สะเดากลั่น


ฮอร์โมนสกัดจากเมล็ดสะเดา

สะเดากลั่นหมายถึงผลิตภัณฑ์จากการต้มเมล็ดสะเดาบดและกลั่นด้วยระบบท่อปิดเมล็ดสะเดาที่นำมาใช้จะต้องเลือกเมล็ดที่แกะเนื้อออกปอกเปลือกใช้เฉพาะเนื้อในที่ตากแห้ง บดละเอียด ขนาดชิ้นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตร ใช้หม้อต้มชนิดหม้อนึ่งความดันขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากหม้อประมาณ๔๐เซนติเมตร ใส่เมล็ดสะเดาบด ๕กิโลกรัม เติมน้ำ๑๐ลิตร ปิดฝาให้สนิท ต่อท่อออกจากฝาถังต้ม ที่ตั้งบนเตาแก๊สไปเข้าท่อทองแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง๑๐มิลลิเมตร ที่มีความยาวประมาณ๑.๕เมตร ที่แช่อยู่ในถังหล่อเย็น โดยท่อทองแดงที่จุ่มอยู่ในถังหล่อเย็นนี้ทำหน้าที่ควบแน่น  ทางออกของท่อทองแดง ต่อกับท่อยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง๑๐มิลลิเมตร  ยาวประมาณ๒๐มิลลิเมตร ไปเก็บในถังเก็บผลิตภัณฑ์สะเดากลั่น สารสะเดากลั่นที่ได้มีความเป็นกรด มีพีเอช ๓.๐ มีค่าการนำไฟฟ้าประมาณ ๒๕๐ไมโครซิเมนต์ (ค่าที่วัดได้ขณะสารกำลังควบแน่นและไหลลงไปในถังเก็บผลิตภัณฑ์) โดยใส่ในขวดแก้วปากกว้างขนาดบรรจุ ๒๐๐มิลลิลิตร จากนั้นจึงนำสารสะเดากลั่นไปทดสอบกับพืชที่ชะงักงันเนื่องจากการทำลายของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และพืชที่ได้รับความกระทบกระเทือนเนื่องจากการย้ายปลูก ปริมาณที่ใช้ ๐.๑มิลลิลิตรต่อน้ำ๑ลิตร ใช้กระบอกฉีดประเภทอักลมความจุ๑.๒๕ลิตร สังเกตความเปลี่ยนแปลงภายใน ๔๘ชั่วโมง เป็นต้นไป พบว่ายอดของต้นใบมะละกอที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลาย ๔ต้นมีการเปลี่ยนแปลงเริ่มสร้างยอดใหม่ที่มีลักษณะใบใสเป็นมันวาวภายใน๗วันต่อมาสามารถแตกใบใหม่ทดแทนใบที่หยิกได้ และเมื่อครบ๗วัน จึงฉีดซ้ำด้วยความเข้มข้นเดิมคือ๐.๑มิลลิลิตรต่อน้ำ๑ลิตร นอกจากต้นมะละกอแล้วยังได้ทดสอบกับต้นกะเพราขาว กระเพราแดง กล้วยไม้สกุลหวาย กล้วยไม้สกุลแคทรียา ปีป สะเดาบ้าน ก้างปลาแดง เตยหอม ตะไคร้บ้าน หญ้าแฝก บัวดิน หลิว เซ่ง พริกขี้หนู คว่ำตายหงายเป็น รวยไม่เลิก เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 497223เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2012 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ภาชนะที่จะใช้เก็บสะเดากลั่นควรเป็นขวดแก้วสีชาหรือสีใสจะช่วยรักษาให้สารออกฤทธิ์ในสารละลายสะเดากลั่นใช้ได้นาน กนก อุไรสกุล

ถ้าไมกลั่น จะสกัดด้วยตัวทำละลายอะไรได้รึเปล่าครับ

ตัวทำละลายชนิด ethyl alcohol ,methyl alcohol สามารถสกัดสะเดาได้ แต่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จะไม่เหมือนกัน หากสกัดด้วยแอลกอฮอล์ต้องใช้ชนิดที่มีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า๗๐%สารที่ได้จะมีสาร Azadirachtin แต่ถ้าเป็นชนิดสะเดากลั่น อาจตรวจไม่พบสารอะซาดิแรคติน เนื่องจากความร้อนจะทำให้โครงสร้างของสารแตกออกเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ และมีคุณสมบัติเป็นฮอร์โมนพืช ช่วยทำให้พืชนำไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย สามารถดูดซึมและเคลื่อนย้ายไปในตำแหน่งที่กำลังเจริญเติบโตหรือเปลี่ยนรูปแบบตามที่พืชต้องการที่เรียกว่า secondary metabolite ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท