๑๕ ปีจากวิกฤตเศรษฐกิจ: เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของสังคมไทย


    

              Large_photo42c 

 

       

      ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง ๑๕ ปี จากวิกฤตเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืนของสังคมไทย ณ อาคารสยามบรมราชกุมารี  สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์  เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน นี้ โดยมีวัตถุประสงค์ :

 

.. นำผลงานวิชาการด้านองค์ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์ศึกษาฯ ให้แก่นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

 

.. รวบรวมผลงานวิชาการเกี่ยวกับองค์ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยรวม

 

      Large_photo40b 

 

     ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกสภาสถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้กล่าวถึงวิกฤตเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา และของประเทศพัฒนาแล้วซึ่งกำลังเผชิญอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่สะท้อนความเสื่อมโทรมในหลายมิติ ทั้งด้านการกระจายรายได้ที่มีความเหลื่อมล้ำมาก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม ความไม่สมดุลระหว่างการพัฒนาเมืองและชนบท ปัญหาค่านิยมและคุณธรรมที่ถดถอยลงอย่างชัดเจน ฯลฯ

 

     ทางออกพื้นฐานในปัญหาเหล่านี้ คือการขับเคลื่อนความรู้ ความเข้าใจ และประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลงสู่คนทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความสมดุลให้กลับคืนมาเป็นลำดับ ตามความเหมาะสมของภูมิสังคม ทั้งในเชิงปัจเจกและองค์รวม..

 

    Large_photo45b 

 

       คณาจารย์ของศูนย์ศึกษาฯ ได้ร่วมกันอภิปราย ถึงการรับรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในช่วง ๑๕ ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงประเมินความพอเพียงของการประยุกต์ใช้และขยายผล ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคองค์กรเอกชน และภาคการศึกษา ซึ่งต่างเห็นพ้องต้องกันว่า แม้จะได้เห็นแบบอย่างที่เป็นรูปธรรมในหลายภาคส่วน แต่ยังต้องมีการพัฒนาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอีกมาก ด้วยการปลูกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตในวิถีแห่งความพอดี รู้เท่าทันกระแสโลก เพื่อวางรากฐานอันยั่งยืนของตนเองและสังคมต่อไป

 

  Large_407b 

  Large_photo41b

   Large_photo42b

................................................

http://cse.nida.ac.th

 

     

หมายเลขบันทึก: 503001เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2012 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2013 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ความมุ่งมั่นยังมีอยู่ ยังต้องสู้ต้องทำทุกอย่าง
อยู่บนทางที่แม้จะเหนื่อยแต่ยังไหว
ยังต้องคิดต้องทำดี ต้องมานะพากเพียรเข้าไป
และดวงดาวไม่ใช่คำตอบที่ต้องการ

อยู่อย่างพอเพียง ใกล้ตัวความสุขยังมี
อยู่อย่างพอดี ไม่มีความทุกข์ร้อนในใจ
สุขจริงแท้ในชีวิตคน จะค้นเจอได้ไม่ไกล
อยู่ในใจของคนรู้จักเพียงพอ

 

ความพอเพียง..คือทางเดิน สู่ความเจริญอันยั่งยืน
ความพอเพียง..คือคำตอบ

 

สวัสดีค่ะท่าน Blank นงนาท สนธิสุวรรณ  หวังว่าท่านคงจะสบายดีนะคะ

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่นำมแบ่งปันให้อ่าน ความสุข อยู่ที่การรู้จักพอค่ะ

 

       ...สะท้อนความเสื่อมโทรมในหลายมิติ ทั้งด้านการกระจายรายได้ที่มีความเหลื่อมล้ำมาก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม ความไม่สมดุลระหว่างการพัฒนาเมืองและชนบท ปัญหาค่านิยมและคุณธรรมที่ถดถอยลงอย่างชัดเจน ฯลฯ

     ...แม้จะได้เห็นแบบอย่างที่เป็นรูปธรรมในหลายภาคส่วน แต่ยังต้องมีการพัฒนาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอีกมาก ด้วยการปลูกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของการใช้ชีวิตในวิถีแห่งความพอดี รู้เท่าทันกระแสโลก เพื่อ วางรากฐานอันยั่งยืนของตนและสังคมต่อไป...

    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ...ที่สำคัญการขับเคลื่อนหากเริ่มจากตัวเองเพื่อเป็นพลังส่งผ่านไปยังชุมชน...สังคม...ประเทศชาติ...

    พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ปราชญ์แห่งพุทธธรรม ได้มองเศรษฐกิจพอเพียงในแง่วัตถุวิสัยและจิตวิสัย ดังนี้

           “ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง อาจมองได้เป็น ๒ ด้าน คือ มองอย่างวัตถุวิสัยและมองแบบจิตวิสัย

             ๑. มองอย่างวัตถุวิสัย มองภายนอก คือ ต้องมีกินมีใช้ มีปัจจัยสี่เพียงพอ ที่เราพูดว่าพอสมควรกับอัตภาพ ซึ่งใกล้เคียงกับคำว่าพึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ

             ๒. ส่วนความหมายด้านจิตวิสัยหรือด้านจิตใจภายใน คือ คนจะมีความรู้สึกเพียงพอไม่เท่ากัน บางคนมีเป็นล้านก็ไม่พอ บางคนมีนิดเดียวก็พอ เป็นการเพียงพอทางจิต


     หลักการโดยง่ายที่ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติก็คือ...เมื่อใดที่รู้สึกมีความ พอเพียง ด้านจิตวิสัย (จิตใจ) เมื่อนั้นกระบวนการส่งผ่านไปสู่วัตถุวิสัย (ภายนอก) ก็จะเกิดความ เพียงพอ โดยอัตโนมัติ...

           ขอบพระคุณ อาจารย์พี่ใหญ่ มากครับ...ที่มีบันทึกดี ๆ และมีประโยชน์มาฝากอยู่เสมอ...

การปลูกจิตสำนึกเป็นสิ่งที่ควรทำ ตั้งแต่เด็กนะคะ เราอาจต้องฝากความหวังไว้กับเด็กๆ

 

  • ดำเนินตามแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้นนะครับ ที่จะทำให้อยู่รอด..
  • ขอบคุณความรู้ครับพีใหญ่
  • ขอบคุณป้าใหญ่ค่ะที่แบ่งปันกิจกรรมดีๆ 
  • ทุกวันนี้ชลัญและครอบครัว ดำเนินชีวิตแบบพอเพียงค่ะ
  • พี่ใหญ่ครับ
  • ขอชื่นชมการทำงานของทีมงาน
  • ที่สนับสนุนและดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงครับ

โครงการที่น่าชื่นชมมากครับ

สวัสดีค่ะคุณพี่ใหญ่

ชื่นชมพลังขับเคลื่อนของการกระจายองค์ความรู้ของเศรษฐกิจแบบพอเพียงลงสู่ทุกภาคของบ้านเราค่ะ ความรู้ที่จะนำไปสู่ปัญญา และเข้าใจว่าความสุขที่เกิดจากภายในมีค่ามากกว่าความสุขที่มาจากสิ่งภายนอก เพื่อที่คนจะได้มีความสุข มากกว่าแสวงหาความสุข

เมื่อถึงวันนั้นวิถีชีวิตแบบพอเพียงจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาชาติ บ้านเมืองค่ะ

ขอบคุณพี่ใหญ่และทุกๆ ท่านค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่มีกิจกรรมเยอะมากเข้ามาช่วงนี้ เกือบจะลืมบันทึกเรื่องนี้เชียวนะคะ งานตลาดนัดความรู้ได้เข้าร่วมมีเรื่องราวน่าสนใจมากที่สุด กำลังเรียบเรียง จากการเข้าชมของ โรงเรียนภาคเหนือตอนบนค่ะ

อยากนำปรัชญาพอเพียงมาเลี้ยงดูลูก

แต่พอมัธยม ลูกเจอกติกาการแข่งขัน

กับกระแสเสรีนิยมเชี่ยวกราก

มือเท้าอ่อน จวนจะยอมแพ้แล้วจ้า

 

น้องอ.นุ../น้องครูทิพย์../น้องผศ.ดร.วิรัตน์../น้องKrugui../น้องทพญ.ธิรัมภา../น้องรศ.ดร.ชยพร../น้องTuknarak../น้องหมออนามัยทิมดาบ../น้องดร.จันทวรรณ../น้องผอ.ชยันต์../น้องจัตุเศรษฐธรรม../น้อง kunrapee../น้องครูธนิตย์../น้องชลัญธร../น้องดร.ขจิต../น้องภูคา../น้องปริม../น้อง krutoom../น้องจันทร์ยิ้ม../น้องณัฐรดา../น้องหยั่งรากฝากใบ

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่โครงการนี้ค่ะ

* น้องอ.นุ..ขอบคุณมากค่ะที่นำ MV อยู่อย่างพอเพียงมาเพิ่มคุณค่าแก่บันทึกนี้..พอเพียง..พอดี..เป็นหลักคิดลงสู่การปฏิบัติ เพื่อความสุขในชีวิตที่ยั่งยืนค่ะ

* น้องครูทิพย์..ดีใจค่ะที่เห็นประโยชน์ของวิถีแห่งความพอเพียง..ขอให้มีความสุขนะคะ..

* น้องจัตุเศรษฐธรรม..ยินดีอย่างยิ่งที่นำข้อคิดดีๆมาเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจเชิงลึกของหลักแห่งความพอเพียง

* น้อง kunrapee..ปลูกจิตสำนึกแห่งความพอเพียง..เริ่มจากครอบครัว >>ชุมชน >> สังคม..เพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืนค่ะ

* น้องครูธนิตย์..หลักคิด หลักปฏิบัติในวิถีของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรากฐานสำคัญของการอยู่รอดในทุกสถานการณ์ค่ะ

* น้องชลัญธร..ดีใจที่มาแสดงตนเป็นครอบครัวตัวอย่างของการดำรงอยู่แบบพอเพียง..ลร้างรากฐานชีวิตที่มั่นคงอย่างมีความสุขค่ะ

* น้องดร.ขจิต..ว่างๆเชิญไปเยี่ยมอ่านความคืบหน้าในเรื่องนี้ที่ SCBF Website ค่ะ..

* น้องภูคา..เห็นความตั้งใจจริงของหลายองค์กรที่จะขับเคลื่อนลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องค่ะ..

* น้องปริม..การมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีพอเพียง ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ซึมซับความสุขของผู้คนในภูมิภาคต่างๆหลากหลายบริบทน่าชื่นชม

* น้อง krutoom..ยินดีมากที่ให้ความสนใจกับตลาดนัดความรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่เชียงใหม่..รออ่านเรื่องเล่าค่ะ..

* น้องจันทร์ยิ้ม..ขอให้กำลังใจค่ะ..เรื่องนี้สำคัญที่การปลูกจิตสำนึก สู่หลักคิดและหลักปฏิบัติในชีวิตแห่งความพอเพียง..ไม่ใช่การประกวดแข่งขัน..การมีโอกาสขึ้นเวที ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ..

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท