ทบทวนง่ายๆ ตาม style เรา


เราจะแข่งกับกังนัมสไตล์

รพ.จำนวนไม่น้อยในประเทศไทย ที่มีท่านผู้อำนวยการที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ ผู้นำมีความตั้งใจและเข้าใจว่า HA เป็นส่วนสำคัญในการที่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการ แต่ความเข้าใจและความตั้งใจของท่านผอ. เพียงท่านเดียว ก็มิอาจมินำพารพ.ไปสู่มาตรฐานตามที่ต้องการได้ไม่ ความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายนั้นเป็นส่วนสำคัญยิ่ง เพราะปรัชญาของการทำงานที่สำคัญ คือการเรียนรู้ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง นั้นจะแสดงออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงจะให้เกิดการเรียนรู้ที่หน้างานได้ !!

               หากเราไม่ใช้คำว่ามาตรฐาน HA ลืมคำบางคำที่เราไม่คุ้นชินออกไป พวกเราทุกคนล้วนแต่มีกระบวนการปรับปรุงปรับเปลี่ยนจากปัญหาที่เกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้วในระดับหนึ่ง และหากการเรียนรู้นั้นเกิดจากมุมมองร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพเข้ามามีส่วนร่วมมอง เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัช กายภาพ โภชนาการ ก็น่าจะทำให้ผู้รับบริการของเราได้รับการดูแลที่สุดยอดดดดด และนอกจากนี้ยังมีร่องรอยของการเรียนรู้ และประสบการณ์ของทีมที่สั่งสมไว้เป็นองค์ความรู้เฉพาะของรพ. ของทีมงานได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลังจากนี้ทีมจะหยิบไปใช้ประโยชน์ต่ออย่างไรก็ย่อมได้ จะนำเสนอในเวที CQI เวทีระดับจังหวัด หรือ R2R หรือ...ฯลฯ รับรองว่าฉลุย

 

              ที่กล่าวมามิได้หมายความว่าการกระทำดังกล่าว...จำเป็นต้องรอให้ครบทุกวิชาชีพแล้วมาคุยกัน หรือนั่งคุยกันในห้องประชุมเพียงเท่านั้น แต่การพูดคุยกันทำได้ทุกขณะ ทำได้ตั้งแต่คนเดียว เป็นคู่ จนถึงทำเป็นทีม ภาษาเทพของเราก็เรียกสิ่งนั้นว่าเป็นการทบทวน นั่นเอง การทบทวนจะนำไปสู่การเรียนรู้ของทีมงานได้อย่างไร ?? หรือนำไปสู่การพัฒนาต่อเนื่อง หรือนำไปสู่การมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางได้อย่างไร ??

  

              ยกตัวอย่าง เมื่อมีการพัฒนากลุ่มโรคสัก 1 โรค ทีมงานส่วนใหญ่เริ่มจากได้ CPG เป็นคำตอบ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในการพัฒนาที่ทำได้ไม่ยาก แต่อาจจะมีรพ.บางแห่งทำ CPG ด้วยไสตล์ของตัวเองโดยไม่สนใจข้อมูลทางวิชาการเขามีว่าอย่างไร (เลียนแบบกังนัมสไตล์ รึป่าว) อย่างนี้นอกจากจะไม่ปลอดภัยแล้ว อาจจะเป็นการเสี่ยงต่อชีวิตผู้ป่วยมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นแนวทางการดูแลโรค acute MI ที่จัดทำกันเกือบจะทุกแห่งของประเทศแล้วตอนนี้ ประเด็นสำคัญคือการอ้างอิงข้อมูลวิชาการ (ยกให้แพทย์เป็นแกนนำ) นำมาปรับให้เข้ากับบริบทของเรา (คน เครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ภูมิประเทศ ยา) และการสื่อสารให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วนเข้าใจร่วมกันว่าทำไมต้องทำ ผลที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามคืออะไร นอกจากนี้การตามรอยสิ่งที่วางระบบไว้แล้วเหมือนรายการกบนอกกะลา ก็อาจจะทำให้ทีมได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันได้ทางหนึ่ง

 

              เมื่อมีแนวทางแล้ว แล้วจะทำอย่างไรต่อไป หากย้อนกลับไปที่การเรียนรู้ของทีมงานในงานประจำ ปัญหาที่เกิดขึ้น สิ่งที่พบจากการทำงานประจำวันนั้นต้องการการเรียนรู้และทบทวนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทีมงานได้ฝึกฝนความสามารถ ลดช่องว่างของจุดอ่อนในการดูแลให้มากที่สุด รู้จักเรียนรู้ร่วมกัน ปรึกษาหารือระหว่างกัน สร้างสัมพันธ์และสร้างการทำงานเป็นทีมได้อย่างเป็นธรรมชาติได้ดีทีเดียว

 

               กรณีศึกษารพ.แห่งหนึ่งไม่ไกลจากกทม.มากนัก รพ.นี้มีจุดเน้นเรื่องการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ พัฒนาการดูแลในไข้กลุ่มสำคัญ คือโรคเบาหวาน โรคเรื้อรัง มี CPG ตั้งแต่แรกรับ การรักษา จนถึงการส่งต่อไปที่รพ.สต.ให้มีส่วนร่วมในการดูแลร่วมกับรพ. มีแนวทางการส่งมารักษาที่รพ.และการส่งกลับไปรับยาที่รพ.สต. หากแต่ยังมีปัญหาที่พบในคนไข้กลุ่มนี้ คือมีคนไข้มาด้วย Hypoglycemia ที่ ER หรือ admit ในหอผู้ป่วยด้วย Hypo และ Hyperglycemia จำนวนหนึ่ง ไม่มากเป็นอันดับ 1 แต่ก็อยู่ใน 1 ใน 5 ของกลุ่มอาการที่รับไว้ในรพ. เห็นข้อมูลบ้างแล้ว เราจะทำอะไรต่อไป...

  

               หากทีมงานเกิดอาการเอ๊ะ !! กำเริบ โดยใช้เข็มมุ่งเรื่อง HHC มาเป็นจุดเชื่อมโยงในการทำงานร่วมกัน จะเอ๊ะ !! ได้ไหมคะ ว่า ทำไมน๊า ยังมีคนไข้กลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เราก็มีแนวทาง มี CPG ไว้แล้วทุกขั้นตอน ยังกลับมาหาเราอีกจำนวนหนึ่ง (ไม่น้อย) เราจะลองไปคุยกับญาติ เพื่อหาข้อมูลเพิ่ม แล้วนำมาคุยกับแพทย์ เภสัช เพื่อหาทางช่วยคนไข้ของเราในกลุ่มนี้ได้อย่างไร ไม่แน่คนไข้กลุ่มนี้อาจมีลุง ป้า น้า อาของเราอยู่ในกลุ่มนี้ก็เป็นได้ นะคะ เรามาชวนเพื่อนๆ เราเอ๊ะ!!! กันเยอะๆ ดีไหมค๊า ..

 

 

           บางครั้งเราทำงานมากเสียจน ทำให้ ต่อมเอ๊ะ ฝ่อ หรืออักเสบเป็นแผลเป็น เราจะทำอย่างไรให้ต่อมนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง ด้วยการใส่ใจและใคร่ครวญ ทำชีวิตให้ช้าลง สังเกตและเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างใส่ใจ เราจะมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และสิ่งนี้น่าจะนับเป็นความสุขในชีวิตของเราได้สิ่งหนึ่งเลยค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ha#ทบทวน
หมายเลขบันทึก: 503619เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2012 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอติดตามบันทึกเพื่อการพัฒนาคุณภาพ ต่อไปนะคะอาจารย์  จะตามเรียนรู้ในทุกๆบันทึก  ขอคำชี้แนะด้วยนะคะ  ขณะนี้โรงพยาบาลและทีมงานกำลังเริ่มเดินเครื่องต่อ หลังจากถอดใจในการทำคุณภาพ  ขอฮึดสู้อีกสักรอบนะคะ

ลดความเสี่ยง (Risk) .... เหลี่ยงปัญหา และ แก้ปัญหา ..... พัฒนางาน...บนฐานข้อมูล ... เพิ่มพูนทักษะคิด และ...เรียนรู้ ... สู่ ===> P-D-C-A  ,  P-D-S-A  , D-A-L-I , เห็น และ เข้าใจ + ใช้ปัญญา + Teamงานต้อง...เรียนรู้ร่วมกัน .... สมานฉันฑ์ + สามัคคีในองค์กร .... กิน - นอน - ร่วมกัน .... สุข สรรค์ .... ทั้งผู้ป่วย และ ทุกๆ คนในองค์ .... HA .... ทำจากปัญหา .... เข้าไป หา ชุมชน และท้องถิ่น .... ให้สุขภาพดี - ลดโรค - ลดงาน - ลดขั้นตอน ... สอนและ เรียนรู้จากงาน ของเรา .... เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง .... ไม่แซงขั้น ตอน .... สอน... การเรียนรู้....สู่วิถี....ชุมชน (ทั้งใน รพ. .... ออกไปสู่ชุมชน) ... เราจะ.... วนสู่ความเป็นเลิศ (ในบริบทของ... เฮา ๆๆ   ฮา  ฮา)


ขอบคุณ นะคะ




                     

ทบทวนแล้ว รู้สึกไม่ยาก

ยากตอนต่อมเอ๊ะอักเสบกัน

พวกเรากำลังจะมาคุยกัน หาสาเหตุของต่อมเอ๊ะ อักเสบกันอยู่ค่ะ 

 

ขอบคุณทุกท่านมากนะคะ ยินดีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ คิดถึงทุกท่านเสมอค่ะ .... จุ๊บๆๆๆๆ

มาทบทวนมาอ่าน งานHA พรทั้งหล้า หลังหายไปหลายเพลา พรทั้งหล้า นำพาแม่โหนดปากพะยูน สู่คุณภาพ คนหลังเขา เราๆเหล่าลูกจ้างคอยตามติดหนุนหลังแม่ ไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท