บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

การวิเคราะห์ละครเรื่องเงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


การ ที่ทรงเลือก “ความรัก” มาเป็นแนวคิดสำคัญของเรื่องเงาะป่าซึ่งเป็นเรื่องราวของชีวิตของตัวละครที่ เป็นชนกลุ่มน้อยที่ปราศจากความสำคัญและยังป่าเถื่อนในสายตาของคนเมือง แสดงให้เห็นถึงแนวพระราชดำริว่า มนุษย์นั้นมีความเสมอเหมือนกันในด้านอารมณ์และความรู้สึก แม้จะต่างเพศผิวพันธ์จะเจริญหรือล้าหลังก็ตาม

 

การวิเคราะห์ละครเรื่องเงาะป่า

บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ประวัติความเป็นมาเรื่องเงาะป่า


            เงาะป่า เป็นพระราชนิพนธ์บทละครในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องเอกของไทยที่จัดเข้าลักษณะวรรณคดีโศกนาฏกรรมแบบตะวันตก ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงที่ทรงพักฟื้นจากการประชวรด้วยพระโรคมาเลเรีย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.124 (พ.ศ.2448) โดยใช้เวลาทรงนิพนธ์ 8 วัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินพระราชหฤทัยในระหว่างการพักฟื้น จากการประชวร
           พระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่า เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะทั้งในด้านวรรณศิลป์ นาฏศิลป์ และคีตศิลป์ ลักษณะคำประพันธ์เป็นบทละครรำ นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับ “รูปพวกเงาะโดยสังเขป” ความรู้เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา นิสัยใจคอ และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเงาะ เนื้อเรื่องเต็มไปด้วยสาระ มีแนวคิดสำคัญที่เป็นสากลคือ เรื่องของความรัก ซึ่งเป็นความรู้สึกอันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมวลมนุษย์ชาติ ทุกภาษาและทุกชนชั้น
        “จบ บทประดิษฐ์แกล้ง กล่าวกลอน           เรื่อง หลากเล่นละคร ก็ได้
เงาะ ก็อยเกิดในดอน แดนพัท ลุงแฮ                  ป่า เป็นเรือนยากไร้ ย่อมรู้รักเป็น”

          การ ที่ทรงเลือก “ความรัก” มาเป็นแนวคิดสำคัญของเรื่องเงาะป่าซึ่งเป็นเรื่องราวของชีวิตของตัวละครที่ เป็นชนกลุ่มน้อยที่ปราศจากความสำคัญและยังป่าเถื่อนในสายตาของคนเมือง แสดงให้เห็นถึงแนวพระราชดำริว่า มนุษย์นั้นมีความเสมอเหมือนกันในด้านอารมณ์และความรู้สึก แม้จะต่างเพศผิวพันธ์จะเจริญหรือล้าหลังก็ตาม

ลักษณะของเรื่องเงาะป่า

       เป็นกลอนบทละคร มีลักษณะสัมผัสเช่นเดียวกับกลอนแปด สิ่งที่แตกต่างระหว่างกลอนบทละครกับกลอนแปดคือ
            1.ตัวละครสำคัญ กลอนบทละครจะขึ้นต้นด้วย “มาจะกล่าวบทไป” หรือ “เมื่อนั้น”
            2.ตัวละครไม่สำคัญ กลอนจะขึ้นต้นด้วย “บัดนั้น”
            บทละคร จะกำหนดเพลงสำหรับขับร้อง มีเพลงหน้าพาทย์ ใช้ประกอบท่ารำหรือกิริยาอาการของตัวละคร เมื่อขึ้นต้นแต่ละวรรคหรือตอนจะมีเครื่องหมาย (ฟองมันหรือตาไก่) กำกับไว้ โดยเหนือฟองมันจะมีชื่อเพลงสำหรับขับร้อง ใต้ตอนจะบอกว่ามีกี่คำกลอน และบางเพลงจะมีหน้าพาทย์กำกับเช่น “ฯ๒ฯ โอด”


ลักษณะคำประพันธ์และภาษา


            บท ละครเรื่องเงาะป่า แต่งด้วยกลอนบทละครตลอดทั้งเรื่อง มีบอกเพลงกำกับไว้ ทรงใช้ภาษาอย่างเรียบง่าย มีความไพเราะไม่มีศัพท์สูงๆ ที่เข้าใจยากอย่างวรรณคดีทั่วไป แต่ได้ทรงสอดแทรกคำศัพท์ภาษาก็อย (ซาไก) ไว้โดยตลอด ก่อนถึงเนื้อเรื่องมีบัญชีศัพท์ภาษาก็อยใส่ไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเปิดหา ความหมายของศัพท์เหล่านั้นโดยสะดวก ถึงแม้ผู้อ่านจะไม่ได้ย้อนกลับมาเปิดศัพท์ก็อ่านได้ไม่ยาก เพราะทรงใช้คำศัพท์ภาษาก็อยควบคู่กับภาษาไทย ทำให้เดาความหมายภาษาก็อยได้
            คำ ศัพท์ภาษาก็อยเดิมนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเก็บเงาะป่าคนหนึ่งชื่อ”คนัง” ที่ทรงนำไปเลี้ยง ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า “ส่วนศัพท์ภาษาก็อยไล่เลียงจากอ้ายคนังทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ไล่เลียงขึ้นสำหรับหนังสือนี้ ได้ชำระกันแต่แรกมา เพื่อจะอยากรู้รูปภาษาว่าเป็นอย่างไร แต่คำให้การนั้นได้มากแต่เรื่องนกหนู ต้นหมากรากไม้เพราะมันยังเป็นเด็ก บางทีผู้อ่านจะเหนื่อยหน่ายด้วยคำที่ไม่เข้าใจมีมาก จึงได้จดคำแปลศัพท์ติดไว้ในบทละคร

 

เรื่องย่อบทละครเรื่องเงาะป่า

 

         ซมพลาเป็นเงาะหนุ่มได้รักนางลำหับ ซึ่งซมพลามีบุญคุณกับลำหับในการช่วยชีวิตตอนที่ไปเที่ยวป่าและโดนงูรัดเลย เกิดรักกัน ตามความเชื่อที่ว่าชายใดแตะเนื้อต้องตัว หญิงถือว่าเป็นสามีของหญิงนั้น แต่ฮเนามาสู่ขอนางลำหับกับตองยิบและนางฮอย ซึ่งเป็นบิดามารดาของลำหับ ทั้งสองตกลงใจให้นางลำหับแต่งงานกับฮเนา ซึ่งมีความเหมาะสมในฐานะ และได้จัดพิธีแต่งงานให้ พวกเงาะมาช่วยงานกันทั้งหมู่บ้าน เมื่อนางลำหับกับฮเนาแต่งงานกัน จะต้องไปเดินป่าตามประเพณี 7 วัน ซมพลาได้ทำอุบายไปลักพาตัวนางลำหับหนีมาอยู่กับตนที่ในถ้ำ ฮเนานึกว่าซมพลาบังคับเอาตัวนางลำหับไปจึงออกติดตามจนพบ ซมพลากับฮเนาได้ต่อสู้กัน รำแก้วซึ่งเป็นพี่ชายของฮเนาได้ใช้ลูกดอกอาบยาพิษเป่าไปถูกซมพลาได้รับบาด เจ็บ นางลำหับไม่เห็นซมพลากลับมา จึงออกไปตามพบซมพลาถูกลูกดอกอาบยาพิษถึงแก่ความตายไปต่อหน้าต่อหน้า ก็เสียใจ นางลำหับรักซมพลามากจึงได้ใช้มีดฆ่าตัวเองตายตามซมพลา ส่วนฮเนาเมื่อได้รู้ว่านางลำหับกับซมพลารักกันและได้เห็นความรักอันเด็ด เดี่ยวของซมพลากับลำหับ และคิดว่าตนเป็นต้นเหตุให้ทั้งสองตาย จึงฆ่าตัวตายตามไปด้วย

 

การวิเคราะห์บทละครเรื่องเงาะป่า

       การวิเคราะห์บทละครเรื่องเงาะป่าในครั้งนี้ ได้วิเคราะห์เฉพาะในส่วนของ ภาวะและรส ตามทฤษฎีนาฏยศาสตร์ ของศาสตราจารย์ ดร.สุรพล  วิรุฬรักษ์ จากการชมละครทางอินเทอเน็ตเวบไซต์ http://www.korattheatre.go.th ของโรงละครแห่งชาติ (ศึกษาเฉพาะองก์ที่ 1 พบนาง ตอนที่ 1 ชมพลารำพึง)

      เรียบเรียงบทโดย อัมไพวรรณ  เดชะชาติ เรียบเรียงบท จากบทของท่านผู้หญิงแผ้ว  สนิทวงศ์เสนี และปัญญา  นิตยสุวรรณ  ชวลิต  สุนทรานนท์  ตรวจแก้ไข

เนื้อเรื่องย่อ

องก์ที่ 1 พบนาง

        ชมเพลาเงาะหนุ่มผู้มีความสามารถ กล้าหาญทั้งการต่อสู้กับเสือ และเป่าลูกดอก ซึ่งเป็นอาวุธประจำตัวได้อย่างแม่นยำ ทำให้คนังกับไม้ไผ่ชื่นชมชมเพลาเป็นพิเศษ ชมเพลาได้สอนวิชาต่าง ๆ สำหรับผู้ที่จะเจริญเติบโตเป็นเงาะหนุ่มให้กับทั้งสอง เพราะต้องการให้ไม้ไผ่เป็นสื่อให้กับตน ซึ่งมีความรักอย่างจริงใจให้กับลำหับพี่สาวของไม้ไผ่ เมื่อไม้ไผ่ยินดีทำตามความประสงค์ ชมเพลาจึงคลายความวิตกกังวล เนื่องจากฮเนาเงาะหนุ่มในหมู่บ้านเดียวกันได้หลงรักลำหับและได้ให้ผู้ใหญ่มาสู่ขอนางเรียบร้อยแล้ว

 

            ไม้ไผ่ได้ออกอุบายให้ชมเพลาได้พบกับลำหับ โดยชวนลำหับไปเที่ยวชมและเก็บดอกไม้ในป่า ซึ่งมีคนังเป็นผู้พาชมเพลาไปคอยดักพบนาง ขณะที่ลำหับกำลังเพลิดเพลินกับการเก็บดอกไม้อยู่นั้น ก็ถูกงูกวัดแขนจนทำให้ตกใจสลบไป ชมเพลาเข้าไปช่วยเหลือ จนลำหับฟื้นขึ้น ชมเพลาจึงสารภาพรัก ซึ่งลำหับก็รับรักชมเพลา เพราะลำหับเป็นหญิงสาวที่รักษาประเพณีอย่างเคร่งครัด ถือว่าชายใดที่ถูกเนื้อต้องตัวแล้วนับว่าเหมือนสามี ทั้งสองจึงผูกสมัครรักใคร่กัน ชมเพลาได้มอบพวงนาคพตสำหรับป้องกันงู และขอกำไลมะกล่ำของลำหับไป

 

วิเคราะห์จากองก์ที่1 ตอนที่1

1. อุตสาหะภาวะทำให้เกิดวีระรส(รสจากความกล้าหาญ)และรติภาวะ (ภาวะแห่งความยินดี)) เช่นบทกลอนที่ว่า

            เมื่อนั้นชมเพลา                        กล้าแกล้วอาจหาญ

ยินดีปรีดาเหลือประมาณ                    ตริการที่จะไปใกล้อรุณ

              บทกลอนบทนี้ได้กล่าวถึงชมเพลาผู้มีความกล้าหาญสมชายชาตรี มีความสุขใจอย่างมากเฝ้ารอเวลาให้ถึงเวลาเช้าอย่างใจจดใจจ่อ

2.วิสมายะภาวะ(ภาวะความอัศจรรย์ใจ)ทำให้เกิดอัทภุตะรส(รสจากความตื่นเต้น)เช่นบทกลอนที่ว่า

            ปิดประตูขัดกลอนนอนในทับ              ไม่หลับจิตใจให้ว้าวุ่น

แสงประยงลงตามใบไม้พรุน                          ขยับหมุนฉวยบอเลาจะเข้าดง

ออกนอกทับกลับเห็นยังราตรี                          ป่วนฤดีดาลจิตพิศวง

รอคอยรุ่งแจ้งแสงสุริยง                                   ปักษาส่งเสียงร้องก้องวนา

           บทกลอนนี้แสดงถึงความว้าวุ่นใจของชมเพลา เกิดอาการตื่นเต้นจนนอนไม่หลับ รอเวลาที่อยากจะพบกับลำหับ     

      

3.รติภาวะ ทำให้เกิดศฤงคาระรส(รสจากความรัก)เช่นบทกลอนที่ว่า

            เมื่อนั้น                                     ชมเพลายิ่งคิดพิสมัย

จึงเล้าโลมถามทรามวัย                       เป็นใดจึงสิ้นสมประดี

บัดนี้มีอาการเป็นไฉน                          ฤาค่อยคลายใจมารศรี

แม้นเจ้ามอดม้วยชีวี                             อันตัวพี่นี้จะต้องตายตาม

             บทกลอนนี้กล่าวถึงชมเพลาที่แสดงความรักความห่วงใยแก่ลำหับ ถามถึงอาการว่าเป็นเช่นไร รู้สึกดีหรือยัง และยังแสดงให้ลำหับได้เห็นว่าตนนั้นรักลำหับเพียงใด หากลำหับตายตัวเองคงจะต้องตายตาม

        เมื่อนั้น                                     ชมเพลาเห็นสมปรารถนา

จึงเปลื้องพวงนาคพตที่ผูกมา                  ให้กัลยาสวมไว้ได้กันงู

แล้วปลอบเปลื้องมะกล่ำกำไล                        ที่นางสวมใส่ข้อมืออยู่

ขอไปชมพลางต่างโฉมตรู                    พิศดูต่างเจ้าเฝ้าปรีดา 

          บทกลอนนี้แสดงความรักให้กับลำหับโดยการมอบพวงนาคพตซึ่งเป็นของมีค่าสำหรับตนให้แก่ลำหับ และขอมะกล่ำกำไลที่เป็นเครื่องประดับของนางลำหับไว้ดูต่างหน้ายามที่คิดถึง

 

หมายเลขบันทึก: 499325เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ

สีสันฉูดฉาดสดใสมากครับ ;)

บทละครพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ใช้ภาษาง่ายๆ แต่ไพเราะ ชอบอ่าน แต่ไม่เคยดูละครสักทีครับ

สวัสดีครับคุณธวัชชัย

          ใช่ครับสีสันสดใสมากๆครับ แต่ก็เป็นเรื่องของความรักสามเส้า มีความงามและเสน่ห์ในตัวครับ 

                                                                             ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะคุณบัวชูฝัก มาพร้อมกับศิลปะวัฒนธรรมไทย ดีมากๆเลยค่ะ เพราะวรรณกรรมบางเรื่องก็ลืมๆไไปบ้าง มาได้ทบทวนก็ชอบใจค่ะ สบายดีนะคะ ไม่ได้พบกันนานนนนมากกกก คิดถึง

สวัสดีครับคุณพี่หมอรุ่ง

            เป็นบทละครที่ผมเลือกมาวิเคราะห์ครับ ชอบมากครับจึงอยากแบ่งปันในบางช่วงบางตอนครับ สบายดีครับผม คิดถึงเช่นกันครับ 
                                                                                         ขอบคุณมากครับ

คุณบัวชูฝัก

อยากทราบว่าเรื่องเงาะป่ามีการแต่งงานไหมค่ะ  ถ้ามีขอบทกลอนตอนแต่งงานด้วยค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

มีครับ มีวิธีด้วย (ผมอยุ่ ป 4 เพิ่งเรียน)

1.ขบวนเจ้าบ่าวไปรอขบวนเจ้าสาวที่ลานพิธี

2.ขบวนเจ้าสาวแห่ไปลานพิธี

3.ผู้เฒ่าทีเคารพนับถือทำพิธีพลีกรวมเพื่อขอพรไห้คู่บ่าวสาว

4.พ่อแม่ของบ่าวสาวเข้าอวยพร....☺ จบบบบบบ...

ในหนังสือผมก็มีบทแต่งงานแต่ไม่ได้เอามา

ชอบจุง มีเรื่องย่อไห้ด้วยง่ะ :) ☺ 

คือว่าไม่มีคําถามเเละคําตอบหรอกค่ะคือครูหนูให้มาทําการบ้านค่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท