เลือดออกในสมองใต้ดูราระยะเรื้อรัง


ในคนที่อายุไม่มากนักก็พบได้ ขึ้นกับประวัติสำคัญ เช่น เคยพบอุบัติเหตุทางศีรษะ..

เลือดออกในสมองใต้ดูรา ระยะเรื้อรัง

(Chronic subdural hematoma)

เป็นภาวะที่มีเลือดออกในชั้น Subdura เรื้อรัง เลือดเก่าที่คั่งบางส่วนจะสลายกลายเป็นน้ำเลือด ภาวะนี้จะเกิดเลือดออกหลายสัปดาห์ก่อน

ภาวะนี้มักจะเจอในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีซึ่งสมองเริ่มจะฝ่อ ทำให้เส้นเลือดที่ห้อยจากกระโหลกมายังสมองฉีกขาดเมื่อศีรษะได้รับอุบัติเหตุ

เลือดที่ออกจะค่อยๆไหลที่ละน้อยโดยที่ไม่มีอาการ จนกระทั่งมีเลือดมากพอจึงกดสมองทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และมีอาการอ่อนแรง


ผู้ป่วยน้อยกว่าครึ่งจะจำไม่ได้ว่าเกิดอุบัติเหตุเมื่อไร


กลุ่มผู้ป่วยมักจะมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ดื่มสุราเรื้อรัง โรคลมชัก รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด


สาเหตุของเลือดออก subdural hematoma เรื้อรัง

สมองผู้สูงอายุจะเริ่มฝ่อทำให้ระยะห่างระหว่างสมอง และชั้น dura ยาวขึ้นจะทำให้เกิดการดึงรั้งของหลอดเลือดดำ เมื่อศีรษะได้รับอุบัติเหตุอาจจะไม่รุนแรงก็ทำให้มีการฉีกขาดของหลอดเลือดดำ ทำให้มีเลือดไหลออกมาสะสมช้าๆ

ปัจจัยเสี่ยงได้แก่

ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง
ผู้ที่ใช้ยา aspirin,NSAID
รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
โรคตับ หรือโรคเลือด ที่ทำให้เลือดออกง่าย
ได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะ
ผู้สูงอายุ

 

อาการของโรค

เมื่อไรจึงสงสัยว่ามีเลือดออก subdural hematoma เรื้อรัง

ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการ อาการจะขึ้นกับขนาดของก้อนเลือด ตำแหน่งที่มีเลือดออก อาการทั่วไปได้แก่

อาการที่พบได้บ่อยที่สุดคืออาการปวดศีรษะ


สับสน หรือโคม่าหมดสติ
ความจำเสื่อม
คลื่นไส้อาเจียน
พูดลำบาก หรือมีปัญหาการกลืน
เดินเซ หรือมีปัญหาการทรงตัว
โรคลมชัก
อ่อนแรงแขนขาหรือใบหน้าครึ่งซีก


การวินิจฉัย


การวินิจฉัยจะทำ computer scan ของสมองจะพบรอยดำโดยมากอยู่สองข้างของสมอง

การตรวจร่างกายของแพทย์

แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายจะเน้นเรื่อง

การทรงตัว
การใช้มือทำงาน
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การเดิน
การรับรู้ความรู้สึก
สภาพจิตใจ
การรักษา

เป้าหมายของการรักษาคือคุมอาการ และป้องกันสมองมิให้เสียหาย

หากมีอาการชักให้ใช้ยากันชัก
หากมีสมองบวมก็สามารถให้ยาลดการบวมการสมอง
การผ่าตัด Craniotomy

อาจจะเจาะกระโหลกศีรษะเป็นรูเพื่อระบายเลือด และน้ำเลือดออกโดยต่อท่อดูดออก

โรคแทรกซ้อน

สมองพิการอย่างถาวร
หลังจากหายจะยังคงมีอาการ
วิตกกังวล
สับสน
ความจำเลอะเลือน
มึนงง
ปวดศีรษะ
ความจำเสื่อม
ชัก


เมื่อไรจะต้องไปพบแพทย์

เมื่อมีอาการชัก
ไม่ตอบสนองต่อคำสั่งหรือการเขย่าตัว
หมดสติ
อาการดังกล่าวต้องรีบไปโรงพยาบาล

 

ในคนที่อายุไม่มากนักก็พบได้ ขึ้นกับประวัติสำคัญ เช่น เคยพบอุบัติเหตุทางศีรษะมาก่อน

 

ท่านใดสงสัยว่าตัวเองหรือญาตมิตรมีอาการดังกล่าว โปรดไปพบแพทย์ค่ะ เพราะ

 

รักษาได้ นะคะ

หมายเลขบันทึก: 504802เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อารมณ์ไหนคุณเจ้ ... วันนี้วิชาการจ๋า

Blank ปวดหัว ค้นมาอ่านเลยแปะโพสต์ไว้ด้วยจ้า..

วันนี้น้องศัลยแพทย์มาหา ถามเพิ่มเติมพบว่า ถ้ามีแต่อาการปวดหัวเหลืออยู่ ก็ไม่เป็นไร รักษาอาการกันแบบรักษาตามอาการ ไม่ต้องตรวจคอมพิวเตอร์สมอง ไม่ต้องผ่าตัดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท