โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน


ไฟทอปเทอรา

           ในช่วงที่ผ่านมาได้ออกติดตามงานในพื้นที่อำเภอต่างๆทุเรียนและได้ออกติดตามงานโครงการกิจกรรมในพื้นที่หมู่บ้านตำบลและได้ไปพบเจอ "โรครากเน่าโคนเน่า"ของทุเรียนระบาดอย่างหนัก ในทุกพื้นที่ ทั้งที่เป็นใหม่ๆและที่เป็นมานานถึงขั้นยืนต้นตาย และที่แสนสาหัสที่เชื้ระบาดลุกลามไปทั่วลำต้นซึ่งยากที่จะเยียวยาได้

            โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนเกิดจากเชื้อราไฟท้อปเทอร่าต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่าใบไม่เป็นมันสดใส ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดและใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบ ให้สำรวจบริเวณลำต้น กิ่งหรือราก บริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางน้ำไหลลงด้านล่างหรือมีรอยแตกของแผล ต้นที่เป็นโรครุนแรงมากจะมีน้ำยางไหลออกมาโดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้น เชื้อราไฟท๊อปธอร่าสามารถแพร่กระจายโดยทางลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีลมพายุและความชื้นสูง จะเหมาะสมกับการแพร่กระจายและเข้าทำลายต้นทุเรียนได้ดี

 

การป้องกันและกำจัด

1. ติดตามสถานการณ์โรครากเน่าและโคนเน่า โดยสำรวจทุกต้น 7 วัน/ครั้ง ช่วงพฤษภาคม - ธันวาคม

2. ตรวจวิเคราะห์และปรับปรุงบำรุงดินโดยใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมี และปูนขาว (ตามอัตราคำแนะนำหลังจากการตรวจวิเคราะห์ดิน) เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นดินดีทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมี (ดินควรมีสภาพเป็นกลาง คือ pH = 6.5)

3. จัดทำร่องระบายน้ำในบริเวณสวนที่มีพื้นที่ต่ำ เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขัง ตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กที่เป็นโรคไปเผาทำลาย

4. เก็บรวบรวมใบ ดอก และผลที่เป็นโรค และร่วงหล่นอยู่ในบริเวณสวนไปเผาทำลาย

5. พบอาการของโรคเพียงเล็กน้อยที่ลำต้นหรือกิ่งแขนงใหญ่ ให้ขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก และนำไปเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยปูนแดง หรือสารเคมีกำจัดเชื้อรา

 

6.ใช้สารเคมี

     - โรคโคนเน่า : ขูดเปลือกลำต้นหรือกิ่งแขนงใหญ่บริเวณที่เป็นโรคออกและเผาทำลาย แล้ว ทาแผลด้วยสารเคมีเมทธาแลกซิล 25% WP หรือ 35% SD อัตรา 50 - 60 กรัม/น้ำ 1 ลิตร

     - โรครากเน่า : พบอาการของโรคที่บริเวณรากฝอยซึ่งจะเป็นสีน้ำตาลดำและใบสีเหลือง ให้ใช้สารเคมีฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม 80% WP อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่ว ทั้งต้น 
     7  การใช้ เชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma harzianum) ควบคุมเชื้อราไฟท๊อปธอร่า (Phytophthora palmivora) ในดิน โดยนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (ที่ผลิตจากเมล็ดข้าวฟ่าง) มาผสมกับรำข้าวและปุ๋ยหมัก ในอัตราเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. + รำข้าว 10 กก. + ปุ๋ยหมัก 40 กก. คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันนำไปโรยรอบโคนต้น

  เห็นทีจะต้องรณรงค์ให้เกษตรกรรู้จักโรครากเน่าโคนเน่าและวิธีการป้องกันกำจัดที่ได้ผล ซึ่งจะเป็นการรักษาเสถียรภาพความั่นคงทางรายได้และความคุ้มทุนของการปลูกทุเรียน

 

คำสำคัญ (Tags): #รากเน่าโคนเน่า
หมายเลขบันทึก: 495017เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • พี่ยาว
  • เหมือนสายตรวจต้นไม้เลย
  • ขอตั้งชื่อว่าให้เป็นหมอทุเรียนนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท