เล่าประสบการณ์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชีวิตประจำวัน


จากผลไปหาเหตุ เพื่อการเริ่มต้นในการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

 

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชั้นเรียน

 

ดิฉัน ได้เริ่มต้นเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วยตัวเอง จึงขอพูดรวมๆ ว่า

 

เมื่อเทคโนโลยี่ได้ถูกนำมากำหนดในหลักสูตรการศึกษา

 

เบื้องต้น  ผู้เรียน ต้องสามารถอ่านตัวหนังสือออก และสามารถเขียนได้

 

การจัดให้มีชั่วโมงเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ในทุกระดับชั้น  เรียกว่า มีการเพิ่มชั่วโมงเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปในหลักสูตรประจำวัน  ก็เหมือนการเรียนหนังสือของเด็ก ตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก จนเป็นเด็กโต ที่จะสามารถนำความรู้พื้นฐานไปประยุกต์ใช้ได้ตัวเอง

 

คุณครูผู้สอน ก็ต้องมีความรู้พื้นฐาน เพราะการจะสามารถนำไปใช้ได้  ต้องรู้ก่อน สมัยใหม่นี้ ผู้เรียนที่อ่านตัวหนังสือออก และสามารถเขียนได้ ก็สามารถเข้าไปเรียนรู้เพิ่มด้วยตัวเองได้อย่างไม่ยุ่งยาก

 

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน  เบื้องต้นที่พบคือ ความเจริญยังเข้าไม่ถึงทุกท้องที่  เช่น มีคอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีคู่สายที่จะรับส่งสัญญาณของเทคโนโลยีสารสนเทศ  และปัญหาที่ผู้เรียน ไม่สามารถจะเพิ่มการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

 

ดังนั้น  เมื่อกำหนดให้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลักสูตรในชั้นเรียน  มองว่า ความรู้พื้นฐานเพื่อสามารถนำไปใช้ในวงกว้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญ  ถ้าไม่พร้อมในภาคปฏิบัติ  ควรให้ผู้เรียน ได้ศึกษาจากความรู้พื้นฐานจากหนังสือบทเรียนไปพลางๆ ก่อน เหมือนเป็นการเรียนทางทฤษฎี

 

ระดับชั้น  จำนวนนักเรียน  เทคโนโลยี่ที่นำมาใช้ จึงขึ้นอยู่กับชั้นเรียน ความพร้อมและความสนใจกระตือรือร้นของผู้เรียน และการกำหนดเรื่องราวที่จะให้ผู้เรียนได้รู้ขึ้นอยู่กับคุณครูผู้สอนแต่ละท่านในการถ่ายทอดความรู้ แม้ว่าจะมีการกำหนดเป็นหลักสูตรแห่งชาติแล้ว  แต่ว่าก็อาจมีบางพื้นที่ยังไม่พร้อม

 

สำหรับการวัดผลผู้เรียน  จะขึ้นอยู่กับความพร้อมของอุปกรณ์เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นภาคปฏิบัติ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีมากเกินกว่าที่จะสามารถเขียนได้หมด  จากประสบการณ์ที่ได้รับประโยชน์มาก คือ การเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันจากการรับรู้ และเรียนรู้ประสบการณ์ของคนอื่นแบบไม่เสียเวลา  ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับวัย และประสบการณ์ของตัวเองด้วยจึงจะสามารถเลือกและนำมาใช้ได้อย่างที่อาจจะลองผิดลองถูกบ้าง  แต่ก็ไม่เสียเวลานานในการลองผิดลองถูกและหาข้อเปรียบเทียบในการสรุปผล

 

ขอยกตัวอย่างจากประสบการณ์ 

สมัยก่อนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่ออยากรู้อะไรก็มักไปหาซื้อหนังสือ การเลือกหนังสือก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  ต้องเสียเวลาไปอ่านด้วย จากนั้นก็ทดลองทำตามหนังสือ ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ..

 

หลายปีผ่านมา ได้เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว  จึงได้พบว่า  หนังสือ รูปเล่มสวยๆ ดึงดูดใจ ราคาไม่ถูกเลย  กลับกลายเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาหลอกลวง  ข้อมูลที่ได้พบจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีมากมายให้เราได้พิจารณามากกว่าหนังสือเพียง1เล่ม..

 

 ขอขอบคุณ..

1. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/502635

ความมุ่งหมายของคำสำคัญนี้

โดยเนื้อหาขอให้มีรายละเอียดประกอบดังนี้นะคะ

1.ระดับชั้นที่สอน

2.จำนวนนักเรียนในชั้น

3.เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้

4.บทบาทความรับผิดชอบของครูผู้สอนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

5.การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

6.การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

7.การประเมินผลการเรียนของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน

8.ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน

9.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน

 

2.  http://most.go.th/ictc/index.php/ictc-km/it-library/48-it-articles/89--information-technology.html?start=1

 

3.  http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm

เทคโนโลยีสารสนเทศ
            หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล 

การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ
       ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์ 
       การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code)
c2-3-1.jpg (7998 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้
       เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวน 
       การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ 
       ส่วนใหญ่จะดำเนินการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จากส่วน
       สำคัญที่เรียกว่า ชิพในหน่วยซีพียู
c2-3-2.jpg (6355 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การแสดงผลลัพท์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์ 
       ซึ่งสามารถเป็นตัวหนังสือ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์
       หรือเสียง
c2-3-3.jpg (8911 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การทำสำเนา เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้
       ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่าง ๆ ให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการ
       เก็บรักษา และการนำไปใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา เช่น เครื่องพิมพ์ 
       เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นบันทึก ฮาร์ดดิสต์หรือ CD-RON
c2-3-4.jpg (9226 bytes)
point2.jpg (5238 bytes)การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยัง
       อีกที่หนึ่ง ซึ่งอาจส่งกระจายไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ อุปกรณ์
       ที่ใช้ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
       คลื่นวิทยุ ดาวเทียม ฯลฯ
c2-3-5.jpg (10006 bytes)

 


 

หมายเลขบันทึก: 503293เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2012 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2012 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชั้นเรียน และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชีวิตประจำวัน ล้วนมีความเกี่ยวข้องกันตามบทบาทภาระหน้าที่ของแต่ละคน

 

สำหรับเฉพาะเรื่อง การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชั้นเรียน

เบื้องต้นก็กำหนดบทบาทวิทยาการจัดการ ไว้ที่

1. ผู้เรียน

2. ผู้ถ่ายทอดความรู้ และ

3. อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือรวมทั้งความพร้อมและความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารคมนาคม

หลายปีก่อน เมื่อครั้งที่ดิฉัน ได้เริ่มต้นเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วยตัวเองนั้น ดิฉันได้อ่านหนังสือที่ได้มาจากเด็กรุ่นน้องรุ่นหลานมากมายเป็นตัวช่วย และก็ยังไม่ได้ลงทุนซื้ออุปกรณ์ใหม่ เพราะกลัวว่าจะไปไม่ทันกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ก้าวหน้าไปไกลมากอย่างรวดเร็ว 

 

จนกระทั่ง ครั้งหนึ่ง คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่กลายเป็นอุปกรณ์ที่ล้าสมัย และไม่สามารถรองรับการดาวน์โหลดโปรแกรมใหม่ๆ เมื่อได้ปรึกษาช่างคอมพิวเตอร์ เธอบอกดิฉันว่า รุ่นนี้ ก็เห็นมีดิฉัน(เธอเรียกดิฉันว่า..คุณป้า)นี่แหละ ที่ดูดีที่สุด  ทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น  หลังจากนั้น  ดิฉันจึงได้เปลี่ยนคอมพิวเตอร์  ซึ่งประจวบเหมาะกับคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ใหม่ มีราคาถูกลงเยอะเลย  พร้อมกันนั้นก็ได้ทะยอยบริจาคหนังสือที่เคยใช้ไปด้วย

 

การมีพัฒนาการที่ดี คือ การที่เราได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่เรามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย สมอง และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือของเราให้เกิดประโยชน์ช่วยลดการเสียเวลาในชีวิตประจำวัน

 

องค์ความรู้ ขึ้นอยู่กับความรู้ที่มีและการถ่ายทอดความรู้ที่มี ทั้งผู้เรียนและผู้ถ่ายทอดความรู้ ก็ต้องมีพัฒนาการที่ดีตามๆ ไปพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าไปไกลมากอย่างรวดเร็ว 

 

อย่ากลัวว่าผู้เรียนจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี คนที่กลายเป็นคนไม่ดีเพราะขาดความรู้และประสบการณ์ก็มีมากมาย   ถ้าหากว่าเลือกได้ ใครๆ ก็อยากเป็นคนดี เรามาช่วยกันให้มีตัวแปรในการให้ความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อรองรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ได้เติบโตไปพร้อมๆ กับระบบการศึกษาใหม่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี่สารสนเทศ..

ความพร้อมของ IT Infrastructure + ความอยากเรียนรู้ + การเห็นประโยชน์ของการสื่อสารออนไลน์ เปึนส่วนสำคัญในเรื่องนี้นะคะ ขอบคุณค่ะ

การเรียนรู้จากเทคโนโลยี
เสมือนการเรียนรู้จากผู้คนรอบข้างในอีกมิติหนึ่ง..

ชื่นชม ครับ

ขอบคุณ พี่ใหญ่ นาง นงนาท สนธิสุวรรณ ค่ะ  

ความพร้อมของ IT Infrastructure  ช่วยทำให้ความอยากเรียนรู้ ไปได้ดี เหมือนความพร้อมสมบูรณ์ของแขน ขา + ร่างกายที่มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ


 

ขอบคุณ  คุณแผ่นดิน  ค่ะ

การเรียนรู้จากเทคโนโลยี ประกอบด้วยการเรียนรู้ทำความเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นเขียน  หลายๆ เรื่องที่ไม่เคยมีความรู้และประสบการณ์มาก่อนก็ทำให้ย่อเวลาลงไปเลย ซึ่งถ้าหากว่าเราต้องไปเรียนรู้วงจรชีวิตของทุกๆ สิ่ง คงใช้เวลามากและไม่ได้รายละเอียดที่หลากหลาย..


ถ้าหากว่า เยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้เติบโตไปพร้อมๆ กับระบบการศึกษาใหม่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี่สารสนเทศ แบบมีการถ่ายทอดที่ดีมีคุณภาพ มองว่า เกิดผลดีมากกว่าไม่ดีค่ะ

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากท่าน Blank ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท