ลำดวน
นาง ลำดวน ไกรคุณาศัย (เรือนรื่น)

KM : การพัฒนาครูภายในโรงเรียนที่ญี่ปุ่น


"การพัฒนาครูที่ยั่งยืน และตรงกับสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น คือการพัฒนาครูที่ดำเนินการภายในโรงเรียนแต่ละโรงเรียน"

        ระหว่างวันที่ ๙-๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๕๕ ดิฉันได้มีโอกาสไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดย สพฐ.เป็นผู้จัดให้คณะ ผู้ร่วมไปดูงานครั้งนี้ ๓๐ คน ได้ไปดูโรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม กระทรวงศึกษาฯ และบริษัทผลิตสื่อการศึกษา ได้พบได้เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ และคิดว่าจะนำมาใช้ประโยชน์มากมาย และจะทะยอยนำมาเล่าทีละจุดๆ ค่ะ

        เรื่องแรกที่จะนำมาเล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ในโรงเรียนที่ญี่ปุ่นที่เราไปดูงาน ซึ่งเราได้ฟังจากการบรรยายสรุป การฟังและการแปลความจากการสื่อสารเป็นปัญหามาก เนื่องจากคนญี่ปุ่นไม่นิยมใช้ภาษาอังกฤษ ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการหาข้อมูลเพิ่มเติม จากเอกสาร การสอบถาม และแปลความสองชั้น       ที่โรงเรียนประถมโตโคซาวา มิอิโช ผอ.โรงเรียนเล่าว่า การพัฒนาครูที่ทำการพัฒนาภายในโรงเรียนเอง กำลังดำเนินการวิจัยรูปแบบการพัฒนาครูภายในโรงเรียน โดยใช้การจัดการความรู้ เรียกว่า "โคไนเค็น"(Kounai -Ken)ร่วมกับมหาวิทยาลัยทสึคุบะ...ซึ่งมีกิจกรรมการพัฒนาที่สำคัญ ๓ ขั้นตอนคือ

  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การระดมสมอง ระหว่างครูภายในโรงเรียนถึงเรื่องการวางแผนการสอน การจัดการเรียนการสอน ใช้ทั้ง Tacit และ Explicit Knowlage

  2. การสาธิตการสอนโดยครูที่สอนดี สอนเก่ง เน้นการใช้Tacit Knowlageของครูสอนดีที่สอนให้ครูคนอื่นๆสังเกตการสอน (ซึ่งผอ.บอกว่าขั้นนี้ทำยากมากเพราะหาคนสาธิตยาก)

  3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างครูหลังการสังเกตการสอน ใช้ทั้งTacit และ Eplicit 

                                                                                              การดำเนินการเช่นนี้ทำประมาณสองเดือนครั้ง หรือภาคเรียนละครั้ง แต่มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูหลังเลิกเรียนโดยไม่บังคับ ครูท่านใดมีความประสงค์จะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้จนถึงเวลาหนึ่งทุ่ม

                                                                                                จากการฟังบรรยายของผอ.โรงเรียน และศึกษานิเทศก์ สังเกตว่าเขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู โดยสถานศึกษาดำเนินการเองภายในโรงเรียนร่วมกับมหาวิทยาลัยที่โรงเรียนเป็นผู้ไปขอความร่วมมือ การพัฒนาโดยเขตหรือโดยกระทรวงศึกษา ที่ทำการพัฒนาจากภายนอกโรงเรียนมีน้อยมากเพียงปีละ ๑-๒ครั้ง  เพราะเขาบอกว่าการพัฒนาที่เกิดจากภายในโรงเรียนเอง จะสามารถทำการพัฒนาได้ตรงกับสภาพปัญหา และมีความต่อเนื่องยั่งยืนกว่า                                                                                 

    ข้อมูลส่วนของการดูงานตรงจุดนี้ ทำให้ดิฉันผู้ที่เป็นบุคลากรจากภายนอกโรงเรียน ที่พยายามคิดกิจกรรมเพื่อป้อนให้กับโรงเรียนในภาพรวมนั้น ได้คิดว่าบางครั้งไม่ตรงกับความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ตัวดิฉันเองก็สะท้อนคิดถึงบทบาทของตัวเองเช่นกัน และคิดว่าตรงนี้ควรต้องหาวิธีปรับ ที่จะทำอย่างไรให้แต่ละโรงเรียนของเรา มีความเข้มแข็ง เท่าเทียมกัน ที่จะสามารถ พัฒนาตนเองได้ทั้งโรงเรียนใหญ่-เล็ก ในเมืองนอกเมือง....                                                                          

หมายเลขบันทึก: 492517เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะ กำลังคิดที่จะทำ งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาครู ทำให้ได้มุมมองใหม่ๆ

เห็นด้วยกับการพัฒนาครูให้ยั่งยืน ควรพัฒนาในโรงเรียน และกระบวนการ ๓ ข้อ ของการพัฒนาที่ญี่ปุ่น น่าจะนำมาพัฒนา ในประเทศของเรา ไม่จำเป็นต้อง ให้ครู ไปที่ไกล ๆ เปลืองงบ ประมาณ

areerat สวัสดีค่ะ

ยินดีอย่างยิ่งค่ะที่เรื่องนี้มีประโยชน์ต่อแนวคิด

ลำดวนก็คิดเช่นเดียวกับคุณค่ะ

แว่นธรรมทอง สวัสดีค่ะ


"เห็นด้วยกับการพัฒนาครูให้ยั่งยืน ควรพัฒนาในโรงเรียน"

ตรงนี้สำคัญต่อแนวคิดของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

เห็นด้วยค่ะ การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากภายในใจ ภายในคน ภายในพื้นที่เอง จะเหมาะสม ตอบโจทย์พื้นที่ และยั่งยืนค่ะ เพราะทุกคนเป็น Owner ของพื้นที่ที่เราอยู่

สวัสดีค่่ะอ้อ

พี่เองและคณะจึงต้องหันกลับมาทบทวนตนเองโดยเร่งด่วนค่ะ

คงต้องคิดกิจกรรมที่ ผลักดันการสร้างความเข้มแข็งจากภายในของโรงเรียนเองให้มากยิ่งขึ้นค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะท่าน ศน  ลำดวน

เห็นด้วยกับการพัฒนาครู   อย่างยิ่งค่ะ

ว่างๆ แวะไปเยี่ยมกันบ้างนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท