัดเจนกว่า โดยปรับฐานการลงทุนเป็นร้อยละ ลงทุนในระยะเวลา1 ปี ได้กำไรเท่าไร ในแต่ละธุรกิจ

 

การทำ Project Financing

-                   การหาแหล่งเงินและการจัดสรรเงิน จากภายในและภายนอกองค์กร

-                   พิจารณาการลงทุน  โครงการนี้คุ้มค่าหรือไม่ ( Project Feasibility)

     - Marketing  :  Demand&Supply/ ราคาขายเท่าไร

            - Production :  ลักษณะสินค้า / ต้นทุนการผลิต

            -Operation    : ผลิตอย่างไร / ขายอย่างไร

-     ผลตอบแทนการลงทุน  (Return on Investment ) :ผลตอบแทนรูปแบบไหน ทางสังคม

       หรือ ทางการเงิน  /ถ้าผลตอบแทนน้อยกว่าดอกเบี้ยที่กู้มา ก็ไม่ควรลงทุน

-                   ต้นทุนเงินทุน( Cost of capital or cost of  fund)

เครื่องมือตัดสินในการทำ Project Financing

-                   ดูจุดคุ้มทุน ( Break – Even ) :เช่น ขายเกินกว่านี้แล้วเป็นกำไร เช่นเอกชนขายเกินครึ่งแล้วกำไร

-                   ระยะเวลาคืนทุน : ใช้เวลาเท่าไรคืนทุน

-                   NPV ( Net Present Value ) : รายได้ในอนาคตมาคิดมูลค่าปัจจุบันถ้าเกินกว่ามูลค่าการลงทุนในปัจจุบันคือกำไร ดังนั้นถ้า NPV เป็นบวกคือกำไร NPV เป็นศูนย์แสดงว่าเท่าทุน

NPV เป็นลบแสดงว่า ขาดทุน

-                   IRR ( Internal Rate of ReTurn ): เป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่จุดเท่าทุน หาก

นำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนเงินทุนแล้ว ถ้า IRR มากกว่าคือกำไร / IRR น้อยกว่าคือขาดทุน/ IRR เท่ากันคือเท่าทุน เช่น กู้มาลงทุนดอกเบี้ย 7% และ IRR เท่ากับ 7% ก็ไม่ควรลงทุนเพราะเท่าทุน ต้องดูว่ามีผลตอบแทนด้านอื่นอีกไหม

 

……………………………………..

 

 

 

 

       

วิจารณ์หนังสือ “ 8K’s+5K ” s : ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียน”

ในปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าอาเซียนได้เข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยทั้งในเรื่องของการค้า การบริการ การผลิต และอื่นๆ เมื่ออาเซียนได้มีแนวคิดในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ในปี 2558 ทำให้สมาชิกทั้ง10 ประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน จึงกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก 
ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนจึงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนดังกล่าวด้วย โดยการเตรียมพร้อมควรจะเริ่มต้นจาก “ มนุษย์ ” นั้นคือ ประชาชนในประเทศนั้นเอง ซึ่งอนาคตของประเทศนั้นจะเป็นอย่างไรก็ย่อมขึ้นอยู่กับคนในประเทศว่ามีศักยภาพมากน้อยเพียงใด  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เสนอมุมมองการพัฒนาคุณภาพของคนให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คนไทยเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน (ASEAN Citizen) โดยการนำแนวคิด/ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) และ ทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ(5K’s New) มาเป็นแนวทางสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 
ทุนมนุษย์ทั้ง 13 ทุน จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของคนไทยในการรองรับการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน โดยแนวความคิดดังกล่าวนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ให้เป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี และมีคุณธรรมไปพร้อมๆกัน อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นกรอบในการวางแผนพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างให้หน่วยงานและองค์กรมีภูมิต้านทานพร้อมรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นหากหน่วยงานหรือองค์กรใดได้นำแนวคิด “ 8K’s+5K’s” ไปปฏิบัติอย่างจริงจังก็เชื่อได้ว่าจะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนต่อไปในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานหรือองค์กร รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติด้วย

วิจารณ์หนังสือ “ ธรรมดีที่พ่อทำ ” โดยพรรณี วิชิต รุ่น 2

การออกแบบปก รูปภาพประทับใจ หากจ้องภาพนั้นนานๆ น้ำตาแห่งความปลื้มปิติ และความคิดถึงในองค์สมเด็จย่าของผู้อ่าน อาจรินไหลออกมาอย่างไม่รู้ตัว ดูภาพแล้วคิดอะไรต่อไปได้อีกเยอะ สำนึกอะไร ได้อีกมาก คิดถึงแม่ คิดถึงย่า คิดถึงยาย คิดถึงบุพการี ผู้สูงอายุที่เราเคารพนับถือ

รูปเล่ม  เหมาะมือ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป โดยเฉพาะการให้สีสันที่หวานเหลือเกิน ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าสีชมพูยังเป็นสีที่แสดงความเคารพและจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช          มีสีม่วงแซมบางส่วน เหมือนสีประจำสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง คือ “ชมพู-ม่วง ดวงใจ”

เนื้อหาภายในเล่ม ต้องติดตามอ่านแทบทุกตัวอักษร เพราะแต่ละข้อความหรือเหตุการณ์ที่ผู้เขียนนำมาเผยแพร่ต่อผู้อ่านนั้นล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของประชาชนคนเดินดินธรรมดาอย่างเราๆ เป็นอย่างมาก ยิ่งอ่านยิ่งรู้จักเบื้องลึก เบื้องหลัง ของพระองค์ท่านว่าท่านเป็นผู้เสียสละเพื่อพสกนิกรอย่างไร “ คนไทยโชคดีที่สุด ที่มีพระเจ้าอยู่หัว ” จะเป็นคำขวัญประจำประเทศไทย ก็อาจจะได้เพราะทุกคน จะมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน เสียดายที่หลายคนอาจไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ต้องขอบคุณ อารจารย์จิระ หงส์ลดารมณ์ ที่ทำให้ดิฉันมีโอกาสทองของชีวิตได้รับทราบพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างที่บางเรื่องไม่มีโอกาสได้รับทราบมาก่อน ยุทธศาสตร์ของพระองค์ คือ การเข้าใจ เข้าถึงราษฎรของท่านและพัฒนาคน พัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของผู้บริหารหน่วยงานได้ผู้นำจะต้องเรียนรู้ รับรู้ เข้าใจ เข้าถึง การทำงานของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

ทุกบทความ ทุกคำพูด ที่หยิบยกมารวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ ช่างลึกซึ้งกินใจ เกินกว่าที่จะอธิบายให้เข้าใจถึง “ แกน ” ของความรู้สึกของผู้อ่าน รูปภาพประกอบเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ตราตรึงอยู่ใน ความทรงจำของพสกนิกรทุกคน พระจริยวัตรและพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่สุดของคุณงามความดีที่พสกนิกรควรยึดถือและปฏิบัติตาม ผู้เขียนพยายามเรียงร้อยภาษาให้อ่านแล้วสบายใจ เมื่อถึงจุดที่แทรกพระราชดำรัสต่างๆก็จะเน้นความสำคัญของถ้อยคำดังกล่าว แต่ละพระราชดำรัส ช่างกินใจและเฉียบคม จนต้องอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อทำความเข้าใจกับความหมายของพระราชดำรัสนั้น

เนื้อหาและภาพประกอบ อาจดูไม่สมดุลเพราะภาพเยอะมาก แต่เป็นการพักสายตาทำให้เป็นการอ่านหนังสือที่สบายๆ การจัดหน้าหลวมๆ ทำให้ผู้อ่านไม่เครียด ประกอบกับสีภาพเย็นตา ยิ่งทำให้สนุกแบบได้อรรถรสและคุณธรรมสอนใจไปในคราวเดียวกัน

ข้อเสนอแนะ ท่านผู้เขียน เขียนเนื้อหาในเล่มนี้ต่อเนื่องกันไปในลักษณะที่ไม่ได้แบ่งหมวด หรือประเภทของพระราชกรณียกิจ ทำให้เหมือนอ่านแล้วสลับเรื่องสลับไปสลับมา หากท่านเรียบเรียง เป็นภาคหรือกำกับหัวเรื่องให้ชัดเจนขึ้น น่าจะสมบูรณ์แบบกว่านี้ เช่น แบ่งเป็นเรื่องการครองตน ครองคน ครองใจ ใส่ใจพสกนิกร เอื้ออาทรในสภาพความเป็นอยู่ เคียงคู่ประชาชน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณอาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ที่ทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้ถึงพระกรณียกิจอันล้ำเลิศของพระเจ้าอยู่หัวของเขา เพราะลูกหลานเหล่านี้ไม่ได้เห็นภาพแห่งความเป็นจริงเหมือนรุ่นพวกเรา


วิจารณ์หนังสือ “ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ”

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว โลกมีลักษณะไร้พรมแดน  ระบบเศรษฐกิจมีเสรีภาพมากขึ้นทำให้เกิดการแข่งขันสูง ประเทศใดที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพย่อมได้เปรียบ อันเนื่องมาจากมนุษย์นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประเทศ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาก็ด้วยความคิดและฝีมือของมนุษย์ มนุษย์จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ในทางกลับกันหากทรัพยากรมนุษย์ไม่มีศักยภาพเพียงพอประเทศนั้นจะอ่อนแอและขาดความเข้มแข็งในที่สุด  ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญโดยจะเป็นรากฐานในการสร้างความแข็งแรงให้กับประเทศ  
หนังสือทรัพยากรพันธุ์แท้ นี้เป็นหนังสือที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ และยังให้แง่คิดทางด้านการบริหารของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงลักษณะความเป็นผู้นำควบคู่ไปกับหลักคุณธรรม โดยทุกคนในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ อันจะนำไปสู่การเกิดความสามัคคีขึ้นในองค์กร นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังเน้นเรื่องการวัดผล ในการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้สามารถทำงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ได้เป็นอย่างดี    
แนวคิดการบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์ดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับหน่วยงานหรือองค์กร เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั้นล้วนมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพและความสำเร็จขององค์กร หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า บุคลากรกลายเป็นเป็นตัวกำหนดทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การนั้นเอง การนำแนวทางการบริหารการจัดการดังกล่าวไปปฏิบัติก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานและองค์นั้นๆ อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติต่อไป

อรพิณ สุขทรงศิลป์ การเคหะแห่งชาติ (รุ่น2) สรุปหนังสือ : ธรรมดีที่พ่อทำ

     คนไทยโชคดีที่มี Idol ที่ยอดเยี่ยม คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อมี Idol แล้วเราต้อง 

I do ด้วยเพราะทุกคนต้องมีหน้าที่

หน้าที่ของคนไทยคือทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัว ทรง “ทำให้ดู” ทรง “อยู่ด้วยการให้” ด้วยหัวใจสีขาวของพวกเราทุกคน และการทำหน้าที่ของเราอย่างสุดกำลังความสามารถนี่แหละน่าจะเป็นสิ่งที่เราสามารถตอบแทนพระคุณพระเจ้าอยู่หัวได้ด้วยตัวเราเอง

เคล็ดลับในการทำงานที่พระองค์ทรงแนะนำคือ อิทธิบาท 4 ได้แก่

   -ฉันทะ  หมายถึง การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ
  - วิริยะ หมายถึง ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในการงาน
  - จิตตะ หมายถึง ความจดจ่อใส่ใจในงาน 
  - วิมังสา หมายถึง คิดใคร่ครวญอย่างรอบคอบ / ตรวจสอบ

หลัก ๒๓ ข้อ ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว

     ข้อที่ ๑ จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 
    ข้อที่ ๒ ระเบิดจากภายใน 
    ข้อที่ ๓ แก้ปัญหาจากจุดเล็ก 
    ข้อที่ ๔ ทำตามลำดับขั้น 
    ข้อที่ ๕ ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ 
    ข้อที่ ๖ ทำงานแบบองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง 
    ข้อที่ ๗ ไม่ติดตำรา 
    ข้อที่ ๘ ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด 
    ข้อที่ ๙ ทำให้ง่าย 
    ข้อที่ ๑๐ การมีส่วนร่วม 
    ข้อที่ ๑๑ ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 
    ข้อที่ ๑๒ บริการจุดเดียว 
    ข้อที่ ๑๓ ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 
   ข้อที่ ๑๔ ใช้อธรรมปราบอธรรม 
   ข้อที่ ๑๕ ปลูกป่าในใจคน
   ข้อที่ ๑๖ ขาดทุนคือกำไร 
   ข้อที่ ๑๗ การพึ่งตนเอง 
   ข้อที่ ๑๘ พออยู่พอกิน 
   ข้อที่ ๑๙ เศรษฐกิจพอเพียง 
   ข้อที่ ๒๐ ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 
   ข้อที่ ๒๑ ทำงานอย่างมีความสุข 
   ข้อที่ ๒๒ ความเพียร 
   ข้อที่ ๒๓ รู้ รัก สามัคคี
  • ทำด้วยใจ หมายถึง ทำทุกอย่างด้วยใจบริสุทธิ์ ไมใช่ทำตามอำเภอใจ
  • เรียนรู้ผ่านหัวใจไม่ใช่สมอง
  • รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ -ผู้ใดมีสติตลอดเวลา ผู้นั้นจะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าตลอดเวลา
  • หมั่นรักษาความเป็นกลางของหัวใจ
  • ความเลวร้ายของคนเราก็ คือ การชอบที่จะพูดถึงแต่ความผิดพลาดของคนอื่น ความโง่เขลาของคนเราก็ คือ การไม่ชอบที่จะฟังถึงความผิดพลาดของตนเอง
  • อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ

-เป้าหมายสำคัญของการเกิดมาเป็นมนุษย์คือการพัฒนาและฝึกฝนตนให้ผ่านบททดสอบครั้งสำคัญในเส้นทางเดินแห่งสังสารวัฏ บุคคลใดที่สอบผ่านก็ไม่ต้องกลับมาซ้ำอีก แต่หากใครสอบไม่ผ่านก็จะเจอบททดสอบเดิมซ้ำอยู่ร่ำไป

  • ความซื่อสัตย์และความกตัญญู ความรักที่ภักดี ยิ่งกว่าชีวิตตัวเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการมากที่สุดในปัจจุบัน • มนุษย์นั้นอยู่เหนือกรรม เพราะมีสิทธิ์เลือกกระทำ แต่หากไม่เลือก ผู้นั้นย่อมมีชีวิตตามยถากรรม • การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องหาความสมดุลของสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่
       1. ร่างกาย 
       2. ความรู้สึก 
       3. สติปัญญา
       4. จิตวิญญาณ มโนสำนึก
    

    -ชีวิตนั้นเกินกว่าจะเป็นทุกข์ และมัวคิดถึงแต่เรื่องของตนเอง

  • คุณสมบัติของ “กัลยาณมิตร” ผู้เป็นมิตรแท้และผู้นำทางปัญญามี ๗ ประการ ได้แก่ น่ารัก /น่าเคารพ/น่ายกย่อง/มีวาทศิลป์/มีความอดทนต่อถ้อยคำ/ทำเรื่องยากให้ง่าย/ไม่แนะนำในเรื่องอันไม่ควร” -เป็นคนสำคัญนั้นดี แต่เป็นคนดีสำคัญกว่า -ไม่มีสิ่งใดเที่ยงธรรมไปกว่าผลของกรรม จึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปทำหน้าที่แทรกแซง เพราะไม่ว่าจะเก่งเพียงใด ก็ไม่มีใครเก่งเกินกรรมที่ตนทำไว้ • คนดีทำให้คนอื่นดีได้ • มนุษย์ จึงแปลว่า ผู้มีใจสูง • “ความดี” ศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่แท้จริงอยู่ที่ศีลห้า • เกิดเป็นมนุษย์ควรแข่งกันสูง ไม่ใช่แข่งกันต่ำ • “ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข” “ธรรมดี” ที่พ่อทำและควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้แก่/ ความกตัญญู / ความอ่อนน้อมถ่อมตน / ความพอเพียง (พอเพียง คือ การอยู่ได้ด้วยตนเอง พอประมาณ คือ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก พอดี คือ พอแล้วดี มิใช่ดีแล้วจึงพอ) / ความซื่อสัตย์ / ระเบียบวินัย/ ความอดทน ทำความดี หลักปฏิบัติ จะต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดี ตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งระเบียบให้แก่ตัวเอง รักษาความดี สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงปรารถนาคือ
    • อยากจะเห็นคนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของแต่ละคนที่ต้องทำ
    • มีความรักความเมตตาเป็นองค์ประกอบสำคัญ และให้มีความสมัครสมานสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นเอกภาพ ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัวมี ๒ ประการ คือ ธรรมชาติ และ ธรรมดา

สรุป หนังสือเล่มนี้สอนหลักการดำเนินชีวิต และหลักการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคมโดยเดินตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น Idol

อรพิณ สุขทรงศิลป์ (รุ่น 2) สรุปหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

       หนังสือเล่มนี้ได้พยายามชี้ให้เห็นความมุ่งมั่นของบุคคล 2 ท่านผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งได้แก่คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ โดยนำประสบการณ์ของท่านทั้งสอง มาเผยแผ่ให้ชนรุ่นหลังได้นำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด สมกับที่ท่านทั้งสองได้ทุ่มเท มุ่งมั่นมาตลอดชีวิตที่ผ่านมา
เบื้องหลังแนวความคิดในเรื่องนี้ คือ “คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร” ความสำเร็จ  ต่าง ๆขององค์กร มาจากการมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ขณะเดียวกันบุคลากรต้องเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม และจริยธรรม รักและผูกพันต่อองค์กร ทุ่มเทให้องค์กรด้วยใจ เมื่อองค์กรและบุคลากรประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีจุดหมายร่วมกัน ความสำเร็จขององค์กรก็เป็นที่หวังได้ไม่ยาก
ประสบการณ์ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร             ในบ.ปูนซีเมนต์ เช่น 
  • พนักงานระดับหัวหน้าจะต้องเปิดประตูตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องเข้าพบได้ง่าย รู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน
  • การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุน (Investment) ไม่ใช่ต้นทุน (cost)
  • คนที่จะพาองค์กรประสบความสำเร็จได้ต้องทั้งเก่ง ทั้งดี เรียกว่า “เก่ง4- ดี4 ” -เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งเรียน -ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม
    -   นอกจากการให้ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากรแล้ว ยังพัฒนาไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจด้วย
    -   ปลูกฝังให้คนทำงานเป็นทีม และสนับสนุนให้บุคลากรใฝ่รู้ตลอดเวลา
    
    • ให้กำลังใจคนที่ทำดี แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย เพื่อเป็นตัวอย่างและกระตุ้นให้ทำดีต่อไป -ทำอะไรต้องทำจริง ต่อเนื่อง มองผลระยะยาว

      ประสบการณ์ของดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เช่น

  • ทุ่มเทกับการสร้างสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายใน เมืองไทยในขณะนั้น ท่านต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย ต้องใช้ทั้งความสามารถ ความมุ่งมั่น เพื่อฝ่าฟัน อุปสรรคต่าง ๆ กว่าจะประสบความสำเร็จได้
  • ให้ความสำคัญกับเป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าจะคิดถึงเรื่องทุน จะเน้นคิด งานก่อนแล้วหาเงินทีหลัง ไม่ใช่มีเงินแล้วทำ
  • ทฤษฎี 3 วงกลม ของ ดร.จีระ วงกลมที่ 1 Context –บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ วงกลมที่ 2 Competency – สมรรถนะของบุคลากรในองค์กร
    วงกลมที่ 3 Motivation – แรงจูงใจ
  • การลงทุนในคุณค่าของคนนั้นจะวัดจากการศึกษาอบรมอย่างเดียวไม่ได้ต้องดูด้วยว่าบุคคลเหล่านั้นมีความสามารถในการสร้างผลผลิตได้แต่ไหน
  • เน้นให้ทุกคนรักการอ่าน และต้องวิเคราะห์ให้เป็น เรียนรู้ตลอดชีวิต และต้องเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์ด้วย
  • ทฤษฎีสำคัญของ ดร.จีระ เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้แก่
    -ทฤษฎี 4L’s-Learning Method, Learning Environment, Learning Opportunity และ Learning Communities
                   -ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s     
    ดร.จีระ ท่านเห็นความสำคัญและมุ่งมั่นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาก ผลงานต่างๆ ของท่านมีมากมาย จนกลายเป็น Brand ของท่าน หรืออาจจะเรียกได้ว่า “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือจีระ”  หรือ “จีระคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” 
    สรุปหนังสือเล่มนี้สอนให้เรารู้ว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีค่ายิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร   แต่การพัฒนาต้องเน้นทั้งด้านความรู้และคุณธรรม เพื่อให้ทั้งองค์กรและบุคลากรก้าวหน้าไปพร้อมๆกันอย่างมีความสุข
    

อรพิณ สุขทรงศิลป์ (รุ่น 2) สรุปหนังสือ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้พยายามแสดงให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของทุนมนุษย์ที่มีต่อการบรรลุเป้าหมาย และความยั่งยืนขององค์กร โดยผ่านทฤษฎี8 K’s + 5 K’s ดังนี้
     ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8 K’s) เป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย
        K1 : Human Capital  (ทุนมนุษย์)  ได้มาจากการศึกษา โภชนาการ และการอบรมเลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น
        K2 : Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา) ได้แก่ความสามารถในการมองยุทธศาสตร์การมองอนาคต การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา)
        K3 : Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม) คือการยึดมั่นอยู่ในความถูกต้องและศีลธรรมอันดีงาม
         K4 : Happiness Capital (ทุนทางความสุข) คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่า และสอดคล้องกับงานที่ทำ 
        K5 : Social Capital (ทุนทางสังคม) คือ มีเครือข่ายกว้างขวาง โดยการหาข้อมูลข่าวสาร และการเจรจาต่อรอง 
        K6 : Sustainable Capital ( ทุนทางความยั่งยืน) ได้แก่ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน
        K7 : Digital Capital (ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ)  คือความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ
        K8 : Talented Capital (ทุนอัจฉริยะ)  คือการมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดี โดยพัฒนาได้ตามทฤษฎี 5 E คือ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation
เพื่อให้พัฒนาคนไทยสามารถแข่งขันได้ทุกเวที โดยเฉพาะเวทีเสรีอาเซี่ยน ผู้เขียนได้เสนอทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากทฤษฎี8 K’s เรียกว่าทฤษฎีทุนใหม่5 K’s
     ทฤษฏี 5 K’s (ใหม่)   ประกอบด้วย
  1. Creativity Capital : ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ ทำได้โดย การเรียนรู้ มีสมาธิ คิดสร้างสรรอย่างป็นระบบ และอยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ)

    2.  Knowledge Capital   :  ทุนทางความรู้
                  เป็นทฤษฎีมูลค่าเพิ่มจากฐานความรู้ 
    
  2. Innovation Capital : ทุนทางนวัตกรรม

          คือ มีความคิดใหม่ ๆ ผสมผสานความรู้ให้นำไปปฏิบัติได้จริง และประสบผลสำเร็จ
    
  3. Cultural Capital : ทุนทางวัฒนธรรม

    คือมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม
    
    1. Emotional Capital : ทุนทางอารมณ์ คือมีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การมองโลกในแง่ดี การควบคุมตนเอง และการติดต่อสัมพันธ์ นอกจากนี้ผู้เขียนยังเน้นให้คนไทยปรับตัว ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ฝึกภาษา สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยด้วย พัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสร้างความพร้อมที่จะก้าวไปกับประชาคมอาเซียนได้อย่างสง่างาม

    สรุปได้ว่าทุนมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง มีความสำคัญอย่างมากต่อการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย พัฒนาองค์กรให้ก้าวไกลอันนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กรในที่สุด


อรพิณ สุขทรงศิลป์ (รุ่น 2) บทความทางวิชาการ 5 หน้าเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

                                          &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
                                                            มหัศจรรย์ทุนมนุษย์
         ในการประกอบกิจการใดๆ ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือเพื่อสังคมก็ตาม  จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการลงทุนก่อนทั้งสิ้น ซึ่งทุนที่ลงไปนั้นมีทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน โดยแบ่งทุนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  กำลังคน(Man Power)  กำลังเงิน(Money)  วัสดุอุปกรณ์( Material) และเครื่องจักร เครื่องมือต่าง ๆ (Machine)
     ในสมัยก่อนถึงแม้ค่าแรงในประเทศไทยจะต่ำกว่าอีกหลาย ๆประเทศ แต่เจ้าของกิจการก็พยายามจะใช้เครื่องจักร แทน คนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมองว่าการดูแลคนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการบำรุงรักษาเครื่องจักร ในขณะที่ผลงานของคนก็ไม่แน่นอนเหมือนเครื่องจักร  นอกจากนี้คนอาจก่อปัญหามากมาย เช่นการนัดหยุดงานเพื่อขอเพิ่มค่าแรง หรือ สวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการคงลืมไปว่ามิใช่คนดอกหรือ ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร และมิใช่คนดอกหรือที่คอยซ่อมแซมเครื่องจักรเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุด หรือ ขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้ 
    ต่อมาในระยะหลังหลายกิจการหันมาให้ความสำคัญกับกำลังคนมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากจำนวนเงินที่จ่ายลงทุนไปเพื่อพัฒนาคนว่ามีจำนวนมากขึ้น เมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น เพราะเริ่มตระหนักแล้วว่าคนเป็นปัจจัยที่สำคัญมากปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย  การลงทุนในบุคลากรนอกจากจะได้รับประโยชน์จากคนโดยตรงแล้ว ยังมีผลพลอยได้คือเป็นการเสริมให้ปัจจัยการผลิตอื่นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ในเมื่อบุคลากรมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กรมาก

ถึงเพียงนี้ ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ผู้นำองค์กรใช้ในการผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้

       ปัจจัยที่จะทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้แก่
       1.ต้องใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์เป็น สามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับองค์กรได้
     ปัจจุบันมีแหล่งความรู้มากมายที่บุคลากรจะเข้าถึงได้ไม่ยาก แต่บุคลากรส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ทั้งๆที่ความรู้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการนำมาซึ่งความเจริญทางปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่าง ๆมากมาย ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรของเคหะแห่งชาติเห็นความสำคัญและสนุกกับการไขว่คว้าหาความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงควรสร้างแรงจูงใจ เช่น 
      - กำหนดว่าพนักงานคนใดก็ตามถ้าไปศึกษาหรือเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมในเรื่องใดก็ตามให้นำหลักฐานมาแจ้งกับหัวหน้างาน เพื่อจะได้แต้มประกอบการพิจารณาความดี ความชอบเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี
  - ถ้าสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา /อบรมเพิ่มเติม มาปรับใช้กับงานได้จะได้รับแต้มพิเศษอีกชั้นหนึ่ง
  - จัดให้มีพื้นที่สำหรับพนักงานได้แสดงความคิดเห็น หรือนำความรู้ที่ได้มาจากที่ใดก็ตามโดยไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้ทางวิชาการเท่านั้นมาแบ่งปันเพื่อนร่วมงาน  เช่น จัดบอร์ดประจำแต่ละหน่วยงาน หรือมีมุมกาแฟ เป็นต้น

2.สามารถทำงานเป็นทีมได้

  การทำงานในองค์กรใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานเป็นทีม โดยอาจจะมีทั้งทีมใหญ่ หรือ ทีมเล็กก็ได้ ซึ่งการทำงานเป็นทีมนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ในงานที่ทำแล้ว ยังต้องมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Emotional Quetient : EQ) ด้วย เนื่องจากจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆจากเพื่อนร่วมทีมซึ่งแต่ละคนมาจากพื้นฐานทางการศึกษา พื้นฐานทางครอบครัว หรือ มีทัศนคติแตกต่างกัน แต่ถ้าทุกคนในทีมมี EQ เพียงพอ ก็จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น มีความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ(sense of belonging) ร่วมกัน และมีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกัน
     การสร้างความเป็นทีม ทำได้โดยการศึกษาอบรมให้เห็นความสำคัญ และคุณประโยชน์และความจำเป็นของการทำงานเป็นทีม มีน้ำใจคิดถึงผู้อื่น เอื้ออาทรต่อกัน รวมทั้งเทคนิคของการทำงานเป็นทีม เป็นต้น
  1. มีความสุขในการทำงาน
       ในวันหนึ่งๆ พนักงานการเคหะแห่งชาติซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน ใช้ชีวิตอยู่ในที่ทำงานมากกว่าอยู่บ้าน และในบางครั้งหากมีงานด่วนอาจต้องมีการนำงานไปทำต่อที่บ้านอีก ถ้าไม่มีความสุขในการทำงานแล้ว พนักงานคนนั้นจะต้องทุกข์และเครียดมาก แต่ถ้าเขา/เธอปรับใจให้มีความสุขในการทำงานแล้วปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดน้อยหรือหมดไปทันที 
    
    การทำให้มีความสุขในการทำงาน ทำได้โดย
     1. Happy Body (มีสุขภาพดี)  – รู้จักดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ รู้จักใช้ชีวิตให้มีความสุข (สมองที่สดใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง)  
     2. Happy Money (ใช้เงินเป็น)-สามารถจัดการรายรับ-รายจ่ายของตัวเองได้ รู้จักเก็บ รู้จักใช้ มีชีวิตที่เหมาะสมกับตัวเอง
     3. Happy Family (มีครอบครัวที่ดี) โดยการให้ความสำคัญกับครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่นมั่นคง เกิดเป็นกำลังใจที่ดีในการทำงานเหมือนเป็นภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้เผชิญกับอนาคตหรืออุปสรรคในชีวิตได้
    
    1. Happy Relax (การผ่อนคลาย) ต้องรู้จักผ่อนคลายสิ่งต่าง ๆในการดำเนินชีวิต เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกกดดันมากเกินไป หากทำงานเครียดก็ต้องมีวิธีผ่อนคลายในการทำงาน หรือแม้แต่ชีวิตส่วนตัวก็ด้วย ต้องรู้จักผ่อนคลายให้เหมาะสม
       5. Happy Work (พอใจในงาน) เห็นคุณค่าของงานที่ทำ และภูมิใจที่ได้รับผิดชอบงานชิ้นนี้ 
      

      เมื่อปรับกาย ปรับใจ และปรับความคิดได้เช่นนี้แล้ว ความสุขในการทำงานย่อมเกิดขึ้นแน่นอน และถ้ามีความสุขในการทำงานผลงานที่ออกมาก็จะมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล

4.มีความรัก ความผูกพันกับองค์กร

         ความรักความผูกพันองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและองค์กรให้แน่นแฟ้นมากขึ้น การมีความรัก ความผูกพันในองค์กรทำให้บุคลากรรู้สึกหวงแหน คอยปกป้ององค์กรจากภัยทั้งปวง รวมทั้งพร้อมจะทุ่มเทพละกำลังในการสร้างสิ่งดีๆ ให้องค์กรอย่างเต็มที่
         การสร้างความรักความผูกพันกับองค์กร ทำได้โดย
                 -ทำให้รู้สึกว่าเขามีความสำคัญต่อองค์กร    และ
                - ทำให้รู้สึกว่าองค์กรไม่ทอดทิ้งเขาในยามวิกฤต
  1. เป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม
                เป็นที่แน่นอนว่าความเก่งเพียงลำพังไม่อาจทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ ในทางตรงกันข้ามคนที่เก่งอาจจะใช้ความเก่งในทางที่ผิด ซึ่งอาจจะเกิดผลเสียต่อองค์กรได้มากกว่าคนไม่เก่ง แต่อย่างไรก็ตามองค์กรก็ต้องการคนเก่งมากกว่าคนที่ไม่เก่ง แต่ต้องเป็นคนเก่งที่มีคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่ไปด้วย 
        การเคหะแห่งชาติได้เห็นความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดวัฒนธรรมองค์กรมาให้ทุกคนในองค์กรทราบและถือปฏิบัติร่วมกัน และจัดให้มีการอบรมเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเป็นระยะ ๆ พร้อมทั้งกำหนดบทลงโทษสำหรับคนที่ประพฤติไม่ดีเพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเอาเยี่ยงอย่าง
    
       จะเห็นได้ว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญและทุ่มเทกับทุนมนุษย์จะได้รับผลตอบแทนกลับมาอย่างคุ้มค่า ทุนมนุษย์ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างน่าอัศจรรย์ ถึงเวลาแล้วที่การเคหะจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร
    
                                                &&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&
    
พัชรวรรณ สุวปรีชาภาส

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้เป็นเรื่องราวของสองแชมป์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นนักคิดและนักปฏิบัติว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยได้เล่าผ่านตัวหนังสือที่อ่านสนุก เข้าใจง่าย และน่าติดตาม  ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในหลายแง่มุม  ได้ข้อคิดของการเป็นผู้นำที่ดีต้องทำอย่างไรจึงจะได้ใจลูกน้อง  เราต้องให้ใจเขาก่อน  ทำอย่างไรทุกคนจะมีใจเป็นหนึ่งเดียวเช่นที่เครือซิเมนต์ไทย ทุกคนเรียกตัวเองว่าเป็น “คนปูน” ฟังดูยิ่งใหญ่ และน่าภาคภูมิใจจริง ๆ และจากคำกล่าวที่ว่าคนที่สามารถนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จจะต้องประกอบด้วย
             1. 4 เก่ง และ 4 ดี และต้องมีการประเมิน คือ
                 4 เก่ง  -  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด เก่งเขียน  ประเมินด้วย Capability เสริมสร้างด้วยการฝึกอบรม การเรียน 
                 4 ดี    -  ประพฤฒิดี  มีน้ำใจ  ใฝ่รู้  คู่คุณธรรม  ประเมินด้วย Acceptability ส่วนนี้ต้องเป็นการปลูกฝัง และสร้างเอง
             2.  มีความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน เพราะคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร ต้องพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนนี้ช่วยเสริมในเรื่องของ 4 ดี
 3. การดูแลทุกข์สุขของคนใกล้ชิด เป็น Holistic concern โดยมีความเชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียว แต่ต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

การบริหารพัฒนากรทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อที่จะได้คนเก่งคนดีที่มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ อุทิศตน ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตได้ (Productivity Improvement) รู้จักรับฟังผู้อื่น (Listening Skill) ประการสำคัญคือต้องมีความจงรักภักดีต่อองค์กร และเมื่อเป็นผู้บริหารควรมีคุณสมบัติต้องเป็นที่ยอมรับ (Performance Acceptability) มีความสามารถในการทำงาน (Capability และมีศักยภาพในการเติบโตในวิชาชีพ (Potential Career Path โดยอาจารย์จีระได้มี 10 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อ “พัฒนาทรัพยากรมนุษย์” คือ

         1. ทฤษฎี HR Architecture เป็นการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
         2. ทฤษฎี 3 วงกลม ประกอบด้วย 1. Context เน้นที่สภาพแวดล้อมขององค์กรในการทำงาน   2. Competencies เป็นทฤษฏีว่าด้วยการเพิ่มศักยภาพของคน และ 3. Motivation เป็นการสร้างแรงจูงใจโดยใช้หลัก PM-Performance
         3. ทฤษฏี 8K’s  ว่าด้วยองค์ประกอบของทรัพยากรมนุษย์ 
         4. ทฤษฏี 5K’s ทุนสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์
         5. ทฤษฏี 4L’s เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้
         6. ทฤษฏี 2F’s  เพื่อการมองวิเคราะห์ปัญหาและการเรียนรู้
         7. ทฤษฏี 2I’s  เพื่อการเรียนรู้และการสร้างพลัง
         8. ทฤษฏี C&E  เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่
         9. ทฤษฏี HRDS เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการทำงานอย่างมีความสุข
       10.  ทฤษฏี 3L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่
      ซึ่งอีกไม่นานที่จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “AEC” ทุกภาคส่วนจึงต้องมีความพร้อมในเรื่องของคนเป็นลำดับแรก โดยคนเหล่านั้นต้องใฝ่รู้ และเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่อย่างมีคุณค่าตลอดไป

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ได้กรุณาสอน อบรม ทั้งให้ความรู้ ทั้งสอนให้คิด และเป็นแรงบันดาลใจ ให้พวกเราชาว NHA ที่จะต่อสู้และพันฝ่า เพื่อให้ NHA เป็นที่พึ่งของประชาชนโดยแท้จริง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) โดย รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ AEC ชัดเจนมากกว่าที่ได้รับรู้มาจากท่านอื่น ๆ หรือที่อื่นๆ ได้รู้ประเภทบริการที่ไทยขึ้นชื่อ ได้รู้ว่าอาชีพอะไรในประเทศที่ได้รับผลกระทบ ได้รู้ข้อเท็จจริงว่าอันที่จริงแล้ว ไทยได้เข้าสู่ AEC มานานแล้วจากการทำข้อตกลงต่าง ๆ ได้รู้ว่าจริง ๆ แล้ว เป็น the Fifth Discipline (ของ Peter Senge) ไม่ใช่ Five Disciplines ประการสำคัญ ได้เรียนรู้หลักการบริหารที่ดีว่าต้องมองอย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบของ “ระบบ” และการอยู่รอดของระบบ ต้องมองครั้งเดียวเห็นทั้งโลกคือ มองแบบองค์รวม ต้องค้นให้พบตัวเอง ต้องปรับ mindset ไม่ถาม What ? แต่ถาม Why? How? ทุกอย่างในโลกนี้เป็น process ประการสำคัญ ต้องเห็นความเหมือนในความต่าง ซึ่งทำให้ได้ข้อคิดอีกว่า ต้องเห็นความต่างในความเหมือนอีกด้วย ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการอภิปรายโดยคุณอรุณี พูลแก้ว ผศฬดรใพงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล และ ดร.โสภณ พรโชคชัย ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้หันกลับมามองการเคหะ ฯ ในเรื่องของโอกาสและความท้าทายที่รออยู่เมื่อมีการเปิดเสรีอาเซียนแล้ว โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริบทขององค์กรเองหรือแนวโน้มของโลก และต้องมองในเชิงแข่งขันเปรียบเทียบด้วย ประการสำคัญต้องมองในเชิง Supply Chain

สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ โดย ดร.สุรพงษ์ มาลี คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ ดำเนินการอภิปรายโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของการประมินรัฐวิสาหกิจว่ามาจากความเห็นของธนาคารโลกที่เห็นว่า กระทรวงการคลังควรปรับบทบาทในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจจากเดิมควบคุมอำนาจ เป็นกำกับดูแลผลงานของรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร เช่น การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ดี ความสามารถในการส่งมอบผลงานให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เทคโนโลยีสารสนเทศ การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และธรรมาภิบาล โดยการควบคุมภายในเป็นเครื่องมือของการบริหารความเสี่ยง ต้องหา Strategic Objective ขององค์กรให้พบ แล้วจึงหาความเสี่ยงที่จะทำไม่ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย แล้วจัดการควบคุมไม่ให้เกิดความเสี่ยงดังกล่าวในลักษณะ Cascade หรือ Drive down โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเสี่ยงตามที่อาจารย์ได้พูดถึง 3 ข้อ 1. High Risk, High Return 2. No Risk Free World เพราะไม่มีทางทำให้ Risk หมดไปได้ 3. Play Safe ไม่เสี่ยงเลยดีกว่า ปลอดภัยที่สุดซึ่งมีข้อเสียคือ จะไม่เกิดนวัตกรรม ตรงมาก ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเลือกปฏิบัติตามข้อ 3 เนื่องจากปลอดภัยที่สุด แต่ต่อจากนี้ไป จะยอมเสียเวลาพิจารณาให้ดีก่อน จะได้ไม่เสียโอกาสที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน นับว่ามีประโยชน์อย่างมากที่ทำให้ได้คิดและคิดได้ ส่วนในช่วงบ่าย เป็นการอภิปรายหัวข้อ การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร น.อ.ศิรัส ลิ้มเจริญ ดำเนินการอภิปรายโดย คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ ได้ข้ดคิดที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น แนวทางการจัดการเกี่ยวกับการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ ไม่ประมาท ซึ่งอาจารย์ได้ยกกรณีศึกษาของนักมวยชื่อดัง “บัวขาว” ซึ่งตัดสินใจเลิกชกมวยแต่หันไปทำอย่างอื่นที่มีรายได้มากกว่า ง่ายกว่า ให้ศึกษาแบบอย่างที่ดี ต้องมี Plan, Do, Check, Act และต้องมีการกระจายความเสี่ยง นอกจากนั้น การบริหารงบประมาณต้องประหยัด พอดี และต้องมีข้อมูลจริงและมีเพียงพอ ปไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป รวมทั้งต้องมีจริยธรรมและให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมือง ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานและในชีวิตจริงได้ สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 18 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (1) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ได้เรียนรู้ถึงประเภทและองค์ประกอบของผู้นำ ได้เห็นตัวอย่างของผู้นำหลายๆ แบบในโลกซึ่งประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง รวมทั้งได้ทราบองค์ประกอบของผู้นำที่ดีว่าควรมีลักษณะอย่างไร ส่วนในช่วงบ่าย หัวข้อวิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง (1) โดย ผศ.ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา คุณกิตติ เพ็ชรสันทัด ดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ได้ข้อคิดว่า ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันโลก เตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ต้องมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ การรู้เฉพาะด้านหรือรู้ด้านเดียวจะไม่ช่วยให้ประสบความสำเร็จอีกต่อไป ไม่เช่นนั้นเราจะอยู่ไม่ได้ นอกจากนี้ ต้องเลือกผู้นำให้เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ปัญหาที่การเคหะฯ กำลังประสบอยู่ปัจจุบันคือจะขาดช่วงเรื่องบุคลากรในหลายๆ ระดับ ทั้งๆ ที่รู้ปัญหามาหลายปีแล้ว แต่ไม่มีการใส่ใจจริงจังจากทั้งหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยตรงและหน่วยที่ได้รับผลกระทบ สั้น ๆ สอบตกเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานนั้น คงไม่ง่าย เพราะมีตัวแปรมากมาย แต่จากการอบรมวันนี้ ทำให้ได้คิดว่า ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเสียที ต้องให้ความใส่ใจกับการนำองค์กรและเรียนรู้ภาวะผู้นำ รวมทั้งจะต้องพยายามบริหารการเปลี่ยนแปลง อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 25 มิถุนายน 2555 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ได้เรียนรู้ว่า “ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์” ควรเป็น Generalist ไม่ใช่ Specialist และควรใส่ใจกับความเป็นมาและความเป็นไป ทุกข์สุขของผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชา รวมทั้งควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประการสำคัญ ทำให้ได้ข้อเตือนใจว่า ความสำเร็จขององค์กรไม่ใช่แค่กำไร แต่ต้องเป็นความสุข ความภาคภูมิใจของบุคลากรด้วย นอกจากนี้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ว่า การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดีจะต้องเริ่มจาก Where are we? Where do we want to go? How to go there? How to go there successfully? พร้อมวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต แต่ต้องเป็นแบบ realistic และเป็นสากล ประการสำคัญ ควรเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) จากนั้นจึงเป็นการกำหนดพันธกิจเพื่อตอบสนองเป้าหมายของวิสัยทัศน์โดยการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในภายนอก รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องมี Core Value เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศโดย Core Value นั้นจะต้องประกอบด้วยความแม่นยำ สร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่มและมีความสุขในการทำงาน ส่วนในช่วงบ่าย หัวข้อวิชา การบริหารกลยุทธ์องค์กร โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี และวิทยากรอีก 2 ท่าน ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ กิตติ ชยางคกุล ทำให้ได้ข้อคิดว่า การทำงานในยุคหน้าต่อไปนี้ จะต้องดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์ จะต้อง Positioning ตัวเองให้เป็น ถามตัวเองว่ากำลังจะทำอะไร เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องหรือเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น จะต้องหาคุณค่าในตัวเองให้เจอและมุ่งพัฒนาเพื่อนำองค์กรสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ เมื่อโลกภายนอกเปลี่ยน ให้ตั้งคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องเปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยนจะเกิดอะไรขึ้น เราจะอยู่ได้หรือไม่และถ้าจะต้องเปลี่ยน จะเปลี่ยนอย่างไร ประการสำคัญ การทำงานในยุคหน้านอกจากจะต้องมีกลยุทธ์แล้ว จะต้องมี creative thinking ด้วยเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งการเคหะแห่งชาติจะต้องสร้าง brand ของตนเองให้ได้เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้สินค้าของตน และการเคหะฯ ควรจะพัฒนาอย่างไรให้สินค้าของตนแม้จะมีราคาถูกแต่ก็มีคุณภาพดีด้วย ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปัญหาและแนวโน้มสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ปัญหาอุทกภัย, การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ, AEC เพื่อวางแผนรองรับในเชิงกลยุทธ์

สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 27 มิถุนายน 2555 (ทั้งเช้าและบ่าย) หัวข้อ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ (ด้านการตลาด / การเงิน / วัฒนธรรมองค์การ/ การผลิต) โดย ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ดำเนินการอภิปรายโดย คุณสุภวัส วรมาลี ทำให้ได้รู้ทัศนคติและมุมมองของวิทยากรและภายนอกว่า มีทัศนคติต่อการเคหะแห่งชาติอย่างไร นับว่าเป็นวันที่มีคุณค่าอย่างมากเพราะเปรียบเสมือนท่านเป็นกระจกสะท้อนภาพการเคหะฯ ออกมาให้ชาวเคหะ ฯ ได้เห็น ทั้งนี้ จะต้องหาตัวตนขององค์กรให้พบ ค้นหาตนเองว่ามีมีความเชี่ยวชาญ ความถนัด มี Know how หรือเก่งในเรื่องอะไร สิ่งใด และพยายามค้นหาหรือพัฒนาสินค้าที่เมื่อนำเสนอให้ลูกค้าเห็นแล้ว จะเกิดความอยาก (อยากรู้ อยากได้) รวมทั้งวิเคราะห์ความอยากของคน ณ ขณะนั้น พร้อมทั้งหาปัจจัยสนับสนุน เช่น ช่วงเศรษฐกิจดี ประชาชนมีรายได้สูง นิยมบ้านพักตากอากาศในเมืองท่องเที่ยว นอกจากนี้ ต้องค้นหาช่องว่างทางการตลาดเพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ และวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ดูกลุ่มลูกค้า ความสามารถทางการเงินเทียบกับราคาสินค้า ทั้งหมดนี้ ช่างไม่ง่ายเลย แต่ทำให้ได้แนวคิดไปปรับใช้ในการสำรวจและจัดทำข้อมูลทางวิชาการ การวิจัย

สุชาดา ศิโรรังษี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 (ทั้งเช้าและบ่าย) หัวข้อ การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ธัญญา ผลอนันต์ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ดำเนินการอภิปรายโดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ ทำให้เข้าใจเรื่องทุนมนุษย์มากฃึ้นว่า มนุษย์เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีค่าเสื่อม และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการส่งเสริมสนับสนุน ให้การเรียนรู้ ศึกษา อบรม สัมมนา ดูงาน โดยสรุป “มนุษย์เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร” และการพัฒนามนุษย์ไม่ใช่ “ต้นทุน” แต่เป็น “การลงทุน” กลยุทธ์ จะมีจุดเริ่มต้นที่ดีและบรรลุเป้าหมายสุดท้ายได้สำเร็จ จะต้องดึงขีดความสามารถออกมาให้ได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นของทุนมนุษย์อีก เช่น มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีประสบการณ์ที่สั่งสมในตัวเอง มีคุณธรรมจริยธรรม มีจิตใจผูกพันรักองค์กร ถ่ายทอดพลังจิตใจและสติปัญญาเพื่อความสำเร็จขององค์กร ช่วงสุดท้ายคือการทำ Workshop โดยใช้ Mind Map ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงทางความคิด ได้ลองนำไปใช้กับการทำงานแล้วหลายเรื่อง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำบทวิดีทัศน์ มีประโยชน์มาก สุชาดา ศิโรรังษี

(สำหรับการบ้าน วันที่ 16 กรกฎาคม 2555 ส่งมาก่อนหน้านี้นานแล้วค่ะ)

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับสูงวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2) โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ
กาอบรมในวันนี้ทำให้ได้แง่คิดและแนวทางปฏิบัติมากมาย อาจารย์ได้นำแนวคิดและวิธีปฏิบัติของ Jack Welch (CEO GE) มาเล่าให้ฟัง ประโยคแรกเลย “ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไร ต้องใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” ต่อมา ธุรกิจเป็นเรื่องของ “คน” เพราะฉนั้น การให้เวลาเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ส่วนระบบวัดผลนั้นต้องเริ่มที่การตั้เป้าหมายและ Coaching ลูกน้องเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมาย ประการสำตัญ ต้องเปลี่ยนเองก่อนที่สถานการณ์จะบังคับให้เปลี่ยน (ก่อนที่จะสายเกินไป) ทั้งนี้ ต้องสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงได้ คือคิดได้มากกว่า แม่นกว่าคนอื่น สำหรับปัจจัยภายในนั้น ผู้นำต้องจัดการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ให้ได้ สำคัญที่สุด ต้องเข้าใจว่า -ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ได้ว่า องค์กรมีความซับซ้อนเพราะว่าบริหารคนซึ่งมีความซับซ้อนในความคิด ไม่ใช่เครื่องจักร -องค์กรขับเคลื่อนโดย Process มากกว่าโครงสร้าง -การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงย่อย ๆ -ต้องยอมรับว่า ในชีวิตการทำงานจะมีหลาย ๆ เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับและแก้ไข ประการสำคัญ ถ้าจะเปลี่ยนอะไร ต้องปรับ Mindset ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องมี “ผู้นำ” ผู้นำที่ดีต้อง Shape Vision ให้ได้ สำคัญที่สุด ในช่วง transition เมื่อเปลี่ยนแล้ว จะทำให้ยั่งยืนต้องเปลี่ยนโครงสร้าง ระบบจึงจะยั่งยืน การเรียนรู้ในวันนี้ ก็มีประโยชน์อีกเหมือนทุกวัน ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการความเปลี่ยนแปลงภายในฝ่าย ทำให้รู้สึกมีความมั่นใจมากขึ้นกว่าก่อนอบรม ส่วนในช่วงบ่าย หัวข้อ Finance for Non-Finance & Financial Perspective โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการเงินซึ่งเป็น “ยาดำ” สำหรับตัวเอง แต่อาจารย์ช่วยทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ทำให้ได้รู้จักเรื่องตลาดการเงินทั้งในระบบและนอกระบบ มีประโยชน์มากเพราะเป็นใกล้ตัว ได้รู้เทคนิคการซื้อกองทุน รวมทั้งได้เรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ของตลาดทุน ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง ที่สำคัญ เป็นการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อ ขอบคุณมากค่ะ สุชาดา ศิโรรังษี

           จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 และจากการอ่านหนังสือ “ทรัยพากรมนุษย์พันธ์แท้” เรียบเรียงโดย ปวันท์วีย์ เป็นการรวมแนวคิดและประสบการณ์ในเรื่องการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นำเสนอในรูปแบบของการสนทนาของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รวมทั้งบทสนทนาของผู้ใกล้ชิด ซึ่งเป็นบทสนทนาของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค โดยผู้เรียบเรียงได้จัดเนื้อหาหลัก ๆ ดังนี้

          • เรื่องของสองแชมป์

          • คัมภีร์ค้นพันธ์แท้

          • จักรวาลแห่งการเรียนรู้

          • สูตรเพิ่มผลผลิต

          ทั้งนี้ได้รวบรวมแนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ ดร.จีระฯ ไว้ 10 ประการ ดังนี้

           1. HR Architecture ใช้เป็นแนวทางในการมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ในทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน และในระดับองค์กร

           2. ทฤษฎี 3 วงกลม

               • CONTEXT บริบทของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พูดถึงสภาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน

              • COMPETENCIES คือ สมรรถนะ หรือทักษะความสามารถของบุคลากรในองค์กร

              • MOTIVATION คือ การสร้างแรงจูงใจ

          3. ทฤษฎีทุน 8 ประการ (8K’s) ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยพื้นฐานแล้วทรัพยากรมนุษย์ควรจะมีทุนดังต่อไปนี้ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

          4. ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ (5K’s new) ในยุคโลกาภิวัฒน์จะต้องตระหนักถึงทุนที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีก 5 ประการ ประกอบด้วย ทุนทางความรู้ ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนทางอารมณ์

          5. ทฤษฎี 4L’s เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย วิธีการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ โอกาสการเรียนรู้ และชุมชนแห่งการเรียนรู้

          6. ทฤษฎี 2R’s เพื่อการมอง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ประกอบด้วย

              • Reality มองความจริง

              • Relevance มองตรงประเด็น

          7. ทฤษฎี 2I’s เพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน ประกอบด้วย

              • Inspiration จุดประกาย

              • Imagination สร้างจิตนาการ

          8. ทฤษฎี C&E เพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่ ประกอบด้วย

              • Connecting การติดต่อ/เชื่อมต่อกัน

              • Engaging การมีส่วนร่วม

          9. ทฤษฎี HRDS เพื่อการบริการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีความสุข

          10. ทฤษฎี 3L’s เพื่อการทำงานยุคใหม่ คือ

               • Learning from pain

               • Learning from experience

                • Learning from listening

                                                     -------------------

          จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 และจากการอ่านหนังสือเรื่อง 8K’s+5K’s : ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่ง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้เรียบเรียง ได้เน้นความรู้ ความคิด และประสบการณ์ในการวางแนวทางพัฒนา “ทุนมนุษย์” เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2528 การได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงคำว่า “ทุนมนุษย์” ในความหมายที่แท้จริง ในกรอบที่กว้างและลึกซึ้ง ครอบคลุมในทุกมิติสามารถนำไปใช้ในการจัดการส่วนตน และบริหารองค์กร หน่วยงานได้ทันทีในทุกสภาวะทุกธุรกิจ ศ.ดร.จีระฯ ได้เรียบเรียงโดยใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ประกอบกับการจัดลำดับเรียบเรียงหมวดหมู่เป็นลำดับเป็นระบบ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้อ่านมองถึงปัญหาของทุกคนว่าจะทำอย่างไรมีส่วนอย่างไรในการพัฒนา “ทุนมนุษย์” ให้กับสังคมไทย เป็นปัญหาของชาติ ไม่ใช่ปัญหาส่วนตนหรือระดับหน่วยงาน หากแต่เป็นปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขันของชาติ ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมปลูกสร้างและสั่งสมเพื่อระยะยาวและต่อเนื่องต่อไป สาระของหนังสือต้องการสื่อให้ทราบว่า ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยที่สำคัญของการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน มีศักยภาพ เพื่อความพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยใช้:-

           ทฤษฎี 8’K หรือทุน 8 ประการ เป็นพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย

           • K1 = Human Capital ทุนมนุษย์ คนเมื่อได้รับทรัพยากรต่างๆ เข้าไปแล้วย่อมดูดซับ ประมวลผล และนำมาปฏิบัติได้ไม่เท่ากัน

           • K2 = Intellectual Capital ทุนทางปัญญา ปัญญาต้องมาจาก การรับรู้ มองในเชิงวิเคราะห์ การต่อยอดนำมาปฏิบัติ

           • K3 = Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม สำคัญที่สุด ถ้าทุนมนุษย์ขาดคุณธรรม จริยธรรมก็จะสร้างปัญหาให้สังคม คนขี้โกงที่อันตรายที่สุด

           • K4 = Happiness Capital ทุนทางความสุข มาจากเป็นผู้ให้ ทำในสิ่งที่ตนเองและรอบข้างมีความสุข

           • K5 = Social Capital ทุนทางสังคม เมื่อทั้ง 4 ทุนดี มีประสิทธิผล ทุนทางสังคมดีตามไปด้วย

            • K6 = Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน ไม่ใช่มาจากความร่ำรวย ความสุขมีก็เป็นช่วงระยะสั้นๆ ไม่มีความยั่งยืน ต้องมาจากทุนทั้ง 5 ดังกล่าว

            • K7 = Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ถ้าการสื่อสารขาดตอน ความต่อเนื่องก็จะไม่มีความยั่งยืน

            • K8 = Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (ทุนอัจฉริยะ) ซึ่งจะต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

            หากจัดลำดับความสำคัญ หาแนวทาง และลงมือทำ เพื่อพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ขั้นพื้นฐานของเราให้สมบูรณ์ ก็สามารถปรับใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน แม้แต่ในระดับประเทศ

            นอกจากแนวคิดทฤษฎี 8K’s หรือทุน 8 ประการแล้ว ยังมีทุนอีก 5 ประการที่มีความสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด เป็นทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์ เพื่อศักยภาพในการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี โดยเรียกแนวคิดทุนใหม่ 5 ประการนี้ว่า “ทฤษฎี 5 K’s ใหม่” ประกอบด้วย

            • Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากจินตนาการที่ต้องนำมาปฏิบัติ

            • Knowledge Capital ทุนทางความรู้ ต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยทำจนเป็นนิสัย เรียนรู้ทุกวัน และต้องสังเคราะห์จากความรู้ที่ได้รับ

            • Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม เกิดจาก K1 และ K2 ที่ถูกนำมาทำให้เกิดความเป็นจริงในทางปฏิบัติ

            • Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม ต้องรักษาไว้ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตลอดเวลา

            • Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ เปรียบเหมือนกับความซื่อสัตย์ จะขาดไม่ได้

            เพราะการเปิดเสรีอาเซียน หรือการเป็นสังคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคน ทั้งในแง่บวกและลบ ทั้งเป็นโอกาส และเป็นความเสี่ยง คุณภาพของทุนมนุษย์ คือ เรื่องวัดความสามารถทางการแข่งขัน ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้

            ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียนนี้ จะไม่เกิดประโยชน์หากผู้อ่านไม่นำแนวคิด และความรู้ที่ได้รับ ไปปฏิบัติ ไปปรับพฤติกรรม และช่วยกันสร้างจิตวิญญาณของการเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคมไทย

                                              ----------------------

          จากการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริการระดับสูง (Executive Development Program 2012) การเคหะแห่งชาติ รุ่นที่ 2 ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 และจากการอ่านหนังสือหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ” เป็นหนังสือที่คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้เรียบเรียง โดยได้อัญเชิญพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย มาไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ตามหัวข้อที่นำเสนอ ผสมผสานกับข้อวิเคราะห์เทียบเคียงของผู้เรียบเรียง เป็นหนังสือดีมีคุณค่าเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา

           “ธรรมดี” ที่พ่อทำ ธรรมดีที่น่าประทับใจ และควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่า ได้แก่

          1. ความกตัญญู

          2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน

          3. ความพอเพียง

          4. ความซื่อสัตย์

          5. ระเบียบวินัย

          6. ความอดทน

          จากหนังสือเล่มนี้ ผู้อ่านจะได้ข้อคิดนำมาปฏิบัติตนดำเนินตามรอยพระยุคลบาท มาต่อยอดความสำเร็จโดยใช้กับชีวิตจริง ผลแห่งการปฏิบัติจะบังเกิดเป็นประโยชน์แก่ตนเอง ขยายเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยครอบครัว หน่วยชุมชน หน่วยองค์กร และหน่วยระดับชาติระดับประเทศ และระดับโลกมนุษย์ต่อไป

                                                 --------------------

นายสุรพงษ์ เทียบรัตน์

บทความ การเปิดช่องทางการชำระเงิน โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

            ยุคปัจจุบันเป็นยุคของการแข่งขัน หน่วยงานธุรกิจต่างๆ ล้วนปรับตัวอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งหน่วยงานภาคราชการก็ต้องมีการปรับตัวเช่นกัน หนึ่งในการปรับตัวเพื่อช่วยให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันก็คือ การปรับตัวเรื่องของการบริการนั่นเอง

              กลยุทธ์ในการบริการลูกค้าที่สมบูรณ์เเบบนั้นสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเเละลดต้นทุนที่ต้องเสี่ยงในระยะยาวได้ แต่ลูกค้าที่ไม่พึงพอใจก็อาจจากเรา ไปได้ ทั้งนี้เพราะการบริการลูกค้าให้พึงพอใจนั้น อาจไม่ใช่กลุ่มลูกค้าหรือบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจซื้อก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การบริการลูกค้าให้มีความพึงพอใจสูงสุดนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของการลดอัตราการเสี่ยงที่ลูกค้าจะตีตนออกห่างจากเราไปได้

               เราจะการบริการอย่างไรที่ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ในศตวรรษที่ 21 นี่คือคำถามที่หลายท่านสงสัย เนื่องจากในยุคนี้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ทฤษฏีใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งแนวความคิดที่เปลี่ยนไปมีดังนี้

              เมื่อก่อนหน่วยงานส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับ Marketing (การตลาด) แต่ยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องของ Service(บริการ) โดยเน้นลูกค้าที่ใช้บริการตลอดชีพ ไม่ใช่เพียงแค่ใช้บริการครั้งแรกและครั้งเดียว เน้นกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกับลูกค้า(ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในงานบริการหรือสินค้าของเรา) การบริการจึงเป็นจุดขายของธุรกิจในยุคปัจจุบันและยุคอนาคต  เนื่องจากในยุคของการแข่งขัน ลูกค้ามีความสำคัญมาก สำคัญจนกระทั่งมีคำกล่าวว่า “Customer is the King”  หรือ บุคคลสำคัญๆ ของโลก เช่น มหาตมะ คานธี ถึงกับกล่าวว่า “ไม่ควรคิดว่าลูกค้าจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยธุรกิจเรา

เราต่างหากที่ต้องพึ่งพาอาศัยลูกค้า” สำหรับสิ่งที่งานบริการควรต้องปรับตัวในศตวรรษนี้ก็คือ

1. การบริการจะต้องมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นยุคของการแข่งขันอย่างเสรี

      บริษัท ต่างๆ ทั่วโลกสามารถเข้ามาค้าขายได้ในประเทศไทยหรือประเทศต่างๆในโลก   2. การบริการจะต้องเน้นที่ความคุ้มค่า เน้นเรื่องของคุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับราคา

     ยุคปัจจุบัน และยุคในอนาคต ตลาดเป็นของผู้ซื้อ ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้า

     และ บริการต่างๆได้มากมาย พูดง่ายๆว่าอำนาจต่อรองส่วนใหญ่เป็นของผู้ซื้อนั้นเอง
 3. การบริการจะต้องเน้นที่ตัวคุณภาพและความสามารถของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการ

      จะต้องปรับตัวในการให้บริการ จะต้องเอาใจใส่ลูกค้ามากกว่าเดิม ต้องมีข้อมูลต่างๆ

      ของลูกค้า เพื่อที่จะบริการได้ตรงใจกับความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งความรู้

      สึกของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มักจะมีความรู้สึกแบ่งเป็น ระดับด้วยกัน

      สี่ระดับ คือ ไม่พอใจ  เฉยๆ  พอใจ  และประทับใจ( สำหรับลูกค้ามีทั้งลูกค้าภายนอก

       คือ ผู้รับบริการ และลูกค้าภายใน คือ เพื่อนร่วมงาน เจ้านายผู้ใต้บังคับบัญชา)

                     อีกทั้ง   การบริการที่ดีควรคำนึงถึงเรื่องของ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ      ความประหยัดด้วย    ดังนั้นคุณสมบัติที่ดีของผู้ให้บริการในเบื้องต้น ผู้ให้บริการควรเป็นคนที่มีน้ำใจ มีปิยวาจา มีคำพูดที่ไพเราะ มีบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใส แต่งกายสะอาด เหมาะสม มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีศิลปะในการสื่อความหมาย ประสานสามัคคี มีมนุษย์สัมพันธ์ มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน ให้บรรลุผล มีการกระทำที่มุ่งเน้นเป้าหมาย ในภาพรวมขององค์กร (เข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน)   ซึ่งสิ่งเหล่าผู้รับบริการสามารถสัมผัสได้จากผู้ให้บริการ โดยดูหรือสังเกตได้จาก การมองหน้า การดูรอยยิ้ม การทักทาย การให้คำแนะนำ การตอบคำถาม ฯลฯ   เมื่อผู้บริการ บริการได้ดี ลูกค้าก็จะเกิด ความพึงพอใจในงานบริการของเรา เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจแล้วก็จะเกิดความประทับใจ ติดใจ และสุดท้ายก็จะกลับมาใช้บริการอีกครั้งหนึ่ง แถมยังมีการบอกต่อคนรู้จักให้มาใช้บริการอีกต่างหาก  ในทางกลับกัน เคยมีผู้ทำงานวิจัยมาชิ้นหนึ่ง ได้ข้อมูลว่าหากเราบริการลูกค้าไม่ดี ลูกค้าไม่พอใจในบริการ 1 คน จะบอกต่อคนที่รู้จักอีก 70 % แต่ถ้าบริการดี ลูกค้าพอใจจะบอกต่อ 1 คน ต่อ10 คน และจะกลับมาใช้ใหม่ 35%

การเคหะแห่งชาติกับข้อเสนอ นวัตกรรม ที่เป็นทางเลือกให้ลูกค้าใหม่ในการชำระเงิน

                    ในปัจจุบันลูกค้าของการเคหะแห่งชาติแยกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ลูกค้าเช่า /เช่าซื้อโครงการเคหะชุมชน กับ ลูกค้าโครงการบ้านเอื้ออาทร คาดว่ามีจำนวนแสนๆราย

ทุกๆวันลูกค้าจะต้องนำเงินไปชำระเป็นค่าเช่า / ค่าเช่าซื้อ ค่าผ่อนเงินกู้ธนาคารอาคาร

สงเคราะห์และธนาคารออมสิน โดยมีช่องทางการชำระเงินต่างๆเหล่านี้ผ่าน

1.เคาน์เตอร์รับเงินของสำนักงานเคหะชุมชน (มีไม่กี่แห่ง) และที่สำนักงานใหญ่

2.ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน (มีไม่ครบทุกจังหวัด)

3.เคาน์เตอร์เซอร์วิสเซเวนท์อิเลฟเวนท์

4.รถบริการรับเงินเคลื่อนที่ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด 20 คัน(ตามโครงการSynergy)

5.ลูกค้ายินยอมให้ตัดเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของตนทุกๆเดือน

                จะเห็นได้ว่าช่องทางการรับชำระเงินต่างๆที่การเคหะแห่งชาติจัดบริการให้ลูกค้า ดูเหมือนจะมีเพียงพอ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่  ลูกค้าที่บ้านเอื้ออาทรอรัญประเทศจะจ่ายค่าบ้านแต่ละครั้งต้องเดินทางจากชุมชนไม่ต่ำกว่า 40 กม. เพื่อไปธนาคารในเมืองและในจังหวัดทางอิสานและเหนือ ที่ ธนคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสิน  มีสาขา

น้อยและอยู่ห่างไกลจากชุมชน โครงการบ้านเอื้ออาทรบางโครงการไม่มีสำนักงานของการเคหะแห่งชาติตั้งอยู่ในชุมชน แล้วลูกค้าอยู่กันอย่างไร  ดังนั้น นโยบายสร้างจิตสำนึกของคนการเคหะแห่งชาติในการให้บริการ โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ที่ได้โหมประชาสัมพันธ์ทั่วไปที่ทำการเวลานี้ จะได้บรรลุผลเพียงใด  ข้อเสนอนี้จึงเป็นการเสนอนวัตกรรมที่หน่วยงานอื่นได้ลงมือทำก่อนการเคหะแห่งชาติเสียอีก นั่นคือการเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้ลูกค้าของการเคหะแห่งชาติโดย

1.การติดตั้งตู้ ATM  ตามชุมชนของการเคหะแห่งชาติ โดยการเจรจาต่อรองกับธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินซึ่งเป็นเจ้าหนี้เงินกู้รายใหญ่ของลูกค้าการเคหะฯ เพราะนอกจากจะใช้ถอนเงินตามปกติแล้ว ต้องสามารถรับฝากเงินค่าบ้านของลูกค้าด้วย และต้องติดตั้งในชุมชนของการเคหะฯในจุดที่ปลอดภัย เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ไม่ต้องออกไปนอกชุมชน และสามารถชำระเงินโดยการฝากเข้าเครื่อง ATM ตลอดเวลาไม่เว้นวันหยุดราชการ จะทำให้โอกาสการเป็นหนี้ค้างชำระค่าบ้านน้อยลง

2.การจัดหา รถโมบาย สามารถให้บริการ  ทำสัญญาซื้อขาย บ้าน / รับชำระเงินต่างๆ

    ทุก ชนิด  /  ใช้ติดตามลูกหนี้ค้างชำระ / ใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการเคหะฯ

   ได้ถึงตัว ลูกค้า ถึงแม้จะมีรถของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัดให้บริการอยู่แล้ว แต่มีไม่ เพียงพอกับชุมชนของการเคหะฯและจำนวนลูกค้ามีมาก อีกทั้งลูกค้าของการเคหะยังต้องเสียค่าบริการครั้งละ 10 -15 บาทต่อบิล  หากการเคหะฯ มีรถโมบายเป็นของตนเองแล้ว ลูกค้าของการเคหะฯจะไม่ต้องเสียค่าบริการในการชำระเงินดังกล่าว รถโมบายสามารถใช้ประโยชน์มากมายหลายภาระกิจและเสริมรายได้ให้องค์กรด้วยการรัชำระค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆ เช่นบัตรเครดิต ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เนท เป็นต้น

          การรณรงค์ให้คนการเคหะแห่งชาติให้มีจิตสำนึกในการบริการลูกค้า โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง นั้น จะไม่บังเกิดผล หากไม่มีการขับเคลื่อนอย่างแท้จริง

                                                    ด้วยความปรารถนาดี

                                                   สุรพงษ์ เทียบรัตน์

                                         [email protected]

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ธรรมดีที่พ่อทำ ของ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2

 

            จากหนังสือธรรมดีที่พ่อทำ  เนื้อหาที่เราได้จากหนังสือเล่มนี้ช่วยปลุกจิตสำนึกเราอีกครั้งให้เราระลึกไว้เสมอว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้นท่านทรงรักคนไทยมากที่สุด  ด้วยในหลายๆพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงงานอยู่นั้นไม่ได้ทำเพื่อใครเลย แต่เป็นการทำเพื่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศทั้งนั้นพระองค์ในฐานะประมุขสูงสุดของประเทศ แต่ท่านกลับไม่มีเวลาพักผ่อนพระวรกาย ยังต้องทรงงานหนักตลอดมาเป็นเวลาหลายปี  หลายสิ่ง หลายอย่างที่ในหลวงทรงทำเป็นแบบอย่างในทุกๆเรื่อง  เราในฐานะประชาชนคนไทยควรจะน้อมรับและปฏิบัติตามเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อในหลวงของเราและแผ่นดินของเรา  เมื่อมี Idol แล้ว เราต้อง I do

            ดังพระบรมราโชวาทที่ท่านกล่าวไว้ว่า “ ถ้ามัวไปคิดดั่งนักวิทยาศาสตร์ ทำอะไรไม่สำเร็จหรอก  คิดอะไรก็ทำไปเลย ผิดถูกค่อยแก้ไป แล้วเดี๋ยวมันก็ค่อยๆได้ออกมาเอง ถ้ามัวแต่คิดแล้วไม่กล้าทำ มันจะไม่มีอะไรสำเร็จขึ้นมาสักอย่าง”

            ดังนั้นหน้าที่ของคนไทยคือทำสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ดู ทรงอยู่ด้วยการให้ ด้วยหัวใจสีขาวของพวกเราทุกคน

           ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ ช่วยย้ำเตือนคนไทยทุกคนไม่ให้หลงระเริงกับลัทธิทุนนิยม สอนให้เรารู้จักความพอดีและไม่อยู่บนความประมาทดังที่ประเทศไทยเคยประสบวิกฤตมาแล้วในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ในปี 2540

           ท่านทรงเป็นนักคิด  นักพัฒนา สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคม โครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน  การส่งเสริมการวิจัยพันธุ์ข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทานช่วยเหลือเกษตรกรให้มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง เอาผักตบชวาที่เป็นปัญหาของเราในประเทศมากำจัดน้ำเสียเอาปัญหามาช่วยแก้ปัญหา  ให้ชาวเขาปลูกพืชเศรษฐกิจแทนการปลูกฝิ่น ฯลฯ

            พวกเราทุกคนจะเห็นว่าพระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ก็คือการทรงงานต่างๆเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนแทบทุกวัน

           เวลาตั้งรัฐมนตรีใหม่จะต้องเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ จะตรัสว่า “ให้รีบมาจะได้รีบไปทำงาน ไม่ต้องห่วงว่าติดวันเสาร์อาทิตย์ ประเทศไทยพระเจ้าแผ่นดินไม่มีวันหยุดราชการ”

          และนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุดเมื่อในหลวงได้รับการถวายการสดุดี รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์จากองค์การสหประชาชาติซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรกของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยมีนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติกล่าวสุนทรพจน์เพื่อถวายสดุดีและประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             เราจึงไม่เคยเห็นในหลวงรับสั่งว่า พระองค์ทรงทุกข์เพราะทรงทำเพื่อประชาชน หรือเรียกร้องสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนพระองค์แม้แต่ครั้งเดียว สิ่งที่พระองค์เน้นย้ำ  หรือรับสั่งกับคนไทยตลอดมา ก็คือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนไทยทั้งหมด และประโยชน์ของประเทศชาติทั้งนั้น

            สิ่งที่ในหลวงอยากเห็นก็คือความรักสามัคคีของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ดังพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม  พุทธศักราช 2521 แก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง  ความตอนหนึ่งว่า

          “ ถ้าเราเอาแต่ชนะ มันก็ต้องมีแพ้  แต่เราปรองดองกัน มีแต่ชนะไม่มีแพ้ ”

            ถึงแม้จะเป็นพระราชดำรัสที่ผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ผมอยากให้คนไทยในเวลานี้ได้ทราบไว้ว่าแม้แต่ในหลวงท่านยังทรงอยากเห็นคนไทยมีความปรองดอง รักและสามัคคีกันเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงชาติไทย

 

………………………………………….

 

           

          

         

นพดล ว่องเวียงจันทร์

ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์ รอง ผอ.พส2

 

            จากหนังสือ  “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”   ทำให้ผมได้มุมมองใหม่ๆตลอดจนแนวความคิดและทำให้เกิดแรงกระตุ้นและแรงบันดาลใจขึ้นหลายอย่างจากการอ่านบทสัมภาษณ์ของท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ และคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา รวมทั้งท่านอื่นๆที่ได้ให้แง่คิดและมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่อง Human Resource หรือ HR ซึ่งพอจะสรุปประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้

            Human Capital เป็นทรัพย์สินไม่ใช่ต้นทุน และการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรก็เป็นการลงทุน

 ( Investment)ในเรื่องการเพิ่ม Value Add ให้กับบุคลากรในองค์กร   เพราะเมื่อคนในองค์กรมีคุณภาพ มีความสามารถในการทำงาน (Capability) ก็จะทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต ( Productivity Improvement) แก่องค์กรจะเป็นจุดสร้าง            Competitive advantages ให้องค์กร ๆหากองค์กรใดหรือระบบบริหารใดสามารถให้มนุษย์ได้เป็นทั้ง asset และ resource ได้  ก็จะได้รับชัยชนะ

              ตัวอย่างบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด ให้แง่คิดว่า ค่าตัวพนักงานเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะต้องปรับเงินเดือนทุกปี แต่ความสามารถของพนักงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ ไม่สามารถทราบได้ แต่ถ้ายอมจ่ายงบประมาณเพิ่มอีกหน่อยคือการฝึกอบรมพนักงาน เป็นการ Input ความรู้ให้พนักงาน ก็จะเป็นการการันตีราคาที่จ่ายให้พนักงานว่าไม่สูญเปล่าพนักงานจะต้องมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น เพราะถ้าบริษัทไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ เน้นแต่เรื่องผลผลิตและกำไรแต่ไม่สนใจในการอบรมพนักงาน ต่อไปผลผลิตมีประสิทธิภาพต่ำ จะไปโทษพนักงานก็ไม่ได้เพราะผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญเอง  นอกจากนี้ทางบริษัทยังมองไปถึงการพัฒนา Stakeholder ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจด้วย

              ทรัพยากรมนุษย์จึงไม่เพียงแต่เป็นทรัพย์สินของประเทศ ขององค์กรแต่ยังเป็น  strategic resource

เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ  ในทรัพยากรที่หลากหลาย  เช่น M-money,  M-machine,

 M-management,  M- material,  M-man  คนจะมีความสำคัญที่สุดเพราะคนคือ The most value asset จนมีคำกล่าวว่า Make people before make product  ทฤษฎี 3 วงกลมของอาจารย์จิระ คือ Context, Competencies และ Motivation จะเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้เรายังต้องสร้างให้เกิดวัฒนธรรมองค์กร( Corporate Culture) เพื่อให้เกิด mind set ในตัวพนักงานและทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน

             HR นั้นไม่ใช่ Training แต่เป็นการ Learning การลงทุนใน HR ให้ผลตอบแทนในระยะยาวและต้องใช้เวลา นอกจากนี้การลงทุนใน Human Capital อย่างเดียวย่อมไม่พอ ต้องลงทุนทาง  Intellectual Capital ควบคู่ไปกับ Ethical Capital และ Good Government     เพราะคนนั้นต่างจากเครื่องจักร เครื่องจักรต่างๆคุนค่าของมันจะค่อยๆเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ชำรุด สึกหรอ เมื่อเวลาผ่านไป แต่คุนค่าของคนกลับเพิ่ทขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปด้วยการสั่งสมการเรียนรู้และจากประสบการณ์ที่มากขึ้น

             และในอนาคตอันไกล้นี้ ประทศไทยเราต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)ในปี 2015 ซึ่งจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งในเรื่องการค้า การลงทุน การบริการ และ แรงงาน  ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน เงินทุน งานบริการ สินค้าได้เสรี เปิดโอกาสให้นักลงทุน ในชาติอาเซียนเข้าไปถือหุ้นในสาขาบริการได้ถึง 70%  และลดภาษีนำเข้าสินค้าเป็น 0%  ฯลฯ  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความรู้ สร้างมูลค่าเพิ่มในระดับจุลภาคที่จะส่งผลต่อการได้เปรียบเชิงการแข่งขัน Competitive Advantage ของประเทศที่ระดับมหภาคได้  การเข้าสู่ AEC ของไทยจึงเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามถ้าเราไม่เตรียมคนให้พร้อมพร้อม ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s และ 4L’s ของอาจารย์จิระ รวมทั้งแนวความคิด Global Citizen และ constructionism  ของคุณพารณ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทุนมนุษย์ของคนไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอกนี้ได้

………………………………………..

 

นพดล ว่องเวียงจันทร์

   8K’s และ 5K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

   โดย นพดล  ว่องเวียงจันทร์  รอง ผอ.พส2

 

                  การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของคนไทยในปี 2015  ในมุมมองของอาจารย์จิระจะเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่ท้าทายคนไทยทุกคนเพราะว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ  ที่จะส่งผลต่อ  เศรษฐกิจ  สังคมของไทยอย่างมากมาย  เพราะเป็นการรวมประเทศ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตเศรษฐกิจเดียวกัน  โดยมีข้อตกลงร่วมกันใน 3 เรื่องใหญ่ซึ่งประกอบด้วย

                 - เศรษฐกิจและการค้าการลงทุน

                 - สังคมและวัฒนธรรม

                 - ความมั่นคงทางการเมือง

                 ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าการลงทุน จะเปิดเสรีทางการค้าไม่มีกำแพงภาษี ทางด้านแรงงานจะเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี  ทางด้านการลงทุนจะเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้นักลงทุนสัญชาติอาเซียนได้ถึง 70%  งานทางด้านบริการ 7 อาชีพ  ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และนักบัญชี สามารถประกอบอาชีพในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียนได้ เป็นต้น โอกาสที่เห็นได้ชัดก็คือ

การขยายตลาดจากผู้บริโภคของไทย 68 ล้านคนไปเป็น 590 ล้านคน ส่วนความเสี่ยงก็คือ ถ้าไทยไม่เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเราอาจกลายเป็นผู้เสียเปรียบ

                 ประเทศไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆด้านเพื่อเข้าสู่การแข่งขันและเพิ่มความได้เปรียบในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน และการพัฒนาทุนมนุษย์ของคนไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก 

                ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์  8K’s  ของอาจารย์จิระ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพด้วยทุน 8 ประการคือ

               K1 ทุนมนุษย์ ( Human Capital) : คนจะมีทุนนี้ได้ด้วย การศึกษา โภชนาการ การฝึกอบรม

การเลี้ยงดูของครอบครัว ฯลฯ

              K2 ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) : คนจะมีทุนนี้ได้ต้องเรียนแบบเน้นการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ถ้าเรียนแบบท่องจำย่อมไม่เกิดทุนทางปัญญา

             K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม ( Ethical Capital) : คนจะมีทุนนี้ได้ด้วยยึดมั่นใน ศีล สมาธิ ปัญญา  และอีกแนวทางหนึ่งของ Peter Drucker  คือ ความถูกต้อง จินตนาการ และนวัตกรรม

              K4 ทุนแห่งความสุข ( Happiness Capital): คนจะมีทุนนี้ได้ต้องปฎิบัติตามกฏในการสร้างทุนแห่งความสุข ( Happiness Capial) ของอาจารย์จิระ และ Dr. Timothy Sharp เช่น ชอบงานที่ทำ อย่าแบกงานหนักเกินไป รู้ความหมายของงาน ทำงานในจุดแข็งตัวเอง ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล  เป็นต้น

            K5 ทุนทางสังคม (Social Capital): คนจะมีทุนนี้ได้ต้องมีเครือข่ายคือ คบหาสมาคมกับคนหลายๆกลุ่ม เปิดโลกทัศน์ มีบุคลิกที่เข้ากับคนง่าย ศึกษาบุคคลที่เราอยากรู้จัก มีการติดตาม ทำงานเป็นทีม

มีทัศนคติเป็นบวก  เข้าใจความหลากหลายในความคิดและวิถีชีวิตต่างๆ

           K6 ทุนแห่งความยั่งยืน( Sustainable  Capital): เป็นแนวคิดใหม่มากคล้ายๆทุนแห่งความสุขคือการที่เราจะมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่รอดหรือไม่ สิ่งที่จะทำระยะสั้นคืออะไรและต้องไม่สร้างปัญหาหรือขัดแย้งในระยะยาว  โดยยึดแนวทาง 6 ปัจจัยในการสร้างทุนแห่งความยั่งยืน (Chira’s 6 factor)

 เช่น   การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย 

  การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม   ต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

           K7 ทุนทางเทคโนโลยี่สารสนเทศหรือ IT( Digital Capital): ระบบเหล่านี้จะทำให้โครงสร้างทางความคิด  รูปแบบการดำรงชีวิต และการทำงานของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจะต้องมีทุนทางด้านเทคโนโลยี่สารสนเทศนำความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาทางด้านต่างๆ

         K8 ทุนอัจฉริยะ(Talented Capital): อาจารย์จิระได้แนวความคิดมาจากรัฐบาลของสิงคโปร์ ซึ่งเชื่อว่า คนที่ประสบความสำเร็จต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติเป็นบวก รวมทั้งการพัฒนาทุนอัจฉริยะด้วย ทฤษฎี 5E’s ของอาจารย์จิระ

            ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี  5K’s ของอาจารย์

จิระคือ

          -ทุนทางความคิดสร้างสรรค์( Creativity Capital):  สามารถสร้างได้ด้วยการฝึกคิดนอกกรอบ (Think Outside the box) ซึ่งการสร้างความคิดสร้างสรรค์สรุปเป้นข้อๆได้ดังนี้

          -ข้อแรกคือวิธีการเรียนรู้คือ ฝึกให้คิดเป็น วิเคราะห็เป็นและเรียนรู้ข้ามศาสตร์

          -ข้อสองคือต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ

          -ข้อที่สามคือต้องคิดเป็นระบบ

          -ข้อที่สี่คือต้องอยากทำสิ่งใหม่ๆเสมอ

         -ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital): การมีทุนทางความรู้จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม(Value Creation)    มูลค่าเพิ่ม( Value Added)    และ มูลค่าเพิ่มจากความหลากหลาย(Value Diversity) และทุนทางความรู้ที่ดีต้องอยู่บนหลักทฤษฎี 2R’s คือ Reality ความรู้ที่มาจากความจริง และ Relevance  ตรงความต้องการของผู้รับบริการ

          -ทุนทางนวัตกรรม(Innovation Capital):  โดยนวัตกรรมต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่องคือ

   1) มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้

   2) นำความคิดไปปฏิบัติจริง

   3) ทำให้สำเร็จ

                  การพัฒนาทุนทางนวัตกรรม อาจารย์จิระจะใช้ทฤษฎี 3 C คือ

1)            Customer คือวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า

2)            Change Management คือ บริหารการเปลี่ยนแปลง

3)            Command and Control คือ ลดการควบคุม  สั่งการ  พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม

-ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural  Capital):  จุดแข็งของไทยคือรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เราสั่งสมมานาน  สามารถสร้างให้มีคุณค่าได้ในยุคเสรีอาเซียนอย่างแน่นอน

-ทุนทางอารมณ์ ( Emotional Capital):  อาจารย์จิระเสนอแนวทางที่ใช้สร้างทุนทางอารมณ์ของ

The  KlannLeadershipของCenterfor Creative Leadership ดังนี้

   ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การมองโลกในแง่ดี การควบคุมตนเอง การติดต่อสัมพันธ์

             นอกจากนี้อาจารย์สมชาย ภคภาสวิวัฒน์ ยังให้ความเห็นไว้ว่าผู้บริหารระดับสูงต้องเปลี่ยนตนเองให้เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ และคนไทยทุกคนจำเป็นต้องปรับ Mind Set เพื่อให้สามารถคิดนอกกรอบและมองโลกอย่างสร้างสรรค์ และต้องฝึกเรื่อง Competency ตามทฤษฎีของ Gary Hamel ว่า.. หากคุณต้องการความสำเร็จ คุณต้องสร้างความต่างที่เลียนแบบได้ยาก ในขณะเดียวกันความต่างต้องแปลงเปลี่ยนสินค้าและบริการไปสู่ความหลากหลาย

 

………………………………..

 

 

 

 

เสาวลักษณ์ สกุลแพทย์

เสาวลักษณ์ สกุลแพทย์
นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

ECO Design หากกล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ECO Design, Green Architecture หรือ Sustainable Design กำลังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง โดย ECO Design, Green Architecture หรือ Sustainable Design นั้น มีนิยามไปในทางเดียวกัน คือ สถาปัตยกรรมการออกแบบที่มุ่นเน้นใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยหลักการแล้ว ECO Design นั้นมีความหมายกว้างและมีหลายหัวข้อให้กล่าวถึง แต่ในเรื่องของวัสดุนั้น จะเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่ควรใส่ใจ วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายในโลก ถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองและหมดไปในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้น สถาปนิก วิศวกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารและที่อยู่อาศัยทั้งหมด จึงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัย

        การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างสำคัญอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเกิดประโยชน์แก่ผู้อยู่อาศัย ได้แก่

การเลือกใช้หลังคา ปัจจุบันมีวัสดุมุงหลังคาหลายประเภท มีทั้งที่เป็น ECO Design และ ไม่เป็น ECO Design โดยจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- กระเบื้องหลังคาดินเผา ถือว่าเป็นวัสดุที่เป็น ECO Design ในด้านวัสดุเนื่องจากผลิตจากดินเป็นส่วนผสมหลัก แต่ไม่เป็น ECO Design ในด้านของกระบวนการผลิต เนื่องจากต้องนำเข้าเตาเผาความร้อนสูง ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ เช่นน้ำมัน ถ่านหิน อย่างมหาศาลในการเร่งความร้อนเตาเผา ในขณะเดียวกัน วัสดุตัวใหม่กว่าคือ กระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตนั้นถือว่าเป็นวัสดุที่เป็น ECO Design กว่ามาก เนื่องจาก ไม่ต้องการความร้อนในการขึ้นรูป

ภาพกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีต

การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน - Fiber glass เป็นวัสดุกันความความร้อนที่นิยมใช้ในบ้านเราที่สุด แต่เป็นวัสดุที่ไม่นิยมใช้เป็นอย่างยิ่งในหลายๆประเทศเนื่องจาก Fiber glass ทำจากเศษแก้ว ที่นำมาปั่นจนเป็น อณูละเอียดมาก แล้วขึ้นรูปเป็นแผ่นเพื่อนำมาเป็นฉนวนกันความร้อน โทษของ Fiber glass ที่ทำให้หลายๆประเทศ ไม่นิยมใช้คือ Fiber glass เป็นสารก่อมะเร็ง และเราหายใจสูดดมเข้าไปในปอดโดยไม่รู้ตัว เนื่องจาก Fiber glass เป็นอณูที่ละเอียดมากจนเราแทบมองไม่เห็น จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ติดตั้งและผู้อยู่อาศัย

                    ภาพ Fiber glass
  • PU Foam เป็นวัสดุกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่งและเป็นวัสดุกันความร้อนที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมห้องเย็น แต่เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่า PU Foam เหมาะกับการนำมาทำวัสดุกันความร้อนสำหรับตึกรามบ้านเรือนหรือไม่ เนื่องจาก PU Foam เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของสารเคมีอยู่มาก จึงเหมาะสำหรับการถูกใช้ในปริมาณน้อย และมีการปิดผนึกมิดชิด เช่นห้องเย็น และเมื่อใดที่ทุกบ้านใช้ PU Foam เป็นฉนวนกันความร้อนนั่นแปลว่าต้องมีการใช้น้ำมันและสารเคมีเป็นพิษ มากมายในการผลิตโฟมตัวนี้ PU Foam จึงไม่ถือว่าเป็นวัสดุที่เป็น ECO Design

ภาพ PU Foam

  • กระดาษ recycle ปัจจุบันนี้ มีการนำกระดาษที่ไม่ใช้แล้วมา recycle เป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งมีประสิทธิภาพดีและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก การใช้วัสดุกันความร้อนที่ทำจากกระดาษ recycle เป็นการช่วยลดขยะกระดาษที่มีอยู่จำนวนมาก โดยการ recycle กระดาษนั้น จะทำให้เยื่อกระดาษสั้นลง ความขาวลดลง กล่าวคือ เมื่อ recycle ไป เรื่อยๆ กระดาษจะเปื่อยจนไม่สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษได้อีก ฉนวนกันความร้อน จึงเป็นเหมือน กระบวนการสุดท้ายของวงจรชีวิตกระดาษ อีกทั้งกระบวนการผลิตไม่ต้องการน้ำมันหรือพลังงานมหาศาล ที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ เพิ่มมลพิษต่อโลก ฉนวนเยื่อกระดาษ จึงนับว่าเป็นวัสดุกันความร้อนที่เป็น ECO Design อย่างแท้จริง

ภาพกระดาษ recycle การเลือกใช้ผนัง อดีตเราเคยใช้อิฐมอญ หรืออิฐแดงในการก่อผนัง ต่อมาเราพัฒนาเป็นใช้อิฐมวลเบา ที่มีข้อดีกว่าอิฐแดงหลายประการ อาทิ อิฐมวลเบา ช่วยกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ 4 - 8 เท่า เป็นผลให้ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30 % มีน้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี กันเสียงและอายุงานยาวนานกว่าอิฐมอญ อีกทั้งการก่อสร้างง่าย เนื่องจากวัสดุมีขนาดแต่ละก้อนได้มาตรฐานเดียวกันและ มีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้รวดเร็วและเรียบร้อยกว่า ดังนั้น เมื่อเทียบอิฐมวลเบากับอิฐแดงแล้ว ดูจะเป็น ECO Design กว่าในทุกๆ ด้าน

ภาพอิฐมวลเบา
การเลือกใช้พื้น แต่เดิมเราเคยใช้พื้นคอนกรีตหล่อกับที่ซึ่งเป็นมาตรฐานในการก่อสร้างอาคารทั่วไป จากนั้น จึงพัฒนามาเป็น พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือที่เราเรียกติดปากกันว่าพื้นสำเร็จ พื้นสำเร็จนั้น ถือว่าเป็น ECO Design กว่าเดิมมาก เนื่องจากพื้นในระบบเดิมทั้งก่อสร้างช้า ทั้งเปลืองเหล็ก อีกทั้งต้องใช้ทรัพยากรไม้มหาศาลในการทำไม้แบบ ไม้ค้ำ รองใต้พื้นเพื่อรอปูนเซตตัว อีกทั้งน้ำหนักก็มากกว่าพื้นสำเร็จ ทำให้เปลืองโครงสร้างเสา คาน ฐานรากอีกด้วย พื้นสำเร็จจึงเป็นนวัตกรรมที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พื้นสำเร็จไม่ได้เหมาะกับการใช้งานทุกรูปแบบ เช่นอาคารสูง หรือ อาคารพาดช่วงยาว พื้น post tension ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ออกแบบมาเพื่ออาคารสูงหรืออาคารพาดช่วงยาวโดยเฉพาะ และ ถือว่าเป็น ECO Design กว่าพื้นสำเร็จเสียอีก นั่นเพราะว่า พื้น post tension สามารถพาดช่วงยาวได้มากกว่า พื้นสำเร็จหลายเท่า และพื้น post tension ไม่จำเป็นต้องมีคาน ดังนั้น จึงเป็นการประหยัดวัสดุ ในเรื่องของคาน เสา และน้ำหนักลงไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม พื้น post tension เหมาะกับอาคารสูง เพราะ มีราคาค่อนข้างสูง จุดคุ้มทุนจะเกิดเมื่อใช้ในปริมาณที่มาก ดังนั้น พื้น post tension จึงแทนที่ พื้นสำเร็จได้ในกรณีอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่เท่านั้น ในกรณีบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก พื้นสำเร็จจึงยังเป็นที่นิยมมาก

ภาพแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป

จากบทความข้างต้น การเคหะแห่งชาติสามารถนำมาใช้ในเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง การใช้ ECO Design ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ถือว่าเป็นนวัตกรรมในการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ และช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร ผู้อยู่อาศัย รัฐบาลและสิ่งแวดล้อม จริงๆแล้วยังมีวัสดุอีกมากมายที่ผลิตออกมาใหม่มาเพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยประหยัดเงินให้กับประเทศในองค์รวม เช่น ลดวัสดุการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ประหยัดน้ำมัน และทำให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เมื่อคนสุขภาพดี จะช่วยรัฐบาลประหยัดในเรื่องของค่าช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐอีกด้วย แต่เหตุที่วัสดุเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในเมืองไทย อาจเป็นเพราะ สถาปนิกผู้ออกแบบ ไม่มีความรู้และไม่ติดตามเทคโนโลยี เคยใช้วัสดุอะไร ก็จะใช้อยู่อย่างนั้น อีกทั้ง ผู้ว่าจ้างไม่มีความใส่ใจในด้านสิ่งแวดล้อม คิดถึงแต่ปัจจุบันไม่มองการณ์ไกล และปัจจัยในด้านราคาที่สูงกว่า ดังนั้นสิ่งที่จะผลักดันให้วัสดุเหล่านี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย จึงต้องมีหลายๆฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน เช่น การให้ความรู้กับสถาปนิก ความเหมาะสมการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับอาคารแต่ละประเภท และ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ให้ความรู้แก่แรงงานในด้านการติดตั้ง และการช่วยเหลือจากรัฐบาลในแง่ภาษี เราทุกคนควรคิดถึงประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อมของ ECO Design ให้มาก เพราะปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ............................................................... 31 กรกฎาคม 2555

การให้บาง Stakeholder มีส่วนในการเลือกโครงการของ กคช. ในภูมิภาค

                                                                              โดย  สรัญญ์  โสภณ

1.ที่อยู่อาศัย

ที่อยู่อาศัยเป็นอันดับที่ 3 ในปัจจัย 4  ถัดจาก อาหาร เครื่องนุ่มห่ม โดยมี   ยารักษาโรค เป็นปัจจัยที่ 4  ปัจจัย 4 นี้โดยความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องมีต้องใช้ในการดำรงชีวิต แต่ในจำนวนปัจจัยทั้ง 4 ที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยที่มีราคาแพงมากในอันที่จะได้มา ดังนั้นเมื่อมนุษย์ที่มีฐานะยากจนจะใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จึงจำเป็นต้องคัดแล้วคัดอีกให้รอบคอบเพื่อให้ได้ที่อยู่อาศัยที่คุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป

การพัฒนาที่อยู่อาศัยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายประการ ในภาคเอกชน ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจเป็นเพียงแค่สินค้าชนิดหนึ่งเป็นธุรกิจที่มุ่งหวังกำไร ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าตราบใดที่ยังมีกำไรตามที่คาดหวังไว้ แต่ในส่วนของ กคช.มีความแตกต่างไปจากภาคเอกชนอีกพอสมควร เนื่องจากวัตถุประสงค์ของ กคช.ไม่ได้ถือว่าที่อยู่อาศัยเป็นสินค้า ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำกำไรให้แก่องค์กร แต่ กคช. ต้องการให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในทุกมิติ แต่ในขณะเดียวกัน กคช.ก็ต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายเงินซื้อบ้านของผู้มีรายได้น้อยด้วยว่ามีความสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้มากน้อยเพียงใด

2.ที่ดิน
   ที่ดินเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตัวหนึ่ง เพราะในความเป็นจริงหรือแม้แต่ตามหลักเศรษฐศาสตร์ก็ตาม ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ ( ไม่นับกรณีการถมทะเล ซึ่งไม่มีนัยสำคัญต่อพื้นที่รวมเท่าใด ) แต่ที่ดินก็เป็นทั้งวัตถุดิบในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตอื่น ๆ            นั่นหมายถึงว่า ที่ดินจะถูกใช้ประโยชน์หลายวัตถุประสงค์โดยมีความต้องการจากผู้เกี่ยวข้องมากมายอันเป็นที่มาของราคาที่ดินที่จะสูงหรือต่ำตามความต้องการในแต่ ละประเภทธุรกิจ
3.กระบวนการในการจัดหาที่ดิน
   นอกเหนือจากการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชย์แล้ว กระบวนการในการจัดหาที่ดินเพื่อพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย  ภาคเอกชนสามารถที่จะดำเนินการจัดหาได้คล่องตัวกว่า กคช. มาก เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ทำให้เจ้าหนี้เงินกู้เชื่อว่าจะชำระหนี้เงินกู้ให้ได้ตามกำหนดเวลา ส่วนกระบวนการที่จะได้มาซึ่งที่ดินนั้นเป็นสิทธิ์ที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์นั้นจะดำเนินการเอง แต่การจัดหาที่ดินของ กคช.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ( ไม่แตกต่างจากราชการมากนัก ) จำเป็นต้องสร้างกฎเกณฑ์ในการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน ซึ่งในส่วนนี้ทำให้ความยากง่ายหรือความรวดเร็วล่าช้าแตกต่างจากภาคเอกชนมาก โดยนัย เกณฑ์ถูกกำหนดขึ้นมาเสมือนให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎเกณฑ์คล้าย ๆ กับเป็นสิ่งที่กำหนดมาเป็นกรอบเพื่อป้องกันการทุจริตในการดำเนินงานเนื่องจากผลประโยชน์ในการซื้อที่ดินนั้นมีมูลค่ามหาศาลในช่วงเวลาสั้น ๆ 
กคช. มีข้อบังคับว่าด้วย การจัดซื้อที่ดิน พ.ศ.2540 และระเบียบว่าด้วย วิธีปฏิบัติงานการจัดซื้อที่ดิน พ.ศ.2546 กำหนดวิธีการจัดซื้อที่ดินต่าง ๆ เช่น 
     3.1 ข้อบังคับ 
    จะระบุว่า  การจัดซื้อที่ดินจะทำได้กี่วิธี  เช่น โดยวิธี ประกาศซื้อ หรือโดยวิธีตกลงซื้อ หรือวิธีอื่น ๆ  เมื่อใดจะใช้วิธีใด อำนาจอนุญาตการจัดซื้อเป็นของใคร (วงเงินจัดซื้อเท่าใดเป็นของ ผว. วงเงินจัดซื้อเท่าใดเป็นของคณะกรรมการ กคช.)

ซึ่งบางครั้งก็เป็นอุปสรรคกับการจัดซื้อ ทำให้กระบวนการจัดซื้อต้องใช้ระยะเวลามาก เช่น วงเงินจัดซื้อ 50 ล้านบาท อยู่ในอำนาจของ ผว.ซึ่งระยะเวลาในการจัดซื้อจะใช้น้อยกว่าวงเงินจัดซื้อของคณะกรรมการ กคช. แต่ในบางครั้งวงเงินจัดซื้อที่อยู่ในอำนาจของ ผว.ก็อาจทำให้ได้จำนวนที่ดินไม่มากพอที่จะทำโครงการได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของ กคช. แต่ถึงแม้เป็นอย่างนั้นก็ยังทำให้เกิดความล่าช้ามากอยู่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดซื้อของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 3.2 ระเบียบ

    จะกำหนดว่าเมื่อใช้วิธีใด จะต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น ประกาศซื้อ จะต้องระบุรายละเอียดและเงื่อนไข ระยะเวลาที่ผู้สนใจจะเสนอขายที่ดินมาให้ กคช.พิจารณา หลักเกณฑ์การคัดเลือกแปลงที่ดินที่เหมาะสม ( และมีความเป็นไปได้ในเรื่องของราคาที่อยู่อาศัยที่กลุ่มเป้าหมายจะรับได้ )  การให้คะแนนตามปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ทราบว่าที่ดินที่เหมาะสมคือที่ดินที่จะมีคะแนนสูงกว่าแปลงอื่น ๆ ข้อมูลอื่นที่ใช้ประกอบการพิจารณานอกเหนือจากการให้คะแนน เช่น การจ้างเอกชนประเมินราคาที่ดินแปลงที่สนใจเพื่อที่จะใช้เปรียบเทียบในการต่อรองราคาที่ดิน การต้องขอเอกสารต่าง ๆ เช่น ราคาประเมินราชการ การตรวจสอบภาระผูกพันของที่ดินจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่นผังเมืองจังหวัด หน่วยทหาร กรมป่าไม้ สำนักงานที่ดิน สถาบันการเงิน ซึ่งต้องการการตอกลับอย่างเป็นทางการเป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งจะใช้เวลามาก และอาจเป็นเหตุผลให้การเสนอขายที่ดินมีการตั้งราคาสูงเผื่อไว้เนื่องจากต้องใช้เวลาในการพิจารณานานมาก
4.ผู้ทำหน้าที่คัดเลือกที่ดิน
   ข้อบังคับ ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดิน ข้อ 14 กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบ โดยให้ ผว.แต่งตั้งจากพนักงาน ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป จำนวนตั้งแต่ 3 - 7  คน โดยจะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่พนักงานร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้
5.การดำเนินงานจัดซื้อที่ดินที่ผ่านมา    

ในช่วงของการจัดซื้อที่ดินเพื่อจัดทำโครงการตามแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 5 ปี ของ กคช. ( ไม่นับรวมการรับซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทร ) ทั้งใน กทม.และภูมิภาค ( ซึ่งในภูมิภาคจะมีจำนวนที่ดินที่จะต้องจัดซื้อหลายจังหวัด )

  5.1 กคช.ไม่เคยแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ใช่พนักงานร่วมเป็นกรรมการด้วยเลย
  5.2 โดยส่วนใหญ่มักจะมีพนักงานระดับ รผว.เป็นประธานคณะกรรมการ 
  5.3 เมื่อคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินปฏิบัติหน้าที่แล้วเสร็จให้รายงานผลการดำเนินการเสนอ ผว. เพื่ออนุญาตการจัดซื้อ ( ในกรณีวงเงินจัดซื้อเป็นอำนาจของ ผว.) หรือนำเสนอคณะกรรมการ กคช. ( ในกรณีวงเงินจัดซื้อเกินอำนาจของ ผว.)
6. ประเด็นพิจารณากรณีการจัดซื้อที่ดินในภูมิภาค
    การใช้พนักงาน กคช. แต่เพียงอย่างเดียวเป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินจะเสมือนกับการทำงานอย่างโดดเดี่ยวไม่มี Connection และไม่ได้คำนึงถึง Stakeholder ทั้ง ๆ ที่ควรจะมีเนื่องจาก กคช.เป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ที่ กทม.ไม่มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่รู้จริงว่าคนในเมืองภูมิภาคที่จะไปสร้างบ้าน/สร้างชุมชนให้เขาอยู่นั้นมี  Character อย่างไร ควรจะสร้างบ้านแบบใด ลักษณะการคมนาคม/ขนส่ง จากชุมชนไปยังแหล่งงาน สถานศึกษา ส่วนราชการ โรงพยาบาล ฯลฯ ของเขาเป็นอย่างไร      ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดที่อยู่อาศัยตรงตามความต้องการของประชาชน   กคช. ประสบผลสำเร็จตามภารกิจตามที่รัฐบาลมอบหมาย และประชาชนได้สิ่งที่คุ้มค่ากับเงินลงทุน  มีความสุขกับบ้านกับชุมชนที่อยู่อาศัย
     6.1 แนวคิดในเรื่องบุคคลที่จะเป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน 
           ดังนั้นในแง่ของ Connection และ Stakeholder  กคช.จึงควรที่จะปรับปรุงพัฒนาแนวคิดการจัดหาที่ดินใหม่โดยควรจะขอให้ภาครัฐและภาคเอกชนในท้องถิ่น ( ปลัดเทศบาล/ปลัด อบต. เป็นต้น ) ประธานหอการค้าจังหวัด เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดิน เพื่อที่จะได้ข้อมูลได้ความรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ในเมืองนั้นมามากกว่าพนักงานของ กคช. มาใช้ประกอบการพิจารณาจัดซื้อที่ดิน  กรรมการจัดซื้อที่ดินซึ่งตั้งจากหน่วยงานท้องถิ่นสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคณะกรรมการในส่วนของ กคช.ได้มาก  นอกจากนั้น การให้ส่วนราชการและภาคเอกชนในท้องถิ่นได้ทราบล่วงหน้าถึงการที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนในอนาคตยังจะเป็นการช่วย กคช.ทำงานได้ครอบคลุมลดภาระต่าง ๆ ลงได้  เช่น     ช่วยประชาสัมพันธ์ความต้องการซื้อที่ดินให้กว้างขวางขึ้น ช่วยรายงานความคืบหน้าหรือปัญหาอุปสรรคของโครงการให้ประชาชนที่จะเป็นลูกบ้านของ กคช.ในอนาคต  ได้ทราบ  ช่วยเหลือแนะนำการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร การตั้งงบประมาณในการจัดเก็บขยะ การประสานด้านการคมนาคม/ขนส่ง ฯลฯ ให้แก่ประชาชน   

โดยในเบื้องต้น กคช.อาจจะทำโครงการทดลองโดยยังกำหนดให้คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินส่วนใหญ่เป็นพนักงานของ กคช. ก่อน หากเห็นว่าได้ผลดีจึงค่อยถือแนวปฏิบัติต่อไป

     6.2 แนวคิดในเรื่องของประธานคณะกรรมการ ฯ เป็นพนักงานตำแหน่ง รผว.      พิจารณาในเบื้องต้นโดยยังไม่นำแนวคิดข้อ 6.1 มาพิจารณา  การให้ รผว.เป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดิน เป็นการกำหนดระดับตัวบุคคลที่สูงเกินไป ตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งที่ให้คุณให้โทษ เป็นตำแหน่งที่คณะกรรมการที่เหลือในคณะ ( ซึ่งเป็นพนักงาน กคช.ที่ตำแหน่งต่ำกว่า) ให้ความเกรงใจ  ประธานกรรมการฯ จึงมีอิทธิพลที่จะชี้นำการพิจารณาให้เลือกที่ดินแปลงหนึ่งแปลงใดได้
ในทางปฏิบัติของการที่ต้องการให้ทีมร่วมพิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะหลากหลายอย่างอิสระ ระดับตำแหน่งของพนักงานในคณะกรรมการจึงไม่ควรจะห่างกันมากเกินไป จึงน่าจะกำหนดให้ประธานกรรมการ เป็นพนักงานระดับ 9 กรรมการที่เหลือเป็นพนักงานระดับ 8 และไม่อยู่ในสายบังคับบัญชาของประธานกรรมการ และควรปรับแก้การเสนอผลการดำเนินงานให้ ผว.เป็นผู้ตัดสินเพียงคนเดียวมาเป็นการนำผลการพิจารณาเข้าในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงเพื่อร่วมกันกลั่นกรองความเหมาะสมของที่ดินที่คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินได้พิจารณามาแล้วอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแนวคิดเรื่องการกำหนดระดับตำแหน่งของพนักงานที่เป็นคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินก็ยังคงสามารถนำไปใช้กับแนวคิดในเรื่องให้ส่วนราชการท้องถิ่นหรือภาคเอกชนท้องถิ่นเข้าเป็นกรรมการจัดซื้อที่ดินของ กคช.ได้เช่นกัน    

แนวคิดครั้งนี้ไม่ต้องแก้ไข ข้อบังคับ ว่าด้วย การจัดซื้อที่ดิน สามารถดำเนินการได้ทันที


นายดารนัย อินสว่าง

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

โดยนายดารนัย อินสว่าง รุ่นที่ 2

    การเคหะแห่งชาติ เป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516             ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 316 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย ต่อมาปี 2545 รัฐบาลได้มีกรเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ การเคหะแห่งชาติจึงได้ย้ายมาสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. จัดให้มีเคหะเพื่อประชาชน ในรูปแบบของการให้เช่าและเช่าซื้อ
     2. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเพื่อที่เป็นที่อยู่อาศัย
     3. จัดหาเงินกู้เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนได้เช่าและเช่าซื้อ
     ต่อมาปี 2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งพระราชบัญญัติ              การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 ดังนี้
         1. จัดให้เคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย
     2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะของตนเอง
         3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน
         4. ปรับปรุงหรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรม เพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม           เศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
         5. ประกอบธุรกิจอื่นๆที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น
     ภารกิจของการเคหะแห่งชาติ พัฒนาที่อยู่อาศัยพัฒนาคุณภาพชีวิตของ               ผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อให้เกิดครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมเป็นสุข
    

    ยุทธศาสตร์การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2554-2558 ยุทธศาสตร์ ที่1 การควบคุมความเสียหายและพลิกฟื้นองค์กร (Damage Control Mitigation) ยุทธศาสตร์ ที่2 การปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจและองค์กรเพื่อการพัฒนาทรัพย์สินให้เหมาะกับแต่ละบทบาท และเกิดประโยชน์สูงสุด(Restructuring) ยุทธศาสตร์ ที่3 การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ยุทธศาสตร์ ที่4 การพัฒนาศักยภาพองค์กรเพื่อรองรับแตะละบทบาทในระยะยาว

ยุทธศาสตร์ ที่5 การลงทุนและบริหารทรัพย์สินเพื่อให้สอดคล้องแต่ละบทบาทของ องค์กร(Investment Asset management) ยุทธศาสตร์ ที่6 การเป็นผู้นำในการอยู่อาศัยและพัฒนาเมืองที่มีความเป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารชุมชนและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน (Leader on Sustainable urban and housing development)

    ในปัจจุบันรัฐบาลได้มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในรูปแบบของโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวนประมาณ 315 โครงการ จำนวนหน่วยก่อสร้าง               สองแสนกว่าหน่วยทั่วทั้งประเทศ และมีสำนักงานเคหะชุมชนที่ต้องดูแลโครงการทั้งเคหะชุมชนและโครงการบ้านเอื้ออาทรทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และภูมิภาค จำนวน 79 สำนักงานเคหะชุมชน
    ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการบริหารการจัดการเพื่อให้ชุมชน                    ได้มีการบริหารจัดการกันเองและเป็นการแบ่งเบาภารกิจของเจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ                  ซึ่งมีจำนวนน้อย จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนร่วมกันและมีความรับผิดชอบร่วมกัน จึงพัฒนาชุมชนในแต่ละด้าน  ดังนี้

ด้านสังคม ควรมีการพัฒนาในเรื่องนี้

    1. การจัดตั้งองค์กรชุมชน เพื่อให้เป็นองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งสามารถพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จะต้องดำเนินกิจกรรมและมีแผนงานที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการ ดังนี้
        1.1 ปฐมนิเทศให้ความรู้การอยู่อาศัยในชุมชน และการสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง
        1.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่ององค์กรชุมชน ในรูปแบบที่สอดคล้องกับนโยบายของการเคหะแห่งชาติ เพื่อให้องค์กรชุมชนสามารถดำเนินการบริหารชุมชนของตนเอง โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจากการเคหะแห่งชาติ ทั้งนี้องค์กรชุมชนจะต้องจัดหาผู้ที่มี              จิตอาสา มีความเสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต เข้ามาเป็นคณะกรรมการชุมชน
        1.3 จัดอบรมให้ความรู้การบริหารองค์กรชุมชน ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารชุมชนภายในโครงการบ้านเอื้ออาทรและโครงการเคหะชุมชนของการเคหะแห่งชาติ ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งองค์กรในนั้นจะต้องรู้จักการประสานงานกับหน่วยงาน            ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน เพื่อที่จะได้นำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์มาสู่ชุมชน


    2. การพัฒนาศักยภาพองค์กรชุมชน โดยการดำเนินการและสนับสนุนองค์กรชุมชน โดยการดำเนินการและสนับสนุนองค์กรชุมชนด้านการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง และมีรูปแบบของการบริหารจัดการที่ชัดเจน ซึ่งจะต้องมีกระบวนการ   ตามขั้นตอน ดังนี้
        2.1 จัดอบรมเพื่อสนับสนุนพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการองค์กรชุมชน และตัวแทนอาคารผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแกนนำพัฒนาชุมชน 
        2.2 จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ สร้างภาวะผู้นำพบผู้นำและศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีการรวมตัวกันและเป็นการแสวงหา               ผู้นำชุมชนที่จะสามารถพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบโครงการเรียนรู้และศึกษาดูงานจากชุมชนที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไปเพื่อนำมาเป็นต้นแบบ
        2.3 จัดอบรมให้ความรู้ด้านงานบริหารชุมชนแบบบูรณาการแก่องค์กรชุมชนและผู้อยู่อาศัยในชุมชน ทั้งนี้เตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรชุมชนที่จะได้บริหารชุมชนของตนเองในอนาคต เนื่องจากการเคหะแห่งชาติมีงบประมาณที่จะต้องจ้างบริหารชุมชนใน 5 ปี                  ซึ่งแต่เดิมได้จ้างเหมาบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการบริหารชุมชน แต่ถ้าสนับสนุนให้องค์กรชุมชน   มีความเข้มแข็งและสามารถบริหารชุมชนได้ด้วยตนเอง จะทำให้ชุมชนมีรายได้และสร้างงานให้กับคนภายในชุมชนได้มีงานทำ เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด พนักงานธุรการ พนักงานการเงิน ช่างเทคนิค เป็นต้น
        2.4 ให้ความรู้เรื่องนิติบุคคลอาคารชุด หรือนิติบุคคลชุมชนการเคหะ เนื่องจากอาคารชุดเมื่อครบ 5 ปีแล้ว จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุด ดังนั้น องค์กรชุมชนจะต้องมีความเข้าใจด้านการบริหารในรูปแบบของนิติบุคคลอาคารชุดหรือนิติบุคคลชุมชนการเคหะ
        2.5 จัดกิจกรรมพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มเด็ก สตรี และเยาวชนผู้สูงอายุ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ให้มีความเข้าใจในบทบาทและความสำคัญของกลุ่มเพื่อให้แต่ละกลุ่มได้มีความเข้มแข็ง เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและสร้างชุมชนให้ความเข้มแข็งเป็นชุมชนน่าอยู่ น่าอาศัย ร่วมกับองค์กรชุมชน

    3. จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาชุมชน เพื่อให้องค์กรชุมชนได้มีการเรียนรู้และ               การจัดทำแผนแม่บท การพัฒนาชุมชนจะได้เป็นรูปแบบของการทำงาน โดยมีแผนงานด้านการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม และมีความชัดเจนของการบริหารงานในแต่ละปี โดยมีกิจกรรมและกระบวนการ  ดังนี้
3.1 การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมสำรวจข้อมูลชุมชนและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการขัดทำแผนงานบริหารงานโดยเริ่มจากสำรวจข้อมูลชุมชนโดยการใช้แบบสอบถามด้านประชากร ความต้องการด้านอาชีพ ความต้องการด้านกิจกรรมพัฒนาชุมชน และนำแบบสอบถามมาทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อที่จะได้นำมาประกอบในการจัดทำแผนงานด้านการพัฒนาชุมชน
        3.2 จัดทำร่างแผนชุมชนร่วมกับสมาชิกผู้อยู่อาศัย และหน่วยงาน                    ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยผู้อยู่อาศัยและองค์กรชุมชนเป็นผู้จัดร่างแผนงานด้าน              การพัฒนาชุมชนเพื่อนำไปสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
        3.3 ประชาพิจารณ์แผนบูรณาการแผนชุมชน เมื่อร่างแผนเสร็จเรียบร้อย      ให้มีการประชุมองค์กรชุมชน ร่วมกับผู้อยู่อาศัยในชุมชน นำแผนงานที่ร่างไว้มาทำประชาพิจารณ์ถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสม ก่อนนำมาประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

    4. การสร้างเครือข่ายชุมชนระดับพื้นที่/องค์กรภายใน/องค์กรภายนอก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือและมีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาชุมชนในโครงการบ้านเอื้ออาทร โดยมีกิจกรรมและกระบวนการ ประกอบด้วย
        4.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
        4.2 ประชุมร่วมระหว่างชุมชน
        4.3 ประชุมจัดตั้งเครือข่ายชุมชน และจัดทำแผนงานด้านการพัฒนาชุมชน              ร่วมกัน
        4.4 สร้างเครือข่าย
        4.5 ศึกษาดูงานระบบบริหารชุมชนของชุมชนอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม

    5. ติดตามและประเมินผล การดำเนินโครงการและนำข้อมูลผิดพลาดมาดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ได้ความชัดเจนและสมบูรณ์แบบในการพัฒนาชุมชน

ด้านเศรษฐกิจ

    เนื่องจากโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นโครงการที่จัดสร้างเพื่อผู้อยู่อาศัยที่มี                รายได้น้อย ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยได้รู้จักการเรียนรู้ด้านการออมทรัพย์ วินัยทางการเงิน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยได้มีอาชีพเสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยส่งเสริมการฝึกอาชีพและจัดหาตลาดทางการค้าให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชน โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียนด้านอาชีพ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือสถาบันการศึกษาได้นำอาชีพใหม่ ๆ มาพัฒนาในชุมชน

ด้านสิ่งแวดล้อม

    จัดอบรมให้ผู้อยู่อาศัยได้มีความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาชุมชนด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและการสร้างชุมขนสีเขียว เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนน่าอยู่ โครงการจัดกิจกรรม/โครงการภายในชุมชน ประกอบด้วย
    1. โครงการรณรงค์การปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ต้นไม้ภายในชุมชน เพื่อให้เป็น            ชุมชนสีเขียว
    2. โครงการธนาคารขยะ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีการคัดแยกขยะ และทิ้งขยะตามที่ที่          กำหนดไว้
    3. โครงการรณรงค์รักษาความสะอาดภายในชุมชนเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้มีส่วนร่วมใน        การพัฒนาชุมชนร่วมกัน

บทสรุป

    การเคหะแห่งชาติ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคม   และความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายนโยบายจากรัฐบาลในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางในรูปแบบของโครงการบ้านเอื้ออาทร มีทั้งระบบการก่อสร้างที่เป็นอาคารชุด บ้านเดี่ยว บ้านแฝด  บ้านเดี่ยว ซึ่งปัจจุบันได้มีการก่อสร้างและ                 ส่งมอบอาคารไปแล้วประมาณ 315 โครงการ ทั่วทั้งประเทศประมาณแต่ละโครงการมีตั้งแต่ขนาด 200 หน่วย จนถึงประมาณ 8,000 หน่วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่และความต้องการด้านที่อยู่อาศัยของแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด ซึ่งการส่งมอบบ้านให้กับผู้อยู่อาศัยแล้วการเคหะแห่งชาติจะดูแลสภาพชุมชนทั้งระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการบริหารจัดการโครงการประมาณ 5 ปี และหลังจากนั้นก็จะดำเนินการมอบโอนให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลต่อไป แต่ภายในระยะเวลา 5 ปี ที่การเคหะแห่งชาติดูแลนั้น จะดำเนินการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน เพื่อให้สามารถบริหารตนเองได้หลังจากครบ 5 ปีแล้ว โดยเฉพาะองค์กรชุมชนจะต้องมีการเรียนรู้ด้านการบริหารชุมชน การพัฒนาชุมชน ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ  และสิ่งแวดล้อม พร้อมรอบรู้ด้านการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการที่จะดึงหน่วยงานต่างๆเข้ามาร่วมเป็นภาคีในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยเฉพาะการจัดทำแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรม องค์กรชุมชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน และสามารถถ่ายทอดกระบวนการพัฒนาชุมชนไปให้กับคนรุ่นหลังได้ ต้องมีกลไก ในการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง เพื่อมีบุคคลหรือองค์กรในชุมชน ได้มีการบริหารชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชุมชน และเป็นชุมชนต้นแบบ                 เป็นชุมชนตัวอย่าง ที่บุคคลทั่วไปเห็นแล้วชื่นชม เห็นแล้วยกย่องสรรเสริญ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ   และสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงตลอดไป
ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

          ไม่มีสิ่งอื่นใดที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่อาจารย์จีระฯต้องการทำในสิ่งที่ยาก  นอกจาก การได้เห็นต้นแบบแห่งคุณงามความดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพสู่สังคมไทยให้เป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาที่ยั่ยืนตามแนวทางของพ่อหลวง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2015 การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ซึ่งประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง  จะต้องพัฒนาคนไทยอย่างไรรองรับประชาคมอาเชียน  อาจารย์จีระฯได้เอาทฤษฎีทุนมนุษย์ของอาจารย์เอง หรือที่เรียกว่า  8K’s และ 5K’s (ใหม่) นำมาเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสรุปดังนี้

          K1 ทุนมนุษย์ (Human Captital) เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก เพราะมนุษย์ทุกคนเริ่มเท่ากัน ได้มีการลงทุนและ พัฒนาตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการเลี้ยงดูของครอบครัว  ศึกษา โภชนาการ การอบรม ฯลฯ ทำให้ทุนมนุษย์มีไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิธีการเรียน

          K2 ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  คือการมองไปข้างหน้าหรืออนาคต  อาจารย์จีระ พูดถึงวิธีการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนไทยคิดเป็นและการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับประเทศไทยกับสังคมเศรษฐกิจอาเชียนโดยนำทฤษฎี 4L's มาปรับใช้ จะเป็นการสร้างทุนทางปัญญาที่จะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันและความไม่แน่นอน ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การมีทุนทางปัญญาจะทำให้สามารถหาทางออกเสมอ  สำหรับ ทฤษฎี 4L's ประกอบด้วย

                        Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรุ้ที่น่าสนใจ

                        Learning Environment  คือ สร้างบรรยากาศเรียนรู้

                        Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสเรียนรู้

                        Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

          K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม(Ethical Capital) อาจารย์จีระ พูดว่า การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่มีความรู้และมีปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปที่ควรจะอยู่ใน DNA ของคนไทยทุกคน และได้แนะนำแนวทางการสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ได้ทั้งส่วนบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม อีก 2 แนวทางที่เห็นควรปฏิบัติ คือ

                        แนวทางแรก  คือแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยให้เข้าใจและยึดมั่นใน  ศีล  สมาธิ และปัญญา

                        แนวทางที่สอง คือ การมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ ความถูกต้อง(Integrity)   จินตนาการ (Imagination)  และนวัตกรรม(Innovation)

          K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)  อาจารย์จีระ ให้คำนิยามว่า คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ    และอาจารย์ได้ค้นหาตัวท่านเองว่าความสุขของท่านก็คือการมีความรักในงานที่ทำ มีความสุขที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์และเพื่อร่วมชาติในสังคมไทย  ดังนั้นในโลกของการแข่งขันการจะอยู่รอดในสังคมอาเซียนเสรินั้นเรื่องเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยมไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุขในการทำงานสำคัญกว่า  ในการนี้อาจารย์จีระได้ให้แนวทางการสร้างทุนแห่งความสุขจากประสบการณ์ของท่าน โดยมีกฏ ดังนี้          

  1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)
  2. ชอบงานที่ทำ (Passion)
  3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)
  4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)
  5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)
  6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)
  7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)
  8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)
  9. ทำหน้าที่เป็นโค๊ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)
  10. ทำงานที่ท้าทาย ( Challenge)
  11. ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

           K5 ทุนทางสังคม (Social Capital-Networking)  หรือเครือข่าย อาจารย์จีระพูดว่า ในยุคอาเซียนเสรีคนไทยต้องพร้อมที่จะมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศํกยภาพในการแข่งขัน  แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายของปัญญา ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศอาเซียน ให้ได้เพราะเป็นปัจจัยสัญช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital) อาจารย์จีระ ให้ความหมายไว้ว่า คือการที่ตัวเราจะมีศํกยภาพในการมองอนาคติว่าจะอยู่รอดหรือไม่  โดยทุนแห่งความยั่งยืนของอาจารย์จีระ มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้น  ความพอประมาณ  มีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกัน 

            K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital)  ในยุคที่ข่าวสารไร้พรหมแดน อาจารย์จีระ ตระหนักว่า ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้  การเปิดเสรีอาเซียน ภาษาอังกฤษอย่างเดียวคงไม่พอ การเรียนรู้ภาษาของชาติอาเซียนด้วยกันก็สำคัญ เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาเขมร เป็นต้น

            K8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital)  หมายถึง การมีทักษะ ความรู้และทัศนคติ  อาจารย์จีระ พูดว่า ในยุคอาเซียนเสรี คนที่มีศํกยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยะภาพอยู่ในตัว หมายถึง มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลา มีทัศนคติพร้อม ต่อการทำงานในเชิงรุก

            5K's (5)  เป็นทฤษฎีทุนใหม่ ที่อาจารย์จีระฯ  เห็นความสำคัญอีก 5 ประการในการต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์  ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด สามารถแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรีได้อย่างสง่างาม และยั่งยืน  ประกอบด้วย

  1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  อาจารย์บอกว่า การสร้างความคิดสร้างสรรค์ต้องฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น  ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ   คิดเป็นระบบ และอยากทำสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
  2. ทุนทางความรู้    ทุนทางความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักของความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ ตรงประเด็นความต้องการของผูรับบริการ
  3. ทุนทางนวัตกรรม   โดยจะต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ  หนึ่ง เป็นความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้      สอง นำความคิดไปปฏิบัติจริง และสาม คือทำให้สำเร็จ
  4. ทุนทางวัฒนธรรม  การมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศื่น ๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย
  5. ทุนทางอารมณ์  มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย   โดยแนวทางของ The Klann Leadership คือมีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี  รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะช่วยให้เราทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข และลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกระดับ

บทสรุปจากหนังสือ  การเปิดเสรีอาเซียน หรือการก้าวสู่สังคมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคน ทั้งในแง่บวก และ ลบ  ทั้งเป็นโอกาสและเป็นความเสี่ยง     ดังนั้นคุณภาพของทุนมนุษย์ คือ เรื่องวัดความสามารถทางการแข่งขัน  ทฤษฏี 8K’s และ 5K’s (ใหม่) ตามที่สรุปข้างต้นจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้

                                                              บทย่อโดย ผ่องศรี  ปลอดประดิษฐ์

ผ่องศรี ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ

          เป็นหนังสือที่ผู้เขียน คือ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้อัญเชิญพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ชาวไทยได้พึงปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทซึ่งพระองค์เป็นต้นแบบแห่งคุณธรรมความดีงาม ที่ทรงทำเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่า ได้แก่

  1. ความกตัญญู    ความสุขสูงสุดของคนเป็นพ่อแม่นั้น คงไม่มีสิ่งใดเกินไปกว่าการมีลูกเป็นคนดีและ เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
  3. ความพอเพียง  คือความไม่เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น   ซึ่งประกอบด้วย 3 พอ  ได้แก่ พอเพียง คือการอยู่ได้ด้วยตนเอง   พอประมาณ คือไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก  และพอดี คือพอแล้วดีมิใช่ดีแล้วจึงพอ
  4. ความซื่อสัตย์
  5. ระเบียบวินัย เคารพในกติกา และการู้จักยับยั้งจิตใจของตนเอง
  6. ความอดทน

          นอกจากนี้ การที่พระองค์ประสบความสำเร็จในการบริหารราชการแผ่นดิน ก็เพราะทรงครองราชย์โดยธรรม   ซึ่งธรรมที่ทรงนำมาเป็นหลักในการปกครองแผ่นดินก็คือ ทศพิธราชธรรม   ประกอบด้วย

  1. ทาน            ทรงเป็นผู้ให้
  2. ศีล              ทรงเป็นผ็มีจริยวัตรงดงาม
  3. ปริจจาคะ      ทรงเป็นนักเสียสละ
  4. อาชชวะ        ทรงเป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต
  5. มัททวะ         ทรงเป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
  6. ตปะ             ทรงเป็นผู้มีความเพียรในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ และเพียร กำจัดกิเลส
  7. อักโกธะ        ทรงเป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ ไม่มัวเมาในอำนาจ
  8. อวิหิงสา       ทรงเป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรง เบียดเบียนประชาชน
  9. ขันติ            ทรงเป็นผู้เปี่ยมด้วยขันติธรรม ด้วยความอดทน
  10. อวิโรธนะ       ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ในครรลองของนิติธรรม เนติธรรม ราชธรรมอย่างเคร่งครัด ทรงถือธรรมเป็นใหญ่

                                        บทย่อโดย ผ่องศรี  ปลอดประดิษฐ์

กมลรัตน์ หลากคุณากร

สวัสดีคะอาจารย์ ส่งการบ้านครั้งที่ 2

ในการอบรมวันที่ 30 กรกฎาคม 55 ได้ความรู้เกี่ยวกับบุคคลตัวอย่างที่เป็นผู้นำทั้งระดับโลกและระดับประเทศ รู้จักการพัฒนาผู้นำมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้มีแรงบันดาลใจ และทัศนคติใหม่ๆในการทำงานและก้าวต่อไปอย่างแน่วแน่

ส่งการบ้าน ธัญญาภา สุโลวรรณ เรื่องนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการทำงานการเคหะแห่งชาติ

จำรัส ปลอดประดิษฐ์

สรุปเนื้อหาย่อ ๆ ที่เข้าใจจากการเข้าร่วมโครงการฯ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2555

เรื่อง  ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์  

          เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนความรู้ และความเข้าใจให้ชัดเจนมากขึ้นว่า ผู้นำ นั้นต่างกับ ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ควบคุม จัดการระบบและควบคุมให้สำเร็จตามเป้าหมายให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในระยะสั้น   ส่วน ผู้นำ จะจัดการที่เน้นคนหรือองค์กร โดยจับหลักการความสำคัญว่าจะมีวิธีการ (what)  และ How ทำอย่างไรให้สำเร็จ และเกิดศรัทธาจากองค์กร  ภาวะผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่นั่นหมายถึง Vision  Mission  Strategies และ Core Value ในอนาคต พร้อมการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และองค์กรมีความสุข    ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์แต่สามารถมาจาก การเรียนรู้ และฝึกฝน ตลอดเวลาและไม่มีผู้นำคนไหนที่มีความสุข จากลูกน้องที่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งการพัฒนาภาวะผู้นำ มีหลักทฤษฎี 5E’s  คือ  Example     Experience   Education  Environment   และ Evaluation

เรื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลง

บทบาทของผู้บริหาร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือการบริหารการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือจากการบริหารการปฏิบัติงานประจำ   ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก-ภายใน ผลกระทบ และโอกาสเพื่อลดผลกระทบที่ไม่ดี ทำให้องค์กรดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และอยู่อย่างยั่งยืน

 

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2555

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (2)

  • รู้และให้เข้าใจในความหมาย Vission – Mission
  • Vission ของ กคช.ที่กำหนดไว้ว่าใช้ในปี 2554-2558  ดูแล้วเป็นบทบาทมากกว่าที่จะเป็นทิศทางที่จะไป ไปแล้วจะทำให้เราอยู่รอด หรือทำให้เก่งกว่าคนอื่น และทำให้เราดูแลลูกค้าของเราได้ นอกจากนี้ ไม่เห็นภาพถึง 10 ปี ดังเช่นความหมายของ Vission
  •  ธุรกิจจะอยู่อย่างยั่งยืน   ผู้นำและคนในองค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
  • การฝึกความคิดความเข้าใจจากผู้เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 ซึ่งต่อไปจะเป็นผู้นำยุคใหม่  ให้ทบทวน-กำหนดวิสัยทัศน์ของ กคช. โดยวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก ภายใน  Stakehoders   เพื่อรองรับการเปลี่ยนในอีก 10 ปี

การบริหารกลยุทธ์องค์กร

เป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนประสพการณืของวิทยากรจากหลาย ๆ แห่งเพื่อให้เห็นมุมมองต่าง ๆ ในการบริหารกลยุทธ์จากหน่วยงานอสังหาฯ โดย อ. อนุชา กุลวิสุทธิ์    อ.เฉลิมพล เกิดมณี  และอ.สมชาย สาโรวาท   ซึ่งมุ่งเน้นของการทำเงิน  แต่ กคช. เพื่อสังคม หรือประชาชนผู้ด้อยโอกาศได้มีที่อยู่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม   นั่นก็คือ การมองตัวเองว่าอยู่ใน Position ตรงไหน จึงจะคุ้มทุนหรือจุดผ่าน

 

วันพุธที่ 27  มิย.55   การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. ในด้านวัฒนธรรม การตลาด  การผลิต และการเงิน

          ด้าน วัฒนธรรม กคช.  ที่หลายคนรับรู้ และดำเนินอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้แก่  กิจกรรมวันสถาปนา กคช.     วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นเป็นตอนนำเสนอตามลำดับสายการบังคับบัญชา   การเคารพผู้อาวุโส

           ด้านการตลาด  อ. พงษ์ชัยฯ ให้ความหมายไว้ว่า  การทำอย่างไรหรือวิธีไหนก็ได้ให้เกิดความอยาก   เมื่อ 40 ปีก่อน กคช. ไม่มีคู่แข่งการทำบ้านราคาถูก เพราะส่วนหนึ่งรัฐอุดหนุน  แต่ขณะนี้ มีหลายบริษัทที่ทำอสังหาฯราคาที่ถูกกว่า กคช.  ดังน็น กคช. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องหาช่องว่าของตลาดให้ได้ว่า ควรจะผลิด หรือมีผลิตภัณฑ์อะไรกันแน่   ที่จะสามารถเสนอให้ลูกค้าหรือไม่  หรือมีลูกเล่นอย่างไรให้เป็นที่นิยมในตลาด

            วิเคราะห์การผลิต  เป็นการสร้างจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนผลิต และรูปแบบบ้านไม่หลากหลาย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่แถบชานเมือง  เป็นการสร้างแล้วขาย   หากขายแล้วสร้างจะเน้นระดับรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง

            วิเคราะห์การเงิน  กคช.จะมีรายรับจากการโอนที่อยู่อาศัย และบริหารสินทรัพย์เช่า แต่มีค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  รวมถึงต้นทุนสินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่นกัน  จึงมีความเสี่ยงทางการเงินในสินค้าคงค้าง และภาระหนี้ระยะยาวที่ค่อนข้างสูง  ถึงแม้ว่างบการเงินในปี 2553 กคช. ไม่ติดลบก็ตาม   และในอนาคตงบการเงินเป็นอย่างไร หากติดลบ เป็นด้วยปัจจัยอะไร ที่ทุกคนจะต้องแก้ปัญหา

 

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555

            การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์   เป็นการนำสองคำมาเชื่อมโยงกันระหว่าง ทุนมนุษย์  กับกลยุทธ์     โดยกลยุทธ์ หรืออีกมุมมองหนึ่ง ก็คือยุทธศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน หมายถึง กระบวนการที่มีตั้งแต่จุดเริ่มต้น ถึงเป้าหมายสุดท้าย              ดังนั้น  การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์  ก็คือ การดึงเอาขีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และภูมิปัญญาของบุคคล ไปดำเนินการให้สอดคล้องกับภาระกิจต่าง ๆ ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ตรงตามวิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กรที่ตั้งไว้

            สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนการหลัก 6 ขั้นตอน ดังนี้

  1.  ต้องวิเคราะห์กลยุทธ์ขององค์กรโดยใช้เครื่องมือ SWOT  
  2. กำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง
  3. วิเคราะห์อัตรากำลังในองค์กร   ซึ่งเรื่องนี้มิใช่เป็นหน้าที่หลักของฝ่ายบริหารบุคคลเท่านั้น  ผู้บริหารทุกท่านจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ ว่าความชำนาญด้านใดที่จำเป็น หากองค์กรมีกลยุทธ์มุ่งไปสู่ AEC เป็นต้น
  4. กำหนด แผนปฏิบัติการ ตั้งแต่การจ้างบุคคลากร จนถึงกระบวนการนำไปพัฒนาให้มีขีดความสามารถ เพื่อไปปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
  5. IMPLEMENT THE ACTION PLAN
  6. MORNITOR ,  EVALUATE ,  AND REVISE PLAN

การสร้างทุนมนุษย์  เพื่อการพัฒนาทักษะ ความชำนาญ  ความรู้ความสามารถ   ปัจจัยที่สำเร็จในการบริหารทุนมนุษย์ ก็คือ  LEADERSHIP   หมายถึงว่า ผู้นำในองค์กรจะต้องให้เกิดการพัฒนาบุคคลในองค์กรอย่างต่อเนื่อง   มีการวางแผนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่ครบถ้วน เชิงบูรณาการ และสร้างเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ให้เป็นเรื่องที่หวังผลลัพธ์

นอกจากนี้ มีการฝึกกิจกรรม การใช้สมองด้านขวา  เหมือนว่าเป็นการเค้นเอาความรู้ความสามารถตอบโจทย์ให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด  กิจกรรมนี้ชอบมาก   รวมทั้งให้คิดอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือ MIND MAP

 

วันที่ 9 กรกฏาคม 2555   การบริหารธุรกิจในยุคอาเชียน

              ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ( AEC ) ที่ทุกคนในขณะนี้รู้ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2558   หากมองย้อนหลังออกไปจะเห็นว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  และมนุษย์อยู่ในสังคมแห่งความรู้   ข่าวสาร  เทคโนโลยี  ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ  แต่การก่อกำเนิดของอาเชียนได้รวมตัวมากันตั้งแต่ปี 2510 และต่อยอดออกมาเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ(AFTA) เขตการค้าเสรีในปี 2536    ความตกลงด้านการค้าบริการ และเขตการลงทุนอาเชียนในปี 2538 เป็นต้นมา  ดังนั้น ข่าวสารความรู้  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหาร หรือผู้นำ จะต้องรู้ให้รอด  รู้จริง  มีความตระหนัก และเห็นสิ่งจริงภายใต้การแตกต่าง  นั่นก็คือการคิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking)  ซึ่งความหมายของคำว่า “ระบบ”  จะต้องมีองค์ประกอบคือฟังก์ชั่น หลาย ๆ ฟังก์ชั่นที่เชื่อมสัมพันธ์กัน ถ้าเปรียบกับการบริหาร หมายถึงกระบวนการงานบริหารจัดการในแต่ละหน่วยงานจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน  ทำให้เกิดความมั่นคงของระบบ องค์กรอยู่อย่างยั่งยืน และมีความสุข

   นอกจากนี้ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มองจุดเห็นโลกทั้งหมด โดยเห็นว่าโลกแบน  และต้องเป็นนักคิดกลยุทธ์หมายถึง รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง  ให้คิดเป็นระบบมองอนาคต ทุกอย่างในโลกนี้เป็นกระบวนการ ให้ปรับเปลี่ยนความคิดจากคำถามว่า อะไร เป็น ทำไม และ ทำอย่างไร  แล้วจะเห็นสิ่งที่เหมือนกัน  ดังนั้นในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  การบริหารจัดการองค์กรที่ดีผู้บริหารจะต้องฝึกระบบคิด เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และปรับกฏเกณฑ์

    ช่วงบ่าย จะเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ ของวิทยากร และอาจารย์  โดยให้ความหมาย AEC        ก็คือตลาดร่วม หรือตลาดเดียว ที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และเงินทุนโดยเสรี ไม่มีเส้นกั้นระหว่างประเทศ  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะ 10 ประเทศใน เอเชี่ยนเท่านั้น เนื่องจากแต่ละประเทศไปทำสัญญากับประเทศอื่น ๆ ดังนั้นอาจหมายถึงครึ่งหนึ่งของโลกทีเดียว   เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ผู้บริหาร กคช. ควรได้มีการระดมความคิดที่เป็นระบบ เตรียมพร้อมการเข้าสู่ยุคประชาคมอาเชียน   หาโอกาส และลดผลกระทบจากจุดอ่อนในอดีตที่ผ่านมา  สร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์บ้างก็ตาม เพื่อให้องค์กรได้คงอยู่อย่างยั่งยืน

 

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2555 

เรื่องที่ 1  การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

             ความรู้ในเชิงทฤษฎี ว่า การบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานอาจทำมานานแล้วแต่ยังไม่ชัดเจน  เพราะบางเรื่องเป็นความเสี่ยง แต่บางเรื่องไม่ถือว่าเป็นความเสี่ยง  และในสถานะที่เป็นผู้บริหาร อาจจะต้องเผชิญกับการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่ไม่ทราบผลลัพธ์ที่แน่นอน  จึงจะต้องกำหนดให้มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เป็นตัวช่วย     การบริหารความเสี่ยงมีกระบวนการและเทคนิคประกอบด้วย  การระบุความเสี่ยง  ประเมินความเสี่ยง  จัดการกับความเสี่ยง  และติดตามผลการบริหารความเสี่ยง 

               ความเข้าใจในเรื่องความเสี่ยง เป็นเรื่องที่ไม่ดี ต้องกำจัดให้หมดไป ไม่ให้เหลือเลยเพิ้อทำตัวให้ปลอดภัยดีกว่านั้น ไม่ถูกต้องเพราะในโลกใบนี้การดำเนินชีวิตทุกๆย่างก้าว ทุก ๆ แห่ง มีความเสี่ยงตลอดเวลา    ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง เพื่อจัดการปัองกันให้อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้โดยยึดหลัก 5Ts   of Risk Management ดังนี้

  1. Tolerate  การยอมรับให้มีความเสี่ยงบ้าง
  2. Treat  การจัดการควบคุมความเสี่ยง  แต่มิใช่ให้หมดไป เป็นการควบคุมทั้งโอกาสและผลกระทบให้อยู่ในระดับที่รับได้
  3. Transfer  การกระจาย/โอนความเสี่ยงให้บุคคลที่สามร่วมรับความเสี่ยง
  4. Take  การฉวยโอกาสจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงบางอย่างอาจนำมาซึ่งโอกาสในการบริหารจัดการ        

             

วันพุธที่ 11 กรกฏาคม 2555

เรื่องที่ 2  การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

                        งบประมาณ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งประกอบด้วย แผนการปฏิบัติงาน ผนวกกับ แผนการใช้จ่ายเงิน  นั่นก็คือ แผนการดำเนินงานทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่งโดยแสดงออกในรูปตัวเงินในการบริหารกิจกรรม โครงการ และค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุผลผลิตและผลลัพธ์ โดยใช้จ่ายอย่างประหยัดและคุ้มค่า            การจัดทำงบประมาณไม่มีสูตรสำเร็จ ขึ้นอยู่กับการต่อรองข้อมูลจริงที่ดีเพียงพอว่าถ้าจัดสรรแล้วการดำเนินงานได้ประโยชน์อย่างไร 

                        อาจารย์สุวรรณ วลัยเสถียร   ซึ่งเป็นปรมาจารย์ของการใช้เงินให้ทำงาน ได้ชี้หนทางสู่ความั่งคั่ง  ด้วยคาถา 4 อย่างที่ควรท่องจำไว้ ดังนี้

  1. ขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้
  2. ประหยัดอดออม คนที่สุรุ่ยสุร่ายไม่มีโอกาสร่ำรวย
  3. ใฝ่หาความรู้ มีความคิดริเริ่ม รู้จักหาทางออก  แก้ปัญหา
  4. ทำบุญกุศล  

 

วันจันทร์ที่  16 กรกฎาคม 2555 

         การวิเคราะห์กรณีศีกษาการบริหารธุรกิจ  เพื่อให้ผู้บริหาร ได้ตระหนักและสามารถนำไปประยุกต์กับการพัฒนา กคช.  โดยสรุปประเด็นที่สำคัญ ๆ ดังนี้

-       ในการบริหารองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ผู้บริหารนั้นเป็นผู้ที่มี สมรรถภาพ  (EFFECIENCY)  และมีสัมฤธิ์ผล (EFFECTIVENESS)    ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการดำเนินงานที่ต้องทำอะไรให้ถูกวิธี   ซึ่งในทฤษฎีของ  Peter Drucker  ว่าการบริหารงานของผู้บริหาร ต้อง Doing the Righting  ในการเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้   5 ประการ คือ

  1. Time  การบริหารกาลเวลาให้เป็น ตัวอย่างเช่น จัดหาสมุดบันทึก 3 เล่ม ไว้ที่ โต๊ะ ,เลขา และ หัวเตียงนอน  โดยให้จดบันทึกของแต่ละวัน  จะพบว่า ทั้ง 3 เล่มมีเนื้อเรื่องไม่ตรงกัน
  2. Priority   วางแผนว่าจะต้องทำอะไร และให้เลือกว่าจะทำอะไรก่อน
  3. Contribution  หมายถึง การถามตนเองว่า องค์กรจ้างมาให้ทำอะไร แล้วคุ้มค่าหรือไม่  
  4. Strength  ให้มองแต่จุดแข็งของผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เช่นความสามารถการปฏิบัติงานมีเพียง 10%  ก็เพียงพอแล้ว
  5. Problem Soving  และ Decision Making   การแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เป็นระบบ         

-        แนวคิด Creative Thinking ของอาจารย์ มารค์ ก็คือ การมองภาพ กคช. ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร   การทำไปวิเคราะห์ไป  การวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน  และ สิ่งสำคัญ การเล่นและการเรียนรู้       อาจารย์ได้สอนให้ผู้บริหารรู้จักการมองความเป็นตัวตน (Self)  เพื่อเกิดแรงบันดาลใจคิดสร้างสรรค์ต่อไป  หรือ คิดกลับด้านจากผลงานในอดีตเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย   ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่มุ่งเน้นการสัมฤทธิ์ผลไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ได้คำนึงถึง วัตถุประสงค์  ขององค์กรว่าเพื่ออะไร  และการเข้าสู่ AEC  ถ้า กคช. ไม่ขยับ หรือคิดหาแนวทางการเปลี่ยนแปลง จะส่งลห้องค์กรเสียประโยชน์ได้  

 

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555    การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

          

  • ทฤษฎีของ Jack Welch  การดำเนินธุรกิจเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนทั้งสิ้น ทั้งในชีวิตจริงตั้งแต่ครอบครัว  เพื่อนบ้าน ครู   เพื่อนเรียน  ผู้บังคับบัญชา  ซึ่งในทุก ๆ วัน จะยุ่งวุ่นวายกับคนทั้งนั้น    ดังนั้น   ผู้นำที่ดี ต้องมีเวลาในกับคนในองค์กร
  • คนในองค์กรเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด    ในแต่ละหน่วยงานอาจจะมีคนมากหรือน้อย การบริหารคนไม่มีความแตกต่างกัน เพราะทุกคนทำงานเพื่อบรรลุผลงานของตนเองซึ่งผู้นำจะทราบจากการติดตามประเมินผล ที่เกิดจาก ความรู้ความสามารถ และทักษะ (Competency) โดยแต่ละคนมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับผู้นำที่คอยกระตุ้นสร้างแรงจูงใจได้อย่างไร เพราะองค์ประกอบมีมากมาย หลายอย่าง เช่น อารมณ์ ครอบครัว สภาพแวดล้อม หรือเจ้านายเป็นต้น
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง  ก่อนอื่น   ผู้นำต้องรู้จักและจัดการเปลี่ยน ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน อันเนื่องมาจากปัจจัยขององค์ประกอบภายนอก และภายใน
  • โมเดล ขบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  1. Leader Change  มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหาร
  2. Creating A Shared Need สร้างความต้องการร่วมที่มุ่งสู่ความเปลี่ยนแปลง
  3. Shaping A Vision สร้างวิชั่น หรือวิสัยทัศน์ให้คนอื่นเห็น
  4.  Mobilizing Commitment ผลักดันให้เกิดการยอมรับ หรือมีแนวร่วม
  5. Making Change Last  การจัดการช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
  6. Monitoring Progress  ติดตามความคืบหน้า
  7. Changing System & Structure   เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงการและระบบ

Finance for Non-Finance & Financial Perspective

            การให้ความรู้เบื้องต้นกับผู้บริหารที่มิใช่นักการเงิน เพื่อให้เข้าใจและทราบถึงความสำคัญและความจำเป็น    และประโยชน์ของความรู้ทางการเงินให้นำไปประยุกต์ ใช้กับการบริหารในหน่วยงานที่รับผิดชอบ   โดยเนื้อหา อธิบายถึงความหมายของตลาดการเงินและตลาดทุน   รายการสำคัญในงบแสดงฐานะทางการเงิน  งบกำไรขาดทุน   และงบกระแสเงินสด  รวมทั้งการวิเคราะห์การลงทุนโครงการ  ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งการบริหารการเงินองค์กร และส่วนบุคคล

   

                

วิญญา สิงห์อินทร์

สรุปหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

คุณพารณ  เครือซิเมนต์ไทย  ให้ความสำคัญกับคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุด  จนทำให้เครือซิเมนต์ไทยมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งเกิดขึ้นตามธรรมชาติตั้งแต่การคัดเลือกคนทำงาน  สืบทอดวัฒนธรรม  เพิ่มผลิตสร้างเครือข่าย  จนพนักงานมีความจงรักภักดีกับองค์กร  และคุณพารณ  มีความเป็นประชาธิปไตยในการบริหารให้ทุกคนมีส่วนร่วมตัดสินใจ  มองการพัฒนาอบรมคนเป็นการลงทุนไม่ใช่ต้นทุน  และคนเป็นผู้นำต้องอย่าดีแต่พูดต้องทำให้เกิดเป็นผลงานและจะมีศรัทธาตามมา  

สิ่งที่เครือซิเมนต์มีหลักสำคัญที่ควรยึดถือในการประเมินคน 2 องค์ประกอบ

ความสามารถในการทำงาน (ในหน้าที่)
                     การเป็นที่ยอมรับจากทุกระดับ
         ดร.จีระ  ในทรัพยากรทั้งหลายในการผลิต  ทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สุดเป็นผู้นำเสนอทฤษฎี  3  วงกลม  สำหรับการรับมือการเปลี่ยนแปลง  Change  management
         วงที่ 1   Context    เป็นองค์กรให้คล่องตัว  แวดล้อมเอื้อต่อการทำงาน  เน้นแบบ

Process ใช้ IT

          วงที่ 2  Competencies  สมรรถนะทักษะความสามารถโดยเน้นทักษะงานที่นำความรู้ที่เป็นประโยชน์องค์กร  ภาวะผู้นำริเริ่มสร้างสรรค์  ความรู้รอบตัว  
          วงที่ 3  Motivation  สร้างแรงจูงใจที่เป็นตัวเงินไม่เป็นตัวเงิน
จำรัส ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

           เป็นหนังสือที่ว่าด้วยประสพการณ์การทำงานที่เกี่ยวกับมนุษย์ของอาจารย์ทั้ง 2 ท่านก็คือ อาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่มีความมุ่งมั่นในเรื่อง คน หรือทรัพยากรมนุษย์

          เนื้อหาหลัก ๆ ของอาจารย์ทั้งสองท่าน  แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 4 ช่วง พอสรุปได้ดังนี้

ช่วงแรก  เป็นช่วงที่กล่าวถึงเส้นทางชีวิตของอาจารย์ทั้งสองท่าน ที่มีความคล้ายคลึงกันและอยู่ในชนชั้นของสังคมเหมือน ๆ กัน โดยได้มาโคจรพบกันด้วยวัยต่างกันถึง 20 ปี เกิดมาในตระกูลที่มีชื่อเสียง อยู่ในครอบครัวอบอุ่น มีโอกาสกว่า  โดยอาจารย์พารณฯ เป็นช้างใหญ่ ในปูนซีเมนต์ซึ่งตรงกับนามสกุลของท่านจริง ๆ บริหารจัดการเรื่องของคนในองค์กรซึ่งเชื่อว่าคนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กรไม่ว่าจะเป็นเงิน ไม่ว่าจะเครื่องจักร ไม่ว่าจะอะไรก็ตาม คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด และเชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย

 นอกจากนี้ได้กล่าวถึงผลงานด้านที่เกี่ยวกับคนและแนวทางการทำงานของอาจารย์ทั้งสองท่าน  โดยคนทั้งคู่เป็นผู้ฝ่เรียนรู้ และยังคงกระหายกับการแสวงหาความรู้อย่างไม่รู้จักอิ่ม  ซึ่งปรัชญาชีวิตของอาจารย์พารณฯ ว่า  เราต้องเกิดมาเพื่อจะเรียนรู้  และเรียนรู้   ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ พันธุ์แท้  ที่มีความคิดริเริ่มแนวใหม่ๆอยู่เรื่อย และมีลักษณะของคนหลายแนวความคิด หากเป็นสินค้าจะมีนวัตกรรม หรือ innovation อยู่ตลอดเวลา เลยเป็นพันธุ์แท้ที่อยู่ได้อย่างสมบูรณ์

ช่วงที่สอง  เป็นการอธิบายแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดขององค์กร  โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้พร้อมกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กรจากแรงจูงใจที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยเฉพาะการมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของมนุษย์ซึ่งนับวันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป                วิธีคิดของอาจารย์พารณฯ กับการพัฒนาทัพยากรมนุษย์โดยกำหนดกรอบคิด 4 ประเด็น  ได้แก่ แนวความคิด  เป้าหมาย  วิธีการ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เพราะการทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาเรื่องคน เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่ได้รับการพัฒนาก็เป็นดั่งทุน(Capital)  ที่นับวันมีแต่จะเสื่อมค่าลงอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะคุณภาพการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรง หรือถ้าการศึกษาเป็นจุดอ่อน องค์กรจะทดแทนด้วยสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ แต่การลงทุนในคุณค่าของคนนั้นจะวัดการการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องดูด้วยว่า คนเหล่านั้นมีความสามารถในการสร้างเพิ่มผลผลิตแค่ไหน  ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามจะต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน หรือมีความศรัทธาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ ก็จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งอาจารย์ยึดมั่นในอุดมการณ์ 4 ประการ คือ  ตั้งมั่นในความเป็นธรรม   มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ  เชื่อมั่นในคุณค่าของคน  และถือมั่นในความรับผิดขอบต่อสังคม

              สำหรับอาจารย์จีระฯ ได้นำประสพการณ์คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับทุนมนุษย์ ว่าทรัพยากรมนุษย์จะมีคุณค่าจะต้องมี ทุน 8 ประการหรือ ทฤษฎี  8k's  ประกอบด้วย  ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข  ทุนทางสังคม  ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนทางเทคโนโลยีฯ  และทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ   นอกจากนี้จากกระแสโลกาภิวํมตน์แรงขึ้น ทุน 8 ประการยังไม่เพียงพอ  จึงได้ค้นพบอีก 5 ทุน หรือ ทฤษฎี 5 k's ประกอบด้วย ทุนแห่งการสร้างสรรค์  ทุนทางความรู้  ทุนทางนวัตกรรม  ทุนทางอารมณ์  และทุนทางวัฒนธรรม

ช่วงที่สาม  เป็นเรื่องราวของการสร้างนวัตกรรมต้นแบบแห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์ด้วยปัญญา ที่  สันกำแพงและที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย  โดยมุ่งมั่นให้เป็น Good learner  ที่มีความสามารถในการเรียนรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต  เพื่อให้คนไทยก้าวสู่ระดับโลก  Global citizen   ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่ความคล่องแคล่วในภาษาไทย-อังกฤษ    เทคโนโลยี่   และมีคุณธรรม

ช่วงที่สี่  เป็นเรื่องราวแนวคิดในการขยายผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อมุ่งมั่น ของอาจารย์จีระฯ ในการพัฒนาการศึกษาไทยเพื่อความเป็นเลิศ และสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับประเทศ  โดยนำบทเรียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเป็นกรณีศึกษา โดยมีแนวคิดการสร้างนวัตกรรมของการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

   1.  ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา

   2.  เมื่อมีความคิดใหม่แล้ว ต้องลงมือทำ เพราะถ้าคิดแต่ไม่ทำ  นวัตกรรมไม่เกิด

    3. ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง โดยวัดผลในมุมมองหลาย ๆ คน และผู้มีส่วนใด้ส่วนเสีย

   

                                                                                               

จำรัส ปลอดประดิษฐ์

หนังสือ  ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน

          ในปี 2015 การบริหารการเปลี่ยนแปลงในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน ซึ่งประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง  จะต้องพัฒนาคนไทยอย่างไรรองรับประชาคมอาเชียน  อาจารย์จีระฯได้เอาทฤษฎีทุนมนุษย์ของอาจารย์เอง หรือที่เรียกว่า  8K’s และ 5K’s (ใหม่) นำมาเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยสรุปดังนี้

          K1 ทุนมนุษย์ (Human Captital) เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก เพราะมนุษย์ทุกคนเริ่มมาจากสิ่งที่เท่ากัน  ได้มีการลงทุนและ พัฒนาตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการเลี้ยงดูของครอบครัว  ศึกษา โภชนาการ การอบรม ฯลฯ ของแต่ละครอบครัวที่แตกต่างกัน ทำให้ทุนมนุษย์มีไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิธีการเรียน

            K2 ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  เป็นการมองไปข้างหน้าหรืออนาคต  อาจารย์จีระ พูดถึงวิธีการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนไทยคิดเป็นและการปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อสร้างทุนทางปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับประเทศไทยกับสังคมเศรษฐกิจอาเชียนโดยนำทฤษฎี 4L's มาปรับใช้ จะเป็นการสร้างทุนทางปัญญาที่จะช่วยคนไทยให้อยู่รอดในโลกของการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันและความไม่แน่นอน ซึ่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การมีทุนทางปัญญาจะทำให้สามารถหาทางออกเสมอ  สำหรับ ทฤษฎี 4L's ประกอบด้วย

                   Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรุ้ที่น่าสนใจ

                   Learning Environment  คือ สร้างบรรยากาศเรียนรู้

                  Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสเรียนรู้

                  Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

            K3 ทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม(Ethical Capital) หมายถึง การเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ใช่แค่มีความรู้และมีปัญญาเท่านั้น แต่ต้องเป็นคนดี คิดดี ทำดี คิดเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปที่ควรจะอยู่ใน DNA ของคนไทยทุกคน และได้แนะนำแนวทางการสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ได้ทั้งส่วนบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม อีก 2 แนวทางที่เห็นควรปฏิบัติ คือ    แนวทางแรก  คือแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยให้เข้าใจและยึดมั่นใน  ศีล  สมาธิ และปัญญา  ส่วน แนวทางที่สอง คือ การมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ ความถูกต้อง(Integrity)   จินตนาการ (Imagination)  และนวัตกรรม(Innovation)

          K4 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)   คือพฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อทำให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ โดยเฉพาะอาจารย์จีระฯ มีความสุขที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์และเพื่อร่วมชาติในสังคมไทย  ดังนั้นในโลกของการแข่งขันการจะอยู่รอดในสังคมอาเซียนเสรินั้นเรื่องเงินอย่างเดียวหรือวัตถุนิยมไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่คุณภาพของทุนมนุษย์ที่มีความสุขในการทำงานสำคัญกว่า  ในการนี้อาจารย์จีระได้ให้แนวทางการสร้างทุนแห่งความสุขจากประสบการณ์ของท่าน

K5 ทุนทางสังคม (Social Capital-Networking)  หรือเครือข่าย   ซึ่งในยุคอาเซียนเสรีคนไทยต้องพร้อมที่จะมีเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและศํกยภาพในการแข่งขัน  แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายของปัญญา ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และสามารถบริหารความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศอาเซียน ให้ได้เพราะเป็นปัจจัยสัญช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

            K6 ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainable Capital)  คือการที่ตัวเราจะมีศํกยภาพในการมองอนาคติว่าจะอยู่รอดหรือไม่  โดยทุนแห่งความยั่งยืนของอาจารย์จีระ มาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงฯ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเน้น  ความพอประมาณ  มีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกัน 

            K7 ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital)  ในยุคที่ข่าวสารไร้พรหมแดน ซึ่งจะต้องตระหนักว่า ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้  การเปิดเสรีอาเซียน ภาษาอังกฤษอย่างเดียวคงไม่พอ การเรียนรู้ภาษาของชาติอาเซียนด้วยกันก็สำคัญ เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาเขมร เป็นต้น

          K8 ทุนอัจฉริยะ (Talented Capital)  หมายถึง การมีทักษะ ความรู้และทัศนคติ  อาจารย์จีระ พูดว่า ในยุคอาเซียนเสรี คนที่มีศํกยภาพจะต้องเป็นคนที่มีความเป็นอัจฉริยะภาพอยู่ในตัว หมายถึง มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ของตนเองตลอดเวลา มีทัศนคติพร้อม ต่อการทำงานในเชิงรุก

            5K's (5)  เป็นทฤษฎีทุนใหม่ ที่อาจารย์จีระฯ ได้ค้นพบและเห็นความสำคัญเพิ่มเติม  5 ประการในการต่อยอดสร้างคุณภาพทุนมนุษย์  ซึ่งจะช่วยให้ทุนมนุษย์ของประเทศไทยมีคุณภาพเพียงพอที่จะอยู่รอด สามารถแข่งขันในสังคมอาเซียนเสรีได้อย่างสง่างาม และยั่งยืน  ประกอบด้วย

  1. ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์  อาจารย์บอกว่า การสร้างความคิดสร้างสรรค์ต้องฝึกให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็น  ต้องมีเวลาคิด มีสมาธิ   คิดเป็นระบบ และอยากทำสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
  2. ทุนทางความรู้    ทุนทางความรู้ที่ดี ต้องอยู่บนหลักของความรู้ที่มาจากความเป็นจริง และ ตรงประเด็นความต้องการของผูรับบริการ
  3. ทุนทางนวัตกรรม   โดยจะต้องมีองค์ประกอบ 3 เรื่อง คือ  หนึ่ง เป็นความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์และนำมาผสมผสานความรู้      สอง นำความคิดไปปฏิบัติจริง และสาม คือทำให้สำเร็จ
  4. 4.    ทุนทางวัฒนธรรม  การมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศื่น ๆ และสามารถบริหารจัดการความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างดีด้วย
  5. 5.    ทุนทางอารมณ์  มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมไปถึงภาวะผู้นำด้วย   โดยแนวทางของ The Klann Leadership คือมีความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี  รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และสามารถสื่อสารสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะช่วยให้เราทำงานอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข และลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกระดับ

 

 

หนังสือ ธรรมดีที่พ่อทำ

                   เป็นเรื่องราวในพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ชาวไทยได้พึงปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทซึ่งพระองค์เป็นต้นแบบแห่งคุณธรรมความดีงาม ที่ทรงทำเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทย เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตอันทรงคุณค่า ซึ่งคนไทยที่เกิดมาในยุคนี้ ถือว่าเป็นบุญบารมีที่มีพระมหากษัตริย์ทรงด้วยทศพิศราชธรรม โดยให้นำหลักของพระองค์ท่านมาใช้ในชีวิต ได้แก่

  1. ความกตัญญู    ความสุขสูงสุดของคนเป็นพ่อแม่นั้น คงไม่มีสิ่งใดเกินไปกว่าการมีลูกเป็นคนดีและ เป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
  2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
  3. ความพอเพียง  คือความไม่เดือดร้อน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น   ซึ่งประกอบด้วย 3 พอ  ได้แก่ พอเพียง คือการอยู่ได้ด้วยตนเอง   พอประมาณ คือไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก  และพอดี คือพอแล้วดีมิใช่ดีแล้วจึงพอ
  4. ความซื่อสัตย์
  5. ระเบียบวินัย เคารพในกติกา และการู้จักยับยั้งจิตใจของตนเอง
  6. ความอดทน
นายสุพจน์ มัฆวิบูลย์

ขอส่งการบ้าน “การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนสิงที่จะต้องเปลี่ยนแปลงคือ การบริหารแนวใหม่ วิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะต้องวางเส้นทาง จัดทัพ ภาวะผู้นำ สร้างความเป็นเจ้าของ
ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง – Political / Analyical / System / Business Skills
จุดมุ่งหมายของการเปลี่ยนแปลง
  1. เข้าใจสภาพแวดล้อม แนวโน้ม และความท้าทาย
  2. เข้าใจกลไกลขององค์กร และการจัดการ
  3. มีทักษะในการวิเคราะห์ ประเมิน และวางแผนอย่างเป็นระบบในการตัดสินใจและสามาระให้ข้อเสนอแนะที่ดี
  4. สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลและพัฒนาหน่วยงานอย่างเป็นระบบ
  5. มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ กรณีศึกษาของ กฟน. สามารถนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงใน กคช. ได้มาก โดยหน่วยงานต้องพร้อมที่ จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อให้ปรับตัวได้กับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่คาดการณ์ได้และ คาดการณ์ไม่ได้

ขอส่งการบ้าน “การบริหารธุรกิจในยุค AEC”

  1. ความสำคัญของอาเซียน
  2. สถานะสินค้าอุตสาหกรรมไทยที่ส่งออกไปในตลาดอาเซียน
  3. แผนกลยุทธ์ “รู้เขา รู้เรา” สำหรับ SME ไทย คือ
  4. ด้านข้อมูลข่าวสาร
  5. ด้านเครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน
  6. ด้านตำแหน่งสินค้า
  7. ด้านผลกระทบต่อธุรกิจ
  8. ด้านต้นทุนการผลิต
  9. ด้านคุณภาพสินค้า
  10. เป้าหมายภายใต้ AEC คือ
  11. การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม
  12. การสร้างเสริมขีดความสามาถแข่งขัน
  13. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  14. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก กคช. ต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมในยุค AEC ที่มาใน ปี 2558 รวมทั้งควรให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจอย่างทั่วถึง

ขอส่งการบ้าน Finance for Non – Finance & Financial Perspective

  • ความหมายของตลาดการเงิน ตลาดทุน
  • ประเภทของสถาบันการเงินในประเทศไทย
  • หลักการบัญชีเบื้องต้น
  • รายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน กำไรสุทธิ
  • งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงกระแสเงินสด
  • การวิเคราะห์ทางการเงิน
  • การลงทุน
  • การบริหารการเงิน
  • การเงินโครงการ
  • การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มืออาชีพ การไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย
  • สร้างระบบผู้นำ
  • สร้างกลยุทธ์
  • สร้าง Core Competamcy
  • สร้างความท้าทายขององค์กร
  • สร้างความได้เปรียบ
  • รู้จักสภาพแวดล้อมภายใน – ภายนอก
  • รู้จักคู่ค้า
  • รู้คู่แข่ง
  • รู้จักบทบาทหลัก
  • มีการถ่ายทอดกลยุทธ์
  • รู้จักลูกค้าคือใคร
  • ลักษณะบุคลากรในองค์กร
  • มีการบวนการทำงานชัดเจน
  • บริหารข้อมูล สารสนเทศ
  • แสดงผลประกอบการ การลงทุนขึ้นอยู่กับโอกาสและเวลา ดังนั้น กคช. ควรกำหนดตำแหน่งทางธุรกิจที่เหมาะสมวางแผนให้สอดคล้องกับ SWOT ใกล้ชิดการเมือง ไม่ควรแข่งกับเอกชน ค้นหานวัตกรรมการอยู่อาศัย เช่น บ้านผู้สูงอายุ Nursing Home บ้านลอย ฯลฯ

ขอส่งการบ้าน “การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์”

  1. ฝึกอบรม (ทำเป็น คิดเป็น) + บ่มนิสัย = นำไปใช้
  2. คนเก่งถ้าร่วมมือร่วมใจ จะเกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ทั้งด้าน Social Value
  3. การใช้สมองซีกซ้าย ในการตัดสินใจในการทำงาน (หลักเหตุ และผลวิทยาศาสตร์)
  4. การให้สมองซีกขวา ในการเกิดความคิดสร้างสรรค์ (บันเทิง ดนตรี ศีลปะ)
  5. การระดมความคิด (Brain Storm) เป็นการใช้ความคิดแบบอิสระ คิดนอกระรอบ

    คิดสร้างสรรค์
    
  6. ทุนมนุษย์ (Human Capital) = ความสามารถ * ความผูกพันองค์กร = Competency * Commitment
  7. Competency สร้างโดย ฝึกอบรม ศึกษา สัมมนา ประชุม ดูงาน
  8. Commitment สร้างโดย การดูแลจิตใจ รู้ใจ เข้าใจ ใส่ใจ เอาใจ ได้ใจ ทำใจ ตัดสินใจ
  9. วินัย 5 ประการของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organiation – Lo) คือ วิสัยทัศน์ร่วม
    เรียนรู้เป็นทีม บุคลากรชั้นเลิศ คิดร่วมกัน Balance Scorecard
  10. กระบวนการเปลี่ยนแปลงใช้ Adaptive Change (การเปลี่ยนแปลงโดยการปรับตัว) โดยผู้นำต้องมี Ideas For Change, Structure, System, Process และ Practise
  11. Competancy มีแล้วต้อง Action จึงจำให้เกิด Competancy Plus
  12. Learning Environment มีความสำคัญ โดยเฉพาะคน จากความรู้ข้างต้นนำมาใช้ในการคิดอย่าเป็นระเบียบ คิดอย่างสร้างสรรค์ การให้ความสำคัฐกับความผูกพันองค์กร การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) และการบริหารการจัดการความรู้ (KM) เพื่อให้ผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้จากการปฎิบัติงานได้ถ่ายทอดความรู้แก่รุ่นน้องต่อไป ขอส่งการบ้าน.” 8K’s 5K’s” จากหนังสือ 8 K’s + 5 K’s ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน 8 K’s ทฤษฎีพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ K1 Human Capital ทุนมนุษย์ (การศึกษาโภชนาการ การฝึกอบรม การเลี้ยงดูครอบครัว ฯลฯ) K2 Intellectual Capital ทุนทางปัญญา (การมองยุทธศาสตร์หรือการมองอนาคต การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา) K3 Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม (ศีล สมาธิ ปัญญา ความถูกต้อง) K4 Happiness Capital ทุนทางความสุข (พฤติกรรมที่ตัวบุคคลพึงมี เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่าและสอดคล้องกับงานที่ทำ) K5 Social Capital ทุนทางสังคม (มีเครือข่าย โดยการหาข้อมูลข่าวสาร และการเจรจาต่อรอง) K6 Sustainable Capital ทุนทางความยั่งยืน (ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน) K7 Digital Capital ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT (นำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ) K8 Talented Capital ทุนอัจฉริยะ (ความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ โดย ใช้ทฤษฎี 5 E คือ Example, Experience, Education, Environment, Evaluation)

    5 K’s (ใหม่) ทฤษฎีต่อยอดสร้างคุมภาพทุนมนุษย์เพื่อศักยภาพการแข่งขันยุคอาเซียนเสรี Creativity Capital ทุนแห่งความคิดสร้างสรรค์ (การเรียนรู้ มีสมาธิ คิดเป็นระบบ อยากทำสิ่งใหม่ๆ เสมอ)

  13. Knowledge Capital ทุนทางความรู้ (ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ มูลค่าเพิ่ม ความเฉลียวฉลาด)
  14. Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม (ความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานความรู้ นำไปปฏิบัติให้สำเร็จ)
  15. Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม (ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม)
  16. Emotional Capital ทุนทางอารมณ์ (การรู้จักควบคุมอารมณ์ กล้าหาญ เอื้ออาทร มองโลกในแง่ดี ควบคุมตนเอง ติดต่อสัมพันธ์)

4L’s ทฤษฎีเพื่อสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ - L1 Learning Methodology คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่น่าสนใจ - L2 Learning Environment คือสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ - L3 Learning Opportunities คือ สร้างโอกาสการเรียนรู - L4 Learning Communities คือ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 I’s ทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และสร้างพลังในการทำงาน - I1 Inspiration คือ แรงบันดาลใจ - I2 Imagination คือ จินตนาการ

C & E ทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และการทำงานยุคใหม่
  • Connecting การติดต่อ / เชื่อมต่อกัน
  • Engaging การมีส่วนร่วม

HRDS ทฤษฎีเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานอย่างมีสุข - Happiness คือ การสร้างความสุขเพื่อส่วนรวม - Respect คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน - Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน - Sustainability คือ ความยั่งยืน (เป้าหมายระยะยาว)

3 L’s ทฤษฎีเพื่อการทำงานยุคใหม่ L1 Learning form pain คือ การเรียนรู้จากความเจ็บปวด L2 Learning experience คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ L3 Learning from listening คือ การเรียนรู้จากการฟัง

บทที่ 8 เสียงสะท้อนจากลูกศิษย์อาจารย์จีระ กับวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้าง “คุณภาพทุนมนุษย์” ACE กำหนดทิศทางการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจตามกรอบระยะเวลาบรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ.2558

  1. ดร.อนันท์ งามสะอาด ผู้อำนวยการวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาพัฒนาทักษะแรงงานฝีมือให้มีมาตรฐาน โครงการส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชนระดับอาชีวศึกษา โดยการสนับสนุน 3 ด้าน คือ 1. นวัตกรรมการเรียนการสอน 2. การยกระดับคุณภาพผู้เรียนรู้ 3. การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และสร้างคุณค่าวิชาอาชีวศึกษา รวมถึงวิธีการกระตุ้นการทำแบบทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT มาใช้ในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพราะเชื่อมั่นว่าในอนาคตจะสามารถจัดการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่าด้วยพลังองค์ความรู้ใหม่ สังคมแห่งการเรียนรู้จะช่วยบ่มเพราะคุณค่าในชีวิตของมนุษย์ด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ต้องสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในการบริหาร โดยเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  2. ธนพล ก่อฐานะ President of elitetech Telecom Co.,Ltd ได้กล่าวถึง ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการแข่งขัน 2 ระดับ คือ การแข่งขันภายในกลุ่มประชาคมอาเซียน และการแข่งขันระดับโลก ผู้ที่มีความเข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่รอดและแข่งขันได้ ต้องมีวิสัยทัศน์ คิดเป็น วิเคราะห์ให้เป็น และมีจิตสาธารณะ คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
  3. นายชัยพร เหมะ CEO บริษัท หาญเจริญ โฮลดิ้ง จำกัด, หจก.หาญเจริญพลาสติก ได้กล่าวถึง ทฤษฎีต่างๆ จะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อนำไปใช้คิดต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยท่านสนใจการสร้างทุนแห่งความสุข เพราะมนุษย์เมื่อทำอะไรก็ตามด้วยความสุขก็จะทำด้วยพลังและความตั้งใจ ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่มีอนุภาพมหาศาลที่จะทำให้เกิดผลงาน ทั้งนี้การบริหารทุนมนุษย์ให้ได้สำเร็จ ต้องให้ความสำคัญสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็นมากเท่า ๆ กัน
  4. นายกฤษณพงศ์ มีชูนึก Ph.D Innovation Communication Krirk ได้กล่าวถึง มูลค่าความสำคัญของพนักงานองค์กร เมื่อนำความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะความชำนาญ ของแต่ละคนมารวมกันจะก่อให้เกิดศักยภาพขององค์กร เมื่อนำความรู้ สามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
  5. นายสมพงษ์ ฝูงคน ได้กล่าวถึง การพัฒนาใด ๆ ก็ล้วนไรค่า ถ้าเราพัฒนาโดยขาดจริยธรรม ละทิ้งความสุข และหลงลืมซึ่งความยั่งยืน
  6. นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึง ผู้นำต้องมีความสามารถในเรื่องของตน ต้องจูงใจให้ทีมงานผนึกกำลัง และทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ รวมถึงต้องให้ความสำคัญต่อคนเก่งและดีที่องค์ต้องการ ต้องรู้จักคัดเลือก ดูแลให้การตอบแทน ตลอดจนโอกาสในการสร้างความสำเร็จ สร้างสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Employee engagement

บทที่ 9 ทุนมนุษย์ของคนไทยรับรองประชาคมอาเซียน ต้องเข้าใจและรู้จริง ของการเปิดเสรีอาเซียน สำรวจตัวเองว่าโอกาสเราคืออะไร ความเสี่ยงคืออะไร ต้องเร่งหาทางป้องกันหรือสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร มีการวางแผน มียุทธศาสตร์ มีเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เหมาะสม ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน มีการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุง

บทที่ 10 -12 แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน แนวคิดเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยทฤษฎี 3 วงกลม วงกลมที่ 1 เรื่อง Context คือ การสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรเอื้ออำนวยต่อการทำงาน จัดองค์กรให้มีความเหมาะสม คล่องตัว ทำงานเป็นขั้นตอน ใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

วงกลมที่ 2 เรื่อง Competencies คือ การพัฒนาสมรรถนะในด้านต่าง ๆ แก่บุคคลให้มีความพร้อมในการทำงานอย่างเต็มที่มี 5 เรื่องสำคัญ ดังนี้. 1. ทักษะ หรือ ความรู้เพิ่มเติมในการทำงาน 2. ความรู้ที่มีประโยชน์กับองค์กร 3. ภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ ทักษะในการบริหารจัดการคน และสร้างศรัทธา 4. ความคิดในเชิงผู้บริหาร กล้าเผชิญหน้ากับความล้มเหลว และสามารถบริหารความเสี่ยงได้ 5. มีความรู้รอบตัวมองภาพใหญ่ของการทำงานในอนาคตได้ รู้ทันเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะกระทบกับตัวเราและการทำงาน สามารถแสวงหาโอกาส

วงกลมที่ 3 การสร้างแรงจูงใจในการทำงานทั้งที่เป็นตัวเงิน เช่น การขึ้นเงินเดือน การให้โบนัส การให้สวัสดิการ ส่วนที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การยกย่องให้เกียรติ การชมเชย การมีส่วนร่วม การมอบหมายงานที่ท้าทาย การมีความโปร่งใส การทำงานเป็นทีม

สรุป ทฤษฎี และแนวทางพัฒนามนุษย์ด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคนนำมาใช้ได้ในชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว ชีวิตการทำ ตลอดจนชีวิตในสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสุขอย่างยั่งยืนในครอบครัว ที่ทำงานและสังคม และช่วยลดปัญหาสังคมได้อย่างมาก และสามารถปรับตัวได้กับสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลงทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
                -----------------------------------------------------
    ขอส่งการบ้าน.” HR พันธ์แท้ .”
จากหนังสือทรัพยากรมมนุษย์พันธ์แท้ HR.CHAMPIONS เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร และ การทำธุรกิจโดยไม่พัฒนาเรื่องคนเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้
การผลิตคน คือ ผลกำไรที่แท้จริงขององค์กรหากได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพโดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอและเป็นระบบ

บริษัทปูนซีเมนต์ ดูแลนโยบายเรื่องของคนตั้งแต่เดินเข้ามาทำงานกับบริษัท จะได้รับการฝึกอบรมเอาใจใส่ดูแลจนกระทั่งวันที่เข้าเกษียณอายออกไป เพื่อเชื่อว่าองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี การเพิ่มผลผลิตและคุณควบคู่ไปกับการพัฒนาคนอย่างจริงจัง

การเพิ่มผลผลิตให้ประสบผลสำเร็จ คือ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรของเครือซีเมนต์ไทย คือ ความเป็นผู้มีวินัย เมื่อมีความเข้าใจร่วมกันและเห็นพ้องกันแล้วก็ทำกันอย่างพร้อมเพียงให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

เน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท คนไม่ใช่เครื่องจักรจะถอดย้ายไปไหนไม่ได้ง่าย ๆ มีอะไรต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่องกันก่อน

พนักงานระดับหัวหน้างานจะต้องเปิดประตูตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือทุกคนถือเสมือนเป็นคนในครอบครัวกันจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สร้างบรรยากาศความร่มเย็นให้กับองค์กร

พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้และสามารถปลดปล่อยความรู้ความสามารถของเขาออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

อ.จีระ ทุ่มเทกับการสร้างสถาบันทรัพยากรมนุษย์ จุดอ่อน คือ อายุยังน้อย จุดแข็ง คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความกล้าที่จะทำงานแหวกงล้อมเพื่อเดินไปสู้เป้าหมายให้สำเร็จ การขาดบารมีจึงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเผชิญ

อ.จีระ จะให้ความสำคัญกับเป้าหมายและคุณภาพการทำงานมากกว่าจะคิดถึงเรื่องทุน จะเน้นคิดงานก่อนแล้วหาเงินทีหลังไม่ใช่มีเงินแล้วทำ อ.จีระ ฝันจะสร้างองค์กรระดับโลกที่สามารถถมช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาด้วยการใช้เทคโนโลยี และระบบการบริหารจัดการลดช่องว่าง Digital Divide ทำให้ความสามารถของคนในกลุ่มประเทศที่อยู่ในฐานะเสียเปรียบได้รับการยกย่อง

อ.จีระ ยามเช้าจะอ่านหนังสือพิมพ์ที่ชอบ เปิดอ่านเว็บวันละ 2 ชม. ก่อนไปทำงานเช้า 1 ชม. และก่อนนอน 1 ชม. และไม่พูดที่ไหนโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลจาก Internet

ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นเรื่อง 4 L’s และเรียนรู้ตลอดชีวิต และเรียนรู้เชื่อมศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์

การมองทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ การวางแผนเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ทรัพยากรมนุษย์ คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาวไม่ใช่ต้นทุนอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในเรื่องคน

อ.จีระ ให้รัฐบาลลงทุนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน

อ.จีระ มีปรัชญาชีวิตว่า ต้องเกิดมาเพื่อจะเรียนรู้ (Born to learn) และเรียนรู้ (learn) อย่างสนุก นำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์

อ.พารณ ไม่ได้ทำให้เกิดแรงจูงใจโดยตรง เพราะ ไม่เคยกล่าวชมผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยคำหวาน แต่จะแสดงอาการชื่นชม แสดงความกระตือรือร้นเมื่อได้เห็นผลงานของลุกน้องทุกครั้งเมื่อได้รับมอบหมายงาน ลูกน้องจึงเกิดความรู้สึกว่าจะต้องทำงานให้เจ้านายคนนี้ได้ชื่นใจ แต่ถ้าจะชมใครก็จะชมต่อหน้าคนอื่น ๆ เลยทำให้ลูกน้องกลายเป็นคนบ้างานเอามาก ๆ

การทำงาน คือ การพักผ่อนไปในตัว ไม่ถือว่าเป็นภาระ การทำงาน คือ ความสุข คนที่มีความสุข คือ คนที่อดทนคนอื่นได้เก่ง การสร้างเด็กไทยให้พร้อมสู่การเป็น Global Cityzen ผ่านระบการเรียนรู้แบบ Constructionnism ในบรรยากาศของ Learning Organization

เวลาทำอะไรต้องมี ความเชื่อก่อน จึงทำ จะไม่ทำตามที่เขาว่ากัน หรือทำตามกันมา หรือทำเพราะกระแสสังคมหรือแฟชั่นเมื่อทำตามความเชื่อ ผลจึงออกมาดี

คนเก่ง 4 คือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน คนดี 4 คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้คู่คุณธรรม

การโปรโมทคนจะดู 2 ตัว คือ capability (การทำงาน) ไม่ใช่เรียนเก่งอย่างเดียวแต่ต้องมีความสามารถในงานที่ทำงานในหน้าที่ acceptabitity (การยอมรับ) มีคุณสมบัติอย่างรวดเร็วทั้งด้านคุณธรรมเป็นที่ยอมรับจากคนทุกระดับ

ที่เครือซีเมนต์จะมีการฝึกอบรมพนักงานแต่ละระดับ คือ ระดับล่างอบรมปีละ 7 วัน ระดับกลางปีละ 10 วัน ระดับบนปีละ 10 วัน

คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทอนอย่างเดียว แต่ยังการผลตอบแทนทางใจ

การแก้ปัญหาให้พนักงานเสียเนิน ๆ ไฟก็จะไม่ลุกลามใหญ่โต

พันธุ์แท้ ต้องทำ 3 อย่าง คือ ต้องทำให้สำเร็จ ต้อมีบารมี และต้องยั่งยืน

คนที่องค์กรส่งไปสร้างธุรกิจใหม่ให้เครือ โดยยอมออกไปทำงานอย่างลำบากกับบริษัทต่างชาตินอกเครือนั้น ถ้าไม่ดูแลให้ดี คนเหล่านั้นจะมีความคับแค้น ความเดือดร้อนใจ มีเสียขวัญและกำลังใจ

บุคคลเจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินชีวิตฉันใด บริษัทก็เจริญได้ด้วยจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจฉันนั้น

การบริหารคนแบบญี่ปุ่น ต้องมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ อุทิศตัวต่อตัวองค์กร

ความพึงพอใจในงานที่ทำ มีงานที่ท้าทายมีโอกาสก้าวหน้า

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีนักบริหารที่ดี ไม่ใช่เรียนจบ MBA อย่างเดียว

เครื่องชี้วัดด้านคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของ World Economic Forum ประกอบด้วย คุณภาพด้านคน, คุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, การเข้าสู่ภาวะ โลกาภิวัตน์ และการบริหารจัดการ

ทำไมปรัชญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ถึงเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากในสังคมไทย คือ 1. การลงทุนในการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ผลตอบแทนระยะยาวและใช้เวลา ผู้นำที่จะพัฒนาคนได้

จะต้องเป็นคนที่มุ่งมั่น สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง และมองอนาคตได้ชัดเจน

  1. การลงทุนในการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างชัดเจน ผู้นำจะต้องสามารถบริหารจูงใจให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจที่จะกลับมาอยู่กับองค์กร

ถ้าเป็น HR พันธุ์แท้ ต้องใช้คำว่า Cultivation is not as important as harvesting การเพาะปลูกจำเป็นก็จริงแต่การเก็บเกี่ยวจำเป็นกว่า การลงทุนมนุษย์ ควรจะมีการลงทุนทางปัญญา การลงทุนทางจริยธรรม รวมไปถึงระบบบรรษัทภิบาลด้วย

ไม่ว่าจะทำอะไรก้อตาม เราจะต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน ถ้าคุณมีความเชื่อ หรือมีความศรัทธาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งดีและเป็นประโยชน์ มันจะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่น และกำลังใจ และจะนำพาไปสู่ความสำเร็จ

คนเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กรและเป็นสมบัติที่มีคุณค่าตรงข้ามกับเครื่องจักรอุปกรณ์ เพราะเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น คุณค่าของมันจะค่อย ๆ เสื่อมถอยลง ๆ จากการชำรุดสึกหรอเมื่อกาลเวลาผ่านพ้น แต่คุณค่าของคนกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ถ้าเราสามารถเรียนรู้ที่จะมีทักษะความเชี่ยวชาญในการจัดการกับคนแล้ว ย่อมสามารถที่จะดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับองค์กรได้

ปรัชญาในการพัฒนาบุคคลของเครือซีเมนต์ไทยที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ 1. ความเชื่อมั่นในคุณค่าของคน 2. ความรู้สึกว่าพนักงานคือคนในครอบครัวของเรา 3. ความรับผิดชอบที่จะทำให้ทรัพยากรบุคคลของบริษัทมีทั้ง ราคา และคุณค่าที่สอดคล้องกัน

ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันในประเทศ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีแนวทาง ดังนี้ 1. การกำหนดวิสัยทัศน์ ผู้บริหารจะต้องพิจารณาแนวโน้มในอนาคตว่าโลกจะเป็นอย่างไรจะเตรียม ทรัพยากรมนุษย์อย่างไร จะสร้าง พัฒนา และเก็บรักษาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร และสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไร 2. ลงทุน เน้นให้เกิด Competencies ใหม่ ๆ ได้แก่การพัฒนาและสร้างศักยภาพให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งควรจะเน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้ได้ผล Attitude หรือ ค่านิยม / การปรับทัศนคติ รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ โดยความรู้ต้องทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง เพราะทรัพยากรมนุษย์ที่จะเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์ได้ จะต้องมี Global Knowledge ได้แก่ ภาษาต่างประเทศ การวิเคราะห์วิจัย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานที่เป็นวัฒนธรรมนานาชาติ การตัดสินใจ การวิเคราะห์แบบ Rational Systematic Thinking การทำงานให้องค์กรมีคุณภาพจะต้องเน้น การทำงานเป็นทีม สร้างผู้นำ สร้างความจงรักภักดี การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันต้องคงไว้ซึ่งคุณธรรม และองค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของคนก็คือ องค์กรที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถสื่อสารถ่ายทอดวิสัยทัศน์นั้นให้แก่ผู้ร่วมงานได้สำเร็จและเป็นต้นแบบทั้งการเป็น คนเก่ง และคนดี K แทนคำว่าทุนนั้น เพราะ K มาจำคำว่า Kapital เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า ทุน หมายถึงทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่ง Karl Mark ได้เขียนทฤษฎี Kapital ไว้กว่าร้อยปี ทฤษฎีการสร้างฐานความรู้สู่มูลค่าเพิ่มของ อ.จีระ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จของเครือซีเมนต์ไทย ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1. คุณภาพของคนดูกันตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้าทำงานของบริษัทมีอิสระในการคัดเลือกคนเก่ง คนดี เข้ามาทำงานหรือไม่ หรือยังมีความจำเป็นต้องรับเด็กเส้นเด็กฝากอยู่ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น การพัฒนาฝึกอบรมก็คงหวังผลได้ยาก 2. ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ผู้บริหารของบริษัทระดับบนจะต้องมีความเชื่อว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือหลักการทางธุรกิจที่สำคัญยิ่ง และต้องลงมาดำเนินการในเรื่องการพัฒนานี้อย่างจริงจัง การพูดเฉยๆ นั้น ใคร ๆ ก็พูดได้ แต่การลงมือทำอย่างจริงจังนั้นสำคัญกว่า 3. ทัศนะคติของฝ่ายจัดการ ต้องเข้าใจว่าการพัฒนาฝึกอบรมไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป แต่แท้จริงแล้วเป็นการลงทุนระยะยาว 4. การปลูกฝังให้พนักงานพัฒนาตนเอง พนักงานต้องจูงใจตนเองอย่างมีไม่หยุดหย่อนในการพัฒนาตนเอง ต้องอุทิศตัวเองเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากหลักการฝึกอบรม และต้องพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะเพิ่มพูนความสามารถและประสบการณ์ให้สูงสุด

บันไดแห่งความเป็นเลิศในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 4 ขั้น ดังนี้ 1. ลองทำอะไรที่เริ่มจาก Good ideas Action สู่ผลสำเร็จ (Plan, Do, Check, Act) 2. อย่าทำอะไรโดยไม่มี priority ลำดับความสำเร็จเริ่มก่อนมุ่งมั่นให้ดี (คือ ต้อมี Focus) 3. ทำโดยให้มี participation ของทุกคน ทุกระดับ (คือการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม) 4. ทุกโครงการต้องมีผู้เป็นเจ้าของ (คือ มี Ownership)

การทำให้มีความจงรักภักดี (Loyalty) ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ – ความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมา – ความจงรักภักดีต้องใช้เวลาในการสร้าง – ผู้ที่มีบทบทในกระบวนการสร้างความจงรักภักดีนั้น จะต้องเข้าใจถึงคุณค่าของมนุษย์เสียก่อน ถึงจะทำงานด้านนี้อย่างประสบผลสำเร็จ

หลังวิกฤตองค์กรธุรกิจบ้านเราเห็นชัดว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านแรงจูงใจมากขึ้น โดยเน้นใน 2 เรื่อง ได้แก่ 1. สร้างให้คนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้มากขึ้น คนไทยที่ฉลาด จะต้องพาตัวเองไปอยู่ในองค์กรที่เขาได้เรียนรู้มากไปกว่าเลือกอยู่ในองค์กร ที่ได้เงินแต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวหรือสร้างเสริมภูมิปัญญาให้ตัวเองแต่อย่างใด 2. การประเมินคุณภาพตามความสามารถได้มีการเปลี่ยนแปลงมีเครื่องชี้บางประการ เช่น นอกจากวัดในเชิงปริมาณแล้วยังต้องสามารถวัดในเชิงคุณภาพของคนด้วย

คุณสมบัติ 3 ประการที่เป็นเสมือนตั๋วเดินทางสำหรับคนไทยก้าวสู่ระดับโลก ได้แก่ 1. ความคล่องแคล่วในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 2. เทคโนโลยี 3. คุณธรรม

เป้าหมายของดรุณสิกขาลัย ได้แก่ 1. ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารโรงเรียนแบบใหม่ที่ตั้งอยู่พื้นฐานของ Learning Organization 2. พัฒนาการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ 3. พัฒนาวิธีการเรียนการสอนใหม่ให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองเรียนรู้ไปด้วยกัน และต่อไปจะประสานเอา ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ด้วย

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจต่อกลุ่มผู้ปกครองและชุมชนถึงวิธีการเรียนรู้แบบ Constructionism และ Learning Organization โดยส่งเสริมให้มีการปฏิบัติจริงในครอบครัวด้วย

การพัฒนาระบบการเรียนของดรุณสิกขาลัย คือ การปฏิบัติจริงในรูปแบบโครงงาน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการคิดเป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีหลักการ รู้จักการวางแผน ทำงานเป็นทีม และเริ่มเรียนรู้วิธีการจัดการตั้งแต่เล็ก ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนที่องค์กรต้องการ และยังพัฒนาทักษะทั้ง 5 คือ – IQ (Intelligence Quotient) กระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาด ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง –EQ (Emotional Quotient) รู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ มีความมั่นคงทางอารมณ์ –AQ (Adversity Quotient) แก้ปัญหาและเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี – TQ (technology Quotient) มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี เลือก

การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Constructionism เป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้ – ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากสิ่งที่เด็ก ๆ สนใจ – ขั้นตอนที่ 2 ครูจะบูรณาการวิชาการ – ขั้นตอนที่ 3 ครูและเด็กจะวางแผนการเรียนรู้ด้วยกัน - ขั้นตอที่ 4 เรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง – ขั้นตอนที่ 5 สรุปความรู้ และเก็บบันทึกผลงาน – ขั้นตอนที่ 6 จัดเตรียมนิทรรศการจากการเรียนรู้ – ขั้นตอนที่ 7 วิเคราะห์และประเมินผลแบบ 360 องศา – ขั้นตอนที 8 การต่อยอดองค์ความรู้

นวัตกรรม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1. ต้องมาจากความคิดใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์ หาความรู้ตลอดเวลา 2. ต้องลงมือทำ 3. ต้องทำให้สำเร็จและต่อเนื่อง

ประเทศไทยต้องมีการเรียนรู้อยู่ 4 เรื่อง คือ Village that learn เรียนรู้ระดับหมู่บ้าน School that learn เรียนรู้ระดับโรงเรียน Industry that learn เรียนรู้ระดับอุตสาหกรรม Nation that learn เรียนรู้ระดับประเทศ

ความคล้ายคลึงของ อ.จีระ กับ อ.พารณ 1. เดินทางสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ 2. หยัดอยู่ มุ่งมันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน 3. จากการความยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4. มีบุคลิกลักษณะแบบ Global Man ทำให้เป็นคนวิสัยทัศน์ 5. มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ ทั้งความรู้ และความรักแก่คนใกล้ชิด 6. มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ กล่อง หรือการเชิดชูเกียรติจากใคร

สรุป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดของ อ. จีระ และ อ.พารณ เป็นทฤษฎีประสบการณ์ที่ผ่านมาการนำมาใช้ปฏิบัติจริงในองค์กรชั้นนำ และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ดังนั้นทุกหน่วยงานสามารถนำแนวคิดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจว่าถูกทางแล้ว


จากหนังสือ : ธรรมดีที่พ่อทำ 1. คนทุกคนมีหน้าที่ต้องทำ 2. เมื่อมี Idol แล้งเราต้อง I do! • I do คือ • บุญเก่า บุญเก่า นำเราส่งเป็น “คนไทย” ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้คนไทยทั้งชาติต้อง “ลุก” ขึ้นมาสร้าง “บุญใหม่” ตามรอยพระองค์ทางเพื่อไม่ให้โอกาสทองของชีวิตได้ผ่านเลยไปนี่คือ ช่วงเวลาสำคัญที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในสังสารวัฎไม่สามารถย้อนกลับมาได้อีก และไม่สามารถเกิดซ้ำได้อีกหน 3. หน้าที่ของคนไทย คือ ทำตามสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัว ทรง “ทำให้ดู” ทรง “อยู่ด้วยการให้” ด้วยให้ใจสีขาวของพวกเราทุกคน
“หลักการทำงาน” 1. ฉันทะ (การรู้ใจ ไม่ทำตามใจ) 2. วิริยะ (ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในการงาน) 3. จิตตะ (ความจดจ่อใส่ใจในวาน) 4. วิมังสา (คิดใคร่ครวญอย่างรอบครอบ / ตรวจสอบ หลัก 23 ข้อ ในการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัว 1. จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ 2. ระเบิดจากภายใน สร้างความเข้มแข็งจากภายในให้เกิดความเข้าใจและอยากทำมิใช่ส่งให้ทำ 3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก มองภาพรวม แต่การแก้ปัญหาต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ 4. ทำตามขั้น เริ่มทำจากความจำเป็นก่อน 5. ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ 6. ทำงานแบบองค์กรรวม โดยคิดความเชื่อมโยง 7. ไม่ติดตำรา 8. ประหยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด 9. ทำให้ง่าย 10. การมีส่วนร่วม 11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม 12. บริการจุดเดียว 13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ 14. ใช้อธรรมปราบอธรรม 15. ปลูกป่าในใจคน ปลูกที่จิตสำนึกก่อน 16. ขาดทุนคือกำไร บางครั้งเราได้กำไรจากการขาดทุน 17. การพึ่งตนเอง 18. พออยู่พอกิน 19. เศรษฐกิจพอเพียง 20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน 21. ทำงานอย่างมีความสุข 22. ความเพียร 23. รู้จักสามัคคี 1. ทำด้วยใจ หมายถึง ทำทุกอย่างด้วยใจบริสุทธิ์ 2. รู้จริงยิ่งกว่ารู้จำ 3. หมั่นรักษาความเป็นกลางของหัวใจ 4. ความเลวร้ายของคนเราก็ คือ การชอบที่จะพูดความผิดพลาดของคนอื่น ความโง่เขลาของเราก็ คือ การไม่ชอบที่จะฟังถึงความผิดพลาดของตนเอง 5. อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ 6. ความซื่อสัตย์และความกตัญญู ความรักที่ภักดี ยิ่งกว่าชีวิตของตนเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการมากที่สุดในปัจจุบัน 7. มนุษย์นั้นอยู่เหนือกรรม เพราะมีสิทธิ์เลือกกระทำ แต่หากไม่เลือก ผู้นั้นย่อมมีชีวิตตามยถากรรม 8. การพัฒนาคนให้เป้นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของ ต้องหาความสมดุลของสมรรถนะ 4 ด้าน 1. ร่างกาย 2. ความรู้สึก 3. สติปัญญา 4. จิตวิญญาณ มโนสำนึก คุณสมบัติของ “กัลยาณมิตร” ผู้เป็นมิตรแท้แบะผู้นำทางปัญญามี 7 ประการ 1. น่ารัก 2. น่าเคารพ 3. น่ายกย่อง 4. มีวาทศิลป์ 5. มีความอดทนต่อถ้อยคำ 6. ทำเรื่องยากให้ง่าย 7. ไม่แนะนำในเรื่องอันไม่ควร 8. คนดีทำให้คนอื่นดีได้ 1. มนุษย์ จึงแปลว่า ผู้มีจิตใจสูง 2. “ความดี” ศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่แท้จริงอยู่ที่ศีลห้า 3. เกิดเป็นมนุษย์ควรแข่งกันสูง ไม่ใช่แข่งกันต่ำ 4. “ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข” 5. ทำให้ประเทศไทยของเรามีความสบายมั่นคงที่สุดในโลก เป็นประเทศที่คนไทยช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยน้ำใจไมตรีที่ดีงาม และเป็นเทศมหาอำนาจแห่งความดีบนวิถีชีวิตที่สงบและพอเพียง มีรอยยิ้มให้กันเหมือนแต่ก่อนจะเป็นความสุขที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง 6. “ธรรมดี” ที่พ่อทำควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต 7. ความกตัญญู 8. ความอ่อนน้อมถ่อมตน 9. ความพอเพียง พอเพียง คือ การอยู่ได้ด้วยตนเอง พอประมาณ คือ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก พอดี คือ พอแล้วดี มิใช่ดีแล้วจึงพอ 10. ความซื่อสัตย์ 11. ระเบียบวินัย 12. ความอดทน 13. ทำความดี หลักปฏิบัติ จะต้องมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดี ตั้งกฎเกณฑ์ ตั้งระเบียบให้แก่ตัวเอง รักษาความดี

  1. อยากจะเห็นคนไทยมีจิตสำนึกที่ดี มี่ความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของแต่ละคนที่ต้องทำ มีความรักความ เมตตาเป็นองค์ประกอบสำคัญ และให้มีมีความสมัครสมานสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกันเป็นเอกภาพ
  2. ธรรมะของพระเจ้าอยู่หัวมี 2 ประการ คือ ธรรมชาติ และ ธรรมดา ทศพิธราชธรรม
  3. เป็นผู้ให้
  4. เป็นผู้มีจริยวัตรงดงาม
  5. เป็นนักเสียสละ
  6. เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต
  7. เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน
  8. เป็นผู้มีความเพียร
  9. เป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ
  10. เป็นผู้ไม่ใช่ความรุนแรง
  11. เป็นผู้เปี่ยมด้วยขันติธรรม
  12. อยู่ในครรลองของนิติธรรม เนติธรรม ราชธรรมอย่างเคร่งครัด

การสร้างนวัฒนกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ จากกรณีศีกษา “เรื่องการพัฒนานวัฒกรรม ของ Apple และ SCG เปรียบเทียบกับการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจหลักในการจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่น่าอาศัย โดยมีการพัฒนาทั้งด้านการภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประเพณี ดังนั้น การสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ คือ การเป็น “Happiness Provider” เป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์ความสุขให้กับสังคม โดยมีแนวทางการพัฒนาทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ตามทฤษฎี 3C’S ประกอบด้วย
  1. Customers คือ วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าทั้งลูกค้าภายในและภายนอก
  2. Change Management คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง
  3. Command and Control (-) คือ ลดการสั่งการ การควบคุม แต่พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Partici pation) และทำงานเป็นทีม (Teamwork) ทั้งนี้นวัตกรรมมีหลายรูปแบบ เช่น
  4. สินค้าและบริการใหม่ (Product and Service Innovation)
  5. การบริหารจัดการแบบใหม่ (Management Innovation)
  6. นวัตกรรมกทางสังคม (Social Innovation) เช่น กิจกรรมใหม่เพื่อพัฒนาชุมชน การแก้ปัญหายาเสพติด การรักษาสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหา อาชญากรรม สำหรับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่ชาติประกอบด้วย
  7. Customers แยกเป็น 1.1 ภายใน หมายถึงผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร มีความต้องการหรือมีเป้าหมายในการทำงานในองค์กรแยกเป็น 2 กลุ่มเป็น 1.1.1 ผู้นำ มีเป้าหมาย หรือ ความต้องการจากการงาน คือ • ทำให้องค์กรมีความเป็นเลิศ • ทำให้องค์กรมีผลประกอบการด้านการเงินที่ดีกำไรทุกปี ซึ่งจะส่งผลถึงตอบแทนของผู้นำด้วย • ทำให้องค์กรมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของสังคมได้รับการยกย่องจากสังคม 1.1.2 พนักงาน มีเป้าหมาย หรือ ความต้องการจากการทำงาน คือ • ได้รับผลตอบแทนจากการทำงานที่เหมาะสมตามผลงาน เช่น เงินเดือน โบนัส • รู้สึกภาคภูมิใจ ในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่มีชื่อเสียง และเป็นประโยชน์กับสังคม • มีความสุขในการทำงาน ได้รับการดูแลจากองค์ด้านส่งเสริมความรู้ โดยการฝึกอบรมสัมมนาดูงานมีโอกาสก้าวหน้า มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ 1.2 ภายนอก ประกอบด้วย 1.2.1 คู่แข่ง ซึ่งเป็นเอกชนมีการประกอบธุรกิจด้านที่อยู่อาศัยและบริหารชุมชน เช่นเดียวกับการเคหะแห่งชาติ

• Change Management การบริหารการเปลี่ยนแปลประกอบด้วย 2.1 โลกาภิวัตน์ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จะต้องปรับองค์กรให้สอดคล้อง เช่น • Command and Control (-) การลดการสั่งการและการควบคุมประกอบด้วย 3.1 การมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ

บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

คนเก่งที่ทำถูกวิธีใช้ Cost ต่ำที่สุด ถือว่ามีสมรรถนะ (Efficiency) แต่มีสมรรถนะอย่างเดียวยังไม่พอต้องทำให้ได้สัมฤทธิ์ผล (Effectiveness) ด้วยเรียกได้ว่าทำทุกอย่างถูก Do the right thing การทำงานเรื่องเดียวกันนั่นมิได้วิธีที่ถูกต้องเพียงวิธีเดียว การทำงานจึงควรมีการสอบทานวิธีการทำงานให้เป็นขั้นตอน

Peter Drucker ได้กล่าวถึงการเลือกสิ่งที่ถูกต้องทำ (Do the right thing) คนที่ทำอะไรสำเร็จมีคุณสมบัติ 5 ประการ ถ้าไม่มีก็ให้พัฒนาสมบัติ ดังนี้

  1. Time ต้องบริหารเวลาเป็น (Time Management) วิธีปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างได้คือ การบันทึกการทำงานใน Diary 3 เล่ม เล่มที่ 1 บันทึกเองว่าวันนี้เราทำอะไร เล่มที่ 2 บันทึกก่อนนอนที่บ้านว่าวันนี้เราทำอะไร เล่มที่ 3 ให้เลขาบันทึกว่าวันนี้เราทำอะไรบ้าน เมื่อครบ 1 ปี นำบันทึกมา Review จะพบว่าไม่ตรงกัน ถ้าตรงกันก็ถือว่ามีการบริหารเวลาได้ดี
  2. Priority จัดลำดับอะไรควรทำก่อน ให้ทำสิ่งที่สำคัญก่อน เรื่องอื่น ๆ เอาไว้ทีหลัง หรือจะไม่ทำลำดับรองลงมาเลยก็ได้
  3. Contribution เป็นลักษณะของการร่วมทุกข์ร่วมสุข ในบางครั้งเพียงแค่การร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขาก็เพียงพอโดยไม่ต้องจำเป็นเข้าไปแก้ไขปัญหาให้เข้าก็ได้ เราต้องนึกดูว่าวันนี้การเคหะฯ จ้างให้เรามาทำอะไร
  4. Strength ดูที่จุดแข็งในบางครั้งคนมีจุดแข็งเพียงเรื่องเดียวแต่เป็นเรื่องที่สำคัญแก่การปฏิบัติก็ถือว่าเพียงพอแล้ว จุดอ่อนที่ไม่เกี่ยวกับงานก็ไม่มีความสำคัญอะไร
  5. Problem solving and decision making ผู้นำที่จะประสบความสำเร็จควรมีคุณสมบัติที่สำคัญ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือศรัทธาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาก็คือ การคิด วิเคราะห์และการตัดสินใจที่รวดเร็วและถูกต้อง จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และต้องใช้ปัญญาหรือการมองไปถึงอนาคต คนบางคนทำอะไรถูกต้องตลอดเวลาแต่ไม่มีความเติบโต อาจเป็นเพราะไม่เลือกสิ่งที่ถูกทำ

Creative thinking

การเคหะฯ ควรดูทุนเดิมของตนเองว่ามีอะไร อะไรที่เป็นอัตลักษณ์ เรามีแล้วลืมไปหรือเปล่า วันนี้เราอยู่ตรงไหน เดิมงานจะเป็น Modern คือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ ทหาร แต่วันนี้เป็น Post modern เป็นยุคแห่งการแข่งขันจำเป็นต้องเป็นสหวิทยาการต้องรู้ในหลาย ๆ ศาสตร์ แต่เดิมเป็น Functional นำ กคช. หากจะพลิกฟื้นจำเป็นต้อง Rebrand เอาความเก่งของเรานำกลับมาให้คนรับรู้ การทำงานก็จำเป็นต้องให้ตรงตามวัตถุประสงค์ (Objective) แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองเป้าหมายเป็นหลัก ถ้าจะจับความพอเพียงมาใช้ หากจะให้ Technology ก็ต้องเป็น Technology ที่พอเพียง
โอกาสที่การเคหะฯ น่าจะมองไปข้างหน้าอาจเป็นเรื่อง หมู่บ้านที่เป็น Wireless ทั้งหมู่บ้าน หรือมีประชากรหลักเกษียณอายุมากก็สร้างบ้านเพื่อผู้สูงอายุหลังเกษียณ การ Rebrand  มีสิ่งที่ควรทบทวย คือ
  1. Brand building ต้อทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกว่าตรงใจอย่างชัดเจนก็ถือว่าทำสำเร็จ เราก็สามารถขายสินค้าราคาสูงได้
  2. Art of living and Technology of the self ถ้ารู้ความต้องการของลูกค้าก็ตองสนองความต้องการได้

การเคหะฯ ควรดำเนินการ ดังนี้ 1. ควรตั้งคำถามแก่ตัวเองหลาย ๆ ด้าน และมีความคิดที่แตกต่าง 2. ผู้บริหารควรเป็นผู้สนับสนุน ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์มากเกินไป 3. Stakeholder จะต้องเป็นวิชาการ + สื่อ 4. ชื่อ “การเคหะแห่งชาติ” ต่อไปจะใช้ไม่ได้ใน ACE 5. ผู้เข้ารับการอบรมวันเมื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคตต้องนำสิ่งที่พูดในวันนี้ไปทำให้สำเร็จ 6. การนำเสนอผลงานของทั้ง 4 กลุ่มเป็นเรื่องที่ต้องนำมา Intergrades แล้วจะเกิดการ Rebrand ที่สมบูรณ์

การสร้างบรรยากาศในการทำงานของ Apple ที่ การเคหะสามารถนำมาใช้ได้ประกอบด้วย 1. Community = การตั้งก๊วนต่าง ๆ ในการทำงาน 2. Next door = เปิดประตูอีกบานเมื่อเจอทางตัน 3. Dialogue = สุนทรีสนทนา 4. Hunch = ลางสังหรณ์ 5. Serendipity = การพลัดหลงและค้นพบ, โชคดีที่บังเอิญเจอ 6. Error = ความผิดพลาด 7. Borrow = การยืมความคิดของคนอื่นมาใช้ 8. Platform = มีจุดยืนที่มั่นคง 9. Network = มีเครือข่าย


ประชาคมอาเซียน (ASEAN ECONOMIC COMMUNITY = ACE)

  1. การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
  2. การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
  3. การเคลื่อนย้ายการบริการอย่างเสรี
  4. การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
  5. การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่าเสรี จำนวน 7 วิชาชีพแรก ที่ประกอบด้วยวิชาชีพ สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมอยู่ด้วย นั้น กคช. เป็นองค์กรจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ทีมีสถาปนิกและวิศวกรที่มีความสามารถและประสบการณ์ด้านนี้ รวมทั้งบุคลากรด้านสมาชิกใน ACE ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ยากจน

เรื่อง วิเคราะห์กรณีศึกษาการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ) ร่วมวิเคราะห์และให้ความเห็น โดยศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ์, อาจารย์ณรงศักดิ์ ผ้าเจริญ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สรุปได้ว่าได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้ดังนี้ -:
  1. ทำให้ทราบว่าการบริหารให้สัมฤทธิผลนั้น เนื่องจากในองค์กรมีวาระที่ต้องดำเนินการจำนวนมาก จึง จำเป็นต้องจัดลำดับ และคัดเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาทำก่อน ต้องทำเรื่องเดียวหรือทำครั้งละ 1 เรื่องที่สำคัญที่สุด ความยากคือการเลือกเรื่องที่จะทำ เลือกข้อที่ถูกต้องมาทำก่อน และหาวิธีที่ถูกต้องมากระทำ จึงตอบโจทย์ว่า ทำอะไร และทำถูกวิธี

  2. EFPECTIVE – RESULT พิสูจน์ผลลัพธ์ 5 ข้อ ดังนี้ 2.1. TIME 2.2. PRIOFITY ทำอะไรก่อน อะไรคือข้อที่ถูกต้องถูกทำก่อน เรียงลำดับให้ได้ 2.3. CONTIBUTION หาคำตอบว่า จ้างมาทำอะไร มีหน้าที่ทำอะไร เอาไว้ทำอะไร คุ้มค้าหรือไม 2.4. STRENGTH พิจารณาเฉพาะจุดแข็ง หาจุดเพียงพอมาใช้ให้เป็นประโยชน์ 2.5. PROBLEM SOLVING DECISION MAKING การมอง / อ่านปัญหา วิเคราะห์แล้วตัดสินใจ ฟังธงอย่าง ถูกต้องจะได้ผลลัพธ์ที่ดี ต้องเลือกอันที่ถูก ทำให้ถูกเท่านั้น จึงสัมฤทธิ์ผล

  3. บทเรียนเพื่อการพัฒนานั้น ต้องหาตัวตนของตนเองให้พบอย่างแท้จริงก่อน เช่น การเคหะแห่งชาติมีทุน เท่าใด (อย่างไร) ที่เป็นทรัพย์สิน เช่น ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง หรือความรอบรู้ การจัดการชุมชน มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ เหล่านี้เป็นต้น ซี่งเป็นสิ่งที่จะตอบได้ว่า เราควรทำอะไรอย่างไร และ MAKING DECISION

  4. อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ ได้นำเสนอการวิเคราะห์การบริหารธุรกิจ บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะ แห่งชาติในยุค POST MODEN ที่การแข่งขันมีความเข้มข้นร้อนแรงมาก เป็นสหวิทยาการ กล่าวคือต้องรอบรู้จริว รู้ลึก รู้กว้าง รู้มาก ทุก ๆ ด้าน ในทุก ๆ สาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องเป็นบริบท EMOTIONMAL นำหน้าทั้งวิธีคิดและวิธีปฏิบัติ

    เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าการเคหะแห่งชาติต้องหาตัวตนให้พบเสียก่อน แล้วเอาความต้องการของลูกค้า (ผู้จะมาซื้อบ้าน) มาเป็นปัจจัยนำหน้า เช่น

• กคช. ต้อง RE-BRAND เพื่อ RE-BORN

• เอาความเก่าเก็บขึ้นมาทบทวนวิเคราะห์ให้ลงตัว เหมาะสมกับยุคนี้

• ให้ตระหนักถึงปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการเคหะแห่งชาติโดยตรง

• ทบทวนวัตถุประสงค์ว่ายังเหมาะสมกับตลาดปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสม ตกยุค ผิดเป้าหมาย จะปรับเปลี่ยน/แก้ไขอย่างไร

• วิเคราะห์โครงสร้างประชากร หากกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มใหม่ เหล่านี้เป็นต้น

  1. ในการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีปฏิบัติจะอยู่ในกรอบ หรือวิธีเดิม ๆ ไม่ได้ ต้องหากลยุทธวิธีการ ทั้งการคิดเป้าหมาย และกรรมวิธีใหม่ ๆ มาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ และ IT ให้เกิดประโยชน์

  2. การเข้าสู้ NET WORK เช่น ประสานร่วมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กระทรวง, หน่วยงานใหม่ ๆ เพื่อเติมเต็ม หรือ ลดช่องว่างทางการตลาด หรือให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ต่อไป


การบริหารความเสี่ยง

การเคหะแห่งชาติ ถูกกำกับดูแลและประเมินผล โดยกระทรวงการคลังได้ให้ที่ปรึกษา บ.ทริส เข้ามาดำเนินการตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งช่วงแรก ๆ เป็นช่วงทำความเข้าใจ จนปัจจุบันได้มีการประเมินอย่างเข้มข้นและวัดผลอย่างละเอียด ซึ่งเป็นกลไกในการป้องกันและลดความเสี่ยง โดยผล KPI และเริ่มใช้ระบบ SEPA เข้ามาในองค์กร การวัดจะวัดประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล และคุณภาพการบริหารองค์กร เราควรทำความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงกับทุก ๆ คน ในองค์กร ความเข้าใจผิดในเรื่องความเสี่ยงมีอยู่ 3 ลักษณะคือ

  1. ความเสี่ยงเป็นเรื่องเลวร้ายมาจัดการควบคุม, ป้องกัน, ลดความรุนแรงที่จริงปละ อาจไม่ใช่บางสิ่งมิได้เลวร้ายเสมอไป บางเรื่องเป็นความเคยชิน
  2. ความเสี่ยงต้องหาวิธีลดลงให้เป็น 0 สิ่งนี้ก็ไม่จริง ที่จริงเป็นการลดความเสี่ยวให้เหลือพอที่จะรับได้ในระดับหนึ่ง
  3. ทำงานแบบ PLAY ทำไปเรื่อย ๆ ไม่พัฒนาตนเอง จนถึงจุดหนึ่งอาจเสียหายรุนแรง หรือคิดว่าความเสี่ยงมากจะส่งผลกำไรมาก ความเสี่ยงภายใน ความเสี่ยงภายนอน
  4. ความเสี่ยงด้านการเงิน – ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง
  5. ความเสี่ยงด้านการดำเนินการ (คู่มือ) – ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ
  6. ความเสี่ยงทรัพยากรบุคคล (อบรม) – ความเสี่ยงความปลอดภัย
  7. ความเสี่ยง IT (Bcm, Bcp) และสิ่งแวดล้อมภัยธรรมชาติ การประเมินความเสี่ยง
  8. อะไรเป็นความเสี่ยงที่แท้จริง
  9. โอกาสที่เกิดมากน้อยระดับไหน
  10. ความรุนแรงเมื่อเกิดขึ้น
  11. ความเสี่ยงเชิงนโยบายและการเมือง การบริหารความเสี่ยง 5T (ยอมรับได้ระดับไหน, ลดความเสี่ยง, กระจายความเสี่ยงหรือโอน, หลีกเสี่ยง, หาประโยชน์จากความเสี่ยง) เครื่องมือที่ใช้ “ควบคุมภายใน”
  12. การประเมินตามเกณฑ์แบบวัดระดับและแบบเกณฑ์ย่อย

ธรรมดีที่พอทำ เป็นหนังสือที่เมื่ออ่านแล้วต้องเปรียบเทียบกับงานของเรา เพราะจะเป็นปรัชญาที่กล่าวสั้น ๆ แต่จะตีความหมายได้อย่างมากมาย ดังนั้น การที่จะนำมาเขียนจึงทำให้เพียงเปรียบเทียบกับงานของตนเองเท่านั้นจะมองในมุมใดก็ได้ แต่จะเป็นแนวทางที่ผู้บริหารสามารถนำไปใช้และผลพิสูจน์แล้ว ถึงผลงานอันยิ่งใหญ่แต่สำเร็จได้ด้วยศรัทธา พอเทียบเคียง 23 ข้อ ที่ท่านทรงทำงานไว้

  1. ศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ ต้องค้นหา และแยกข้อมูลให้เป็นระบบ เป็นข้อมูลทั้งอดีตและปัจจุบัน ให้ระวังข้อมูลที่ตกแต่งเพื่อให้ดูดี
  2. ระเบิดจากภายใน ทีมทำงานต้องเข้าใจสนใจจะทำ แยกให้ออกระหว่างคุณค่ากับมูลค่า งานที่สร้างคุณค่าต่อไปก็จะมีมูลค่า มีมูลค่าต่อไปก็จะไม่มีคุณค่าก็ได้
  3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก อะไรที่ทำได้ทำซะ คิดแต่สิ่งที่ยากมีโจทย์มาก ๆ ทำยาก ทำซ้ำเสียเวลา แก้ทีละเปราะจากต้นเหตุ งานไม่เดินใช้คนผิดงานจะเดินได้อย่างไร
  4. ทำตามลำดับขั้นตอน ปัญหาหรือขั้นตอนการทำจะถูกเรียงลำดับจะทำอะไรก่อนหลัว อะไรทำงานหรือยาก ถ้าไม่เป็นตามขั้นตอนจะไม่สำเร็จหรือเกิดปัญหาภายหลัง
  5. ภูมิสังคม, ภูมิศาสตร์, สังคมศาสตร์, รู้เขารู้เราจะทำอะไรในสถานที่ใดต้องรู้สถานที่นั้นสังคมนั้น เป็นอย่างไร และสังคมเราเป็นอย่างไรต้องปรับไปตามภูมิประเทศและสังคม ออกแบบบ้านก็ต้องตามใจผู้อยู่ ไม่ใช่ตามใจผู้ออกแบบ
  6. ทำงานองค์รวม โดยคิดความเชื่อมโยง ทำโครงการก็ต้องการลูกค้า ดูนโยบาย ดูภูมิประเทศ ดูวัฒนธรรม เมื่อดูทั้งหมดแล้วจะทำอย่างไรก็ทำตามองค์รวมนี้
  7. ไม่ติดตำรา คิดตามตำราบางครั้ง นำมาใช้กับงานบางประเภทไม่เหมาะสมก็ต้องทำตามที่ถนัดแล้วร่วมกันพัฒนา ฝืนให้ทำตามตำรา ผลสุดท้ายก็จะล้มเหลว
  8. ประหกยัด เรียบง่ายได้ประโยชน์สูงสุด บางครั้งเราขาดความใส่ใจ ทำให้ทำงานยากต้องใช้ต้นทุนสูงเมื่อนำไปทำงานปริมาณมาก ๆ ยิ่งเสียหายมาก ก็ไม่ประงบประมาณ และเวลา ก็ต้องสร้าวทุนทางมนุษย์ให้วิเคราะห์ออก อย่าปล่อยให้ทำผิดซ้ำ ๆ วัน
  9. ทำให้งาย บางครั้งคนที่ทำกับคนที่วางแผนการทำต้องคุยกันให้ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ของดี ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ
  10. การมีส่วนร่วม ปัญหาจะแก้ไม่ได้ถ้าไม่ให้คนทำมีส่วนร่วมระดมความคิดหาวิธีทำแล้วทำร่วมกัน จะโทษกันช่วยกันกันทำ
  11. ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม ถ้าพวกเขาเห็นว่าเป็นประโยชน์ของพวกเขาของครอบครัวของเขาก็ยินดีที่จะทำให้สำเร็จ ดังนั้น มนุษย์เงินเดือนหากไม่มีความรักต่อองค์กร คิดแต่ประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ดูประโยชน์ส่วนร่วมก็จะเกิดปัญหา ดังนั้น ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง
  12. บริการจุดเดียว อะไรทีเป็นโครงข่าย ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ก็สามารถนำไปรวมจุดเดียวกัน จะสร้างประโยชน์สูงสุด
  13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ใช้ข้อดี ใช้คนดี ปรับข้อเสีย คนไม่ดีให้เจือจาง ลดลงไปตามธรรมชาติ ตามกาลเวลา ให้เป็นตัวอย่างเป็นแนวทางผลสุดท้ายทุกคนที่เห็นว่าดีก็จะทำตาม
  14. ให้ธรรมปราบอธรรม เมื่อทุกคนตระหนักอะไรดี ให้เขาแยกแยะให้ออก ทำให้เป็นแนวร่วม ทำให้เป็นตัวอย่าง สิ่งที่ไม่ดีก็จะไม่กล้า หยุดแล้วลดลงไปเอง ถ้าใช้วิธีปราบทันทีบางครั้งดีแต่บางครั้งจะไม่ได้ผล ผลสุดท้ายสิ่งที่ไม่ดีทำง่ายทุกคนจะทำแบบนั้น
  15. ปลูกป่าในใจคน จิตสำนึกที่ทุกคนเห็นว่าดีต้องปลูกฝัง 1 ให้ขยายเป็น 2 ต้องขยายเป็น 3 ถ้าทุกคนรู้สำนักที่ถูกปลูกฝัง ผลก็จะขยายเป็นทวีคูณได้
  16. ขาดทุนคือกำไร
  17. บางอย่างวัดเป็นเงินไม่ได้ มนุษย์เป็นการลงทุนที่ต้อวค่อยเป็นค่อยไปจะหวังกำไรไม่ได้ แต่เมื่อมนุษย์มีปัญหารู้วิธีการคิด กระตุ้นให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี นำคน 36 คนมา Input ผ่าน Process ได้ผู้นำที่ดีมา 1 – 5 คน ก็เป็นกำไรแล้ว จะนำมาเปรียบเทียบตัวเลขไม่ได้ เพราะทุนมนุษย์ที่ไม่เท่ากันผลที่ได้ย่อมต่างกันจะเทียบทางสถิติคงเป็นไปได้ยาก แต่ควรใช้วิธีการคัดสรรไปพัฒนาแล้วค่อยต่อยอดอีกครั้ง
  18. การพึงตนเอง ถ้าเราคิดว่าต้องนำเข้ามาเป็นหลัก แทนที่เราจะมองหาการพึ่งตนเองเป็นหลัก แล้วเราจะรู้ปัญหาได้อย่างไร เราต้องพึ่งพากันและกันพี่ต้องสอนน้อง ต้องหาคนเก่ง ๆ เข้ามาช่วยแนะนะแต่หวังว่าคนที่มาแนะนำจะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ถ้าพี่น้องไม่พึ่งพากัน พี่ไม่ดุไปทุบบ้างน้องจะดีขึ้นหรือ
  19. พออยู่พอกิน พออยู่พอกินมิใช่ใช้น้อยกินน้อย แต่ต้องให้ทุกคนรู้ในสำนึกทำงานน้อยมีรายได้น้อย ถ้าอยากกินดีอยู่ดีก็ต้องทำงานให้เพียงพอให้สมดุลกัน ถ้าทำให้ทุกคนเข้าใจเราก็คงเจริญไดอย่างเยอรมัน ญี่ปุ่น ถ้าคิดอย่างคนไทยอีกหน่อยแพ้เวียดนามแน่ ๆ เพราะเข้าเป็นวัฒนธรรม ความขยันจนกลายเป็นนวัตกรรมอันแข็งแกร่งของเขา
  20. เศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรของเราถ้าไม่รู้จักพอเพียงกับรายได้ของตนเอง ผลสุดท้ายก็จะไปทำในสิ่งที่ผิด นอกจากตนเองพอเพียงแล้ว ถ้าครอบครัวไม่พอเพียง สังคมไทยที่ทำงานไม่พอเพียงก็จะเกิดการแข่งขันทำลายกัน ผลสุดท้ายครอบครัวนั้น สังคมนั้นก็เหมือนคนติดยาเสพติดและจะเหลืออะไรในสังคมในครอบครัว

  21. ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน จริงใจต่อกันถ้าไม่สุจริต ไม่ซื่อสัตย์ จะเป็นกลุ่มก้อนที่สร้างความเสียหาย เช่น ชุมชนที่ดูแลบ่อน จริงใจกันมากผลสุดท้ายชุมชนอื่นครอบครัวอื่น ก็จะหายนะได้ ดังนั้นการได้ใจคนทำให้คนยอมรับในสิ่งที่ผิดไม่แยกแยะ ผลสุดท้ายก็จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ชุมชนผมเสียหาย ประเทศผมเสียหายก็ต้องต่อสู้กัน

  22. ทำงานอย่างมีความสุข ลูกจ้างที่ทำงานอยู่การเคหะแห่งชาติ บางท่านอยู่มาแล้ว 8 – 10 ปี เขาเหล่านี้เงินเดือนก็ไม่ขึ้นถามเขาดูเขาบอกว่าอยู่แล้วความสุข แต่ดูแล้วเราเอาเปรียบพวกเขา ถ้าเราไม่ใส่ใจต่อเขาสักวันที่อื่นมีความสุขกว่าเขาเห็นว่าเราไม่จริงใจเขาก็จะจากไป เขาพิสูจน์มา 10 ปี เรายังรับคนใหม่ได้คงต้องถาม ทรีส หรือ ทรัพยากรบุคคลว่าถูกต้องแล้วหรือ
  23. ความเพียร ความเพียรความพยายาม มุมานะจะช่วยให้คนนั้น กลุ่มคนนั้น สังคมนั้น ประเทศนั้น เจริญก้าวหน้าทันที ยิ่งกว่าสิ่งใด
  24. รู้สามัคคี ต้องสร้างทุนมนุษย์ทั้งหมดที่เรามีอยู่มีอยู่ ต้องมีความรู้ที่ไม่ใช่ไปเรียนหนังสือท่องจำแต่อย่างเดียว รู้แล้วต้องคิดเป็น คิดเป็นแล้ว จิตใจไม่ดี ไม่รักกัน เกียจชังกันไม่ให้อภัยกัน ปัจจุบันเราพบปัญหานี้อย่างมาก ความสามัคคี ถ้าเราแตกแยกกันเราจำทำอะไรให้สำเร็จได้อย่างไร เมื่อแต่ละคนไปคนละทิศละทางนี่เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานการการทำการใช้สมองการใช้ปัญญา พระองค์ท่านสร้างมนุษย์ด้วยจิตใจ ทุนมนุษย์ที่ผู้นำต้องนำมาปฏิบัติ หลักการของมนุษย์ต้องทำด้วยใจ (จิตใจ) ตั้งใจให้เกิด ใส่ใจในการติดตาม จริงใจต่อองค์และเพื่อมนุษย์ทุกคน ผลลัพธ์ภูใจ “ผมคิดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านคงภูมิใจที่ทำ ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพวกเรา และท่านก็คงสุขใจที่ได้เห็นพวกเราเป็นคนดี สืบทอดความดีนี้ได้ ต้องตั้งคำถามทำไมมีคนบางคนยังสร้างความทุกข์ใจให้ท่าน

การทำงานให้มีสมรรถภาพ (Efficiency) คือ “Doing things right” และการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล (Effectiveness)

คือ “Doing the right things” ซึ่งกระบวนการทำงานให้ดีประกอบด้วย

  1. Time การบริหารเวลาเป็น
  2. Proiority การเรียนลำดับทำอะไรก่อนหลัง
  3. Contribution มองถึงความคุ้มค่า และการทำงานอย่างร่วมทุกข์ร่วมสุข
  4. Strength มองที่จุดแข็ง
  5. Problem Solving and Decision Making วิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างถูกต้องโดยต้องมีความเชื่อมั่นว่ามนุษย์มีความเป็นเลิศที่ซ่อนอยู่ใน และความเป็นเลิศของมนุษย์ต้องมีอิสระ

วิชา การบริหารการเปลี่ยนแปลง (2)

  • Jack Welch กล่าวไว้ว่า “ท่านต้องเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน”
  • การตัดสินใจไม่มีผิดหรือถูก ขึ้นอยู่กับเหตุ และ ผล
  • การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องมีผู้นำและประเมินการเปลี่ยนแปลงให้ดีที่สุด
  • ผู้บริหารจะเก่ง (Smart) ต้องรู้จักคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง
  • การเป็นผู้นำต้อง บริหาร จัดการ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่าปล่อยปละละเลยตามยถากรรม เพราะโอกาสจะเกิดผลเสียมีมากกว่า
  • ผู้นำต้องสร้างความต้องการร่วมกัน (Shared need)
  • การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องดีขึ้น หรือ แย่ลง อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • แรงผลักดันที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ประการคือ
  • องค์ประกอบภายนอก (External) เช่น ภัยธรรมชาติ การเมือง
  • องค์ประกอบภายใน (Internal) เช่น เทคโนโลยี นโยบาย บุคลากรเกษียณอายุ จากการเรียนรู้ได้เทคนิคการทำงานหลาย ๆ อย่างโดยเฉพาะการวินิจฉัยปัญหา (Diagnose) อย่าเพิ่งด่วนสรุปและตัดสินใด ๆ จนกว่าจะได้มีการพูดคุย ซักถาม ลูกน้องก่อน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในทุกเรื่องทุกสถานการณ์

กรณีศึกษาต่าง ๆ ด้านการบริหารธุรกิจ (เพื่อการพัฒนาการเคหะฯ)

- ในการบริหารองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ผู้บริหารนั้นเป็นผู้ที่มีสมรรถภาพ (EFFECIENCY) และมีสัมฤทธิ์ผล (EFFECTIVENESS) ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการดำเนินงานที่ต้องทำอะไรให้ถูกวิธี ซึ่งในทฤษฎีของ Peter Drucker ว่าการบริหารของผู้บริหาร ต้อง Doing the Righting ในการเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลได้ 5 ประการ คือ
  1. Time การบริหารกาลเวลาให้เป็น ตัวอย่างเช่น จัดหาสมุดบันทึก 3 เล่ม ไว้ที่ โต๊ะ, เลขา และ หัวเตียงนอน โดยให้จดบันทึกของแต่ละวัน จะพบว่า ทั้ง 3 เล่มมีเนื้อเรื่องไม่ตรงกัน
  2. Priority วางแผนว่าจะต้องทำอะไร และให้เลือกว่าจะทำอะไรก่อน
  3. Contribution หมายถึง การถามตนเองว่า องค์กรจ้างมาให้ทำอะไร แล้วคุ้มค่าหรือไม่
  4. Strength ให้มองแต่จุดแข็งของผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ความสามารถการปฏิบัติงานมีเพียง 10% ก็เพียงพอแล้ว
  5. Problem Soving Decision Making การแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เป็นระบบ
    • แนวคิด Creative Thinking ของอาจารย์ มาร์ค ก็คือ การมองภาพ กคช. ว่ามีวัตถุประสงค์อะไร การทำไปวิเคราะห์ไป การวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน และสิ่งสำคัญ การเล่นและการเรียนรู้ อาจารย์ได้สอนให้ผู้บริหารรู้จักการมองความเป็นตัวตน (Self) เพื่อเกิดแรงบันดาลใจคิดสร้างสรรค์ต่อไป หรือ คิดกลับด้านจากผลงานในอดีตเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่มุ่งเน้นการสัมฤทธิ์ผลไปสู่เป้าหมาย โดยไม่ได้คำนึงถึง วัตถุประสงค์ ขององค์กรว่าเพื่ออะไร และการเข้าสู่ AEC ถ้า กคช. ไม่ขยับ หรือคิดหาแนวทางการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้องค์กรเสียประโยชน์ได้

ส่งการบ้านการบริหารการเป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท