แบ่งฝันการศึกษาไทยในยุคปี 2020


ตัวผู้เรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยตลอดชีวิต

มองชีวิตผ่านการศึกษาที่ผ่านมา
ร่วมคิดร่วมฝันการศึกษาไทยในอีกแปดปีข้างหน้า(ค.ศ. 2020/พ.ศ. 2563)

เวลาอีกไมไกลที่จะฝันไปให้ถึงและฝันนั้นทำให้เป็นจริงได้  โจทย์ครั้งนี้ยากจริงๆ ค่ะแต่ฉันขอร่วมฝันด้วยคนนะคะ

ตัวผู้เรียนเป็นใคร

         ย้อนหลังไปในราวปี 1960 หรือ พ.ศ. 2503-2504 ประมาณยุคผู้ใหญ่ลี  ที่ตีกะลอ(กลอง) เชิญชาวบ้านมาประชุม ถ้าใครเกิดทันสมัยที่เพลงนี้ร้องคงจะวิเคราะห์ออกมาได้ว่า ยุคนั้น เศรษฐกิจกำลังจะเริ่มต้นที่ดี แต่การศึกษายังไม่แพร่หลาย ส่วนการถ่ายทอดการสื่อสารเรื่องราวใช้การเชิญมาล้อมวงคุยกัน วันนี้ผ่านไปห้าสิบปีแล้ว ผู้ใหญ่ลีและชาวบ้านวันนั้นคงจะเป็นกลุ่มคนที่ถูกกำหนดเรียกว่าเป็น Baby Boomers หากมีตัวจริงและมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบันก็จะถูกจัดเป็นกลุ่มผู้อาวุโส  ที่ ณ วันนี้จะมากพร้อมประสบการณ์  (แต่อาจจะขาดทักษะการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารไปบ้าง)

          ในสมัยเดียวกันกับผู้ใหญ่ลีนั้นเอง เด็กเกิดใหม่ถูกจัดเข้ากลุ่ม Generation X (ค.ศ.1960-1980) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการใช้งานยังจำกัดอยู่ ฉันเองก็อยู่ในระหว่ายุคคนสองรุ่นนี้ (Gen X & Baby Boomers)จึงได้เห็นความเจริญเติบโตทางวัตถุเทคโนโลยี  ควบคู่กับการเป็นนักเรียน นักศึกษา ในกรอบแนวคิดและทิศทางการสอนของครูและโยบายการจัดการศึกษาที่ การเรียนการสอนนั้นมีทั้งส่วนดีและเสีย สอบตกต้องซ้ำชั้น ความรู้ที่เรียนและสอบไปแล้วทิ้งไม่ได้ อาจมีปรากฏในการสอบครั้งต่อไป ในวิชาเดียวกัน และทำอะไรไม่ถูกจะโดนครูตี หยิก  ดึงหู ยืนขาเดียวหน้าห้องเรียน คาบไม้บรรทัด เป็นต้น  ประสบการณ์ซ้ำชั้น หรือทำให้เป็นที่อับอาย หากใครเจอ "ทำโทษ" ในยุคสมัยนี้ถือว่า  "แรง"  เพราะยุคนี้ไม่ใช้มาตรการนั้นแล้ว  มิเช่นนั้นก็จะมีเรื่องร้องเรียน ฟ้องร้องถึงขั้นขึ้นโรงศาลได้ เพราะสิทธิเสรีภาพในการเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดให้รู้จากการสอนของครูอย่างเดียว

กระบวนการ "เรียน/สอน" เปลี่ยนไปเป็น "การเรียนรู้"  

          ในอีกยี่สิบปีต่อมา (ค.ศ. 1980-1995) ยุคเด็กเกิดใหม่เป็นกลุ่ม Generation Y  หรือ the Millennial Generation (or Millennials), Generation Next,  Net Generation, Echo Boomers คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีแพร่หลายขึ้น  เด็กซึมซับรับการเรียนรู้เร็วขึ้น การเรียนการสอนเปลี่ยนไปเป็นแบบบูรณาการ  หลากหลายวิชามารวมกัน  ใช้แบบแผนการเรียนโดนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือ  Child Center  ในยุคนี้ฉันเป็นผู้ปกครอง  ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาภาคบังคับ 16 ปี เด็กเรียนหนังสือ เรียนแล้วสอบแล้วสอบและทิ้งไป(ก่อน)  สอบตกก็ซ่อมได้ ไม่ต้องกลับไปซ้ำชั้นเดิมเสียเวลาเรียนไปอีกเป็นปี แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ คือ ฉันเองได้เรียนรู้การเรียนหนังสือรูปแบบใหม่ผ่านลูกหลาน ได้หยิบจับเครื่องมือช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งเครื่องมือที่ใช้สมองเนื้อคิดและมือขีดเขียนวาดเป็นแผ่นแผนที่ (Mind Map)  และการพึ่งพาโปรแกรมคิดให้เบ็ดเสร็จแค่ป้อนข้อมูลดิบเข้าไปในเครื่องมือสื่อสารอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ

          แล้วในยุคต่อมาที่เรียกเด็กยุคเกิดปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมาว่าเป็นเด็ก Generation Z  หรือ iGeneration หรือ internet generation เป็นเด็กยุคดิจิทัล เกิดมาพร้อมอุปกรณ์แสนจะไฮเทค หนังสือเป็นเล่มแทบไม่ต้องหยิบจับอ่านแต่รู้พอกันกับพวกผู้ใหญ่  บางทีรู้เร็วกว่าอีกด้วยซ้ำไป แล้วผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอนจะปรับเปลี่ยนวิธีการให้การศึกษาแก่พวกเขาอย่างไรกันนะคะ  จากที่สังเกตเห็น หลายๆ สถาบันดึงเด็กเข้าชั้นเรียนด้วยการนำเครื่องมือสื่อสารทันสมัยเป็นเครื่องล่อ  เหมือนจะให้ปลาติดเบ็ด เด็กๆ ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งล้อมวงเรียนรู้แบบเผชิญหน้ากัน

          ฉันทำงานกับผู้คนที่เกิดมาในยุคเจนเนอเรชัน  Y เป็นส่วนมาก  ฉันแค่มีความรู้สึกว่าพวกเขาเก่งแต่ไม่ค่อยจะอดทน รู้กว้างแต่ไม่รู้ลึก  เชื้อเชิญไปทำกิจกรรมนอกเวลา งานจิตอาสาที่ต้องอาศัยการลงแรงลงมือมักจะอิดออด  ซึ่งที่จริงแล้วกลุ่มคนเหล่านี้มีพลังมากมายที่จะช่วยคิดพัฒนาให้ความเป็นอยู่ในสังคมดีขึ้น  แต่ฉันก็พยายามเข้าใจพวกเขา วิ่งตามให้ทัน ขอแบ่งปันความรู้ที่พวกเขาสั่งสม หวังที่จะให้คนพันธุ์  X  กลายพันธุ์เป็นคนพันธุ์  C (Connect) ให้ได้
(แนะนำอ่านเพิ่มเติมผ่านการใช้ search engine ด้วยคำค้นนี้... “เข้าใจ Gen Y”)

แล้วฉันคิดอย่างไรกับการศึกษาในยุคปี 2020

          สุดท้ายก็มาลงที่ 5W+1H ...ฉันเชื่อว่ามีคำสำคัญๆ (Keyword) ไม่กี่คำค่ะ ที่จะตอบโจทย์นี้ได้ คือ ตัวผู้เรียน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ตามนี้ค่ะ

  1. การสอนเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน  ผู้อาวุโสกว่าคือผู้มีประสบการณ์ทำงาน ทำหน้าที่ถ่ายทอด บอกเล่าแนะทิศทางที่ดีกว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้เด็กรุ่นหลังได้ประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติเป็นการสร้างทักษะชีวิตในทุกมิติที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ คิดว่าเด็กยังขาดอย่างมาก
  2. การเรียนรู้ตลอดชีวิต  (Lifelong learning) และเรียนรู้ตามอัธยาศัย  ครูอาจารย์คงไม่ใช่แค่สอนสั่งอย่างเดียวแล้ว  แต่ต้องขอคืนจากเด็กๆ บ้าง  คือการเพิ่มพูนทักษะการใช้งานเครื่องมือสื่อสารทันสมัยและยอมรับเปิดใจกว้างที่จะเรียนรู้จากรุ่นเด็กกว่าที่พัฒนาการเรียนรู้ศึกษาด้วยตัวเขาเองนอกห้องเรียนได้ดีกว่าในเรื่องเทคโนโลยี
  3. การศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก็สำคัญ  ที่ผู้ใหญ่ไม่ควรจะบังคับห้ามความสนใจจะเรียนจะเป็นอะไรในอนาคตของเด็กๆ  ปล่อยให้เขาชอบ เลือก ลงมือทำ และเราเฝ้ามอง ชื่นชมความสำเร็จ  พยุงเมื่อซวนเซจะล้ม ถ้าเด็กไม่ชอบอาชีพที่ผู้ใหญ่อย่างเรามองว่าเป็นทางเลือกที่ดี  ก็อย่าบังคับเลยค่ะ

(แนะนำอ่านเพิ่มเติม7 อาชีพเสรี AEC 2015 โดย ปฏิคม พลับพลึง)

 

ต่อยอดความรู้ตามอัธยาศัย...>>

 

หมายเลขบันทึก: 494012เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สุดยอดเลยครับ ..บันทึกผมนั้นแสนจะดิบจริงๆ บันทึกนี้มีภาพที่แสดงมายด์แม็บ ดีมากๆ ครับ แสดงความคิดเห็นก่อนแล้วจึงไปอ่านน่ะครับ ขอบคุณความฝันครับ

สวัสดีค่ะคุณนาย เพชร พรหมสูตร์

การเรียนรู้ของเราทุกคนจะไม่มีเวลาหยุดนิ่งหรือจบสิ้นค่ะ เป็นหลักการที่ยึดใช้ในการทำงาน การเลี้ยงลูกสาว และในอนาคต คือ ยุคปี 2020 หากจะได้เป็นคุณยายได้ทำหน้าที่เลี้ยงดูหลาน(ถ้าเค้าพร้อมจะมีและส่งมาให้เราเลี้ยงเหมือนเช่นที่ผู้ใหญ่กว่าได้ปฏิบัติกันมา)

ก็ต้องดูที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จริงไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

Large_ktknotetaker02

  • หากส่งเสริมให้เด็ก ๆ เขียนความคิดออกมาเป็น mind map ได้จะทำให้ง่ายแก่การจดจำและแสดงว่าพวกเขาเข้าใจเรื่องนั้นจริง ๆ นะคะ
  • การคิดแบบเชื่อมโยงเป็นการคิดที่ทรงพลังมากค่ะ

สวัสดีครับ

 

สำคัญมากๆ ครูต้องเป็นตัวอย่างและผู้สอนด้านศีลธรรม (อบรมบ่มนิสัย)

นโยบายใหม่ๆ ด้านการศึกษาไม่ค่อยเน้นตรงนี้เท่าไหร่

 

การสอน...ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้...จะมีค่าและมีประโยชน์ เพราะจะทำให้เด็กไทยเรามีความสุขและสนุกครับ ขอบคุณบันทึกมากครับ

สวัสดีค่ะคุณ Sila Phu-Chaya

  • เด็กสมัยใหม่(กว่าเรา) โชคดีที่ได้ใช้ Mind Map ตั้งแต่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับนะคะ การเรียนต่อจากนั้นก็แล้วแต่ผู้เรียนจะเห็นประโยชน์

เป็น

การคิดแบบเชื่อมโยงเป็นการคิดที่ทรงพลังมากค่ะ

จริงด้วยค่ะ

  • ยังได้เห็นสาวน้อยยังใช้เป็นเครื่องมือในการทบทวนความรู้เพื่อการสอบที่อาศัยความเข้าใจไม่ใช่ท่องจำ แล้วคนทำงาน(อย่างแม่ๆ) ยังได้ประยุกต์ใช้ในการทำงาน การบันทึกสรุปเรื่องราวเรื่องเล่าจนถึงรายงานประชุมค่ะ 
  • เรียนมาจากเด็กๆ นี่เอง

สวัสดีค่ะคุณ บอกอ. ธ.วั ช ชั ย

  • กรอบความคิดและค่านิยมของคนแต่ละรุ่นแตกต่างกัน เรื่องที่เด็กยุคใหม่จะขาด ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาคงพยายามจะเติมเต็มให้ แต่มันก็คงเป็นการท้าทาย(น่าดู) และก็ยังมีส่วนที่เกินๆ ที่คอยฉุดดึงไป
  • ส่วนพวกเราก็เฝ้ามองแล้วเป็นกองหนุน (ขอ อิอิ หน่อย ไม่ได้เอะอะด้วยกันตั้งนาน ^_^)

สวัสดีค่ะคุณ  ทิมดาบ

ขอบคุณค่ะ หากผู้สอนมีวิธีการสอนที่สนุกๆ มีการนำเทคนิค Plan & Learn  มาใช้ เด็กจะมีความสุข และจดจำได้กับสิ่งที่ได้รับนะคะ

ดิฉันจำได้ว่าเคยเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในสมัยชั้นประถม เป็นเรื่องน่าเบื่อมากที่ต้องท่องจำ พยายามจำเท่าไรคะแนนก็ไม่ดีขึ้นเลย จนกระทั่งขึ้นไปเรียนในชั้นมัธยม ต่างโรงเรียน(โรงเรียนหนูทดลอง) ได้อาจารย์ที่สอนสนุก เล่าเป็นเรื่องเป็นฉากๆ เป็นตอนๆ มีภาพอธิบายประกอบบนกระดานดำ (สมัยนี้คงพัฒนาเป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์) ได้ฟังอย่างเพลิน/เข้าใจ ให้กลับไปทบทวนใหม่ก็ยังพอมองเห็นภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์(ผ่านใบหน้าอาจารย์ที่เล่า) และจากนั้นมาวิชานี้เป็นวิชาที่ทำให้มีความสุขมากๆ ค่ะ

 

สวัสดีค่ะพี่ดาวทั้งหมดคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้สำหรับเด็กยุคปัจจุบันเพื่อให้อยู่รอดในปี 2020 แล้วคงจะต้องทำทางเดินที่โล่งคล่องตัวให้ครูที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันเหตุการณ์นะคะ ขออย่าได้ปรับเปลี่ยน รมต.ทุกๆ หกเดือน ฮาๆๆ

  • จริง ๆ คุณลูกก็ได้มาจากคุณแม่นั่นเองค่ะ เพียงแต่น้องเกิดมาในยุคที่มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เร็ว
  • ปลื้มแทนนะคะ

คุณแม่เก่งๆ แบบนี้  คุณลูกก็คงจะเก่งกว่า เพราะเหมือนคุณแม่บวกคุณพ่อ มั้งคะ...^^

สวัสดีค่ะน้องครู krutoom

  • ในฐานะของคุณครูที่คลุกคลีคนรุ่นใหม่ เป็นกำลังสำคัญของการให้การศึกษาและอนาคตเด็กไทย ต้องเรียนรู้ให้เยอะเป็นกี่เท่าคะ
  • และในฐานะนักศึกษาบัณฑิตศึกษาอีกด้วย น่าจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการตรงนี้ได้เยอะแยะเลย

แวะเยี่ยมชมและขอบคุณสำหรับ

บันทึกดีดีที่ได้อ่านคะพี่ KaTtiKa

เด็กGeneration Z  หรือ iGeneration หรือ internet generation

เป็นเด็กยุคดิจิทัลก็จริงแต่ในบางครั้งเทคโนโลยีก็สร้าง ไม่ได้ในทุกๆเรื่อง

การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อพัฒนาการทางด้านสติ

ปัญญาทางด้านสมองและการก้าวทันผู้อื่น แต่การสร้างปฏิสัมพันธ์ความสมัครสมาน

สามัคคีหรือปลูกจิตสำนึกที่ดีบางทีเทคโนโลยีก็ช่วยได้ไม่มากคะ

ในความคิดของเบียร์แล้วอย่างไร การศึกษาของไทยก็ยังคงต้อง

ใช้การลงมือทำ เรียนรู้ด้วยตนเอง ทดลองและทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนความคิด

ควบคู่กันไปกับเทคโนโลยี ดีที่สุดคะ

สวัสดีค่ะคุณเบียร์ EGA

  • เห็นด้วยทุกประการค่ะเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าปล่อยให้มันก้าวไป
  • ในมหาวิทยาลัยที่ทำงาน ได้ให้ความสำคัญการพัฒนาทักษะกับนักศึกษาทุกชั้นปีด้วยเพื่อให้เขาเข้าร่วมทำกิจกรรมงานอาสา งานบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ถูกต้อง ฝึกความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ รวมถึงการฝึกบุคลิกภาพและทักษะทางสังคม เพื่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต ให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้คู๋คุณธรรมค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท