จุดเริ่มต้น SHA CUP


ที่น่าทึ่งคือ หลายๆแห่งที่แม่ต้อยได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมเยือน ความผูกพันระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชนมีมาก จนแทบหาช่องว่างระหว่างกันไม่มี

 

เมื่อแม่ต้อยได้มีโอกาสทำงานกับโรงพยาบาลชุมชนมากๆ จึงได้พบข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่า คนที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชนนั้นควรต้องมีคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญนั่นคือการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนทั่วๆไป  คุณสมบัติอันนี้ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้บริหารโรงพยาบาล    ภาษาชาวบ้านคือ ต้อง “ ติดดิน” เพราะการที่ติดดินนี่เองที่ทำให้เห็นรายละเอียดของเนื้องาน ทำให้มีความเข้าใจที่ดีมากขึ้น มองเห็นจุดแข้ง จุดอ่อนของระบบงาน อันเป็นหนทางนำไปสู่การปรับปรุงระบบที่ดีกว่า หรือ” การพัฒนา” นั่นเอง

เรามักจะเห็นว่า โรงพยาบาลชุมชนหรือแม้แต่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ๆ ที่มีผลงานเด่นๆ และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน รวมทั้งจากสรพ. ด้วย หากลองเข้าไปใกล้ชิดแล้วจะพบว่า ร้อยทั้งร้อยโรงพยาบาลแห่งนี้ ผู้นำโรงพยาบาลล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีความสัมพันธ์ดีกับบุคคลทั่วไป คุณสมบัติที่พิเศษนี้เป็นเรื่องสำคัญและส่งผลถึงความสัมพันธ์ในองค์กรด้วย

 

ที่น่าทึ่งคือ หลายๆแห่งที่แม่ต้อยได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมเยือน  ความผูกพันระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชนมีมาก จนแทบหาช่องว่างระหว่างกันไม่มี

ในสมัยราวๆเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมาแม่ต้อยได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งแถวภาคอิสาณ ท่านผู้อำนวยการพาแม่ต้อยเดินเยี่ยมชมโรงพยาบาล ตลอดทาง ท่านจะทักทายทั้ง คนไข้ ญาติ และหมอพนักงานอย่างคุ้นเคย   ในสมัยก่อน โรงพยาบาลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะทางอิสาณ จะมีญาติผู้ป่วยมาจำนวนมาก เรียกได้ว่ายกโขยงมาทั้งหมู่บ้านก็ว่าได้  มีเครื่องนอน หมอนมุ้ง กล่องข้าวเหนียว มาพร้อม เรียกได้ว่าป่วยหนึ่งคน มายี่สิบคนทำนองนั้น

ท่านผู้อำนวยการ ท่านนั้นเดินไป ก้ทักทายไปเรื่อยๆ น่าแปลกที่ท่านจำชื่อคนไข้ และญาติได้มาก เราพากันเดินมาถึงญาติกลุ่มหนึ่งที่กำลังล้อมวงกินข้าวเหนียวอุ่นๆ อาหารมีลาบ ส้มตำ แจ่ว ประมาณนี้

“ หมอ ๆ กินข้าวด้วยกันไหม?”

“ คุณดวงสมร ครับ เดี๋ยวนะ”  ท่านหันมาบอกแม่ต้อย ใบหน้ายิ้มแย้มแบบสนุกๆ

 ทรุดตัวลงนั่งยองๆร่วมวงกินข้าวเหนี่ยว ส้มตำ กับญาติคนไข้สักคำสองคำ

“ คนไข้อยู่ตึกไหน.  เดี๋ยวก็หายนะ  ถึงมือหมอแล้ว อาหารมื้อนี้แซบหลายเด้อ

 

ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับชาวบ้าน โดยการให้ชาวบ้านคัดเลือกเด็กนักเรียนซึ่งเป็นลูกหลานในหมู่บ้านนั้นๆ เพื่อเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลคนไข้ในโรงพยาบาลชุมชนของตนเอง  เรียกว่าให้เด็กได้มีโอกาสสัมผัสงานที่ต้องใช้ทั้งความรู้และจิตใจที่เมตตาเป็นลำดับแรก

และหากเด็กนักเรียนนั้นมีความผูกพันหรือมีความรักต่องานที่ได้ทดลองทำ โรงพยาบาลและชุมชน ร่วมกับองค์กรส่วนท้องถิ่น จึงช่วยกันจัดหาทุนให้เด็กคนนั้นได้เข้าเรียนในสาขาวิชาชีพที่ตนเองรักและศรัทธา เช่น พยาบาล เป็นต้น

สำหรับแม่ต้อยแล้ว  แนวคิดที่ว่านี้ คือการสร้าง” ศรัทธา” ในงานที่ทำเป็นเบื้องต้น เมื่อมีศรัทธาและอุดมการณ์ที่ปลูกฝังไว้ การทำงานกับชีวิตจึงเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะงานที่ได้เลือกไว้แล้วนั้นมีจากความรัก ศรัทธา หรืออุดมการณ์ที่ได้หล่อหลอมอย่างชาญฉลาด เป็นแนวคิดการทำงานที่อยากจะ”ให้” อยากจะช่วยเหลือคนอื่น มากกว่าอยากจะ” ได้”

 หรือโรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของสังคม และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และนำมาทบทวน ลงไปพุดคุยกับชาวบ้าน สัมผัสชีวิตจริง  ของจริง และนำมาหาสาเหตุที่แท้จริง กลับกลายเป็นว่าสาเหตุของการมีสุขภาวะที่ไม่ดีนั้น แท้ที่จริงแล้ว สามารถแก้ได้โดยชาวบ้านเอง เช่น ปัญหาการติดเหล้า บุหรี่ การพนัน ภาวะทุโภชนาการ เป็นต้น   บทบาทหน้าที่ของโรงพยาบาลชุมชน จึงกลับกลายเป็น พี่เลี้ยงในการค่อยๆปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการดำรงชีวิต และความเป็นอยู่ของแต่ละครัวเรือน ให้มีความพอดี มีความอบอุ่น มีกินมีใช้ และไม่หลงใหลในวัตถุนิยมอันจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆตามมา

หรือบางแห่ง โรงพยาบาลชุมชน คือแหล่งที่พักผ่อน เรียนรู้ของเด็ก ชาวบ้าน  โรงพยาบาล  บ้านและวัด มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด

แม่ต้อยเคยพาผู้หลักผู้ใหญ่หลายๆท่านไปเยี่ยมโรงพยาบาลชุมชนหลายๆแห่งที่ได้เล่ามานี้  ท่านอาจารย์ ชนิกา ตู้จินดา ถึงกับเอ่ยปากว่า

“ โรงพยาบาลชุมชน ทำหน้าที่มิใช่แค่เพียงด้านสาธารณสุขเท่านั้น  แต่ยังทำหน้าที่ด้านสังคม  ทรัพยากรมนุษย์  สังคมสงเคราะห์  พัฒนาชุมชน และวัฒนธรรมด้วย น่าชืนชมมาก”

และการที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะสามารถทำงานบูรณาการ แบบนี้ได้จึงมิใช่เรื่องธรรมดาอย่างแน่นอน

และด้วยความประทับใจในงานของโรงพยาบาลชุมชนที่ค่อยๆสะสมมา แม่ต้อยจึงมีความเชื่อมั่นว่าน่าที่จะลองหารือในกลุ่มโรงพยาบาลชุมชน ที่จะร่วมกันเรียนรู้และแลกเปลี่ยนการทำงานที่ขยายมากขึ้นและบูรณาการทุกอย่างใน กลุ่มเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เข้าด้วยกัน ทั้งในเรื่องของการทำงานตามมาตรฐาน การร่วมกับชุมชนในการค้นหาสภาวะสุขภาพ และ การส่งต่อ  การสร้างความสุขในการทำงาน การใช้แนวคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต  และการเข้าไปรับฟังปัญหาหรือข้อคิดเห็นจากประชาชน

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างบูรณาการกัน เราก็”ฝัน” ที่จะเห็นกลุ่มบริการเครือข่ายปฐมภูมิ  ที่มีตั้งแต่หน่วยงานที่เป็นสถานพยาบาล อันได้แก่ รพช. รพ.สต. สอ. ไล่ลงไปถึงระดับชุมชน ที่มีอาสาสมัครสาธารณสุข  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน จนถึงระดับครัวเรือน และปัจเจก มีการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาวะ

มาถึงวันนี้ SHA CUP ที่เราฝันด้วยกันงอกงาม มีสาระที่ดีดี นำมาแลกเปลี่ยนกันทุกๆสามดือน แต่ละCUP จะมีการสร้างสรรค์นวตกรรมเพื่อนำชุมชน ลงสู่การมีสุขภาวะที่ดี

 

ที่ดีไปกว่านั้นคือ น้องๆ ได้ทีมงานที่ดี ได้เพื่อน ได้เจ้านายร่วมกัน

“ แต่ก่อน เราไม่เคยทักกัน เราต่างก็ต่อว่าซึ่งกันและกัน ว่า เอ้ะ ทำไมเขาทำงานกันอย่างนั้น เราก็ไปต่อว่าเขาอย่างโน้น อย่างนิ้

เราไม่ได้ดูเอง “

“ มาตอนนี้ เรารู้แล้วแต่ละคนทำงานอะไร  แล้วเราเอง อยากช่วย เราเข้าใจเขามากขึ้น”

 

บรรยาศการเรียนรู้ในระยะหลังจึงเต็มไปด้วย ความเข้าใจ  มิตรภาพ  และความรัก

 

เป็นความรัก อันเกิดจาก ผู้บริหารที่เข้าใจในตัวตนของตนทำงาน เข้าใจในเนื้องานที่ผลกระทบต่อ ทั้งคนทำงานและผุ้รับบริการ และที่สำคัญคือความเข้าใจชุมชน ผู้ได้รับผลจากการบริการของเรานั่นเอง

ผลพวงจากกิจกรรมของ SHA CUP คงจะค่อยๆเบ่งบานที่ละเล้กละน้อยตามกาลเวลาที่ค่อยๆผ่านไป

 

แม่ต้อยคงจะมีสาระที่ดีดี มาเล่าในครั้งต่อไปนะคะ

สวัสดีคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 502014เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2012 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

Ple....ตามเชียร์...เชียร์ๆๆ... แม่ต้อยค่ะ... ทำความดี...มีกิจกรรมดีดี ...แบบนี้...ต้อง...  "Cheer +  Share + Fair + Care " ===> เพราะมัน คือ...กุญแจแห่งความสำเร็จ...ของการทำงานคุณภาพใน ชุมชน + สังคม (แบบบ้านๆ คืองานของเฮา (เรา) ...นะคะ...แม่ต้อยคนสวย..ที่อยู่ในใจสาวๆๆ ... รวมทั้งPle ด้วยนะคะ


ขอเรียนว่า .... รักแม่ต้อยค่ะ.....รักเพราะ... แม่ต้อยเป็นแม่ต้อย ... ที่...."คนดี + ทำความดี + คนที่มีดี"  จริงๆ นะค่ะ


           




             





มนุษยสัมพันธ์ที่ดี บางคนก็มีตั้งแต่กำเนิดค่ะ

ศรัทธา เส้นทางการเดินทางของเเม่ต้อยเสมอๆครับ

แค่บันทึกนี้ ก็ช่วยเสริมสร้างแรงใจในการทำงานแล้วนะคะแม่ต้อย คิดถึงจังค่ะ

 

คิดถึงแม่ต้อยเสมอ แม่ต้อยมีพลังมากมายค่ะ

ความเห็น

Blank
คิดถึงมากๆนะเปิ้ล  ดีใจคะที่เป็นดร. แล้ว แม่ต้อยยังนึกถึงผลงานอันหลากหลายของเปิ้ลเสมอคะ
ดีใจและอบอุ่นใจที่เปิ้ลมาให้กำลังใจคะ
Blank
น้องเอกคะ
แม่ต้อยยิ่งรักและศรัทธาน้องเอกมากเช่นกันคะ
รักคะ
Blank
สวัสดีคะ ขอบคุณมากๆนะคะ
 
Blank

 แม่ต้อยเองก้ได้กำลังใจจากข้อคิดเห้นของน้องด้วย  เช่นกันคะ

ขอบคุณมากคะ

Blank
สวัสดีคะ น้องแก้ว มาให้กำลังใจแม่ต้อยอย่างนี้ อยากเขียนมากๆจังคะ อิอิ
  • ตามมาทักทายแม่ต้อย
  • หายไปทั้งน้องพอลล่าและแม่ต้อย
  • รออ่านกิจกรรมดีเสมอ
  • SHA CUP งอกงามไปไวมากนะครับ

ตามอ.ขจิตมาชิมชาแม่ต้อยด้วยคนค่ะ หายไปนานจริงๆ ด้วยนะคะ

 

คิดถึงแม่ต้อยคะ ชุมชน โรงพยาบาล ดูแลร่วมกันคะ

Blank
ชาดา สวัสดีคะน้องขาดา
ในช่วงที่ผ่านมา แม่ต้อยใช้เวลาดุแลคุณยายคะ ต้องขออภัยมากๆคะ  ยังคิดถึงทุกคนเสมอคะ

Blank

สวัสดีคะ น้องไก่ ใช่แล้วคะ แล้วสนุกมากคะ เวลาที่เราทำงานเป็นทีมคะ

คิดถึงนะคะ

 SHA CUP ต้องชงต่อไปครับ ขอบคุณมากครับแม่ต้อย 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท