Talent Management ในภาคราชการ


Talent Management

Talent Management ในภาคราชการ

ผมได้เห็นและได้สัมผัส การพยายามของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยราชการ ในการเชิญที่ปรึกษาดาวรุ่ง หรือ Talent ในองค์กรของเขา ตัวอย่างเช่น 2 องค์กร ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

วิธีการต่างๆ ในกระบวนการคัดเลือก และการอบรมมีคุณภาพ ในระดับดีทั้ง 2 แห่ง แต่จุดอ่อน จริงๆของการที่ทำให้คนระดับ Talent ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับธุรกิจภาคเอกชน คือโครงสร้างแรงจูงใจ คือ รัฐวิสาหกิจ ไม่มีอิสระในการกำหนดโครงสร้างเงินเดือน เพื่อให้ผลตอบแทนของคนที่มีคุณภาพต่างกัน

เผอิญผมได้อ่าน Harvard Business Review ฉบับล่าสุด บทความกล่าวว่า การที่จูงใจคนเก่งในองค์กร เช่นแผนกขายในธุรกิจเอกชนในอเมริกา พบว่า ในแผนกขาย คนมีความแตกต่างกัน 5 ระดับ ซึ่งคนที่มีความสามารถสูงสุดย่อมได้รับแรงจูงใจ ในเรื่องรายได้มากกว่าคนที่มีคุณภาพน้อยกว่า  แต่ถ้าโครงสร้างเงินเดือนรัฐวิสาหกิจของไทยยังไม่คล่องตัว เหมือนภาคเอกชน คำถามมีอยู่ว่า จะทดแทนแรงจูงใจทีไม่ใช่ตัวเงินได้อย่างไร

หากรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 2 แห่งทำได้ ก็มีความสามารถพอที่จะเก็บคนเก่งไว้ได้ แต่ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ คนเก่งในองค์กรก็จะไม่อยู่ เพราะเขาสามารถหาโอกาสไปอยู่ในองค์กรอื่นได้

หมายเลขบันทึก: 494357เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท