ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

บริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถ่ายทอดความรู้เกษตรประณีตสู่ชุมชนบ้านเขวา


นักเรียนโรงเรียนบ้านเขวา และชุมชนบ้านเขวา จัดอบรมเกษตรประณีตร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บริหารศาสตร์ ม.อุบลราชธานีจัดอบรมเกษตรประณีต

        วันที่ 22 สิงหาคม 2555 ผมกับท่านอาจารย์ดร.สุขวิทย์ โสภาพล และนักศึกษาสาขาเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 3 คน ได้มีโอกาสไปจัดโครงการบริการวิชาการ เรื่อง  “การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีตตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง” ณ โรงเรียนบ้านเขวา ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ ปี 2555 จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การบริการวิชาการดังกล่าวนับเป็นภารกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่จะต้องให้บริการวิชาการกับชุมชนและสังคม ซึ่งท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข ท่านได้ให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นอย่างมากในการที่จะพัฒนาควบคู่กันไปกับการจัดการศึกษา นอกจากนั้นท่านยังให้แนวทางการทำงานกับคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยว่า นอกจากมหาวิทยาลัยจะมีความแข็งแกร่งทางวิชาการแล้ว มหาวิทยาลัยจะต้องเอาความรู้ที่มีอยู่ไปช่วยเหลือสังคมให้มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจด้วย  ดังนั้นคณะบริหารศาสตร์โดยการนำของท่านคณบดี ดร.วิโรจน์ มโนพิโมกข์ ซึ่งเป็นคณะที่รวมทุกศาสตร์ด้านการบริหาร จึงได้จัดโครงการบริการวิชาการขึ้น ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2555

ท่านสุนันท์ คำแสงดี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขวาให้การต้อนรับ

จากความหวังที่ได้เกินคาด

          นับเป็นมิติใหม่ที่น่าสนใจ…เพราะจากการจัดการฝึกอบรมครั้งนี้ในขั้นต้นเราก็หวังเพียงแต่ว่าจะเอาชุดความรู้ที่เรามี เราสะสมมา เราเรียนรู้และสร้างขึ้น ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านเขวา ซึ่งจัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีครู 4 คน รวมเป็น 5 กับท่านผู้อำนวยการสุนันท์ คำแสงดี มีนักเรียนจำนวน 51 คน และเป็นโรงเรียนที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม แต่หลังจากที่มีการพูดคุยกันกับท่านอาจารย์สมัย บาอินทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และท่านผู้ใหญ่บ้านรุ่งทิวา วงศ์เจริญ ท่านบอกว่าน่าจะเอาชุมชนมาร่วมเรียนรู้ด้วยนะครับ ถึงแม้ชุมชนบ้านเขวาจะเป็นชุมชนเล็กๆ มีจำนวน 140 หลังคาเรือน มีประชากร 500 กว่าคน แต่ก็มีความสนใจที่ต้องการเรียนรู้ด้านเกษตรประณีต เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ดังนั้นจึงมีผู้เข้าร่วมโครงการอย่างล้นหลาม จากที่เราตั้งเป้าไว้ที่ 50 คน แต่มีคนเข้าร่วมอบรมทั้งหมดกว่าร้อยชีวิต ที่มีอายุตั้งแต่ระดับอนุบาล (5 ขวบ)จนกระทั่ง 70 กว่าปี นับว่าเป็นความหลากหลายที่หาดูยากมากของการอบรมความรู้

บรรยากาศการอบรม

อาจารย์อุทัย อันพิมพ์ บรรยาย

อาจารย์ดร.สุขวิทย์ โสภาพล บรรยายการประยุกต์ใช้ให้พอเพียง

ความประทับใจในมิติใหม่ของเด็กไทย

          นับเป็นพัฒนาการและการเตรียมพร้อมที่ดีที่จะเข้าสู่อาเซียนในปี 2558 เป็นความประทับใจของคณะวิทยากร นักศึกษา และสมาชิกชุมชน ที่ได้เห็นเด็กชุมชนชนบทตัวเล็กๆ คนหนึ่ง คิดว่าน่าจะอยู่ประมาณ ป.4 หรือ ป.5 ประมาณนี้ ที่ได้เป็นตัวแทนของนักเรียนมากล่าวต้อนรับและขอบกล่าวขอบคุณทีมวิทยากรและพี่ๆ นักศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ แถมยังออกสำเนียง (Accent) ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ยังได้สนทนาและพูดคุยเป็นภาษาอังกฤษกับเพื่อนๆ และคุณครูด้วย นับเป็นพัฒนาการที่ดี ซึ่งคณะครูในโรงเรียนทุกๆ คนร่วมกันสร้าง และสิ่หนึ่งที่น่าประทับใจในตัวเด็กๆ คือความมีระเบียบวินัยและรู้จักหน้าที่ เป็นอะไรที่หาดูได้ยากมาก ดังนั้นถ้าหากท่านใดสนใจว่ามีระเบียบวินัยอย่างไร และรู้หน้าที่อย่างไร ต้องตามไปดูที่โรงเรียนนะครับ เพื่อจะได้เห็นกันแบบจะจะและน่าทึ่ง  

                                    รอคิวรับอาหาร

สาธุ! ให้เห็นคุณค่าของข้าว ปลา อาหาร

ความรู้ที่ชุมชนสนใจและได้รับ

        จากที่ทีมสาขาเศรษฐกิจพอพียง คณะบริหารศาสตร์ได้ลงไปถ่ายทอดความรู้เรื่องการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีต ครั้งนี้  ได้เห็นความตั่งใจของชุมชนในการที่จะเรียนรู้เรื่องเห็ด ซึ่งเป็นชุดความรู้หนึ่งของการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับสมาชิกของชุมชน ซึ่งวันนี้เราได้ไปถ่ายทอดความรู้เรื่องเห็ดหลักๆ 3 วิธีคือ การเพาะเห็ดแบบมือถือ (เห็ดขอนไม้) การเพาะเห็ดฟางแบบสุ่มไก่ และการปลูกป่าปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ในการฝึกอบรมครั้งนี้เราต้องการชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวในการประกอบอาชีพที่ผ่านมาของเกษตรกรไทย และแนวทางการแก้ไขความล้มเหลวดังกล่าวจะต้องแก้ไขด้วยความรู้ และแนวทางในการพึ่งตนเอง ซึ่งชุมชนและคณะครูและนักเรียนต่างก็ให้ความสนใจและความร่วมมือเป็นอย่างดี และเมื่อตอนกลับบ้านผู้เข้ารับการฝึกอบรมยังได้เห็ดมือถือและต้นกล้าเห็ดละโงก เห็ดเผาะ เห็ดผึ้ง เห็ดน้ำหมาก และเห็ดตะไคล กลับไปปลูกที่บ้านด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจของคณะผู้จัดและผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี

สาธิตและปฏิบัติการทำน้้ายางล้างจาน 

สาธิตและฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดขอนขาว

นักศักษาสาขาเศรษฐกิจพอเพียงและเด็กๆ อนุบาลที่มาเรียนเกษตรประณีต

หมายเลขบันทึก: 499711เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2012 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 04:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บริหารศาสตร์ ม.อุบลราชธานีจัดอบรมเกษตรประณีต...กับความรู้..ลงสู่ชุมชนนะคะ  ทำ CSR ดีจริงๆ ค่ะ ชื่นชมค่ะ

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาชื่นชม ความจริงแล้วก็อยากบอกกล่าวเล่าแจ้งกันนั่นแหละครับ เนื่องจากเป็นชุดความรู้ของชุมชนที่สามารถจัดการกับอาชีพของตนให้เกิดความยั่งยืนได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท