คิดถึงหนังสือเรียน


มีเรณู ปัญญา มาแลกกัน

      คิดถึงหนังสือเรียนชุดบันไดก้าวหน้า   เรณู ปัญญา

 แต่งโดยนายกี กีรตวิทโยสร เป็นหนังสือเรียนที่ เคยเรียนชอบมากภาพสวย วาดโดยเหม เวชกร  นายฉันท์ สุวรรณบุตร นายบุญชู โกศัลยวัฒน์ มี 4  เล่ม ไปโรงเรียน เที่ยวรถไฟ (ต้นทาง) เที่ยวไฟ(ปลายทาง) และที่ไร่ลุง จำได้ว่าสนุกมาก บังเอิญบ้านอยู่ใกล้สถานีรถไฟ

 ยิ่งชอบ คลาสสิคมาก ใครมีมาแลกเปลี่ยนกันหน่อย (ขอซื้อค่ะ) จากความคิดถึงนี่เอง ทำให้ต้องค้นคว้าเรื่องหนังสือเรียนยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ค่ะ

เล่มนี้ก็คลาสสิค่ะหลังเรณู ปัญญานิดหน่อย นิทานร้อยบรรทัด เรียบเรียงโดยหลวงสำเร็จวรรณกิจ แต่งเป็นบทกลอนไพเราะมาก เห็นความผูกพันชองแม่ลูก สัตว์เลี้ยง น่ารัมาก 

          เจ้านกน้อย น่ารัก  ทักว่า    

   ไปไหนมา หนูเล็ก เด็กชายหญิง

ทั้งรูปร่างหน้าตา  น่ารักจริง

ข้ายิ่งดูก็ยิ่งเจริญตา  

     

                  

             1.ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหนังสือเรียนคือจินดามณี นับว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรก แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีจินดามณีฉบับพระนิพนธ์กรมหลวงวงษาสนิท และจินดามณีฉบับหมอ บรัดเลย์ ซึ่งฉบับนี้เพิ่มปฐม ก กา ปฐมมาลาและปทานุกรม ในปัจจุบัน จินดามณีเป็นตำราที่ว่าด้วยการเขียนคำ แต่งคำประพันธ์ แบ่งส่วนสำคัญคือ อักษรศัพท์  การเขียนตัวสะกดการันต์  การแต่งคำประพันธ์                                                                                                                                                                                     2.แบบเรียนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่1-รัชกาลที่ 4)    2.1 สมัยรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่2 โปรดให้มีการชุมนุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตและได้รวบรวมวรรณคดีในสมัยอยุธยาและมีการแต่งกลอนมาก                                                                                                                                                   2.2 รัชกาลที่3 โปรดให้จารึกบทกวีนิพนธ์ที่วัดพระเชตุพนฯราษฎรได้ศึกษาด้วยตนเอง                                           

2.3 ปรากฏหนังสือโบราณ 5 เล่ม 1) ประถม ก กา เป็นหนังสือแบบเรียนรัชกาลที่1-รัชกาลที่5  เป็นหนังสือว่าด้วยกฎเกณฑ์ การอ่านและการเขียน การแจกแม่ต่างๆตั้งแต่ แม่ ก กา ถึงแม่ เกย บางตอนมีบทกลอนแทรก  2) สุบินกุมาร แต่งเป็นกาพย์ เป็นบทสวดสอนให้เด็กเลื่อมใสในพุทธศาสนา 3) ประถมมาลา  ผู้แต่งเป็นพระภิกษุ แต่งเป็นคำกลอนอธิบายหลักการเขียนภาษาไทย หลักไวยากรณ์บาลีและหลักการแต่งคำประพันธ์ 4) ประถมจินดาเล่ม 1 ตรงกับหนังสือที่แต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ 5 )ประถมจินดามณีเล่ม 2 ผู้แต่งคือ พระเจ้าบรมวงค์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ให้หลักการเขียน การอ่าน การแบ่งอักษร การแจกลูก การผันอักษร                                                                                                                                                            2.4  แบบเรียนชั้นสูงเป็นหนังสือที่กำหนดให้นักเรียนอ่าน คล้ายหนังสืออ่านเพิ่มเติม ได้แก่ จันทโครพ อนิรุท สมุทรโคตร เพชรมงกุฎ สังข์ทอง กากี พระยาฉันทันต์ สวัสดิรักษา  นักเรียนต้องมีความสามารถในอ่าน อ่านจนคล่องแล้วจึงกำหนดให้อ่านหนังสือเหล่านี้หรือที่เรียกว่า ขึ้นสมุด                                                                                                                                                                                                                              3.แบบเรียนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่5-ปัจจุบัน)                                                                                                           3.1 แบบเรียนหลวงของพระยาศรสุนทรโวหาร ได้ขยายความจากจินดามณีเน้นด้านภาษาไม่ได้กล่าวถึงการแต่งคำประพันธ์ ได้แก่                                                                                                                                                                      3.1.1 มูลบทบรรพกิจเริ่มสอนเด็กเริ่มเรียนเริ่มคำจากง่ายไปหายาก 

 3.1.2 วาหนิติ์นิกรเป็นแบบเรียนการผันอักษรนำคือการผันอักษรสูงนำอักษรต่ำ อักษรกลางนำอักษรต่ำโดยจัดตามลำดับอักษร                                                                                                                                           3.1.3 อักษรประโยค เป็นแบบเรียนผันอักษรควบกล้ำ การใช้ กับ แก่ แต่ ต่อ                                                    

 3.1.4  สังโยคพิธานว่าด้วยการสะกดในแม่ต่างๆ เช่น แม่ กน มีอักษร ญ ณ น ร ล ฬ เป็นตัวสะกด                      

 3.1.5 ไวพจน์พิจารณ์ว่าด้วยการเขียนต่างกันออกเสียงต่างกัน สะกดต่างกันออกเสียงเหมือนกัน                           

 3.1.6 พิศาลการันต์ ว่าด้วยตัวการันต์ ตัวที่อยู่ท้ายไม่ออกเสียง                                                                 

 3.1.7 อนันตวิภาค เน้นการจัดคำเป็นหมวดหมู่ เช่นคำไทยแผลง คำไทยตรงคำเขมร คำชวา คำราชาศัพท์  คำหยาบ คำผวน คำบาลี สันสกฤต                                                                                                                               3.1.8 นิติสารสาธก แต่งเป็นคำกลอนให้ท่องจำ                                                                                                           3.1.9 ปกีรณำพจนาท ปกีรณำแปลว่าเบ็ดเตล็ดเป็นเรียนการเขียนแบบต่างๆ                                                        

3.1.10 พรรณพฤกษาและสัตวาภิธาน รวบรวมจัดหมวดหมู่ชื่อต้นไม้และชื่อสัตว์                             

 3.2 แบบเรียนเร็วโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แบบเรียนเร็วนี้สอนให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้และแต่งหนังสือได้ ประกอบด้วยหนังสือ 3 เล่ม                                                                                                                         3.2.1 แบบเรียนเร็วเล่ม1 เป็นหนังสือสอนอ่าน เริ่มตั้งแต่พยัญชนะ การประสมสระ                                              

 3.2.2 แบบเรียนเร็วเล่ม2 เป็นหนังสือสอนอ่าน เขียน การใช้คำ ใช้ไม้มลาย ไม้ม้วน คำมี่ใช้ ฆ ญ ณ ธ                

3.2.3 แบบเรียนเร็วเล่ม3 แบ่งเป็น 3 ภาค  ภาค 1 ว่าด้วยชนิดของคำ ภาค 2 ว่าด้วยวิธีแต่งประโยค ภาคที่ 3ว่าด้วยการเก็บใจความ                                                                                                                                            3.3 แบบเรียนที่ชื่อว่า อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ ของกรมศึกษาธิการ                                  

 3.3.1 อักขรวิธี หนังสืออักขรวิธี แบ่งเป็น 4 ตอน ตัวอักษร การประสมอักษร ตัวสะกด วิธีแผลงอักษร                                                                                                                                                                                                         3.3.2 วจีวิภาคหนังสือที่ว่าด้วยลักษณะถ้อยคำ วิธีใช้ถ้อยคำ        

3.3.3 วากยสัมพันธ์ ว่าด้วยส่วนต่างๆของประโยค สำนวนโวหาร ได้แก่ บรรยายโวหาริเทศนาโวหาร และพรรณนาโวหาร                                                                                                                                                                              3.3.4  ฉันทลักษณ์ ว่าด้วยการแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ                                                                                                  3.4 มูลปกรณ์อ้างถึงหนังสือมูลบทสรรพกิจว่าด้วยการสอนอ่านเขียน                                                                                                         3.5 แบบสอนอ่านของกรมศึกษาธิการหนังสือสอนอ่านเบื้องต้นชุดนี้มี 4 เล่มประกอบด้วย                                                                        

 1) เป็นเรื่องสัตว์ สิ่งของ  2) เรื่องข้าวที่เรากิน 3) มีนิทานต่างๆ เรื่องต้นไม้ 4) เรื่องเวลา อัฐและเงิน เครือญาติ ผู้ปกครองและประเพณีต่างๆ                                                                                                                                                                                                               3.6 แบบสอนอ่านจินตกวี และกวีนิพนธ์ หนังสือชุดนี้มีหลายตอนเป็นต้นว่า รามเกียรติ์ตอนศึกกุมภกรรณ สามก๊กตอนโจโฉแตกทัพเรือ  สังข์ทองตอนเลือกคู่ หาปลา ตีคลี  ราชาธิราชตอนศึกเจ้าฝรั่งมังฆ้อง  อิเหนาศึกท้าวกะหมังกุหนิง  พระอภัยมณีตอนเมื่อครองเมืองผลึก เป็นต้น                                                              

  3.7 หนังสือแบบสอนอ่านสุภาษิตประกอบด้วย นิทานสุภาษิตสำหรับเด็กๆ นิทานสุภาษิตหิโตประเทศ นิทานอีสป                                                                                                                                                                                     3.8  แบบสอนอ่านเฉพาะวิชา เป็นว่า 1) แบบสอนอ่านพงศาวดาร 2) แบบสอนภูมิศาสตร์ 3) แบบสอนอ่านธรรมจริยาและหนังสือพลเมืองดี 4) แบบสอนอ่านสุขศึกษา 5) แบบสอนอ่านเพาะปลูก 6) แบบสอนอ่านค้าขาย                                                                                                                                                                                 3.9  หนังสือแบบเรียนใหม่ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นผู้ประพันธ์ ขณะนั้นมีการฝึกหัดครูแล้ว ครูสนใจที่จะสอนแบบ แบบเรียนใหม่ เพาระเด็กอ่านออกเร็วกว่าแบบโบราณ เน้นการอ่านตัวสะกด                                                                                                                                                                                                                        3.10  แบบสอนอ่านใหม่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นผู้ประพันธ์ หนังสือเล่มนี้เป็นชุดเน้นสอนให้เป็นพลเมืองดี                                                                                                                                                                                              3.11  สยามไวยากรณ์ โดยพระอุปกิตศิลปสาร สอนการอ่าน เขียนถูกต้องตามไวยากรณ์ แบ่งเป็น4 เล่ม อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์                                                                                                                 3.12  แบบสอนอ่านมาตรฐานโดยนายยง อังคเวทย์ สอนอ่านเด็กเริ่มเรียน สอนเป็นคำ แทนสอนสะกดคำ  คำที่นำมาสอนเป็นคำในชีวิตประจำวัน ที่เรียกว่ามาตรฐานเพราะเป็นคำซ้ำๆและเพิ่มจำนวนคำขึ้นเรื่อยๆ เนื้อเรื่องเป็นนิทาน คำกลอนบ้าง เพลงบ้าง                                                                                                                                3.12  แบบเรียนชุดบันไดก้าวหน้า แต่งโดย นายกี่ กีรติวิทโยสาร คล้ายแบบเรียนมาตรฐานแต่เน้นเอาคำมาผูกเป็นประโยค จากประโยคสั้นๆเป็นประโยคยาวๆ เป็นเนื้อเรื่องที่เด็กสนใจเช่นการไปโรงเรียน การเที่ยวรถไฟ การเห็นธรรมชาติ ภูมิประเทศไทย เช่นชุดเรณูปัญญา ซึ่งคณะกรรมการกระทรวงศึกษาธิการจัดทำ วาดภาพโดยเหม เวชกร ศิลปิน ชื่อดัง                                                                                                                                                     

3.13 แบบเรียนท้องถิ่น  แนวการเขียนตามแบบเรียนมาตรฐานและแนวบันไดก้าวหน้าได้ใช้เป็นแบบเรียนมาถึงปัจจุบัน เพราะต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นจึงทำให้มีแบบเรียนสำหรับเด็กในภาคต่างๆ                                                                                                                                      3.14 แบบเรียนวรรณคดีไทย แบบเรียนภาษาไทย วรรณคดีแต่ละเรื่องไม่ได้เรียนตลอดเรื่องแต่เลือกตอนที่มีความไพเราะ มีข้อคิด ข้อเตือนใจ ครูเป็นผู้เลือก นอกจากนี้มีการเพิ่มแบบฝึกหัด การตอบคำถาม เพิ่มเรียนกิจกรรมทางภาษา เช่นการอ่านในใจ การอ่านทำนองเสนาะทำนองต่างๆ การคัดลายมือ การเขียนตามคำบอก การฝึกหัดอภิปราย วิพากษ์ วิจารณ์ และเรียนหลักภาษา                                                                                            3.15 แบบเรียนไทยปัจจุบันจัด  5 ประเภท 1)  แบบเรียนคำมาตรฐาน ได้แก่ แบบสอนอ่านมาตรฐาน ของนายยง อิงคเวทย์  บันไดก้าวหน้าของนายกี กีรติวิทโยสาร  สุดา คาวิ ของนายอภัย จันทวิมล  แบบอ่านชุดเรณู ปัญญา เน้นเรียนจากเรื่องราวที่เด็กสนใจ ธรรมชาติ การเดินทางรถไฟ  วาดภาพสวยงามโดยเหม เวชกร เช่วง พ.ศ 2521-2537 ชุดมานี มานะ เน้นเป็นคำๆจากเรื่องราวชีวิตประจำวันของเด็กๆ (แต่งโดยอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ) 

                                                                                                                                                                        3.16  แบบเรียนแบบประสมอักษรได้แก่ แบบหัดอ่านหนังสือไทย ของพระวิภาชน์ วิทยาสิทธิ์ ที่คล้ายกันในปัจจุบันน่าจะเป็นชุดรถไฟ แก้วกับกล้าซึ่งเน้นการฝึกอ่านแบบแจกลูก และโรงเรียนสามารถเลือกนำมาสอนได้ บางโรงเรียนเลือก ภาษาพาที ซึ่งจะมีเนื้อหามาก                                                                                           3.17 แบบเรียนท้องถิ่น ได้แก่ชุด อาลี วีนา                                                                                                                              3.18 แบบเรียนภาษาไทยและวรรณคดีไทยของกระทรวงศึกษาธิการ แบบเรียนชุดนี้มีเนื้อเรื่อง ผู้แต่ง และวิธีแต่ง รูปแบบคำประพันธ์   แบบเรียนหลักภาษาไทย เช่น สยามไวยากรณ์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เรณู ปัญญา
หมายเลขบันทึก: 499086เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คิดถึงหนังสือเรียน...ดีจังเลยค่ะ...โดยเฉพาะ นิทานอีสป  

 

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณค่ะขอบคุณทุท่านที่เข้ามาชม ใครเคยเรียนเล่มไหนเล่าสู่กันอ่านนะคะ ต่อไปจะเขียนเรื่องอีสปดีไหมคุณSomsri

. ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล ผมเป็นนักเ

รียนรุ่นเรณูปัญญา อ่านหนังสือได้เพราะหนังสือเรณูปัญญานี่แหละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท