สืบค้นหารากเหง้าตระกูล "ไชยขันธุ์"ที่เมืองกุดสิมนารายณ์ ก่อนเดินทางไปหารากเหง้าผู้ไทที่เมืองวังอ่างคำ(อั่งคำ) สปป.ลาว


”แต่นี้ต่อไปเมื่อหน้า ให้ นามสกุล ไชยขันธ์ /นามสกุล วุฒิสาร และ นามสกุล สีหลิ่ง เป็นพี่น้องกัน มีหลักฐานการขอใช้นามสกุลบันทึกจดจานใว้ในหนังหนังสือผูก(ใบลานหนังสือ ก้อม)เก็บใว้ที่วัดบ้านหนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ จนเท่าทุกวันนี้

หอมะเหศักดิ์และหลักเมืองกุดสิมนารายณ์
ที่เสาหลักเมืองกุดสิมนารายณ์ ได้มีจารึกบอกเรื่องราวถึงการอพยพของคนผู้ไท จากเมืองวัง(เมืองวีระบุรี)แขวงสะหวันนะเขต ในปัจจุบันนั้น ได้อพยพ มาตั้งบ้านเรือนที่เมืองกุดสิมนารายณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2384
ตรงกับพงศาวดาร หัวเมืองมณฑลอิสานที่ว่า...
ปีพ.ศ.2384พระมหาสงครามและเจ้าอุราชเมืองเวียงจันทร์ยกกองทัพไปตีเมืองวัง แตก เจ้าเมืองวังพาครอบครัวหนีกองทัพสยาม ระสำระสาย ต่อมาพระมหาสงครามได้จัดให้กองทัพ ไปเกี้ยกล่อมให้ครอบครัวราชวงค์เมืองวัง์เข้ามาสวามิภักดิ์ จำนวน3,443คน มาตั้งบ้านเมืองที่บ้านกุดสิมนารายณ์





.......


ครั้นปีพ.ศ.2384 รัชกาล 3ของไทย โปรดให้ราชวงศ์(กอ)และหัวหน้าพวกผู้ไททั้งหลายในภาคอิสานจำนวน 10 คน เข้าเฝ้าที่กรุงเทพฯทรงถามความสมัครใจว่าผู้ใด พวกใด อยากไปอยู่ที่ใดจะได้พระราชทานให้ตามความประสงค์ ราชวงศ์(กอ) ได้สมัครใจพาพรรคพวกลูกหลานจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิมขึ้นอยู่กับเขตเมืองกาฬสินธุ์ ผู้ไทกลุ่มนี้ล้วนแต่มาจากเมืองวังอ่างคำทั้งสิ้น ครั้นเวลาล่วงถึงปี พ.ศ.2388 ร.3 โปรดเกล้าให้ตั้งบ้านกุดสิมเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์(เมืองเก่าซึ่งก็คือ อ.เขาวง ในปัจจุบัน) มีพระยาธิเบธวงศา(ราชวงศ์กอ)เป็นเจ้าเมืองคนแรก




..............



ทั้งนี้บรรพบุรุษผม ก็มาจากเมืองวัง(สปป.ลาวในปัจจุบัน)พร้อมกับคณะของราชวงศ์เมืองวังโดยทำงาน รับใช้กลุ่มราชวงศ์เมืองวังอย่างต่อเนื่อง ที่เมืองกุดสิมนารายณ์(อ.เขาวงในปัจจุบัน)ครับ

ทั้งนี้ตามประวัติบรรพบุรุษ ในสมัยที่จดทะเบียนนามสกุลครั้งแรก(ในครั้งนั้น พระเศวต เมธี เสมียนมหาดไทย จนท.ดำเนินการขอใช้นามสกุลให้บันทึกใว้เป็นหลักฐานว่า”แต่นี้ต่อไปเมื่อหน้า ให้ นามสกุล ไชยขันธ์ /นามสกุล วุฒิสาร และ นามสกุล สีหลิ่ง เป็นพี่น้องกัน มีหลักฐานการขอใช้นามสกุลบันทึกจดจานใว้ในหนังหนังสือผูก(ใบลานหนังสือ ก้อม)เก็บใว้ที่วัดบ้านหนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ จนเท่าทุกวันนี้ โดยบันทึกเป็นภาษาไทยน้อย(หนังสือลาว/ผู้ไทโบราณ))ทั้งนี้การตั้งนามสกุล ครั้งแรกได้นำชื่อ ปู่ทวด วรเสนไชยะ (ท้าวเสน) มาตั้งเป็นสกุล (ตาม พ.ร.บ. การขอใช้นามสกุลกันทั่วประเทศ โดยออกเป็น พ.ร.บ.ตั้งแต่ 22 มี.ค.2455 และ มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศในเดือน ก.ค. ปี พ.ศ.2456 ) ลูกหลานพญาปู่ทวด วรเสนไชยะ (ท้าวเสน)จาก บ้านคำกั้ง ไปขอจดแจ้งใช้นามสกุลเป็นกลุ่มแรก จนท.เสมียนโดยพระเศวต เมธี ตั้งนามสกุลให้เป็น “วรเสนไชยะ” ตามที่ทินนามปู่ทวดพญาเสนที่ได้รับ
ตามคำบอกเล่าของลูกหลาน แต่ครั้นเมื่อได้นามสกุลแล้วกลับไปถึงบ้าน ลูกหลานไม่เห็นชอบด้วยไม่ยอมรับอ้างเหตุว่า นามสกุลยาวเกินไป ยากแก่การเขียนและจดจำ จึงกลับไปขอแก้ไขนามสกุลใหม่ ทาง จนท. เปลี่ยนให้เป็นนามสกุล ไชยเขตต์ขันธุ์ และเปลี่ยนเป็น “ไชยขันธ์” ในเวลาต่อมา
จึงใช้มาจนถึงทุกวันนี้

.........







ตอนเช้า พบนายกเทศมนตรีตำบลเหล่าใหญ่
บ่ายวันที่1 มิ.ย.55
ไปพบนายกเทศมนตรีตำบลกุดสิม(อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์)ปรึกษาหารือเรื่อง การจัดงานผู้ไทนานาชาติ ในครั้งต่อไปและผมได้เล่าความคืบหน้าการค้นคว้าเรื่องผู้ไทของผม ว่า...

ตอนนี้เริ่มมีความชัดเจนเรื่องผู้ไทในจีนมากขึ้นที่จีนพบผู้ไทที่ เจิ้นหลง มณฑลกวางสี และที่เหวินชาน มณฑลยูนาน ข้อมูลผู้ไทจีนที่เหวินซาน ยูนานที่ได้มาใหม่ จากนักวิชาการจีน น่าสนใจมากครับ

.........




ตามภาพ วันนี้เด็กๆผู้ไท ที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์แต่งชุดพื้นเมืองผู้ไทไปโรงเรียนและเช้านี้กำลังออกเดินทางข้าม แม่น้ำโขง สปป.ลาวที่สะพานมุกดาหาร_สะหวันนะเขตเพื่อไปสืบหารากเหง้าผู้ไทที่ สปป.ลาวคับ






ผ่านเขาวง(กาฬสินธุ์)ทุกครั้ง.
มักจะแวะเยี่ยมชมร้านตัดเย็บผ้าพื้นเมืองผู้ไทที่นี่
แทบทุกครั้งครั้งนี้ก็เช่นกัน
มีชุดสาวผู้ไทสวยๆรอนางแบบผู้สาวงามมาสวมใส่ผู้ใด๋หนอสิมาเป็นนางแบบอยากจะเป็นตากล้องให้ครับ

 




2 มิ.ย. 55 เช้าเป็นวันออกเดินทางข้ามแม่น้ำโขงไป สปป.ลาว ที่สะพานมุกดาหาร_สะหวันนะเขตเพื่อไปสืบค้นหารากเหง้าของบรรพชนคนผู้ไทที่ เมืองบกเมืองวัง หรือเมืองวังอั่งคำ(วีละบุรี)ครับ


จากบันทึก ของ@Suthep Chaiyakhunt


หมายเลขบันทึก: 496623เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท