ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

PBL&Noble Truth


       เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฏาคม ๕๕ ในฐานะคณะอนุกรรมการดำเนินกิจกรรมการสอนที่มุ่งเน้น "ความรู้คู่คุณธรรม" และการสอดแทรกคุณธรรมในการสอน ของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง เพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ได้เดินทางไปร่วมฟังการนำเสนอการสอนคุณธรรมจริยธรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยนำปัญหามาเป็นตัวตั้ง (Problem-based Learning) จากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์

        น่าสนใจว่า PBL นั้นเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ใช้ "โจทย์ปัญหา" เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความ มุ่งมั่นในการแสวงหาคำตอบ ที่เน้นทั้งระยะเปิดโจทย์ ค้นคว้า และปิดโจทย์ ข้อสังเกตที่เห็นคือ หลักการ PBL นั้น มีความสอดรับกับหลัก "อริยสัจ" อย่างมีนัยสำคัญ เพราะเป็นการศึกษาที่เริ่มจากการวิเคราะห์ตัวปัญหา ค้นหาสาเหตุ เป้าหมาย และใช้วิธีการและเครื่องมือที่สอดคล้องและเหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังที่ได้กำหนดกรอบเอาไว้ อย่างไรก็ดี ความต่างของสองสิ่งนี้คือ PBL อาจจะเน้นปัญหาที่อยู่นอก หรือรอบตัว ในขณะที่การศึกษาแบบอริยสั...จเป็นการศึกษาที่เน้นภายในตัวมากกว่าเพื่อทำความเข้าใจปัญหา หรือความทุกข์ สาเหตุของทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการในการดับทุกข์เพื่อพบสุขอย่างยั่งยืน

        ฉะนั้น การบูรณาการการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลนั้น ควรจะเน้นทั้งตัว PBL และ อริยสัจ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ทั้งภายนอกตัว และภายในตัว เนื่องจากการเรียนรู้โลกภายนอกตามแนว PBL นั้นอาจจะเอื้อต่อการ "เอาตัวรอด" แต่การเรียนรู้โลกภายในตามหลักอริ ยสัจนั้นจะเอื้อต่อการ "เอาใจรอด" จากกรงเล็บทั้ง ๘ ของโลกธรรม คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สุข ทุกข์ สรรเสริญ และนินทา ได้มากกว่า เมื่อสองกระบวนการทำหน้าที่ร่วมกัน จะทำให้ "ชีวิตรอด" ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน

        ขออนุโมทนาขอบคุณ ท่าน พลอากาศตรี รศ. นิกร ชำนาญกุล ประธานคณะอนุกรรมการดำเนินกิจกรรมการสอนฯ ที่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้เกิดกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อนระหว่างคณะอนุกรรมการฯ และกิจกรรมดีๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการสอนสอดแทรกคุณธรรม (http://www.facebook.com/ideal5052)

        ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ประชุมในวันนี้ได้เลือกให้มหาจุฬาฯ (๑) เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อนและรับฟังการบรรยายพิเศษในวันที่ ๒๘ กันยายน ๕๕ ณ วังน้อย และ (๒) เป็นเจ้าภาพในการจัดงานเชิดชูเกียรติแก่อาจารย์ดีเด่นด้านการสอนสอดแทรกคุณธรรมฯ ในช่วงการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๖

        ในนามมหาจุฬาฯ ขอเจริญพรขอบคุณคณะอนุกรรมการกิจก รรมการสอนสอดแทรกคุณธรรมฯ ซึ่งนำโดยพลอากาศตรี รศ. นิกร ชำนาญกุล มา ณ โอกาศนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มหาจุฬาฯ จะได้มีโอกาสต้อนรับทุกท่าน และดำเนินกิจกรรมที่มีประโยชน์ร่วมกันเพื่อลูกศิษย์อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา.
หมายเลขบันทึก: 496217เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 06:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I wonder if if we should call "ariya-sacca" Noble Truth or "True Ariya".

Noble Truth implies a kind ot reality in our mind. True Ariya is related to a quality of being Ariyan (a type of people).

I think that it is a simple algebra to substitute "dukkha" with "X": where X may be an issue, a problem, a goal, a project,... And ariya-sacca (principle) is still useful.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท