โรคกรีนนิ่งในมะนาว


แทนที่ปริมาณน้ำฝนที่โชยโปรยปรายลงมาน่าจะมีปริมาณของไนโตรเจนเพียงพอให้ใบมะนาวสะสมสร้างคลอโรฟิลด์ได้มากขึ้นจนช่วยให้ใบมะนาวมีสีเขียวขจี แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น

ในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมนี้ ชาวสวนที่ปลูกมะนาวก็จะต้องเตรียมพร้อมซ้อมมือดูแลต้นกั้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม สิงหาคมด้วยการตัดแต่งบำรุงต้น เพื่อให้มะนาวสร้างกิ่ง ใบและยอดอ่อนออกมาให้ทันและเหมาะสมกับช่วงอายุของกิ่งที่จะต้องมีอายุอย่างน้อยสามถึงสี่เดือนจึงจะสามารถให้ผลผลิตติดดอกออกผลในช่วงฤดูแล้งได้อย่างมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ฤดูที่มะนาวมีราคาแพงมากที่สุดคือเดือนมีนาคม-เมษายน ยิ่งมะนาวประจำฤดูกาลออกมาสู่ท้องตลาดมากเท่าใดในเดือนธันวาคม-มกราคม มะนาวในช่วงหน้าแล้งก็จะแพงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น เพราะหมายถึงจำนวนเกษตรกรที่ทำให้ออกนอกฤดูมีผลงานหรือประสบความสำเร็จน้อย ผลผลิตจึงออกมาในช่วงฤดูปรกติมาก สภาพต้นที่จะทำนอกฤดูต่อไปก็ไม่เหมาะสมทันการณ์เท่ากับสวนที่ยอมตัดใจเด็ดผลทิ้งไปในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน และรอคอยให้ผลผลิตออกมาในช่วงฤดูแล้งเพียงอย่างเดียว

แต่ปัญหาที่เกษตรกรพบในช่วงนี้กลับผิดแผกแตกต่างคือ แทนที่ปริมาณน้ำฝนที่โชยโปรยปรายลงมาน่าจะมีปริมาณของไนโตรเจนเพียงพอให้ใบมะนาวสะสมสร้างคลอโรฟิลด์ได้มากขึ้นจนช่วยให้ใบมะนาวมีสีเขียวขจี  แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น ก้านกิ่งติ่งใบกลับมีอาการขาวซีดเหลืองเซียวไม่เขียวเข้มดังที่ควรจะเป็นเหมือนดังกับกระถิน ต้นหญ้า กลางทุ่งริมท่าในหน้าฝน  โดยทั่วๆ ไป ที่เป็นเช่นนี้เมื่อสำรวจตรวจตราสังเกตดูให้ดี ๆ ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อราฟัยท็อพธอรา (Phytophthora spp.) เข้าทำลายระบบรากจนเน่าเสียหายก็ไม่ใช่อื่นไกล คงเหลือให้สงสัยเพียงเรื่องเดียวครับ คือเรื่องของโรคกรีนนิ่ง (greenning) และทริสเตซ่า (Tristeza) ที่ส่วนใหญ่ก็จะมีสาเหตุมาจากไวรัส ทริสเตซ่า (Citrus tristeza virus) เป็นต้นเหตุเข้าไปทำลายท่อน้ำท่ออาหารจนไม่สามารถส่งสารอาหารจากรากไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้เป็นปรกติ ส่งผลให้ใบเล็กห่ององุ้มและซีดจางลงเรื่อยๆ คล้ายเป็นโรคใบแก้ว

ทำให้ต้นมะนาวอ่อนแอลงเรื่อยๆ ในอดีตท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติเคยให้ข้อสังเกตุในเรื่องการวิเคราะห์โรคนี้ไว้ว่าอย่าไปคิดแต่เพียงว่ามะนาวเป็นโรครากเน่าโคนเน่าเพียงอย่างเดียวแล้วไปแก้แต่เรื่องโรครากเน่าโคนเน่า จะทำให้การรักษาป้องกันไม่ตรงกับโรคส่งผลทำให้ต้นเสื่อมโทรมอ่อนแอเพราะขาดสารอาหารลงเรื่อยๆ เชื้อโรคราสามัญเข้าทำลายได้ง่าย จนเกิดอาการเปลือกแตก ยางไหล ใบซีดจาง การป้องกันจะต้องคัดเลือกกิ่งพันธุ์ก่อนปลูกอย่างดี เลือกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ  สร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้แก่ต้นมะนาวอยู่เสมอด้วยกลุ่มของซิลิก้าหรือหินแร่ภูเขาไฟเพื่อยับยั้งป้องกันไวรัสมิให้แสดงอาการ ใช้กลุ่มจุลธาตุที่มีส่วนประกอบของซิลิก้าอยู่ด้วยเสมอเพราะจะช่วยผนังเซลล์ของมะนาวจะมีความแข็งแกร่งและได้รับสารอาหารสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ปัญหาเรื่องกรีนนิ่ง ใบแก้วก็จะค่อยๆ หายไปได้อย่างไม่ยากเย็น

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 503854เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2012 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พืชเป็นโรค .... สัตว์เป็นโรค และคนก็เป็นโรค นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

โลกนี้หากขาดสีเขียวและความเปรี้ยวของมะนาวไป ก็คงแย่นะคะ เพราะมะนาวให้ทั้งวิตามิน ความหอม และความสวยด้วยซิ รสชาดของความเปรี้ยวอื่น เทียบชั้นกับมะนาวไม่ได้ โดยเฉพาะอาหารไทย แต่กว่าจะได้มาซึ่งผลมะนาว เกษตรกรก็ลงทุน ลงแรง กันน่าดูนะคะ

มะนาวที่บ้านก็ดูเหมือนจะเริ่มตายล่ะค่ะ ใบเหี่ยวร่วงเต็มเลยค่ะ

@คุณกอหญ้า ต้องสำรวจตรวจตราให้ดีดีนะครับ..ว่าสาเหตุมาจากอะไร.... โรครากเน่าโคนเน่าจากฝนชุก (ส่วนใหญ่จะเป็นโรคนี้เสียมาก), หนอนชอนใบ หรือกลุ่มแมลงปากดูด (เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยแป้ง, เพลี้ยไฟไรแดง) เข้าทำลาย หรือสุดท้ายก็โรคกรีนนิ่ง ทริสเตซ่า ....มีปัญหาคิดไม่ออกบอกมาทางนี้....(081-313-7559)ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งสู่วิธีปลอดสารพิษ ผลิตมะนาวอินทรีย์ด้วยกันนะครับ

ขอสอบถามเรื่อง ผงไตรโคเดอร์ม่าแบบกระป๋อง ของมหาลัยเกษตรศาสตร์ที่เคยใช้ประจำลักษณะเป็นผงสีดำอมเขียวขี้ม้า แต่ล่าสุดที่ซื้อมาใช้งานลักษณะผงมันเป็นสีเทาอ่อนๆ ไม่ทราบว่าเป็นของ ม.เกษตรฯหรือเปล่า(หรือเป็นของปลอม)…ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท